มุตโตทัย (๓)

มุตโตทัย (๓)

แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

๙. อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเลส
ธรรมชาติของดีทั้งหลาย ย่อมเกิดมาแต่ของไม่ดี อุปมาดั่งดอกปทุมชาติอันสวยๆ งามๆ ก็เกิดขึ้นมาจากโคลนตมอันเป็นของสกปรก ปฏิกูลน่าเกลียด แต่ว่าดอกบัวนั้น เมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้วย่อมเป็นสิ่งที่สะอาด เป็นที่ทัดทรงของพระราชา อุปราช อำมาตย์ และเสนาบดี เป็นต้น และดอกบัวนั้นก็มิได้กลับคืนไปยังโคลนตมนั้นอีกเลย ข้อนี้เปรียบเหมือนพระโยคาวจรเจ้า ผู้ประพฤติพากเพียรประโยคพยายาม ย่อมพิจารณาซึ่ง สิ่งสกปรกน่าเกลียดนั้นก็คือตัวเรานี้เอง ร่างกายนี้เป็นที่ประชุมแห่งของโสโครกคือ อุจจาระ ปัสสาวะ (มูตรคูถ) ทั้งปวง สิ่งที่ออกจากผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ก็เรียกว่า ขี้ ทั้งหมด เช่น ขี้หัว ขี้เล็บ ขี้ฟัน ขี้ไคล เป็นต้น เมื่อสิ่งเหล่านี้ร่วงหล่นลงสู่อาหาร มีแกงกับ เป็นต้น ก็รังเกียจ ต้องเททิ้ง กินไม่ได้ และร่างกายนี้ต้องชำระอยู่เสมอจึงพอเป็นของดูได้ ถ้าหาไม่ก็จะมีกลิ่นเหม็นสาป เข้าใกล้ใครก็ไม่ได้ ของทั้งปวงมีผ้าแพรเครื่องใช้ต่างๆ เมื่ออยู่นอกกายของเราก็เป็นของสะอาดน่าดู แต่เมื่อมาถึงกายนี้แล้วก็กลายเป็นของสกปรกไป อ่านเพิ่มเติม

มุตโตทัย (๒)

มุตโตทัย (๒)

แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

๕. มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เว้นมหาปัฏฐาน มีนัยประมาณเท่านั้นเท่านี้ ส่วนคัมภีร์มหาปัฏฐาน มีนัยหาประมาณมิได้เป็น “อนันตนัย” เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรอบรู้ได้ เมื่อพิจารณาพระบาลีที่ว่า เหตุปจฺจโย นั้นได้ความว่า เหตุซึ่งเป็นปัจจัยดั้งเดิมของสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุนั้นได้แก่ มโน นั่นเอง มโน เป็นตัวมหาเหตุเป็นตัวเดิม เป็นสิ่งสำคัญ นอนนั้นเป็นแต่อาการเท่านั้น อารมฺมณ จนถึงอวิคฺคต จะเป็นปัจจัยได้ก็เพราะมหาเหตุคือใจเป็นเดิมโดยแท้ ฉะนั้น มโนซึ่งกล่าวไว้ในข้อ ๔ ก็ดี ฐีติ ภูตํ ซึ่งจะกล่าวในข้อ ๖ ก็ดี และมหาธาตุซึ่งกล่าวในข้อนี้ก็ดี ย่อมมีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัยก็ดี รู้อะไรๆ ได้ด้วย ทศพลญาณ ก็ดี รอบรู้ สรรพเญยฺยธรรม ทั้งปวงก็ดี ก็เพราะมีมหาเหตุนั้นเป็นดั้งเดิมทีเดียว จึงทรงรอบรู้ได้เป็นอนันตนัย แม้สาวทั้งหลายก็มีมหาเหตุนี้แลเป็นเดิม จึงสามารถรู้ตามคำสอนของพระองค์ได้ด้วยเหตุนี้แลพระอัสสชิเถระผู้เป็นที่ ๕ ของพระปัญจวัคคีย์จึงแสดงธรรมแก่ อุปติสฺส (พระสารีบุตร) ว่า เย ธมฺมา เหตุปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ ความว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ…เพราะว่ามหาเหตุนี้เป็นตัวสำคัญ เป็นตัวเดิม เมื่อท่านพระอัสสชิเถระกล่าวถึงที่นี้ (คือมหาเหตุ) ท่านพระสารีบุตรจะไม่หยั่งจิตลงถึงกระแสธรรมอย่างไรเล่า? เพราะอะไร ทุกสิ่งในโลกก็ต้องเป็นไปแต่มหาเหตุถึงโลกุตตรธรรม ก็คือมหาเหตุ ฉะนั้น มหาปัฏฐาน ท่านจึงว่าเป็น อนันตนัย ผู้มาปฏิบัติใจคือตัวมหาเหตุจนแจ่มกระจ่างสว่างโร่แล้วย่อมสามารถรู้อะไรๆ ทั้งภายในและภายนอกทุกสิ่งทุกประการ สุดจะนับจะประมาณได้ด้วยประการฉะนี้ อ่านเพิ่มเติม

มุตโตทัย (๑)

มุตโตทัย (๑)

แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมกลายเป็นของปลอม (สัทธรรมปฏิรูป) แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร้ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติถ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจกำจัดเหล่า กะปอมก่า คือ อุปกิเลส แล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย อ่านเพิ่มเติม

มุตโตทัย แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

มุตโตทัย
แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

มุตโตทัย
บันทึกโดยพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ( ปัจจุบันพระราชธรรมเจติยาจารย์ วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ ) ณ วัดป่าบ้านนามน กิ่ง อ. โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร พ.ศ. ๒๔๘๖
ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อธรรมดังต่อไปนี้

๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
๔. มูลฐานสำหรับทำการปฏิบัติ
๕. มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ
๖. มูลการของสังสารวัฏฏ์
๗. อรรคฐาน เป็นที่ตั้งแห่งมรรคนิพพาน
๘. สติปัฏฐาน เป็น ชัยภูมิ คือสนามฝึกฝนตน อ่านเพิ่มเติม

ธรรมคำสอน

ธรรมคำสอน

รวมคำสอนต่างๆ ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ

มุตโตทัย แนวทางปฏิบัตให้ถึงความหลุดพ้น พระธรรมเทศนา ขององค์หลวงปู่
ขันธะวิมุติ บทประพันธ์ขององค์หลวงปู่ โอวาทครั้งสุดท้าย บันทึกโดยหลวงปู่หล้า
โอวาทธรรม บันทึกโดยหลวงปู่หลุย จันทสาโร พระธรรเทศนา ที่แสดงแด่หลวงปู่ฝั้นเป็นครั้งแรก

หลวงปู่มั่นตอบปํญหาธรรมะ
ตอบปัญหาชาวโคราช ตอบปัญหาพระมหาเถร ตอบปัญหาชาวกรุงเทพ
” ….ท่านทั้งหลายจงอย่าทำตัวเป็นตัวบุ้งตัวหนอนคอยกัดแทะกระดาษแห่งคัมภีร์ใบลานเปล่าๆ
โดยไม่สนใจพิจารณาสัจธรรมอันประเสริฐที่มีอยู่กับตัว แต่มัวไปยึดธรรมที่ศึกษามาถ่ายเดียว
ซึ่งเป็นสมบัติของพระะพุทธเจ้า มาเป็นสมบัติของตน ด้วยความเข้าใจผิด
ว่าตนเรียนรู้และฉลาดพอตัวแล้ว ทั้งที่กิเลสยังกองเต็มหัวใจยิ่งกว่าภูเขาไฟ มิได้ลดน้อยลงบ้างเลย

จงพากันมีสติคอยระวังตัว อย่าให้เป็นคนประเภทใบลานเปล่าๆ เรียนเปล่าและตายทิ้งเปล่า
ไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริงติดตัวบ้างเลย”

….นี่คือคำสอนที่องค์หลวงปู่มั่นเคยพูดอยู่เสมอๆ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://luangpumun.org

๕ ปฏิปทาท่านพระอาจารย์มั่น

๕ ปฏิปทาท่านพระอาจารย์มั่น
ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ

๑. บังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา
จึงได้พักผ่อนให้คหบดีจีวรบ้างเพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
๒. บิณฑบาตกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารวัตรเที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธไปในละแวก
บ้านไม่ได้ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉันจนกระทั่งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัยจึงงดบิณฑบาต
๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาตรใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธหนักจึงงด
๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ตลอดมา แม้ถึงอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยก็มิได้เลิกละ
ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราวที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ ถืออยู่ เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัยเมื่อถึงวัยชราจึงอยู่ใน เสนาสนะ ป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลังที่จะภิกขาจารบิณฑบาตเป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนยำเกรงไม่รบกวน นัยว่าในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยวแสวงวิเวกไปในดงพงลึกจน สุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์ จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่นในคราวไปอยู่ทางภาคเหนือเป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอร์ ยังชาวมูเซอร์ซึ่งพูดไม่รู้เรื่องกันให้บังเกิดศรัทธาในพระศาสนาได้

พระอริยคุณคุณาธาร วัดเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น เรียบเรียง
อ่านเพิ่มเติม

๔ พระธาตุ

๔ พระธาตุ

หลังองค์หลวงปู่มั่น ลาขันธ์เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ จึงได้มี การจัดถวายพระเพลิงศพหลวงปู่ ณ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนครในวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เมื่อถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว อัฐิขององค์หลวงปู่ได้ถูกแบ่งแจกไปตามจังหวัดต่างๆ ส่วนประชาชนได้เถ้าอังคารไป

ต่อมาปรากฏว่าอัฐิธาตุขององค์หลวงปู่ ที่แจกจ่ายไปยังที่ต่างๆ ก็กลายเป็น พระธาตุไปหมด แม้แต่เส้นผมของท่านที่มีผู้เก็บไปบูชาในที่ต่างๆ ก็กลายเป็นพระธาตุ ได้เช่นเดียวกับอัฐิของท่าน

ปัญหาเรื่องอัฐิหลวงปู่มั่นกลายเป็นพระธาตุนี้ พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ได้อธิบายไว้ว่า
อ่านเพิ่มเติม

๓ ปัจฉิมวัย

๓ ปัจฉิมวัย

ในวัยชรานับแต่ พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นต้นมา ท่านหลวงปู่มั่นมาอยู่ที่จังหวัดสกลนคร เปลี่ยนอิริยาบท ไปตามสถานที่วิเวกผาสุขวิหารหลายแห่ง คือ เสนาสนะป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง (ปัจจุบันเป็นอำเภอโคกศรีสุพรรณ) บ้าง แถวนั้นบ้าง
ครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยุ่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึงปีสุดท้ายแห่งชีวิต ตลอดเวลา ๘ ปีในวัยชรานี้ ท่านได้เอาธุระอบรมสั่งสอน ศิษยานุศิษย์ทางสมถวิปัสสนา เป็นอันมาก ได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์เป็นประจำวันศิษย์ ผู้ใกล้ชิด ได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านไว้ และได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเผยแพร่ แล้วให้ชื่อว่า “มุตโตทัย”
อ่านเพิ่มเติม

๒ บำเพ็ญเพียร

๒ บำเพ็ญเพียร

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
( จันทร์ สิริจันโท )
วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ในสมัยต่อไปได้แสวงหาวิเวก บำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่างๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง หุบเขา ซอกเขา ห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถ้ำ เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้าง ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ทางกรุงเทพ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนา กับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม และถ้ำสิงห์โต ลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัยในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอีสาน ทำการอบรมสั่งสอนสมถวิปัสสนา แก่สหธรรมิกและอุบาสกอุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใสปฏิบัติตามมากขึ้นโดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลายกระจายทั่วภาคอีสาน

ในกาลต่อมาได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ อีก ๑ พรรษาแล้ว ไปเชียงใหม่ กับท่านเจ้าคุณพระคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( จันทร์ สิริจนฺโท ) จำพรรษาวัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษา แล้วออกไปพักตามที่วิเวกต่างๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้นๆ นานถึง ๑๑ ปี จึงได้กลับมาจังหวัดอุีดรธานี พักจำพรรษาอยู่ที่วัดโนนนิเวศน์ เพื่ออนุเคราะห์สาธุชนในที่นั้น ๒ พรรษา แล้วมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร จำพรรษาที่วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ( ปัจจุบันคืออำเภอ โคกศรีสุพรรณ ) ๓ พรรษา จำพรรษาที่วัดป่าหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม ๕ พรรษาเพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติได้ติดตามศึกษา อบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่าน ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยังเกียรติคุณของท่านให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://luangpumun.org

๑ ชาติกำเนิดและการอุปสมบท

๑ ชาติกำเนิดและการอุปสมบท

อนุสรณ์สถานบ้านเกิด
ณ บ้านคำบง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อจันทร์ เพีย ( พระยา ) แก่นท้าวเป็นปู่ นับถือพุทธศาสนา

เกิดวันพฤหัสบดีเดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ( ปัจจุบันคือ บ้านคำบง ตำบลสงยาง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี )

มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวขาวแดง แข็งแรง ว่องไว สติปัญญาดีมาตั้งแต่กำเนิดฉลาดดี
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

“…หลวงปู่ฝั้นนั่งห่างองค์หลวงปู่มั่นประมาณวาหนึ่งต่างหากผินหน้ามาทางองค์หลวงปู่ใหญ่ อยู่ข้างหลังพระอาจารย์กงมา หลวงปู่ฝั้นนั้นท่านนั่งขัดสมาธิภาวนาอยู่นิ่ง ๆ พวกที่เข้าคิวนั่งรอบกายองค์หลวงปู่มั่น ห่างจากกายขององค์หลวงปู่มั่นก็ประมาณฝ่ามือ พระอาจารย์กงมานั่งอยู่ทางขวาขององค์หลวงปู่ที่นอนตะแคงขวานิดหน่อย เพียงไหล่ขององค์หลวงปู่ พระอาจารย์มหาบัวนั่งอยู่เพียงบั้นเอวขององค์หลวงปู่ ข้าพเจ้านั่งอยู่ใต้ฝ่าเท้าของท่านสีหา ครูบาทองคำนั่งอยู่เพียงหัวเข่าขององค์หลวงปู่ ครูบาวันนั่งอยู่เพียงบั้นเอวขึ้นไปหาอกขององค์หลวงปู่ ต่างก็นิ่งจ้องดูลมขององค์ท่านอยู่…..ประมาณสัก ๒๐ นาที องค์ท่านก็สิ้นลมปราณไปเงียบ ๆ ทีนี้อ้ายใจผีบ้าน้ำตากิเลส…..”
อ่านเพิ่มเติม

สาเหตุของการปฏิบัติไม่ได้ผล…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

สาเหตุของการปฏิบัติไม่ได้ผล…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

การปฏิบัติไม่ได้ผลเพราะเหตุใด?

1. ไม่ตั้งใจทำ

2. ไม่ทำติดต่อไปเรื่อยๆ

3. ทำๆ หยุดๆ เลิกไปท่านจะได้อะไร

4. อ่อแอ ท้อแท้ใจ นิวรณ์เข้าครอบงำ

ถ้าท่านอ่อนแอทท้อแท้…..ไม่ต้องเจริญกรรมฐาน อีกร้อยปี

ท่านก็ไม่ได้อะไร ท่านต้องอดทน ถ้าไม่เต็มใจทำ…..

ไม่มีศรัทธา ไม่ตั้งใจ ไม่เต็มใจ มากับเขาเรื่อยไปแค่นั้น….
อ่านเพิ่มเติม

สอนตัวเองได้ประเสริฐสุด หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

สอนตัวเองได้ประเสริฐสุด หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

การเกิดเป็นมนุษย์ยากแล้ว ทำไมเอาความเป็นสมบัติมนุษย์ไปทิ้ง ท่านมีกุศลกรรมบถ10มาแล้ว

ไม่อย่างนั้นท่านก็จะไม่เป็นมนุษย์ พลาดท่าเสียทีก็ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานมากมายก่ายกอง

ทำไมไม่รักษาความเป็นมนุษย์ไว้

การเจริญภาวนา เจริญสติปัฏฐาน4 เช่น มีการยืนหนอ5ครั้ง
…การเดินจงกรม ตั้งสติไว้ทุกอริยาบท

กุศลกรรมบถ10 ท่านก็ครบ ขณะที่เจริญกรรมฐาน…พองหนอ….ยุบหนอ กายกรรม3ครบ

วจีกรรม4ครบ มโนกรรม3ครบ นี่แหละสมบัติมนุษย์ครบ จะก่อให้บังเกิดผลขึ้นในสมบัติมนุษย์ของท่าน

ตลอดกาลในชีวิตของท่าน ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนทรัพย์ ร่วมประเวณีแต่ประการใด
อ่านเพิ่มเติม

สิ่งที่พึงได้จากการอบรมจิต หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

สิ่งที่พึงได้จากการอบรมจิต หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

ทุกคนไม่ทราบว่า เราสร้างเวรกรรมอะไรไว้กี่ชาติกี่อย่าง…นานาประการ เวียนวนตลอดรายการแล้ว

ไหนเลยเล่าเราจะได้ความสุขที่มันถูกต้อง และแน่นอนที่สุด…ไม่เท่ากับการเจริญพระกรรมฐาน

ที่เราได้มาฝึในวัดนี้ หรือไปฝึกที่วัดไหนๆ ก็เหมือนกันหมด ขอให้ฝึกได้สามประการ

1. ระลึกชาติของชีวิตได้ไหม?

2. รู้กฏแห่งกรรมมแล้วรึยัง?

3. แก้ปัญหาได้ไหม?
อ่านเพิ่มเติม

นำตัวเอง-ตามตัวเอง…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

นำตัวเอง-ตามตัวเอง…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

การเจริญกรรมฐาน ไม่ใช่มานั่งหลับตาไปสวรรค์นิพพาน
เพื่อต้องการฐานทัพให้แน่น
ต้องการเอาสมบัติมนุษย์ให้ครบถ้วนทุกประการ
แต่แล้วเกิดมานี่สมบัติมนุษย์ยังไม่ครบ
ยังทำอะไรก็จ้ำจี้จ้ำจด หมดอาลัยตายอยาก
ความเป็นมนุษย์ไม่ครบ
ถ้าความเป็นมนุษย์ท่านครบ ท่านจะไม่ฆ่าสัตว์
ไม่เบียดเบียนสัตว์ จะไม่ล่วงประเวณีในสังคม
จะไม่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบพูดเพ้อเจ้อ
แล้วก็ไม่ดื่มสุรายาเมา
ถ้ายังดื่มสุรายาเมาอยู่นั่นเป็นมนุษย์ไม่ครบ
อ่านเพิ่มเติม

การพิสูจน์ความถูกต้องของชีวิตโยม…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

การพิสูจน์ความถูกต้องของชีวิตโยม…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

การเจริญสติปัฏฐาน ๔ เป็นการแก้ปัญหาชีวิต
พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่าเป็นทางสายเอก
พระองค์ได้ประสบการณ์จากหนทางเส้นนี้มาแล้ว
มีความสุขแน่ ๆ มีความเจริญในมรรคมรรคา

มรรค ๘
ได้แก่สรุป ศีล สมาธิ ปัญญา
สรุปสติคือ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
คือ สติปัฏฐาน ๔ ในมรรค ๘ ชัดเจน
ทำไมโยมไปภาวนาไปสวรรค์นิพพาน
อ่านเพิ่มเติม

หลักสำคัญของการปฏิบัติ…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

หลักสำคัญของการปฏิบัติ…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

หลักสำคัญ ๓ ข้อ
การปฏิบัตินี้ อาตมาเน้นอยู่ ๓ ข้อคือ
๑. ยืนหนอ ๕ ครั้ง
๒. การเดินจงกรมให้ช้าที่สุด มันจะได้สติรวบรวมไว้ได้ดี
๓. หายใจเข้าออก เอาสติยัดเข้าไปตามลมหายใจ ให้ได้จังหวะ

นอกจาก สามอย่างนี้
เราจะต้องไม่เกียจคร้าน
ต่อการงานและหน้าที่ รับผิดชอบในกัมมัฏฐาน
กัมมัฏฐาน นี้ เป็นการกระทำให้ฐานะ ดีขึ้น
นั่งแต่ละครั้งจะเหมือนกัน
นั่งแต่ละครั้งอาจจะไม่เหมือนกัน
ถ้าเราทำไปนานๆ แม้เราจะอายุมากก็ตาม
โรคภัย ไข้เจ็บก็จะหายไปอย่างน่าอัศจรรย์ อ่านเพิ่มเติม

มีสัจจะและขันติ พระธรรมสิงหบุราจารย์

มีสัจจะและขันติ พระธรรมสิงหบุราจารย์

ถ้ามีอุปสรรคในการนั่งกรรมฐาน… ปวดเมื่อย เกิดเวทนา เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวเสียใจ

เดี๋ยวดีใจ… ก็กำหนด ตัวกำหนด คือตัวที่มีปัญญา ที่สามารถจะแก้ไขปัญหาต่างๆได้

ให้ผ่านอุปสรรคไปได้อย่างแน่นอน เรามีสติสัมปชัญญะดี ปัญญาก็เกิดขึ้น ในเรื่องของกรรมฐาน

แก้ปัญหาได้ ปวดหนอ… ปวดหนอ เกิดขึ้น… ตั้งอยู่… ดับไป แยกรูป แยกนามออก เวทนาก็แยกไป

ตรงนี้ตัวปัญญาก็เกิด ใช้เป็นอาวุธประจำตัวเราได้ อุปสรรคมันก็หายไป คือมารอันนั้น การปวดเมื่อยจะไม่มีอีกต่อไป

เราปลงตกแล้ว อนิจจังมันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ พอมีทุกข์ก็เป็นอนัตตา เกิดขึ้น… ตั้งอยู่… ดับไป…

ไม่มีทุกข์อะไรอยู่กับเราอีกแล้ว จิตใจก็เกิดปัญญารอบรู้ ก็เป็นประโยชน์กับท่านเองโดยเฉพาะ
อ่านเพิ่มเติม

ถ้าเราเจริญกรรมฐาน จะพบความสำเร็จของชีวิต…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

ถ้าเราเจริญกรรมฐาน จะพบความสำเร็จของชีวิต…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

เงินให้ความสุขและความสำเร็จในชีวิตไม่ได้
ความสำเร็จในชีวิตไม่ต้องใช้เงิน
แต่จงใช้ความดีที่ตัวสร้าง
เงินให้ความสะดวก จะซื้อรถกี่คันก็ได้
จะซื้อบ้านกี่หลังก็ได้ แต่ซื้อความสุขในชีวิต
ให้ลูกเป็นดอกเตอร์สักคนได้ไหม
ซื้อความสำเร็จให้สามีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับเราได้ไหม
มีเงินมากมายก่ายกองแต่ทำไมสามีภรรยานั่งทะเลาะกัน
ความคิดไม่ตรงกันเลย
อ่านเพิ่มเติม

ปฏิบัติธรรมก็มีความหมายอย่างนี้ …หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

ปฏิบัติธรรมก็มีความหมายอย่างนี้ …หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

ที่มาปฏิบัติธรรมก็มีความหมายอย่างนี้
ก็ขอเจริญพรไว้ คนสวดมนต์นี้ก็สวดให้มันจริง ๆ หน่อย
สวดไม่จริง สวดแล้วก็ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ไป ไม่มีทางได้หรอก
มีเรื่องยกตัวอย่างอยู่มากมาย
จะเป็นฆราวาส ภิกษุสงฆ์องค์เจ้าทำได้
มันจะเป็นอย่างที่กล่าว
จิตจะสงบตลอด จิตจะเป็นสมาธิตลอดเวลา
ดังหลักฐานที่กล่าวชี้แจงมานี้
จิตสงบไม่มีวุ่นวาย ต้องมีน้ำอดน้ำทนทุกคนนะ
ไหน ๆ มาอยู่แล้วไม่ใช่มาวันเดียว
บางคนมาวันเดียวก็ไม่ได้ อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .