พระราชประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต

พระราชประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต

พระชนมายุ ๕ พรรษา ทรงบรรพชา เป็นสามเณร

สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรมรังสี ทรงประสูติเมื่อตอนเช้า เวลา ๐๗.๐๐ น. ตรง ของวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๓๑ ณ ตำบลไก่จ้น อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) พระราชมารดาทรงพระนามว่า เกสรคำ เมื่อพระชนมายุ ๕ พรรษา ได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดระฆังโฆสิตารามมหาวรวิหาร จังหวัดธนบุรี ทรงประพฤติอยู่ในเพศพรหมจรรย์โดยตลอด จนพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา จึงได้ทรงอุปสมบท ณ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานครนั่นเอง และทรงอยู่ในสมณเพศตลอดจนสิ้นพระชนมายุ ใน เวลาเช้าตรู่ ของวันอาทิตย์ เวลา ๐๖.๐๐ น. ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๑๕ สิริพระชนมายุนับรวมได้ ๘๔ ปี กับ ๒ เดือนเศษ ทรงเป็นพระสงฆ์ ๕ แผ่นดิน ในยุคต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ องค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีชวด พุทธศักราช ๒๔๐๗
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มีประวัติเป็นที่ประทับใจประชาชนคนไทยอย่างไรเห็นจะไม่ต้องพูดกัน เพราะหลายท่านทราบกันดีอยู่แล้วในกิตติศัพท์อันเลื่องลือของ “สมเด็จโต” โดยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) ได้เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามเมื่อ พ.ศ. 2395 และวัดระฆังเป็นวัดที่อยู่ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ชาวบางกอ น้อยจึงถือท่านเป็นเสมือนเพชรประดับในเรือนใจของชาวบางกอกน้อย

วันที่ 15 ตุลาคม 2538 เป็นวันที่เขตบางกอกน้อยมีอายุครบ 80 ปี ผู้เขียนจึงขอเชิญประวัติและอภินิหารของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) ตามที่ได้มีตำนานเล่าขานกันมา มาเรียบเรียงไว้ในหนังสือ “80 ปี เขตบางกอกน้อย” โดยหวังให้เป็นมูลสำหรับอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้สืบไป

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี)

บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทร พระ บรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ อ่านเพิ่มเติม

พระคาถาชินบัญชร

พระคาถาชินบัญชร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก

บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม
ส่วนหนึ่งของ

ศาสนาพุทธ

พระคาถาชินบัญชร (วิธีใช้·ข้อมูล) (อ่านว่า ชินะ-) เป็นบทสวดมนต์บทหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมสวดมากที่สุด สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น และเป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช ต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมัยรัชกาลที่ 4) บทสวดชินบัญชรนี้ยังพบในประเทศพม่าและศรีลังกาอีกด้วย
การหัดสวดคาถาชินบัญชรควรจะเริ่มสวดในวันพฤหัสบดีข้างขึ้น (ยิ่งขึ้นมากยิ่งดี) ให้เตรียมดอกไม้ 3 สี หรือดอกบัว 9 ดอก และดอกมะลิร่วง (เด็ดก้านดอก) 1 กำ ธูปหอมอย่างดี 9 ดอก เทียน (เล่มหนัก1บาท ถ้าไม่มีใช้2บาท แต่ควรใช้1บาทเพื่อเป็นสิริมงคล) จำนวน 9 เล่ม จากนั้นให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยการตั้งนะโม 3 จบ ต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จากนั้นตั้งจิตนึกถึงสมเด็จโต อ่านเพิ่มเติม

พระสมเด็จวัดระฆัง

พระสมเด็จวัดระฆัง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก

พระสมเด็จวัดระฆัง
พระสมเด็จวัดระฆัง คือพระเครื่องรางรูปสมมติพระพุทธเจ้า สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร สูงประมาณ 4 เซนติเมตร สีขาว ส่วนประกอบสำคัญในการสร้าง ปูนเปลือกหอย ข้าวก้นบาตร ผงวิเศษ 5 ชนิดและน้ำมันตังอิ๊ว
พุทธลักษณะพิมพ์ทรง[แก้]

พระสมเด็จวัดระฆัง มีหลายพิมพ์ด้วยกัน แต่ที่นิยมได้แก่ พิมพ์พระประธาน พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์เจดีย์ พิมพ์ฐานแซม และพิมพ์ปรกโพธิ์
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พระประธาน หรือ พิมพ์ใหญ่เป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาพิมพ์พระทั้ง 5 แม่พิมพ์ อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระพุฒาจารย์
(โต พฺรหฺมรํสี)
สมเด็จโต, หลวงปู่โต, สมเด็จวัดระฆัง

เกิด 17 เมษายน พ.ศ. 2331
มรณภาพ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415
อายุ 84
บรรพชา พ.ศ. 2343
อุปสมบท พ.ศ. 2351
พรรษา 64
วัด วัดระฆังโฆสิตาราม
ท้องที่ ธนบุรี
สังกัด มหานิกาย
ตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์ เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก “สมเด็จโต” “หลวงปู่โต” หรือ “สมเด็จวัดระฆัง” เป็นพระสงฆ์มหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน[1] และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล “พระสมเด็จ” ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย[2] และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท[3] ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติม

มังสวิรัติ ในทัศนะท่านพุทธทาสภิกขุ

มังสวิรัติ ในทัศนะท่านพุทธทาสภิกขุ

คอลัมน์ ธรรมะใต้ธรรมาสน์

ไต้ ตามทาง

ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนั้น มังสวิรัติดูจะเป็นวัฒนธรรมที่ยอมรับปฏิบัติกันสำหรับนักบวชทั่วไป ดังที่มีสำนวนกล่าวกันว่า “ถือศีลกินเจ” อันหมายถึงการถือบวชนั่นเอง แต่ในฝ่ายเถรวาท เช่น ลังกา พม่า และไทยนั้นต่างออกไป ความเห็นเรื่องมังสวิรัติแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายที่เห็นด้วยและชักชวนสนับสนุนให้ผู้คนถือปฏิบัติขัดเกลา บางสำนักถึงกับเน้นชัดเจนว่า หากไม่ถือปฏิบัติข้อนี้ก็ชื่อว่าล่วงศีลปาณาติบาต และไม่อาจเป็นอริยบุคคลได้ก็มี ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเล่า ก็มีปฏิกิริยาอย่างรุนแรงถึงกับประณามอีกฝ่ายว่าเป็นศิษย์เทวทัต เป็นต้นก็มีปัญหาเรื่องนี้มีการถกเถียงกันมาทุกยุคสมัย อาจกล่าวได้ว่า แทบจะไม่มีผู้รู้ทางพุทธศาสนาท่านใด ไม่ว่าในทางปฏิบัติหรือปริยัติก็ตาม ที่ไม่ถูกถามหรือขอร้องให้แสดงความเห็นต่อเรื่องนี้
อ่านเพิ่มเติม

คู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์ โดย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

คู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์ โดย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

อ่านหนังสือ “คู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์” โดย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จบแล้ว จึงขอบันทึกบางประโยคจากหนังสือเล่มนี้ ประเด็นที่ตนเองสนใจ เก็บไว้กันลืมค่ะ
พุทธศาสนา คือวิชาหรือระเบียบปฏิบัติ ที่ให้รู้ว่า “อะไรเป็นอะไร“
“ศาสนา” มีความหมายกว้างและลึกกว่า “ศีลธรรม” … มีศีลธรรมดีแล้ว ปัญหาคือ ยังไม่พ้นทุกข์
พุทธศาสนา มุ่งหมายที่จะกำจัดกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ ให้สิ้นเชิง ดับความทุกข์ทั้งหลายให้สูญสิ้นไป
การปฏิบัติพุทธศาสนา เป็นการปฏิบัติเพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง ถ้าเราปฏิบัติจนถึงกับรู้ว่า สิ่งทั้งปวงคืออะไรเสียแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติอะไรอีกต่อไป ความรู้นั้น เป็นตัวทำลายกิเลสไปในตัว
การรู้ตามวิธีของพุทธศาสนา คือ มองเห็นชัดเจนว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีอะไรน่าผูกพัน จนเกิดความหลุดพ้นจากสิ่งเหล่านั้น
หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งพระไตรปิฎก ล้วนแต่เป็นการบ่งให้รู้ว่า “อะไรเป็นอะไร”
อริยสัจจ์ข้อที่ 1 : ทุกข์ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
อริยสัจจ์ข้อที่ 2 : สมุทัย ความอยากนั้นๆ เป็นเหตุแห่งทุกข์
อริยสัจจ์ข้อที่ 3 : นิโรธ หรือ พระนิพพาน คือ การดับตัณหาเสียให้สิ้น เป็นความไม่มีทุกข์
อริยสัจจ์ข้อที่ 4 : มรรค วิธีดับความอยากนั้นๆ
อ่านเพิ่มเติม

ฤทธิ์-ปาฎิหาริย์ ท่านพุทธทาส

ฤทธิ์-ปาฎิหาริย์ ท่านพุทธทาส

เรื่องของฤทธิ์ หรือ ปาฎิหาริย์ นับว่าเป็นเรื่องหนึ่ง ที่ยังมัวอยู่มาก ในบรรดา เรื่องที่ยังมัวอยู่ หลายเรื่อง ด้วยกัน และดูเหมือน จะเป็นเพราะ ความที่มันเป็น เรื่องมัว นี่เอง ที่เป็นเหตุ ให้มีผู้สนใจ ในเรื่องนี้ อยู่เรื่อยๆ มาเป็นลำดับ อย่างไม่ขาดสาย และมากกว่า ที่ถ้ามันจะเป็น เรื่องที่กระจ่าง เสียว่า มันเป็นเรื่อง อะไรกันแน่ หมายความว่า ถ้าเราทราบดีว่า ฤทธิ์ คืออะไร และเป็นเรื่อง เหมาะสำหรับใคร โดยเฉพาะแล้ว เชื่อว่า จะทำให้มีผู้สนใจ เรื่องนี้ น้อยเข้า เป็นอันมาก

ท่านผู้ที่แสดงฤทธิ์ได้ ไม่เคยปรากฏว่า ได้รับผล อัน”เด็ดขาดแท้จริง” อย่างไร จากฤทธิ์นั้น ทั้งทางวัตถุ และความสุขในส่วนใจ ฤทธิ์ เป็นเรื่องจริง สำหรับผู้ที่ไม่ทราบว่า ฤทธิ์ คืออะไร และ ตนเป็นผู้ที่ ตกอยู่ใน ภูมิแห่งใจที่ต่ำ จนผู้มีฤทธิ์ จะออกอำนาจฤทธิ์ บังคับ เมื่อไรก็ได้ แต่สำหรับ ผู้มีฤทธิ์ หรือ ผู้ที่รู้เรื่องฤทธิ์ดี หรือมีกำลังใจ เข็มแข็ง เท่ากับ ผู้มีฤทธิ์ จะเห็นว่า ฤทธิ์นั้น เป็นเพียงเรื่อง “เล่นตลก” ชนิดหนึ่ง เท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ แยบคายมาก ลึกซึ้งมาก
อ่านเพิ่มเติม

ยาระงับสรรพทุกข์ – พุทธทาสภิกขุ

ยาระงับสรรพทุกข์ – พุทธทาสภิกขุ

ต้น “ไม่รู้-ไม่ชี้” นี่เอาเปลือก
ต้น “ชั่งหัวมัน” นั้นเลือก เอาแก่นแข็ง
“อย่างนั้นเอง” เอาแต่ราก ฤทธิ์มันแรง
“ไม่มีกู-ของกู” แสวง เอาแต่ใบ

“ไม่น่าเอา-น่าเป็น” เฟ้นเอาดอก
“ตายก่อนตาย” เลือกออกลูกใหญ่ๆ
หกอย่างนี้ อย่างละชั่ง ตั้งเกณฑ์ไว้
“ดับไม่เหลือ” สิ่งสุดท้าย ใช้เมล็ดมัน

หนักหกชั่ง เท่ากับ ยาท้งหลาย
เคล้ากันไป เสกคาถา ที่อาถรรพ์
“สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย” อัน
เป็นธรรมชั้น หฤทัย ในพุทธนาม

จัดลงหม้อ ใส่น้ำ พอท่วมยา
เคี่ยวไฟกล้า เหลือได้ หนึ่งในสาม
หนึ่งช้อนชา สามเวลา พยายาม
กินเพื่อความ หมดสรรพโรค เป็นโลกอุดรฯ

พุทธทาสภิกขุ

http://www.fasaiclub.com/read.php?tid-3551.html

หน้าที่ของชีวิต – ท่านพุทธทาสภิกขุ

หน้าที่ของชีวิต – ท่านพุทธทาสภิกขุ

ท่านสาธุชนผู้มีความสนใจในธรรมทั้งหลาย

บัดนี้เป็นโอกาสแห่งการศึกษาฉากสุดท้ายสำหรับสิ่งที่มีชีวิต คือบัดนี้ได้มีการแสดง
ให้เห็นโดยชัดแจ้งว่า ชีวิตนี้จะจบลงอย่างไร ปรากฏการณ์อันนี้ ควรจะได้รับความสนใจ
ศึกษาให้เป็นประโยชน์ จึงควรถือว่าเป็นโอกาสสุดท้ายของการศึกษาจากสิ่งที่มีชีวิต

หน้าที่ของสังขาร

ความตายเป็นหน้าที่ของสังขาร สังขารคือสิ่งปรุงแต่งจากเหตุจากปัจจัย เมื่อเหตุปัจจัย
บางส่วนหยุดปรุงแต่ง มันก็มีความตายบางส่วน ปรากฏออกมาสำหรับสังขารส่วนนั้น
จึงถือว่าการตายเป็นหน้าที่ของสังขาร หรือสังขารที่หน้าที่ที่จะต้องตายดังนั้นจึงไม่ควร
มีความประหลาดใจอะไรในส่วนนี้
อ่านเพิ่มเติม

ภาพปริศนาธรรม – ภาพของเสียงตบมือข้างเดียว :พุทธทาสภิกขุ

ภาพปริศนาธรรม – ภาพของเสียงตบมือข้างเดียว :พุทธทาสภิกขุ

ภาพปริศนาธรรม – ภาพของเสียงตบมือข้างเดียว
รวมบทความ – พุทธทาส อินทปัญโญ

ภาพที่ปรากฎอยู่นี้เรียกว่า “ภาพของเสียงตบมือข้างเดียว” เสียงของมือที่ตบข้างเดียว. ฟังดูก็ชวนให้งงเต็มที ตบมือข้างเดียวจะตบได้อย่างไร จะดังได้อย่างไร ก็คอยดูต่อไป มือโง่ไม่มัวตบอยู่ข้างเดียว หรือจะเป็นมือฉลาดที่รู้จักตบได้โดยไม่ต้องมีมืออีกข้างหนึ่ง. ขอให้ดูรายละเอียดในภาพนี้ด้วยว่า มือข้างหนึ่งมีลักษณะตบ มืออีกข้างหนึ่งไปกำเอาธูปไว้ พระพุทธรูปอยู่ตรงกลาง มีเครื่องบูชาพระพุทธรูปครบถ้วน. ทำไมเรียกว่ามือตบข้างเดียว ? เพราะว่ามืออีกข้างหนึ่งมันไม่ยอมตบด้วย.

ภาพนี้เป็นภาพของความที่จิตไม่รับเอาอารมณ์มาปรุงแต่งให้เป็นเรื่องเป็นราว อย่างนั้นอย่างนี้ ผู้ที่เรียนรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทมาแล้ว ก็จะรู้ได้เองว่า ใจความสำคัญมันมีอยู่ที่ว่า เมื่ออายตนะภายใน กับอายตนะภายนอกซึ่งเป็นของคู่กัน มาถึงกันเข้า จนเกิดวิญญาณรู้แจ้งขึ้นที่นั่นอยู่อย่างนั้น เรียกว่าเป็นการสัมผัส คือการกระทบกันระหว่างอายตนะภายในและอายตนะ
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมน่ารู้ จากท่านพุทธทาสภิกขุ…บุญ กับ กุศล

ธรรมน่ารู้ จากท่านพุทธทาสภิกขุ…บุญ กับ กุศล

ธรรมน่ารู้ จากท่านพุทธทาสภิกขุ

http://image.ohozaa.com/i/f40/j8m6kd.jpg

ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าเป็นนายของข้าพเจ้า

ธรรมคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุล้วนแล้วแต่สอนอย่างถึงแก่นถึงแกนที่ถูกต้องดีงามสมดั่งพระพุทธประสงค์

ท่านทำหน้าที่ได้สมดังฉายาขององค์ท่านว่า “พุทธทาส” โดยบริบูรณ์

การศึกษาข้อธรรม,ข้อเขียนของท่านนั้นควรศึกษาอย่างพิจารณา วางใจเป็นกลาง วางความเชื่อ ความยึดเดิมๆ ชั่วขณะ

พิจารณาตามเหตุตามผล เพราะข้อธรรมคำสอนของท่านนั้น เป็นการสอนอย่างตรงไปตรงมาเป็นที่สุด

จึงมักขัดแย้งกับความเชื่อ(ทิฏฐุปาทาน) ความยึดเดิมๆ(สีลัพพตุปาทาน)ตามที่ได้สืบทอด อบรม สั่งสมมา

อันแอบซ่อน,แอบเร้นอยู่ในจิตโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และยอมรับได้ยาก

ต้องใช้การโยนิโสมนสิการในการพิจารณาในข้อธรรมบรรยายของท่านด้วยใจเป็นกลาง อย่างหาเหตุหาผล จึงจักได้รับประโยชน์สูงสุด
อ่านเพิ่มเติม

มารหรือซาตานที่แท้จริง…..ท่านพุทธทาสภิกขุ

มารหรือซาตานที่แท้จริง…..ท่านพุทธทาสภิกขุ

มารหรือซาตานที่แท้จริง

ฉะนั้นอย่าอวดดีว่า เรียนหนังสือมาก อ่านหนังสือมาก คิดมาก
อะไรมาก พูดก็เก่ง อะไรก็มีเครดิตดี ป่วยการเหลวไหล
ต้องสอบไล่กันที่นี่

ฉะนั้นซาตานนี่มีประโยชน์, ไม่ใช่เป็นผีมาหลอกคน
เหมือนที่เขาเขียนรูปภาพโง่ๆ ไปอย่างนั้น,

ซาตาน คือส่วนหนึ่งของธรรมะ เอาซาตาน ไปทิ้งไว้ที่ไหน
ถ้าไม่รวมอยู่ในคำว่า ธรรม ธรรมทั้งปวง ไม่มีดอก ไม่มีอะไร
นอกไปจากคำว่า ธรรมทั้งปวง.

ฉะนั้นส่วนที่มันจะมาทดสอบคนสอบไล่คน นั่นแหละคือซาตาน,
มันก็มาจากสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ แต่มาในฐานะผู้สอบ หรือ ผู้ยั่ว
ให้ทำผิด ทดสอบดูว่ามันเก่งหรือยัง? ถ้ามันเก่งจริง มันจะมายั่ว
อย่างไร มันก็ไม่ทำผิด ซาตานก็ดับไปเป็นธรรมตามธรรมดา.
อ่านเพิ่มเติม

เชิดชูเกียรติ”ท่านพุทธทาส” นำหลักธรรมล้ำค่าบรรจุซีดี

เชิดชูเกียรติ”ท่านพุทธทาส” นำหลักธรรมล้ำค่าบรรจุซีดี

จากการประชุมสมัยสามัญขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือองค์การยูเนสโก ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส ซึ่งมีการบรรจุรายการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญหรือผู้มีผลงานดีเด่น

และเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของยูเนสโก ประจำปี 2549-2550 คือ “ท่านพุทธทาสภิกขุ” ซึ่งได้รับยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก

นับว่าเป็นเรื่องน่ายินดีต่อพุทธศาสนิกชนชาวไทยที่ผลงานด้านธรรมะของท่านพุทธทาสภิกขุที่เป็นปราชญ์ทางธรรมอันโดดเด่น ถ้าได้ฟังได้อ่านหลักธรรมคำสั่งสอนของท่านจะหลุดพ้นจากทุกข์ได้ นำมาใช้กับชีวิตในปัจจุบันจะสร้างความผาสุกให้กับผู้ปฏิบัติธรรม ที่เข้าถึงหลักธรรมทางพุทธศาสนา โดยไม่มีปิดกั้นกับทุกศาสนา เพื่อนำเอาหลักธรรมแก่นแท้มาปฏิบัติย่อมพบกับความผาสุก เจริญงอกงามในหน้าที่และชีวิต
อ่านเพิ่มเติม

เสียงคำบรรยายธรรม ของท่านพุทธทาสภิกขุ”การพักผ่อน” โดย พุทธทาสภิกขุ

เสียงคำบรรยายธรรม ของท่านพุทธทาสภิกขุ”การพักผ่อน” โดย พุทธทาสภิกขุ

หน้าที่ 1 – หลักเกณฑ์ที่จะช่วยให้เข้าใจธรรมะได้ง่ายขึ้น
วันนี้เราจะได้พูดกันถึงเรื่องการพักผ่อน บางคนอาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องไม่เกี่ยวกับธรรมะหรือพระพุทธศาสนาก็ได้ แต่ขอให้สนใจฟัง แม้แต่เรื่องการพักผ่อนถ้าเข้าใจถึงที่สุด ก็จะเข้าใจถึงเรื่องนิพพาน ไม่มีอะไรที่จะเทียบเท่ากับการพักผ่อนมากเท่ากับนิพพาน

ในขั้นแรกนี่อยากจะให้เข้าใจหลักเกณฑ์อะไรบางอย่างที่จะช่วยให้เข้าใจธรรมะได้ง่ายขึ้น หลักเกณฑ์ที่จะกล่าวนี้ก็คือเรื่องที่เราเคยพูดกันอยู่เป็นประจำ ว่าเรื่องที่มีอยู่ในโลกนี้มันลึกซึ้งกว่ากันเป็นชั้นๆ ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ชั้น คือเป็นเรื่องทางกาย ทางจิต ทางวิญญาณ เป็น 3 ชั้น ความจริงในบาลีจะมีพูดเพียง 2 ชั้น คือเรื่องกายกับเรื่องจิต แต่ใช้คำว่าเจตสิก คือเรื่องทุกเรื่องที่เกี่ยวกับจิต ก็เลยมี 2 เรื่อง เรื่องกายิกะ กับเจตะสิกะ

คือเรื่องทางกายหรือเรื่องทางจิตแต่นี่ก็ยังรู้สึกว่ายังเข้าใจยาก สู้เข้าใจอย่าง 3 ชั้นขั้นตอนไม่ได้ มันมองเห็นได้ง่ายกว่ากัน นี่ขอให้เข้าใจ กำหนดไว้สำหรับเป็นหลักเกณฑ์ศึกษา หรือเพื่อเข้าใจอะไรให้มันครบถ้วน เรื่องทางกายมันก็เกี่ยวกับร่างกาย เรื่องทางจิตก็เกี่ยวกับจิต แต่เรื่องทางวิญญาณนั้นขอยืมคำนี้มาใช้เพราะตัวหนังสือมันอำนวยให้ คือเป็นเรื่องเกี่ยวกับสติปัญญา ไอ้สติปัญญาน่ะเป็นเรื่องของจิต แต่มันก็แยกออกมาจากกันได้ นี่เป็นเหตุให้เรื่องการพักผ่อนเป็นเรื่องทางกาย เป็นเรื่องทางจิต เป็นเรื่องทางวิญญาณ คือถ้าเราจะเอาแค่เพียงสองเรื่องคือเรื่อง กายกับจิต มันจะอธิบายยาก คือต้องอธิบายจิตออกเป็นสองเรื่องอีกนั่นแหละ มันมีสามบริพท
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมมะสำหรับคนเจ็บไข้ โดย พุทธทาสภิกขุ

ธรรมมะสำหรับคนเจ็บไข้ โดย พุทธทาสภิกขุ

หน้าที่ 1 – อาศัยพระพุทธเจ้าเป็นกัลยาณมิตร
ธรรมมะสำหรับคนเจ็บก็มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกอย่างเพียงพอ มากมาย ซึ่งถ้าสรุปเอาแต่ใจความสำคัญรวมกันแล้วก็ได้แก่ คำสอน ที่สอนให้เห็นว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง เรียกว่า ตถตา เป็นเช่นนั้นเอง มันมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันแล้วเป็นเช่นนั้นเอง เรียกว่า อิทิปปัจยตา โดยละเอียด นี่ถ้าเห็นความเป็นเช่นนั้นเอง ก็เห็นเป็นของที่ไม่หวาดกลัวอะไร ไม่ต้องเกิดปัญหายุ่งยากลำบากใจ เพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง เป็นของธรรมดาที่มันต้องมี ตามธรรมชาติ

เราไม่รู้สึกว่าเป็นของธรรมดาตามธรรมชาติ ก็เป็นทุกข์ คือ เกิดความรู้สึกว่าตัวเราขึ้นมา รับเอาความทุกข์นั้น ข้อนี้ต้องฟังให้ดีๆสักหน่อยจึงจะเข้าใจได้ คือว่า เป็นของธรรมดา ของธรรมชาติ ไม่ใช่ของใคร แต่ครั้นมันเกิดขึ้นกับ ชีวิตจิตใจนี้ มันก็มีความเข้าใจผิดเกิดขึ้นกับชีวิตจิตใจนี้ คือ เกิดความเข้าใจไปว่า มันเกิดแก่ตัวเรา ไม่ใช่เป็นของธรรมชาติ เกิดแก่ธรรมชาติ
อ่านเพิ่มเติม

การดำรงจิตไว้อย่างถูกต้อง โดย พุทธทาสภิกขุ

การดำรงจิตไว้อย่างถูกต้อง โดย พุทธทาสภิกขุ

หน้าที่ 1 – อุปปาเหมือนกับขี่รถจักรยานจิต
การพูดกันครั้งสุดท้ายนี้เหมือนกับว่าเป็นการปิดประชุม เป็นการลา หรือรับการลา ด้วยการปราศรัยเล็กๆ น้อยๆ พร้อมกันไปกับการสรุปเรื่องที่บรรยายต่างๆ คือจะกล่าวว่า เรื่องทุกเรื่องที่เราได้ฟัง ได้ยินได้พูดกันมาแล้วนี้ อาจจะสรุปได้เป็นคำพูดสั้นๆ ว่า เป็นเรื่องการดำรงจิตไว้อย่างถูกต้อง ขอให้ช่วยจำว่า พุทธศาสนาทั้งหมดทั้งสิ้น ก็คือการดำรงจิตไว้อย่างถูกต้อง ก็ย่อมจะได้รับผลอยู่ในตัวความถูกต้องนั้นเอง ขอให้เราพยายามส่วนที่เป็นการดำรงจิต แล้วก็ดำรงจิตไว้ให้ถูกต้อง

พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้เป็นใจความ สรุปได้สั้นๆ ว่า ถ้าหากดำรงจิตไว้อย่างถูกต้อง จะได้รับ ประโยชน์ ความสุขทุกอย่างทุกประการ เหมือนกับว่า ญาติมิตรสหาย คนหวังดีทั้งหมด ช่วยเหลือเรา ช่วยกันทำให้กับเรา แล้วถ้าเราดำรงจิตไว้ผิด เราก็จะสูญเสียประโยชน์ มีความเสียหาย ได้รับความทุกข์ เหมือนกับว่า หากคนที่เป็นข้าศึกศัตรู คู่อาฆาตทั้งหลายทั้งหมดเค้ามารุมกันกระทำให้แก่เรา คิดดู

มันอยู่ที่ว่าเราดำรงจิตไว้ถูกต้องหรือดำรงจิตไว้ผิด ถ้าถูกต้องได้รับประโยชน์ ถ้าดำรงไว้ผิดก็สูญเสียประโยชน์ จึงว่าเรื่องทั้งหมดมันอยู่ที่การดำรงจิตให้ถูกต้อง เราจะเรียนรู้เรื่องอะไร เรื่องขันธ์ เรื่องธาตุ เรื่องอายตนะ เรื่องอริยสัจ เรื่องอะไรทั้งหมดทุกเรื่อง มันก็มาสรุปลงที่เพื่อการดำรงจิตไว้ถูกต้อง
อ่านเพิ่มเติม

จงมีตนเป็นสรณะ โดย พุทธทาสภิกขุ

จงมีตนเป็นสรณะ โดย พุทธทาสภิกขุ

ได้ประโยชน์จากธรรมะ มีธรรมะคุ้มครอง มีนิพพานน้อยๆของท่านเองคุ้มครอง ดับซึ่งไฟโรคะ โมหะ โทสะ เป็นนิพพานที่คุ้มครอง แล้วเป็นสุข ทุกทิวาราตรีนี่เป็นการเที่ยวไปของธรรมะ เที่ยวโลกของพระธรรม อยู่ด้วยพระธรรม พระธรรมคุ้มครอง

หน้าที่ 1 – จงมีตนเป็นสรณะ
ถึงท่านสาธุชนผู้สนใจในธรรมะทั้งหลาย อาตมาถือโอกาสแสดงธรรมด้วยการบรรยายจากธรรมดาเพื่อสำเร็จประโยชน์โดยสะดวก เดี๋ยวนี้ท่านมานั่งอยู่ในสถานที่ในลักษณะเช่นนี้ ในโอกาสที่ท่านทั้งหลายทำกันในสิ่งที่เรียกว่า ทัศนาจร จึงขอให้จำ จำในความรู้สึกว่า เดี๋ยวนี้เราได้นั่งกลางดิน โอกาสที่จะนั่งกลางดินอย่างนี้มีน้อย คนที่นั่งกลางดินมักจะโกรธ ขัดใจว่าไม่สมเกียรติ เป็นต้น นี่มันคนโง่ เพราะว่ากลางดินนี้แหละเป็นสิ่งสูงสุด ท่านพระพุทธเจ้า ประสูติและตรัสรู้ก็กลางดิน สอนแสดงธรรมส่วนมากก็กลางดิน อาจกล่าวได้ว่า พระไตรปิฏกทั้งหลายมันเกิดขึ้นกลางดิน สอนแสดงธรรมที่ไหนก็กลางดิน เดินทางก็กลางดิน ที่อยู่ของท่านพระพุทธเจ้าก็กลางดินจนถึงท่านดับขันธ์ปรินิพพานก็กลางดิน เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรที่ไม่กลางดิน เราควรจะพอใจในสิ่งที่เรียกว่า แผ่นดิน
อ่านเพิ่มเติม

การเป็นพุทธบริษัทที่ถูกต้อง โดย พุทธทาสภิกขุ

การเป็นพุทธบริษัทที่ถูกต้อง โดย พุทธทาสภิกขุ

หน้าที่ 1 – ศาสตร์ของคนตื่น
ท่านสาธุชนทั้งหลาย การแสดงธรรมในวันนี้ ขอกล่าวในลักษณะบรรยายปาฐกถาธรรมหรือธรรมกถา เป็นการสะดวกดีและได้ประโยชน์เต็มที่ แทนที่จะนั่งเทศน์อย่างตามธรรมเนียม ข้อแรกที่สุดนี้ขอแสดงความยินดีในการมาของท่านทั้งหลาย มาสู่สถานที่นี้และในลักษณะอย่างนี้ คือปรารถนาจะศึกษา และขอแสดงความยินดีในการที่ว่าเราได้มานั่งกันกลางดิน ซึ่งไม่มีกี่แห่งนักที่จะนั่งพูดนั่งเทศน์กันกลางดิน ขอให้เข้าใจว่าเป็นการต้อนรับท่านทั้งหลายด้วยสถานที่อันสูงสุดศักดิ์สิทธิ์ เพราะว่าพระพุทธเจ้าประสูติกลางดิน เพราะว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้กลางดิน เพราะว่าพระพุทธเจ้าสอนกลางดิน พระพุทธเจ้าอยู่กลางดิน พระพุทธเจ้านิพพานกลางดิน เคยได้ยินได้ฟังกันมาแล้วว่า ท่านประสูติกลางดินต้นไม้สาละ ท่านตรัสรู้กลางดินโคนต้นโพธิ์ ท่านสอนกลางดินทั่วๆไปไม่ว่าที่ไหนแม้โรงธรรมที่อยู่ที่วัดก็เป็นกลางดิน กุฏิของท่านก็พื้นดิน แม้ในที่สุดท่านนิพพานก็กลางดิน ขอให้สนใจกลางดินเมื่อได้นั่งกลางดิน ขอให้มี พุทธานุสติระลึกถึงพระพุทธเจ้า เอามือประคองแผ่นดินในฐานะเป็นสิ่งสูงสุดศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับพระพุทธองค์อย่างนี้ เราจะได้มีจิตใจที่มีปิติปราโมทย์มากกว่าธรรมดา มีพุทธานุสติมากกว่าธรรมดา เป็นจิตใจที่พร้อมที่จะเข้าถึงธรรมะ ชนิดที่สำเร็จประโยชน์ได้ ขอแสดงความยินดีในการที่ได้มานั่งกันกลางดินในลักษณะอย่างนี้ ทีนี้ก็ขอแสดงความยินดีที่ว่าท่านทั้งหลายสามารถที่จะสวดมนต์มีคำแปลเป็นภาษาไทยได้ ขอนี้ก็มีความสำคัญ คือหมายความว่าได้มีความก้าวหน้าขึ้นไปขั้นหนึ่งจนถึงกับรู้ความหมายของบทที่สวด ถ้าไม่รู้ความหมายของบทที่สวด
อ่านเพิ่มเติม

วิธีทำสมาธิเบื้องต้น โดย พุทธทาสภิกขุ

วิธีทำสมาธิเบื้องต้น โดย พุทธทาสภิกขุ

หน้าที่ 1 – จิตที่เป็นสมาธิ
บัดนี้ที่เรามานั่งอยู่ในสถานที่แห่งนี้ ในลักษณะอย่างนี้ ขอทำในใจให้ถูกต้องว่า มานั่งอยู่ในที่อันศักดิ์สิทธิ์ คือพื้นดิน พระพุทธเจ้าประสูติกลางดิน ตรัสรู้กลางดิน สอนกลางดิน อยู่กลางดิน แล้วก็นิพพานกลางดิน นั้นถือว่าแผ่นดิน เป็นที่นั่ง ที่นอน ของพระพุทธเจ้า ท่านพระพุทธเจ้าประสูติโคนต้นไม้ต้นสาละ และตรัสรู้โคนต้นไม้ ไม้อัสถะ สอนส่วนใหญ่ใต้ต้นไม้ แล้วก็นิพพานใต้ต้นไม้ บัดนี้เรามาอยู่ในสถานที่เช่นนั้น คือ ใต้ต้นไม้ และกลางดิน เอามือลูบดินดู ในใจก็ให้คิดถึงพระพุทธเจ้า จะได้เกิดความรู้สึกผิดไปจากธรรมดา ที่จะรู้จักธรรมะได้ง่ายเข้า ขอให้เข้าใจว่าไม่มีศาสดาองค์ไหน ศาสนาไหน ตรัสรู้ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย แต่ตรัสรู้กลางดิน ขอให้เสพเสนาสนะนี้เป็นพิเศษ มีจิตใจหนักแน่น เหมือนแผ่นดิน อันเป็นที่รองรับวิชาความรู้อันพึงมีพึงได้ วันนี้จะได้พูดกันถึง เรื่องการทำสมาธิ หรือวิธีการทำสมาธิ ตามที่ได้ปรารภไว้ นี่ก็เป็นเรื่องสมควรอย่างยิ่ง มีเหตุผลอย่างยิ่ง ในการศึกษา เพราะว่าการศึกษาทางรอดในพระพุทธศาสนาก็มีอยู่ ตามขั้นตอนคือ ศีล สมาธิ และปัญญา ความถูกต้องทางกาย ทางวาจา ที่ไม่มีที่ตำหนิก็เรียกว่า ศีล ความถูกต้องทางจิตที่ไม่มีอะไรให้เศร้าหมอง ก็เรียกว่า สมาธิ ความถูกต้องทางปัญญา ก็เรียกว่า ปัญญา ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องศึกษากันเรื่อยไป วันนี้จะพูด เรื่องการทำ สมาธิ อันเป็นสิกขา ส่วนที่สอง เพื่อประโยชน์แก่การทำหน้าที่ทั่วๆไปด้วย และเพื่อประโยชน์ของการประพฤติธรรมในพระพุทธศาสนาด้วย
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .