ประวัติท่านพุทธทาส ภิกขุ (๔)

ประวัติท่านพุทธทาส ภิกขุ (๔)

ผลงานแห่งชีวิต

ตลอดชีวิต ของ ท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านย้ำอยู่เสมอว่า “ธรรมะ คือ หน้าที่”
เป็นการทำหน้าที่ เพื่อความอยู่รอด ทั้งทางฝ่ายกาย และฝ่ายวิญญาณ ของมนุษย์
และ ท่าน ได้ทำหน้าที่ ในฐานะ ทาสผู้ซื่อสัตย์ ของพระพุทธเจ้า ทุกอณูแห่งลม
หายใจ เข้าออก จนแม้วาระสุดท้าย แห่งชีวิต จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า ผลงาน ที่ท่าน
สร้างสรรค์ ไว้ เพื่อ เป็น มรดก ทางธรรมนั้น จะมีมากมาย สักปานใด ซึ่งจะขอ
นำมากล่าวเฉพาะ ผลงานหลักๆ ดังนี้ คือ

๑. การจัดตั้ง สถานปฏิบัติธรรม สวนโมกขพลาราม และ สวนโมกข์นานาชาติ

๒. การร่วมกับ คณะธรรมทาน ในการออกหนังสือพิมพ์ “พุทธสาสนา”
ราย ๓ เดือน นับเป็นหนังสือพิมพ์ ทาง พระพุทธศาสนา เล่มแรก ของไทย
เริ่มตีพิมพ์ เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๖ และ ต่อเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน
เป็นเวลารวม ๖๑ ปี นับเป็นหนังสือพิมพ์ ทาง พระพุทธศาสนา ที่มีอายุยืนยาว
ที่สุดของไทย
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติท่านพุทธทาส ภิกขุ (๓)

ประวัติท่านพุทธทาส ภิกขุ (๓)

ปณิธานแห่งชีวิต

อุดมคติ ที่หยั่งรากลึกลงแล้วนี้ ทำให้ท่านสนใจใฝ่หา
ความรู้ทางธรรมะตลอดเวลา ไม่เฉพาะแต่พระ
พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท หรือหินยาน แต่ครอบคลุม
ไปถึงพระพุทธศาสนา แบบมหายาน และศาสนาอื่น
เช่น คริสต์ อิสลาม ฮินดู สิกข์ เป็นต้น จากความรอบรู้
ที่กว้างขวาง และลึกซึ้ง นี้เอง ทำให้ท่านสามารถ
ประยุกต์ วิธีการสอน และปฏิบัติธรรมะได้อย่าง
หลากหลาย ให้คนได้เลือกปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับ
พื้นความรู้และอุปนิสัยของตนได้ โดยไม่จำกัดชนชั้น
เชื้อชาติ และศาสนา เพราะท่านเชื่อว่า มนุษย์ทุกคน
ก็คือ เพื่อน ร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น
และหัวใจของทุกศาสนาก็เหมือนกันหมด คือ ต้องการ ให้คน พ้นจากความทุกข์
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติท่านพุทธทาส ภิกขุ (๒)

ประวัติท่านพุทธทาส ภิกขุ (๒)

อุดมคติแห่งชีวิต

พระเงื่อมได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อ ที่กรุงเทพฯ สอบได้
นักธรรมเอกแล้วเรียนภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญ๓ ประโยค
ระหว่างที่เรียน เปรียญธรรม๔ อยู่นั้น ด้วยความที่ท่านเป็นคน
รักการศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และศึกษาค้นคว้าออก
ไปจากตำรา ถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศ
ศรีลังกา อินเดีย และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในโลก
ตะวันตก ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือ
รูปแบบตามระเบียบแบบแผนมากเกินไป ความย่อหย่อนใน
พระวินัยของสงฆ์ ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของ
พุทธศาสนิกชน ในเวลานั้น ทำให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่า พระพุทธศาสนาที่สอน
ที่ปฏิบัติกัน ในเวลานั้นคลาดเคลื่อน ไปมาก จากที่ พระพุทธองค์ ทรงชี้แนะ
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติท่านพุทธทาส ภิกขุ (๑)

ประวัติท่านพุทธทาส ภิกขุ (๑)

กำเนิดแห่งชีวิต

ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช
เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้า
ที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคน
เป็นชายชื่อยี่เก้ย และเป็นหญิงชื่อกิมซ้อย
บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลักคือ
การค้าขายของชำ เฉกเช่น ที่ชาวจีนนิยมทำกันทั่วไป
แต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดา กลับเป็นเรื่องของ
ความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้
ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดา
อ่านเพิ่มเติม

จิตที่มีศีล สมาธิ ปัญญา สมเด็จพระญาณสังวร

จิตที่มีศีล สมาธิ ปัญญา

สมเด็จพระญาณสังวร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงชี้ตรงเข้ามา ถึงจุดสำคัญแห่งการปฏิบัติธรรมะ คือจิต หรือจิตใจ ได้ตรัสไว้ในพระธรรมบทซึ่งแปลใจความว่า จิตดิ้นรนกวัดแกว่ง รักษายากห้ามยาก แต่ผู้ทรงปัญญาย่อมกระทำจิตให้ตรงได้ เหมือนอย่างช่างศรดัดไม้ที่จะทำเป็นลูกศรให้ตรงได้ ฉะนั้น ดั่งนี้ ทุกคนย่อมทราบจิตของตนเองว่าดิ้นรนกวัดแกว่งไปในอารมณ์ คือเรื่องทั้งหลายอยู่เป็นประจำ

และหากว่าจะสังเกตดูเด็กเล็กๆ ที่หัดตั้งไข่ยืนขึ้นได้ เดินได้ วิ่งได้ ก็จะเห็นว่าเด็กนั้นอยากจะร้องก็ร้อง อยากจะวิ่งเมื่อไรก็วิ่ง อยากจะเดินก็เดิน อยากจะนั่งก็นั่ง อยากจะนอนก็นอน ไม่เลือกเวลาสถานที่ อาการที่เด็กแสดงออกไปต่างๆ นั้น ก็แสดงถึงความดิ้นรนกวัดแกว่งแห่งจิตของเด็กนั้นเอง
อ่านเพิ่มเติม

โพชฌงค์ สมเด็จพระญาณสังวร

โพชฌงค์
สมเด็จพระญาณสังวร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
วันนี้จักแสดงโพชฌงค์ ที่แปลว่าองค์ของความรู้ หรือองค์สมบัติ องค์คุณของความรู้ซึ่งเป็นตัวปัญญา โพชฌงค์นี้เป็นหลักปฏิบัติสำคัญหมวดหนึ่ง รวมอยู่ในหมวดธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พระพุทธองค์ผู้พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงโพชฌงค์แยกออกเป็นส่วนหนึ่งจากสติปัฏฐานก็มี ดังเช่นที่ได้ตรัสแสดงไว้ถึงหลักปฏิบัติไปโดยลำดับว่า
อินทรียสังวรเป็นเหตุให้มีสุจริต ๓
อินทรียสังวร ความสำรวมอินทรีย์ คือมีสติสำรวมใจเป็นไป ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ อันเป็นอายตนะภายในทั้ง ๖ ซึ่งเรียกว่าอินทรีย์เพราะเป็นใหญ่แต่ละข้อในหน้าที่ของตน
ตาเป็นใหญ่ในทางเห็นรูป หูเป็นใหญ่ในทางฟังเสียง จมูกเป็นใหญ่ในการทราบกลิ่น ลิ้นเป็นใหญ่ในการทราบรส กายเป็นใหญ่ในทางถูกต้องสิ่งถูกต้อง มโน… ความมีสติคอยสำรวมในขณะที่เห็นอะไร ได้ยินอะไร ได้ทราบอะไร ได้คิดได้นึกอะไร ไม่ให้สิ่งเหล่านั้นก่อกิเลสให้ไหลเข้ามาท่วมใจ ดั่งนี้ เรียกว่าอินทรียสังวร ความสำรวมอินทรีย์ ที่ตรัสสอนให้ปฏิบัติ และก็ได้ตรัสว่าเมื่อมีอินทรียสังวร ก็จะเป็นเหตุให้มีสุจริตทั้ง ๓ คือความประพฤติดีทางกาย ทางวาจา และทางใจ
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนพื้นฐานคือเรื่องกรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

คำสอนพื้นฐานคือเรื่องกรรม

“…ว่าถึงเรื่องกรรมตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นั้น ก็มีอยู่หลายแห่งหลายพระสูตร

…ทรงแสดงไว้ว่า เจตนา คือ ความจงใจ เป็นตัว กรรม เพราะบุคคลมีเจตนา

คือความจงใจแล้ว จึงทำกรรมทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง ดั่งนี้

กรรมที่ทำทางกาย ทางวาจา ทางใจนี้ ก็เป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

เป็นสิ่งที่กระทำ สิ่งที่กระทำทางกายก็เป็นกายกรรม สิ่งที่กระทำทางวาจาก็เป็น

วจีกรรม สิ่งที่กระทำทางใจก็เป็นมโนกรรม เพราะฉะนั้น กรรมจึงหมายถึงสิ่งที่กระทำ

แต่บางทีเราก็แปลกันง่ายๆ ว่าการกระทำ ก็ต้องเข้าใจว่าคำว่าการกระทำในที่นี้

ที่เป็นตัวกรรมนั้น ก็หมายถึงสิ่งที่กระทำดังกล่าว และเมื่อได้ทราบว่า
อ่านเพิ่มเติม

แสงส่องใจ ที่ระลึกวิสาขบูชา 2547 พระธรรมเทศนา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

แสงส่องใจ ที่ระลึกวิสาขบูชา 2547

พระธรรมเทศนา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

คาเม วา ยทิวารญฺเญ นินฺเน วา ยทิวา ถเล

ยตฺถํ อรหนฺโต วิหรนฺเต ตํ ภูมิรามเณยฺยกํ

พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในที่ใด คือบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม

ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นย่อมเป็นภูมิน่ารื่นรมย์ นี้เป็นพระพุทธภาษิต

เมื่อ 2627 ปีมาแล้ว ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 พระจันทร์เต็มดวงเสวยวิสาขฤกษ์ สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจากดุสิตทิพยสถาน ลงทรงเสวยพระชาติเป็นมนุษย์ ดังเป็นที่เข้าใจกันมาแต่โบราณกาลนานนัก ว่าทรงได้รับกราบบังคมทูลเชิญจากพรหมเทพชั้นสูงผู้มีหน้าที่แวดล้อมรักษาพระพุทธบาท มีท่านท้าวจตุโลกบาล เป็นต้น ให้เสด็จลงทรงเสวยพระชาติในมนุษยโลก เพื่อทรงนำโลกมิให้ต้องว่างพระพุทธศาสนาอยู่ต่อไป นั่นก็คือเพื่อทรงดับทุกข์ดับร้อนของโลกที่ว่างพระพุทธศาสนา
อ่านเพิ่มเติม

การสร้างบุญบารมี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

การสร้างบุญบารมี

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

ทาน

การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ ๓ ประการ ถ้าประกอบถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ

องค์ประกอบข้อที่ ๑. “วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์”

วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์

ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนเองได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยยักยอก ทุจริต ลักทรัพย์ ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ
อ่านเพิ่มเติม

การสร้างธรรมจักษุให้บังเกิดขึ้นในตน สมเด็จพระญาณสังวร

การสร้างธรรมจักษุให้บังเกิดขึ้นในตน

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์

อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

อันปัญญาในธรรมนั้นเรียกอีกคำหนึ่งว่าธรรมจักขุ หรือธรรมจักษุดวงตาเห็นธรรม ซึ่งพระบรมศาสดาเมื่อทรงแสดงปฐมเทศนาจบลงแล้ว ก็ได้มีการแสดงต่อไปอีกว่า ธรรมจักษุคือดวงตาเห็นธรรมเกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สัพพันตัง นิโรธธัมมัง สิ่งนั้นทั้งหมดก็มีความดับไปเป็นธรรมดา ดั่งนี้ ซึ่งท่านแสดงว่า ท่านพระโกณฑัญญะได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน เพราะได้ธรรมจักษุดวงตาเห็นธรรมดังกล่าวนั้น
อ่านเพิ่มเติม

สิ่งที่มีค่ากว่าเงินทอง : ความคิดกับความจริง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สิ่งที่มีค่ากว่าเงินทอง : ความคิดกับความจริง
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เชื้อเป็นอาหารของไฟ ความปรารถนาต้องการเป็นอาหารของความโลภ ไฟจะลุกไหม้อยู่ไม่รู้ดับแม้ไม่หมดเชื้อ

ความโลภก็จะทวีขึ้นไม่หยุดยั้ง แม้ไม่หยุดความปรารถนาต้องการไฟที่กำลังลุกแรงจะอ่อนแรงลงเมื่อเชื้อน้อยลง

และจะดับสนิทเมื่อหมดเชื้อสิ้นเชิง

ฉันใด ความโลภที่แรงจัดก็จะอ่อนลงได้เมื่อความปรารถนาต้องการน้อยลง

และจะสิ้นโลภได้สิ้นเชิงเมื่อความปรารถนาต้องการหมดสิ้นเชิง ฉันนั้น

แต่ไฟนั้นแตกต่างกับความโลภตรงที่ว่า เมื่อไม่เพิ่มเชื้อไฟก็จะเผาไหม้เชื้อเดิมให้น้อยลงจนถึงหมดสิ้นไปได้ดับสนิท
อ่านเพิ่มเติม

ธัมมานุปัสสนา››››› สมเด็จพระญาณสังวร

ธัมมานุปัสสนา›››››

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุก ๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้

เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

การปฏิบัติพุทธศาสนาต้องปฏิบัติให้ถึงจิต จึงจะประสบผลและก้าวหน้าไปสู่ความสิ้นทุกข์ได้โดยลำดับ

การปฏิบัติให้ถึงจิตนั้นก็ต้องตั้งต้นตั้งแต่ขั้นฐานขั้นศีล สืบถึงขั้นสมาธิขั้นปัญญา

อันรวมความว่าให้เข้าทางแห่งอริยมรรคที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ หรือว่าเข้าทางบารมีทั้งสิบที่พระพุทธเจ้าได้ทรง

บำเพ็ญการปฏิบัติเข้าทางบารมีนั้นก็ตั้งต้นแต่ทาน การให้ การบริจาค ต้องปฏิบัติให้ถึงจิต คือให้จิตสละ โลภะ มัจฉริยะ

ให้จิตบริสุทธิ์ แม้จะให้น้อยก็ตาม เมื่อจิตบริสุทธิ์ก็ชื่อว่ามาก ให้มากถ้าจิตไม่บริสุทธิ์ก็ชื่อว่าน้อย
อ่านเพิ่มเติม

การทำจิตให้ตั้งเป็นสมาธิ พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร

การทำจิตให้ตั้งเป็นสมาธิ

พระนิพนธ์

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระ พุทธเจ้าผู้ทรงไม่หวั่นไหวทั้งพระกายพระจิตทุกเวลา ทุกสถานการณ์ที่ทรงเผชิญ ได้ทรงแสดงธรรมเหตุแห่งความไม่หวั่นไหว

ปรากฏในพุทธภาษิตที่แปลความว่า

“สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ใดอบรมบริบูรณ์ดีแล้ว ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็ไม่หวั่นไหว”

จิตนั้นเป็นความสำคัญ การปฏิบัติธรรมทั้งสิ้นต้องปฏิบัติให้ถึงจิต จึงจะเป็นผลสำเร็จ ศีลสมาธิปัญญา ก็ต้องปฏิบัติให้ถึงจิต จึงจะเป็น

ศีลสมาธิปัญญา แม้จะเรียกเป็นอย่างอื่น เช่น สติ สัมปชัญญะ ขันติ โสรัจจะ ก็ต้องปฏิบัติให้ถึงจิต จึงจะเป็นสติสัมปชัญญะ เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม

หลักการทำสมาธิเบื้องต้น พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร

หลักการทำสมาธิเบื้องต้น

พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สมาธินี้ได้มีอยู่ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก ใน สิกขาสามก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ในมรรคมีองค์แปดก็มีสัมมา

สมาธิเป็นข้อสุดท้าย และในหมวดธรรมทั้งหลายก็มีสมาธิรวมอยู่ด้วยข้อหนึ่งเป็นอันมาก ทั้งได้มีพระพุทธภาษิตตรัสสอนไว้

ให้ทำสมาธิในพระสูตรต่างๆ อีกเป็นอันมาก เช่น ที่ตรัสสอนไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอบรมสมาธิ เพราะว่าผู้ที่มีจิตตั้งมั่น

เป็นสมาธิแล้วย่อมรู้ตามเป็นจริงดั่งนี้ ฉะนั้น สมาธิจึงเป็นธรรมปฏิบัติสำคัญข้อหนึ่งในพระพุทธศาสนา

แต่ว่าสมาธินั้นมิใช่เป็นข้อปฏิบัติในทางศาสนาเท่านั้น แต่เป็นข้อที่พึงปฏิบัติในทั่วๆ ไปด้วย
อ่านเพิ่มเติม

กายานุปัสสนา ๔ ชั้น สมเด็จพระญาณสังวร

กายานุปัสสนา ๔ ชั้น
สมเด็จพระญาณสังวร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุก ๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
ปัญญาในธรรมนั้นต้องอาศัยสมาธิ และสมาธินั้นก็ต้องอาศัยศีล พร้อมกับสรณะเป็นภาคพื้น สรณะนั้นจำต้องอาศัยโดยแท้ เพราะธรรมะทั้งปวงอาศัยคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดา ฉะนั้น ความรับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ ก็คือการถึงสรณะ หรือมีสรณะนั้นเอง ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติจึงควรตั้งใจถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะคือที่พึ่ง ตั้งใจถึงพระธรรมเป็นสรณะคือที่พึ่ง ตั้งใจถึงพระสงฆ์เป็นสรณะคือที่พึ่ง ความตั้งใจถึงนี้เป็นความตั้งใจที่แน่วแน่ ไม่มีแบ่ง
ดังบทสวดที่ว่า นัทถิ เม สรณัง อัญญัง ที่พึงอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พุทโธ เม สรณัง วรัง พระพุทธเป็นที่พึงอันประเสริฐของข้าพเจ้า ธัมโม เม สรณัง วรัง พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า สังโฆ เม สรณัง วรัง พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า อ่านเพิ่มเติม

อรรถอันแท้จริงของคำว่าธรรมะ สมเด็จพระญาณสังวร

อรรถอันแท้จริงของคำว่าธรรมะ
สมเด็จพระญาณสังวร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระ

ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจ

สำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

ธรรมะหรือธรรมนั้นคือสัจจะคือความจริง ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และได้ทรงแสดงสั่งสอน แต่ธรรมะที่ทรงสั่งสอน

นั้นได้ทรงสั่งสอนเฉพาะที่ผู้ฟังซึ่งเป็นเนยยะ คือผู้ที่พึงทรงแนะนำได้ จะพึงรู้พึงเห็นได้ และมีเหตุที่ผู้ฟังอาจตรอง

ตามให้เห็นจริงได้ และอาจที่จะทำให้ผู้ฟังซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติบรรลุถึงผลได้จริงตามควรที่ปฏิบัติ อันเรียกว่ามีปาฏิหาริย์

คือทรงสั่งสอนได้จริง และปฏิบัติได้ผลจริง
อ่านเพิ่มเติม

จิตที่มีศีล สมาธิ ปัญญา สมเด็จพระญาณสังวร

จิตที่มีศีล สมาธิ ปัญญา

สมเด็จพระญาณสังวร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุก ๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงชี้ตรงเข้ามา ถึงจุดสำคัญแห่งการปฏิบัติธรรมะ คือจิต หรือจิตใจ ได้ตรัสไว้ในพระธรรมบทซึ่งแปลใจความว่า จิตดิ้นรนกวัดแกว่ง รักษายากห้ามยาก แต่ผู้ทรงปัญญาย่อมกระทำจิตให้ตรงได้ เหมือนอย่างช่างศรดัดไม้ที่จะทำเป็นลูกศรให้ตรงได้ ฉะนั้น ดั่งนี้ ทุกคนย่อมทราบจิตของตนเองว่าดิ้นรนกวัดแกว่งไปในอารมณ์ คือเรื่องทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
และหากว่าจะสังเกตุดูเด็กเล็ก ๆ ที่หัดตั้งไข่ยืนขึ้นได้ เดินได้ วิ่งได้ ก็จะเห็นว่าเด็กนั้นอยากจะร้องก็ร้อง อยากจะวิ่งเมื่อไรก็วิ่ง อยากจะเดินก็เดิน อยากจะนั่งก็นั่ง อยากจะนอนก็นอน ไม่เลือกเวลาสถานที่ อาการที่เด็กแสดงออกไปต่าง ๆ นั้น ก็แสดงถึงความดิ้นรนกวัดแกว่งแห่งจิตของเด็กนั้นเอง
แต่เมื่อโตรู้เดียงสาขึ้นได้มีการฝึกหัดให้รู้จักรักษากิริยาวาจาเป็นต้น เด็กก็จะค่อย ๆ สงบขึ้น ไม่วิ่ง ไม่เดิน ไม่นั่ง ไม่นอน ไม่ร้อง เป็นต้น เหมือนอย่างเมื่อยังเล็ก ๆ ทั้งนี้มิใช่ว่าจิตของเด็กนั้นจะสงบ ก็คงดิ้นรนกวัดแกว่งอยู่นั่นเอง แต่ว่าอาศัยการฝึกหัดกิริยาวาจาต่าง ๆ อันเนื่องเข้าไปถึงการฝึกหัดจิตใจ จึงทำให้เริ่มมีสติ เริ่มมีปัญญาที่จะควบคุมยับยั้งตัวเอง มาเป็นผู้ใหญ่ ๆ ขึ้น ความที่มีสติปัญญาควบคุมยับยั้งตนเองก็มากขึ้น แต่ว่าจิตใจนั้นก็คงดิ้นรนกวัดแกว่งอยู่นั่นเอง แต่ว่ามีสติมีปัญญาที่จะควบคุมยิ่งขึ้น
ถ้าหากว่าไม่มีสติปัญญาควบคุมให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว แม้ว่าเด็กเล็ก ๆ นั้นจะโตขึ้นจนถึงเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ก็คงจะต้องอยากวิ่งก็วิ่ง อยากเดินก็เดิน อยากนั่งก็นั่ง อยากพูดก็พูด อยากนอนก็นอน เหมือนอย่างเด็กเล็ก ๆ นั้นเอง เพราะจิตนี้ดิ้นรนกวัดแกว่งไปอย่างนั้นบ้าง ไปอย่างนี้บ้าง เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น ถ้าสติและปัญญาของผู้ใหญ่มีน้อยเหมือนอย่างสติปัญญาของเด็กเล็ก ๆ แล้ว แม้จะเป็นผู้ใหญ่อายุเท่าไหร่ก็คงจะปฏิบัติเหมือนอย่างเด็กเล็ก ๆ นั้นเอง เพราะภาวะของจิตดิ้นรนกวัดแกว่งอยู่เช่นเดียวกัน
อ่านเพิ่มเติม

บารมีและอาสวะ สมเด็จพระญาณสังวร

บารมีและอาสวะ

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุก ๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
ธรรมะนั้นเป็นสัจจะคือความจริงของจริง ซึ่งมีอยู่เป็นไปอยู่ในบุคคลทุก ๆ คน จึงเป็นความจริงของชีวิต ของร่างกายและจิตใจ ทั้งในอดีต ในอนาคต และในปัจจุบันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้สัจจะคือความจริงนี้ ทั้งที่เป็นส่วนทุกข์ ส่วนเหตุให้เกิดทุกข์ ส่วนความดับ และส่วนทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ จึงทรงดับทุกข์ได้ ดับกิเลสได้ทั้งหมด ทรงเป็นผู้พ้นทุกข์ เป็นผู้พ้นกิเลส
ทั้งนี้ก็ด้วยอำนาจแห่งพระโพธิญาณ ญาณคือความหยั่งรู้ ที่ตรัสรู้ถึงสัจจะธรรม ธรรมะที่เป็นสัจจะคือความจริง สืบเนื่องมาจากที่ได้ทรงปฏิบัติเพิ่มพูนบารมีคือความดียิ่งๆ ขึ้นโดยลำดับ ตั้งแต่เมื่อทรงเป็นพระโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้
อ่านเพิ่มเติม

อายตนะภายในภายนอก สังโยชน์ เกิดดับ ››››สมเด็จพระญาณสังวร

อายตนะภายในภายนอก สังโยชน์ เกิดดับ

››››สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

พระบรมศาสดาได้ตรัสสอนให้ตั้งสติพิจารณาขันธ์ ๕ จากนั้นก็ตรัสสอนให้พิจารณาอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ ซึ่งประจวบกัน การพิจารณาอายตนะนี้เป็นวิธีตั้งสติอย่างดียิ่ง และเป็นการตั้งสติจับปัจจุบันธรรม ธรรมะที่เป็นปัจจุบัน อันมีอยู่เป็นไปอยู่ที่ตนเอง

และอายตนะนี้ย่อมเป็นที่ตั้งต้นของขันธ์ ซึ่งเป็นปัจจุบันธรรม และเป็นที่อาศัยเกิดแห่งอกุศลธรรม และกุศลธรรมทั้งหลาย อีกด้วย เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่.อาศัยอายตนะ ตลอดจนถึงกุศลธรรม หรืออกุศลธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยอายตนะบังเกิดขึ้นด้วย
อ่านเพิ่มเติม

อุปนิสัย ๓ ›››››สมเด็จพระญาณสังวร

อุปนิสัย ๓

›››››สมเด็จพระญาณสังวร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ

ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

ผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่าน กล่าวได้ว่าเป็นผู้ได้สร้างอุปนิสัยแห่งการปฏิบัติ และทุกๆ ท่านก็น่าจะได้มีอุปนิสัยแห่ง

การปฏิบัติธรรมที่ได้สร้างมาแล้ว น้อยหรือมาก ท่านแสดงถึง

อุปนิสัย ๓ คือ ทานูปนิสัย อุปนิสัยแห่งทาน สีลูปนิสัย อุปนิสัยแห่งศีล ภาวนูปนิสัย อุปนิสัยแห่งภาวนา คือ

การปฏิบัติอบรมจิตใจในสมถะวิปัสสนา บางคนมีอุปนิสัยข้อใดข้อหนึ่งที่ได้สร้างมามาก และบางข้อก็ได้สร้างมา

น้อย แม้ว่าจะได้สร้างมาน้อยในข้อใดข้อหนึ่งก็ยังเป็นอุปนิสัยที่จะนำให้ได้สร้างยิ่งๆ ขึ้นไป
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .