ปณิธานของท่านพุทธทาสภิกขุ

ปณิธานของท่านพุทธทาสภิกขุ

ท่านพุทธทาสภิกขุได้ตั้งปณิธานไว้ 3 ประการคือ
ประการที่ 1 ให้ทุกคนที่นับถือศาสนาของตนได้เข้าถึงธรรมะของศาสนาที่ตนนับถือ
ประการที่ 2 ต้องการทำความเข้าใจระหว่างศาสนา เพื่อไม่ให้เกิดการแตกแยกแตกร้าว
ประการที่ 3 มีความต้องการที่จะพรากจิตของชาวโลกให้ห่างจากวัตถุนิยม

สวนโมกขพลาราม

ท่านเป็นผู้ก่อตั้งสวนโมกขพลาราม แปลว่า สวนเป็นกำลังแห่งความหลุดพ้น เป็นสวนที่ตั้งขึ้นเพื่อการศึกษาค้นคว้าธรรมะ เพื่อปฏิบัติธรรมะให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นต่อไป สวนโมกขพลารามไม่ใช่มีเพียงชาวพุทธที่เป็นคนไทยเท่านั้นที่ไปปฏิบัติธรรม ยังมีชาวต่างประเทศมากมากเข้ามาศึกษาธรรมะกับท่านด้วย ท่านปัญญานันทะเล่าประวัติของท่านไว้ตอนหนึ่งเกี่ยวกับสวนโมกขพลารามว่า “เวลานี้ฝรั่งมาอยู่ที่สวนโมกข์มากมาย บางเดือนถึง 100 ทุกเดือนนี่ท่านต้องพูดกับฝรั่ง 10 วันตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 10 ทุกวันเวลาบ่าย” สวนโมกขพลารามของท่านจึงเป็น “สวนโมกข์นานาชาติ”
อ่านเพิ่มเติม

อารมณ์ขันของท่านพุทธทาส

อารมณ์ขันของท่านพุทธทาส

โดยสันติเทพ ศิลปบรรเลง

พระธรรมโกศาจารย์ หรือในนาม “พุทธทาสภิกขุ” ท่านเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ในวงการพระพุทธศาสนา ผลงานเขียนและการแสดงธรรมของท่านมีมากมายมหาศาล แต่ละเรื่องก็ล้วนแต่เป็นหลักธรรมขั้นสูงที่เรียกว่า “ปรมัตถ์” แทบทั้งสิ้น ท่านเป็นพระภิกษุผู้ประเสริฐเลิศด้วยปัญญาและเมตตา อีกทั้งปฏิปทาการประพฤติปฏิบัติก็เป็นแบบอย่างที่ดีของพระภิกษุที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหรือ “สุปฏิปันโน” อันหาที่ติไม่ได้ บุคลิกภาพ จรรยามารยาทอันงดงาม น้ำเสียงอันอ่อนโยนนุ่มนวลยังคงประทับใจผู้พบเห็นมิรู้วาย ส่วนผลงานของท่านที่พิมพ์ออกมาเป็นเล่มให้เราได้อ่านกันก็เหมือนกับได้ฟังธรรมอันทรงคุณค่าและเป็นอมตะประดับไว้ในบรรณพิภพ แม้ว่าไปไหน เหมือนกับคำกลอนที่ท่านเขียนไว้ให้เป็นปริศนาข้อคิดว่า………
“พุทธทาสจักอยู่ไปไม่มีตาย….”
ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงประวัติของท่านแต่จะกล่าวถึงอารมณ์ขันของท่านพุทธทาสที่แฝงไว้ในบทธรรมคำกลอนบางเรื่อง เพื่อให้เห็นว่าถึงแม้ท่านจะเป็นปราชญ์ระดับอัจฉริยะก็ตาม ท่านก็ยังมีอารมณ์ขันเหมือนกัน แต่ไม่ใช่อารมณ์ขันครื้นเครงตลกคะนองแบบคนทั่วไป กลับเป็นอารมณ์ขันอันแฝงเร้นไว้ซึ่งธรรมะในชั้นลึกเลยทีเดียว
เช่น หัวข้อธรรมคำกลอน เรื่อง “ความสุข” ท่านประพันธ์ไว้ดังนี้
ความเอ๋ย ความสุข ใคร ๆ ทุก คน,ชอบเจ้า เฝ้าวิ่งหา
“แกก็สุข ฉันก็สุข ทุกเวลา แต่ดูหน้า ตาแห้ง ยังแคลงใน” อ่านเพิ่มเติม

มรดกของท่านพุทธทาสภิกขุ

มรดกของท่านพุทธทาสภิกขุ

มรดกของท่านพุทธทาสภิกขุ
พระไพศาล วิสาโล
พฤษภาคม ๒๕๔๙

ด้วยวุฒิการศึกษาเพียงชั้น ม.๓ นักธรรมเอก และเปรียญธรรม ๓ ประโยค พระมหาเงื่อม อินทปัญโญ ภิกษุหนุ่มวัย ๒๖ ปี ได้ริเริ่มทำสิ่งซึ่งต่อมาได้กลายเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของพุทธศาสนาในประเทศไทย ในทางรูปธรรมสิ่งนั้นได้แก่สวนโมกขพลาราม ในทางนามธรรมสิ่งนั้นคือพุทธศาสนาอย่างใหม่ที่สมสมัย แต่มีพื้นฐานมาจากการปฏิบัติอย่างสมัยพุทธกาล

พระมหาเงื่อม อินทปัญโญ หรือที่โลกรู้จักในนามพุทธทาสภิกขุ เป็นบุคคลสำคัญที่สุดผู้หนึ่งซึ่งได้นำพุทธศาสนาไทยออกมาสัมพันธ์เชื่อมโยงกับโลกสมัยใหม่ได้อย่างมีพลัง และสามารถนำปัญญาชนที่ได้รับการศึกษาอย่างใหม่กลับไปหารากเหง้าทางภูมิปัญญาอันมีพระบรมศาสดาเป็นแรงบันดาลใจ แม้ท่านจะมีการศึกษาตามระบบไม่มากนัก แต่ก็รู้ลึกในศาสตร์สมัยใหม่ไม่ว่าวิทยาศาสตร์หรือปรัชญา จนไม่เพียงเห็นจุดอ่อนของศาสตร์เหล่านั้น หากยังสามารถนำศาสตร์เหล่านั้นมาใช้อธิบายพุทธศาสนาได้อย่างจับใจปัญญาชน ในอีกด้านหนึ่งแม้ท่านมิใช่เปรียญเอก (แถมยังสอบตกประโยค ๔ ด้วยซ้ำ) แต่ก็เชี่ยวชาญเจนจัดในพระไตรปิฎก และรู้ซึ้งถึงคัมภีร์อรรถกถา จนสามารถเข้าถึงแก่นพุทธศาสน์ และนำมาอธิบายให้คนร่วมสมัยได้อย่างถึงใจชนิดที่กระเทือนไปถึง “ตัวกู ของกู” อีกทั้งยังสามารถวิพากษ์สังคมร่วมสมัยและเสริมเติมศาสตร์สมัยใหม่ให้มีความลุ่มลึกมากขึ้น
อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาสภิกขุ มรณภาพ

ท่านพุทธทาสภิกขุ มรณภาพ

08 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 : ท่านพุทธทาสภิกขุ มรณภาพ

8 กรกฎาคม 2536 ท่านพุทธทาสภิกขุ (2449-2536) มรณภาพอย่างสงบที่สวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหล อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี

พระธรรมโกษาจารย์ (พุทธทาส ภิกขุ) เดิมชื่อเงื่อม เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรคนแรกของนายเซี้ยงและนางเคลื่อน พานิช มีน้องชายชื่อนายยี่เกย (นายธรรมทาส พานิช) และน้องสาวชื่อนางกิมช้อย เหมะกุล ครอบครัวมีอาชีพค้าขาย บิดาเป็นคนจีน ส่วนนามสกุล “พานิช” นั้นเป็นนามสกุลที่ นายอำเภอตั้งให้ มรณะภาพเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536

เมื่ออายุได้ 8 ปี ท่านได้เรียนหนังสือโดยหัดอ่านจากทางบ้าน ครั้นอายุได้ 9 ปี จึงเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียน โพธิพิทยากร วัดโพธาราม จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนแห่งนี้ แล้วไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนมัธยม ประจำอำเภอไชยา จนจบการศึกษาชั้นต้นในปี พ.ศ.2463 แล้วลาออกมาช่วยบิดาค้าขายและศึกษาด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลาเมื่อบิดา ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2465 ได้เลิกค้าขายที่ไชยาแล้วกลับมาค้าขายที่พุมเรียงตามเดิมโดยทำหน้าที่เป็นผู้จัดการร้านจนกระทั่งอายุได้ 20 ปี บริบูรณ์จึงได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2463 โดยมีพระครูโสภณเจตสิดาราม (คง วิมาโล) เจ้าอาวาสวัดโพธาราม และรองเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า “อินทปัญโญ” จำพรรษาอยู่ที่วัดใหม่
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนท่านพุทธทาสภิกขุ

คำสอนท่านพุทธทาสภิกขุ

รวมคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ

เรือของธรรมลอยลำสบายมา…ท่ามกลางห่าฝนไฟได้เยือกเย็น

ความเอ๋ย ความสุข
ใคร ๆ ทุก คนชอบเจ้า เฝ้าวิ่งหา
แกก็สุข ฉันก็สุข ทุกเวลา
แต่ดูหน้า ตาแห้ง ยังแคลงใจ

ถ้าเราเผา ตัวตัณหา ก็น่าจะสุข
ถ้ามันเผา เราก็ “สุก” หรือเกรียมได้
เขาว่าสุข สุขเน้อ! อย่าเห่อไป
มันสุขเย็น หรือสุกไหม้ ให้แน่เอย

*****************

อยู่ให้ไว้ใจ ไปให้คิดถึง

คนเราต้องเดินหน้า เวลายังเดินหน้าเลย

ไม่ต้องสนใจว่าแมวจะสีขาวหรือดำ
ขอให้จับหนูได้ก็พอ
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระสังฆราช กับ ท่านพุทธทาสภิกขุ

สมเด็จพระสังฆราช กับ ท่านพุทธทาสภิกขุ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
และพระธรรมโกศาจารย์ (ท่านพุทธทาสภิกขุ) สวนโมกขพลาราม

—————————————

คำถาม : เมื่อคราวที่พระอาจารย์พุทธทาสอาพาธหนักนั้น
ฝ่าพระบาทได้เคยไปเยี่ยมท่านอาจารย์พุทธทาสที่ได้ขอละสังขาร
โดยท่านอาจารย์ให้เหตุผลว่า อายุเกินพระพุทธเจ้ามาแล้ว แต่ฝ่าพระบาทได้ขอไว้
หลังจากนั้นอาการของท่านพุทธทาสก็ฟื้นขึ้นมา และมีชีวิตอยู่ต่อมาอีกหลายปี
ขอกราบทูลฝ่าพระบาทเล่าเหตุการณ์ในครั้งนั้น
อ่านเพิ่มเติม

อานาปานสติภาวนา ฉบับสมบูรณ์ โดย พุทธทาสภิกขุ

อานาปานสติภาวนา ฉบับสมบูรณ์

โดย พุทธทาสภิกขุ

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ

พระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ – ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙ เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด ตลอดเวลาที่ดำรงสมณเพศ ท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจศึกษาพระปริยัติอย่างแน่วแน่ พร้อมตั้งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และวัตรเหล่านี้เองที่ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกิจทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระอย่างยากยิ่งที่จะหาพระภิกษุรูปใดเสมอเหมือน
อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสภิกขุ

พุทธทาสภิกขุ

ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นพระภิกษุสงฆ์ชาวไทยผู้มอบคำสอนทางพุทธศาสนาไว้มากมาย โดยคำสอนจำนวนมากเป็นธรรมะระดับโลกุตระ อันมีนิโรธเป็นรส และมีนิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นธรรมะขั้นสูง และไม่เหมาะกับฆราวาสผู้ยังเวียนว่ายอยู่ในวังวนแห่งโลกียะ แต่ท่านพุทธทาสภิกขุตระหนักว่าธรรมะเหล่านี้คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา และพุทธมามกะไม่ว่าจะระดับชั้นใดก็ควรจะได้รับรู้ ได้รับปฏิบัติ และได้รับผลจากธรรมะเหล่านี้ ซึ่งถึงแม้จะเป็นธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้ง แต่ท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้ถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและเข้าใจ โดยยังคงเนื้อหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน คำสอนทั้งหลายของท่านพุทธทาสภิกขุ แท้จริงแล้วก็คือการสกัดพระสูตรให้ออกมาเป็นภาษาพูด และพระอภิธรรมให้ออกมาเป็นภาษาชาวบ้านนั่นเอง โดยข้อธรรมที่ท่านพุทธทาสภิกขุเน้นย้ำมากที่สุดคือเรื่องสุญญตา จนทำให้ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาหลายคนเรียกท่านว่า นักรบเพื่อความว่าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุยังรวมไปถึงเรื่องพื้นฐาน เช่น เรื่องการทำงาน และเรื่องการศึกษา ซึ่งคนทั่วไปสามารถนำธรรมะเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ทันที
นอกจากพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังมีใจเปิดกว้างทำการศึกษาคำสอนของต่างศาสนาและต่างนิกาย ด้วยความคิดว่าศาสนาทั้งหลายล้วนมุ่งหมายในสิ่งเดียวกัน ในสมัยที่ท่านพุทธทาสภิกขุจำพรรษาอยู่ที่สวนโมกขพลาราม นอกจากสาธุชนคนไทยผู้สนใจในธรรมะทั้งหลายจะแวะเวียนมาสนทนา และฟังเทศน์ฟังธรรมจากท่านพุทธทาสภิกขุอย่างไม่ขาดสายแล้ว ยังมีชาวต่างชาติผู้ต้องการเรียนรู้พระพุทธศาสนา นักศึกษาและอาจารย์ทางด้านศาสนศาสตร์จากต่างประเทศ รวมถึงประมุขของศาสนจักรต่างๆ แวะเวียนมาพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติความคิดเห็น รวมทั้งสนทนาธรรมกับท่านเป็นอันมาก ทำให้สวนโมกขพลารามเปรียบเสมือนตักศิลาสำหรับผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทำให้วงการพระพุทธศาสนากลับมาตื่นตัวอีกครั้ง
อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสภิกขุ อัจฉริยะผู้อยู่เหนือกาลเวลา

พุทธทาสภิกขุ อัจฉริยะผู้อยู่เหนือกาลเวลา

ประเทศไทยมีพระสงฆ์ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่หลายรูป ทั้งพระป่าและพระเมือง

แต่เมื่อพระหลายรูปนั้นมรณภาพไป คำสอน แนวทางปฏิบัติของหลายๆ ท่านจะห่างหายลางเลือนไปจากจิตใจของลูกศิษย์ลูกหาด้วย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ “หลวงปู่แหวน” 2 ปี หลังจากท่านละสังขาร วัดดอยแม่ปั๋ง ที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ แทบกลายเป็นวัดร้าง

แต่สำหรับ “ท่านพุทธทาส” แม้วันนี้ท่านจากไปเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่คำสอน แนวปฏิบัติของท่าน กิจกรรมที่สวนโมกข์ ยังคงอยู่เป็นปกติ ทั้งยังมีเผยแพร่ออกมาอย่างกว้างขวาง เหมือนกับวันที่ท่านยังมีชีวิตอยู่

ในวาระชาตกาล 100 ปี (พ.ศ.2449-2549) ของท่านพุทธทาส ศาสนปราชญ์ผู้อยู่เหนือกาลเวลา นิตยสาร “ศิลปวัฒนธรรม” ฉบับเดือนพฤษภาคมนี้ จึงนำเสนอแนวคิดของท่านพุทธทาส ผ่านมุมมองของ ส. ศิวรักษ์, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) และ พระไพศาลวิสาโล

เส้นทางในบวรพุทธศาสนาของท่านพุทธทาส เริ่มจากการบวชเป็นเณรและพระที่วัดใกล้บ้าน แม้กระนั้น การบวชและเรียนของท่านก็เป็นไปอย่างจริงจังก่อนจะกลับไปลงหลักปักฐาน บุกเบิกพุทธภารกิจ ที่ไม่ยึดติดกับพิธีกรรม รูปเคารพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่มุ่งหาความจริงของศาสนา ซึ่ง ส. ศิวรักษ์ กล่าวถึงเจตนารมณ์ที่แน่วแน่นี้ว่า
อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสภิกขุ

พุทธทาสภิกขุ

บุตรนายเซี้ยง และนางเคลื่อน พานิช

เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๔๙ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ณ หมู่บ้านกลาง ตำบลพุมเรียง (ที่ตั้งเดิมของจังหวัดไชยา ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น “สุราษฎร์ธานี”)

๒๔๕๗ รับการศึกษาเบื้องต้นแบบโบราณด้วยการเป็น “เด็กวัด” ที่วัดพุมเรียงใกล้บ้าน
๒๔๖๐ กลับมาอยู่บ้าน เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดโพธารามจนถึงชั้นมัธยม
๒๔๖๔ ย้ายมาเรียนมัธยมปีที่ ๒ ที่โรงเรียนสารภีอุทิศ ตำบลตลาด อำเภอไชยา
๒๔๖๕ ออกจากการเรียนมาช่วยดำเนินการค้ากับมารดาเนื่องจากบิดาถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบัน
๒๔๖๙ บวชก่อนเข้าพรรษาเมื่อ ๒๙ กรกฎาคม ได้ฉายา “อินฺทปญฺโ”
๒๔๗๑ สอบได้นักธรรมเอก
๒๔๗๒ เป็นครูสอนนักธรรม ที่โรงเรียนนักธรรม วัดพระบรมธาตุไชยา (นายยี่เก้ย “ธรรมทาส” น้องชาย เปิดคณะธรรมทานขั้นต้น โดยเปิดหีบหนังสือธรรมะให้คนยืมอ่าน ที่ร้านไชยาพานิช)
๒๔๗๓ เรียนบาลีที่วัดปทุมคงคา กรุงเทพฯ เขียนบทความชิ้นแรกชื่อ “ประโยชน์แห่งทาน” พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระอุปัชฌาย์ ปลายปีสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค
๒๔๗๕ เดินทางกลับพุมเรียง เข้าอยู่วัดร้างตระพังจิก อันเป็นจุดเริ่มต้นสวนโมกขพลารามเมื่อ ๑๒ พฤษภาคม เดือนกรกฎาคมคณะธรรมทานตั้งขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ
๒๔๗๖ ออกหนังสือพิมพ์พุทธสาสนารายตรีมาส
๒๔๘๖ วางเงินซื้อที่บริเวณวัดธารน้ำไหล เมื่อ ๑๘ มีนาคม
๒๔๘๗ ย้ายมาจำพรรษาที่สวนโมกขพลารามแห่งใหม่ บริเวณธารน้ำไหล เขาพุทธทอง (สวนโมกข์ปัจจุบัน)
๒๕๓๖ มรณภาพ ๘ กรกฎาคม เวลา ๑๑.๒๐ นาฬิกา

http://www.buddhadasa.in.th/html/life-work/bio/bio_short.html

พุทธทาสภิกขุ

พุทธทาสภิกขุ

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ)
วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

“มนุษย์เราจะเป็นมนุษย์อยู่ได้ ก็เพราะกำลังประกอบอยู่ด้วย ธรรม มิฉะนั้นจะต้องสูญเสียความเป็นมนุษย์ หรือต้องตาย ในที่สุด โดยไม่ต้องสงสัย มนุษย์ที่ไม่ประกอบอยู่ด้วยธรรม ก็ต้องประกอบอยู่ด้วยอธรรม เป็นธรรมดา และจะต้องเป็น อมนุษย์ในร่างของมนุษย์ โลกนี้จะเป็นอย่างไร หากเป็นโลก ที่ประกอบอยู่ด้วยอมนุษย์ในร่างของมนุษย์ เต็มไปทั้งโลก ”

นามเดิม เงื่อม พานิช กำเนิด 27 พ.ค. 2449 สถานที่เกิด ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี อุปสมบท อุปสมบท ณ วัดอุบล อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อพ.ศ. 2469 โดยมีพระครูโสภณเจตสิการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ สมณศักดิ์ พระธรรมโกศาจารย์ มรณภาพ 8 ก.ค. 2536 อายุ 87 ปี 67 พรรษา

ท่านพุทธทาส อุปสมบทเมื่ออายุ 20 ปี ได้รับฉายาว่า “อินทปัญโญ” เมื่ออุปสมบทแล้วได้เดินทางมาศึกษาต่อ ที่วัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร สอบได้นักธรรมเอก และเรียนภาษาบาลีได้เปรียญ 3 ประโยค สร้างสำนักปฏิบัติธรรม ที่วัดตระพังจิก ต.พุมเรียง อ.ไชยา สุราษฎร์ธานี เมื่อ 12 พ.ค. 2475 ให้ชื่อว่า “สวนโมกขพลาราม” ซึ่งแปลว่า สวนป่าเป็น กำลังหลุดพ้นจากทุกข์ ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2487 ได้ย้ายสวนโมกขพลาราม จากทมายังสถานที่แห่งใหม่ คือ วัดธารน้ำไหล ในปัจจุบัน ท่านสร้างผลงานทางธรรมไว้มากมายทั้งที่เป็นหนังสือ และเทปบันทึกเสียง รวมทั้งได้ไปแสดงปาฐกถาธรรม ทางสถานีวิทยุ สถานที่ และหน่วยงานหลายแห่ง ท่านได้อุทิศตนเพื่องานพระศาสนา และทำงานช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เพื่อให้ได้พบสันติสุข โลกมีสันติภาพ ตามปณิธานที่ตั้งได้ 3 ประการ ได้แก่

1. พยายามทำให้ทุกคนเข้าถึงหัวใจแห่งศาสนาของตน
2. พยายามทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา
3. พยายามนำโลกออกมาเสียจากอำนาจของวัตถุนิยม

ผลจากการมุ่งมั่นศึกษา ฝึกฝนตนอย่างเข้มงวด และอุทิศชีวิตถวายแด่พระศาสนาของท่าน ทำให้ท่านได้รับการ นับถือยกย่อง จากพุทธศาสนิกชนทั้งในประเทศ และจากต่างประเทศ ผลงานของท่านได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ทั้งที่เป็นภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ กระทั่งได้รับการยอมรับจากชาวโลกว่าเป็น สมณปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้มีบทบาทอย่างสูง ต่อพุทธศาสนา

http://www.dhammathai.org/monk/sangha26.php

ประวัติหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

ประวัติหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

เกิด

เกิดวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย หมู่บ้านกลาง
ตำบลพุมเรียง ที่ตั้งเดิมของจังหวัดไชยา ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสุราษฎร์ธานี
เป็นบุตรชายคนโตของนายเซี้ยง และนางเคลื่อน พานิช มีชื่อเดิมว่า เงื่อม อายุห่างจากนายยี่เกย
ผู้เป็นน้องชายสองปี

เรียน

เมื่ออายุได้ ๘ ขวบ ก็เข้ารับการศึกษาแบบโบราณโดยบิดานำไปฝากเป็นเด็กวัด
ที่วัดพุมเรียงใกล้บ้าน เรียนได้สามปีก็กลับมาอยู่บ้าน
เข้าเรียนขั้นประถมที่โรงเรียนวัดโพธารามจนถึงชั้นมัธยมหนึ่ง
ก่อนจะย้ายเข้าไปเรียนที่โรงเรียนสารภีอุทิศ ตำบลตลาด อำเภอไชยา เพื่อไปอยู่กับบิดา
ซึ่งมาเปิดร้านค้าใหม่ที่นี่ แต่ต้องออกจากการศึกษากลางคัน
เนื่องจากบิดาถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบัน มาช่วยดำเนินกิจการค้ากับมารดา
ระหว่างนี้น้องชายบวชเป็นสามเณร และศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปญฺโญ) พุทธทาสภิกขุ

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)

พระธรรมโกศาจารย์
(เงื่อม อินทปญฺโญ)
พุทธทาสภิกขุ

เกิด 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449
มรณภาพ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
อายุ 87
อุปสมบท 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2469
พรรษา 67
วัด ธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม)
ท้องที่ สุราษฎร์ธานี
สังกัด มหานิกาย
วุฒิการศึกษา ป.ธ.๓, น.ธ.เอก
รางวัล บุคคลสำคัญของโลกชาวไทยโดยยูเนสโก
ลายมือชื่อ

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด
ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ แห่งวัดชลประทานรังสฤษฎ์ และ ท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์ [1]
อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสรำลึก (๗)

พุทธทาสรำลึก (๗)

สวนโมกข์ในอนาคต

แม้ชีวิตในวันนี้ของท่านอาจารย์ จะต้องอยู่กับความเจ็บป่วยตามเหตุปัจจัยแห่ง
ธรรมชาติ แต่ก็เป็นความเจ็บป่วยที่ไม่เคยแยกห่างออกจากธรรมะ จนกล่าวได้ว่า
ท่านพร้อมแล้วที่จะปฏิบัติแห่งพุทธทาสภิกขุ ตราบวาระสุดท้ายของชีวิต ตาม
รอยแห่งพระบรมศาสดานั่นเอง

นับจากวันวิสาขบูชา ๒๔๗๕ ซึ่งพระมหาหนุ่มนาม “เงื่อม”
เริ่มต้นการเดินทางเพื่อตามรอยแห่งพระอริยเจ้ามาจนกระทั่ง
ถึงวิสาขบูชา ๒๕๓๕ นี้ การเดินทางของท่านและสวนโมกข
พลารามได้ยาวนานมาถึง ๖๐ ปีแล้ว อุดมคติอันมุ่งมั่นที่จะ
ค้นหาให้พบในวันเริ่มต้น ได้ค้นพบแล้ว ปณิธานที่จะประกาศ
ธรรมซึ่งค้นพบนั้นแก่ชนร่วมสมัย ก็ได้บรรลุแล้ว
อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสรำลึก (๖)

พุทธทาสรำลึก (๖)

สวนโมกข์วันนี้

แม้สวนโมกข์จะก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ ๖๐ แห่งการก่อตั้ง
แต่ปณิธานแห่งการทำงานเพื่อรับใช้พระศาสนาและ
เพื่อนมนุษย์ ก็ยังไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต กิจวัตร
ของคณะสงฆ์ยังคงดำเนินไปดังเช่นที่เคยเป็นมาในอดีต
กิจวัตรของคณะสงฆ์ยังคงดำเนินไปดังเช่นที่เคยเป็นมา
ในอดีต เพื่อมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ แต่สิ่งที่จำต้อง
เปลี่ยนแปลงไปคือ การหมุนเวียนของพระเณรทั้งเก่าและ
ใหม่และกายสังขารของท่านอาจารย์ที่ล่วงเข้าสู่วัยชราตามเหตุปัจจัยแห่งธรรมชาติ

ท่านอาจารย์พุทธทาส อาพาธหนักครั้งแรก
เมื่อ ปี ๒๕๑๘ ขณะอายุได้ ๖๙ ปี โดยเข้า
รับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และ
อาพาธหนักอีกครั้งในปี ๒๕๒๘ เมื่ออายุ
ได้ ๗๙ ปี จนเมื่อปลายเดือนตุลาคม
๒๕๓๔ ขณะอายุได้ ๘๕ ปีเศษ หลังจาก
การแสดงธรรมติดต่อกันถึง ๖ วัน วันละ
๒ ชั่วโมง ท่านก็มีอาการอาพาธรุนแรง อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสรำลึก (๕)

พุทธทาสรำลึก (๕)

ธรรมะเพื่อสังคมและโลก
(พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๓๔)

แม้ท่านอาจารย์พุทธทาสจะเป็นพระภิกษุใน
พุทธศาสนานิกายเถรวาท แต่การศึกษาจนเข้า
ถึงแก่นแท้แห่งพระธรรมคำสอน ได้ทำให้ท่าน
ก้าวพ้นไปจากการติดยึดในนิกายอย่างงมงาย
และไร้ประโยชน์ ตั้งแต่แรกตั้งสวนโมกข์ ท่าน
ได้ศึกษาพุทธศาสนานิกายอื่นๆ อย่างกว้างขวาง
ไม่ว่ามหายาน วัชรยาน เซ็น โดยเฉพาะ
พุทธศาสนานิกายเซ็น ท่านได้แปลหนังสือ
เรื่อง “สูตรเว่ยหล่าง” และ”คำสอนของฮวงโป”
ฯลฯ แม้ว่าการปฏิบัติดังนี้ของท่านจะเป็นเหตุ
ให้ท่านถูกโจมตีว่า กระทำนอกรีต ผิดแบบแผน
ของพระฝ่ายเถรวาท ก็ตาม
อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสรำลึก (๔)

พุทธทาสรำลึก (๔)

ประยุกต์ธรรมนำยุคสมัย
(พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๒๔)

พร้อมๆ กับที่เวลาล่วงผ่านเข้าสู่ยุคหลังกึ่งพุทธกาล (พ.ศ. ๒๕๐๐) นั้น ประเทศไทย
ก็ได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนาไปสู่ “ความทันสมัย” ตามแบบตะวันตกด้วยวิถีชีวิต
การศึกษา วัฒนธรรม การทำมาหากิน ต่างมุ่งจะไปสู่ความสมบูรณ์มั่งคั่งทางวัตถุ
ภายใต้คำขวัญของการพัฒนาที่ว่า “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” ผู้คนใน
สังคมได้ถูกกระตุ้นให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของวัตถุยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด จนเกิด
การแสวงหาและแข่งขันกันสะสม ระหว่างบุคคลในสังคมโดยทั่วไป

ในโลกแห่งความทันสมัยนี้ พระพุทธศาสนาซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง ๒,๕๐๐ ปี ได้ถูก
มองว่าเป็นสิ่งที่ล้าสมัย คร่ำครึไร้ประโยชน์ และไม่จำเป็นแก่การพัฒนาแบบนี้
อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสรำลึก (๓)

พุทธทาสรำลึก (๓)

ประกาศธรรมทุกทิศ
(พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๕๐๕)

ความสามารถของ “พุทธทาสภิกขุ” ใน
ด้านการเขียนอธิบายข้อธรรมะต่างๆ ใน
“พุทธสาสนา” โดยใช้ภาษาที่สละสลวย
เข้าใจง่าย แต่ให้ข้อคิดที่ลึกซึ้งได้ส่งผล
ให้ธรรมะจากสวนโมกข์ แผ่กระจายสู่
ผู้อ่านในที่ต่างๆ โดยง่าย จากฉบับแรก
เริ่ม ซึ่งต้องประกาศแจกให้เปล่าในหนัง
สือพิมพ์ “ไทยเขษม” รายสัปดาห์
ก้าวหน้าจนมีผู้สนใจบอกรับเป็นสมาชิก
เองนับร้อย จนถึงพันในเวลาต่อมา ความ
สำเร็จนี้แม้แต่คณะผู้จัดทำเองก็คาดไม่ถึง
ส่งเสริมให้เกิดกำลังใจที่จะเผยแพร่และ
แจกจ่ายธรรมทานนี้แก่สาธารณชนมากยิ่งขึ้น
อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสรำลึก (๒)

พุทธทาสรำลึก (๒)

ตามรอยพระอรหันต์
(พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๔)

เมื่อพระมหาเงื่อมตัดสินใจแน่วแน่แล้วที่จะกลับบ้าน ก็ได้มีจดหมายถึง
นายยี่เกยผู้น้องชาย ความตอนหนึ่งว่า

“เราตกลงใจกันแน่นอนแล้วว่า กรุงเทพฯ ไม่ใช่เป็นที่ที่จะค้นพบความบริสุทธิ์
การถลำเข้าเรียนปริยัติธรรมทางเจือด้วยยศศักดิ์ เป็นผลดีให้เรารู้สึกตัวว่า
เป็นการก้าวผิดไปก้าวหนึ่ง หากรู้ไม่ทันก็จะต้องก้าวไปอีกหลายก้าว และยาก
ที่จะถอนออกได้เหมือนบางคน จากการรู้สึกว่าก้าวผิดนั่นเอง ทำให้พบเงื่อนว่า
ทำอย่างไรเราจะก้าวถูกด้วย

เราเดินตามโลกตั้งแต่นาทีที่เกิดมา จนถึงนาทีที่มีความรู้สึกนี้ ต่อนี้ไป เราจะ
ไม่เดินตามโลก และลาโลกไปค้นหาสิ่งที่บริสุทธิ์ ตามรอยพระอริยะที่ค้นแล้ว
จนพบ…” และ “ฉันมืดแปดด้าน ไม่รู้ว่าจะไปขออาศัยสถานที่ที่ไหน เพื่อการ
ศึกษาของเราจึงจะเหมาะนอกจากบ้านเราเอง และไม่มีที่ไหนนอกจากบ้านเรา
คือที่พุมเรียง ก่อนที่อื่น จึงจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือรบกวนในบางอย่าง
คือต้องมีผู้ช่วยให้ได้โอกาสเรียนมากที่สุด และใครๆ จงถือเสียว่า ฉันไม่ได้
กลับออกมาพักอยู่ที่พุมเรียงเลย การกินอยู่ขอรบกวนให้มีการเปลี่ยนแปลงไป
จากเดิมสักเล็กน้อย คือถ้าไม่อยากทำอย่างอื่น ข้าวที่ใส่บาตรจะคลุกน้ำปลา
เสียสักนิดก็จะดี ลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าจะไม่รบกวนอย่างอื่นอีกเลย ฉันจะ
เป็นผู้พิสูจน์ให้เพื่อนกันเห็นว่า พระอรหันต์แทบทั้งหมด มีชีวิตอยู่ด้วยข้าว
สุกที่หุงด้วยปลายข้าวสารหัก และราดน้ำส้มหรือน้ำผักดองนิดหน่อยเท่านั้น
เราลองกินข้าวสุกของข้าวสารที่เป็นตัว และน้ำปลา ก็ยังดีกว่าน้ำส้ม และเรา
ลองกินอยู่เดี๋ยวนี้ รู้สึกว่าไม่มีการขัดข้องเลย ที่จะกินต่อไป..”
อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสรำลึก (๑)

พุทธทาสรำลึก (๑)

ก่อนกำเนิดสวนโมกข์
(พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๔๗๔)

ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย หรือ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๔๙
บุตรชายคนหัวปีของครอบครัว นายเซี้ยง และ นางเคลื่อน พานิช ได้ถือกำเนิดขึ้น
ณ บ้านตลาด พุมเรียง จ.ไชยา (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น จ. สุราษฎร์ธานี) ไม่มีใคร
ในเวลานั้น จะคาดคิดไปถึงว่า เด็กชายที่เรียกชื่อในเวลาต่อมาว่า “เงื่อม” นั้น จะ
เติบโตกลายเป็นมหาเถระผู้สืบแสงเทียนธรรมแห่งพระศาสนา ที่กำลังอ่อนล้า
ให้มีพลังเจิดจ้าขึ้นอีกในยุคสมัยต่อมา ในนามของ “พุทธทาสภิกขุ”

เด็กชายเงื่อม มีน้องอีก ๒ คน คนรองเป็นชาย
ชื่อยี่เกย พานิช ซึ่งเติบใหญ่กลายเป็นคู่คิด ผู้ร่วม
อุดมคติแห่งการจรรโลงพระศาสนา ร่วมกับ
พี่ชายในนาม “ธรรมทาส” และน้องสุดท้อง
เป็นหญิงชื่อ กิมซ้อย พานิช (เหมะกุล) พี่น้อง
ทั้งสามคนใกล้ชิดสนิทสนม และเติบโตมาใน
ครอบครัวที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีวิถี
ชีวิตแบบชุมชนชนบททั่วไป ด.ช. เงื่อม เอง
ได้รับอิทธิพลชื่นชอบการแต่งบทกวีและงาน
ช่างไม้จากบิดา และได้รับการอบรมสั่งสอน
จากมารดาให้เป็นคนที่ทำอะไรจะต้องทำให้ดีที่สุด และประหยัดละเอียดรอบคอบ
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .