ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมเด็จพุฒาจารย์ อดีตชาติเดิมเป็นอำมาตย์เอกเมือง เวียงคำ แห่งลานนาไทย ชื่ออำมาตย์เอกวรฤทย์ เมื่อถึงอนิจกรรมแล้ว ไปอยู่เมืองสวรรค์ชั้น 16 เมืองสาคราชนครเป็นอำมาตย์เอกเมืองสาคราชนคร มีพระเจ้าเอกราช ซึ่งอดีตชาติเคยเป็นเจ้าเมืองเวียงคำ แห่งลานนาไทยเดิม เป็น เทพกษัตริย์ปกครองเมืองนี้
สมเด็จพุฒาจารย์ กลับมาเกิดเมืองมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2333 ณ บ้านวาสุกรี อ.ศรีสาคร จ.ธนบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ชื่อว่า “โต” บิดาชื่อนายกัน มารดาชื่อนางตั้ง มีบุตร 4 คน ชาย 2 คน หญิง 2 คน คือ 1.นายต้อง 2.นายโต 3.นางแป้ว 4.นางหัส บิดารมารดาถึงแก่กรรมแล้วไปอยู่เมืองสวรรค์ชั้นที่ 4 เมืองซากังราว เป็นข้าราชบริพารในพระราชวังของพระเจ้ากรุงศรี และพระนางสุริยา ชื่อว่า เทพบุตรนัดดา และเทพธิดายุพิน บุตร 3 คน ไปอยู่เมืองสรรค์ 3 คน ส่วนบุตรคนที่ 2 คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์บารมีได้สรรค์ชั้นวิมาน หรือชั้นที่ 17 แต่ยังไม่ไปอยู่เมืองสรรค์ ยังดูแลเมืองมนุษย์ประเทศไทยให้อยู่เย็นเป็นสุข
สมเด็จพระพุฒาจารย์บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา วันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2344 ณ วัดอินทรวิหาร พระวิริยเถระ (อยู่) เจ้าอาวาสวัดบางลำภูบน (วัดสังเวชอิศยาราม) เป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาแล้วไปอยู่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) 5 ปี แล้วไปอยู่วัดบวรนิเวศน์ 15 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 1 สมเด็จพระพุฒาจารย์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันพฤหัส ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง วันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2352 ณ วัดบวรนิเวศน์ พระพุทธโกศาจารย์ วัดบวรนิเวศน์เป็นพระอุปัชฌาย์ ไม่ได้เป็นนาคหลวง เพราะเป็นสามเณร อุปสมบทแล้วอยู่วัดนี้ 15 ปี แล้วไปอยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ 15 ปี อยู่วัดนี้ศึกษาพระธรรมได้สำเร็จแล้วไปอยู่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 15 ปี ต่อมาไปอยู่วัดสุทัศน์ 2 ปี ออกธุดงค์ 2 ปี ต่อมาก็ไปอยู่วัดระฆัง เมื่อ พ.ศ.2392 อายุได้ 60 ปี อยู่วัดนี้จนมรณภาพ

ท่านขรัวจันทร์ วัดระฆังแก้ว จ.พิษณุโลก เป็นพระอริยบรรลุธรรมขั้น 3 อานาคามี เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้สอนวิชาพิเศษให้สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) จนได้บรรลุธรรมขั้น 2 สกิทาคามี สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้เป็นพระราชาคณะ ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ที่พระธรรมกิตติ เมื่อวันพฤหัส ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีกุน ตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2394 ในสมัยรัชกาลที่ 4 และเป็นพระราชาคณะที่ พระเทพกวี วัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อวันพฤหัส ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง ตรงกับ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2399 ในสมัยรัชกาลที่ 4 และต่อมาทรงโปรดเกล้าเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อวันพฤหัส ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีมะแม วันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2402 สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระสังฆราชองค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2407 พระชนม์ได้ 75 พรรษา สมเด็จพุฒาจารย์ ขอพระบรม ราชานุญาติเป็นกิตติมศักดิ์เนื่องชรา เท้าไม่ค่อยดีไปสวดฉันท์ และเทศน์ไม่สะดวก และทรงได้รับพระบรมราชานุญาต จึงมอบให้หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ทำหน้าที่แทน แต่สมเด็จพระพุฒาจารย์ทรงเป็นผู้คัดเลือกพระไปสวด ฉันท์ และเทศน์ในวังทุกวันพระ ต่อมาสมเด็จพุฒาจารย์ มอบหน้าที่เจ้าอาวาสให้หม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ วันเสาร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2411 พระชนม์ได้ 78 ปี 57 พรรษา สมเด็จพระพุฒาจารย์ เท้าเคล็ด หกล้ม กระดูกสันหลังหัก มรณภาพทันที ที่วัดระฆังโฆสิตาราม สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพรหมรังสี) ได้บรรลุธรรมขั้น 2 สกิทาคามี

อนุสรณ์สถานวัตถุ

สมเด็จพุฒาจารย์ มิได้สร้างอนุสรณ์สถานวัตถุใดๆ ให้เข้ากับคำว่า “ใหญ่ๆ” โตตามชื่อเดิมที่เข้าใจกัน งานประติมากรรมที่รู้จักกันดี 6 อย่างนั้น คณะพุทธบริษัทเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง และทรงนิมนต์สมเด็จพระพุฒาจารย์ มาเป็นประธานในพิธีปลุกเสก และจัดทำเท่านั้น มีดังต่อไปนี้

1. พระพุทธไสยาสน์วัดสะตือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปนอนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก่ออิฐถือปูนพระพุทธรูปทองคำ ขนาดเท่าแขนอยู่ที่พระอุระ อักษะพระโมคลาน จากประเทศอินเดีย อยู่ปลายเท้า ได้ทำพิธีปลุกเสกถูกต้อง ตามตำนาน สมเด็จพระพุฒาจารย์มิได้เกิดที่นี่

2. พระพุทธรูปนั่งที่วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ก่ออิฐถือปูน บรรจุพระพุทธรูปทองคำเนื้อดี หน้าตักกว้าง 6 นิ้ว สูง 7 นิ้ว ที่ตรงหน้าตัก เข้าพิธีปลุกเสกถูกต้องตามตำนาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4

3. พระพุทธรูปยืนที่วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปยืนที่สูงที่สุดในโลก ปางทรงบาตร ก่ออิฐ ถือปูน พระพุทธรูปทองคำดำยืนสูง 9 นิ้ว บรรจุอยู่ที่พระอุระ ปลุกเสกถูกต้องตามตำนาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ.2410
พ.ศ.2410 คณะพุทธบริษัทไปขออนุญาต สมเด็จพุฒาจารย์สร้างพระพุทธรูปยืนองค์นี้ สมเด็จพุฒาจารย์อนุญาตให้จัดสร้างได้ แต่มิได้ไปดูเลย เนื่องจากเท้าเคล็ด เดินไปมาไม่สะดวก และมรณภาพในปี 2411 พระพุทธรูปยืนองค์นี้จึงสร้างยังไม่เสร็จ

4. เจดีย์นอนวัดละคอนทำ ตำบลช่างหล่อ จังหวัดธนบุรี จำนวน 2 องค์ หันฐานเข้าหากัน สร้างเป็นเจดีย์พระรัตนาตรัย บรรจุพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ภายใน
4.1 พระพุทธรูปขนาดนิ้วชี้ 1,000องค์ บรรจุอยู่ในพระเจดีย์องค์แรก
4.2 หัวใจธรรม 84,000 ธรรมขันธ์ จารย์ลงในใบลานบรรจุอยู่ในหอพระไตร ซึ่งอยู่ตรงกลาง
4.3 พระสงฆ์รูปลอยองค์ ขนาดนิ้วชี้ เนื้อทองคำผสม 1,000 องค์ บรรจุอยู่ในพระเจดีย์ องค์ที่ 2 พระสงฆ์ที่นำมาบรรจุมีดังนี้ พระอรหันต์ พระสังฆราชทั้ง 5 องค์ รวมสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ด้วยพระเจดีย์นอนวัดละคอนทำ ชำรุดทรุดโทรมมาก ปัจจุบันรื้ออกหมดแล้ว ของทั้งหมดที่อยู่ในพระเจดีย์ และหอไตรนำไปไว้ที่วัดสุทัศน์สูญหายไปหมดคงไม่เหลือแล้ว

5. พระพุทธรูปนั่ง วัดพิตเพียน (วัดกุฎีทอง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปนั่ง ปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูน บรรจุพระพุทธรูปทองคำเนื้อดีที่พระอุระ เข้าพิธีปลุกเสกถูกต้องตามตำนาน

6. พระพุทธรูปยืน วัดกลาง ตำบลคลอ
ข่อย จังหวัดราชบุรี เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร ก่ออิฐ ถือปูน บรรจุบาตร บอกน้ำ ช้อน ของพระพุทธเจ้า เอามาจากประเทศอินเดีย เข้าพิธีปลุกเสกถูกต้องตามตำนาน

พระธรรมกถึกนักเทศน์
สมเด็จพุฒาจารย์ บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอินทรวิหาร แล้วไปอยู่วัดพระศรีรัตนศาดาราม (วัดพระแก้ว) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนิมนต์พระที่วัดพระแก้วไปสวดฉันท์ภัตตาหาร และเทศนาทุกวันพระ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (พระแก้ว) จะจัดพระไปทุกวันพระ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ บรรพชาเป็นสามเณรได้ 2 ปี เจ้าอาวาสพาติดตามไปสวดฉันท์ เทศนาในวังเป็นลูกศิษย์ และประเคนของ รับยถาและเทศนารับช่วง เป็นตอนๆ ทำนองเทศน์ 2 องค์ เป็นที่พอพระทัยของ
พระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง อยู่มา 2 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 1 ให้เรือกันยา 1 ลำ หลังคากระแซง ให้ทางวัดใช้บิณฑบาต สามเณรมีหน้าที่บิณฑบาต นำอาหารถวายพระภิกษุในวัดอยู่วัดพระแก้ว 5 ปี จึงไปอยู่วัดบวรนิเวศน์ 15 ปี ไปอยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ 15 ปี ไปอยู่วัดสุทัศน์ 2 ปี แล้วไปอยู่วัดระฆัง เมื่อไม่อยู่วัดพระแก้ว จึงไม่ได้ติดตามเจ้าอาวาส สวด ฉันท์ ในวัง เพราะในรัชกาลที่ 1, 2 และ ที่ 3 พระวัดพระแก้วเท่านั้นที่ไปเทศนาในวังได้ เจ้าอาวาสจึงพาสามเณรบรรพชาใหม่ไปเป็นลูกศิษย์ และเทศนาเหมือนครั้งก่อนๆ แต่ไม่ได้รับ ทรงโปรดจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เหมือนสามเณรสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าให้สมเด็จพระพุฒาจารย์เป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิตติ และทรงให้พระราชาคณะ ผลัดเปลี่ยนกันไปเทศนาในวังทุกวันพระ ถึงเวรสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดมาก จึงนิมนต์ซ้ำและทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น “พระเทพกวี” และต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ และทรงโปรดให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ ไปเทศน์ในวังทุกวันพระมิได้ผลักเปลี่ยนกัน

การทำพระสมเด็จแบบพิมพ์

สมเด็จพระพุฒาจารย์ มาอยู่วัดระฆัง พ.ศ.2392 ได้เริ่มทดลองทำพระสมเด็จอยู่ 1 ปี เห็นว่า เนื้อดี แข็งแกร่ง ทนทาน เหนียวแน่น ไม่แตก ไม่ร้าว ได้ผลดี

พ.ศ. 2393 จัดทำพระสมเด็จแบบพิมพ์ รุ่น 1,2,3 ปีนี้ทำ 3 รุ่น
พ.ศ. 2394 จัดทำพระสมเด็จแบบพิมพ์ รุ่น 4,5,6 ปีนี้จัดทำ 3 รุ่น
พ.ศ. 2395 จัดทำพระสมเด็จแบบพิมพ์ รุ่น 7,8,9 ทำ 3 รุ่น
พ.ศ. 2396 จัดทำพระสมเด็จแบบพิมพ์ รุ่น 10,11 ทำ 2 รุ่น
พ.ศ. 2397 จัดทำพระสมเด็จแบบพิมพ์ รุ่น 12,13,14 ทำ 3 รุ่น
พ.ศ. 2398 จัดทำพระสมเด็จแบบพิมพ์ รุ่น 15 ทำ 1 รุ่น

หลังจากนี้พระสมเด็จพิมพ์วัดระฆังหยุดไปไม่ได้ทำเลย ได้ทำรูปพระพุทธเจ้า รูปพระอรหันต์ รูปพระสังฆราชขนาดเท่านิ้วชี้ เนื้อทองคำผสมเพียงครั้งเดียว เพื่อนำไปบรรจุในพระเจดีย์นอน สาเหตุที่ต้องหยุดทำ เนื่องจากสมเด็จพุฒาจารย์ มีภาระหน้าที่ทางศาสนา ต้องตรวจตราดูแลทั่วประเทศ
พระสมเด็จแบบพิมพ์รุ่น 10 ทรงเครื่องของสมเด็จพระพุฒาจารย์ ไม่มีพระยางูมีแต่พระประจำวัน
พระสมเด็จแบบพิมพ์รุ่น 6 ทะลุซุ้ม ความหมายคือ ทำอะไรสำเร็จหมดทุกอย่างทำแจกพิเศษเรียกรุ่นพระเกศพระบาทสมเด็จแบบพิมพ์รุ่น 13นักกษัตริย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ทรงมอบให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จำนวน 60องค์ เพื่อให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นรัชทายาทได้รับพระสมเด็จแบบพิมพ์รุ่นนี้ด้วย

ขอบคุณภาพจาก http://amuletsforrent.blogspot.com

ประวัติพระสมเด็จวัดระฆัง
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตารามกรุงเทพมหานคร วัดนี้มีระฆังเป็นสัญญลักษณ์ คนทั่วไปจึงเรียกว่าวัดระฆังสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นผู้สร้างพระสมเด็จที่วัดระฆังองค์พระสมเด็จที่สร้างเป็นฐานนั่งสามชั้น ทุกองค์ทุกรุ่น สร้างเพื่อแจกพระภิกษุและพุทธบริษัทในโอกาสต่างๆ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ไปร่วมสร้าง พระสมเด็จที่สำนักอื่น ๆ เหมือนกัน แต่ไปเป็นเพียงประธานในการสร้างเท่านั้น ไม่ได้นำมาไว้ที่วัดระฆัง สร้างที่ใดก็ไว้ที่นั่น รูปแบบในการสร้างต่างกัน ส่วนผสมคล้ายกัน ขาดบางอย่างเท่านั้นไม่มาก มีอิทธิฤทธิ์ และบารมีเหมือนกัน

พระสมเด็จวัดระฆังมีเนื้อผสมดังนี้
1. ว่าน 108
2. ทอง
3. นาค
4. เงิน
5. กาไหล่ทอง
6. กาไหล่เงิน
7. เพชรหน้าทั่ง หรือผงเหล็กที่ช่างตีเหล็กตีเศษเป็นผงละเอียด

ของทุกชิ้นที่นำมาทำองค์พระสมเด็จ ลงยันต์คาถาหมดทุกชิ้น ใช้ปูนขาวผสมให้เป็นหิน บดละเอียด ผสมน้ำพุทธมนต์ของวัดระฆัง กวนเป็นตังเมอัดเข้ากรอบเป็นองค์พระสมเด็จ หรือเรียกว่าเบ้า แต่ละรุ่นองค์พระสมเด็จจะไม่เท่ากัน เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง สีก็ต่างกัน เนื่องจากแบบและส่วนผสมต่างกัน บางรุ่นที่ขาดไปบ้างคือว่านจะไม่ครบ 108 เนื่องจากหายากแต่ขาดไปไม่มากไม่กี่อย่าง มีอิทธิฤทธิ์บารมีเหมือนกันทุกองค์ ทุกรุ่น แบบหรือเบ้าที่ทำทุกองค์ทุกรุ่นทำเสร็จทำลายหมด แบบจึงไม่มียกเว้นรุ่น 15 รุ่นสุดท้าย แบบยังมีไม่ทำลายเนื่องจากหยุดทำ ใครจะทำต่อก็ให้เอาแบบนี้ไปทำได้ แบบรุ่นนี้ตอนนี้ยังมีอยู่ ใต้หอพระเครื่อง แต่เอายากการปลุกเสกองค์พระสมเด็จเสกด้วยมหามนต์ใช้พระเกจิอาจารย์ 108 รูป เสก 7 วัน 7 คืน เสกครั้งละไม่น้อยกว่า 7 รูป บางครั้งมาเสกถึง 50 รูป แต่ละรูปต้องเสกครบ 7 วัน 7 คืน
บารมีพระสมเด็จ คงกระพันชาตรี ฟันแทงไม่เข้า ยิงไม่ออกไม่เข้า ทำมาหากินเจริญรุ่งเรือง เมตตามหานิยม บุคคลรักใคร่เอ็นดูญาติมิตรรักห่วง ศัตรูเกรงกลัว ผีสางนางไม้ไม่กล้าเข้ามาพระสมเด็จวัดระฆัง สร้างทั้งหมด 15 รุ่น แต่ละรุ่นมีรูปแบบคล้าย ๆ กัน มีอิทธิฤทธิ์และบารมีเหมือนกัน สร้างเพื่อแจกในโอกาสต่าง ๆ ทุกรุ่นที่สร้างจะไปเก็บไว้ที่ฐานระฆัง เพื่อให้พระสมเด็จดังเหมือนเสียงระฆัง ตีระฆังครั้งใด พระสมเด็จจะดังขึ้นๆ พระสมเด็จวัดระฆัง ที่หอระฆังมี 200 องค์ ในหมู่ชนหรือชุมชนทั่ว ๆ ไปไม่มี มีอยู่บ้าง ผู้ศรัทธาและมีเงินทองจะแลกไว้หมดและไม่นำมาออกอีกต่อไปเท่าไรก็กล้าแลก เนื่องจากการมีพระสมเด็จไว้จะทำให้ร่ำรวยขึ้นๆ

พระสมเด็จวัดระฆัง ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์สร้างมีทั้งหมด 15 รุ่น สรุปได้ดังนี้

รุ่นที่ 1 ชื่อว่ารุ่นเปิดโลก เป็นรุ่นแรกสร้างขึ้นเพื่อแจกพุทธบริษัทและพระภิกษุที่ไปมาหาสู่และทำบุญที่วัด เป็นการเปิดหูเปิดตาให้พุทธศาสนิกชนรู้จักคุณค่าของพระเครื่อง
ลักษณะของรุ่นนี้ ทรงสูงมากกว่ากว้าง เห็นชัด เท้าข้างหน้ายาว คอสั้นพระเกศเฉียดซุ้ม
สร้าง 655 องค์ แจกพุทธบริษัท 595 เหลืออยู่ 60 องค์ อยู่ที่เสด็จพ่อ

รุ่นที่ 2 ชื่อว่ารุ่นตั้งใจ รุ่นนี้สร้างเพื่อแจกพุทธบริษัท ตั้งใจว่าจะให้พระเครื่องรุ่นนี้ พุทธบริษัทเก็บไว้เป็นศิริมงคล ป้องกันภัยและเข้าใจในคุณค่าของพระเครื่อง ลักษณะ คล้ายรุ่น 1 แต่เตี้ยกว่า เท้าสั้นกว่า พระเกศเฉียดซุ้มสร้าง 775 องค์ แจกพุทธบริษัท 725 องค์ เหลืออยู่50 องค์ อยู่ที่เสด็จพ่อ

รุ่น 3 ชื่อว่ารุ่นไตรภาคี สร้างเพื่อแจกพุทธบริษัทเพื่อให้พุทธบริษัท ยึดมั่นอยู่ในพระรัตนตรัย การเลื่อมใสศรัทธาคุณพระศรีรัตนตรัย จะทำให้เจริญรุ่งเรืองชีวิตมั่นคง ปลอดภัยลักษณะ สร้างเล็กลง ได้สัดส่วน คอยาวกว่ารุ่น 1-2พระเกศชนซุ้มสร้าง 875 องค์ แจกพุทธบริษัท 810 องค์ เหลือ 65องค์ อยู่ที่เสด็จพ่อ

รุ่น 4 รุ่นทำวัตร1 ในช่วงเข้าพรรษา บรรดาศิษยานุศิษย์นำของไปถวายบูชาครูบาอาจารย์ แสดงความกตัญญู กตเวทีจึงสร้างพระสมเด็จรุ่นนี้แจกพระภิกษุที่มาสักการบูชาครูอาจารย์ ลักษณะ กะทัดรัด สวยงาม คอสั้นกว่ารุ่น 3 นิดเดียวมีตราที่หน้าตัก พระเกศถึงซุ้ม สร้าง 890 องค์ แจกพระภิกษุที่มาและพุทธบริษัท290 องค์ เหลือ 600 องค์ อยู่ที่เสด็จพ่อ

รุ่น 5 รุ่นพระธรรม 1 สร้างเพื่อแจกพุทธบริษัท ในโอกาสทั่ว ๆ ไป เพื่อให้พุทธบริษัทยึดมั่นในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ลักษณะ กะทัดรัด สีสวย คอเป็นเส้น พระเกศเป็นเส้นชนซุ้ม เข่ากลม ฐานล่างซ้อน คอและพระเกศเป็นเส้นหมายถึงความตั้งมั่นเป็นหนึ่งสร้าง 600 องค์ แจกพุทธบริษัท 570 องค์ เหลือ 30องค์ อยู่ที่เสด็จพ่อ

รุ่น 6 รุ่นพระเกศ สร้างพิเศษ แจกในโอกาสทั่วๆ ไป ลักษณะ เหมือนกับรุ่นอื่น ๆ ที่พิเศษออกไปคือเข่าโค้ง พระเกศชนซุ้ม ทะลุออกไปข้างนอก สร้าง 670 องค์ แจกพุทธบริษัท 610 องค์ เหลือ 60องค์ อยู่ที่เสด็จพ่อ

รุ่น 7 รุ่นสารถี สมเด็จพระพุฒาจารย์ เสด็จออกเผยแพร่ศาสนา ต่างจังหวัด สร้างขึ้นเพื่อแจกพุทธบริษัท ที่ต่างจังหวัดที่ไปเผยแพร่ศาสนา และตรวจตราศาสนจักร ลักษณะ คล้ายพิมพ์อื่น ๆ พิมพ์ใหญ่ สีขาวสวย สร้าง 799 องค์ แจกพุทธบริษัท 699 องค์ เหลือ 100องค์ อยู่ที่เสด็จพ่อ

รุ่น 8 รุ่นอรรถผล สร้างขึ้นเพื่อแจกพุทธบริษัทในวันมาฆบูชา ลักษณะ พิมพ์เล็ก มีครีบหน้า ครีบข้าง หน้าอกยาวใหญ่ มือเป็นวง เท้าโค้ง สร้าง 450 องค์ แจกพุทธบริษัท 442 องค์ เหลือ 8 องค์ อยู่ที่เสด็จพ่อ

รุ่น 9 รุ่นทำวัตร 2 ตอนนี้เกิดสงครามภายนอก ภายใน คนทั่วไป ต้องการพระสมเด็จไว้ป้องกันภัย จึงสร้างรุ่นนี้ขึ้นเพื่อแจกพุทธบริษัท และบุคคลทั่วไป ขณะที่เหตุการณ์บ้านเมืองไม่ค่อยดี ลักษณะ ฐานซ้อนบนเข่าตรง ปากใหญ่เห็นชัดสร้าง 990 องค์ แจกพุทธบริษัทและบุคคลทั่วไป 988 องค์ เหลือ 2 องค์ อยู่ที่เสด็จพ่อ

รุ่น 10 รุ่นทรงเครื่อง พุทธบริษัทและบุคคลทั่วไปนิยมการค้าขาย จึงสร้างพระสมเด็จรุ่นนี้ขึ้น
ลักษณะ แบบเหมือนพระสมเด็จทุกอย่าง แต่ภายในบรรจุเพชรนิลจินดา เพชรนิลจินดาหมายถึงแสงสว่างที่ส่องให้การค้าเจริญรุ่งเรือง มีความมั่นคง ร่ำรวยสร้าง 990 องค์ แจกหมดไม่เหลือ ที่เสด็จพ่อไม่มี คงมีที่ฐานหอระฆัง 15 องค์

รุ่น 11 รุ่นพระธรรม 2 สร้างขึ้นเพื่อแจกในวันวิสาขบูชา ลักษณะ ฐานซ้อน เข่าโค้ง คอเส้นเดียวยาวพอ ๆ กับรุ่น พระธรรม 1 พระเกศแหลม เส้นเดียว ชนทะลุซุ้ม
สร้าง 690 องค์ แจกพุทธบริษัท 490 องค์ เหลือ 200 องค์ อยู่ที่เสด็จพ่อ

รุ่น 12 รุ่นพระธรรม 3 สมเด็จพระพุฒาจารย์ ดำเนินการจัดการสังคายนายศาสนา จึ่งจัดสร้างพระสมเด็จรุ่นนี้ขึ้นแจกในวันทำสังคายนายศาสนาลักษณะ แบบคล้ายกับสมเด็จ รุ่นอื่น ๆ พระเกศล้านแหลมนิด ๆ เข่าโค้ง สร้าง 895 องค์ แจกพระภิกษุ และพุทธบริษัท 495องค์ เหลือ 400 องค์ อยู่ที่เสด็จพ่อ

รุ่น 13 รุ่นนักกษัตริย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ทรงสร้างรุ่นนี้เพื่อประทานแด่พระมหากษัตริย์และวงศานุวงศ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับพระสมเด็จรุ่นนี้ด้วย ลักษณะ เป็นแบบพิเศษ พระเกศโน้มมาหน้า หน้าตา รูปทรงสวยงาม สร้าง 660 องค์ ทรงประทานให้ไป 602 องค์ คงเหลือ 58 องค์ อยู่ที่เสด็จพ่อ

รุ่น 14 รุ่นมัชฌิม สมเด็จพระพุฒาจารย์ ทรงเห็นว่าพระสมเด็จรุ่นอื่น ๆ มีมากแล้ว ทรงคิดว่าจะหยุดทำลักษณะ ทำแบบรวม ๆ เอาแบบรุ่นต่าง ๆ มาผนึกรวมกัน พระเกศเอียงออกข้าง รูปทรงสวยงาม คล้ายรุ่นอื่นๆ สร้าง 250 องค์ แจกในงานวัด หรือวันธรรมดา 200 องค์ เหลือ 50 องค์ อยู่ที่เสด็จพ่อ

รุ่น 15 รุ่น ตบะ สร้างแจกพุทธบริษัทที่มาฝึกนั่งสมาธิ และเป็นการสร้างรุ่นสุดท้าย เฉพาะรุ่นนี้แบบหรือเบ้าไม่ทำลาย เก็บไว้ ผู้ใดต้องการ สร้างพระสมเด็จ เอาแบบหรือเบ้านี้ไปทำได้ลักษณะ นั่งสมาธิสวยงามมีตบะ ขายาว คอ 2 เส้น พระเกศแหลม ชนซุ้ม สร้าง 675 องค์ แจกพุทธบริษัท 673 องค์ เหลือ 2 องค์ อยู่ที่เสด็จพ่อ

ขอขอบคุณ : http://kormai.blogspot.com/2013/04/blog-post.html

. . . . . . .