เจ้าศุขเกษม ณ ลำปาง หลวงพ่อเกษม เขมโก โดย พระอาจารย์ชลินทร์ ปิ่นวัฒนะ

เจ้าศุขเกษม ณ ลำปาง หลวงพ่อเกษม เขมโก โดย พระอาจารย์ชลินทร์ ปิ่นวัฒนะ

“เขมโก” แปลว่าผู้มีธรรมอันเกษม มักน้อย สันโดษ ไม่ยึดติดกับตำแหน่ง ท่านเรียนรู้บาลีจนแตกฉานเพื่อนำวิชาความรู้มาศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ไม่ต้องการนำไปสอบเอาวุฒิ ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์อันสูงส่ง ปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ไม่ยึดติดในกิเลสทั้งปวง

หลวงพ่อเกษม เขมโก นามเดิมของท่านคือ เจ้าศุขเกษม ณ ลำปาง เป็นเจ้านายในราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ องค์แรกที่ออกผนวชจนตลอดชีวิต ท่านเป็นบุตรในเจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง กับ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และ ยังเป็นหลานในมหาอำมาตย์โท พลตรีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปาง องค์สุดท้าย หลวงพ่อเกษมเป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน พระเกจิเถราจารย์ด้านธุดงควัตร มักปฏิบัติธรรมตามป่าช้า หน้าเชิงตะกอน ท่านเป็นลูกศิษย์ของครูบาแก่น สุมโน และมีโอกาสติดตามครูบาแก่นออกท่องธุดงค์เข้าไปในป่าลึกเพื่อแสวงหาความสงบ วิเวก เพื่อบำเพ็ญเพียร

เมื่อแรกอุปสมบท หลวงพ่อเกษม สังกัดวัดบุญยืน เมื่อเจ้าอธิการคำเหมยเจ้าอาวาสวัดบุญยืนมรณภาพลง คณะสงฆ์และคณะกรรมการวัดบุญยืนขอให้ท่านรับตำแหน่งเจ้าอาวาส หลวงพ่อเกษมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่ระยะหนึ่งก่อนที่จะขอลาออกเพื่อท่องธุดงควัตร โดยเขียนจดหมายฝากไว้ว่า

“…….. ทุกอย่าง เราสอนดีแล้ว อย่าได้คิดไปตามเรา เพราะเราสละแล้ว การเป็นเจ้าอาวาสเปรียบเหมือนหัวหน้าครอบครัว ต้องรับผิดชอบภาระหลายอย่าง ไม่เหมาะสมกับเรา เราต้องการความวิเวกจะไม่ขอกลับมาอีก…….”

เมื่อลาออกจากเจ้าอาวาสวัดบุญยืนแล้วหลวงพ่อเกษมไปปฏิบัติธรรมอยู่ที่ป่าช้าศาลาวังทาน จากนั้นก็เดินทางไปยังป่าช้าวัดแม่อ่าง บนดอยแม่อาง เพื่อไปปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมของท่านเป็นการปฏิบัติธรรมขั้นอุกฤษฏ์ เช่น อดอาหารติดต่อกันเป็นเวลา 49 วัน โดยไม่เป็นอันตราย ปฏิบัติธรรมกลางแดดที่ร้อนระอุ กลางฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก หรือ ปฏิบัติธรรมข้ามคืนข้ามวันโดยไม่หยุดพัก ซึ่งเชื่อกันว่าภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมได้ระดับนี้จะต้องมีจิตเข้าถึงฌาน 4 คือ จตุตถฌาน สามารถแยกกายและจิตให้ออกจากกัน
อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

พระสุปฏิปนฺโนรูปหนึ่งที่ต้องการนำเสนอในโพสต์นี้ คือ หลวงพ่อเกษม เขมโก วัตรปฏิบัติของหลวงพ่อองค์นี้เป็นเรื่องอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง

ปฏิปทาของท่าน แม้ว่าจะมองดูตามลักษณะที่ท่านบำเพ็ญภาวนาในสถานที่ต่างๆดูเหมือนว่าท่านทรมานตนเกินกว่าเราจะคิดว่านั่นท่านปฏิบัติธรรม

ปกติหลวงพ่อเกษม เขมโก จะอาศัยอยู่ในป่าช้า นั่งสมาธิภาวนาอยู่ที่หน้าเชิงตะกอนเผาผีบ้าง นั่งภาวนากลางแดดร้อนระอุ นั่งภาวนายามค่ำคืนที่หนาวอย่างทารุณของภาคเหนือ นั่งภาวนาท่ามกลางสายฝนที่ตกชุก อย่างนี้เป็นต้น

ทำไมท่านต้องทำถึงขั้นนั้น จะไม่เป็นการทรมานตนจนเกินไปหรือ? เปล่าเลย!ท่านทนได้และทำได้ โดยไม่มีอันตรายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ไม่เกิดกับท่านเลย

นอกจากว่า ความเจ็บป่วยที่มีขึ้นตามปกติของมนุษย์พึงมีพึงเป็นเท่านั้น มันเป็นความเลี่ยงไม่ได้

แต่การกระทำเยี่ยงท่าน เป็นนิสัยที่ท่านเคยปฏิบัติมาก่อนแต่อดีต ซึ่งท่านเคยพูดอยู่เสมอว่า”การปฏิบัติอย่างนี้ ต้องแยกกายและจิตให้ออกจากกัน”

หลวงพ่อเกษม เขมโก กำเนิดเมื่อวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนยี่เหนือ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็นบุตรชายคนหัวปีของเจ้าน้อยหนู มณีอรุณ และเจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ณ บ้านท่าเค้าม่วง ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
อ่านเพิ่มเติม

” คำสอนของหลวงพ่อเกษม เขมโก “

” คำสอนของหลวงพ่อเกษม เขมโก ”

ความหลุดพ้น ที่มนุษย์ทุกคนพึงหานั้น อยู่ที่ตนเอง

หากตนเองมุ่งปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

ก็จะได้พบไม่ยาก ขอให้มุ่งปฏิบัติเถิด

การหลุดพ้นนั้น จะต้องทำจิดใจของตนให้หมดกิเลส

หมดสิ้นจากทุกข์ทกอย่าง หมดสิ้นจากสิ่งที่อยากได้

สิ่งที่เรียกว่า โลภ โกรธ หลง ตัดสิ่งนี้ให้หมดสิ้น

และเจริญวิปัสสนากรรมฐานจึงได้พบทางหลุดพ้น

+++++++++++++++++++

” คำสอนของหลวงพ่อเกษม เขมโก ”

“ ถ้าต้องพูดกับคนทุกคนแล้ว คงไม่มีเวลาปฏิบัติธรรมแน่

การเห็นเป็นเหตุแห่งการคิด การคิดเป็นเหตุแห่งการเห็น

ถ้าคิดดีก็เป็นทางเย็น ถ้าคิดเป็นก็เย็นสบาย

ตายเป็นเหม็นเน่า เราเขาเหมือนกัน อยู่ไปทุกวันใครได้ก็ดี ใครมีก็ได้! ”

+++++++++++++++++++
อ่านเพิ่มเติม

เหรียญระฆังศิริมงคล หลวงพ่อเกษม เขมโก ปี 2516 บล็อกสิบโท

เหรียญระฆังศิริมงคล หลวงพ่อเกษม เขมโก ปี 2516 บล็อกสิบโท

เหรียญระฆังศิริมงคล เสาร์ห้าหรือเหรียญวีรชน 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเป็นเหรียญที่หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกนั่งปรกปลุกเสก เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ (ตรงกับวันเสาร์ห้า) และได้นั่งปรกปลุกเสกซ้ำในวันที่ 15 เมษายน 2516 ก่อนรุ่งอรุณ เหรียญรุ่นนี้สร้างขึ้นเพื่อหาปัจจัยสร้างศาลเจ้าแม่สุชาดา เหรียญรุ่นนี้มี 2 เนื้อ คือ
1.เงิน จำนวน 150 เหรียญ
2.ทองแดง จำนวน 50,000 เหรียญ
เหรียญระฆังศิริมงคลเสาร์ห้ารุ่นนี้ เป็นเหรียญที่สร้างชื่อเสียงให้แก่หลวงพ่อเกษม เขมโก จนเป็นที่รู้จักของคนไทยทั้งประเทศ โดยเฉพาะเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเป็นวันมหาวิปโยค เป็นการแสดงพลังการเมืองของประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อนิสิต นักศึกษา และประชาชนกว่า 500,000คน ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญและคัดค้านอำนาจรัฐบาลเผด็จการทหาร
ในเหตุการณ์นั้น เหรียญระฆังศิริมงคลได้แสดงปาฏิหารย์ คุ้มครองนักศึกษาท่านหนึ่งที่ร่วมชุมนุมประท้วงรัฐบาลเผด็จการ โดยนักศึกษาผู้นั้นได้แขวนเหรียญระฆังศิริมงคลบูชาติดตัวร่วมชุมนุม เมื่อนักศึกษาผู้นั้นได้เห็นทหารทำร้ายประชาชนที่ร่วมชุมนุม จึงเกิดโทสะได้ถือไม้เบสบอลท้าทายจะต่อสู้กับทหารที่ถืออาวุธปืนเอ็ม-16 จนเป็นเหตุให้ทหารใช้ปืนเอ็ม-16ยิงเข้าใส่นักศึกษาผู้นั้น แต่กระสุนหาได้ถูกนักศึกษาผู้นั้นไม่ กระสุนกลับวิ่งเลยไปถูกประชาชนที่ยืนอยู่ด้านหลังนักศึกษาคนนั้น จนเป็นเหตุให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตาย เหตุการณ์นี้สื่อมวลชนได้แพร่ภาพออกอากาศไปทั่วประเทศและต่างประเทศ จากเหตุการณ์นี้ทำให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศรู้จักหลวงพ่อเกษม เขมโก และเหรียญระฆังศิริมงคลเสาร์ห้า
สมัยที่หลวงพ่อเกษม เขมโกยังมีชีวิต ได้มีศิษย์ของท่านถามท่านว่า พระเครื่องของหลวงพ่อรุ่นไหนดีที่สุด หลวงพ่อเกษม เขมโกท่านตอบว่า…ถ้าอยากดังอยากเด่น ก็ต้องแขวนเหรียญระฆังศิริมงคลติดตัว จะได้ดังเหมือนเสียงระฆัง

เหรียญระฆังศิริมงคลเสาร์ห้ารุ่นนี้ เมื่อประมาณปีพ.ศ.2518-2519 ราคาเล่นหากันอยู่ที่ประมาณ 300-500 บาท แล้วแต่สภาพความสวยและความฟิตของผู้ซื้อในขณะนั้น ไม่มีการแยกบล็อกพิมพ์เหมือนเช่นทุกวันนี้ เช่นบล็อกสายฝน บล็อกสิบโท บล็อกเขี้ยว และบล็อกเสาอากาศ บล็อกเสาอากาศเป็นบล็อกที่มีความคมชัดกว่าบล็อกอื่นจึงเป็นบล็อกนิยม

http://mahajukkaput-amulet.com/northen-provinces-lp/rakang,lp-kasem.html

บันทึกพระราชปุจฉาสนทนาธรรม

บันทึกพระราชปุจฉาสนทนาธรรม
บันทึกโดย พระครูปลัดจันทร์ กตปุญโญ

ณ วัดคะตึกเชียงมั่น
ต.หัวเวียง อ.เมือง จ.ลำปาง

ต่อไปนี้เป็นพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงปฏิสันถารกับ พระอินทรวิชยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดคะตึกเชียงมั่น และ หลวงพ่อเกษม เขมโก ซึ่ง ข้าพเจ้า (พระครูปลัดจันทร์ กตปุญโญ) ได้มีโอกาสช่วยหลวงพ่อถวายพระพรด้วย ข้อความนี้ข้าพเจ้าบันทึกไว้หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับแล้วดังนี้

ในหลวง : หลวงพ่อประจำอยู่ที่วัดนี้หรือ

หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร อาตมาประจำอยู่ที่สุสานไตรลักษณ์

ในหลวง : อยากไปหาหลวงพ่อเหมือนกัน แต่หาเวลาไม่ค่อยได้ ได้ทราบว่าเข้าพบหลวงพ่อยาก

หลวงพ่อเกษม : พระราชาเสด็จไปป่าช้าเป็นการไม่สะดวก เพราะสถานที่ไม่เรียบร้อย อาตมาภาพจึงมารอเสด็จที่นี่ ขอถวายพระพร มหาบพิตรสบายดีหรือ

ในหลวง : สบายดี

หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร มหาบพิตรพระชนมายุเท่าไร

ในหลวง : ได้ ๕๐ ปี

หลวงพ่อเกษม : อาตมาภาพได้ ๖๗ ปี

ในหลวง : หลวงพ่ออยู่ตามป่ามีความสงบ ย่อมจะมีโอกาสปฏิบัติธรรมได้มากกว่าพระที่วัดในเมือง ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวกับการปกครองและงานอื่นๆ จะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า

หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ เพราะอยู่ป่าไม่มีภารกิจอย่างอื่น แต่ก็ขึ้นอยู่กับศีลบริสุทธิ์ด้วย เพราะเมื่อศีลบริสุทธิ์จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน นิวรณ์ไม่ครอบงำก็ปฏิบัติได้
อ่านเพิ่มเติม

ครูบาเจ้าเกษม เขมโก

ครูบาเจ้าเกษม เขมโก

สำนักสุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง
โดย ดาวลำปาง

“ท่านเขมโกภิกษุ หลวงปู่เกษม หรือหลวงพ่อเกษม เขมโก ที่เราท่านเคารพบูชา และรำลึกภาวนาขอบารมีจากท่านช่วยคุ้มครอง ปกป้องจากอันตราย ยามเมื่อเกิดความทุกข์ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด เพราะบารมีหลวงพ่อที่เพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐานด้วยความมานะบากบั่น ยากที่จะมีผู้ปฏิบัติได้เสมือนนั้น สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นสูงยิ่งนัก”

หลวงพ่อเกษมท่านเจริญวิปัสสนาด้วยถือสันโดษเป็นที่ตั้ง ใช้อำนาจจิตควบคุมร่างกายเข้าสู่สมาธิภาวนา เบื้องหน้าเชิงตะกอน ท่านไม่ติดรสอาหารเมื่อมีผู้นำมาถวาย แม้อาหารจะเสียจนราขึ้น ถ้าหลวงพ่อท่านยังมิได้แผ่เมตตาท่านก็จะรับประเคนบาตรแล้วแผ่เมตตาให้ หลวงพ่อเป็นผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ และเมตตาธรรมสูงส่ง ท่านหมดสิ้นแล้วกิเลสและเปี่ยมล้นด้วยบารมี ทุกวันนี้หลวงพ่อยังเป็นดุจร่มโพธิ์ร่มไทรที่ให้ความร่มเย็นแก่พวกเราทุกคน

ณ ดินแดนถิ่นล้านนา ทางภาคเหนือของประเทศไทย พระอริยสงฆ์ที่พวกเราทุกคนรู้จักชื่อเสียงคุณงามความดีของท่าน ก็คือ ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย พระอริยสงฆ์องค์แรกของภาคเหนือ ท่านเปรียบเสมือนประทีปดวงใหญ่ที่ส่องประกายธรรมไปทั่วทุกสารทิศ ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ท่านได้ประกอบคุณงามความดีไว้กับแผ่นดินนี้มากมาย ท่านจึงถูกจัดให้เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวเหนือ ประวัติและเรื่องราวต่างๆ ของท่าน จึงถูกบันทึกเพื่อให้อนุชนชาวพุทธรุ่นหลังได้รับรู้ถึงในยุคปัจจุบัน

ประวัติบางตอนของ “ครูบาศรีวิชัย” ตอนหนึ่งกล่าวว่า ท่านครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ว่าจะมีตนบุญมาเกิดที่ลำปาง ครั้นต่อมาครูบาศรีวิชัยได้มรณภาพไป โดยทิ้งคำพยากรณ์นี้ไว้ให้ชาวลำปางได้เฝ้ารอคอยการมาอุบัติของตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ จนเวลาล่วงเลยไปหลายสิบปี ก็ยังไม่ปรากฏ แต่ชาวลำปางก็ยังเชื่อในคำพยากรณ์ของครูบาศรีวิชัย
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อเกษม เขมโก

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อเกษม เขมโก

สำนักสุสานไตรลักษณ์ (ป่าช้าศาลาดำ)
บ้านท่าคร่าวน้อย ต.สบตุ๋ย อ.เมือง จ.ลำปาง

หลวงพ่อเกษม เขมโก มีนามเดิมว่า เกษม มณีอรุณ เกิดเมื่อวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ตรงกับวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๕ (ร.ศ. ๑๓๑, จ.ศ. ๑๒๗๔, ค.ศ. ๑๙๑๒) ณ บ้านท่าเก๊าม่วง ริมแม่น้ำวัง ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นบุตรชายคนหัวปีคนเดียวของ เจ้าน้อยหนู มณีอรุณ และเจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และมีน้องสาวเสียชีวิตตั้งแต่เล็กๆ บิดารับราชการเป็นปลัดอำเภอ ชาติตระกูลทั้งบิดาและมารดามาจากตระกูล ณ ลำปาง เป็นหลานเจ้าพ่อบุญวาทย์ วงศ์มานิตย์ เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย

ท่านเป็นคนร่างสันทัด ผิวขาว แข็งแกร่ง บุคลิกลักษณะดีมาแต่กำเนิด ว่องไว และสติปัญญาเฉลียวฉลาด นุ่มนวล แสดงออกซึ่งลักษณะของการประนีประนอม แม้จะซุกซนก็เป็นธรรมดาของวัยเด็ก ไม่มีการแสดงออกซึ่งความแข็งกร้าว ไม่ยอมทำสิ่งที่ผิด

เจ้าเกษม ณ ลำปาง (หลวงพ่อเกษม) จบการศึกษาชั้นประถม ๕ การศึกษาสามัญ ณ โรงเรียนบุญทวงศ์อนุกูล อันเป็นขั้นสูงสุดของโรงเรียนในสมัยนั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ขณะนั้นอายุได้ ๑๑ ปี

ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ อายุได้ ๑๓ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรครั้งแรก ณ วัดป่าดัวะ จังหวัดลำปาง โดยการบวชหน้าไฟ ๗ วัน ต่อมาเมื่ออายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้ง ณ วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ขณะนั้นสามเณรเกษม อายุได้ ๒๐ ปี ก็สามารถเรียนนักธรรมสอบได้ชั้นโท มีความแตกฉานในด้านบาลีมาก
อ่านเพิ่มเติม

บันทึกพระราชปุจฉา สนทนาธรรม : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และหลวงพ่อเกษม เขมโก

บันทึกพระราชปุจฉา สนทนาธรรม : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และหลวงพ่อเกษม เขมโก

บันทึกพระราชปุจฉา สนทนาธรรม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
และหลวงพ่อเกษม เขมโก

บันทึกโดย พระครูปลัดจันทร์ กตปุญโญ
คัดลอกจาก http://www.tumnan.com/king_kasem.html

ต่อไปนี้เป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงปฏิสันถารกับพระอินทรวิชยาจารย์ และหลวงพ่อเกษม เขมโก ซึ่งข้าพเจ้าได้มีโอกาสช่วยหลวงพ่อถวายพระพรด้วย ข้อความนี้ข้าพเจ้าบันทึกไว้หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับแล้วดังนี้

ในหลวง
“หลวงพ่อประจำอยู่ที่วัดนี้หรือ”
หลวงปู่
“ขอถวายพระพรอาตมาประจำอยู่ที่สุสานไตรลักษณ์”
ในหลวง
“อยากไปหาหลวงพ่อเหมือนกัน แต่หาเวลาไม่ค่อยได้ ได้ทราบว่าเข้าพบหลวงพ่อยาก”
หลวงปู่
“พระราชาเสด็จไปป่าช้าเป็นการไม่สะดวก เพราะสถานที่ไม่เรียบร้อย อาตมาภาพจึงมารอเสด็จที่นี่ ขอถวายพระพร มหาบพิตรสบายดีหรือ”
ในหลวง
“สบายดี”
หลวงปู่
“ขอถวายพระพรมหาบพิตรพระชนมายุเท่าไร”
ในหลวง
“ได้ ๕๐ ปี”
หลวงปู่
“อาตมาภาพได้ ๖๗ ปี”
ในหลวง
“หลวงพ่ออยู่ตามป่ามีความสงบ ย่อมจะมีโอกาสปฏิบัติธรรมได้มากกว่าพระที่วัด ในเมือง ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวกับการปกครองและงานอื่นๆ จะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า”
หลวงปู่
“ขอถวายพระพร อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ เพราะอยู่ป่าไม่มีภารกิจอย่างอื่น แต่ก็ขึ้นอยู่กับศีล บริสุทธิ์ด้วย เพราะเมื่อศีลบริสุทธิ์จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน นิวรณ์ไม่ครอบงำก็ปฏิบัติได้”
ในหลวง
“การปฏิบัติอย่างพระมีเวลามากย่อมจะได้ผลเร็ว ส่วนผู้ที่มีเวลาน้อยมีภารกิจมากจะปฏิบัติ อย่างหลวงพ่อก็ไม่อาจทำได้ แล้วจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร เราจะหั่นแลกช่วงเวลาช่วงเช้าให้สั้น เข้าจะได้ไหม คือ ซอยเวลาออกจากหนึ่งชั่วโมงเป็นครึ่งชั่วโมง จากครึ่งชั่วโมงเป็นสิบนาที หรือห้านาที แต่ให้ได้ผล คือ ได้รับความสุขเท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น นั่งรถยนต์จากเชียงใหม่มาลำปางก็สามารถปฏิบัติได้ หรือระหว่างที่มาอยู่ในพิธีนี้มีช่วงที่ว่างอยู่ ก็ปฏิบัติเป็นระยะไปอย่างนี้จะถูกหรือเปล่าก็ไม่ทราบ อยากจะเรียนถาม”
หลวงปู่
“ขอถวายพระพร จะปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้ ถ้าแบ่งเวลาได้”
ในหลวง
“ไม่ถึงแบ่งเวลาต่างหากออกมาทีเดียว ก็อาศัยเวลาขณะที่ออกมาทำงานอย่างอื่นอยู่นั้นแหละ ได้หรือไม่ คือ ใช้สติอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ ทำงานด้วยความรอบคอบให้สติตั้งอยู่ตลอด เวลา” อ่านเพิ่มเติม

ครูบาเจ้าเกษม เขมโก (๑) โดย อ.เล็ก พลูโต

ครูบาเจ้าเกษม เขมโก (๑) โดย อ.เล็ก พลูโต

ณ ดินแดนถิ่นล้านนา ทางภาคเหนือของประเทศไทย พระอริยะสงฆ์ที่พวกเราทุกคนรู้จักชื่อเสียงคุณงามความดีของท่านก็คือ ครูบาศรีวิชัย อริยะสงฆ์องค์แรกของภาคเหนือ ท่านเปรียบเสมือนประทีปดวงใหญ่ ที่ส่องประกายธรรมไปทั่วทุกสารทิศ ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ประกอบคุณงามความดีไว้กับแผ่นดินนี้มากมาย ท่านจึงถูกจัดให้เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวเหนือ

ประวัติและเรื่องราวต่าง ๆ ของท่าน จึงถูกบันทึกเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงในยุคปัจจุบัน ประวัติบางตอนของครูบาศรีวิชัยตอนหนึ่งกล่าวว่า ท่านครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ว่า “จะมีตนบุญมาเกิดที่ลำปาง” ครั้นต่อมาครูบาศรีวิชัยได้มรณภาพไป โดยทิ้งคำพยากรณ์นี้ไว้ให้ชาวลำปางได้เฝ้ารอคอยการมาจุติของตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ จนเวลาล่วงเลยไปหลายสิบปี ก็ยังไม่ปรากฏ แต่ชาวลำปางก็ยังเชื่อในคำพยากรณ์ของครูบาศรีวิชัย
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้มีครอบครัวเชื้อเจ้าผู้ครองนครลำปาง หรือ เขลางค์นคร ในอดีตหัวหน้าครอบครัวคือ เจ้าหนูน้อย ณ ลำปาง ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ รับราชการเป็นปลัดอำเภอ ภรรยาชื่อเจ้า แม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ทั้งสองเป็นหลานเจ้าของ เจ้าพ่อบุญวาทย์ วงศ์มานิตย์ เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
ครอบครัวนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านท่าเก๊าม่วง ริมแม่น้ำวัง อ.เมือง จ.ลำปาง อยู่กินกันมาอย่างมีความสุข ในที่สุดเจ้าแม่บัวจ้อนได้ตั้งครรภ์ และพอถึงกำหนดคลอดตรงกับวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๕ ตรงกับวันพุทธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ.๑๓๑ ค.ศ.๑๙๑๒ เจ้าแม่บัวจ้อนให้กำเนิดทารกเพศชาย เป็นลูกคนแรกของครอบครัว
ขณะนั้นไม่มีใครทราบกันเลย ตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้นั้นได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว บิดามารดาก็ได้ตั้งชื่อทารกนั้น เกษม ณ ลำปาง เพราะเด็กชายเกษม ณ ลำปาง ได้เกิดมาในเชื้อสายของเจ้าทางเหนือ จึงได้รับการยกย่องของคนทั่วไป ทุกคนต่างเรียกกันว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง หลังจากที่ได้คลอดบุตรมาได้ไม่กี่ปี เจ้าแม่บัวจ้อนได้ให้กำเนิดทารกอีกคน แต่เป็นเพศหญิง ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องของ เจ้าเกษม สืบสายเลือด แต่ทว่าเจ้าแม่น้อยคนนี้วาสนาน้อย ได้เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก จึงไม่มีโอกาสได้รูว่าพี่ชายของเธอคือ ตนบุญ ที่ชาวลำปางรอคอยเป็นสิบ ๆ ปี อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อเกษม เหรียญระฆัง พ.ศ.2516 รุ่น บล๊อคนิยม

หลวงพ่อเกษม เหรียญระฆัง พ.ศ.2516 รุ่น บล๊อคนิยม

รายละเอียด:
หลวงพ่อเกษม เหรียญระฆัง พ.ศ.2516 รุ่น บล๊อคนิยม
เก็บรักษาสภาพเดิมๆ ปล่อยราคาไม่แพง รุ่นนี้ประสบการณ์สูง
บล๊อคนี้สร้างเพียง 50000 เหรียญ ใครพี่ชอบพูดว่า รุ่นเสาอากาศ รุ่นนายสิบอย่าไปเชี่อเขา..ถ้าอยากรู้ข้อมูลก็ไปซื้อหนังสือ วัตถุมงคล รุ่นนิยม -จนถึงปัจจุบัน หลวงพ่อเกษม โดยสำนักพิมพ์ เมืองสยาม เพราะเขาเป็นลูกศิษย์ ก้นกุฏิหลวงพ่อ…

เหรียญระฆังหลวงพ่อเกษม ปี2516 เป็นเหรียญที่มีประสพการณ์เมื่อ 14ต.ค 16 หรือเหรียญวีรชน เป็นเหรียญที่ชาว ลำปางหวงมาก เหรียญนี้สร้างเป็นที่ระลึกสมทบทุนสร้างศาลาเจ้าแม่สุชาดา 15เมษายน2516 มี2เนื้อ เงินและทองแดง
พระแท้จะแยกได้ 4 พิมพ์…พิมพ์ที่ 1 จะเป็นพิมพ์ที่นิยมหรือที่ว่าบล๊อกเสาอากาศด้านหน้าให้สังเกตุที่ตัวหนังสือคำว่าเกษมเขมโก จะไม่มีขีดบนตัว ก ส่วนหลังเหรียญให้สังเกตุตรง พศ 2516 จะมีขีด้านบน 2 ขีด และตรงตัวอุจะมีเส้นแตก(ส่วนที่จะสังเกตุเสาอากาศให้ดูจากองค์พระตรงบ่าด้านซ้ายของหลวงพ่อจะมีเส้นจากบ่าไปจนจดซุ้มเหรียญโดยที่เส้นไม่ขาด)…….พิมพ์ที่ 2 (พิมพ์ขีดในตัวหนังสือ)เหรียญด้านหน้า ตรงตัวหนังสือคำว่า เกษมเขมโก จะมีขีดอยู่ในตัว ก ตรงคำว่าเกษม และด้านหลังเหรียญจะเหมือนกับบล๊อกนิยมทุกอย่าง………พิมพ์ที่ 3 (พิมพ์หนึ่งขีด)เหรียญด้านตรงตัวหนังสือคำว่าเกษมเขมโก จะมีขีดหนึ่งขีดบนตัว ก ส่วนด้านหลังเหรียญจะเหมือนกับพิมพ์นิยมทุกอย่าง ………พิมพ์ที่ 4 (พิมพ์ 2 ขีด) เหรียญด้านหน้าตรงตัวหนังสือคำว่าเกษมเขมโก จะมีขีดบนและมีขีดในตัวหนังสือ ตรงคำว่าเกษม ส่วนด้านหลังเหรียญจะแตกต่างกว่าทุกพิมพ์ ตัวอุจะไม่มีเส้นแตก และที่ตรง พศ 2516 ไม่มีขีด 2 ขีดด้านบน วิธีของการสังเกตุพื้นเหรียญของพระรุ่นนี้ให้ดูที่พื้นเหรียญด้านหน้าจะมีเส้นเส้ยนตามแนวขวางทั้งสองข้างของรอบๆองค์หลวงพ่อครับ
อ่านเพิ่มเติม

คำไหว้หลวงพ่อเกษมเขมโก

คำไหว้หลวงพ่อเกษมเขมโก

คำไหว้หลวงพ่อเกษมเขมโก

จุดธูป1ดอก ไหว้1ครั้งแค่อก กล่าวว่า
โอกาสะ โอกาสะ อาจาริโย เมนาโถ ภันเตโหตุ
อายัสมา เขมโก ภิกขุ เมนาโถ ภันเตโหตุ
อาจาริยัง วันทามิหัง
คำอาราธนาวัตถุมงคลก่อนคล้องคอหรือขึ้นบ้าน
เขมะกะภิกขุง อาราธะนานัง วันทามิหัง 3จบ

คาถาโชคลาภ เมตตา ค้าขายดี
ก่อนสวดให้ระลึกถึงพระสีวลี และหลวงพ่อเกษม แล้วอธิษฐานตามใจปรารถนา
นะโม3จบ
สิวะลี มหาเถรัง วันทามิหัง
สิวะลี มหาเถรัง วันทามิหัง
สิวะลี มหาเถรัง วันทามิหัง
มะหาสิวลี เถโร มะหาลาโภ โหติ
มะหาสิวลี เถโร ลาภัง เม เทถะ

คาถาแคล้วคลาด ป้องกันเวลาเดินทาง
นะโม3จบ สวด3จบ 7จบ

พุทโธ วะโร สะติมะโต สัพพะอันตะรายะ วินัสสะตุ
คาถาใช้สวดภาวนาเพื่อให้พระคุ้มครอง
ป้องกันภูติผีปิศาจ เด็กนอนไม่หลับร้องไห้กลางคืนเป่าใส่ศรีษะเด็ก
ธัมโม มะนัง สุรักขะตุ สวด3จบ 7จบ

คาถานะจังงัง
เป็นคาถาแคล้วคลาด ป้องกันศราตรวุธ โจร ภัยทั้งปวง
ตั้งนะโม3จบ

นะ โน นะ อันตะรายา วินัสสันตุ
สวด3จบ 7จบ

http://www.banloktip.com/

หลวงพ่อเกษม เขมโก พระอภิญญาแห่งเขลางค์นคร

หลวงพ่อเกษม เขมโก พระอภิญญาแห่งเขลางค์นคร

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง

หลวงพ่อเกษม เขมโก เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 บิดาชื่อ เจ้าหนูน้อย มณีอรุณ มารดาชื่อ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ในวัยเด็ก เจ้าเกษม ณ ลำปาง จัดว่าเป็นคนมีสติปัญญาดีเยี่ยมและเป็นเด็กที่ซุกซนมาก เมื่อย่างเข้าสู่วัยเรียน เจ้าเกษม ณ ลำปาง เข้ารับการศึกษาระดับประถมที่ โรงเรียนบุญวงศ์ อนุกูล โรงเรียนประจำ อ.เมือง จ.ลำปาง สมัยนั้นเรียนชั้นสูงสุดแค่ชั้นประถมปีที่ 5 ปี พ.ศ.2466
เจ้าเกษม ณ ลำปาง จบชั้นสูงของโรงเรียนประถมปีที่ 5 ขณะอายุได้ 11 ปี ต่อมาในปี พ.ศ.2470 ครั้นมีอายุ 15 ปี ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบุญยืน จ.ลำปาง เมื่อบรรพชาแล้วก็จำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดบุญยืน ขยันหมั่นเพียรเรียนทางด้านปริยัติศึกษาธรรมะจนถึงปี พ.ศ.2474 สามเณรเจ้าเกษมก็สามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้
กระทั่งในปี พ.ศ.2475 สามเณรเกษม ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดบุญยืนนั่นเอง โดยมี พระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร เจ้าคณะอำเภอขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอุตรวงศ์ธาดา เจ้าอาวาสวัดหมื่นเทศ และเจ้าคณะอำเภอเมือง จ.ลำปาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดป่าตั๊ว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “เขมโก” แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม
ในปี พ.ศ.2479 พระภิกษุเขมโก ก็สามารถสอบนักธรรมชั้นเอกได้รวมทั้งสนใจศึกษาเล่าเรียนบาลีควบคู่กันไปด้วย เรียนรู้จนสามารถเขียนและแปลภาษามคธได้เป็นอย่างดี เมื่อเรียนปริยัติพอควรแล้ว สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยไม่หลงทาง ท่านจึงหันมาปฏิบัติธรรมจนแตกฉาน โดยเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้ และเชี่ยวชาญ ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของ ครูบาแก่น สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูป่อง โดยได้ติดตามพระอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนาเรื่อยมา ท่านถือปฏิบัติเช่นนี้จนภายหลังได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน เมื่อปี พ.ศ.2492 ก็ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส ปลีกวิเวกไปบำเพ็ญเพียรอยู่ตามป่าช้าต่าง ๆ ทั่ว จ.ลำปาง หลายแห่ง เช่น ป่าช้าแม่อาง ป่าช้านาป้อ ก่อนมาปักหลักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ป่าช้าประตูม้า หรือสุสานไตรลักษณ์ ปัจจุบัน จนละสังขารเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2539 รวมสิริอายุ 84 ปี
หลวงพ่อเกษม เขมโก นับได้ว่าเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สมควรได้รับความเคารพศรัทธาจากประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ ในช่วงท่านบำเพ็ญเพียรอยู่ ณ สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง มักมีประชาชนและญาติโยมไปกราบนมัสการมากมายทุกวันมิได้ขาด แม้ท่านละสังขารไปนานพอสมควรแล้ว ก็ยังมีประชาชนแวะเวียนไปกราบไว้สังขารท่าน ณ สุสานไตรลักษณ์จนทุกวันนี้
อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อเกษม เขมโก จำวัดโดยไม่ใช้มุ้ง ไม่ใช้ผ้าห่ม

หลวงพ่อเกษม เขมโก จำวัดโดยไม่ใช้มุ้ง ไม่ใช้ผ้าห่ม

หลวงพ่อเกษม เขมโก ยอดนักบุญ ผู้ปฎิบัติตนตามธุดงค์วัตรขั้นอุกฤษ์ พระอภิญญาแห่งนครลำปาง ท่านเกิดเมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน พศ. 2455 มีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ เมื่อเล็ก มีความจำเป็นเลิศ สามารถท่องมนต์ 7 ตำนาน และ 12 ตำนานได้อย่างคล่องแคล่ว

ที่ว่าท่านปฎิบัติตามหลักธุดงค์วัตร อย่างอุกฤษ์นั้น ได้แก่ การนั่งกรรมฐานทั้งวัน ทั้งคืน ไม่ฉัน ไม่จำวัด เรียกว่า ไม่กิน ไม่นอนเป็นเวลาติดต่อกันยาวนานแรมปี บทจะพิจารณาภัตตาหาร ว่าเป็นอาหารเก่า อาหารใหม่เพื่อให้จิตเข้าถึงพระกรรมฐานนั้น ท่านก็นำอาหารเก่าค้าง ที่เน่าบูด ส่งกลิ่นเหม็นเปรี้ยว มาฉันกิน เมื่ออาหารเข้าถึงปาก กำหนดจิตรับรู้รสว่า มีรสไม่อร่อยเพียงใด มีกลิ่นที่น่ารังเกียจเพียงใด ร่างกายทำปฎิกริยาไม่รับอาหารเน่าเสียนั้น โดยบังคับให้ปากจะอาเจียนออกมา ท่านก็กลับบังคับร่างกายให้รับรสอาหารบูดเน่านั้นเสียให้ได้ โดยกำหนดว่า ฉันเพื่อให้มีแรงปฎิบัติต่อไป จึงไม่จำเป็นต้องฉันอาหารรสเลิศ เพื่อให้ติดยึดในรสอาหาร อันเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง

สถานที่จำเริญกรรมฐานของหลวงพ่อเกษมนั้น ท่านโปรดปราณ ป่าช้า เป็นหนักหนา ด้วยว่าเป็นที่วิเวก ยิ่งป่าช้าไหนมีเสียงเล่าลือกันว่ามีภูติผี วิญญาณร้ายมาก่อกวน ท่านยิ่งมุ่งเข้าไปหา ด้วยเห็นว่า เป็นการพิจารณาอสุภะกรรมฐานได้ดีกว่าที่อื่นใด

ที่โล่งเตียนใด ปราศจากเงาไม้ให้ร่ม ท่านจะเข้าไปนั่งกรรมฐาน บางคราวเป็นหน้าแล้งแดดร้อน ท่านก็จะนั่งกรรมฐานกลางแดดให้แดดแผดเผาตัวท่าน บางคราวหน้าหนาว ท่านก็จะนุ่งห่มจีวรน้อยชิ้น ออกไปนั่งรับลมหนาว ท้าทายกับความเย็นอยู่เช่นนั้น บางคราวฝนตก ท่านก็นั่งกรรมฐานกลางสายฝน โดยปราศจากเครื่องกางกั้น ร่างกายคนเราบางทีก็ทนไม่ไหว เมื่อร่างกายท่านประท้วง โดยการเจ็บป่วย ท่านก็ใช้ธรรมโอสถเป็นเครื่องแก้ ไม่เคยไปหาหมอ ไม่เคยขอร้องให้ใครมาช่วยพยุง ดูแลเลยแม้สักครั้ง ท่านใช้ร่างกายฝืนธรรมชาติแห่งความสุข ความสบาย อันพึงมี พึงได้ของมนุษย์ ตลอดชีวิตของท่าน จนเป็นที่ห่วงกังวลของศิษย์ทั้งหลาย เพียงเพื่อการปฎิบัติบูชาพระธรรม อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในชีวิตของท่าน
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์

ประวัติ หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์

หลวงพ่อเกษม เขมโก

ณ ดินแดนถิ่นล้านนา ทางภาคเหนือของประเทศไทย พระอริยะสงฆ์ที่พวกเราทุกคนรู้จักชื่อเสียงคุณงามความดีของท่าน ก็คือ ครูบาศรีวิชัย อริยะสงฆ์องค์แรกของภาคเหนือท่านเปรียบเสมือนประทีปดวงใหญ่ที่ส่องประกาย ธรรมไปทั่วทุกสารทิศ ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ประกอบคุณงามความดีไว้กับแผ่นดินนี้มากมาย ท่านจึงถูกจัดให้เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวเหนือ

ประวัติและเรื่องราวต่าง ๆ ของท่าน จึงถูกบันทึกเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงในยุคปัจจุบัน ประวัติบางตอน ของครูบาศรีวิชัยตอนหนึ่ง กล่าวว่าท่านครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ว่าจะมีตนบุญมาเกิดที่ลำปาง ครั้นต่อมาครูบาศรีวิชัยได้มรณภาพไปโดยทิ้งคำพยากรณ์นี้ไว้ให้ชาวลำปางได้ เฝ้ารอคอยการมาจุติของตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ จนเวลาล่วงเลยไปหลายสิบปี ก็ยังไม่ปรากฏ แต่ชาวลำปางก็ยังเชื่อในคำพยากรณ์ของครูบาศรีวิชัย

เมื่อปี พ.ศ.2455 ได้มีครอบครัวเชื้อเจ้าผู้ครองนครลำปางหรือเขลางค์นครในอดีตหัวหน้าครอบครัว คือ เจ้าหนูน้อย ณ ลำปาง ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ รับราชการเป็นปลัดอำเภอภรรยาชื่อเจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ทั้งสอง เป็นหลานเจ้าของพ่อบุญวาทย์ วงศ์มานิตย์ เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย

ครอบครัวนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านท่าเก๊าม่วง ริมแม่น้ำวัง อ.เมือง จ.ลำปาง อยู่กินกันมาอย่างมีความสุข ในที่สุด เจ้าแม่บัวจ้อนได้ตั้งครรภ์ และพอถึงกำหนดคลอดตรงกับวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2455 ตรงกับวันพุทธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ.131 ค.ศ.1912 เจ้าแม่บัวจ้อน ให้กำเนิดทารกเพศชาย เป็นลูกคนแรกของครอบครัว

ขณะนั้นไม่มีใครทราบกันเลย ตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้นั้นได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว บิดามารดาก็ได้ตั้งชื่อทารกนั้น เกษม ณ ลำปาง เพราะเด็กชายเกษม ณ ลำปาง ได้เกิดมาในเชื้อสายของเจ้าทางเหนือ จึงได้รับการยกย่องของคนทั่วไป ทุกคนต่างเรียกกันว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง หลังจากที่ได้คลอดบุตรมาได้ไม่กี่ปี เจ้าแม่บัวจ้อนได้ให้กำเนิดทารกอีกคน แต่เป็นเพศหญิง ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องของ เจ้าเกษม สืบสายเลือด แต่ทว่าเจ้าแม่น้อยคนนี้วาสนาน้อย ได้เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก จึงไม่มีโอกาสได้รู้ว่าพี่ชายของเธอคือ ตนบุญ ที่ชาวลำปางรอคอยเป็นสิบ ๆ ปี
อ่านเพิ่มเติม

คาถาหลวงพ่อเกษม เขมโก

คาถาหลวงพ่อเกษม เขมโก

วันทามิ เจดิยัง สัพพัง สัพพัฎฐาเน สุปฏิษฐิตาสรีระธาตุงมหาโพธิ

พุทธรูปัง สักการัง สัทธา นาคะโลเก เทวโลเก ดาวติงเส พรหมโลเก ชมพูทีเป ลังกาทีเป

สรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อรหันตาธาตุโย เจดิยัง คันธกุฎี จตุราศี ติสสหัสสะ ธัมมักขันธา

ปาทเจดิยัง นะระเทเวหิปูชิตา อะหังวันทามิ ฑูระโต อะหังวันทามิธาตุโย อะหังวันทามิสัพพะโส

นมัสการการและรวบรวมพลังพระธาตุทั่วอนันตจักรวาล

http://www.myhora.com/

เจ้าคณะจังหวัดฯ ขวางเผา “หลวงพ่อเกษม” เตือน “ณ ลำปาง” ดื้อเสี่ยง “ขึดบ้านขึดเมือง”

เจ้าคณะจังหวัดฯ ขวางเผา “หลวงพ่อเกษม” เตือน “ณ ลำปาง” ดื้อเสี่ยง “ขึดบ้านขึดเมือง”

ลำปาง – เจ้าคณะจังหวัดลำปางค้านเผาสังขาร “หลวงพ่อเกษม เขมโก” เผยจะทำให้เกิดเภทภัย หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า “ขึดบ้านขึดเมือง” ลำปางจะกลายเป็นเมืองร้าง

รายงานข่าวจากจังหวัดลำปาง แจ้งว่า หลังตัวแทนของตระกูล ณ ลำปาง ประกอบด้วย เจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง, เจ้าบุบผา ณ ลำปาง, เจ้าดวงตา ณ ลำปาง, เจ้ารุ่งโรจน์ ณ ลำปาง, พ.อ.(พิเศษ) เด็ดดวง ณ ลำปาง, เจ้าราศี ณ ลำปาง และทายาทในตระกูล ณ ลำปาง ได้หารือกันเกี่ยวกับการขอให้ทางนายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผวจ.ลำปาง ทำหนังสือกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานเพลิงศพ หลวงพ่อเกษม เขมโก พระอริยสงฆ์ชาวลำปางที่ได้มรณภาพตั้งแต่เมื่อปี 2539 จนถึงปัจจุบันรวมกว่า 17 ปีแล้วนั้น

ล่าสุดพระราชจินดานายก เจ้าคณะจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยนางปราณี ณ ลำปาง และนายฉลาด ณ ลำปาง ภรรยา และบุตรชาย เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ได้เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตั้งแต่หลวงพ่อเกษม เขมโก มรณภาพแล้ว การดำเนินการต่างๆ ได้ตกไปอยู่ในความดูแลของเจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ในฐานะประธานศิษยานุศิษย์ฯ ต่อเนื่องมาจนถึงนายไพจิตร ธรรมโรจน์พินิจ หรือ “ปอ ประตูน้ำ” ซึ่งก็รวมถึงการที่ยังคงสังขารหลวงพ่อเกษม เขมโก เอาไว้ ให้ชาวลำปาง รวมถึงชาวไทยทั่วประเทศได้เข้าไปกราบสักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัวมาโดยตลอด อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อเกษม เขมโก เผชิญอสุรกาย ป่าช้าแม่อาง

หลวงพ่อเกษม เขมโก เผชิญอสุรกาย ป่าช้าแม่อาง

ชื่อเสียงกิตติคุณของหลวงพ่อ เกษม เขมโก

เมื่อครั้งที่ท่านยังไม่ละสังขารขันธ์ ขจรขจายเลื่องลือกว้างไกล ไปในหมู่พุทธบริษัท ณ ที่ท่านจำพรรษา มีพุทธศาสนิกชน

ไปกราบไหว้สักการะด้วยความเคารพศรัทธาท่าน เนืองแน่นทุกวัน แม้จะไม่ได้ พบตัวท่าน ก็ขอได้กราบนมัสการ กุฏิหลังน้อย ที่ท่านพักผ่อน อยู่ภายใน ก็เกิดปีติปราโมทแล้ว

เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ผู้ใกล้ชิดที่สุด

ได้มาจากบันทึกสั้น ๆ เป็นคำบอกเล่า ของเจ้าประเวท ณ ลำปาง ซึ่งเป็นหลานของท่าน มีความว่า….

เวลานั้นเจ้าประเวทบวชเป็นสามเณรคอยรับใช้อุปัฏฐาก หลวงพ่อเกษม อยู่ที่ป่าช้าแม่อาง ปฏิปทาของหลวงพ่อเกษม

ท่านพอใจจำพรรษา ในป่าช้ามาโดยตลอด

เสนาสนะของท่านคือกระต๊อบหลังเล็ก ๆ ที่ญาติโยมปลูกสร้างถวาย ขณะที่เกิดเหตุนี้ สามเณรประเวท นอนอยู่กับพระหวันอีกที่หนึ่ง

(พระหวันบวชหน้าไฟเพียง ๗ วัน เนื่องจากบุพการีเสียชีวิต แล้วนำศพมาเผา ที่ป่าช้าแม่อาง ในวันนั้นพระหวันบวชแล้วก็ขออยู่ในป่าช้ากับหลวงพ่อเกษม)

เช้าวันรุ่งขึ้น… สามเณรประเวทมาหาหลวงพ่อเกษม

ที่กระต๊อบกุฏิเพื่อปรนนิบัติท่าน เมื่อพบหน้ากันหลวงพ่อเกษม ถามสามเณรหลานด้วยความสงสัย

“เมื่อคืนนี้ มาที่นี่หรือ? ใครบุกเข้ามาเมื่อคืนนี้ มาจับมือเรา”
“ผมไม่ได้ขี้นไปครับ ผมอยู่ข้างล่าง…” สามเณรเจ้าประเวทตอบตามความเป็นจริง
อ่านเพิ่มเติม

ปาฏิหาริย์’หลวงพอเกษม’ของ’สุวรรณ กล่าวสุนทร

ปาฏิหาริย์’หลวงพอเกษม’ของ’สุวรรณ กล่าวสุนทร’

ปาฏิหาริย์’หลวงพอเกษม’เรื่องเล่าที่ไม่รู้จบของ…’สุวรรณ กล่าวสุนทร’ : พระเครื่องสรณะคนดัง เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

หลวงพ่อเกษม เขมโก (นามเดิม เจ้าเกษม ณ ลำปาง) เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน พระเกจิเถราจารย์ทางด้านธุดงควัตร ปลีกวิเวก พุทธศาสนิกชนใน จ.ลำปาง และชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นพระเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทย และมีผู้มีความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

“พระเครื่องที่แขวนมีหลายองค์ แต่ที่ขาดคอไม่ได้ คือ พระของหลวงพ่อเกษม ไม่ว่าจะเป็นรุ่นใดถ้าเป็นพระที่หลวงพ่อปลุกเสกถือว่าใช้ได้เหมือนกันหมด ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นดังและราคาแพง พระที่ขึ้นชื่อว่าหลวงพ่อเกษมปลุกเสกนั้นมีความขลังเท่าเทยมกันทุกรุ่นทุกองค์ วันนี้แขวนรูปภาพ และฟันของหลวงพ่อ ซึ่งได้จากเพื่อนสนิทคนหนึ่งที่เป็นลูศิษย์คอยรับใช้ท่าน” นี่เป็นคำยืนยันจากปากของ นายสุวรรณ กล่าวสุนทร รองผู้ว่าฯ ลำปาง

พร้อมกันนี้ นายสุวรรณได้เล่าถึงปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อเกษมให้ฟังว่า เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ ครั้งเป็นนายอำเภอเมืองลำปาง ได้ออกไปจับไม้ พบกองไม้ขนาดใหญ่และอุปกรณ์การตัดไม้จำนวนมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายมาได้หมดจึงเผาทิ้ง ปรากฏว่าหลังจากราดน้ำมันเบนซินแล้ว ด้วยความประมาทระหว่างจุดไฟปรากฏว่าไฟลุกท่วมเหมือนกับถังแก๊สระเบิด ได้ยกมือขึ้นป้องใบหน้าพร้อมกับกระโดดหลบ ได้ร้องตะโกนอุทานไปว่า “หลวงพ่อช่วยลูกด้วย”
อ่านเพิ่มเติม

ที่มาของภาพยิ้มเมตตา…หลวงพ่อเกษม เขมโก

…ที่มาของภาพยิ้มเมตตา…หลวงพ่อเกษม เขมโก

…สำหรับผู้ที่มีรูปบูชาของหลวงพ่อเกษม เขมโก มีอยู่ภาพหนึ่งครับ มีประวัติของภาพอย่างน่าสนใจ ผมไปซื้อนิตยสารศักดิ์สิทธิ์ ของปี พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นหนังสือเก่าวางขายข้างฟุตบาท ถนนคนเดินลำปาง (กาดกองต้า) เล่มละ 5 บาท เข้าไปอ่านทำให้พบที่มาของภาพภาพนี้ จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง และหากผู้ที่สนใจอยากนำภาพไว้บูชา สามารถหาบูชาภาพต้นฉบับได้จากสุสานไตรลักษณ์ หรือ คัดลอกแล้วนำไปล้างอัดกรอบเองก็ได้ครับ ภาพภาพนี้ ชื่อภาพว่า “ยิ้มเมตตา” ดังนี้ครับ….

กมล เอกมโนชัย ผู้อำนวยการและเจ้าของนิตยสารศักดิ์สิทธิ์ ได้ปรารภกับสุวิทย์ เกิดพงษ์บุญโชติ เนื่องจากอยากได้รูปภาพสวย ๆ ของหลวงปู่ครูบาเจ้าเกษม เขมโก มาลงปกศักดิ์สิทธิ์ เพราะเรายังไม่เคยมีภาพสวย ๆ ซึ้ง ๆ ของหลวงปู่ท่านเลยสักภาพเดียว

ด้วยบารมีหลวงปู่ ที่ล่วงรู้ลึกเข้าไปถึงความตั้งใจมั่นของเรา อีกไม่กี่วันต่อมา เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ประธานคณะศิษยานุศิษย์หลวงปู่ ได้บอกมาทางโทรศัพท์ กับท่านกมลว่า วันเกิดปีนี้หลวงปู่จะไปเทศน์ที่บ้านเจ้าประเวทย์ ถ้าว่างก็ให้ไปที่บ้านด้วย ทั้งผมและผอ.กมล ขนลุกซู่ด้วยความปีติสุดขีด
ผอ.กมล กับผม รีบเคลียร์งาน พอถึงวันนัดหมายก็ออกเดินทางทันที ระหว่างเดินทางผมและผอ.กมลต่างสนทนาวาดหวังกันไปตลอดทางจากรุงเทพฯ เราคุยกันด้วยเรื่องสัพเพเหระ จนกระทั่งขับไปถึงนครสวรรค์ ก็วกเรื่องเข้าหาจุดมุ่งหมายที่จะเดินทางไปบ้านเจ้าประเวทย์ในวันนั้น
ตอนหนึ่งของการสนทนา ผอ.กมล บอกว่า หลวงปู่ไม่ค่อยจะอนุญาตให้ใครถ่ายภาพของท่าน เท่าที่ได้เห็น แม้ท่านจะอนุญาตให้ถ่าย ก็มักได้ภาพที่ไม่ชัดบ้าง ภาพก้มหน้าบ้าง มองไปทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง ไม่เคยเห็นภาพที่ท่านมองกล้องเลยสักภาพเดียว และส่วนมากหลวงปู่ท่านอยู่แต่ภายในกุฏิ มักไม่ห่มผ้า จะสวมแต่เพียงอังสะตัวเดียว ผู้ที่มีโอกาสเข้าไปถ่ายภาพหลวงปู่ แม้จะได้ภาพของท่าน แต่ก็ไม่สมบูรณ์ ตรงที่ท่านไม่ได้ห่มจีวร
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 8/8

ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก (โดยสังเขป) หน้า 8/8

ศพของโยมแม่บัวจ้อน มีเณรเวทย์และชาวบ้านได้มาช่วยจัดการจนเสร็จพิธี ชาวบ้านช่วยเป็นเงินในสมัยนั้นได้ 700 บาท ถือว่ามาก ศพของโยมแม่บัวจ้อนเผาที่ป่าช้าแม่อาง หลังจากที่เสร็จพิธีงานศพโยมแม่จ้อนแล้ว หลวงพ่อก็สั่งเณรเวทย์ให้กลับไปเรียนธรรมที่วัดบุญยืน อยู่มาไม่นานหลวงพ่อก็จากป่าช้าแม่อางกลับมาบำเพ็ญภาวนาที่ป่าช้าศาลาวังทานอีก เพียงหนึ่งพรรษาท่านก็เดินทางไปอยู่ที่ป่าช้านาป้อ และกลับมาอยู่ประตูม้า ซึ่งก็คือ สุสานไตรลักษณ์ ในปัจจุบัน

หลวงพ่อเกษม เขมโก ท่านได้ปฏิบัติธรรมจนเป็นพระที่ขาวสะอาด และเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วประเทศ ศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเป็นพระไม่ติดยึดใคร ต้องการอะไร ขออะไร ไม่เคยปฏิเสธ จนสังขารของท่านดูแล้วไม่แข็งแรง แต่จิตของหลวงพ่อแข็งแรง และท้ายที่สุด หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้ละสังขาร ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลศูนย์ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง เมื่อเวลา 19.40 น. ของวันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2539 ซึ่งตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 2 ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่ศานุศิษย์ทั่วประเทศ…

ที่มา: http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9379

http://mongkhonkasem.com/kasem_p8.html

. . . . . . .