ตน อันเป็นที่รักยิ่งของตน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ตน อันเป็นที่รักยิ่งของตน

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

1. จิตของบัณฑิต ย่อมไม่หวั่นไหว บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญ

พุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้แปลความว่า “ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและ

สรรเสริญ ฉันนั้น” พระพุทธองค์ทรงเปรียบบัณฑิตดังภูเขาหินแท่งทึบ เหตุด้วยบัณฑิตไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ นั่นคือ

ทรงแสดงว่าบัณฑิตมีคุณลักษณะของภูเขา คือ มีความหนักแน่น ความแข็งแกร่ง ความผนึกติดกับพื้นฐานใหญ่มั่นคง คือ ความดี

ความมีสติปัญญา“บัณฑิต” ในพระพุทธศาสนา หายถึง คนดีมีปัญญา ผู้เป็นคนดี มีปัญญาเพียงพอย่อมรู้ธรรม ย่อมเชื่อมั่นใน

กรรม ย่อมไม่หวั่นไหว เมื่อมีผู้เจรจาส่งเสริมเพื่อให้สูงขึ้นย่อมรู้ว่า “กรรม” คือ “การกระทำ” ความประพฤติปฏิบัติของตนเองเท่า

นั้นที่จะเหยียบย่ำตนให้ต่ำลงได้ หรือส่งเสริมตนให้สูงขึ้นได้ ผู้ใดอื่นหาทำได้ไม่ นินทาก็ตาม สรรเสริญก็ตาม ไม่อาจทำได้ ทั้งเพื่อ

ให้คนต่ำลงหรือสูงขึ้น สำหรับบัณฑิต นินทาและสรรเสริญจึงย่อมทำให้เกิดเมตตาในผู้นินทา และกตัญญูรู้น้ำใจผู้สรรเสริญเพียงเท่า

นั้น มิได้ทำให้หวั่นไหวแต่อย่างใด บัณฑิตเป็นผู้ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม จิตใดที่เป็นจิตของบัณฑิต คือ ผู้มีปัญญาในธรรม
อ่านเพิ่มเติม

การสวดมนต์ พระนิพนธ์.สมเด็จพระญาณ สังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

การสวดมนต์

พระนิพนธ์.สมเด็จพระญาณ สังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ธรรมจักษุ ปีที่ ๘๐ ฉบับที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๙

คำว่า “มนต์” นั้น ถ้าแปลตามศัพท์ที่ใช้เป็นภาษาพูดทั่วไป แปลว่าปรึกษาหารือ แต่ว่านำมาใช้เป็นบทสวด ก็หมายความว่า เป็นบทสวดที่บริสุทธิ์หรือที่ศักดิ์สิทธิ์ เราใช้กันในภาษาไทยเป็นที่เข้าใจกัน ธรรมเนียมสวดมนต์ของพระสงฆ์ได้มีธรรมเนียมสวดในเวลาเช้า กับในเวลาเย็นหรือ ค่ำ บทสวดนั้นที่เป็นบทสวดประจำก็เรียกว่าทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น หรือทำวัตรค่ำ สำหรับสวดมนต์ตอนเช้าหรือทำวัตรเช้านั้น ก็กำหนดเวลาต่าง ๆ กัน โบราณพระตื่นสวดมนต์กันตั้งแต่ตีสี่ และในบัดนี้ยังใช้สวดกันเช้ามืดตีสี่ก็มีแต่มีน้อย สวดเช้าก่อนออกบิณฑบาตก็มี บิณฑบาตกลับมาแล้วสวดมนต์ก่อนแล้วจึงฉันก็มี ฉันแล้วสวด เช่นว่าเวลาสองโมงเช้าอย่างวัดนี้ (วัดบวรนิเวศฯ) ก็มี สวดมนต์ตอนเย็นหรือตอนค่ำนั้นใช้สวดกันเวลาห้าโมงเย็นก็มี หกโมงเย็นก็มี ทุ่มหนึ่งก็มี สองทุ่มก็มีอย่างวัดนี้ แม้ว่าจะกำหนดเวลาต่างกัน ก็คงใช้ประชุมกันสวดมนต์เวลาเช้าเวลาหนึ่ง เวลาเย็นหรือค่ำอีกเวลาหนึ่ง? บทสวดมนต์ประจำทุกวันที่เรียกว่าทำวัตรคือทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำนั้น ก็เป็นธรรมเนียมที่สืบเนื่องมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ พระสงฆ์สาวกก็เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในเวลาเช้าก็ทำวัตร ทำวัตรก็คือทำการปฏิบัติ เช่น ถวายน้ำสำหรับที่จะบ้วนพระโอษฐ์ สรงพระพักตร์ อย่างที่ทุกคนก็ต้องมีการแปรงฟัน ล้างหน้า บ้วนปากและกิจอื่น ๆ ทำวัตรก็คือการปฏิบัติอย่างสัทธิวิหาริก ก็ทำอุปัชฌายวัตร อันเตวาสิก ก็ทำอาจาริยวัตร คือ ศิษย์ทำการปฏิบัติอุปัชฌาย์อาจารย์ ดังที่วัดนี้มีธรรมเนียมทำสักแต่ว่าเป็นประเพณี คือเมื่อพระภิกษุบวชใหม่แล้วก็นำเอาน้ำ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระอุปัชฌาย์หรืออาจารย์ ก็เป็นการไปแสดงทำอุปัชฌายวัตรคือทำการปฏิบัติพระอุปัชฌาย์ หรือว่าอาจาริยวัตรทำการปฏิบัติพระอาจารย์ อันที่จริงนั้นก็ไปทำกันทุกวัน แต่ว่าในวัดนี้เป็นธรรมเนียมที่ให้ทำเพียงครั้งเดียว แล้วอนุญาตว่าไม่ต้องไปทำอีก เพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียนกัน ?ในครั้งพุทธกาลนั้นพระภิกษุสงฆ์ก็มีธรรมเนียมเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทำวัตรคือ ทำการปฏิบัติพระองค์ในเวลาเช้า แต่ว่าก็ปรากฏว่าได้มีพระภิกษุที่เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำพระองค์ มักจะองค์หนึ่ง แต่ว่าในตอนแรกนั้นก็คงจะมีการผลัดเปลี่ยนกัน ไม่มีองค์ไหนอยู่ประจำตลอดเวลานาน จนถึงท่านพระอานนท์เถระได้รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐาก คือพระภิกษุผู้บำรุงพระพุทธเจ้า พระอานนท์ท่านก็ได้ทำหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำพระองค์มาจนถึงเสด็จดับ ขันธปรินิพพานท่านก็ได้ทำการปฏิบัติบำรุงพระพุทธเจ้าเป็นพุทธอุปัฏฐากประจำ พระองค์ตลอดมา
อ่านเพิ่มเติม

อวิชชา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

อวิชชา
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระสาสนโสภณ?(สุวฑฺฒโน)

บัดนี้ความรู้วิชาการต่าง ๆ ในโลกเจริญขึ้นมาก มนุษย์เราสามารถสร้างพาหนะนำตนไปถึงดวงจันทร์ได้?(เมื่อศกที่แล้วพ.ศ.?๒๕๑๒) ?

วิชาเหล่านี้เป็นวิชาทางโลก หรือวิชาภายนอก

ส่วนวิชาภายในหรือวิชชา คือความรู้สัจจะ?(ความจริง)?ภายในตนเองจะยังบกพร่องอยู่ทั่ว ๆ ไป จึงปรากฏว่า คนโดยมากแม้มีความรู้

ทางศิลปวิทยาต่าง ๆ มาก แต่ก็ยังขาดความรู้ในตนเอง ดังจะเรียกว่ายังมีอวิชชาที่แปลตามศัพท์ว่า?”ความไม่รู้”

“อวิชชา” ?ที่แปลว่าไม่รู้นี้ มิได้หมายความว่าไม่รู้อะไรเลย เหมือนอย่างก้อนดินก้อนหิน แต่หมายถึงรู้ อะไร ๆ เหมือนกัน แต่รู้ผิดจาก

ความจริง หรือรู้ไม่จริง ก็เท่ากับไม่รู้

เพราะที่เรียกว่า?”รู้ ๆ”?นั้น ควรเป็นรู้จริง?(รู้?+?จริง)?จึงจะชื่อว่ารู้ และเพื่อให้ชัดขึ้น จึงแปลแบบอธิบายว่า??ความไม่รู้ในสัจจะ คือความ

จริง หรือสภาพที่จริง กล่าวสั้นว่า ความไม่รู้จริง
อ่านเพิ่มเติม

พระ สูตรที่ว่าด้วยสุญญตา (๓) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระ สูตรที่ว่าด้วยสุญญตา (๓)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิตในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆท่าน ตั้งใจนอบน้อมนมัสการพระผู้

มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจ

สำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟังเพื่อให้ได้ปัญญาในธรรมได้แสดง สุญญตาคือความว่าง ที่พระบรม

ศาสดาได้ตรัสถึงพระองค์เองว่าทรงอยู่โดยมากด้วยสุญญตาวิหาร ธรรมะเครื่องอยู่คือสุญญตาความว่างทั้งเมื่อก่อน

แต่นี้ และทั้งในเวลานี้คือเวลาที่ตรัสเล่าเรื่องนี้และพระองค์ก็ได้ทรงแสดงถึงวิธี ปฏิบัติสุญญตา คือความว่าง ตั้งแต่

เบื้องต้นขึ้นไปโดยลำดับ ก็โดยที่บุคคลสามัญทั่วไปนั้นในขณะที่อยู่เฉยๆ มิได้ทำอะไรในบางคราว ก็รู้สึกว่าว่างอัน
เป็นที่รำคาญ ไม่ผาสุกแต่หากให้ทำอะไรต่างๆรู้สึกว่าไม่ว่าง ก็ทำให้เพลินไปในการงานต่างๆ ที่ทำนั้นแต่อันที่จริง
อ่านเพิ่มเติม

พระสูตรที่ว่าด้วยสุญญตา ๒ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณานายก

พระ สูตรที่ว่าด้วยสุญญตา ๒

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณานายก

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้

มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจ

สำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม ได้แสดงสติปัฏฐานทั้ง ๔ กาย เวทนา จิต

ธรรม ก็กายเวทนาจิตธรรมนี้เองเมื่อยังมีความยึดถือว่าเป็นเราเป็นของเรา ก็เท่ากับว่าเป็นบ้าน เป็นหมู่คนชายหญิง

เป็นกามคุณ หรือวัตถุกามที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย แต่เมื่อได้ใส่ใจกำหนดว่าเป็นสักแต่ว่ากาย สักแต่ว่า

เป็นเวทนา สักแต่ว่าเป็นจิต สักแต่ว่าเป็นธรรม ระงับความใส่ใจกำหนดยึดถือต่างๆ ดังกล่าว กายเวทนาจิตธรรมนี้ก็เท่า

กับว่าเป็นป่า ป่ากาย ป่าเวทนา ป่าจิต ป่า ธรรม กายเวทนาจิตธรรมสักแต่ว่าเป็นธาตุ และเมื่อได้กำหนดละลายกาย
อ่านเพิ่มเติม

การภาวนา? พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

การภาวนา?

พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

การเจริญภาวนานั้น เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด และยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีล
มากนัก การเจริญภาวนานั้น มี ๒ อย่าง คือ (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) และ (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) แยก
อธิบายดังนี้ คือ

(๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
สมถภาวนา ได้แก่ การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาณ ซึ่งก็คือ การทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยัง
อารมณ์อื่น ๆ วิธีภาวนานั้น มีมากมายหลายร้อยชนิดซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า “กรรมฐาน

๔๐” ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างสมอบรมมาแต่ใน

อดีตชาติ เมื่อสร้างสม อบรมมาในกรรมฐานกองใดจิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่น ๆ และการเจริญภาวนาก็ก้าว

หน้าเร็วและง่าย แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อน คือ

หากเป็นฆราวาสก็จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณรก็จะต้องรักษาศีล ๑๐ หากเป็นพระก็จะต้องรักษาศีลปาฏิโมกข์

๒๒๗ ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาดและด่างพร้อย จึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้
อ่านเพิ่มเติม

กรรม พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

กรรม

พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

จาก “ พระพุทธศาสนา และการนับถือพระพุทธศาสนา ”

คนส่วนมากยังมีความเชื่อว่ามีผู้ดลบันดาล เช่น ดลบันดาลให้เกิดภัย ดลบันดาลให้เกิดโชคลาภ เป็นต้น แต่ทางพระพุทธศาสนา

ได้แสดงว่า คนมีกรรมเป็นของตน จะมีสุขหรือทุกเพราะกรรม ก็เปลี่ยนให้คนมากลัวกรรมกันอีก เช่นเดียวกับที่เคยกลัวผู้ดลบันดาล

เมื่อคิดถึงก็คิดเห็นไปคล้ายกับเป็นตัวทุกข์มืด ๆ อะไรอย่างหนึ่งที่น่าสะพรึงกลัว ผู้เงือดเงื้อจะลงโทษ กรรมจึงคล้ายผู้เคราะห์ร้ายที่

ถูกเข้าใจในทางร้ายอยู่เสมอ เมื่อได้ดีมีสุขก็กลับกล่าวว่าเป็นบุญบารมี กรรมจึงไม่มาเกี่ยวในทางดีตามความเข้าใจของคนทั่วไป

นอกจากนี้ คนจะทำอะไรในปัจจุบันก็ไม่ได้นึกถึงกรรม เพราะเห็นว่ากรรม ไม่เกี่ยว กรรมจึงกลายเป็นอดีตที่น่ากลัว ที่คอยจะให้

ทุกข์เมื่อไรก็ไม่รู้ ซึ่งไม่สามารถจะป้องกันได้เท่านั้น ดูก็เป็นเคราะห์กรรมของกรรมยิ่งนักที่ถูกคนเข้าใจไปเช่นนี้ อันที่จริงพระพุทธ
อ่านเพิ่มเติม

รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก 6 สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

แสง แห่งปัญญา มีอานุภาพใหญ่ยิ่ง

ความคิดย่อมพ่ายแพ้แก่อำนาจของปัญญา ปัญญาควบคุมความคิดได้ ความคิดย่อมพ่ายแพ้แก่อำนาจของปัญญาดัง

นั้น ผู้มีปัญญาเท่านั้นที่จะสามารถควบคุมความคิดมิให้ก่อให้เกิดความทุกข์ได้ นั่นคือผู้มีปัญญาเท่านั้นที่จะสามารถพา

ใจหลีกพ้นความเศร้าหมองของกิเลสได้ ผู้ไม่มีปัญญาหาทำได้ไม่ ความทุกข์ทั้งหลาย หลีกไกลได้ด้วยปัญญา ปัญญามี

อำนาจเหนือความคิด ก็คือ ปัญญามีอำนาจเหนือกิเลสนั่นเอง เพราะเมื่อปัญญาควบคุมความคิดได้ ความคิดก็จะไม่ปรุง

แต่งไปกวนกิเลสที่มีอยู่เต็มโลก ให้โลดแล่นเข้าประชิดติดใจ จึงเป็นการควบคุมกิเลสได้พร้อมกับการควบคุมความคิด

ความเกิด เป็นทุกข์ เพราะความเกิดนำมาซึ่งความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจและ

ความไม่ประจวบด้วยสิ่งปรารถนาทั้งปวง ความทุกข์เหล่านี้หนีไม่พ้น เพราะเป็นผลตามมาของความเกิดอย่างแน่นอน

อ่านเพิ่มเติม

รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก 5 (ต่อ) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก ต่อ

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

5. เครื่องปิดกั้นความประภัสสรแห่งจิต

กิเลส เครื่องทำให้ปรากฏความเศร้าหมอง บังความประภัสสรแห่งจิตกิเลส 3 กองใหญ่ เครื่องทำให้ปรากฏความเศร้าหมอง

บังความประภัสสรแห่งจิต คือ โลภะ โทสะ โมหะ ก็คือการประกอบกันของอุปกิเลส 16 ข้ออุปกิเลส เครื่องประกอบของกิเลส

อุปกิเลส 16 คือ ความละโมบไม่สม่ำเสมอ เพ่งเล็ง และตระหนี่ โทสะ คือ ร้ายกาจ โกรธ ผูกโกรธไว้ โมหะ คือ ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ

คือ ยกตัวเทียมท่าน มารยา คือ เจ้าเล่ห์ โอ้อวด หัวดื้อ แข่งดี ถือตัว ดูหมิ่นท่าน มัวเมา และเลินเล่อความ โลภ โกรธ หลง จะถูก

ทำลายสิ้น เมื่อทำลายอุปกิเลสหมดสิ้น แม้เพียงทีละข้อ แม้ทำลายกิเลสทั้งกองพร้อมกันไม่ได้ การทำลายอุปกิเลสทีละข้อเป็น

วิธีให้สามารถทำลายกิเลสทั้งกองได้ทุกกองความโลภ ความโกรธ ความหลง จะถูกทำลายหมดสิ้นได้ เมื่อทำลายอุปกิเลสหมดสิ้น
อ่านเพิ่มเติม

รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก 4(ต่อ) สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก 4(ต่อ)

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

4. พรหมวิหาร ธรรม (อุเบกขาธรรม)

ทำความดีด้วยใจว่างจากกิเลสทำความดี อย่างสบาย ๆ อย่างมีอุเบกขา คือ ทำใจเป็นกลางวางเฉย ไม่หวังผลอะไรทั้งสิ้น

การตั้งความหวังในผลของการทำดีเป็นธรรมดาของสามัญชนทั่วไป ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ก็จะถูกต้องกว่าหากจะไม่ตั้งความหวังเลย เมื่อรู้

ว่าเป็นความดีก็ทำเต็มความสามารถของสติปัญญา ไม่เดือดร้อนให้เกินความสามารถ ไม่มุ่งหวังให้ฟุ้งซ่าน ไม่ผิดหวังให้เศร้า

เสียใจ การทำใจเช่นนี้ไม่ง่าย แต่ก็เป็นสิ่งทำได้ ถ้าทำไม่ได้พระพุทธเจ้าก็จะไม่ทรงสั่งสอนไว้ ทำดีด้วยความโลภและหลง จัก

ไม่อาจให้ผลสูงสุด การทำดีหรือทำบุญกุศลที่จะส่งผลสูงสุด ต้องเป็นการทำด้วยใจว่างจากกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง

ความผูกพันในผลที่จะได้รับเป็นทั้งความโลภและความหลง ความผูกพันในผลที่จะได้รับเป็นทั้งความโลภและความหลง จึงไม่อาจ

ให้ผลสูงสุดได้ แม้จะให้ผลตามความจริงที่ว่า ทำดีจักได้ดี แต่เมื่อเป็นความดีที่ระคนด้วยโลภและหลง ก็ย่อมจะได้ผลไม่เท่าที่

ควร มีความโลภหลงมาบั่นทอนผลนั้นเสีย ทำดีแล้วต้องได้ดีแน่นอนเสมอไปทำดีไม่ ได้ดี ไม่มีอยู่ในความจริง มีอยู่แต่ใน
อ่านเพิ่มเติม

รสแห่งความ เมตตาชุ่มเย็นยิ่งนัก 3 (ต่อ) สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

อันความกรุณา มหัศจรรย์ยิ่งนัก 3?

ความซื่อตรงต่อหน้าที่เป็นคุณวุฒิสำคัญยิ่งทุกคนมี หน้าที่ คือ มีกิจที่จะต้องทำ มีกิจที่ควรทำ ไม่มีผู้ใดเลยที่ไม่มีหน้าที่

ทุกคนจึงพึงรู้จักหน้าที่ของตน และทำหน้าที่ของตนให้เต็มสติปัญญาความสามารถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า

อยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับหน้าที่ไว้ตอนหนึ่ง ดังนี้….“ความ รู้สึกและความซื่อตรงต่อหน้าที่นี้ เป็นคุณวุฒิอัน

สำคัญของคนทั้งปวง ไม่ว่าผู้ที่มีบรรดาศักดิ์สูงต่ำเพียงใด หรือว่าจะเป็นคนรับราชการฝ่ายทหาร ฝ่ายพลเรือน หรือ

ประกอบการอย่างใด ๆ ถ้าคนทั้งหลายมีความรู้สึกและซื่อตรงต่ำหน้าที่ของตน ๆ แล้ว ก็อาจให้เกิดความพร้อมเพรียงเป็น

กำลังช่วยกันประกอบกิจการทั้งปวงให้สำเร็จ ลุล่วงไป ได้ประโยชน์แก่ตนเองและเกิดประโยชน์แก่บ้านเมืองของตนได้

?

อ่านเพิ่มเติม

รสแห่งความ เมตตาชุ่มเย็นยิ่งนัก 2 (ต่อ) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

รสแห่งความ เมตตาชุ่มเย็นยิ่งนัก 2

พุทธ ศาสนิก พึงอบรมเมตตาให้ยิ่งพุทธ ศาสนิกผู้นับถือพระพุทธศาสนา แม้ไม่สนใจที่จะอบรมเมตตาให้อย่างยิ่ง ก็เหมือนไม่

สนใจในความสงบเย็นเป็นสุขของตนเอง ไม่สนใจที่จะปฏิบัติตนเป็นผู้มีปัญญา ทั้ง ๆ ที่ย่อมรู้ว่าผู้มีปัญญานั้น เป็นที่ยกย่องสรรเสริญ

ทุกที่ทุกกาลเวลา การอบรมเมตตาต้องใช้ความคิดเป็นกำลังสำคัญ คิดให้ใจอ่อนละมุนเพียงไรก็ทำได้ เช่นเดียวกับคิดให้ใจเร่าร้อน

ราวกับน้ำเดือดก็ทำได้ นั่นก็คือคิดให้เมตตาก็ได้ คิดให้โกรธแค้นเกลียดชังก็ได้ ท่านจึงสอนให้ระวังความคิด ให้ใช้ความคิด ให้ถูกให้

ชอบ ให้มีเมตตายิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น อุบายในการใช้ความคิดเพื่ออบรมเมตตาหลาย ๆ คน ใช้วิธีหลาย ๆ วิธี ในการอบรมเมตตา เช่น

ครูอาจารย์บางคน เมื่อมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย จะทำความรู้สึกต่อลูกศิษย์เหล่านั้นเหมือนที่เป็นความรู้สึกต่อบุตรธิดาของ ตน เมื่อ

แรกเริ่มเป็นครูอาจารย์ใหม่ ๆ เริ่มอบรมความคิดนี้ใหม่ ๆ ก็ย่อมไม่เป็นจริงจังเท่าไรนัก บุตรธิดาของตนก็ยังไม่เหมือนนักเรียนลูกศิษย์

อ่านเพิ่มเติม

รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก 1 สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก 1

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

1. พระผู้มีเมตตาท่วมท้นพระหฤทัย

พระผู้มีเมตตาแผ่ไพศาลทั่วทุกสารทิศ อันความเมตตามีอยู่ในผุ้ใด หรือผู้ใดเป็นผู้มีเมตตา เมตตานั้นจะไม่มีขอบเขตเฉพาะในผู้

เป็นที่รักที่ชอบใจของตนเท่านั้น แม้ผู้อื่นเมตตาแท้จริงก็จะแผ่ไปครอบคลุมถึงได้ ดังที่น่าจะมีเมตตาที่แท้จริงเกิดขึ้นกับคนเป็นจำนวน

มาก เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่จิตใจตนเอง เมื่อเมตตาเกิดขึ้น กรุณาจะตามมาพร้อมกัน ในกรณีที่ได้รู้ได้เห็นเรื่องราวของผู้ควรได้รับความ

เมตตากรุณาทั้งหลาย เช่นเรื่องของเด็กขาดอาหาร ที่มีร่างกายซูบผอมเห็นแต่กระดูก ความเมตตาที่มีอยู่แม้เพียงใบรรดาผู้เป็นที่รักที่

ชอบพอ ก็ขยายออกไปได้ถึงเด็กผู้เคราะห์ร้ายน่าเมตตาเหล่านั้น นั่นเพราะเมตตามีอยู่จริงในจิตใจ อาจจะอย่างไม่กว้างขวางนัก ใน

ระยะเวลาหนึ่ง หรือจะอาจจะในเมื่อยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นให้ความเมตตาแผ่ออกไป เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นให้เมตตากระเทือน เมตตาก็จะแผ่

ออกไปทันทีอย่างอัตโนมัติ มีผลให้กรุณาตามมาพร้อมกัน กรุณาว่าจะช่วยอย่างไรดีหนอ จะช่วยอย่างไรดี สำหรับผู้ไม่มีเมตตาอยู่ใน
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พุทธวิธีควบคุมความคิด

พระพุทธเจ้าทรงสอนวิธีควบคุมความคิด ให้อยู่ในอำนาจใจไว้ว่า ถ้ามีสติรู้ว่ากำลังคิดในเรื่องไม่ควรคิด ซึ่งเมื่อกำลังพูดถึงการแก้โทสะ ก็หมายความได้ถึงเรื่องที่จะทำให้โทสะเกิด หรือเกิดอยู่แล้วแต่น้อยให้เพิ่มมากขึ้น?เมื่อมีสติรู้ว่ากำลังคิดเช่นนั้น ให้เปลี่ยนเรื่องคิดเสีย เช่น กำลังคิดถึงเรื่องเกี่ยวกับนาย ก. กำลังเกิดโทสะเกี่ยวกับนาย ก. ก็ให้เปลี่ยนเป็นคิดถึงเรื่องเกี่ยวกับนาย ข. เสีย โทสะที่กำลังจะเกิดเกี่ยวกับนาย ก. ก็จะดับไป

แต่ถ้าเปลี่ยนเรื่องคิดเช่นนั้น ก็ยังคอยแต่จะย้อนกลับไปคิดเรื่องเก่าที่ก่อให้เกิดโทสะอยู่นั่นเอง ท่านให้พิจารณาโทษของความคิดเช่นนั้น คือ พิจารณาให้เห็นว่า การคิดเช่นนั้นทำให้จิตใจเร่าร้อน ไม่สบาย ไม่มีประโยชน์ ถ้าไม่คิดเช่นนั้นแล้วจะสบาย ตนเองได้ประโยชน์จากความสบายนั้น?แม้พิจารณาโทษของความคิดที่ไม่ดีนั้นแล้ว ก็ยังไม่อาจยับยั้งความคิดนั้นให้สงบลงได้ ท่านก็ให้ไม่ใส่ใจเรื่องนั้น คือ พยายามไม่สนใจเสียเลย พยายามลืมเสียเลย?แต่ถ้าไม่สำเร็จอีก ลืมไม่ได้อีก คือยังใส่ใจอยู่อีก ท่านให้ใช้ความใคร่ครวญ พิจารณาหาเหตุผลว่าทำไมจึงคิดเช่นนั้น ขณะที่คิดหาเหตุผลอยู่นี้ ความโกรธจะลดระดับความรุนแรงลง

ท่านเปรียบเหมือนคนกำลังวิ่งเร็วก็จะเปลี่ยนวิ่งช้า กำลังวิ่งช้าก็จะเปลี่ยนเป็นเดิน กำลังเดินก็จะเปลี่ยนเป็นยืน กำลังยืนก็จะเปลี่ยนเป็นนั่ง และกำลังนั่งก็จะเปลี่ยนเป็นลงนอน?ถ้าทำเช่นนั้นแล้วก็ยังไม่ได้ผล ความคิดเดิมยังไม่หยุดท่านให้ใช้ฟันกัดฟันให้แน่น เอาลิ้นกดเพดานไว้ เช่นนี้ความคิดจะหยุด?เมื่อแก้ไขความคิดที่จะนำไปสู่ความมีโทสะได้สำเร็จ คือเลิกคิดในทางที่จะทำให้เกิดโทสะได้ ก็เท่ากับไม่เพิ่มเชื้อแก่ไฟโทสะ ไฟโทสะก็จะเย็นลง?และหากบังคับความคิดเสมอๆ จนเคยชิน ให้ไม่คิดไปในทางที่จะทำให้เกิดโทสะ โทสะก็จะลดลง ทำให้ความร้อนในจิตใจเบาบางลง มีความเยือกเย็นเกิดขึ้นแทนที่นั้นแหละจะมีความสุข ทั้งตัวเองและทั้งผู้เกี่ยวข้องใกล้ชิดด้วยทั้งหลาย นับเป็นผลอันน่าปรารถนาที่เกิดจาการบริหารจิตตามหลักพระพุทธศาสนา

http://www.watpanonvivek.com/index.php/section-table/2012-07-14-12-23-28/1881-2010-04-01-07-06-19

เรื่องจิต นี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เรื่องจิต นี้

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุก ๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล

ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรมจะแสดงพระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องจิต ตามที่ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ โดยชื่อว่าจิต

บ้าง วิญญาณบ้าง เพราะว่าการปฏิบัติอบรมจิตอันเรียกว่าจิตภาวนานั้น พระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดาก็ได้ตรัสสอนไว้ ซึ่งมีคำแปลว่า

ภิกษุทั้งหลายจิตนี้ปภัสสร คือผุดผ่อง จิตนี้นี่แหละเศร้าหมองไป เพราะอุปกิเลสคือเครื่องที่เข้าไป หรือเข้ามา ทำให้จิตเศร้า

หมองทั้งหลาย ที่เป็นอาคันตุกะคือที่จรมา บุถุชนผู้มิได้สดับแล้วย่อมไม่รู้จักจิตนั้น พระองค์จึงตรัสว่าจิตภาวนา

การอบรมจิตย่อมไม่มีแก่บุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว และได้ตรัสไว้อีกว่าภิกษุทั้งหลายจิตนี้ปภัสสร คือผุดผ่อง จิตนั้นนั่นแหละ

พ้นแล้วได้ จากอุปกิเลสคือเครื่องที่เข้าไปหรือเข้ามาทำให้จิตเศร้าหมองทั้งหลายที่จร เข้ามา อริยสาวกคือศิษย์ของพระอริยะผู้
อ่านเพิ่มเติม

การขอโทษและการให้อภัย พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชวัดบวรนิเวศวิหาร..

การขอโทษและการให้อภัย

พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชวัดบวรนิเวศวิหาร..

การรู้จักขอโทษนั้นเป็นมารยาทอันดีงามสำหรับตัวผู้ทำเองและเป็นการช่วยระงับหรือช่วยแก้โทสะ ของผู้ถูกกระทบกระทั่งให้เรียบร้อยด้วยดีในทางหนึ่งหรือจะกล่าวว่าการขอโทษคือการพยายามป้องกัน มิให้มีการผูกเวรกันก็ไม่ผิด
เพราะเมื่อผู้หนึ่งทำผิดอีกผู้หนึ่งเกิดโทสะเพราะถือความผิดนั้นเป็นความล่วงเกินกระทบกระทั่งถึงตนแม้ไม่อาจแก้โทสะนั้นได้ความผูกโกรธหรือความผูกเวรก็ย่อมมีขึ้นถ้าแก้โทสะนั้นได้ก็เท่ากับแก้ความผูกโกรธหรือผูกเวรได้เป็นการสร้างอภัยทานขึ้นแทนอภัยทานก็คือการยกโทษให้คือ การไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ
อันอภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ
เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกันคืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด
จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ
โกรธแล้วหายโกรธเองกับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัยไม่เหมือนกันโกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดาทุกสิ่งเมื่อเกิดแล้วต้องดับไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใดแต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัยเป็นการบริหารจิตโดยตรงจะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้นดีขึ้นมีค่าขึ้น
ผู้ดูแลเห็นความสำคัญของจิตจึงควรมีสติทำความเพียรอบรมจิตให้คุ้นเคยต่อการให้อภัยไว้เสมอเมื่อเกิดโทสะขึ้นในผู้ใดเพราะการปฏิบัติล้วงล้ำก้ำเกินเพียงใดก็ตามพยายามมีสติพิจารณาหาทางให้อภัยทานเกิดขึ้นในใจให้ได้ก่อนที่ความโกรธจะดับไปเสียเองก่อนทำได้เช่นนี้จะเป็นคุณแก่ตนเองมากมายนักไม่เพียงแต่จะทำให้มีโทสะลดน้อยลงเท่านั้นและเมื่อปล่อยให้ความโกรธดับไปเองก็มักหาดับไปหมดสิ้นไม่เถ้าถ่านคือความผูกโกรธมักจะยังเหลืออยู่และอาจกระพือความโกรธขึ้นอีกในจิตใจได้ในโอกาสต่อไป
ผู้อบรมจิตให้คุ้นเคยอยู่เสมอกับการให้อภัย
แม้จะไม่ได้รับการขอขมาก็ย่อมอภัยให้ได้
ในทางตรงกันข้ามผู้ไม่เคยอบรมจิตใจให้คุ้นเคยกับการให้อภัยเลยโกรธแล้วก็ให้หายเองแม้ได้รับการขอขมาโทษก็อาจจะไม่อภัยให้ได้เป็นเรื่องของการไม่ฝึกใจให้เคยชิน
อันใจนั้นฝึกได้ไม่ใช่ฝึกไม่ได้ฝึกอย่างไดก็จะเป็นอย่างนั้น
ฝึกให้ดีก็จะดีฝึกให้ร้ายก็จะร้าย…

: พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชวัดบวรนิเวศวิหาร..

http://www.watpanonvivek.com/index.php/section-table/2012-07-14-12-23-28/1829-2010-03-23-10-20-07

วิมุตติจิต สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วิมุตติจิต

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
จิตนี้เป็นศูนย์กลางแห่งกรรม คือการงานที่กระทำทุกอย่าง และแห่งสุขและทุกข์ กับทั้งเป็นที่ตั้งแห่งทั้งส่วนดีอันเรียกว่า บารมี ทั้งส่วนชั่วอันเรียกว่า อาสวะ เป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งในบุคคลทุกๆ คน เป็นที่เก็บแห่งสิ่งที่ประสบพบพานมาในอดีตทั้งหมด เพราะฉะนั้นจิตตภาวนาการอบรมจิตจึงเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นสิ่งสำคัญจะทำให้ปรากฏคุณค่าของจิตยิ่งขึ้นๆ สมาธิของพระพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าขณะที่ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อความตรัสรู้ ก็ได้ทรงทำ จิตตภาวนา อบรมจิตนี้ให้เป็นสมาธิอันบริสุทธิ์ และวิธีที่ทรงได้สมาธิอันบริสุทธิ์นั้น ก็มิใช่ทรงได้จากคณาจารย์ที่ได้ทรงศึกษาโดยเฉพาะ
คือมิใช่ทรงได้จากท่านอาฬารดาบสกาลามโคตร ท่านอุทกดาบสรามบุตร แม้ว่าขั้นของสมาธิที่ทรงศึกษาได้ในสำนักของท่านอาจารย์ทั้งสองนั้น จะเป็นขั้นฌานสมาบัติก็ตาม
แต่ว่ามิใช่ฌานสมาบัติสำหรับที่จะให้ตรัสรู้พระโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า แต่ว่าเป็นฌานสมาบัติเพื่อที่จะไปเกิดในพรหมโลกชั้นรูปพรหม อรูปพรหม แต่ว่าทรงได้หลักการปฏิบัติสมาธิอันบริสุทธิ์ เพื่อพระโพธิญาณนั้นจากเด็กๆ นั้นเอง และเด็กที่ได้สมาธิอันเป็นแบบให้ทรงถือเอามาปฏิบัติต่อนั้นก็มิใช่เด็กอื่นไกล แต่ว่าเป็นเด็กคือว่าพระองค์เองเมื่อเป็น
พระกุมาร ตามเสด็จพระราชบิดาไปในพิธีแรกนาขวัญ ในขณะที่พระบิดาทรงประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญนั้น พระองค์เองซึ่งเป็นพระราชกุมารเด็กก็ได้ประทับนั่ง ณ ภายใต้ร่มหว้า จิตของพระองค์รวมเข้ามากำหนดลมหายใจเข้าออก ก็ทรงได้สมาธิที่บริสุทธิ์อันนับว่าเป็นขั้นปฐมฌาน
ที่ว่าเป็นสมาธิที่บริสุทธิ์นั้นก็เพราะว่ารวมเข้ามาโดยที่มิได้มุ่งหวังอะไร อ่านเพิ่มเติม

การปฏิบัติแย่งจิตจากกิเลส? เกิดดับ และ วิปัสสนา สมเด็จพระญาณสังวร

การปฏิบัติแย่งจิตจากกิเลส? เกิดดับ และ วิปัสสนา

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆท่านตั้งใจ

นอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์ พร้อมทั้ง

พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้

ได้ปัญญาในธรรม พระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดาได้ตรัสสอนไว้ว่า จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมนำ

ให้เกิดบาปวิบัติ ยิ่งไปกว่าบาปวิบัติภัยอันตราย ที่โจรจะพึงกระทำให้แก่โจร หรือว่าที่คนมี

เวรจะกระทำให้แก่คนมีเวร ดั่งนี้ เพราะฉะนั้นการตั้งจิตไว้ผิดจึงมีโทษมาก ส่วนการตั้งจิต

ไว้ถูกย่อมให้คุณอนันต์ตรงกันข้าม ฉะนั้น เมื่อได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา และได้มี อ่านเพิ่มเติม

การปฏิบัติในสติปัฏฐาน อานาปานสติ ๔ ชั้น สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

การปฏิบัติในสติปัฏฐาน อานาปานสติ ๔ ชั้น

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิตในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่าน

ตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึง

พระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล

ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม บทกรรมฐานที่สวดและแสดงในที่นี้ ได้มี

พระสูตรใหญ่แห่งสติปัฏฐาน อันเรียกว่ามหาสติปัฏฐานเป็นหลักและคำว่าสติปัฏฐานนี้

กล่าวโดยย่อ หมายถึงสติตั้งอย่างหนึ่งตั้งสติอย่างหนึ่งในการปฏิบัตินั้นก็คือตั้งสติและ

เมื่อปฏิบัติจนตั้งสติได้ก็เรียกว่าสติตั้ง คำว่าตั้งสติและสติตั้งนี้เรียกเป็นภาษาบาลีว่าสติ

ปัฏฐานนั้นเองพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้มีความเพียรที่เรียกว่าอาตาปีมีสัมปชานะหรือ

สัมปชัญญะความรู้ตัวมีสติความระลึกได้กำจัดความยินดียินร้ายในโลกเสียทั้งหมดนี้รวม

อยู่ในคำว่าสติยกสติขึ้นมาคำเดียวก็หมายถึงทั้ง ๔ ข้อนี้ ซึ่งเป็นอุปการธรรมในการ

ปฏิบัติตั้งสติเพื่อให้สติตั้ง

อ่านเพิ่มเติม

แสวงหาตน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

แสวงหาตน

พระนิพนธ์.สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ในครั้งพุทธกาล? เมื่อพระเจ้ามหากัปปินะทรงสละราชสมบัติ เสด็จออกจากรัฐของพระองค์ไป
เฝ้าพระพุทธเจ้าทรงขออุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบทให้
เป็นภิกษุแล้วฝ่ายพระเทวีของพระองค์มีพระนามว่าอโนชาได้เสด็จติดตามไปเฝ้า
พระพุทธเจ้า? ทรงสอดส่ายพระเนตรหาพระราชาว่าจะประทับอยู่ไหน? ในหมู่พระพุทธสาวกที่นั่ง
แวดล้อมพระพุทธองค์อยู่นั้น? เมื่อไม่ทรงเห็น? ก็กาบทูลถามพระพุทธองค์ว่า? ได้ทรงเห็นพระ
ราชาบ้างหรือ? พระพุทธองค์ได้ตรัสถามว่า? ทรงแสวงหาพระราชาประเสริฐ? หรือว่าแสวงหา
พระองค์เอง? (ตน) ประเสริฐพระนางจึงทรงได้สติกราบทูลว่าแสวงหาตนประเสริฐ? ทรงสงบ
พระทัยฟังธรรมได้? ครั้งทรงสดับธรรมไปก็ทรงเกิดธรรมจักษุคือดวงตาเห็นธรรม ?ที่เรียกว่า
ธรรมจักษุนี้? มีแสดงไว้ในที่อื่นว่า? คือเกิดดวงตาเห็นธรรมขึ้นว่า? “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด
ขึ้นเป็นธรรมดา? สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา” ได้แก่เห็นธรรมดาที่เป็นของคู่กันคือ
เกิดและดับ? จะกล่าวว่าเห็นความดับของทุกสิ่งที่เกิดมาก็ได้? จะกล่าวว่าเห็นความดับของทุกสิ่ง
ที่เกิดมาก็ได้? ชีวิตนี้เรียกได้
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .