ธรรมคำสอนของพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร

ธรรมคำสอนของพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร

บันทึกจากความทรงจำโดยพระจันโทปมาจารย์

มนุษย์เราทุกคนย่อมหลงอยู่ในสมมติของโลกคือ สมมติให้เป็นมนุษย์ เป็นสัตว์ เป็นต้นไม้ ภูเขา แผ่นฟ้า แผ่นดิน ทุกอย่างที่อยู่ในพื้นโลกนี้ ก็ถูกสมมติให้เป็นต่างๆ กันไป ตามคำสมมตินั้นๆ ส่วนมนุษย์เรานั้นมีส่วนประกอบพร้อมมูล คือสังขารทั้งหลาย ได้แก่ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ปรุงแต่งให้เป็นมนุษย์ คือคนเราทุกวันนี้ส่วนประกอบที่เห็นได้ชัดๆ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม รวมประชุมกันอยู่เหมือนๆ กันหมด แต่แล้วก็สมมติว่า นี่เป็นผู้ชาย นี่เป็นผู้หญิง นี่เป็นบิดา นี่เป็นมารดา เป็นสามี เป็นภรรยา เป็นพี่เป็นน้อง ปู่ย่า ตายาย แล้วแต่จะสมมติไปตามความประสงค์ที่จะให้เป็น
เหมือนกันกับการสมมติของคณะหมอลำหมู่ หรือคณะลิเก เล่นละครเมื่อเขาเล่นเขาก็สมมติกันไปตามเรื่อง คือสมมติให้เป็นพระเอกนางเอก เป็นเจ้า เป็นบ่าวไพร่ แล้วเขาก็แสดงไปตามเรื่องราวในแต่ละท้องเรื่องนั้นๆ ในท้องเรื่องนั้นก็จะมีทั้งบทรัก ความเศร้าโศกเสียใจ มีทั้งบทหัวเราะ รื่นเริง เพลิดเพลินเจริญใจ บางตอนก็พลัดพรากจากกัน แล้วก็คร่ำครวญร้องให้โศกเศร้าเสียใจ บางคราวมีการกระทบกระทั่งกัน จนถึงมีการฆ่าฟัน ล้มตายกันก็มี เรื่องทั้งหมดนั้นคละเคล้าทั้งส่วนที่สมหวัง ทั้งส่วนที่ผิดหวัง มีทุกรส พร้อมหมดทุกอย่าง เขาก็เล่นกันไปตามสมมติกันไปตลอดคืน ครั้นรุ่งเช้ามาแล้วก็สมมติว่าจบเรื่อง สิ้นสุดการสมมติลงแค่นั้น ตัวสมมติทั้งหลายก็กลับเป็นจริง คือ นาย ก นาย ข นาย ค และนาง ง ตามเดิม ไม่ได้เป็นจริงตามคำสมมตินั้นเลย อ่านเพิ่มเติม

สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิ (ครูบาวัง)

สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิ

เมื่อทำการถวายเพลิงศพท่านแล้ว ได้นำอัฐิครึ่งหนึ่งไปก่อเจดีย์ไว้บนหลังถ้ำชัยมงคล ภูลังกา บ้านโพธิ์หมากแข้ง ตำบลโพธิ์หมากแข้ง กิ่งอำเภอบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย โดยการนำของท่านพระครูวินัยธร (ท่านเจ้าคุณพระจันโทปมาจารย์) พระสิงห์ อินทปญฺโญ (ปัจจุบันคือ พระมงคลนายก) พระหนูเพชร ปญฺญาวุฑโฒ พระเสียน วชิรญาโณ และเด็กวัด คือ นายสังวาลย์ ผงพิลา นายสีทัด ประสงค์ดี การก่อเจดีย์บนภูเขา ซึ่งเป็นที่สูงย่อมลำบากเหน็ดเหนื่อย ลำพังแต่ตัวเปล่าเดินขึ้น ก็เหนื่อยพอแรงอยู่แล้ว นี้ต้องแบ่งเอาซีเมนต์จากถุงใหญ่ใส่ถุงเล็ก กว่าจะหมดปูน ๕ ถุง ต้องเดินขึ้นลงอยู่หลายเที่ยว ส่วนทรายที่จะใช้ก่อ ก็ต้องลงจากหลังเขาที่จะก่อเจดีย์ ลงไปเอาในลำห้วยกั้ง ซึ่งเป็นลำห้วยอยู่บนเขา มีกองทรายพอรวมเอาได้ แต่อยู่ไกลจากที่ก่อเจดีย์ประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นระยะทางบนภูเขา มีขึ้นๆ ลงๆ ตลอด กว่าจะถึงต้องหยุดพักหลายครั้ง มีเหงื่อโทรม ทั่วตัว แต่ทุกคนก็ยินดีพร้อมเพรียงช่วยกันเป็นอย่างดี ส่วนน้ำที่จะผสมปูนนั้น ต้องเอาบาตรลงไปตัก ซึ่งมีน้ำอยู่ใกล้กว่าทรายหน่อย เอามาได้ทีละบาตรเท่านั้น ส่วนอิฐสำหรับก่อนั้นเอาก้อนหินที่พอดี ถากแต่งนิดหน่อยใช้แทนอิฐ แล้วก็ฉาบแต่งตามรูปที่ต้องการ ได้ช่วยกันพยายามทำอยู่ถึง ๒๑ วันจึงสำเร็จ เสร็จแล้วได้นำอัฐิของท่านบรรจุไว้ตรงกลางเจดีย์ ในเวลาที่พร้อมกันทำอยู่นี้ก็ได้อาศัยการอุปถัมภ์จากญาติโยมโนนหนามแท่ง บ้านดอนกลาง บ้านโพธิ์หมากแข้ง ได้จัดทำอาหารขึ้นไปถวายจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีจึงขออนุโมทนา ณ ที่นี้ด้วย จากนั้นก็กลับลงไปสู่วัดของตน
อ่านเพิ่มเติม

พญานาคมาขอส่วนบุญ (ครูบาวัง)

พญานาคมาขอส่วนบุญ

เช้าวันหนึ่ง พระอาจารย์วังได้เล่าให้เณร(พระจันโทปมาจารย์) ฟังว่า เมื่อคืนมีพญานาคมาหาให้นิมิตสมาธิ บอกว่ามาขอส่วนบุญ พอตกกลางวันวันนั้น มีงูตัวหนึ่งสีแดงทั้งตัว ขนาดไม่ใหญ่นัก ยาวประมาณสองศอก เลื้อยเข้ามาในถ้ำชัยมงคล แล้วหายเข้าไปในถ้ำ เมื่อถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ก่อนจะทำการถวายภัตตาหาร ท่านอาจารย์วังได้กล่าวว่าบุญกุศลที่พวกเณรและผ้าขาว ถวายภัตตาหารแด่พระเณรให้อุทิศไปให้พญานาค แล้วท่านก็พาทำบุญอุทิศ ครั้นวันถัดมา ท่านได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อคืนพญานาคมาหาอีกครั้งบอกว่าเขาได้รับบุญกุศลแล้ว มาขอลาไปสู่สุคติภพที่ดีกว่า

ภุมมเทวดาตักเตือน
ขณะที่อยู่บนภูลังกา ปกติจะมีญาติโยมขึ้นไปกราบท่านอยู่เสมอ เพราะขณะนั้นชื่อเสียงของท่านค่อนข้างจะโด่งดั่งพอสมควร เมื่อญาติโยมขึ้นมากราบท่านที่ถ้ำ ก็มักจะเดินเที่ยวชมป่าเขาด้วย ท่านจะคอยบอกญาติโยมว่า ห้ามโยนก้อนหินลงไปหน้าผาหน้าถ้ำ เพราะพวกภุมมเทวดาเขามาบอกว่าเขาไม่ชอบ มีโยมกลุ่มหนึ่ง แม้ท่านจะห้ามแล้วก็ยังแอบกระทำอยู่ในตอนกลางวัน พอตกค่ำ ๓ ทุ่มหลังจากทำวัตรเสร็จแล้ว กำลังฟังเทศน์กันอยู่ ก็มีเสียงดังสะท้อนลั่นมาจากลานหินหลังถ้ำ ( ถ้ำนี้เป็นชะง่อนหินริมผา มีลานหินอยู่ด้านบน ) เหมือนมีหินขนาดใหญ่สัก ๒ เมตร กลิ้งมาแล้วตกลงหน้าผา ห่างจากถ้ำราว ๖ วา ญาติโยมก็แตกตื่นตกใจวิ่งไปจับกลุ่มอยู่ใกล้ ๆ ท่านอาจารย์วัง ท่านจึงถามว่าเมื่อโยมขึ้นไปหลังถ้ำมีใครโยนก้อนหินลงหน้าผาหรือไม่ โยมตอบว่า มีเด็กมากันหลายคน และพากันโยนหินเล่น ท่านจึงบอกว่า พวกเจ้าที่เขาไม่พอใจที่ไปทำอย่างนั้น จึงเกิดเสียงอย่างนี้ขึ้น ขอโทษเขาก็ได้ ไม่เป็นไร แค่คราวต่อไปห้ามทำอย่างนี้อีก ครั้นตอนเช้ามาดูก้อนหินที่ตกลงมา ปรากฏว่าเป็นหินที่มีขนาดเท่าบาตรเท่านั้น ไม่สมกับเสียงที่ได้ยินเมื่อคืนเลย

ข้อมูลอ้างอิงจาก : dharma-gateway.com

http://www.web-pra.com/

พบถ้ำชัยมงคล (ครูบาวัง)

พบถ้ำชัยมงคล

อยู่มาปีหนึ่ง พ.ศ.๒๔๘๘ ท่านได้ออกเที่ยววิเวกเหมือนทุกปีที่ผ่านมาได้เดินธุดงค์ไปที่ภูลังกา บ้านโพธิ์หมากแข้ง บ้านโนนหนามแท่ง ได้ขึ้นไปที่หลังภูลังกาซึ่งเคยขึ้นเกือบทุกปี แต่ปีนั้นได้พบถ้ำๆ หนึ่ง ซึ่งเป็นถ้ำกว้างพออยู่อาศัยได้สะดวก ถ้ำนี้แบ่งเป็นสองตอน ตรงกลางมีก้อนหินตับคั่นเป็นห้อง แต่พอเดินไปหากันได้ตลอด เป็นชะง่อนหินริมผา ลักษณะคล้ายถ้ำขาม จังหวัดสกลนคร ด้านหน้าถ้ำอยู่ตรงทิศตะวันออก แสงอาทิตย์ส่องถึงภายในถ้ำได้ตลอด ถ้ำนี้ยังไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน เมื่อท่านได้พบแล้ว เป็นที่พอใจของท่านอย่างมาก ท่านพูดว่าต่อไปเราจะมาอยู่ที่นี่ ซึ่งตามปกติท่านก็ชอบภูเขาอยู่แล้ว ท่านจึงให้ชื่อถ้ำนี้ว่า “ถ้ำชัยมงคล” ระยะทางจากถ้ำนี้ลงไปถึงตีนเขาประมาณ ๑ กิโลเมตรกว่า ตีนเขาห่างจากหมู่บ้านโพธิ์หมากแข้ง บ้านโนนหนามแท่ง เดินผ่านดงไปอีกประมาณ ๘ กิโลเมตร บริเวณรอบภูลังกานี้เป็นป่าไม้ดงดิบที่อุดมสมบูรณ์มาก มีพวกสัตว์ป่าต่าง ๆ เช่น ช้าง เสือ ควายป่า กระทิง หมี เลียงผา อีเก้ง กระจง ชะมด ลิง ค่าง บ่าง กระรอก กระแต ไก่ป่า ไก่ขัว นกยูงเป็นฝูงๆ และนกอื่นๆ อีกมากมาย ในด้านทิศตะวันตกของภูลังกาคือบ้านโพธิ์หมากแข้ง มีถ้ำอยู่ตามเงื้อมเขา พอเป็นที่ผึ้งจะอาศัยทำเป็นรัง มีอยู่หลายถ้ำ เช่น ถ้ำพร้าว ถ้ำปอหู เป็นต้น โดยเฉพาะถ้ำพร้าว เป็นถ้ำสูงจึงมีผึ้งมาทำรังอยู่ ปีละไม่น้อยกว่าหนึ่งรัง ชาวบ้านต้องประมูลจากทางอำเภอเมื่อประมูลได้แล้ว ก็เฝ้ารักษาคอยเก็บเอาเฉพาะรังผึ้งมาทำเป็นขี้ผึ้งขาย ไม่ค่อยนำเอาน้ำผึ้งมาขาย เพราะถ้ำอยู่สูง ไม่สะดวกในการเก็บน้ำผึ้ง ไม่เหมือนที่ภูสิงห์ ภูวัว ซึ่งเป็นเป็นภูเขาที่มีถ้ำอยู่ต่ำ จึงเก็บเอาน้ำผึ้งมาขายได้ง่ายกว่า
เมื่อท่านได้พบถ้ำนั้นแล้ว ในปีนั้นและปีต่อๆ มา ได้จึงได้พาพระเณรขึ้นไปจำพรรษาอยู่ที่นั่นทุกปี แต่ละปีไม่ต่ำกว่า ๕-๖ รูป เพราะถ้ำ ชัยมงคลอยู่ไกลจากหมู่บ้านมาก จะลงไปรับบาตรไม่ได้ ต้องอาศัยญาติโยมชาวบ้าน สามเณรและเด็กจัดทำอาหารถวาย สามเณรที่อยู่ประจำคือ สามเณรคำพันธ์ ปทุมมากร(พระจันโทปมาจารย์) สามเณรสุบรรณ ชมพูพื้น สามเณรใส ทิธรรมมา และสามเณรวันดี สอนโพธิ์ อ่านเพิ่มเติม

เดินจงกรมอยู่ต่อหน้าเสือ (ครูบาวัง)

เดินจงกรมอยู่ต่อหน้าเสือ

มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้พาพระเณร ๔ รูป มีอาจารย์สิงห์ สามเณรทัน สามเณรสุบัน และตัวท่านเที่ยวธุดงค์ไปตามเส้นทางเก่าที่เคยไป ได้พา พระเณรพักภาวนาที่ป่าบ้านโคกกอย ตอนหัวค่ำท่านก็ได้อบรมพระเณร ที่ติดตามให้สังวรระวังอย่าประมาทให้รีบเร่งทำความเพียร จากนั้นท่านก็เข้าทางจงกรมที่เณรได้เตรียมไว้ให้ ส่วนพระเณรรูปอื่น ๆ ก็แยกย้ายกันไป พอตะวันลับฟ้าความมืดก็ปกคลุมเสียงเจ้าป่าก็กระหึ่มก้องภูวัวทำให้สามเณรที่ไปด้วยต้องรีบเข้ากลดนั่งเหงื่อโชกตัวสั่นงันโงก ส่วนพระอาจารย์วังก็เดินจงกรมอยู่เหมือนไม่มีอะไร ไม่นานร่างเจ้าของเสียงก็ปรากฏที่ปลายทางจงกรมของท่านราว ๒ เมตร และก็มอบดูท่านอยู่ อย่างนั้น ส่วนพระอาจารย์วังก็ไม่ได้สนใจกับมัน ยังคงเดินจงกรมเป็นปกติจนกระทั่งท่านเหนื่อยจึงพูดขึ้นว่า “ เหนื่อยแล้วเด้อ ” มันจึงร้องโฮกกระโจนเข้าป่าหายไปกับความมืด

ข้อมูลอ้างอิงจาก : dharma-gateway.com

http://www.web-pra.com/

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร (ครูบาวัง)

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

ชนบทภาคอีสานในสมัยนั้นอยู่ห่างไกลความเจริญเวลาเจ็บไข้ก็อาศัยยารากไม้ ต้มกินบ้าง ฝนกินบ้าง ตามภูมิความรู้ของหมอยากลางบ้าน ของพระหมอยาบ้าง ผู้บันทึกตอนนี้(พระวินิต สุเมโธ) ตอนเป็นเด็กเวลาเป็นไข้ยังได้กินยาฝนจากรากไม้บ้าง กระดูกสัตว์ เปลือกหอยบ้างว่ากันว่าต้นไม้ทุกชนิดที่เกิดบนภูลังกาพระอาจารย์วังรู้สรรพคุณหมด เพราะท่านเชี่ยวชาญใส่ยาคนป่วยได้ฉมัง คนเฒ่าคนแก่อายุเจ็ดสิบขึ้นไปเล่าให้ฟังว่าคนไข้บางคนพอรู้ว่ายาพระอาจารย์วังยังไม่ทันได้กินหายป่วยแล้วก็มี ตัวผู้เขียนได้นำไปรักษาผู้ป่วยดู ฝนให้กินเพียงขันเดียวไม่ถึง ๓๐ นาที คนป่วยลุกนั่งได้อย่างอัศจรรย์

ข้อมูลอ้างอิงจาก : dharma-gateway.com

http://www.web-pra.com/

สยบนักเลง (ครูบาวัง)

สยบนักเลง

ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๗๙-๒๔๘๐ พระอาจารย์วังได้จำพรรษาอยู่วัดอรัญญิกาวาส บ้านม่วงไข่ อำเภอสว่างแดนดิน(ปัจจุบันเป็นอำเภอพังโคน) จังหวัดสกลนคร ที่หมู่บ้านนี้มีนักเลงโตประจำหมู่บ้านคนหนึ่ง ชื่อนายพุฒ เป็นคนไม่กลัวใคร วัดไม่เข้า พระเจ้าไม่เคารพ ชอบต่อไก่ ไม่สนใจกับใครทั้งสิ้น ตอนเช้าออกบิณฑบาตพระอาจารย์วังจะเจอกับนายพุฒเสมอ ท่านต้องเป็นผู้หลบทางให้แก่นายพุฒตลอด เพราะถ้าไม่หลบ นายพุฒคนนี้ก็จะเดินชนจริงๆ เช้าวันหนึ่งเหตุการณ์ที่ทุกคนคาดไม่ถึงก็เกิดขึ้น พระอาจารย์วังกลับจากบิณฑบาต ก็พบนายพุฒระหว่างทาง พอนายพุฒเดินเข้ามาใกล้ท่านก็ส่งบาตรให้พระที่อยู่ด้านหลัง แล้วแย่งเอาไก่จากมือนายพุฒเดินเข้าวัดไปเฉย นายพุฒจึงจำเป็นต้องเดินตามพระอาจารย์วังเข้าไปในวัด เพื่อตามเอาไก่ต่อตัวเก่งคืน เช้าวันนั้นอาหารคาวหวานตลอดจนผลไม้มีมากเป็นพิเศษ เมื่อพระอาจารย์วังขึ้นบนศาลาท่านก็นั่งอุ้มไก่ไม่ยอมปล่อย ส่วนนายพุฒเมื่อตามมาถึงก็ไม่ยอมกราบไหว้พระ พร้อมกับทวงเอาไก่ “ญาคู เอาไก่ข้อยมา” พระอาจารย์วังท่านก็ไม่ให้ แต่ได้พูดกับนายพุฒว่า “พ่อออกพุฒเอ้ย ลูกหลานมาอยู่นำก็เป็นเวลานานแล้ว ขอเว้าขอจานำแด่ถ่อน” ฝ่ายนายพุฒก็ตอบว่า “เซาๆ อย่ามาเว้า เอาไก่ข้อยมา” พระอาจารย์วังก็ไม่ให้ เมื่อชาวบ้านที่มาทำบุญในเช้าวันนั้นมาพร้อมทุกคนแล้ว นายพุฒก็มองเห็นอาหารมากมาย จึงพูดขึ้นว่า “โอ้โฮ้ ! แนวกินคือหลายแท้” พระอาจารย์วังที่นั่งยิ้มๆ อยู่ตรงนั้นจึงพูดว่า “ซำนี้บ่หลายดอก อาตมากินบ่พอครึ่งท้อง” นายพุฒชักโกรธที่พระอาจารย์วังคุยอย่างนั้น จึงท้าท่านพระอาจารย์วังว่า “เอาตี้ ถ้าญาคูกินเบิ๊ดนี่ ข้อยสิยอมบวช ๓ ปี ถ้าญาคูกินบ่เบิ๊ด ต้องสึกไปเฮ็ดนาให้ข้อยกิน ๓ ปี คือกัน เอาบ่” เมื่อพระอาจารย์วังเห็นโอกาสทองมาถึง ท่านก็รับคำท้า พร้อมบอกให้ชาวบ้านที่อยู่บนศาลาช่วยเป็นสักขีพยาน อาหารในเช้าวันนั้นมีกับข้าว ๗ สำรับ ต้มบวชมัน ๑ ปิ่นโต มะละกอสุก ๓ ลูก กล้วย ๓ หวี ข้าวเหนียวเต็มบาตร หลังจากนั้นท่านก็ลงมือฉันไปเรื่อยๆ ชาวบ้านหลายคนต่างก็คิดว่าคราวนี้เห็นทีอาจารย์ต้องได้สึกไปทำนาให้นายพุฒกินแน่ๆ ส่วนนายพุฒก็นั่งยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ที่จะได้คนช่วยทำนา ฝ่ายพระอาจารย์วังก็ก้มหน้าฉันอาหารไปเรื่อยๆ ไม่นานทุกอย่างที่อยู่ตรงหน้าก็หมด พร้อมกับคว่ำบาตรให้ทุกคนดู นายพุฒเห็นเช่นนั้นก็เดินลงจากศาลา ไม่ยอมพูดจากับใคร จนตะวันบ่ายนายพุฒจึงกลับมาพบกับพระอาจารย์วังพร้อมบริขารที่จะบวช เมื่อบวชแล้ว พระพุฒก็ตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามพระอาจารย์วังพร่ำสอนอย่างเคร่งครัด ไม่นานเมียที่บ้านก็ตามมาบวชชีอีกคน

ข้อมูลอ้างอิงจาก : dharma-gateway.com

http://www.web-pra.com/

นักเทศน์นักสอน (ครูบาวัง)

นักเทศน์นักสอน

พระอาจารย์วังเป็นพระนักเทศน์ที่มีโวหารปฏิภาณจับจิตจับใจ ผู้ได้ฟัง เมื่อครั้งที่ท่านยังเที่ยวธุดงค์ ไปในที่ต่างๆ นั้น มีอยู่ครั้งหนึ่งได้ ปักกลดพักแรมภาวนาอยู่ในหมู่บ้านคริสต์ โดยเลือกเอาป่าท้ายหมู่บ้าน เป็นที่ปักกลด เช้าก็เข้าไปเที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้านได้ข้าวเหนียวสามปั้นพร้อมพริกเกลือ ทั้งหมู่บ้านมีชาวบ้านใส่บาตรอยู่สามครอบครัว เด็กๆ ในหมู่บ้านที่ออกไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ไม่เคยเห็นพระธุดงค์ก็พากันมา มุงดูท่าน ใหม่ๆ เด็กๆ ก็ยืนดูอยู่ห่างๆไม่กล้าเข้าใกล้ อยู่ไปนานวัน ความสนิทคุ้นเคยระหว่างท่านกับเด็กก็เกิดขึ้น ทีนี้ท่านก็จะเล่านิทานแฝงคำสอนให้เด็กๆ ฟังโดยหยิบยกเอาความทุกข์ของแม่ระหว่างอุ้มท้องไปจนถึงเลี้ยงดูแลให้เจริญเติบโต เด็ก ๆ ได้ฟังก็เกิดความซาบซึ้ง ร้องให้ก็มี เมื่อกลับไปบ้านก็นำไปเล่าให้พ่อแม่ฟังทุกวัน ในที่สุดพ่อแม่ของเด็กๆ เหล่านั้นก็อยากจะรู้ว่าเรื่องที่ลูกนำมาเล่าสู่ฟังทุกวันเท็จจริงอย่างไร ก็ชวนกันไปร่วมรับฟังกัน ไปกับลูกๆ เมื่อไปถึงพวกเขาก็นั่งอยู่ห่าง ๆ ไม่กราบไม่ไหว้ มีความเหนียมอายเก้อเขิน ท่านพระอาจารย์วังก็หาอุบายพูดคุยให้เกิดความสนิทสนม เมื่อสบช่องทางท่านก็เริ่มเทศน์เริ่มสอนทันที โดยหยิบยกเอาเรื่องบาปบุญคุณโทษ นรก สวรรค์ มาเทศน์สั่งสอนจนพวกเขาเกิดความรู้ความเข้าใจ หันมานับถือพระพุทธศาสนา รับเอาศีลห้าประการไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เมื่อสมควรกับเวลาแล้ว ท่านพระอาจารย์วังก็ร่ำลาชาวบ้านเที่ยวจาริกไปสู่ที่อื่น เพื่อสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ผู้เกิดมาร่วมโลกต่อไป

ข้อมูลอ้างอิงจาก : dharma-gateway.com

http://www.web-pra.com/

ปลอบขวัญชาวบ้านไล่โรคห่า (ครูบาวัง)

ปลอบขวัญชาวบ้านไล่โรคห่า

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ พระอาจารย์วังได้พาสามเณรคำพันธ์ ปทุมมากร(ท่านเจ้าคุณพระจันโทปมาจารย์) ตอนนั้นอายุ ๑๔ ปี กับเด็กวัดชื่อ เด็กชายทัน คนบ้านนาต้อง เที่ยววิเวกไปทางอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์วังได้พาสามเณรคำพันธ์และเด็กชายทันหยุดพักแรมทำความเพียรอยู่ที่บ้านดอนแดงโพนไค อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ในปีนั้นเกิดอหิวาตกโรค มีชาวบ้านล้มตายทุกวัน พระอาจารย์วังก็ได้พาชาวบ้านทำพิธีทำบุญสวดชำระบ้านโดยท่านให้ชาวบ้านปลูกปะรำขึ้นกลางหมู่บ้าน นำหิน นำทรายมากองไว้ในปะรำพิธี เมื่อชาวบ้านหาของที่พระอาจารย์วังต้องการมาครบแล้ว ในตอนกลางคืนชาวบ้านก็มารวมกันที่ปะรำกลางหมู่บ้านที่จัดเตรียมไว้ เมื่อได้ฤกษ์แล้วท่านก็พาสามเณรคำพันธ์สวดพระพุทธมนต์จนครบทุกสูตรก็เป็นอันว่าพิธีในตอนกลางคืนเป็นอันแล้วเสร็จ ชาวบ้านต่างก็แยกย้ายกันกลับ พอรุ่งเช้าของวันใหม่ ชาวบ้านก็ทำบุญถวายภัตตาหารท่านพระอาจารย์วังและสามเณรคำพันธ์ พระอาจารย์วังก็ให้ชาวบ้านกล่าวคำถวายอาหารพร้อมกับอุทิศส่วนบุญให้สรรพสัตว์ ผู้ตกทุกข์ ตลอดจนดวงวิญญาณต่างๆ ที่สถิตอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้นมาอนุโมทนารับเอาส่วนบุญที่ชาวบ้านพร้อมกันทำให้ จากนั้นท่านก็ฉันอาหาร เมื่อฉันเสร็จแล้ว พระอาจารย์วังก็ปั้นข้าวเหนียว ๔ ก้อน โตเท่าจอมนิ้วก้อยแล้วเขียนคาถาใส่กระดาษห่อหุ้มปั้นข้าวเหนียวทั้ง ๔ ก้อนไว้ แล้วบอกให้ชาวบ้านไปเอาปืนเพลิงมา ๑ กระบอก เมื่อได้ปืนมาแล้วท่านก็เริ่มหว่านหิน หว่านทรายขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากหมู่บ้าน โดยเริ่มจากทิศตะวันออกให้ยิงปืนขึ้นฟ้า ๑ นัด ก่อนยิงพระอาจารย์วังก็เอาปั้นข้าวเหนียวที่ได้ทำไว้หย่อนลงไปในกระบอกปืนแล้วจึงบอกให้ยิง แต่ชาวบ้านยิงอย่างไรก็ยิงไม่ออก จนท่านบอกให้เทเอาก้อนข้าวเหนียวที่อยู่ในกระบอกปืนออก ปืนจึงยิงออก ท่านพระอาจารย์วังทำอย่างนี้ทั้ง ๔ ทิศ ทุกทิศก็เหมือนกันหมด คือปืนยิงไม่ออก เมื่อท่านได้ทำพิธีนี้ช่วยชาวบ้านแล้วก็ปรากฏว่าโรคภัยต่างๆ ก็หายไปจากหมู่บ้านดอนแดงโพนไค ชาวบ้านที่เคยล้มตายทุกวันก็ไม่มีปรากฏให้เห็นอีก

ข้อมูลอ้างอิงจาก : dharma-gateway.com

http://www.web-pra.com/

เสือใหญ่ที่ดงชมพู (ครูบาวัง)

เสือใหญ่ที่ดงชมพู

พอถึงเดือน ๑๑ ออกพรรษา พระอาจารย์วังก็พาสามเณร ตาผ้าขาว เที่ยววิเวกตามสถานที่ต่างๆ ผ่านบ้านต้อง ของหลง ดอนเสียด นาสิงห์ นาแสง บ้านเกียด ชมพูพร ภูสิงห์ ภูวัว พักแรมภาวนาคราวละหลายๆวัน มีสามเณรสุบัน ชมพูฟื้น สามเณรสุพิศ เหมื้อนงูเหลือม สามเณรใส ทิธรรมมา สามเณรทัน และเด็กชายเมฆไปด้วย พอเสบียงใกล้จะหมด พระอาจารย์วังก็พาคณะกลับ ขากลับลงจากภูวัวก็เจอกับหมีใหญ่ที่กำลังกินน้ำผึ้งบนคบไม้ใหญ่ต้นหนึ่งที่อยู่ริมห้วยอย่างสบายอารมณ์ เมื่อคณะเดินเข้ามาใกล้ ต่างก็พากันหยุดดูหมี ส่วนตาผ้าขาวแกเป็นคนคะนองปาก จึงร้องถามหมีว่า “เฮ็ดอีหยัง” ทำให้หมีตกใจ กระโดดลงจากต้นไม้วิ่งหายลงไปในหุบห้วย พระอาจารย์วังที่อยู่ด้านหน้าจึงหันมาดุคณะที่ไม่สำรวมวาจา จากนั้นท่านก็เร่งคณะให้รีบเดินเพื่อให้ลงพ้นเขาก่อนตะวันตกดิน เมื่อมาถึงป่าราบดงชมพู ท่านจึงสั่งคณะหยุดหาที่พัก เพราะเป็นเวลาใกล้ค่ำแล้ว เมื่อทุกคนจัดสถานที่พักของตนเองเสร็จก็มารวมกันอยู่ที่พักของท่าน เพื่อรับฟังคำสั่งจากท่าน คืนนั้นพระอาจารย์วังสั่งทุกคนให้อยู่รวมกัน ห้ามออกจากเขตที่ท่านกำหนดไว้ เพราะคืนนี้จะมีผู้มาเยี่ยมในตอนกลางคืน อย่าพากันประมาท ให้ทุกคนภาวนาแผ่เมตตาไปให้ทั่วสารทิศ เมื่อท่านพระอาจารย์วังกำชับทุกคนแล้ว ท่านก็เข้าทางจงกรม
คุณตาสุบัน (สามเณรสุบัน) ได้เล่าว่า คืนนั้นเดือนหงายเวลาล่วงเข้าสองทุ่ม เสียงเสือจากภูวัวและดงชมพูก็คำรามไปทั่ว บวกกับสายลมหนาวเดือนสิบเอ็ด จึงทำให้บรรยากาศของคืนนั้นดูน่ากลัวที่สุด บรรดาสามเณรและตาผ้าขาวต่างก็นั่งตัวแข็ง เหงื่อไหลโชกอยู่ในกลด ทั้งๆ ที่เป็นหน้าหนาว ส่วนพระอาจารย์วังก็เดินรัตนะจงกลมรอบๆ บริเวณที่คณะพักแรม อย่างไม่หวั่นไหวในเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า เมื่อเสียงร้องของเสือเข้ามาใกล้ที่พักของคณะธุดงค์มันก็เงียบ มันคงแอบย่องเข้ามาใกล้ๆ คุณตาสุบันแขวนกลดอยู่ใกล้ๆ พระอาจารย์วัง เพราะเป็นเณรอุปัฏฐาก ได้เห็นพระอาจารย์วังล้มนอนในท่าสีหไสยาสน์ ห่างจากเสือประมาณ ๓ วา เสือกับพระต่างก็จ้องหน้ากันอยู่เป็นเวลานาน จนพระอาจารย์วังบอกกับเสือว่า “อาตมามาแสวงหาโมขธรรม บ่ได้มาเบียดเบียนไผ อาชีพไผอาชีพมัน เจ้าจงไปซะ” เสือก็คำรามลั่น แล้วกระโจนเข้าป่าหายไป สามเณรทันตกใจถึงที่สุด จนปัสสาวะไหลแบบไม่รู้สึกตัว

ข้อมูลอ้างอิงจาก : dharma-gateway.com

http://www.web-pra.com/

ช่วยเปรตตาโดให้ไปเกิด (ครูบาวัง)

ช่วยเปรตตาโดให้ไปเกิด

พระเดชพระคุณหลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม เล่าให้ผู้เขียนบันทึกตอนนี้(พระวินิต สุเมโธ) ฟังว่าในหน้าแล้งปีหนึ่งหลวงปู่วัง ได้ไปเที่ยวธุดงค์ภาวนาอยู่ที่วัดดงหม้อทอง มีครูบานู อยู่บ้านนาสิงห์ได้มาอยู่ภาวนาด้วย อยู่มาวันหนึ่ง ครูบานูก็ได้ขอกราบลาไปเยี่ยมบ้านเกิด ท่านก็อนุญาตให้ไป เมื่อครูบานูไปถึงบ้านก็ได้พักที่วัดร้างในหมู่บ้าน ชาวบ้านเมื่อรู้ว่า ครูบานูกลับมาก็ออกไปถามไถ่ตามธรรมเนียมของคนอีสานก่อนกลับก็ได้บอกครูบานูว่า “ครูบ๋าวัดนี้มีเปรตได๋มันหลอกจนญาคูจั๋วน้อยอยู่บ่ได๋ วัดจั่งได้ฮ้าง คำญาคูย่านให้เข้าเมือนอนในบ้านเด้อ” ฝ่ายครูบานูก็เชื่อมั่นในตนเองว่าไม่กลัวก็เลยบอกชาวบ้านว่า “ผีอยู่ใสเป็นจั๋งได๋บ่ย่านดอก พากันเมือโลด” ชาวบ้านเห็นครูบานูไม่กลัวก็พากันกลับบ้าน
พอตะวันตกดินเหตุการณ์แปลก ๆ ก็เริ่มเกิดขึ้นให้ครูบานูได้เห็น กลองเพลที่แขวนอยู่ใต้ถุนกุฎิที่ครูบานูใช้จำวัดก็ดัง ตึง ตึง ขึ้น สิ้นเสียงกลองเพลก็มีเสียงเหมือนคนหว่านหินขึ้นไปบนหลังคาสังกะสีซ่า ซ่า ซ่าไม่หยุด ฝ่ายครูบานูก็ข่มจิตข่มใจตัวเองเต็มที่อยู่ในห้องตามลำพัง ฉับพลันบานประตูทางเข้าก็ถูกผลักเสียงดังอี๊ด อี๊ด ๆ อย่างช้าๆ เข้ามา ครูบานูก็ลุกขึ้นจะไปปิดไว้เช่นเดิม เดินไปถึงประตู ๆ ก็ยังปิดสนิทอยู่ ก็กลับเข้ามาไม่นานประตูก็ถูกผลักเข้ามาอีกคราวนี้ครูบานูสติขาดเสียแล้วกระโจนออกทางหน้าต่างร้อง ผี ผี ผี ไม่หยุดปากวิ่งเข้าไปในหมู่บ้าน วันนั้นครูบานูต้องอาศัยจำวัดที่บ้านญาติโยมในหมู่บ้าน อ่านเพิ่มเติม

บ้านศรีวิชัยในอดีต (ครูบาวัง)

บ้านศรีวิชัยในอดีต

ดงพระเนาว์เป็นป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด มีไม้ใหญ่ๆ เช่น ไม้กระบาก ไม้ยางนา ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้ตะแบก ไม้พะยอม ไม้เค็ง ซึ่งมีลำต้นสูงๆ ทั้งนั้น แต่ละต้นมีขนาด ๓-๔ คนโอบรอบ และป่าอย่างอื่นก็ขึ้นหนาแน่น พร้อมทั้งไม้ผลต่างๆ ก็มีมากมายหลายชนิด ความหนาแน่นของป่าไม้ดงนี้ ถึงขนาดมีบางคนได้เดินลึกเข้าไปกลางดงป่า แล้วจะออกจากดงพระเนาว์ตามทิศทางที่ตนจำไว้ ก็ออกไม่ถูก ไพล่ไปออกทิศอื่นก็มี และเนื่องด้วยในดงพระเนาว์มีผลไม้ผลัดเปลี่ยนตลอดปี จึงทำให้สิงสาราสัตว์ต่างๆ มีเสือ อีเก้ง กระต่าย กระรอก กระแต ลิง ค่าง นกยูง และนกนานาชนิดอาศัยอยู่มาก
ดังนั้นเมื่อได้มีชาวบ้านอาราธนานิมนต์ท่านอาจารย์วังให้อยู่เช่นนั้นท่านได้รับว่าจะอยู่ เมื่อท่านรับแล้วชาวบ้านต่างก็ดีใจทุกคน และคิดว่าควรจะนิมนต์ท่านไปอยู่ที่ไหนจึงเหมาะ ตกลงกันเห็นว่าดงป่าไม้ซึ่งเป็นไม้เดิมอยู่ด้านทิศตะวันตกของบ้านเป็นป่าดงไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้ยางไม้ตะแบก ไม้กะบาก ไม้ไผ่ป่าขึ้นหนาแน่น ยังเป็นสภาพป่าอยู่ เป็นที่สงบสงัดเหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม และที่นี้เคยเป็นวัดร้างมาก่อน เพราะพบกองดินสูง มีเศษกระเบื้องมุง เศษอิฐก้อนโตๆยาว ๒๔ เซนติเมตร กว้าง ๑๒ เซนติเมตร หนา ๗ เซนติเมตร มีอยู่ในที่นั้น คาดว่าที่ดง พระเนาว์คงเคยเป็นบ้านเป็นเมืองมาก่อน และมีวัดอยู่สองวัด คือ บริเวณที่เป็นวัดศรีวิชัยในปัจจุบันนี้วัดหนึ่ง อีกวัดหนึ่งคือเป็นบริเวณวัดพระเนาว์ เพราะมีกองเศษกระเบื้องมุงหลังคาและเศษอิฐเหมือนกัน อ่านเพิ่มเติม

จริงจังในการปฏิบัติธรรม. (ครูบาวัง)

จริงจังในการปฏิบัติธรรม

ในการจำพรรษาปีหนึ่ง ท่านเล่าว่าได้ตั้งสัจจะอธิษฐานเป็นข้อวัตรว่าจะไม่นอนตลอดสามเดือน มีเพื่อนร่วมกันอยู่รูปหนึ่งคือพระอาจารย์อุยทั้งสองรูปสัญญากันว่าภายในกุฏิห้ามมีหมอน ถ้านั่งสมาธิก็ให้นั่งตรงกลางห้อง ไม่ให้นั่งพิงฝา แล้วเอาใบบัวมาห่อน้ำเป็นถุง ผูกโยงไว้บนศีรษะกลางห้อง มีเชือกผูกไว้ที่ถุงนั้นให้ปลายเชือกข้างหนึ่งย้อยลงมาข้างฝา ให้ผู้อยู่ข้างล่างจับเชือกนั้นได้ ถ้าหากว่าผู้ใดนั่งสมาธิออกอาการสัปหงก อีกผู้หนึ่งมาพบเข้าในขณะนั้น ก็จะจับเชือกนั้นดึงกระตุกเชือกนั้นก็จะปาดถุงใบบัวนั้นขาด น้ำในนั้นทั้งหมดก็จะร่วงลงมาตรงกับผู้นั่งสัปหงกนั้นพอดี ผู้นั้นก็จะเปียกทั่วกาย เท่ากับได้อาบน้ำนั้นเอง คืนนั้นถ้าได้ถูกอาบน้ำเช่นนั้น ก็ได้เปลี่ยนผ้ากันใหม่ ทำให้หายง่วงและได้ทำความเพียรต่อไป ในพรรษานั้นได้ถูกอาบน้ำคนละหลายครั้ง ในอีกพรรษาหนึ่งท่านอธิษฐานเดินจงกลมวันละหลายชั่วโมง เมื่อออกพรรษาแล้ว ทางที่เดินจงกรมเป็นร่องลึกลงไปเท่าฝ่ามือ
คราวหนึ่งท่านเล่าให้ฟังว่าท่านได้ไปวิเวกคนเดียว เดินผ่านป่าดงไปไกล ทั้งๆ ที่มีไข้จับสั่นและไม่มียาจะกินด้วย เมื่อเดินไปก็สั่นไปตลอดทาง บนบ่าสะพายบาตร ย่าม กลดมุ้ง เห็นว่ามันคงหนักไม่พอ มันจึงสั่น จึงได้เอาผ้าอาบน้ำสะพายเอาหินแม่รัง ที่มีอยู่ตามโคกเพื่อจะให้มันหายสั่น ถึงเพิ่มน้ำหนักเข้าอีกเช่นนั้น ก็ยังสั่นอยู่นั้นเอง เมื่อร่างกายได้เดินอย่างหนักผสมกับไข้ด้วย จึงทำให้อ่อนเพลียมาก ตกลงว่าจะพักเสียก่อน แล้วจึงแวะออกจากทาง เข้าไปภายใต้ร่มไม้น้อยต้นหนึ่ง เอาผ้าอาบน้ำฝนปู เอาห่อสังฆาฏิเป็นหมอน คลี่จีวรห่มแต่ก็ยังหนาวอยู่ จึงเอามุ้งห่มทับอีกชั้นหนึ่งมุ้งนั้นเป็นสีขาว เมื่อคลุมทั้งตัวเช่นนั้นแล้ว ก็คล้ายกับกองสัตว์ตายแล้วนั่นเอง แล้วท่านก็กำหนดสมาธิไปเรื่อย แล้ท่านได้หลับไปประมาณสองชั่วโมงไข้ก็สร่างพอดี ท่านจึงเอาผ้าที่ห่มออกได้เห็นอีแร้งตัวหนึ่งจับอยู่บนต้นไม้ที่อยู่ใกล้ๆ นั่นเอง มันคงนึกว่าเป็นกองสัตว์ตาย และได้อาหารแล้ว มันมาจับอยู่บนนั้นนานเท่าไรไม่ทราบ ท่านจึงได้พูดกับมันว่ายังไม่ตายหรอกคุณ ขอไว้ก่อนคราวนี้
อ่านเพิ่มเติม

แสวงหาครูบาอาจารย์ (ครูบาวัง)

แสวงหาครูบาอาจารย์

เมื่อท่านบวชพระแล้ว ท่านก็เร่งความเพียรให้ยิ่งๆ ขึ้น เมื่อมีครูบาอาจารย์ใด ที่จะเป็นที่พึ่งได้ในสมัยนั้น ท่านก็ไปกราบขอปวารณาตัวเป็นศิษย์ เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ได้เคยอยู่จำพรรษากับท่านด้วย ดังนั้นท่านหลวงปู่ฝั้น อาจาโร จึงถือว่าท่านพระอาจารย์วังเป็นศิษย์ของท่าน รูปหนึ่ง และด้วยความเป็นคนเอาจริงต่อการปฏิบัติของท่านพระอาจารย์วัง ท่านหลวงปู่ฝั้น อาจาโร มักสอนลูกศิษย์รูปอื่นๆ ว่า “ ให้ทำเหมือนท่านวัง เอาจริงเอาจังเหมือนท่านวัง ” อย่างนี้เสมอ ดังนั้นผู้เขียนประวัติหลวงปู่ฝั้น อาจโร เพื่อเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพจึงกล่าวว่า ถ้าไม่เอาศิษย์ผู้ที่สำคัญ คือท่านอาจารย์วัง ไปลงในประวัติด้วย การเขียนประวัติคงไม่สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้จึงมีรูปและประวัติย่อลงในหนังสือประวัติหลวงปู่ฝั้นด้วย และอีกท่านหนึ่งคือหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ท่านก็ถือว่าพระอาจารย์วังเป็นศิษย์ของท่าน ดังคราวหนึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสเข้ากราบหลวงปู่อ่อน และแนะนำตัวว่าเป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์วัง ท่านหลวงปู่อ่อนบอกว่า ท่านวังเป็นศิษย์ของท่านด้วย แม้แต่ท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านก็เคยเข้ารับฟังโอวาท และอยู่ร่วมด้วยหลายคราว

ข้อมูลอ้างอิงจาก : dharma-gateway.com

http://www.web-pra.com/

เรียนคาถาอาคมจากปู่ (ครูบาวัง ฐิติสาโร)

เรียนคาถาอาคมจากปู่

ท่านพระอาจารย์วังเกิดมาในตระกูลหมอปะกำช้าง ปู่ท่านเป็นผู้มีวิชาอาคมขลัง ท่านจึงเรียนรู้คาถาอาคมจากปู่ตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก เมื่อตอนเป็นสามเณรท่านอยากเห็นวิชาวัวธนูครูหน้าน้อย จึงขอร้องให้ปู่ทำให้ดู ปู่ก็เอาไม้ไผ่มาทำหน้าไม้เล็กๆ เหลาลูกให้พอดี จากนั้นก็พาหลานจัดทำขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ บูชาครู เมื่อถึงกลางคืนจึงนำลูกหน้าไม้ไปทำพิธีลงคาถาใส่ ปู่ท่านทำพิธีอยู่ ๗ คืน เมื่อครบพิธีแล้ว จึงบอกให้หลานมาดู โดยให้คนเอามีดไปทำเครื่องหมายไว้ที่ต้นไม้ใหญ่กลางป่าต้นหนึ่ง จึงยิงหน้าไม้ออกไปโดยยิงทะลุหลังคาบ้านที่มุงด้วยหญ้าคาในตอนกลางคืน ก็บังเกิดเสียงดังสะเทือนเลือนลั่น รุ่งเช้าพระอาจารย์วังก็ได้ไปดูต้นไม้ที่ทำเครื่องหมายไว้ ก็ปรากฏว่าเห็นลูกหน้าไม้เสียบอยู่ตรงนั้นพอดี ซึ่งวิชาวัวธนูครูหน้าน้อยนั้นเป็นวิชาฆ่าคนแพร่หลายในลุ่มแม่น้ำโขง คนโบราณสมัยก่อนชอบเรียนกันมาก
อ่านเพิ่มเติม

พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร (เทพเจ้าแห่งภูลังกา)

พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร (เทพเจ้าแห่งภูลังกา)
วัดถ้ำชัยมงคล ต.โพธิ์หมากแข้ง อ.บึงโขงหลง จ.หนองคาย

ประวัติพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร

พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร เกิดที่บ้านหนองคู ตำบลกระจาย อำเภอลุมพุก จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งบัดนี้ได้ขึ้นกับอำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธรแล้วท่านเกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๕ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ ปีชวด บิดาชื่อว่า นายหลวงลา มารดาชื่อว่า นางคำ นามสกุล ขันเงิน ภายหลังเพราะเหตุไรไม่อาจทราบได้เปลี่ยนนามสกุลนี้มาเป็น สลับสี ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๗ คน ดังนี้
๑. นายอาน สลับสี
๒. พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร (สลับสี)
๓. นายลี สลับสี
๔. นายสุภีย์ สลับสี
๕. นางไพ
๖. นางเงา
๗. นายส่าน ( เวียง ) สลับสี

ปฐมวัย
ท่านได้เล่าว่าเรียนจบชั้น ป.๔ ที่โรงเรียนบ้านหนองคูนั้นเอง ท่านเป็นคนสมองทึบ แม้จะเรียนจบ ป.๔ ก็เขียนไม่ได้ อ่านไม่ออก แต่ต่อมาเมื่อท่านบรรพชาอุปสมบทได้เล่าเรียนจากครูบาอาจารย์แล้ว ท่านอ่านออกเขียนได้ ทั้งหนังสือไทย หนังสือธรรม กลับเป็นคนละคน คือสมองท่านกลับเป็นผู้จำง่ายขึ้น คงเป็นเพราะอำนาจของสมาธิภาวนานั่นเอง อุปนิสัยของท่านชอบเป็นนายหมู่ ในหมู่เด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน มีเด็กเป็นฝูงห้อมล้อมท่าน บางทีก็สมมติท่านเป็นพระ แล้วหมู่เด็กทั้งหลายก็กราบท่าน อย่างนี้เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม

ครูบาวัง ฐิติสาโร

ครูบาวัง ฐิติสาโร ศิษย์ หลวงปู่เสาร์ วัดถ้ำชัยมงคล จ.หนองคาย

“ครูบาวัง ฐิติสาโร” หรือ “พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร” แห่งวัดถ้ำชัยมงคล ต.โพธิ์หมากแข้ง อ.บึงโขงหลง จ.หนองคาย เป็นพระป่านักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง

อัตโนประวัติ

เกิดในสกุล สลับสี เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2455 ที่ บ้านหนองคู ต.กระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2475 ที่พัทธสีมา วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม โดยมี หลวงปู่จันทร์ เขมิโย เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังอุปสมบท พระอุปัชฌาย์ให้ไปปฏิบัติธรรมอยู่กับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ต่อมาได้กลายเป็นลูกศิษย์คนสำคัญของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
อ่านเพิ่มเติม

ครูบาดวงดี เจ้าอาวาสวัดท่าจำปี

ครูบาดวงดี เจ้าอาวาสวัดท่าจำปี อำเภอสันป่าตอง เกจิอาจารย์อาวุโสสูงสุดในประเทศไทย อายุ 104 ปี มรณภาพ

ครูบาดวงดี เจ้าอาวาสวัดท่าจำปี อำเภอสันป่าตอง เกจิอาจารย์อาวุโสสูงสุดในประเทศไทย อายุ 104 ปี มรณภาพด้วยอาการไตวายเฉียบพลัน โดยจะประกอบพิธีสรงน้ำหลวงอาบศพในวันพรุ่งนี้ ครูบาดวงดี สุภัทโท เจ้าอาวาสวัดท่าจำปี อำเภอสันป่าตอง เกจิอาจารย์อาวุโสสูงสุดในประเทศไทย อายุ 104 ปี มรณภาพด้วยอาการไตวายเฉียบพลัน หลังเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยจะประกอบพิธีสรงน้ำหลวงอาบศพวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 16.00 น. ณ วัดท่าจำปี โดยนายอมรพันธุ์ นิมานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่จะเป็นประธานในพิธี เป็นข่าวที่สร้างความเสียใจในพุทธศาสนิกชน กับการละสังขารของพระเถระผู้ใหญ่อาวุโสสูงสุดของประเทศระดับพระราชาคณะครูบาดวงดี สุภัทโท หรือท่านเจ้าคุณพระมงคลวิสุต พระเถระมีอายุพรรษาสูงสุดของประเทศไทย อายุย่าง 104 ปี พรรษา 83 ถึงแก่มรณภาพลงด้วยอาการอันสงบ สำหรับประวัติหลวงปู่ครูบาดวงดี สุภัทโท กำเนิดที่บ้านท่าจำปี ต.ทุ่งสะโตก อ.สันป่าตอง บิดาชื่อพ่ออูบ มารดานางจั๋นติ๊บ อาชีพเกษตรกร เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2449 ปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งตรงกับสมัยเจ้าอินทวิชยานนท์ ครองนครเชียงใหม่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 8 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 4 คน ถึงแก่กรรมไปแล้วทั้งหมด เมื่อครั้งเยาว์วัยได้ติดตามบิดามารดาไปทำบุญกับครูบาศรีวิชัย ณ วัดพระธาตุหริภุญชัย ครูบาศริวิชัยมีเมตตาบอกให้พ่อแม่พาเข้าบวช จึงได้พาไปฝากเป็นศิษย์วัดอยู่กับครูบาโปธิมา เจ้าอาวาสวัดท่าจำปี เคยปรนนิบัติ และรับการอบรมสั่งสอนจากครูบาศริวิชัย ขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร และวัดสวนดอก ในเมืองเชียงใหม่ เจริญรอยตามครูบาศรีวิชัยด้วยการสร้างวัดวาอารามหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างวิหารวัดท่าจำปี และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะตำบลทุ่งสะโตก สมณศักดิ์ที่ได้รับ พ.ศ. 2518 เป็นพระครูชั้นประทวน พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท ราชทินนามที่พระครูสุภัทรสีลคุณ พ.ศ. 2540 ได้เลื่อนเป็นชั้นเอกราชทินนามเดิม และ พ.ศ. 2550 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่พระมงคลวิสุต ขณะอายุย่าง 102 ปี

http://m.sanook.com/tablet/news_detail/latest/896783/

ครูบาดวงดี

ครูบาดวงดี

คำบอกเล่าจากครูบาดวงดี ศิษย์ครูบาศรีวิชัยหรืออีกนามหนึ่งว่านักบุญแห่งล้านนา เล่าให้ฟังถึงเมื่อครั้งได้เห็นการก่อสร้างถนนขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ด้วยภาษาคำเมืองแท้ๆดั่งเดิมที่ฟังค่อนข้างยาก และด้วยน้ำเสียงทีแผ่วเบาจนแทบไม่ได้ยิน แต่ก็พอจับใจความได้บ้าง
ท่านเล่าว่าเมื่อครั้งยังอยู่กับครูบาศรีวิชัย ประชาชนทั้งไกลและใกล้ต่างศรัทธาครูบาฯมาก เมื่อทราบข่าวว่าท่านจะมาเป็นประธานสร้างถนนขึ้นพระธาตุดอยสุเทพในปี พ.ศ. 2477 ต่างหลั่งไหลกันมาไม่ขาดสาย ใครมีเงินก็บริจาคเงิน ใครมีอุปกรณ์สร้างถนนหนทาง เช่นผลั้ว บุ้งกี๋ จอบเสียม หรือสิ่งของอื่นๆ ก็บริจาคกันมามากมาย
ครูบาศรีวิชัย ท่านต้องออกรับแขกทุกระดับกันตลอดทั้งวัน ในตอนเย็นหลังเลิกงานจะมีคนงานชาวกระเหรี่ยง(เผ่ายาง) และชาวบ้านนำเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างมาเก็บไว้ในห้องเก็บขนาดใหญ่ ที่มีข้าวของกองเต็มไปหมด บรรยากาศช่วงเย็นของแต่ละวันจะคลาคล่ำไปด้วยคนงานนับร้อยนับพันคน ที่ทุกคนต่างมาทำงานด้วยแรงศรัทธาล้วนๆ ต้องการเพียงเพื่อมาร่วมทำบุญกับครูบาฯที่ตนเองนับถือ หากใครว่างจากภารกิจก็จะชักชวนกันมา
การก่อสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพที่ดูค่อนข้างลำบากก็ได้เสร็จสิ้นในระยะเวลาเพียงแค่ 5 เดือนเท่านั้นเอง (พย. 2477 – เมย. 2478) ได้ระยะทางทั้งสิ้น12 กิโลเมตร เริ่มจากเชิงดอยหรือบริเวณน้ำตกห้วยแก้วจนถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ โดยมีชาวบ้านมาร่วมงานก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 5,000 คน
ที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ ในช่วงเวลาที่กำลังมีการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ จะคึกคักไปด้วยผู้คนที่หลั่งไหลกันมาจากที่ต่างๆ เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งการเดินทางมายังจังหวัดเชียงใหม่ที่สะดวกที่สุดในขณะนั้นต้องมาทางรถไฟแต่เพียงเส้นทางเดียวเท่านั้น อ่านเพิ่มเติม

ครูบาดวงดี ยติโกอริยสงฆ์ล้านนาที่มีอายุพรรษามากที่สุด

ครูบาดวงดี ยติโกอริยสงฆ์ล้านนาที่มีอายุพรรษามากที่สุด

“หากไม่นับครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้มแล้ว ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อนนับได้ว่า มีจิตที่เย็นที่สุดในเชียงใหม่ล้านนาเรายุคนี้”

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นคำพูดของครูบาเทือง นาถสีโล เจ้าอาวาสวัดเด่นสะหรีศรีเมืองแคน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ที่มีความศรัทธาต่อหลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก อันเป็นที่สุดของอริยสงฆ์ในแถบล้านนา ที่มีอายุพรรษามากที่สุด ถึงพร้อมด้วยจิตที่เป็นวิสุทธิจิต
“ดวงดี สมด้วง” เป็นชื่อและสกุลเดิมของหลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก เป็นบุตรของพ่อด้วง แม่คำป้อ นามสกุล สมด้วง เกิดที่บ้านฟ่อน หมู่ ๒ ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๗ มีพี่น้องร่วมท้องกันมามี ๔ คน คือ ๑.พ่อหนานเขียว ๒.แม่สา ๓.นางแฮ ๔.หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก พอมีอายุได้ ๑๒ ปี พ่อด้วง แม่คำป้อ ได้พาเอาเด็กชายดวงดีมาฝากเป็นลูกศิษย์ครูบาอินตา สุทธิโก ได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนกับท่านครูบาอินตาได้หนึ่งปี พออายุได้ ๑๓ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรได้ชื่อว่าสามเณรดวงดี สมด้วง โดยมีพระอธิการคำภีระ เป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ ณ ที่วัดวุฑฒิราษฎร์ (บ้านฟ่อน) เมื่อวันที่ ๑๙ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๑
เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วก็ไม่นิ่งดูดาย และได้ศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งปริยัติธรรม จนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ อยู่ต่อมาพออายุได้ ๒๐ ปี ถึงวาระที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนาแล้ว แต่แล้วสามเณรดวงดีได้เกิดอาพาธขึ้นมาเป็นเวลา ๕ ปี พอหายจากอาการอาพาธแล้ว อายุได้ ๒๕ ปี รู้สึกว่าสามเณรดวงดีสบายกายสบายใจแล้ว พ่อด้วง แม่คำป้อ และท่านเจ้าอาวาสก็ได้ปรึกษาหารือกันว่า สมควรแก่เวลา ที่จะอุปสมบทสามเณรดวงดี เป็นพระภิกษุได้แล้วจึงได้อุปสมบทให้เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ โดยมีเจ้าอธิการอินถา อริโย วัดท้าวบุญเรืองเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการโอ๊ด อภิชโย วัดตองกายเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการอินตา สุทธิโก วัดวุฑฒิราษฎร์ (บ้านฟ่อน) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ยติโก อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดโพธิ (หนองควาย) อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .