พระสมเด็จฝังเม็ดพระธาตุกรุวัดพระแก้ว สมเด็จโตสร้างถวายร.5

พระสมเด็จฝังเม็ดพระธาตุกรุวัดพระแก้ว สมเด็จโตสร้างถวายร.5

ข้อความเดิมของคุณสมบัติ เพ็งพล หรือ IT Man จากเว็บพลังจิต

เป็นที่ยอมรับนับถือกันในวงภายในผู้ศึกษาสะสมพระพิมพ์สายวัง(หลวง หน้า หลัง)ทั้งหลายว่า TOP4 เป็นพระพิมพ์ที่มีพลานุภาพสูงที่สุดนับแต่ค้นพบมา (จากอดีตถึงปัจจุบันตอนนั้น 2553-2554)
แต่หลังจากนั้นมาจวบจนปัจจุบัน (2554-2555) ยิ่งได้ค้นพบสืบค้นมาก จึงพบว่าเหนือฟ้าก็ยังมีฟ้า เพราะฟ้านั้นยากจะวัดวาหาอาณาเขตได้
(ผมคิดว่าเป็นเรื่องอจินไตยที่มนุษย์ธรรมดาหากสงสัยในสิ่งที่เหนือกว่าตนเองมากไปก็ลำบากอยู่)

การได้มีโอกาสครอบครองหรือแม้แต่ได้รับข้อมูลอันถูกต้องไม่เอนเอียงไปในทางมิชอบทั้งหลาย ก็นับว่าเป็นบุญกุศลที่จักไม่ได้เกิดอาการปรามาสต่อพระพิมพ์สำคัญๆที่…
– สูงทั้งผู้ทรงให้สร้าง (พระมหากษัตริย์)
– สูงทั้งรูปเหมือนในการสร้าง (รูปพระพุทธเจ้าทั้งหลาย)
– สูงทั้งพระผู้ทรงอธิษฐานจิต (เจ้าประคุณสมเด็จฯโต)
– สูงทั้งเนื้อหามวลสาร (ผงพระสมเด็จและพระธาตุ)
– สูงทั้งคณะผู้ออกแบบและสร้าง (เจ้ากรมช่างสิบหมู่ ช่างหลวง)
– สูงทั้งเจตนาในการสร้าง (เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์)
– สูงทั้งวาระ สถานที่ในการสร้าง/เสก (ฤกษ์/พิธีหลวง/ในวังและวัดพระแก้ว)

การสำรวมระวังมีสติทุกขณะจิตไม่ให้ก้าวไปในทางที่ชั่วก็นับว่าดีมากแล้ว แต่ครั้นเราได้อัญเชิญพระพิมพ์ที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ พระธาตุ ก็ยิ่งทำให้เรามีจิตใจแนบแน่นในองค์พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งจักเป็นมหากุศล ดังนั้น..เจตนาระหว่างการอัญเชิญพระพิมพ์ จึงเป็นตัวกำหนดดีชั่วมากกว่าใดๆครับ

ขอโมทนาสาธุกับท่านผู้ได้ครอบครองฯในทางที่ชอบทั้งหลาย
IT Man/11.07.55

ขอขอบคุณ : http://chayut4299.blogspot.com/2012/08/106-5.html

มหัศจรรย์พระสมเด็จวัดระฆัง “มรดกโลก มรดกธรรม” ชุดทิ้งทวนของ ดร.นนต์

มหัศจรรย์พระสมเด็จวัดระฆัง “มรดกโลก มรดกธรรม” ชุดทิ้งทวนของ ดร.นนต์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนนต์ สิปปภากุล

ประกาศ
บัดนี้ ผมเป็นนักภาวนาเต็มตัวแล้ว และได้ละวางพระเครื่องและวัตถุมงคลทั้งหมดแล้ว ยังเหลือแต่ความทรงจำและข้อความรวมทั้งภาพที่เกี่ยวข้องอยู่ในพื้นที่ของเว็บไซต์นี้ เพื่อประโยชน์และเป็นวิทยาทานแก่ผู้ยังหลงใหลในพระเครื่องเท่านั้น ฉะนั้น ผมจึงไม่ขอพิจารณาพระเครื่องและวัตถุมงคลใดๆให้แก่ผู้ใด ด้วยเหตุแห่งความตั้งใจมั่นเพื่อการเจริญภาวนา และหากยังมีการพิจารณาพระเครื่องอยู่อาจทำให้เกิดความผิดพลาด จนกลายเป็นมุสา นั่นจะทำให้เกิดกรรมตามมาทั้งสองฝ่าย และโดยเฉพาะหากเป็นการรบกวนความสงบของนักภาวนา แม้จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม แต่กรรมจะบังเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นอย่างแน่นอน

ส่วนพระเครื่องที่ผมมีอยู่ ผมยินดีจะแบ่งปันออกไปให้เช่าบูชาเพื่อจะนำรายได้บางส่วนไปสร้างบุญกุศลต่อไป เป็นการเอาสมมุติแลกกับสมมุติ (พระแลกเงิน) เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งส่วนตนและส่วนรวมต่อไป จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกันครับ
อ่านเพิ่มเติม

คำสอน ของสมเด็จโต

คำสอน ของสมเด็จโต
คำสอน สมเด็จโต

จุฬาภินันท์บังเอิญไปได้อ่านหนังสือ “อมตะธรรม สมเด็จโต” ครับ ในฐานะของคนเข้าถึงธรรม จุฬาภินันท์รู้ทันทีว่านั่นแหละคือสิ่งที่ควรถูกสอนอย่างยิ่ง คราวนี้เลยเอาบางส่วนที่สำคัญๆมาให้คุณๆรู้กันค่ะ

พระมหาโพธิสัตว์ที่ตอนนี้เข้าสู่พระนิพพานแล้วมีพุทธพจน์ดังนี้ค่ะ

“กรรมเก่าไม่มีใครลบล้างได้ กรรมปัจจุบันจะช่วยเจ้าเอง จงจำไว้ลูกเอ๋ย…กรรมที่ทำด้วยเจตนาไม่ ว่าดีหรือชั่ว ย่อมมีผลต่อผู้กระทำนั้นทั้งสิ้น ไม่มีพรหมเทพองค์ใดจะช่วยเจ้าลบล้างกรรมนั้นได้ เจ้าต้องช่วยเหลือตนเองด้วยการสวดมนต์ ภาวนา แผ่เมตตา ผลแห่งบุญอันเป็นกรรมปัจจุบันจะช่วยเจ้าเอง”

จาก พุทธพจน์แสดงให้เห็นว่ากรรมนั้นสำคัญต่อชีวิตของคนเรา ทุกๆอย่างเป็นไปเพราะกรรมกำหนด ได้ดีเพราะมีบุญ ได้ชั่วเพราะมีบาป ทุกคนคงรู้อยู่แล้ว แต่น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่มองข้ามการสร้างบุญที่ยิ่งใหญ่ ใช่ครับ สวดมนต์ ภาวนา แผ่เมตตา เป็นการกระทำที่จะได้บุญสูงสุด การไหว้พระไม่ใช่เป็นการสร้างบุญ แต่เป็นไปเพื่อความสบายใจ พรที่ขอไม่มีผลใดๆถ้าไม่สะสมบุญ การทำบุญด้วยวิธีอื่นๆก็ให้ผลบุญเช่นกัน แต่…เงื่อนไขอยู่ที่เจตนาครับ
อ่านเพิ่มเติม

ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ : ก่อนจะเป็นสมเด็จโตฯ

ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ : ก่อนจะเป็นสมเด็จโตฯ
ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ
โดย ร้อยเอกประชุม สุขสำราญ

” ๐ ก่อนจะเป็นสมเด็จโตฯ ”

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นพระเถระที่ทรงคุณวิเศษอยู่หลายประการ ยังผลให้ “พระสมเด็จ” ที่ท่านสร้างได้รับความนิยมอย่างสูง แม้นคาถา “ชินบัญชร” ก็ยังเป็นที่นิยมสวดภาวนา จนเป็นคาถาที่เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ สามารถบันดาลผลที่ปรารถนาได้สารพัด ทั้งนี้ก็ด้วยบารมีแห่งคุณวิเศษของท่านนั่นเอง
เจ้าประคุณสมเด็จฯ โต มีอายุยืนยาวถึง 5 รัชกาล คือ เกิดใน พ.ศ. 2331 (รัชกาลที่ 1) และสิ้นใน พ.ศ. 2415 (รัชกาลที่ 5) และเชื่อกันว่า เจ้าประคุณเป็นเชื้อพระวงศ์ด้วย
ผมเคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่ พูดถึงประวัติของท่านโดยสรุปว่า
“เกิดที่ไชโย โตที่วัดอินทร์ สิ้นที่วัดระฆัง”
เพราะฉะนั้น ท่านจึงสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ๆ ในสถานที่ที่ท่านเกี่ยวข้องอยู่นั้น นัยว่าเพื่อให้สมกับชื่อ “โต” ของท่าน เช่นที่วัดเกตุไชโย อ่างทอง, หลวงพ่อโต วัดอินทร์ บางขุนพรหม กทม. เป็นต้น
เจ้าประคุณสมเด็จฯ โต ท่านประพฤติปฏิบัติแปลกๆ ซึ่งพระรูปอื่นไม่ทำหรือทำไม่ได้ และเมื่อท่านทำแล้ว แทนที่จะถูกตำหนิ ติเตียนกล่าวโทษท่าน แต่กลับได้รับความนิยมนับถือยิ่งขึ้น แม้พระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเป็นสมมติเทวดาก็ยังยินยอม ไม่ถือโทษ พระราชทานอภัย ทั้งนี้เพราะท่านทรงอภินิหารเป็นวิสามัญบุคคล เรียกว่าเป็นบุคคลประเภท “ปาปมุติ” ทำอะไรก็น่ารัก น่านับถือไปหมด ว่างั้นเถอะ
เจ้าประคุณสมเด็จฯ เองก็เคยพูดถึงความประพฤติของท่านอยู่เสมอว่า
“ที่เขาชมว่าขรัวโตดี นั่นแหละคือ ขรัวโตบ้า ที่เขาติว่านั่นแหละคือ ขรัวโตดี”
หรือท่านพูดว่า “ทีขรัวโตบ้า ก็ว่าขรัวโตดี, ทีขรัวโตดี ก็ว่าขรัวโตบ้า” เป็นงั้นไป
*
*
*
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6927

ขอขอบคุณ : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=01ea36cf60e7f04e

สมเด็จวัดระฆังไม้เสาเอก กุฏิสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

สมเด็จวัดระฆังไม้เสาเอก กุฏิสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี (สภาพสวยเดิมๆ 39 ปี) พิมพ์นิยมพระประธาน

รายละเอียด:
***NEW!!!สมเด็จวัดระฆังไม้เสาเอก กุฏิสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี (สภาพสวยเดิมๆ 43 ปี) พิมพ์นิยมพระประธาน 3 ชั้น หลวงปู่หิน ตอกโค้ดเลข 495 (เลขสวยมาก นับรวมกันแล้วได้เลข 9 ครับ เหมาะสำหรับท่านที่ชอบตัวเลข 9 หน้า) เด่นสง่าเหนือผู้อื่น เสริมดวงบารมีท่วมท้นสิบทิศ เหมาะมากกับผู้ที่ต้องประมูลงานแข่งขันกับผู้อื่น ขายประกัน นายหน้า รับเหมาก่อสร้าง รับราชการ เสริมความรัก แคล้วคลาด มหาอำนาจ มีแต่เจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน เมตตาแรงมากๆๆๆ คัดสวยพิเศษมากๆๆๆ***(รายการแนะนำ)

สมเด็จวัดระฆังไม้เสาเอก กุฏิสมเด็จโต (สภาพสวยเดิมๆ 43 ปี) พิมพ์นิยมเสาเอก 3 ชั้น เป็นวัตถุมงคลล้ำค่าของวัดระฆัง ที่จัดสร้างขึ้นด้วย “ไม้เสาเอก” กุฏิของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งพบว่า จมอยู่ในดินภายในบริเวณคณะ 7 (เดิมนั้น ยังพอมีเค้าให้เห็นทั้งกุฏิ อู่เรือ และบ่อน้ำมนต์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต หลงเหลือยืนยันให้เห็นอยู่)
อ่านเพิ่มเติม

พระสมเด็จวัดระฆังนอกสายตาเซียน

พระสมเด็จวัดระฆังนอกสายตาเซียน

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จวัดระฆัง คือพระที่หลวงปู่โต หรือบรรดาสานุศิษย์ของพระคุณท่านสร้างขึ้นมาต่อหน้าท่านที่วัดระฆัง โดยอยู่ในการควบคุมของท่าน ซึ่งทราบจากประวัติการบอกเล่าจากหลาย ๆ ที่ว่าแทบทุกวันจะมีการตำโขกมวลสารต่าง ๆ และอัดเป็นองค์พระกันที่หน้ากุฏิของท่าน เมื่อตากแห้งดีแล้วก็นำขึ้นไปเก็บไว้ที่หอสวดมนต์ของท่าน ซึ่งท่านจะนั่งสวดมนต์ภาวนาปลุกเสกพระของท่านทุกวัน

แม่แบบหรือแม่พิมพ์พระก็มีมากมายหลายแบบ มีทั้งที่ช่างจากวังหลวงบ้าง วังหน้าบ้าง วังหลังบ้าง ชาวบ้านผู้มีฝีมือในการแกะพิมพ์บ้าง ลูกหลานของท่านบ้าง ช่วยกันแกะแม่พิมพ์ถวาย ถ้าเป็นชาวบ้านแม่พิมพ์ก็เป็นไม้ธรรมดา ถ้าเป็นช่างหลวงแม่พิมพ์ก็เป็นไม้ที่แข็งแรงทนทาน หรือใช้หินอ่อนบ้าง หินลับมีดโกนหรือหินทรายบ้าง เครื่องแกะสลักก็มีมาตรฐาน ก็จะได้แม่พิมพ์ที่สวยงาม มาตรฐาน

ดังนั้นพระสมเด็จวัดระฆังจึงมีมากมาย ซึ่งจากการบันทึกย่อประวัติหลวงปู่โตและพระสมเด็จของท่านมีรายละเอียดไว้พอสมควรทีเดียว
อ่านเพิ่มเติม

โอวาทจากดวงพระวิญญาณบริสุทธิ์สมเด็จโต

โอวาทจากดวงพระวิญญาณบริสุทธิ์สมเด็จโต

พิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยเดลี่
ประจำวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๔

ทำไมทำดีแล้วจึงไม่ได้ดี

คุณขีด : กระผมอยากทราบเรื่องกฎแห่งกรรมเพราะเป็นกุญแจของบุญและบาป คนที่ไม่รู้จักบุญและบาปก็เพราะไม่รู้จักกฎแห่งกรรม บางคนไม่เชื่อว่าบุญมีจริงบาปมีจริง แล้วบางทีทำบุญกลายเป็นได้ผลบาป ทำบาปกลายเป็นผลดี ทั้งนี้เป็นเพราะว่าไม่ทราบชัดในเรื่องกฎแห่งกรรม เพราะฉะนั้นกระผมอยากให้หลวงพ่อสมเด็จได้โปรดขยายกฎแห่งกรรมให้กว้างขวาง ให้เป็นที่รู้ชัดสักหน่อยครับว่ามีกฎอันแท้จริงอย่างไร

สมเด็จโต : กฎแห่งกรรมนี้เป็นสิ่งที่ละเอียดมาก ก็เปรียบเสมือนหนึ่งธรรมชาติของการเติบโตของผลไม้ตามฤดูกาล กรรมที่ท่านสร้างในอดีตภพย่อมนำมาสู่ท่านในปัจจุบันภพ ฉันใดก็ฉันนั้น ทีนี้กรรมเหล่านั้นที่ท่านทำไปแล้วแต่ท่านลืมไปเพราะอะไรเล่า เพราะว่ามนุษย์ที่ยึดว่าทำไมทำดีจึงไม่ได้ดี เพราะมนุษย์ผู้นั้นไม่โปร่งในขั้นสมุฏฐานของเหตุและปัจจัย
อ่านเพิ่มเติม

จัดงานบุญวันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

จัดงานบุญวันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

รำลึกถึงที่ผู้สร้างคุณูประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา

ศ.เกียรติคุณ ดร.พิชัย โตวิวิชญ์ ถวายเครื่องสักการะแด่องค์สมเด็จโต

“บุญเราไม่เคยสร้าง…ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า…” “ลูกเอ๋ย ก่อนที่จะเข้าไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมมาจนพ้นตัว…เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว…แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า…หมั่นสร้างบารมีไว้…แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง…จงจำไว้นะ… เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้…ครั้นเมื่อถึงเวลา…ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่..จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า” นี่คือ อมตวาจา ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่ฝากให้สาธุชน เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
(2319 – 2415)

นามเดิม โต
โยมบิดา-มารดา ท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อครั้งพระองค์ยังทรงพระยศเป็นเจ้าพระยาจักรี กับนางงุด ชาวนาเมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2319 เวลา 07.20 น. ตรงกับวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก ที่บางขุนพรหม กรุงเทพฯ เด็กชายโตได้บวชเป็นสามเณร อายุย่าง 13 ปี ตรงกับวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2331 (จ.ศ. 1150) ที่วัดใหญ่ มีพระครูใหญ่เมืองพิจิตรเป็นผู้บรรพชาให้ และเมื่อสามเณรโตได้บรรพชาแล้ว ก็ตั้งใจร่ำเรียนภาษาบาลี ไวยากรณ์มูลกัจจายน์ ซึ่งเป็นต้นตำรับของบาลีที่เรียนกันในยุคนั้น ท่านพระครูใหญ่ท่านมีความรู้ทางเวทมนต์คงกระพันชาตรี เสน่ห์มหานิยม นะจังงัง ปราบหมี ปราบเสือ ปราบจระเข้ ท่านสอนสามเณรหมด สามเณรเรียนแล้วก็ออกป่า ลงน้ำ ทดลองอาคมจนเห็นผล การศึกษาทั้งบาลีนักธรรมก็เจนจบ แต่จะหาคัมภีร์ให้ร่ำเรียนสูงขึ้นไปอีกก็ไม่มี ท่านพระครูใหญ่จึงแนะนำให้ไปศึกษากับพระครูวัดไชยนาทบุรี เมืองชัยนาท ตอนนั้นเป็นพ.ศ. 2333 อายุได้ 15 ปีแล้ว เพื่อเรียนพระปริยัติธรรม แปลไทยเป็นบาลี แปลบาลีเป็นไทย แปลบาลีเป็นลาว เป็นเขมร เป็นพม่า ชำนาญการทุกภาษา เวลาล่วงเลยไปได้ 3 ปี เรียนจนถึงแปดขั้นบาลี ก็จบทุกสรรพตำราที่มีอยู่ในสำนักอาจารย์ จนไม่มีอะไรจะสอนท่านอีก อ่านเพิ่มเติม

พระเครื่อง รุ่น 215 ปี สมเด็จโต

พระเครื่อง รุ่น 215 ปี สมเด็จโต

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พระมหาเถระรูปสำคัญแห่งกรุงรัตน โกสินทร์ ที่ได้รับความเคารพศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน สมญา “พระเถระ 5 แผ่นดิน”
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังสร้างกรุงรัตน โกสินทร์ประมาณ 7 ปี ที่บ้านไก่จ้น (ท่าหลวง) อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5 มรณภาพในต้นสมัยรัชกาลที่ 5

เป็นพระเกจิผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส มีความสมถะ ทั้งทรงคุณวิเศษทางวิชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดสร้าง “พระสมเด็จ” จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง หนึ่งในพระเครื่องชุดเบญจภาคี สุดยอดของพระเครื่องของเมืองไทย ซึ่งยิ่งนับวันค่านิยมยิ่งสูงขึ้น สนนราคาในปัจจุบันต่อองค์นับล้านบาททีเดียว
อ่านเพิ่มเติม

๔ ยุคพระสมเด็จ

๔ ยุคพระสมเด็จ

๔ ยุคพระสมเด็จ

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์

ท่านเป็นคน 5 แผ่นดินคือเกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 และมรณภาพในในต้นรัชกาลที่ 5

มีบันทึกเก่า ๆ ตั้งแต่สมัย 80 ปีก่อนเกี่ยวกับตัวท่านและประวัติการสร้างพระ พูดถึงพิมพ์ทรงของพระสมเด็จโตว่ามีถึง 73 พิมพ์

หนังสือพระยุคสมัย 20-30 ปีก่อนก็มีคนเขียนถึงพิมพ์ทรงต่าง ๆ ได้มากมายเช่นกัน

ศึกษาย้อนหลังจะได้ความจริงว่าคนสมัยก่อนที่นิยมเล่นหาพระสมเด็จ “ใจกว้าง” กว่าคนสมัยนี้ เพราะหลักการในการพิจารณาของนั้นอยู่ที่ “เนื้อหา” และให้ความสำคัญของพิมพ์ทรงเป็นลำดับต่อไป
อ่านเพิ่มเติม

คาถาสมเด็จพระพุฒาจารย์โต

คาถาสมเด็จพระพุฒาจารย์โต

คาถาสมเด็จพระพุฒาจารย์โต รวม คาถาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) คาถาบูชาพระสมเด็จ คาถาอารธนาพระสมเด็จ พุทธมังคลคาถา พุทธมังคลคาถาถือเป็น อีกหนึ่งบทคาถา คาถาสมเด็จโต ของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์โต คำว่าพุทธมังคลคาถานี้ คือการนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ ซึ่งล้วนแต่เป็นพระมหาเถระที่ยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น

พุทธมังคลคาถา
สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ อาคเณยเย จะ กัสสะโป
สารีปุตโต จะ ทักขิเณ หะระติเย อุปาลิ จะ
ปัจฉิมเมปิ จะ อานันโท พายัพเพ จะ คะวัมปะติ
โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร อีสาเนปิ จะ ราหุโล อ่านเพิ่มเติม

ย้อนรอยบารมี “สมเด็จโต” แม้พระมหากษัตริย์ยังเกรง โดย พระอาจารย์ชลินทร์ ปิ่นวัฒนะ

ย้อนรอยบารมี “สมเด็จโต” แม้พระมหากษัตริย์ยังเกรง โดย พระอาจารย์ชลินทร์ ปิ่นวัฒนะ

“ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เอนกปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคนฤศร สมณนิกรมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวง”

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี มีชื่อเรียกขานกันอย่างหลากหลาย เช่น สมเด็จโต , สมเด็จวัดระฆัง , หลวงพ่อโต , หลวงปู่โต กระทั่ง “ขรัวโต” อันเป็นนามที่ผู้คนร่วมสมัยของท่านเรียกขานด้วยความยกย่อง

มีความเชื่อกันว่าสมเด็จโตเป็นพระโอรสนอกเศวตฉัตรในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แต่ครั้งยังทรงพระยศเป็น “เจ้าพระยาจักรี”

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในหลวงพ่อโตเป็นอย่างยิ่งโดยทรงพระราชทานสมณศักดิ์ถวายหลวงพ่อโตเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2395โดยมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ราชทินนาม “พระธรรมกิตติ” และ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อโตมีอายุ 65 ปีแล้ว และเป็นผู้ที่พยายามหลีกเลี่ยงที่จะรับการถวายสมณศักดิ์ตลอดมา ตลอดแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
อ่านเพิ่มเติม

เหรียญสมเด็จพุฒาจาร์โต รุ่น 100 ปี (บล๊อคนิยม

เหรียญสมเด็จพุฒาจาร์โต รุ่น 100 ปี (บล๊อคนิยม) เหรียญแห่งความอัศจรรย์ เนื้อทองคำ น้ำหนัก 13 กรัม สภาพสวย เป็นบล๊อคนิยม จะมีจุดที่กลางศรีษะท่าน

‘เหรียญสมเด็จโตวัดระฆัง’ รุ่น 100 ปี (มรดกอันล่ำค่า)

ประวัติและข้อมูล

เหรียญทองคำสมเด็จโต 100 ปี วัดระฆังปี 2515 จัดสร้างโครงการปูชนียวัตถุพื่อเป็นอนุสรณ์ครบ 100 ปีแห่งมรณะภาพของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ในวันที่ 22 มิถุนายน2515 .ในการสร้างวัตถุมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และ สมเด็จพนะนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงเสด็จประกอบพิธีเททอง เป็น”ปฐมมหามงคลฤกษ์”เมื่อวัน 16กันยายน พ.ศ.2514 และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯเสด็จฯ”พิธีมหาพุทธาภิเษก”ในวันที่15มิถุนายน พ.ศ.2515 พิธีกรรมทำดีมากได้นำเกสรดอกไม้ดอกบัวที่บูชาพระแก้วมรกตและเกสรดอกไม้ที่บูชาตามสถานที่สำคัญทั่วราชอาณาจักรทองคำเปลวที่ติดบูชาพระทั่วราชอาณาจักรโดยเฉพาะที่ปิด”พระรูปเหมือนสมเด็จโต”ภายในวิหารวัดระฆังรวมทั้ง ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผบตรีนิสิงเห และผงมหาราชที่บรรดาพระเกจิอาจารย์ประสิทธิ์ประสาทไว้นอกจากนี้ก็มีผงพระที่ชำรุดเช่น”พระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จพระปลันทน์”รวมทั้ง”ผงว่าน108ชนิดไคลเสมาหน้าพระอุโบสถวัดระฆัง”พร้อมทั้งผงปูนจากเสมาและภายในพระอุโบสถเป็นต้นและมีคณาจารย์ร่วมปลุกเสกในยุตนั้นมากมายมี”สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ร่วมอยู่ถึง3พระองค์เช่น”สมเด็จพระวันรัต(ปุ่น)วัดพระเชตุพนฯ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(วาสน์)วัดราชบพิธฯและสมเด็จพระญาณสังวร(เจริญ)วัดบวรนิเวศวิหาร และยังมี อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์
(โต พรหมรังสี)

เพชรนาคราช และเหล็กไหลเพชรนาคราชแก้ว สารพัดนึกมหาเวช สมเด็จโตพรหมรังสี

ลูกแก้วมณีโชติก็เป็นอีกชื่อหนึ่งของเพชรนาคราช หรือแก้วสารพัดนึก เป็นชื่อจากแหล่งที่มาและสื่อทางจิตของผู้ปฎิบัติได้ส่งจิตสอบถาม ส่วนเหล็กไหลเพชรพญานาคราชเป็นอีกหนึ่ง ที่พบจากก้อนหินคอนเช่นเดียวกับเพชรนาคราช และที่นำเสนอนี้เป็นสิ่งที่ยอดยิ่ง ที่มีการประดับลูกปัดทวาราวดีมันวาวหลากสีสัน และประดับพลอยสีแดงอยู่ตรงกลางสวยงาม และที่เลิศเหนือสิ่งบรรยายคือ มีรูปหล่อสมเด็จโตนั่งบริกรรม ล้อมรอบด้วยพลอยหลายสีมีลูกปัดอยู่โดยรอบนอก และที่หายากยิ่งก็คือ มีพระพุทธเจ้าองค์เล็กหล่อแบบลอยองค์อยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยพลอยและลูกปัดทวาราวดีหลากสี
ในส่วนการพบเห็น เราท่านจะพบมีลูกปัดทวาราวดี ที่ฝังบนพระสมเด็จวัดระฆัง และมีแผ่นทองบอกเวลาการพระธาตุพนมจำลอง สร้างปี ๒๔๐๑ และจะเป็นพระพิมพ์ต่างๆ อ่านเพิ่มเติม

เกี่ยวกับหลวงปู่สมเด็จโต

เกี่ยวกับหลวงปู่สมเด็จโต
พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ

หลวงปู่สมเด็จโต ท่านเมตตาแสดงธรรมเรื่องนี้ไว้ให้คนรุ่นหลังได้คิด ดังนี้

๑. ท่านเล่าว่า ครั้งหนึ่งท่านไปเทศน์ที่บางนกแขวก ขากลับลงเรือล่องมาตามน้ำ โดยใช้คนแจว ด้วยความอ่อนเพลียของร่างกาย ทำให้ท่านหลับไป ตื่นเอาบ่าย ๒ โมง

๒. ท่านขอร้องคนแจวเรือช่วยพายเรือกลับที่วัดล่าง เพราะคนแจวบอกท่านว่า คนเพลวัดเขาตีกลอง จึงเพลที่วัดล่าง แต่ไม่ได้ปลุกท่าน

๓. ท่านก็ขอร้องคนแจวว่า นึกว่าช่วยชีวิตของฉัน ช่วยแจวเรือกลับไปวัดที่ตีกลองเพลหน่อยเถิด

๔. เมื่อถึงวัดนั้น คนแจวก็นำอาหารถวายท่าน ชาวบ้านแถวนั้นที่รู้จักท่านก็นำอาหารมาถวาย มีคนแอบดูท่าน โดยคิดว่าพระฉันข้าวเย็น
อ่านเพิ่มเติม

เซียมซีวัดไชโยวรวิหาร (สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี) จ.อ่างทอง

เซียมซีวัดไชโยวรวิหาร (สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี) จ.อ่างทอง

วัดไชโยวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท มหานิกาย ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๓ ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นสถานที่ที่ประดิษฐาน พระมหาพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปปางสมาธิ ที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ประวัติวัดไชโยวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์โบราณ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ได้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่เป็นปูนขาวไม่ปิดทองไว้กลางแจ้ง ณ วัดแห่งนี้ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์ได้เสด็จมานมัสการและโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโย ในปี พ.ศ. ๒๔๓๐
อ่านเพิ่มเติม

พระอรหันต์อยู่ในบ้าน ….โดยสมเด็จโต (อยากให้ลูกทุกคนบนโลกได้อ่าน)

พระอรหันต์อยู่ในบ้าน ….โดยสมเด็จโต (อยากให้ลูกทุกคนบนโลกได้อ่าน)

ปฏิบัติธรรมศาสนาพุทธ

สมเด็จโตท่านเป็นยอดนักเทศน์ ท่านเทศน์ได้จับใจคนฟัง ธรรมเทศนาของท่านเข้าใจง่าย ไม่ต้องนั่งแปลไทยให้เป็นไทย เพราะท่านใช้คำไทยตรงๆ เป็นภาษาพื้นๆ ที่คนทั่วไปได้ฟังก็เข้าใจ เป็นที่นิยมของชนทุกชั้น
ฟังไปก็สนุกเพลิดเพลิน และยังได้คติธรรม ไม่ง่วงเหงาหาวนอนเหมือนนักเทศน์ท่านอื่นๆ

สมเด็จโตท่านได้เล่าว่า มีคราวหนึ่งท่านได้รับนิมนต์ให้แสดงธรรม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จออกมาท่ามกลางเหล่าขุนนาง ข้าราชการ และข้าราชบริพาร ครั้นพอพบหน้าท่านเจ้าผู้ครองแผ่นดินก็ทรงสัพยอกว่า “ท่านเจ้าคุณ เห็นเขาชมกันทั้งเมืองว่าท่านเทศน์ดีนักนี่ วันนี้ต้องขอพิสูจน์หน่อย”

สมเด็จโตทรงทูลว่า “ผู้ที่ไม่เคยฟังในธรรม ครั้นเขาฟังธรรม และได้รู้เห็นในธรรมนี้แล้ว เขาก็ชมว่าดี ขอถวายพระพร มหาบพิตร” และวันนี้อาตมาจะมาเทศน์เรื่อง “พระอรหันต์อยู่ในบ้าน”จ

ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเหล่าขุนนาง ข้าราชการและข้าราชบริพารต่างก็มีความสงสัย เพราะเคยได้ยินแต่ว่าพระอรหันต์ท่านจะอยู่ในถ้ำ ในป่า ในเขา ในที่เงียบสงัดหรือที่วัดวาอารามเท่านั้น แต่ทำไมสมเด็จโตจึงกล่าวว่าจะเทศนาเรื่องพระอรหันต์อยู่ในบ้าน ในขณะที่ทุกคนพากันคิดสงสัยอยู่นั้น ฝ่ายสมเด็จโตทรงทราบด้วยญาณวิถีของทุกคน
ท่านจึงขยายความต่อไปว่า จิตพระอรหันต์เป็นผู้บริสุทธิ์ ท่านละจากความโลภ ความหลง ไม่ยินดียินร้ายในเรื่องใดๆทั้งสิ้น เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม หากใครได้ทำบุญกับพระอรหันต์แล้วไซร้ ก็ถือได้ว่าเป็นลาภอันประเสริฐที่สุด บุญที่ได้ทำกับท่านจะให้ผลในชาติปัจจุบันทันที ไม่ต้องรอไปถึงชาติหน้า ทุกๆคนจึงมุ่งเสาะแสวงหาแต่พระอรหันต์ที่อยู่นอกบ้าน แต่ไม่เคยมองเห็นพระอรหันต์ที่อยู่ในบ้านเลย
อ่านเพิ่มเติม

“สมเด็จโต” กับ”พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

“สมเด็จโต” กับ”พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

นพ.วิชัย เทียนถาวร อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข

“สุดยอดพระผง” ที่ “คน” ทุกระดับของประเทศไทยปรารถนา คือ “พระสมเด็จ” ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม จะเป็นพิมพ์ใดก็ได้ เช่น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์เส้นด้าย พิมพ์ฐานแซม พิมพ์ปรกโพธิ์…สนนราคาบูชาองค์ละ 6-7 หลัก ใครๆ ก็อยากได้มีไว้ประจำกาย แต่ต้องมีบารมีถึงๆ หน่อย เช่น พวกเจ้านายใหญ่โต อาเสี่ยเงินล้าน นักเลงพระจริงๆ บางคนบอกว่าสวดพระคาถา “ชินบัญชร” บ่อยๆ เดี๋ยวได้เองล่ะ เพราะพุทธคุณสูงมากอันได้แก่ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด มั่นคง ก้าวหน้า เจริญรุ่งเรือง ฯลฯ

ประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว ผู้เขียนมีโอกาสไปเที่ยววัดระฆังโฆสิตาราม ฝั่งธนบุรี ตั้งใจไปกราบนมัสการท่านที่วัด ได้ทำบุญบูชาดอกไม้ธูปเทียนและได้นำหนังสือ “อมตะธรรม สมเด็จโต” ที่ทางวัดแจกเป็นทาน ติดตัวมาด้วย เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เข้าห้องพระได้หยิบหนังสือเล่มดังกล่าวมาเปิดอ่านดูอีกครั้ง พบเรื่องเรื่องหนึ่งน่าสนใจมาก ช่างเหมาะเจาะกับห้วงเวลาสำคัญ 12 สิงหาคม เป็น “วันแม่แห่งชาติ” ยังอยู่ในช่วงกลิ่นอายอันอบอวลของความรัก “แม่” เหมาะยิ่งแล้วที่จะนำคำเทศนาของเจ้าประคุณ “สมเด็จโต” ที่เทศนาให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ฟัง ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง ในหัวข้อ “พระอรหันต์อยู่ในบ้าน” ความว่า
อ่านเพิ่มเติม

“คุณไสย” แพ้ สามประโยคสั้นๆ เรื่องเล่าของ “พระพุฒาจารย์โต”

“คุณไสย” แพ้ สามประโยคสั้นๆ เรื่องเล่าของ “พระพุฒาจารย์โต”

อาตมา (สมเด็จโต) ได้เห็นอานิสงส์ของการสวดมนตร์ด้วยตัวอาตมาเอง ในสมัยที่อาตมาได้ออกเดินธุดงค์ในป่าเป็นเวลา 15 ปี โดยอาศัยอยู่ในเขตดงพญาไฟ ซึ่งเป็นเขตที่อยู่ใกล้ชายแดนของประเทศเขมร ในสมัยนั้นเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์ และภูตผีวิญญาณ ตลอดจนชาวบ้านที่มีเวทมนต์คาถา และเล่นคุณไสยกันอยู่อย่างมากมายในอาณาบริเวณชายแดนแห่งประเทศสยามในตอนนั้น อาตมาได้เดินธุดงค์แต่เพียงลำพัง ในช่วงนั้นอาตมามิได้ศึกษาในพระเวทมนตร์คาถาอาคมใดเลย นอกจากคำว่า

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ซึ่งมีความหมายว่า ข้าพเจ้าขอยึดมั่น พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
พระธรรมเป็นที่พึ่ง พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .