ตอน หก อานาปานสติ ขั้นที่ สอง (การกำหนดลมหายใจสั้น)

ตอน หก อานาปานสติ ขั้นที่ สอง (การกำหนดลมหายใจสั้น)

อานาปานสติขั้นที่สองนี้ มีหัวข้อว่า “ภิกษุนั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจเข้าสั้น ดังนี้ ; เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจออกสั้น ดังนี้”. (บาลีว่า รสฺสํ วา อสฺสสนฺโต รสฺสํ อสฺสสิสฺสามีติ ปชานาติ ; รสฺสํ วา ปฺสสสนฺโต รสฺสํ ปสฺสสิสฺสามีติ ปชานาติ)
อานาปานสติข้อนี้ มีความหมายแตกต่างจากขั้นที่หนึ่ง เพียงที่กล่าวถึงลมหายใจที่สั้น. ลมหายใจสั้นในที่นี้ เป็นเพียงชั่วขณะ คือชั่วที่มีการฝึกให้หายใจสั้นแทรกแซงเข้ามา. เมื่อบุคคลผู้ปฏิบัติรู้ความที่ลมหายใจสั้นเป็นอย่างไรอย่างทั่วถึงแล้ว ระงับความสนใจต่ออาการแห่งการหายใจชนิดที่เรียกว่าสั้นนั้นเสีย ไปหายใจอยู่ด้วยลมหายใจที่เป็นปรกติ ซึ่งจะเรียกว่าสั้นหรือยาวก็ได้ แล้วแต่จะเอาหลักเกณฑ์อย่างใดเป็นประมาณ ปัญหาก็หมดไป ไม่มีสิ่งที่จะต้องอธิบายเป็นพิเศษ สำหรับกรณีที่มีการหายใจสั้น.

แต่ถ้าหากว่าบุคคลผู้นั้น มารู้สึกตัวว่า ตนเป็นผู้มีการหายใจสั้นกว่าคนธรรมดาอยู่เป็นปรกติวิสัย ก็พึงถือว่าระยะหายใจเพียงเท่านั้น ของบุคคลนั้นเป็นการหายใจที่เป็นปรกติอยู่แล้ว. และเมื่อได้ปรับปรุงการหายใจให้เป็นปรกติแล้ว ก็ถือเอาเป็นอัตราปรกติสำหรับทำการกำหนดในยะระเริ่มแรก เป็นลำดับไปจนกว่าจะเกิดฉันทะและปราโมทย์ ซึ่งมีความยาวแห่งลมหายใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับๆ และมีกรรมวิธีต่าง ๆ ดำเนินไปจนครบทั้ง ๑๐ ขั้น ตามที่กล่าวมาแล้วในอานาปานสติขั้นที่หนึ่งอันว่าด้วยการหายใจยาว ฉันใดก็ฉันนั้น. ในกรณีที่มีการหายใจสั้นเป็นพิเศษ เพราะเหน็ดเหนื่อย การตกใจหรือโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนนั้น ย่อมมีการกำหนดให้รู้ว่าสั้นเพียงในขณะนั้นเท่านั้น เมื่อสิ่งเหล่านั้นผ่านไปแล้ว การหายใจก็เป็นปรกติ และดำเนินการปฏิบัติไปโดยนัยแห่งการหายใจปรกติ เพราะการหายใจสั้นชนิดนั้นได้ผ่านไปแล้วโดยไม่ต้องคำนึง.
อ่านเพิ่มเติม

ตอนห้า อานาปานสติ ขั้นที่หนึ่ง การกำหนดลมหายใจยาว

ตอนห้า อานาปานสติ ขั้นที่หนึ่ง การกำหนดลมหายใจยาว

ภาคอานาปานสติภาวนา
จตุกกะที่ ๑ – กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
(ตั้งแต่การเริ่มกำหนดลม จนถึงการบรรลุฌาน)

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสข้อความอันปรารภถึงลักษณะ และกิริยาอาการของบุคคลผู้เริ่มทำสติดังนี้แล้ว ได้ตรัสถึงลำดับหรือระยะแห่งการกำหนดลมหายใจ และสิ่งที่เนื่องกับการกำหนดลมหายใจสืบไปว่า :
(๑) ภิกษุนั้น เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจเข้ายาว ดังนี้ ; เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจออกยาว ดังนี้,
(๒) ภิกษุนั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจเข้าสั้น ดังนี้ ; เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจออกสั้น ดังนี้.
(๓) ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก ดังนี้.
(๔) ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้.

ทั้ง ๔ ข้อนี้ เรียกว่าจตุกกะที่หนึ่ง หรืออานาปานสติหมวดที่หนึ่ง ซึ่งควรจะได้รับคำอธิบายอย่างละเอียดทั่วถึงเสียก่อนแต่ที่จะได้กล่าวถึงจตุกกะที่สองที่สาม เป็นลำดับไป. แม้เพียงแต่จตุกกะที่หนึ่งนี้ ก็มีคำอธิบายและเรื่องที่ต้องปฏิบัติอย่างยืดยาว และทั้งเป็นการปฏิบัติที่สมบูรณ์ขั้นหนึ่งอยู่ในตัวเอง หรือผู้ปฏิบัติอาจจะยักไปสู่การปฏิบัติที่เป็นวิปัสสนาโดยตรงต่อไป โดยไม่ต้องผ่านจตุกกะที่สอง ที่สาม ก็เป็นสิ่งที่กระทำได้ ; ฉะนั้น จึงเป็นการสมควรที่จะได้วินิจฉัยในจตุกกะที่หนึ่งนี้ โดยละเอียดเสียชั้นหนึ่งก่อน.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน สี่ อานาปานสติภาวนา โดย พุทธทาสภิกขุ

ตอน สี่ อานาปานสติภาวนา โดย พุทธทาสภิกขุ

บุพพกิจโดยเฉพาะของการเจริญสมาธิ

ต่อไปนี้ จะได้กล่าวถึงบุพพกิจที่ใกล้ชิด หรือเฉพาะเจาะจงต่อการทำกัมมัฏฐานยิ่งขึ้นไปอีก ดังต่อไปนี้ :-

(ก) การทำอุปมาเป็นหลักประจำใจ

เกี่ยวกับการทำกัมมัฏฐานนี้ ทุกคนควรจะมีความแจ่มแจ้งในอุปมาของการทำกัมมัฏฐานทั้งหมด ไว้เป็นแนวสังเขป กันความฟั่นเฝือ. การที่ต้องใช้ฝากไว้กับอุปมา ก็เพราะเป็นการง่ายแก่การกระทำไว้ในใจ ในลักษณะที่เป็นการเห็นแจ้ง มิใช่เป็นเพียงความจำหรือความเข้าใจ. เกี่ยวกับเรื่องนี้ พระอาจารย์ในกาลก่อน เช่น อาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรคโดยเฉพาะ ได้ถือเอาอุปมานี้เป็นหลัก มีใจความว่า “คนมีปัญญา ยืนหยัดมั่นคงอยู่บนแผ่นดิน ฉวยอาวุธที่คมด้วยมือ ลับที่หินแล้ว มีความเพียรถางป่ารกให้เตียนไปได้”.

คำอธิบายของท่านมีว่า คนมีปัญญา หมายถึงปัญญาเดิมๆ ที่ติดมากับตัวที่เรียกว่า “สหชาตปญฺญา” หรือที่เรียกในสมัยนี้ว่า Intellect หมายความว่าเป็นปัญญาที่ยังดิบอยู่ จะต้องได้รับการทำให้งอกงาม เป็นปัญญาที่แท้จริงโดยสมบูรณ์ ซึ่งเรียกว่า “วิปัสสนาปัญญา” หรือที่เรียกในบัดนี้ว่า Intuitive wisdom. ข้อนี้หมายความว่า คนที่จะทำกัมมัฏฐานต้องมีแววฉลาดอยู่ตามสมควร เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับเพาะปลูกปัญญาต่อไป. ถ้าเป็นคนโงเง่า ก็ไม่มีทางที่จะทำได้ตามแนวนี้ จักต้องไปกระทำตามแนวของพวกศรัทธา หรือพิธีรีตองต่างๆ ไปก่อนเป็นธรรมดา.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน สาม อานาปานสติภาวนา โดย พุทธทาสภิกขุ

ตอน สาม อานาปานสติภาวนา โดย พุทธทาสภิกขุ

ความมุ่งหมายอันแท้จริงของบุพพกิจ

บุพพกิจต่างๆ เหล่านี้ ถ้าอยากจะทำ ก็จะขอแนะนำ หรือชี้ความมุ่งหมายอันแท้จริง ของกิจเหล่านั้นไว้พอเป็นตัวอย่าง ดังต่อไปนี้ :-
(๑) การทำความเคารพสักการะ แก่ท่านผู้เป็นประธานหรือเจ้าของสำนัก นั้น เป็นธรรมเนียมของสังคมทั่วไป. ส่วนที่สำคัญกว่านั้น อยู่ตรงที่จะต้องทำความเข้าใจกับท่านให้ถึงที่สุด คือให้ท่านเกิดความเข้าใจในเราว่าเราเป็นคนอย่างไร มีกิเลส มีนิสัยสันดานอย่างไร ต้องการความสะดวกเพื่อการปฏิบัติในส่วนไหน ดังนี้เป็นต้น. เพื่อท่านจะได้ไว้ใจเราและให้ความช่วยเหลือแก่เราอย่างถูกต้องและเต็มที่ได้โดยง่ายดาย เป็นการปรารภธรรมะเป็นใหญ่ มิใช่ปรารภวัตถุหรือพิธีรีตอง ดังกล่าวแล้ว. ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่อาจทำความเข้าใจกันได้ ก็อย่าเข้าไปสู่สำนักนั้นเลย ข้อนี้เป็นกิจที่ต้องทำในขั้นแรกที่สุด และก็ทำเพียงครั้งเดียวเป็นธรรมดา หลังจากนั้นก็มีแต่การประพฤติปฏิบัติให้ตรงตามข้อสัญญาหรือข้อตกลงต่างๆ ที่มุ่งหมายจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้วยอาศัยความเมตตากรุณาเป็นที่ตั้งอย่างแท้จริง
อ่านเพิ่มเติม

ตอน สอง อานาปานสติภาวนา โดย พุทธทาสภิกขุ

ตอน สอง อานาปานสติภาวนา โดย พุทธทาสภิกขุ

บุพพภาคทั่วไปของการเจริญสมาธิ

ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงเรื่อง สมาธิภาวนา แต่ในทางปฏิบัติโดยเฉพาะ. สิ่งแรกที่สุดที่อยากจะกล่าว ก็คือ สิ่งที่เรียกว่า บุพพภาคของสมาธิภาวนาที่เกิดขึ้นในชั้นหลัง. สิ่งที่เรียกว่าบุพพภาคก็คือ สิ่งที่ต้องทำก่อน ซึ่งในที่นี้ ก็ได้แก่สิ่งที่ต้องทำก่อนการเจริญสมาธินั้นเอง. ที่เรียกว่า “ในชั้นหลัง”ในที่นี้นั้นย่อมบ่งชัดอยู่ในตัวแล้วว่าเป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดมีธรรมเนียมอันนี้กันขึ้นในชั้นหลัง ไม่เคยมีในครั้งพุทธกาลเลย แต่ก็ยึดถือกันมาอย่างแน่นแฟ้นเอาเสียทีเดียว. แต่เนื่องจากสิ่งที่กล่าวนี้มิใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์เอาเสียทีเดียว เพราะฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่ควรจะได้รับการพิจารณาโดยสมควร แล้วถือเป็นหลักเฉพาะคน หรือเฉพาะกรณีเท่าที่ควรอีกเหมือนกัน แต่อย่าทำไปด้วยความยึดมั่นถืออย่างงมงาย ดังที่ทำกันอยู่โดยทั่วๆ ไปเลย.

สิ่งที่เรียกว่าบุพพภาค ดังกล่าวนั้น ที่นิยมทำกันอยู่ในสมัยนี้ และบางแห่งก็ถือเป็นสิ่งที่เข้มงวดกวดขัน อย่างที่จะไม่ยอมให้ใครละเว้นนั้น ก็มีอยู่มากซึ่งอาจจะประมวลมาได้ ดังต่อไปนี้ :-

๑. การนำเครื่องสักการะแด่เจ้าของสำนัก หรือผู้เป็นประธานของสำนัก. ข้อนี้เป็นสิ่งจะมีไม่ได้ในครั้งพุทธกาล คือไม่มีผู้เป็นประธาน หรือเจ้าของหรือผู้อุปถัมภ์สำนักเช่นนั้น และแถมจะไม่มีสำนักเช่นนั้นด้วยซ้ำไป เพราะผู้ปฏิบัติแต่ละคนๆ ก็ล้วนแต่เป็นผู้ที่อยู่กับอุปัชฌาย์อาจารย์ของตน. เป็นหน้าที่ที่อุปัชฌาย์อาจารย์เหล่านั้น จะต้องบอกต้องสอนอยู่แล้วเป็นประจำวัน. แม้จะเข้าประจำสำนักอื่น ก็ไม่มีสำนักไหนที่จะมีอยู่ในลักษณะที่จะต้องทำเช่นนั้น, เนื่องจากการกระทำในสมัยนั้นไม่มีหลักในทางพิธีรีตองเหมือนสมัยนี้. ครั้นตกมาถึงสมัยนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้จักความพอเหมาะพอดี หรือความควรไม่ควรในข้อนี้ด้วยตนเอง.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน หนึ่ง อานาปานสติภาวนา โดย พุทธทาสภิกขุ

ตอน หนึ่ง อานาปานสติภาวนา โดย พุทธทาสภิกขุ

อานาปานสติภาวนา

ภาคนำ

ว่าด้วยบุพพกิจของสมาธิภาวนา

ตอน หนึ่ง

การมีศีล และธุดงค์

วันนี้ จะได้พูดถึงเรื่องแนวการปฏิบัติธรรม ในสวนโมกขพลาราม ภาคสอง อันว่าด้วยหลักปฏิบัติเฉพาะเรื่องหรือเฉพาะคน ต่อจากภาคที่หนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงหลักปฏิบัติทั่วไป อันได้บรรยายแล้วเมื่อปีก่อน (ในพรรษาปี ๒๕๐๑).

ขอซ้อมความเข้าใจอีกครั้งหนึ่งว่า ในภาคหนึ่งที่เรียกว่าหลักปฏิบัติธรรมทั่วไปนั้น หมายถึงการปฏิบัติที่เป็นแนวทั่วๆ ไป สำหรับทำให้เกิด “การเป็นอยู่โดยชอบ” คือเป็นพื้นฐาน สำหรับการเป็นอยู่ที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติเฉพาะเรื่องเช่นการทำสมาธิข้อใดข้อหนึ่งเป็นต้น ซึ่งจะได้กล่าวในภาคหลังนี้ เพราะฉะนั้นจึงเห็นได้ว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกันโดยแท้.

เมื่อบุคคลได้เป็นอยู่ตามหลักปฏิบัติในภาคหนึ่งแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีศีล มีธุดงค์ อยู่ในตัว และมากพอที่จะเป็นบาทฐานของการปฏิบัติที่สูงขึ้นไปโดยเฉพาะคือ สมาธิภาวนา. อีกประการหนึ่ง หลักปฏิบัติตามที่กล่าวไว้ในภาคหนึ่งนั้น ย่อมเป็นการอธิบายหลักปฏิบัติในภาคหลังเฉพาะส่วนที่เป็นทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องนั้น ซึ่งไม่ควรจะเอามาปนกับหลักปฏิบัติโดยตรง เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือหรือตาลาย เพราะตัวหนังสือมากเกินไป; จึงมีไว้เพียงสำหรับให้ศึกษาเป็นพื้นฐานทั่วๆ ไปเท่านั้น. แต่เมื่อเกิดมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนั้นขึ้นมา ผู้ปฏิบัติก็จำเป็นจะต้องย้อนไปหาคำตอบจากเรื่องฝ่ายทฤษฎีเหล่านั้น ด้วยตนเองตามกรณีที่เกิดขึ้น. ขอให้ทำความเข้าใจไว้ว่า หลักทั่วไปในภาคหนึ่ง ก็ต้องเป็นสิ่งที่คล่องแคล่วหรือคุ้นเคย แก่การคิดนึกของผู้ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จึงจะสำเร็จประโยชน์เต็มที่.
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมน่ารู้ จากท่านพุทธทาสภิกขุ

ธรรมน่ารู้ จากท่านพุทธทาสภิกขุ

ข้าพเจ้ามอบชีวิตและร่างกายนี้ ถวายแด่พระพุทธเจ้าข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า

ธรรมคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ ล้วนแล้วแต่สอนอย่างถึงแก่นถึงแกน ที่ถูกต้องดีงาม สมดั่งพระพุทธประสงค์
ท่านทำหน้าที่ได้สมดังฉายาขององค์ท่านว่า “พุทธทาส” โดยบริบูรณ์
ผู้เขียนได้เลือกLink ไปยังWeb พุทธทาส.คอม ที่เห็นว่าเกื้อหนุนให้เกิดความเข้าใจในธรรม อันเนื่องกับธรรมในWebนี้
นอกจากLinkเหล่านี้แล้ว ยังมีธรรมะต่างๆที่น่ารู้ น่าศึกษา เป็นแก่นเป็นแกนของท่านอีกเป็นจำนวนมาก
ใน พุทธทาส.คอม และที่ พุทธทาสศึกษา
การศึกษาข้อธรรม,ข้อเขียนของท่านนั้น ควรศึกษาอย่างพิจารณา วางใจเป็นกลาง วางความเชื่อ ความยึดเดิมๆ ชั่วขณะ
พิจารณาตามเหตุตามผล เพราะข้อธรรมคำสอนของท่านนั้น เป็นการสอนอย่างตรงไปตรงมาเป็นที่สุด
จึงมักขัดแย้งกับความเชื่อ(ทิฏฐุปาทาน) ความยึดเดิมๆ(สีลัพพตุปาทาน)ตามที่ได้สืบทอด อบรม สั่งสมมา
อันแอบซ่อน,แอบเร้นอยู่ในจิตโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และยอมรับได้ยาก
ต้องใช้การโยนิโสมนสิการในการพิจารณาในข้อธรรมบรรยายของท่านด้วยใจเป็นกลาง อย่างหาเหตุหาผล จึงจักได้รับประโยชน์สูงสุด
อ่านเพิ่มเติม

ตามรอย “พุทธทาส” ในมุมที่คุณอาจไม่เคยรู้!

ตามรอย “พุทธทาส” ในมุมที่คุณอาจไม่เคยรู้!

“พุทธทาสภิกขุ” นามนี้ดังก้องโลก หลายคนอาจเคยมีโอกาสเดินตามรอยท่าน จากบทธรรมคำสอนที่ฝากเอาไว้อย่างมากล้น มากเสียจนแม้กระทั่งผู้ที่ไม่เคยก้าวย่ำลงไปศึกษาพระธรรมด้วยตนเอง คงเคยได้รับอานิสงส์แห่งความเมตตาไปแล้วหลายต่อหลายครั้ง ผ่านตัวอักษรในหน้าหนังสือ ผ่านคำเทศน์ที่ยังถูกเปิดซ้ำๆ ดั่งเจ้าของสำเนียงไม่เคยลาลับไปไหน
ในวาระครบรอบ 20 ปีมรณกาล และรำลึกเดือนแห่งการเกิดของท่าน (พ.ค.) จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ตามรอย ปัดฝุ่นอดีตผู้ยิ่งใหญ่ จากปากคำของคนใกล้ชิด ในอีกหลายแง่มุมที่คุณอาจไม่เคยรู้!

เลือด “ศิลปิน” จากโยมพ่อ
“เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย
จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า
ตายเปล่าเลย ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง”

อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสภิกขุ

พุทธทาสภิกขุ

ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นพระภิกษุสงฆ์ชาวไทยผู้มอบคำสอนทางพุทธศาสนาไว้มากมาย โดยคำสอนจำนวนมากเป็นธรรมะระดับโลกุตระ อันมีนิโรธเป็นรส และมีนิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นธรรมะขั้นสูง และไม่เหมาะกับฆราวาสผู้ยังเวียนว่ายอยู่ในวังวนแห่งโลกียะ แต่ท่านพุทธทาสภิกขุตระหนักว่าธรรมะเหล่านี้คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา และพุทธมามกะไม่ว่าจะระดับชั้นใดก็ควรจะได้รับรู้ ได้รับปฏิบัติ และได้รับผลจากธรรมะเหล่านี้ ซึ่งถึงแม้จะเป็นธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้ง แต่ท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้ถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและเข้าใจ โดยยังคงเนื้อหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน คำสอนทั้งหลายของท่านพุทธทาสภิกขุ แท้จริงแล้วก็คือการสกัดพระสูตรให้ออกมาเป็นภาษาพูด และพระอภิธรรมให้ออกมาเป็นภาษาชาวบ้านนั่นเอง โดยข้อธรรมที่ท่านพุทธทาสภิกขุเน้นย้ำมากที่สุดคือเรื่องสุญญตา จนทำให้ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาหลายคนเรียกท่านว่า นักรบเพื่อความว่าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุยังรวมไปถึงเรื่องพื้นฐาน เช่น เรื่องการทำงาน และเรื่องการศึกษา ซึ่งคนทั่วไปสามารถนำธรรมะเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ทันที
นอกจากพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังมีใจเปิดกว้างทำการศึกษาคำสอนของต่างศาสนาและต่างนิกาย ด้วยความคิดว่าศาสนาทั้งหลายล้วนมุ่งหมายในสิ่งเดียวกัน ในสมัยที่ท่านพุทธทาสภิกขุจำพรรษาอยู่ที่สวนโมกขพลาราม นอกจากสาธุชนคนไทยผู้สนใจในธรรมะทั้งหลายจะแวะเวียนมาสนทนา และฟังเทศน์ฟังธรรมจากท่านพุทธทาสภิกขุอย่างไม่ขาดสายแล้ว ยังมีชาวต่างชาติผู้ต้องการเรียนรู้พระพุทธศาสนา นักศึกษาและอาจารย์ทางด้านศาสนศาสตร์จากต่างประเทศ รวมถึงประมุขของศาสนจักรต่างๆ แวะเวียนมาพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติความคิดเห็น รวมทั้งสนทนาธรรมกับท่านเป็นอันมาก ทำให้สวนโมกขพลารามเปรียบเสมือนตักศิลาสำหรับผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทำให้วงการพระพุทธศาสนากลับมาตื่นตัวอีกครั้ง
อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระธรรมโกศาจารย์
(เงื่อม อินทปญฺโญ)
พุทธทาสภิกขุ

เกิด 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449
มรณภาพ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
อายุ 87
อุปสมบท 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2469
พรรษา 67
วัด ธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม)
ท้องที่ สุราษฎร์ธานี
สังกัด มหานิกาย
วุฒิการศึกษา ป.ธ.๓, น.ธ.เอก
รางวัล บุคคลสำคัญของโลกชาวไทยโดยยูเนสโก
ลายมือชื่อ

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด
ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ แห่งวัดชลประทานรังสฤษฎ์ และ ท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์ [1]
อ่านเพิ่มเติม

คำคมธรรมะสอนใจ พระพุทธทาสภิกขุ (พุทธทาส อินทปัญโญ)

คำคมธรรมะสอนใจ พระพุทธทาสภิกขุ (พุทธทาส อินทปัญโญ)

ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ (พุทธทาส อินทปัญโญ) มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช ท่านถูกปลูกฝั่งเรื่องธรรมะมาตั้งแต่สมัยเด็ก ด้วยพ่อแม่ของท่านสนใจในเรื่องของธรรมะอย่างลึกซึ้ง ครั้งเมื่ออายุท่านได้ 20 ปีก็ได้ออกบวชตามเจตนารมณ์ของพ่อและแม่ตามความเชื่อของคนไทยที่ต้องให้ลูกบวชทดแทนพระคุณพ่อแม่ ท่านจึงได้ออกบวชที่วัดโพธาราม ไชยา ได้รับฉายาว่า “อินทปัญโญ” แปลว่า ผู้มีปัญญา อันยิ่งใหญ่ ตลอดชีวิต ของ ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ท่านบอกเสมอว่า “ธรรมะ” นั้น คือหน้าที่…ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุได้ทำหน้าที่ ในฐานะ ทาสผู้ซื่อสัตย์ ของพระพุทธเจ้า ทุกอณูแห่งลมหายใจ เข้าออก ผลงานของท่านที่ท่านได้สร้างสรรค์ไว้ให้แก่พระพุทธศาสนานั้นมีมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ท่านจะเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก…

” ธรรมะมีอยู่แล้ว ไม่ต้องสร้างขึ้น ไม่ต้องวิ่งหา
เพียงแต่ทำให้ปรากฏแก่จิต ที่อบรมอยู่แล้วอย่างถูกต้อง
เดี๋ยวนี้มัวสร้างมัวหา เลยไม่พบทั้งที่มีอยู่แล้ว ”
สิ่งที่สมบูรณ์แล้วโดยแท้ มันก็มีความบกพร่องอยู่ สิ่งที่บกพร่องอยู่ แท้จริงมันก็สมบูรณ์ดีอยู่แล้ว
“พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องฤทธิ์ทางจิตใจ
แต่ทรงขยะแขยงที่จะแสดงฤทธิ์ในทางจิตใจชนิดนั้น เพราะเป็นมายาเท่านั้นเอง”
โลกนี้เป็นโรงละครอันแปลกประหลาด
ที่ตัวละครมีสิทธิ์แสดงบทบาทได้ตามใจตัว.
ในโบสถ์หรือพระพุทธรูปยิ่งสำคัญหรือศักดิ์สิทธิ์เท่าใด
ก็ยิ่งมีเซียมซีมากเท่านั้น. อ่านเพิ่มเติม

หลักธรรมคำสอน ท่านพุทธทาสภิกขุ

หลักธรรมคำสอน ท่านพุทธทาสภิกขุ

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ) วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลารามเพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ผลงานของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีปรากฏอยู่มากมายทั้งในรูปพระธรรมเทศนา และในงานเขียน โดยท่านตั้งใจทำการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ในฐานะที่เป็นพุทธะศาสนาอย่างแท้จริง นั่นคือเป็นศาสนาแห่งความรู้ ไม่เจือปนไปด้วยความหลงผิดที่เข้าแทรกจนกลายเป็นเนื้อร้ายที่คอยกัดกิน ได้แก่เรื่อง พุทธพาณิชย์, ไสยศาสตร์ และเรื่องความหลงใหลในลาภยศของพระสงฆ์ ฯลฯ อีกทั้งคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้ถูกถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ โดยที่ยังคงเนื้อหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งคำสอนของท่านยังรวมไปถึงเรื่องทั่วๆ ไปด้วย เช่น การทำงาน, การเรียน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตประจำวันปสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ โดยที่ยังคงเนื้อหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งคำสอนของท่านยังรวมไปถึงเรื่องทั่วๆ ไปด้วย เช่น การทำงาน, การเรียน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตประจำวัน

วันนี้เอาคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุมาให้อ่านกันค่ะ

โลกกลมๆ ใบนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ
ของฟรีไม่เคยมี ของดีไม่เคยถูก

อยู่ให้ไว้ใจ ไปให้คิดถึง
คนเราต้องเดินหน้า เวลายังเดินหน้าเลย
ไม่ต้องสนใจว่าแมวจะสีขาวหรือดำ ขอให้จับหนูได้ก็พอ
ยิ่งมีใจศรัทธา ยิ่งต้องมีสายตาที่เยือกเย็น
อ่านเพิ่มเติม

108 คำคม พุทธทาส อินฺทปญฺโญ

108 คำคม พุทธทาส อินฺทปญฺโญ

108 คำคม พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) หรือ พระพุทธทาสภิกขุ เป็นชาว สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ พออายุได้ 20 ปี ท่านก็ได้บวชเรียนที่วัดบ้านเกิด วัดอุบล หลังจากนั้นก็ได้เข้าไปศึกษาพระธรรมที่กรุงเทพ จนได้เปรียญธรรม 3 ประโยค จากนั้นก็ได้กลัับมาปฏิบัติธรรมที่บ้านเกิดอีกครั้ง พร้อมทั้งปวารณาตัวท่านเองว่า พุทธวาส ผู้ถวายชีวิตรับใช้พระพุทธศาสนา หลังจากนั้นก็มีผลงาน ทั้งงานนิพนธ์ งานเขียนมากมาย ผลงานที่โดนเด่นและทำให้ท่านเป็นที่รู้จักคือ นิพนธ์ชุด ”ธรรมโฆษณ์”

ค่ามีที่ตรงไหน
ค่ากระดาษ แผ่นหนึ่ง ไม่ถึงสตางค์
พอวาดวาง ด้วยอักษร ประเสริฐศรี
มีเนื้อหา แห่งพระธรรม คำดี ๆ
มันกลับมี ค่าอนันต์ เหลือพรรณนา
เพียงกระดาษ ลายเซ็น เป็นที่ระลึก
คนโง่ยึก แย่งกัน ซื้อสรรหา
ส่วนผู้ฉลาด มาตร์ใหญ่ ใฝ่ธรรมา
แผ่นกระดาษ สูงค่า มาเพราะธรรม
แม้กระดาษ ห่อของ ตรองดูเถิด
ค่ามันเกิด เพราะอะไร ไยมิขำ
แม้กายเน่า ที่คู่เคล้า เฝ้าลูบคลำ
เมื่อมีธรรม ก็หมดเน่า ไม่เศร้าเอย
พุทธทาสภิกขุ
————————————————————————- อ่านเพิ่มเติม

รวม 309 หัวข้อธรรมคำสอนของท่านพุทธทาส

รวม 309 หัวข้อธรรมคำสอนของท่านพุทธทาส

ที่ลิงค์นี้: http://www.tamdee.net/main/read.php?tid-1506.html

ได้ รวมธรรมคำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ รวม 309 หัวข้อ

ขอเชิญชวนทุกท่านศึกษาครับ

1. พระพุทธเป็นพ่อ พระธรรมเป็นแม่ พระสงฆ์เป็นพี่
2. พุทธะเป็นใครก็ได้ ถ้าเป็นผู้รู้ – ตื่น – เบิกบาน
3. นิพพานในทุกความหมาย ไม่เกี่ยวกับความตาย
4. นิพพานเป็นของได้เปล่า เมื่อสลัดตัวกูออกไปเสีย
5. นิพพานในความหมายของชาวบ้าน (นิพฺพุโต) ก็มีอยู่
6. นิพพานในปัจจุบัน (เมื่อจิตว่าง) เรียกสามายิกนิพพาน เป็นสิ่งควรสนใจ
7. นิพพานหาพบได้ที่วัฏฏสงสาร
8. นิพพานคือ “ตัวกู” ตายเสียก่อนแต่ร่างกายตาย
9. ทำงานและมีชีวิตอยู่ด้วยจิตว่างจากตัวกู
10. ทุกเรื่องและทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับจิตสิ่งเดียว อ่านเพิ่มเติม

๑๐๐ คำคม วาทะธรรม อาจารย์พุทธทาส ภิกขุ

๑๐๐ คำคม วาทะธรรม อาจารย์พุทธทาส ภิกขุ

1. ปณิธาน 3 ประการของท่านพุทธทาส
1. การเข้าถึงหัวใจของศาสนาของตนๆ
2. การทำความเข้าใจระหว่างศาสนา
3. ออกมาเสียจากอำนาจวัตถุนิยม

2. คติพจน์ของสวนโมกข์ 1
• กินข้าวจานแมว (กินง่าย)
• อาบน้ำในคู (ใช้สอยคุ้มค่า)
• นอนกุฏิเล้าหมู (นอนง่าย)
• ฟังยุงร้องเพลง (จิตสงบเย็น)
• อยู่เหมือนตายแล้ว (ตายจากความยึดมั่นถือมั่น)

3. คติพจน์ของสวนโมกข์ 2
• กินข้าวจานแมว (กินง่าย)
• อาบน้ำในคู (ใช้สอยคุ้มค่า)
• เป็นอยู่อย่างทาส (อยู่ง่าย)
• มุ่งมาดความวาง (แบกหนักวางเบา)
• ทำอย่างตายแล้ว (ให้ตัวกูตายกิเลสตาย)
• กุมแก้วในมือ(อริยทรัพย์อันล้ำค่า)
• คือดวงจิตว่าง (นิพพาน)
• คืนหมดทุกอย่าง(คืนสู่ธรรมชาติ)
• แจกของส่องตะเกียง(พระโพธิสัตว์)
อ่านเพิ่มเติม

ความสุข: ท่านพุทธทาสภิกขุ

ความสุข: ท่านพุทธทาสภิกขุ

สุขสำราญคู่กับ ทุกข์ทรมาน
ความสุขสำราญที่ไม่มีธรรมะเป็นรากฐาน ก็คือความทุกข์ทรมานที่กำลังรอเวลาอยู่ !
สุขสงบ – สุขสนุก
สุขแท้ เกิดจากความสงบเท่านั้น ส่วนที่เกิดจากความวุ่นวายนั้น เป็นเพียงความสนุก หาใช่ความสุขไม่ !
สุขแท้ – สุขเทียม
ความสุขที่แท้จริง เป็นสิ่งที่ต้องได้มาเปล่าๆ โดยไม่ต้องเสียสตางค์ เหมือนดั่งที่ตรัสว่า ถอนความรู้สึกว่าตัวตนเสียได้แล้ว ก็ได้นิพพานมาเปล่าๆ ไม่ต้องเสียมูลค่าอะไร
ส่วนความสุขเทียม หรือความเพลิดเพลินที่หลอกลวงนั้น ใช้เงินื้อมาเท่าไรก็ไม่รู้จักพอ จนตัวตาย ก็ไม่พบกับความสุขที่แท้จริง!
ความสุขอันประเสริฐ
อย่ามุ่งหมาย ความสุขอันประเสริฐอะไรๆ ให้มากไปกว่าความปกติของจิต ที่ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขึ้นไม่ลงไปตามออารมณ์ที่กระทบเพราะไม่มีสุขอะไรประเสริฐยิ่งไปกว่าความปกติของจิตนั้น

http://www.dharma.in.th/

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ
๑. กำเนิดแห่งชีวิต
ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช
เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้า
ที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคน
เป็นชายชื่อยี่เก้ย และเป็นหญิงชื่อกิมซ้อย
บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลักคือ
การค้าขายของชำ เฉกเช่น ที่ชาวจีนนิยมทำกันทั่วไป
แต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดา กลับเป็นเรื่องของ
ความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้
ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดา
อ่านเพิ่มเติม

“ยูเนสโก”ยกย่อง”ท่านพุทธทาส” 1ใน63บุคคลสำคัญของโลก

“ยูเนสโก”ยกย่อง”ท่านพุทธทาส” 1ใน63บุคคลสำคัญของโลก

(หมายเหตุ) – การประชุมสมัยสามัญองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา พิจารณาการยกย่องเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญ หรือผู้มีผลงานดีเด่นและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประจำปี 2549-2550 รวม 63 คน/สถาบัน รวมถึงท่านพุทธทาสภิกขุ

บุคคลและสถาบันที่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโก เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบปีต่างๆ ระหว่างปี 2549-2550 จำนวน 63 ท่าน/สถาบัน

1.ไฮน์ริช ไฮน์ (เยอรมนี) เนื่องในวาระครบรอบ 150 ปี ของการถึงแก่อสัญกรรม
2.ดีทริช บอนฮอฟเฟอร์ (เยอรมนี) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
3.แบร์โธลต์ เบรชต์ (เยอรมนี) เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของการถึงแก่อสัญกรรม
4.ยีน คาร์ซู (การ์นิก ซูลูเมียน) (อาร์เมเนีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
5.โนราอีร์ ซีซาเกียน (อาร์เมเนีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
6.โวฟ์ลกัง อมาเดอุส โมซาร์ต (ออสเตรีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 250
7.ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (ออสเตรีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 150
8.เบอร์ธา ฟอน ซุตต์เนอร์ (ออสเตรเลีย) เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ของการรับรางวัลโนเบล อ่านเพิ่มเติม

งานศพของท่านพุทธทาส อินทปัญโญก็ยังแฝงไว้ด้วยการสอนธรรมของตัวท่านใน พินัยกรรม

งานศพของท่านพุทธทาส อินทปัญโญก็ยังแฝงไว้ด้วยการสอนธรรมของตัวท่านใน พินัยกรรม

ด.ต.ปิยะวัฒน์…(ดาบต้น):
งานศพท่านพุทธทาส ยึดแนวทางปฏิบิติ “เป็นอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง”

แม้แต่งานศพของท่านพุทธทาส อินทปัญโญก็ยังแฝงไว้ด้วยการสอนธรรมของตัวท่านใน พินัยกรรม ของท่านที่ทำไว้ก่อนมรณภาพ ท่านเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ให้เผาศพท่านในสามเดือนโดยจัดการอย่างง่ายที่สุด ไม่จัดงานพิธี โดยให้เผาศพในบริเวณเขาพุทธทอง โดยปักเสาสี่มุมและคาดผ้าขาวเป็นเพดานเท่านั้น นี่เป็นเจตนาของท่านที่ต้องการให้งานศพของท่านเป็นแบบอย่างเหมือนสมัยพุทธกาล โดยมุ่งหวังให้สงฆ์รุ่นหลังยึดถือปฏิบัติต่อไปในภายหน้า

งานศพแบบสวนโมกข์ได้ปรากฏขึ้นแก่สายตาของพระ และฆราวาสจำนวนมากที่มาร่วมงานตามจุดประสงค์ของอินทปัญโญทุกประการ นี่เป็นการจัดการ ศพโดยวิธีเผากลางแจ้ง โดยตั้งโลงศพบนกองฟืน แล้วจุดไฟเผาต่อหน้าสายตาของผู้มาร่วมรับการสอนธรรมอย่างไม่มีสิ่งปิดบัง

ในประเทศนี้มีชาวพุทธจำนวนนับไม่ถ้วนที่ได้พยายามด้วยวิธีการต่างๆ ตาม “ความจริง” และ “ความเชื่อ” ของตน เพื่อที่จะเข้าใกล้พระพุทธเจ้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่จะมีใครสักกี่คนกันที่สามารถเป็นผู้อยู่ใกล้พระพุทธองค์อย่างที่สุด เหมือนอย่างท่านผู้ที่กำลังถูกเผาไหม้อยู่เบื้องหน้านี้
/\ /\ /\
อ่านเพิ่มเติม

พินัยกรรม”กลับคืนสู่ธรรมชาติของท่านพุทธทาส”

พินัยกรรม”กลับคืนสู่ธรรมชาติของท่านพุทธทาส”ตามความเข้าใจของผู้เขียน

เนื่องในโอกาส 106 ปี ชาตกาลพุทธทาสภิกขุ และ ผู้เขียนตั้งใจไว้มาตั้งแต่เริ่มทำ เวป เมืองคอน.com ว่าจะย้อนรอยเกี่ยวกับพินัยกรรมของท่านพุทธทาส เมื่อท่านกลับคืนสู่ธรรมชาติ ตามความเข้าใจ ถ้าหากว่าไม่ถูกต้องตรงประเด็น ไม่ตรงจุดมุ่งหมายของท่านพุทธทาส ขอให้ท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะ เพื่อความถูกต้อง ผู้เขียนขอขอบคุณครับ
ตามคำสอน บทความ บทกลอน พระนิพนธ์ รวมทั้งปริศนาธรรมภาพต่างๆ ของท่านพุทธทาสแต่ละ คำสอน บทความ บทกลอน พระนิพนธ์และปริศนาธรรมภาพต่างๆ ปุถุชนเช่นผู้เขียน อาจเข้าใจไม่ลึกซึ่ง-ไม่เห็นแจ้ง ถึงแก่นจริงๆ แต่ก็พยายามที่จะตามรอยแม้นจะห่างไกลและใช้เวลาตลอดไป(ถึงแม้นว่าพระท่านที่เคารพเคยบอกว่าผู้เขียนเป็นได้แค่คนปลูกต้นไผ่และรอฟังเสียงขลุ่ยจากผู้อื่นที่นำต้นไผ่ไปทำขลุย)
ถ้าถามว่า www.gotonakhon.com จุดประสงค์เดิมจะเขียนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเมืองคอนเป็นหลัก ผู้เขียนได้ศึกษาประวัติของท่านพุทธทาสและปรากฎว่า เดิมเครือญาติของท่านพุทธทาส รุ่นปู่ย่า ตาทวด สมัย รัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 3 ครอบครัวท่านย้ายมาจากอำเภอปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช(จากหนังสือ “ธรรมสำหรับแก้ปัญหาเมืองนคร ธรรมะคือหน้าที่ “และสารนครศรีธรรมราช)และได้โยกย้ายไปอยู่ที่อำเภอไชยาและได้บวชในพระพุทธศาสนาที่อำเภอไชยา ดังที่ทราบแล้วครับ “ชาวเมืองคอน”ก็เท่ากับเป็นญาติของท่านพุทธทาสโดยปริยายและเวป”เมืองคอน.com”ก็สามารถที่จะเขียนเรื่องที่เกี่ยวกับท่านได้ทุกกรณีในฐานะ”ชาวเมืองคอน” อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .