ชาติภูมิ หลวงปู่วัดปากน้ำ หรือหลวงปู่สด จันทสโร

ชาติภูมิ หลวงปู่วัดปากน้ำ หรือหลวงปู่สด จันทสโร

พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ หรือหลวงปู่สด จันทสโร เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ ณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ในครอบครัวของพ่อค้าข้าว เมื่อเยาว์วัยเป็นผู้ฝักใฝ่และมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่ออายุได้ ๒๑ ปีได้บวชและตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัย และพระบาลีจากพระไตรปิฏกอย่างจริงจัง ท่านเป็นผู้มีวิริยะอุตสาหะในการศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติ การบรรลุธรรม ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ท่านได้ไปบำเพ็ญภาวนาที่วัดโบสถ์ (บน) อำเภอบางคูเวียง จังหวัดนนทบุรี และเพื่อสอนพระบาลีให้แก่ภิกษุสามเณรที่วัดนั้น จากคำกล่าวของพระครูไพโรจน์ธรรมคุณ ศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำท่านหนึ่ง ผู้จดจำคำของหลวงปู่เมื่อตั้งใจสละชีวิตเพื่อค้นหาธรรมะไว้ดังนี้ พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านตั้งสัตยาธิษฐานต่อหน้าองค์พระปฏิมากรในวัดโบสถ์ว่า “ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดข้าพระพุทธเจ้า ทรงประทานธรรมที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้อย่างน้อยที่สุดแลง่ายที่สุด ที่พระองค์ได้ทรงรู้แล้วแก่ข้าพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรมของพระองค์แล้ว จักเป็นโทษแก่ศาสนาของพระองค์แล้ว ขอพระองค์อย่าทรงพระราชทานเลย ถ้าเป็นคุณแก่ศาสนาของพระองค์แล้ว ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอรับเป็นทนายศาสนา ในศาสนาของพระองค์จนตลอดชีวิต” ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ได้ค้นพบวิธีการเข้าถึงธรรมกายซึ่งสูญหายไปหลังพุทธปรินิพพานได้ ๕๐๐ ปี หลังจากนั้นพระเดชพระคุณหลวงปู่สดได้เผยแผ่วิธีการปฏิบัติธรรม เพื่อเข้าถึงธรรมกายที่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ว่า เราเกิดมาทำไม? อะไรคือเป้าหมายของการเกิดเป็นมนุษย์ ?

http://www.dhammakaya.net/

ประวัติพระคณาจารย์ ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 6

ประวัติพระคณาจารย์ ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 6

หน้า 6 จาก 6
ธรรมกาย

การปฏิบัติธรรมตามหลักพระกัมมัฏฐาน อันเป็นปฏิปทาสูงสุดในพระพุทธศาสนา ถ้าการปฏิบัตินั้นเข้าขั้นปรมัตถ์ ผู้ปฏิบัติก็ย่อมเข้าถึงอมตสุข แม้ยังไม่เข้าขั้นปรมัตถ์ก็ยังอำนวยผลแก่ผู้ปฏิบัติให้มีกาย วาจา ใจ สงบระงับ อันผู้ปฏิบัติเข้าถึงธรรมย่อมมีกาย วาจา ใจ ไกลจาก โลภ โกรธ หลง เป็นบุคคลคงที่ต่อหลักธรรมไม่ก่อกรรมทำเวร

หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ปฏิบัติเพื่อกำกัดโทษเช่นนี้ มีปฏิปทาเดินสายกลาง ไม่ห่วงในลาภสักการะเพื่อตน แต่ขวนขวายเพื่อส่วนรวม กิจการนิมนต์ทางไกลถึงกับค้างคืนแล้วท่านรับนิมนต์น้อยนัก โดยท่านเคยแจ้งว่าเสียเวลาอบรมผู้ปฏิบัติ ท่านมีความมุ่งหมายใช้ความเพียรติดต่อกันทุกวัน ชีวิตไม่พอแก่การปฏิบัติ จึงมีบางท่านตำหนิหลวงพ่อว่าอวดดี อันความจริงคนเรานั้นถ้ามีดีจะอวดก็ควรเอาออกแสดงได้ เว้นไว้แต่ไม่มีดีจะอวดใครแล้วเอาเท็จมาอวดอ้างว่าเป็นของดีลวงผู้อื่นให้หลงเข้าใจผิด อันหลวงพ่อไม่ใคร่รับนิมนต์ใครนั้นเป็นปณิธานในใจของท่านเอง ลงได้ตั้งใจแล้วก็ต้องทำตามตั้งใจเสมอมา มิใช่ว่าเป็นผู้หมดแล้วจากความปรารถนา ยังอยู่ในกลุ่มแห่งความปรารถนา แต่ท่านไม่หลงจนประทุษร้ายให้เสียธรรมปฏิบัติ

ธรรมานุภาพให้ผลแก่หลวงพ่อทันตาเห็น ต้องการโรงเรียนประหนึ่งความฝัน ธรรมานุภาพก็ดลบันดาลให้สมประสงค์กลายเป็นความจริง ต้องการกุฏิ โรงฉันและการเลี้ยงพระวันละหลาย ๆ ร้อยรูปก็ได้สมความปรารถนา ต้องการให้มีผู้ปฏิบัติมาก ๆ นักปฏิบัติก็ติดตามมา ปัจจัยที่จ่ายเรื่องอาหาร เรื่องกุฏิ โรงเรียนในยุคของท่าน มีจำนวนมิใช่ล้านเดียว ถ้าคิดแต่ค่าอาหารอย่างหยาบ ๆ วันละ ๑,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันบาท ปีหนึ่งเป็นจำนวนเงิน ๓๖๐,๐๐๐ บาท (สามแสนหกหมื่นบาท) สิบปีเป็นเงินเท่าไร นี้คิดอย่างต่ำ ถ้าหลายสิบปีจะเป็นเงินเท่าไร หลวงพ่อท่านพูดว่า เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เมื่อกาย วาจา ใจ บริสุทธิ์แล้ว ย่อมมีสิทธิ์ใช้มรดกของพระพุทธเจ้าได้ และใช้ได้จนตลอดชาติ ถ้าไม่บริสุทธิ์แล้ว แม้จะเอาไปใช้ก็ไม่ถาวรเท่าไร
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 5

ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 5

หน้า 5 จาก 6
(พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ ต่อ)

แม้ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร แต่ไม่มีใครเรียกชื่อนั้น เรียกหลวงพ่อเสมอมา บางคนก็ไม่ทราบว่าท่านมีสมณศักดิ์ เพราะภิกษุสามเณรในวัดและคนวัดก็เรียก “หลวงพ่อ” เสียหมด บางคนเรียกว่า “เจ้าคุณพ่อ”

นอกจากท่านจะสร้างคนให้เป็นคนแล้ว เสนาสนะก็ได้จัดทำรุดหน้าไป แต่เพราะท่านฝักใฝ่ในด้านกรรมฐานเสียมาก การก่อสร้างปฏิสังขรณ์ก็ไม่ใคร่สนใจมากนัก ท่านพูดว่าสร้างคนนั้นสร้างยาก เรื่องเสนาสนะไม่ยาก ใครมีเงินก็สร้างได้ แต่ความสำคัญต้องสร้างคนก่อน

๑. กุฏิ ๒ แถว สร้างก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน สร้างคู่กับโรงเรียน

๒. พ.ศ.๒๔๙๓ สร้างโรงเรียนปริยัติเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กสูง ๓ ชั้น ยาว ๒๙ วา ๒ ศอก กว้าง ๕ วา ๒ ศอก สิ้นเงินค่าก่อสร้างประมาณ ๒,๕๙๘,๑๑๐.๓๙ บาท (สองล้านห้าแสนเก้าหมื่นแปดพันหนึ่งร้อยสิบบาทสามสิบเก้าสตางค์)

๓. สร้างศาลาโรงฉันพอเหมาะแก่พระภิกษุสามเณร ๕๐๐ รูป ฉันภัตตาหารเช้า เพล เป็นเครื่องไม้มุงสังกะสี พื้นลาดปูนซีเมนต์ ภายในยกเป็นอาสนสงฆ์ มีช่องเดินในระหว่างได้ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ บาทเศษ (สี่แสนบาทเศษ)

๔. สร้างกุฏิเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นตึก ๒ ชั้น พื้นฝ้าเพดานไม้สักทาสีขัดชันเล็ก มีห้องน้ำห้องส้วมและไฟฟ้า เป็นกุฏิทันสมัย ราคาก่อสร้างประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ บาทเศษ (แปดแสนบาทเศษ)

๕. ก่อนมรณภาพสัก ๔-๖ เดือน ได้สร้างกุฏิอีกหลังหนึ่งสูง ๓ ชั้น เป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็กเช่นเดียวกัน มีเครื่องประกอบพร้อม ราคาก่อสร้าง ๓๒๗,๘๔๓.๓๐ บาท (สามแสนสองหมื่นเจ็ดพันแปดร้อยสี่สิบสามบาทสามสิบสตางค์)

สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ไม่มีงบประมาณ กุฏิบางหลังไม่มีแปลน ค่าก่อสร้างทวีขึ้นแล้วแต่ช่างจะเสนอ แต่เมื่อเสร็จแล้วก็ได้ของประณีตไว้สำหรับวัด หลวงพ่อก็ไม่ว่าไร สร้างกุฏิเสร็จแล้วหลวงพ่อสดได้สั่งให้พระรูปอื่นอยู่ต่อไป ตัวท่านเองหาได้อยู่อาศัยไม่ เช่นกุฏิหลังใหม่ให้พระศรีวิสุทธิโมลี และพระครูปลัดณรงค์เข้าอยู่อาศัย ใคร ๆ จะอาราธนาให้ขึ้นกุฏิใหม่ก็ไม่ฟังเสียง ท่านเพิ่งไปอยู่เมื่อก่อนมรณภาพสัก ๓-๔ เดือน ที่จำไปนั้นเนื่องด้วยที่อยู่เดิมมีการก่อสร้างกุฏิหลังใหม่ใกล้ชิด ท่านไม่ได้ความสงบ จึงจำยอมมาพักที่กุฏิใหม่และมรณภาพที่กุฏินี้
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 4

ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 4

หน้า 4 จาก 6

เท่าที่ข้าพเจ้าสืบสวนและสังเกตการณ์โดยใกล้ชิดมาเป็นเวลาเกือบปี ได้ข้อเท็จจริงพอแล้วที่จะชี้ขาดว่า ข่าวอกุศลต่าง ๆ นั้นไม่มีมูลเหตุแห่งความจริงเลย ในทางตรงกันข้าม ข้าพเจ้าเชื่อเต็ม ๑๐๐ เปอร์เซนต์ว่า ท่านเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ด้วยประการทั้งปวง และมีภูมิรู้ในทางปริยัติกว้างขวาง เป็นพระธรรมกถึกชั้นเยี่ยม ทั้งเป็นผู้ปฏิบัติอย่างดีเลิศ การปฏิบัติและแนวเทศนาของท่านดำเนินตามหลักในคัมภีร์วิสุทธิมรรคทั้งสิ้น

เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นเป็นเรื่องใหญ่เป็นเรื่องยาก ผู้ไม่ใช่นักปฏิบัติแล้ว ยากที่จะนำมาแสดงให้แจ่มแจ้ง ให้เป็นผลปฏิบัติได้ แต่หลวงพ่อสด วัดปากน้ำแสดงได้แจ้งชัด และชี้ทางปฏิบัติให้โดยตรง จึงสมควรเถิดไว้ในฐานันดรพระธรรมกถึกชั้นเยี่ยม ซึ่งข้าพเจ้าขอกราบแสดงความเคารพอย่างสูงต่อท่านไว้ในที่นี้ด้วย

ที่ข้าพเจ้าเอาเรื่องของวัดมาพูดโดยยืดยาวเช่นนี้ ความมุ่งหมายก็เพื่อบรรเทาบาปให้แก่ผู้แพร่ข่าวอกุศล เพราะการกล่าวเท็จใส่ไคล้ผู้มีศีลเช่นนี้เป็นบาปหนักหนา เพื่อว่าเขารู้ตัวจะยับยั้งกรรมอันชั่วนี้เสียได้ ข้าพเจ้าก็จะพลอยอนุโมทนา แล้วจะมีส่วนได้บุญอันนับเนื่องในปัตตานุโมทนามัยด้วย

ท่านทั้งหลาย การที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ มิได้มาตัวเปล่า ต่างมีบุญและบาปที่ทำไว้ในอดีตติดมาทุกคน ต่างกันแต่มากบ้างน้อยบ้าง ไม่ช้าเราก็ต้องตายดอก อย่ามาแบกเอาบาปเพิ่มไปอีกเลย ลาภสักการะอันหมุนลงได้เป็นราคาเงินนั้น เป็นสมบัตินอกกายตายแล้วเอาไปไม่ได้ดอก มันเป็นของใช้สอยประจำโลก เราตายแล้วก็ตกเป็นของคนอื่น เขาอาศัยใช้ต่อไป ใครจะว่าเป็นของใครไม่ได้ทั้งนั้น โลกมนุษย์เป็นแหล่งกลางสำหรับอาศัยสร้างบุญ สร้างบาป โลกนรก โลกสวรรค์ เป็นเพียงโลกที่คอยรับรองผลบุญ – บาป เท่านั้น เราได้มาเกิดอยู่ในโลกอันเป็นแหล่งกลางเช่นนี้แล้ว นับว่าเราได้มีโอกาสที่จะเพิ่มบุญผ่อนบาปให้เบาลง ให้เบาลงกว่าที่เราแบกมาจากอดีตนั้นเถิด อย่าเติมเข้าไปอีกเลย ไหน ๆ เราก็ต้องตายแน่ อย่ามาหอบเอาบาปเพิ่มไปอีกเลย
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 3

ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 3

หน้า 3 จาก 6

หลวงพ่อสด มีเมตตาปรานีเป็นนิสัย ใครเดือดร้อนมาไม่เคยปฏิเสธ ย่อมให้อุปการะตามสมควร แต่ไม่ชอบคนโกหก ถ้าจับโกหกได้แม้ครั้งเดียวท่านก็ว่าคนนี้เก๊ โกหกกระทั่งเรา ก็เป็นคนหมดดี เช่น คราวหนึ่งมีคนแก่มาเรียนกัมมัฏฐานมีศรัทธากล้า พอได้ผลแห่งการปฏิบัติบ้าง แต่ยังอ่อน กลับบ้านลาลูกเมียมาวัดปากน้ำอีก มีปลาแห้งตัวหนึ่งมาถวายหลวงพ่อ บอกว่ามีเท่านั้นเองเพราะเป็นความยากจน หลวงพ่อหัวเราะชอบใจ พูดว่า ” เออ ! ให้มันได้อย่างนี้ซีน่า นี่แหละเขาเรียกว่าคนรวยแล้ว มีเท่าไรถวายจนหมด เมื่อครั้งพระพุทธเจ้า นางปุณณฑาสี ถวายแป้งจี่ทำด้วยรำแก่พระพุทธเจ้า ต่อมากลายเป็นคนมั่งมี ปลาแห้งของเราตัวหนึ่งราคาสูงกว่ารำมากนัก เป็นกุศลมากแล้วที่นำมาให้” พูดกันไปมา ในที่สุดก็ขอร้องให้หลวงพ่อบวชให้ เพราะไม่มีสมณบริขารจะบวช หลวงพ่อก็ได้จัดการให้ความปรารถนาของเขาเป็นผลสำเร็จอย่างดียิ่ง

เมื่อพระศากยยุติวงศ์ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชสุธี พระสมุห์สด ได้เป็นพระครูสมุห์ตามขึ้นไป ท่านได้ปกครองวัดจนถึง พ.ศ.๒๔๖๔ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร มีพระราชทินนามว่า “พระครูสมณธรรมสมาทาน”

เกียรติคุณขยายตัวกว้างออกไปเพียงไร ข่าวอกุศลก็ขยายเป็นเงาตามตนไป แต่เป็นของอัศจรรย์ที่ผู้นิยมการปฏิบัติก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น ภิกษุสามเณรก็มากขึ้น การใช้จ่ายเรื่องภัตตาหาร ค่าน้ำค่าไฟก็ทวีขึ้นเป็นเงาตามตัว หลวงพ่อสด วัดปากน้ำก็ต้องสละสมณบริขาร สบง จีวร อุปการะแก่ภิกษุสามเณรมากขึ้น แต่ก็ไม่มีใครได้ยินท่านบ่นและท้อใจ ยิ่งมากยิ่งยินดี ท่านพูดว่าเขามาพึ่งพาอาศัย เราไม่ปฏิเสธ อุปการะเท่าที่มี

คำกล่าวร้ายป้ายสีที่เรียกว่า “อกุศล” รัดรึงตรึงตัวมากอยู่ แต่ก็ยังมีผู้มีใจเป็นกลางช่วยเหลือท่าน เช่น คุณพระทิพย์ปริญญา ได้สังเกตการณ์มาโดยลำดับและคุณพระได้เขียนหนังสือเกี่ยวแก่วัดปากน้ำเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นประหนึ่งเปิดภาชนะที่คว่ำให้หงายขึ้น ทำให้คำกล่าวร้ายฝ่ายอกุศลสงบตัวลง สงบอย่างไม่มีอิทธิพลมาประทุษร้ายวัดปากน้ำได้ หนังสือนั้นพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔ ประเทศไทยกำลังอยู่ในสภาพสงคราม ภิกษุสามเณรวัดปากน้ำได้อพยพออกไป เพราะกลัวภัยสงคราม ไปหลบอยู่ตามอัธยาศัย หนังสือนั้นได้นำมาพิมพ์ตามต้นฉบับเดิม และที่นำมาพิมพ์นี้เฉพาะคำนำเท่านั้น มีสำเนาความดังต่อไปนี้ ;-
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติพระคณาจารย์ ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 2

ประวัติพระคณาจารย์ ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ – ประวัติหลวงพ่อสด หน้า 2

หน้า 2 จาก 6

ต่อจากนั้นท่านก็มุ่งธรรมปฏิบัติ เบื้องต้นอ่านตำราก่อน โดยมากใช้วิสุทธิมรรค ท่านศึกษาตามแบบแผนเพื่อจับเอาหลักให้ได้ก่อน ประกอบกับนักศึกษาทางปฏิบัติกับอาจารย์ท่านได้ผ่านอาจารย์มามาก เช่นเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (มุ้ย) อดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ พระครูญาณวิรัต (โป๊) วัดพระเชตุพน พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ จังหวัดธนบุรี พระอาจารย์ปลื้ม วัดเขาใหญ่ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ใครว่าดีที่ไหนท่านพยายามเข้าศึกษา เมื่อมีความรู้พอสมควร ได้ออกจากวัดพระเชตุพนไปจำพรรษาต่างจังหวัดเพื่อเผยแพร่ธรรมวินัยตามอัธยาศัยของท่าน แต่ส่วนมากแนะนำทางปฏิบัติการเทศนาท่านใช้ปฏิภาณ

แหล่งสุดท้ายได้ไปอยู่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี คราวหนึ่ง โดยเห็นว่าวัดนั้นเป็นที่สงัดสงบเหมาะสมแก่ผู้ที่ต้องการความเพียรทางใจ ไกลจากหมู่บ้านเป็นวัดโบราณมีลักษณะกึ่งวัดร้างอยู่แล้ว พระพุทธรูปศิลาองค์ใหญ่น้อยนับจำนวนร้อย ถูกทำร้ายเพราะอันธพาลบ้าง เพราะความเก่าคร่ำคร่าบ้าง พระเศียรหัก แขนหัก ดูเกลื่อนกล่นไปหมด ท่านเกิดความสังเวชในใจ ใช้วิชาพระกรรมฐานแนะนำประชาชน แนะนำผู้มีศรัทธาให้ช่วยปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปเหล่านั้น พรรณนาอานิสงส์แห่งการเสียสละ พระพุทธรูปได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นบ้าง แต่เพราะมิใช่น้อยจึงต้องใช้เวลานาน การซ่อมนั้นยังไม่ทันสมความมุ่งหมาย ประชาชนได้เข้าปฏิบัติธรรมกันมาก

สมัยนั้น การปกครองประเทศจัดเป็นมณฑล เจ้าเมืองสุพรรณบุรีและสมุหเทศาภิบาลเกรงว่าเป็นการมั่วสุมประชาชน วันหนึ่ง สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครชัยศรี ได้พบกับสมเด็จพระวันรัต (ติสฺสทตฺตเถร) วัดพระเชตุพน เวลานั้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะภาษีเจริญ ได้ปรารภถึงหลวงพ่อวัดปากน้ำ ไปทำพระกรรมฐานที่นั่นจะเป็นการไม่เหมาะสมแก่ฐานะ ขอให้ทางคณะสงฆ์พิจารณาเรียกกลับ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ จึงจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมาด้วยความเคารพในการปกครอง แล้วมาอยู่วัดสองพี่น้อง จังหวัดเดียวกัน
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ อ.ภาษีเจริญ จ.ธนบุรี หน้าที่ 1

ประวัติหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ อ.ภาษีเจริญ จ.ธนบุรี หน้าที่ 1

พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริ)

สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร

บทความเบื้องต้น

เมื่อการบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานสัตตมวาร และปัญญาสมวารล่วงแล้ว มีท่านที่เคารพนับถือมาขอร้องให้พิมพ์ประวัติของเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี แจกจ่ายแก่ท่านที่เคารพนับถือและศิษยานุศิษย์เพื่อเป็นอนุสรณ์ต่อไป และบางท่านก็ปรารถนาจะร่วมการกุศลในการพิมพ์นั้นด้วย

เมื่อความต้องการของส่วนมากเป็นเช่นนั้น เห็นว่าจำต้องรวบรวมความเป็นไปตั้งแต่ต้นจนอวสาน จดเหตุการณ์อันเป็นจริงเท่าที่รู้และได้เห็น และต้องวางตนเป็นกลางไม่ให้มีคำยกย่องจนผิดความจริง แม้ความจริงนั้น ๆ ถ้าเขียนไว้อาจเป็นเหตุกระทบกระเทือนแก่ผู้อื่นก็จำต้องงด

ผู้เขียนประวัตินี้ ได้อยู่รับใช้เจ้าคุณพระมงคลเทพมุนีมาตั้งแต่ครั้งเป็นเด็กวัด เป็นสามเณร และเป็นพระภิกษุ ติดต่อกันมาตลอดกาล แม้ต่างคนอยู่แล้ว ก็ยังติดต่อและทราบเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด โดยมากทราบจากถ้อยคำที่ เจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี เล่าให้ฟัง ท่านจะทำกิจการใด ๆ เกี่ยวแก่ส่วนรวม ท่านชอบออกความเห็นให้ฟังเป็นเรื่องของอนาคต เมื่อฟังแล้วบางเรื่องก็หนักใจแทน แต่ครั้นแล้วเหตุการณ์ก็ย่อมเป็นไปตามที่ท่านได้ปรารภไว้เป็นอันรับรองว่าท่านมิได้ฝันเพื่อสร้างวิมานในอากาศ

เจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี ผู้มีความสำคัญในประวัตินี้ ศิษยานุศิษย์ท่านที่เคารพนับถือเรียกว่า “หลวงพ่อวัดปากน้ำ” ในที่ลับหลัง ถ้าต่อหน้าก็ชอบใช้คำแทนชื่อท่านว่า “หลวงพ่อ” ไม่มีใครใช้คำว่า เจ้าคุณ หรือ พระเดชพระคุณ มากนัก เป็นทั้งนี้ก็น่าจะเรียกกันมาจนชินปาก ถ้าใครออกชื่อว่า เจ้าคุณพระมงคลเทพมุนีแล้ว แทบจะไม่มีใครรู้จัก เพราะชื่อนั้นท่านได้รับพระราชทาน เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ นับว่าเป็นเวลาอันสั้น จึงไม่ขึ้นปากขึ้นใจของท่านที่เคารพนับถือ ได้หันเข้าหาความสะดวกออกนามท่านว่า หลวงพ่อ ในที่ต่อหน้า เรียกนอกวัดในที่ลับหลังว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำ เพื่อความสะดวกแก่ผู้อ่าน ต่อไปจะออกนามเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนีว่า “หลวงพ่อวัดปากน้ำ” จนจบประวัติ

ประวัติก่อนบวช

เจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (สด) ท่านเกิดวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๒๗ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖ ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านตำบลนี้อยู่ฝั่งใต้ ตรงกันข้ามกับวัดสองพี่น้อง เป็นบุตรนายเงิน นางสุดใจ มีแก้วน้อย สกุลของท่านทำการค้าขาย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา ๕ คน คือ:-)

๑. นางตา เจริญเรือง

๒. เจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (สด มีแก้วน้อย)

๓. นายใส มีแก้วน้อย

๔. นายผูก มีแก้วน้อย

๕. นายสำรวย มีแก้วน้อย

ญาติพี่น้องของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำแทบทุกคนนั้น คนสุดท้องตายก่อนแล้วเลื่อนมาตามลำดับชั้น คนโตหัวปีตายทีหลังแทบทุกคน เช่นพี่น้องหลวงพ่อวัดปากน้ำคนที่ ๕ ตายก่อนแล้วถึงคนที่ ๔ คนที่ ๓ แล้วตัวหลวงพ่อสด อันดับที่ ๓ นั้นเพิ่งตายก่อนหลวงพ่อสดไม่ถึงเดือน คล้ายกับว่าจะรักษาระเบียบแห่งการตายไว้ มัจจุราชไม่ยอมให้ลักลั่นเป็นการผิดระเบียบ จนบัดนี้เหลือแต่คนที่ ๑
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

ประวัติพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

ในพรรษาที่ ๑๑ หลวงปู่วัดปากน้ำได้ไปจำพรรษาณวัดโบสถ์บนต.บางคูเวียงอ.บางกรวย จ.นนทบุรี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ท่านได้มีความคิดที่จะกระทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ตั้งแต่เช้าตรู่ เมื่อตั้งใจแล้วก็หลับตาภาวนา “สัมมา อะระหัง”เรื่อยไป ในที่สุดใจก็ค่อยๆ สงบลงทีละน้อยแล้วรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เห็นเป็นดวงใสบริสุทธิ์ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ติดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ใจชุ่มชื่นเบิกบานอย่างบอกไม่ถูก เมื่อมองเรื่อยไปก็เห็นดวงใหม่ผุดซ้อนขึ้นมาแทนที่ดวงเก่า แต่ใสสว่างมากยิ่งขึ้น จนในที่สุดก็เห็นกายต่างๆ ตามลำดับจนกระทั่งถึง ธรรมกาย

พระมงคลเทพมุนี หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งสูญหายไปเมื่อประมาณ พ.ศ. ๕๐๐ กลับคืนมาอีกครั้ง

ประวัติพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
ด้วยการสละชีวิตปฏิบัติธรรมถึง ๒ คราวจนเข้าถึงพระธรรมกาย และได้ศึกษาวิชชาธรรมกายจนเกิดความเชี่ยวชาญ แล้วได้มุ่งมั่น เผยแผ่พระพุทธศาสนาและวิชชาธรรมกาย จนตลอดชีวิตของท่านหลวงปู่วัดปากน้ำเป็นตัวอย่างของพระภิกษุผู้สมบูรณ์พร้อมทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาของพระภิกษุสามเณร เป็นพระนักปฏิบัติธรรม และเป็นพระนักพัฒนา พระมงคลเทพมุนี หลวงปู่วัดปากน้ำ คือ จอมทัพธรรม ผู้นำในการสร้างบารมีเพื่อไปสู่ที่สุดแห่งธรรมโดยท่านตั้งความปรารถนาจะค้นคว้าวิชชาธรรมกายไปให้ถึงที่สุด ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายหลุดพ้นจากการเป็นบ่าว เป็นทาสของพญามาร เอาชนะให้ได้เด็ดขาด

๑. ประวัติก่อนบวช

ชาติกำเนิดและชีวิตวัยเยาว์

พระมงคลเทพมุนี ท่านมีนามเดิมว่า สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันศุกร์ ที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ ตรงกับวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก ณ หมู่บ้านเหนือ ฝั่งตรงข้ามวัดสองพี่น้อง ต.สองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เป็นบุตรของ นายเงิน มีแก้วน้อย และนางสุดใจ มีแก้วน้อย ท่านเรียนหนังสือกับพระน้าชายที่วัดสองพี่น้อง ต่อจากนั้นได้มาศึกษาต่อที่วัดบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม ได้ศึกษาหนังสือขอมจนสามารถอ่านหนังสือพระมาลัย ซึ่งเป็นภาษาขอมทั้งเล่มจนคล่อง หลังจากนั้นจึงได้ช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าข้าว

ในวัยเด็กท่านเป็นเด็กฉลาด ใจคอเด็ดเดี่ยวมั่นคง เมื่อตั้งใจทำสิ่งใดเป็นต้องพยายามทำจนสำเร็จ เมื่อไม่สำเร็จเป็นไม่ยอมเด็ดขาด เช่น ท่านเคยช่วยทางบ้านเลี้ยงวัว เมื่อวัวพลัดเข้าไปในฝูงวัวบ้านอื่น ท่านจะต้องไปตามวัวกลับมาให้ได้ ไม่ว่าวัวจะไปอยู่ที่ไหนดึกดื่นอย่างไรก็ตาม เมื่อไม่ได้วัวมาก็ไม่ยอมกลับนอกจากนั้นท่านยังประกอบไปด้วยเมตตาจิตในสัตว์ เช่น ถ้าใช้วัวไถนาก็จะคอยสังเกตดูดวงตะวันว่าใกล้เพลหรือยัง เพราะท่านถือคติโบราณว่า “เพลคาบ่าวัว”ถือว่าบาปมาก ท่านจะเลิกตรงเวลาจนโยมพี่สาวนึกว่าท่านขี้เกียจ เมื่อถูกดุท่านก็ไม่ยอมทำตามเพราะเห็นว่าวัวเหนื่อยมากแล้วก็จะนำไปอาบน้ำจนเย็นสบายและปล่อยให้ไปกินหญ้าอย่างเป็นอิสระ
อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ โปรดขอทานชรา

หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ โปรดขอทานชรา

ในสมัยที่ หลวงพ่อสด จนทฺสโร หรือ พระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มีชื่อเสียงและกิตติคุณไพศาลยิ่ง ด้วย เป็นผู้ค้นพบวิชาพระธรรมกาย และได้เผยแผ่วิชานี้ จนมีพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา พากันมาขอเรียนวิชาธรรมกายปราบมารนี้จนแน่นขนัดบริเวณวัดทุกเมื่อเชื่อวัน อีกทั้งมีศิษย์ที่เป็นโยมอุปฐากวัด ทั้งที่เป็นข้าราชการระดับสูง ทั้งขุนทหาร ตำรวจ และข้าราชการศาลยุติธรรม เจ้าสัว มหาเศรษฐี ตลอดจนผู้มีหน้า มีตาในวงสังคมชั้นสูงอีกจำนวนมาก มากราบฝากตัวเป็นศิษย์
วัดปากน้ำ ณ เวลานั้น จึงคราคร่ำ แน่นเนืองไปด้วยผู้คน ราวกับวัดมีงานรื่นเริงอยู่ตลอดเวลา

วันหนึ่ง เมื่อหลวงพ่อวัดปากน้ำ ฉันเพลเสร็จ และบอกกรรมฐานให้กับผู้ต้องการขึ้นวิชาธรรมกายปราบมาร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่ท่านรับแขก คือสงเคราะห์ญาติโยม เมื่อหลวงพ่อท่านนั่งอยู่
ณ ที่ใด ที่นั้นย่อมเต็มไปด้วยผู้คน ทั้งที่เป็นโยมวัด โยมอุปฐาก แขกผู้มาเยือน ตลอดจนชาวบ้าน พากันเบียดเสียดเพื่อรอชมบารมีท่านไม่ห่างตา

ที่เชิงบันไดขึ้นศาลาใหญ่ ที่หลวงพ่ดวัดปากน้ำนั่งรับแขกอยู่นั้น มีชายชราผู้หนึ่งเนื้อตัวสกปรกมอมแมม ผมเผ้ารุงรัง ใส่หมวกผ้าใบเก่า เสื้อผ้าล้วนแล้วแต่ นุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าขาด ๆ ปะปุรอบตัวปากแดงด้วยเลอะคราบหมาก ลักษณะท่าทาง เสื้อผ้า เหมือนขอทานไม่มีผิดเพี้ยน กำลังแหวกคน ขอทางเพื่อขึ้นไปกราบหลวงพ่อวัดปากน้ำ เมื่อชายขอทานเดินผ่านหน้าใคร หญิงชาย คนชรา รวมทั้งเด็กเล็ก เด็กโต ต่างพากันรีบหลีกเป็นช่องให้ เพราะรังเกียจ และกลัวความสกปรก จะมาพาลติดตัว แต่แปลก ที่ชายชราขอทานผู้นี้ กลับไม่มีกลิ่นตัว เหม็นสาป เหม็นสางเลยแม้แต่น้อย
อ่านเพิ่มเติม

พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)

พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) (จนฺทสโร หมายถึง ผู้นำแสงสว่างมาสู่โลก ประดุจพระจันทร์ส่องสว่างยามราตรี) เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามตามสัญญาบัตรประกอบพัดยศสมณศักดิ์ว่า พระมงคลเทพมุนี ศรีรัตนปฏิบัติ สมาธิวัตรสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาส ี หรือ หลวงพ่อวัดปากน้ำ เดิมชื่อ สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่สองของนายเงินและนางสุดใจ มีแก้วน้อย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน ท่านนับเป็นองค์ปฐมบรมครูแห่งวิชชาธรรมกายในยุคปัจจุบัน

ชีวิตในช่วงต้น

เริ่มเรียนหนังสือกับพระภิกษุผู้เป็นน้าชาย ณ วัดสองพี่น้อง แล้วมาอยู่ ณ วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ในความปกครองของพระอาจารย์ทรัพย์ ปรากฏว่าเป็นผู้สามารถเรียน-อ่านภาษาขอมได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้กลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย ด้วยความวิริยะอุตสาหะเพื่อสร้างฐานะให้มั่นคง
อ่านเพิ่มเติม

ไหว้เกจิดัง “หลวงพ่อสด” ณ “วัดปากน้ำภาษีเจริญ” เสริมมงคลชีวิต

ไหว้เกจิดัง “หลวงพ่อสด” ณ “วัดปากน้ำภาษีเจริญ” เสริมมงคลชีวิต

เดือนกุมภาพันธ์นี้ หลายๆ คนก็ถือว่าเป็นเดือนแห่งความรัก โดยเฉพาะชาวพุทธอย่างเราๆ ที่นอกจากจะมีวันวาเลนไทน์เป็นวันแห่งความรักสากลแล้ว ก็ยังมี “วันมาฆบูชา” ที่ต้องถือว่าเป็นวันแห่งความรักอันบริสุทธิ์และสูงส่งตามพุทธศาสนา ซึ่งในปีนี้ ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ นั่นเอง

วันสำคัญแบบนี้ ฉันก็ต้องหาเวลาไปเข้าวัดทำบุญเสียหน่อย เพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิตของตัวเอง และก็ประจวบเหมาะกับการที่มีเพื่อนสนิทมาชักชวนไปไหว้พระเกจิชื่อดัง ณ วัดปากน้ำภาษีเจริญ แบบนี้ก็ต้องไม่พลาดอยู่แล้ว

ถ้าพูดถึง “วัดปากน้ำภาษีเจริญ” ก็ต้องนึกถึง “หลวงพ่อสด” หรือ “หลวงพ่อวัดปากน้ำ” พระเกจิชื่อดังที่มีพุทธศาสนิกชนเลื่อมใสมากมาย ดังนั้น เมื่อเข้ามาถึงวัด ฉันจึงตรงเข้ามาที่ด้านใน เพื่อสักการะรูปหล่อเหมือนของหลวงพ่อสด บริเวณหน้าสำนักงานประชาสัมพันธ์ของวัด มาจุดธูปเทียนบูชา และสามารถปิดทองที่รูปหล่อได้ โดยรูปหล่อนี้หล่อขึ้นจากโลหะ และนำมาประดิษฐานไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 ในแต่ละวันก็จะมีผู้คนหลากหลายเข้ามากราบไหว้บูชากัน อย่างวันที่ฉันไปถึงก็เห็นนักเรียนนักศึกษาหลายคนกำลังปิดทองอยู่

จากบริเวณรูปหล่อเหมือนของหลวงพ่อสด ฉันก็เดินตรงเข้าไปที่ด้านในสุดซึ่งอยู่ติดกับคลอง มีทางเดินเล่นเลียบคลองที่ร่มรื่น สามารถยืนให้อาหารปลาได้ บางทีก็มานั่งดูทิวทัศน์ริมคลองที่สงบร่มเย็น มีเรือแล่นผ่านไปมา และยังมี “สวนกาญจนาภิเษก” ที่เต็มไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ให้ร่มเงา นั่งพักผ่อนหย่อนใจได้

เดินกลับมาตามทางเดิม แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ “หอสังเวชนีย์มงคลเทพนิรมิต” หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “หอหลวงพ่อ” อันเป็นสถานที่ประดิษฐานสังขารของหลวงพ่อสด เป็นตึกทรงไทยสองชั้นที่เปิดให้คนเข้ามาเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมถวายหลวงพ่อเป็นประจำทุกวัน และทุกวันพฤหัสบดี เวลาประมาณ 14.00 น. จะมีการเจริญสมาธิภาวนาที่บริเวณชั้นสอง ซึ่งวันที่ฉันไปนั้นก็ตรงกับวันพฤหัสบดีพอดิบพอดี ก็เลยได้นั่งสมาธิเจริญภาวนาพร้อมๆ กับพุทธศาสนิกคนอีกหลายคน ได้รับความสงบ และความสบายใจกลับบ้านมาด้วย
อ่านเพิ่มเติม

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

พระมงคลเทพมุนี
(สด จนฺทสโร)

เกิด 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427
อุปสมบท กรกฎาคม พ.ศ. 2449
มรณภาพ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
พรรษา 52
อายุ 74
วัด วัดปากน้ำภาษีเจริญ
จังหวัด ธนบุรี
สังกัด มหานิกาย
ตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นพระภิกษุชาวไทยในพุทธศาสนานิกายเถรวาทฝ่ายมหานิกาย ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามตามสัญญาบัตรประกอบพัดยศสมณศักดิ์ว่า พระมงคลเทพมุนี ศรีรัตนปฏิบัติ สมาธิวัตรสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี ในบรรดาหมู่ผู้ศรัทธานับถือมักเรียกท่านด้วยชื่อ “หลวงพ่อวัดปากน้ำ” เนื่องจากท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันคือ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร) ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะพระวิปัสสนาจารย์ผู้เป็นต้นกำเนิดของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนววิชชาธรรมกาย ซึ่งนับเป็นวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย
อ่านเพิ่มเติม

พระรูปเหมือน พระอาจารย์ฝั้น รุ่นแรก ตอก K

พระรูปเหมือน พระอาจารย์ฝั้น รุ่นแรก ตอก K

พระรูปเหมือน พระอาจารย์ฝั้น รุ่นแรก เป็นพระหล่อลอยองค์ สร้างโดยวิธีฉีดหล่อ ทำให้รายละเอียดในพิมพ์สวยงามคมชัด และมีรูปทรงแน่นอนตายตัว พระรูปเหมือนรุ่นแรกช่างออกแบบพิมพ์ได้เหมือนจริง เป็นรูปอาจารย์ฝั้นนั่งสมาธิบนฐานที่มีลวดลายคล้ายก้อนหิน จึงเรียกอีกชื่อว่า รูปเหมือนฐานภูเขา

พระรุ่นนี้จัดสร้างโดยคุณอุทัยและคุณสงวนจากจังหวัดอุดรธานี โดยผู้สร้างได้ถวายอาจารย์ฝั้นแจกบูชา มีเนื้อโลหะบ้านเชียง 99 องค์ เนื้อนวโลหะ 500 องค์ เนื้อทองแดง 500 องค์ (ตามประวัติว่า มีเนื้อทองคำด้วย จำนวนเพียง 10 องค์) เนื้อทองแดงมีองค์จมูกบี้จำนวน 300 องค์ผู้สร้างได้ถวายพระอาจารย์ฝั้นเพื่อแจก

พระรูปเหมือนรุ่นนี้สร้างด้วยวิธีการฉีด รายละเอียดจึงคมชัดสวยงาม ใต้ฐานตอกโค้ดตัว K บางองค์ตอก 2 ตัว บางองค์ตอกตัวเดียว และมีการตอกตัวเลขกำกับ แต่บางองค์ก็ไม่ตอกตัวเลข

สำหรับจุดสังเกตแยกเก๊-แท้ นอกจากดูความคมชัดของรายละเอียดในพิมพ์แล้ว(พระหล่อฉีดต้องคมชัด) ขนาดสัดส่วนต้องไม่ผิดเพี้ยน และยังมีตัว K เป็นเหมือนโค้ดสำคัญ

ให้สังเกตว่า ตัว K จะมีติ่งแหลมเหมือนเป็นเงี่ยงขยักลงมาจากกลางตัว K

พระเนื้อโลหะบ้านเชียง ปัจจุบันราคาหลักแสน เนื้อนวะและทองแดงหลักหมื่นกลางถึงหมื่นปลาย

http://www.thaipra.com/article_detail.php?a_id=17&a_cate=0

คติธรรมหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

คติธรรมหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

…ผู้ปฏิบัติศาสนา…อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย…
…ท่านจะไปหามื้อหาวันทำงานทำการต้องการวันดี…
…ไม่ใช่วันนั้นไม่ดีวันนี้ไม่ดี…วันไม่ได้ทำอะไรแก่คน…
…วันดีทำไมคนจึงตาย…วันไม่ดีทำไมคนจึงเกิด…

…ให้พากันเข้าวัดนะ…วัดดูจิตใจของเรา…
…ต้องวัดเสมอ…นั่งก็วัด…นอนก็วัด…เดินยืนก็วัด…
…วัดเพราะเหตุใด…ให้มันรู้ไว้ว่าจิตเรามันดีหรือไม่ดี…
…ไม่ดีจะได้แก้ไข…ต้องวัดทุกวัน…
…ตัดเสื้อผ้าก็ยังต้องวัดไม่ใช่เรอะ…
…ไม่วัดจะใช้ได้อะไรล่ะ…

…ศาสนาอยู่ตรงนี้ ไม่ได้อยู่ที่อื่น…
…มันอยู่ที่กายที่ใจของเรา…
…เมื่อเราปฏิบัติอยู่ ศาสนามันก็เจริญ…

http://variety.teenee.com/saladharm/23744.html

อาจาโรวาท หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

อาจาโรวาท หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

อาจาโรวาท
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

๑. บุญบาปสิ่งใดๆ ใจถึงก่อน ใจเป็นรากฐาน ใจเป็นประธาน มันสำเร็จที่ดวงใจ

๒. ตัวบุญคือใจสบาย เย็นอกเย็นใจ ตัวบาปคือใจไม่สบาย ใจเดือดใจร้อน

๓. ความเจ็บไข้ได้พยาธิอาพาธโรคา เป็นของธรรมดาสำหรับสัตว์โลก

๔. เราไม่อยากเป็นกรรมเป็นเวร เราก็ต้องตัด ตัดอารมณ์น่ะล่ะ ให้อยู่ในที่รู้ ให้กำหนดดูความรู้ อยู่ตรงใหนแล้วเราก็เพ่งอยู่ตรงนั้น

๕. ปัญญาคือ ความรอบรู้ในกองสังขาร

๖. กรรมทั้งหลายไม่ได้มาจากอื่นไกล มาจากกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของเราเท่านี้

๗. พุทธะคือผู้รู้ มันมีอยู่ยังงั้น มันดับไม่เป็น สูญไม่เป็น

๘. จิตของเรามันไม่หยุด ให้มันนิ่งมันก็ไม่นิ่ง เที่ยวก่อภพน้อยๆ ใหญ่ๆ อยู่ตลอดเวลา ภะวา ภะเว สัมภวันติ
อ่านเพิ่มเติม

วาทะคำสอนหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

วาทะคำสอนหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

1. บุญและบาปสิ่งใดๆ ใจถึงก่อนใจเป็นรากฐาน
ใจเป็นประธาน มันสำเร็จที่ใจ

2. ตัวบุญคือใจสบาย เย็นอกเย็นใจ ตัวบาปคือใจไม่สบาย ใจเดือดใจร้อน

3. เราไม่อยากเป็นกรรมเป็นเวร เราต้องตัด ตัดอารมณ์น่ะหละ
ให้อยู่ในที่รู้ อยู่ตรงไหน แล้วเราก็เพ่งอยู่ตรงนั้น

4.ปัญญาคือ ความรอบรู้ในกองทุกข์สังขาร

5. ถ้าคนเราไม่ได้ทำ ไม่ได้หัดไม่ได้ขัด ไม่ได้เกลา
ที่ไหนเล่า จะมีพระอรหันต์ในโลก

6. ให้สติกำหนดที่ผู้รู้ อย่าส่งไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา
ข้างบน ข้างล่าง อดีต อนาคต กำหนดอยู่ที่ผู้รู้แห่งเดียวเท่านั้นแหละ

7. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ที่ใจ ในใจ

8. จำไว้พุทโธ ธัมโม สังโฆ ทำอะไรๆ ก็พุทโธ
กลัวก็พุทโธ ใจไม่ดีก็พุทโธ ขี้เกียจก็พุทโธ
ท่านให้พิจารณามูลกรรมฐานก่อนม๊ด เวลาบวชพิจารณาเพราะเหตุใด
เพื่อไม่ให้หลงถือทิฐิมานะอหังการ ถือว่าเป็นตัวเป็นตน
เป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นเรา เป็นเขา มันจึงหลง อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

ทางพ้นทุกข์

การสำเร็จมรรคสำเร็จผล ไม่ได้สำเร็จที่อื่นที่ไกล สำเร็จที่ดวงใจของเรา

ธรรมะ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าท่านวางไว้ถึงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ท่านก็ไม่ได้วางไว้ที่อื่น วางที่กาย ที่ใจของเรานี้เอง นี่เรียกว่าเป็นที่ตั้งแห่งธรรมวินัย

ความที่พ้นทุกข์ ก็จะพ้นจากที่ไหนเล่า คือใจเราไม่ทุกข์ แปลว่าพ้นทุกข์ เพราะฉะนั้น ได้ยินแล้วให้พากันน้อมเข้าภายใน

ธรรมะ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า รวมไว้ในจิตดวงเดียว เอกํ จิตฺตํ ให้จิตเป็นของเดิม จิตฺตํ ความเป็นอยู่ ถ้าเราน้อมเข้าถึงจิตแล้ว ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ถ้าเราไม่รวมแล้ว มันก็ไม่สำเร็จ ทำการทำงานทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องรวมถึงจะสร็จ ถ้าไม่รวมเมื่อไรก็ไม่สำเร็จ

เอกํ ธมฺมํ มีธรรมดวงเดียว เวลานี้เราทั้งหลายขยายออกไปแล้วก็กว้างขวางพิสดารมากมาย ถ้าวิตถารนัยก็พรรณนาไปถึงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ รวมเข้ามาแล้ว สังเขปนัยแล้ว มีธรรมอันเดียว เอกํ ธมฺมํ เป็นธรรมอันเดียว เอกํ จิตฺตํ มีจิตดวงเดียว นี่เป็นของเดิมให้พากันให้พึงรู้พึงเข้าใจต่อไป

นี่แหละต่อไปพากันให้รวมเข้ามาได้ ถ้าเราไม่รวมนี่ไม่ได้ เมื่อใดจิตเราไม่รวมได้เมื่อใด มันก็ไม่สำเร็จ

นี่แหละให้พากันพิจารณาอันนี้ จึงได้เห็นเป็นธรรม เมื่อเอาหนังออกแล้วก็เอาเนื้อออกดู เอาเนื้อออกดูแล้ว ก็เอากระดูกออกดู เอาทั้งหมดออกดู ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ตับไตออกมาดู มันเป็นยังไง มันเป็นคนหรือเป็นยังไง ทำไมเราต้องไปหลง เออนี่แหละพิจารณาให้มันเห็นอย่างนี้แหละ มันจะละสักกายทิฐิแน่ มันจะละวิจิกิจฉา ความสงสัย จะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ มันเลยไม่มี สีลพัตฯ ความลูบคลำ มันก็ไม่ลูบคลำ อ้อจริงอย่างนี้ เมื่อเห็นเป็นเช่นนี้แล้ว จิตมันก็ว่าง อ่านเพิ่มเติม

อัตตชีวประวัติ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

อัตตชีวประวัติ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

มาดามเฟ:
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระเกจิชื่อดังแห่ง วัดป่าอุดมสมพร เชิงเขาภูพาน ในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นพระสายลูกศิษย์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นพระเกจิอีกรูปที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ประชาชนทั่วประเทศต่างให้ความศรัทธาเลื่อมใสไปทั่วสารทิศ บรรดาศิษยานุศิษย์และผู้คนชาวพุทธที่ต่างรู้จักกันดี ด้วยท่านมีบารมีอันแก่กล้า เป็นที่พึ่งทางใจของทุกคน เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ พระอาจารย์ฝั้นท่านได้แสดงธรรมอันเป็นประโยชน์แก่ชาวบ้าน เพื่อจะได้นำไปประพฤติปฏิบัติ และอบรมสั่งสอนลูกหลานให้ตั้งมั่นอยู่ในศีล รักษาธรรมสืบต่อไป

ท่านเป็นพระสมถะไม่ถือตัว เป็นกันเองกับทุกคน จึงเป็นที่รู้จักและเคารพสักการะของศรัทธาประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งท่านเป็นผู้ถึงแล้วด้วยคุณธรรมชั้นสูง สละประโยชน์สุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมมาโดยตลอด ไม่ยินดียินร้ายในลาภ ยศ สรรเสริญ นับเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่หาได้ยาก เพราะด้วยการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน จึงได้รับผลที่แน่นอนนั่นเอง

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร นั้น ท่านเป็นพระสมถะสงบเสี่ยมเจียมตัวอยู่โดยตลอด ใครมีความเดือดเนื้อร้อนใจ มีอุปสรรคปัญหาในชีวิต ถ้ามีโอกาสสนทนาธรรมกับท่านแล้วจะเกิดความสบายใจ บันดาลผลให้เกิดความสุขใจอย่างคาดไม่ถึง นอกจากจะให้ธรรมะแล้วพระอาจารย์ฝั้นท่านก็ได้ปลุกเสกเหรียญพระสำหรับให้ประชาชนได้เช่าบูชาไปก็หลายรุ่น ซึ่งมีอยู่รุ่นหนึ่งที่ตัวผมเองได้เช่าไว้ห้อยบูชาตลอดเรื่อยมา เป็น เหรียญรุ่น 63 เนื้อทองแดง ชุบเงิน สร้างเมื่อปี 2518 เป็นเหรียญรูปยืนเห็นทั้งองค์ ในมือด้านซ้ายนั้นถือไม้เท้าด้วย ผมหาเช่ามาบูชา 2 องค์ ให้ภรรยาไว้ห้อยคอด้วยเช่นกัน เพื่อความอุ่นใจและความเป็นสิริมงคล ผมเกิดความเชื่อมั่นและศรัทธาอย่างแรงกล้า ว่าเหรียญของท่านสามารถปกป้องเภทภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวง ให้แคล้วคลาดจากภยันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งผมเองนั้นก็ไม่ค่อยจะพบเห็นหรือประสบภัยต่าง ๆ ที่ร้ายแรงมาก่อนเลยในชีวิต โดยเฉพาะเรื่องของอุบัติเหตุ อ่านเพิ่มเติม

พระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์ฝั้น

พระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์ฝั้น

ประมวลเหตุการณ์และภาพ
งานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

จากหนังสือ ภาพ ชีวประวัติและปฏิปทาของ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ฝูงชนที่มาร่วมงานนับจำนวนหมื่น

วันนั้น…. ๒๑ มกราคม ๒๕๒๑ บริเวณวัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งกว้างขวางเป็นจำนวนหลายสิบไร่ กลับดูคับแคบลงไปอย่างไม่น่าเชื่อ

การจราจรของยวดยานที่ผ่านเข้าออกในบริเวณวัดติดขัด แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะวางแผนรับสถานการณ์ไว้แล้วเป็นอย่างดี ก็ยังต้องแก้ไขอุปสรรคเฉพาะหน้า กันอย่างชุลมุน

สำหรับคลื่นมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยประชาชนทุกเพศทุกวัยหลายเชื้อชาติหลายศาสนาซึ่งหลั่งไหลเข้าสู้บริเวณวัดนับเป็นจำนวนแสน ๆ นั้นเล่า ต่างก็เบียดเสียดเยียดยัดยิ่งกว่าจำนวนผู้คนในงานมหกรรมใหญ่ ๆ

แม้บรรยากาศ จะเต็มไปด้วยความอึดอัด จนกระทั่งหลายคนเป็นลม และหน่วยพยาบาลจากโรงพยาบาลจังหวัดสกลนครต้องออกแจกจ่ายยาดมอยู่ตลอดเวลา แต่อุปสรรคเหล่านั้น มิได้บั่นทอนศรัทธาของคลื่นมนุษย์เหล่านั้นลงได้เลย

เพราะว่าวันนั้น…๒๑ มกราคม ๒๕๒๑ เป็นวันกำหนดการงานพระราชทานเพลิงศพ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ปูชนียภิกษุรูปเดียว ที่บารมีธรรมของท่านสามารถครองใจผู้คนทุกทิศานุทิศ

แต่ละคนที่หลั่งไหลเข้าสู่บริเวณงานจนมีลักษณะเป็นคลื่นมนุษย์ในวันงานนั้น ต่างก็มุ่งมั่นในปณิธานเดียวกัน ในอันที่จะแสดงความอาลัยขอให้ได้มีโอกาสร่วมบำเพ็ญกุศล และส่งวิญญาณของท่านสู่สรวงสวรรค์ด้วยดอกไม้จันทน์สักดอกหนึ่งเป็นอย่างน้อย

กำหนดการงานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นวันที่ ๒๑ ม.ค.ก็จริง แต่คณะกรรมการงานพระราชทานเพลิงศพทั้งฝ่ายสงฆ์และผ่ายฆราวาส คาดการณ์ล่วงหน้าไว้ไม่ผิดเลยว่า บรรยากาศจะต้องเริ่มคึกคักมาก่อนหน้านั้นเป็นเวลาหลายวันแน่ๆ เพราะพุทธบริษัทและพระภิกษุสามเณรจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จะต้องทยอยมาร่วมงานในลักษณะละลอกแล้วระลอกเล่า ปัญหาเกี่ยวกับการพักแรมและข้าวปลาอาหาร จึงเป็นปัญหาใหญ่ ที่จะต้องต้อนรับหรือรับมือไว้ให้อยู่ ให้สมควรแก่ศรัทธาของผู้รอนแรมมาจากสารทิศต่าง ๆ ในที่สุดคณะกรรมการจัดงานก็มีมติให้สร้างที่พักและโรงทานขึ้นล่วงหน้าอย่างเร่งรีบ

ที่พักชั่วคราวของพระภิกษุที่มาร่วมงาน

ที่พักประกอบด้วยที่พักสงฆ์และฆราวาส ซึ่งจัดแยกไปต่างหากไม่ให้ปะปนกัน และเนื่องจากไม่อาจจัดให้อยู่อาศัยในกุฏิสงฆ์ซึ่งมีจำนวนจำกัดได้ คณะกรรมการจึงจัดสร้างที่พักชั่วคราวโดยมีหลังคาคุ้มแดดฝนให้ ส่วนพื้นดินก็จัดทำ “ฟาก” สำหรับรองนั่งนอนไว้ให้เสร็จ ที่พักดังกล่าวได้ปลูกสร้างขึ้นในบริเวณด้านหลังของตัววัด แต่ละหลังทั้งกว้างและทั้งยาว ซ้ำยังแบ่งออกเป็นห้องใหญ่ๆ สำหรับพุทธบริษัทแต่ละจังหวัดที่เข้ามาพักแรมอีกด้วย สำหรับน้ำใช้นั้น หน่วยราชการและเอกชนหลายรายได้นำถังน้ำมาตั้งไว้ให้หลายสิบแห่ง โดยเติมน้ำให้เต็มถังอยู่ทุกวันจนกระทั่งถึงวันงาน

ส่วนโรงทานซึ่งจำเป็นสำหรับผู้พักแรมและผู้ไปร่วมงานโดยทั่วไป ก็ได้ปลูกสร้างเป็นเรือนโรงหลังคาจาก ขึ้นทางหลังวัดสองแถว และทางด้านหน้าอีกหนึ่งแถว แต่ละแถวกันไว้เป็นช่วงๆ. สำหรับให้คณะบุคคลหรือเอกชนผู้มีจิตศรัทธา ไปประกอบอาหารเพื่อแจกจ่ายเป็นทาน อันนับเป็นการร่วมกุศลอุทิศถวายแด่พระอาจารย์ฝั้น อาจาโรผู้ละสังขารขันธ์ไปแล้วอีกทางหนึ่ง

ในที่สุดเหตุการณ์ก็เป็นไปดังคาดหมายตั้งแต่วันที่ ๑๕ ม.ค. มีพุทธบริษัทและพระภิกษุสามเณรจากจังหวัดไกลๆ ทยอยกันเข้าไปพักแรมและยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นทุกวัน จนถึงวันที่ ๑๘ ม.ค. จำนวนพระภิกษุสามเณรเพิ่มขึ้นเป็น ๖๐๐ กว่ารูป พุทธบริษัทเพิ่มจำนวนขึ้นนับเป็นจำนวนพัน เมื่อคืนวันที่ ๒๐ ม.ค. ก่อนวันงานพระราชทานเพลิงศพหนึ่งวัน พระภิกษุสามเณรเพิ่มจำนวนขึ้นไปเป็น ๑,๔๐๐ รูป พุทธบริษัทจากจังหวัดต่างๆ หลั่งไหลเข้าพักแรมนับเป็นจำนวนหมื่น ๆ โดยเฉพาะในวันงานจำนวนพระภิกษุสามเณรเฉพาะที่ลงบัญชีทวีจำนวนขึ้นเป็นกว่า ๒,๐๐๐ รูป ส่วนพุทธบริษัทนั้นมากมายจนสุดคณานับ
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติมูลนิธิพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ประวัติมูลนิธิพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

การขออนุญาติจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
มูลนิธิพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้จัดตั้งและจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลถูกต้องเรียบร้อยตามเลขทะเบียนที่ 1294 ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2523 สำนักงานของมูลนิธิตั้งอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 97 ตอนที่ 43 วันที่ 18 มีนาคม 2523

ทุนทรัพย์
ทุนทรัพย์เริ่มแรกจำนวน 1,300,000 บาท (หนึ่งล้านสามแสนบาทถ้วน) ได้โอนเข้าเป็นทรัพย์สินของมูลนิธิ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2523 ทุนทรัพย์ดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดจากการบริจาคเพื่อรับ “ หนังสือภาพชีวประวัติและปฏิปทาของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ” อีกส่วนหนึ่งเกิดจากการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธา

ดอกผลของเงินทุน
ดอกผลของเงินทุนจะนำมาใช้ในการบำเพ็ญกุศลสาธารณประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิดังนี้

เพื่อสงเคราะห์ ภิกษุและสามเณรอาพาธ และคนไข้อนาถา ที่รับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
เพื่อสงเคราะห์นักเรียนที่ขาดแคลน และปราถนาจะได้ศึกษาเล่าเรียน และมีความประพฤติดี
บำเพ็ญศาสนกุศลตามที่คณะกรรมการจะเห็นสมควร
เพื่อร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .