ดำเนินตามรอยบาท แผ่บารมีเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

ดำเนินตามรอยบาท แผ่บารมีเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์

หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม ได้เจริญตามรอยบาทของพระอาจารย์ที่เคารพอย่างครูบาเจ้าศรีวิชัย โดยการแผ่บารมี ช่วยเหลืองานสาธารณประโยชน์ไว้มากมายหลายแห่ง เท่าที่มีบันทึกไว้เพียงบางแห่ง มีรายละเอียดมากน้อยต่างกัน คือ

– ร่วมสร้างทางขึ้นพระบรมธาตุดอยสุเทพ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘

– ร่วมสร้างสะพานศรีวิชัย สานต่อภารกิจของครูบาเจ้าศรีวิชัย ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑

– สร้างทางขึ้นพระธาตุดอยตุง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

– สร้างสะพาน แม่น้ำขาน ที่หนองห้า อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่

– ร่วมสร้างวัดร่มหลวง ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

– สร้างสะพานบ้านเหมืองฟู ต.ยุหว่า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สะพานยาว ๒๕ วา ๒ ศอก กว้าง ๘ ศอก ใช้เวลาก่อสร้าง ๓ เดือน จึงแล้วเสร็จ สิ้นเงิน ๘๐,๖๓๐ บาท
อ่านเพิ่มเติม

วาจาสุดท้าย ณ บ้านวังมุย (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

วาจาสุดท้าย ณ บ้านวังมุย

พ่อเลื่อน กันธิโน ศิษย์ใกล้ชิดของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม เล่าถึงช่วงเวลาก่อนที่ท่านจะมรณภาพว่า ตอนที่ท่านจะตัดสินใจมากรุงเทพฯ นั้น ชาวบ้านวังมุยหลายคนขอร้องไม่ให้ท่านมา เพราะเห็นว่าท่านอาพาธอยู่

แต่ดูเหมือนหลวงปู่ท่านจะรู้วาระของท่านจึงได้เอ่ยวาจาว่า

“เฮาจะไม่ตายที่นี่ เฮาจะไปตายที่เมืองกรุงบางกอก”

นับได้ว่าเป็นวาจาประโยคสุดท้ายของท่านที่บ้านวังมุย

พ่อเลื่อนเป็นผู้พาหลวงปู่นั่งเครื่องบินเดินทางไปกรุงเทพฯ โดยท่านเจ้ากรมเสริม (พล.อ.ท. ม.ร.ว. เสริม ศุขสวัสดิ์) กับคุณอ๋อย (คุณเฉิดศรี ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา มารอรับที่สนามบินดอนเมือง เพื่อพาหลวงปู่ชุ่มไปรักษาที่โรงพยาบาลพร้อมมิตร คณะแพทย์ได้ตรวจรักษาโดยใช้แสงเลเซอร์ผ่าตัดบริเวณต่อมลูกหมาก หลวงปู่ท่านกะว่าจะนอนพักผ่อนแค่ 2 วันแล้วจะกลับวัดวังมุย แต่แพทย์ได้ห้ามไว้ เพราะหลวงปู่เพิ่งผ่าตัด ควรจะนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลต่อสัก 4-5 วัน พร้อมกันนี้ แพทย์ได้ขอร้องหลวงปู่ไม่ให้เดินเพราะเพิ่งจะผ่าตัด อ่านเพิ่มเติม

ปัจฉิมวัยของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก

ปัจฉิมวัยของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก

หลวงตาวัชรชัย หรือ พระครูภาวนาพิลาศ เป็นศิษย์ใกล้ชิดอีกท่านของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ผู้ได้เคยมีโอกาสใกล้ชิดและอุปัฏฐากหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม ในช่วง พ.ศ. 2518 และได้เขียนหนังสือระลึกถึง “พระสุปฏิปันโน” ทั้งหลายที่เป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อฤๅษีลิงดำไว้ในหนังสือชื่อ “บนเส้นทางพระโยคาวจร” นามปากกา “สายฟ้า” เป็นหนังสือที่เขียนถึงพระอริยเจ้าหลายท่านได้อย่างซาบซึ้ง และก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะต่อท่านเหล่านั้นได้ในทันที

จึงขออนุญาตนำความบางตอนจากเนื้อหาเกี่ยวกับ “หลวงปู่ชุ่ม” มาเสนอ ณ โอกาสนี้

“หลวงปู่ชุ่ม…หรือครูบาชุ่มของชาวหริภุญชัย เป็นศิษย์เอกขนานแท้ของของพระคุณหลวงปู่ครูบาศรีวิชัย พระมหาโพธิสัตว์สงฆ์ผู้เป็นประดุจเทพเจ้าของชาวลานนาทั้งผอง ที่ว่าเป็นศิษย์เอกขนานแท้ ก็เพราะครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ประทานกำเนิดบวชเป็นสมณะให้ ครั้นตอนครูบาศรีวิชัยมรณภาพลงไป หลวงปู่ชุ่มองค์นี้แหละ…ที่เป็นทายาทผู้รับมรดกครอบครองไม้เท้าและพัดหางนกยูงอันเป็นตราสัญลักษณ์ ประจำองค์ครูบาศรีวิชัย แสดงถึงคุณธรรมที่ท่านปฏิบัติได้ถึงขนาดนั้นแหละ และที่สำคัญท่านมาเกี่ยวข้องกับพ่อเรา (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง) ตั้งแต่อดีตชาติ คือเป็นพี่ชายพ่อเรา คู่กับหลวงปู่คำแสนเล็ก สามองค์นี้แหละลูกหลานเอย… ที่เป็นต้นกำเนิดการสถาปนาแผ่นดินไทยสมัยเชียงแสน นานนักหนามาแล้วโน่น… อ่านเพิ่มเติม

เรื่องการเข้านิโรธสมาบัติ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

เรื่องการเข้านิโรธสมาบัติ

หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่มท่านเป็นพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้มาจากครูบาอาจารย์ต่างๆ หลายองค์ และได้นำมาปฏิบัติตั้งแต่เมื่อเป็นสามเณร สมัยอยู่กับ ครูบาอินตา วัดเจดีย์ขาว

ครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นผู้ที่วางขนบจารีตเกี่ยวกับการ “เข้านิโรธ” ไว้ ทำให้ครูบาอาจารย์และพระภิกษุทางภาคเหนือยึดถือปฏิบัติสืบๆ กันมา รวมถึงหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม ท่านมักหาวาระและโอกาสเข้านิโรธอยู่เนืองๆ เท่าที่ทราบกันเป็นวงกว้าง และมีหลักฐานบันทึกไว้ระบุว่า ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก เข้านิโรธสมาบัติมาแล้ว 8 ครั้งครั้งหลังสุด เข้าเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2518 และออกจากนิโรธสมาบัติในตอนย่ำรุ่ง วันที่ 21 มิถุนายน คือ 7 วันต่อมา

การเข้านิโรธสมาบัติของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ครั้งนี้ เป็นพิเศษยากยิ่งกว่าทุกครั้ง เพราะท่านเข้าด้วยอิริยาบถ 4 โดยทรงอารมณ์อยู่ในจตุตถฌานตลอดเวลา นับว่ากำลังจิตท่านแข็งแกร่ง มีบุญบารมีสูงยิ่ง และการเข้านิโรธสมาบัติในครั้งนี้นี่เอง ที่มีประชาชนทราบกันแพร่หลายมากที่สุด อ่านเพิ่มเติม

เรื่องฤทธิ์ และอภิญญา (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

เรื่องฤทธิ์ และอภิญญา

หนังสือ “ลูกศิษย์บันทึก” ของวัดท่าซุง ซึ่งมีอยู่หลายเล่ม ได้รวบรวมข้อเขียนจากลูกศิษย์ของหลวงพ่อพระราชพรหมยานไว้หลายท่าน เป็นพยานอย่างดีในความอัศจรรย์ข้อหนึ่ง ดังปรากฏอยู่ในบันทึกของ หลวงพ่อบุญรัตน์ กันตจาโร เจ้าอาวาสวัดโขงขาวในฐานะที่ท่านนับถือครูบาเจ้าชุ่มเป็นอาจารย์องค์หนึ่ง ก่อนที่ครูบาเจ้าชุ่มนี่เองจะเป็นผู้แนะนำให้ท่าน มากราบฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

“ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ หลวงปู่ชุ่ม โพธิโก หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร กำลังสนทนาธรรมกันที่วัดป่าดอนมุล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้เขียนกำลังรับฟังธรรม จากพระเดชพระคุณท่านฯทั้งสองอยู่ หลวงปู่ชุ่มก็หันหน้ามาบอกผู้เขียนว่า

“ท่านบุญรัตน์ ให้ไปกราบหลวงพ่อใหญ่ วัดท่าซุงหน่อย ท่านเป็นพระทอง หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว ท่านเปี่ยมด้วยเมตตาบารมี ใครได้กราบไหว้ก็เป็นบุญกุศลใหญ่นัก”

หลวงปู่คำแสนซึ่งนั่งอยู่ใกล้ ๆ ก็กล่าวเสริมขึ้นว่า

“เออดีมาก หลวงพ่อวัดท่าซุงเป็นผู้ประกอบไปด้วยเมตตาธรรมอันสูงส่ง เหมือนกับครูบาศรีวิชัย หาที่ไหนไม่ได้แล้ว”

นอกจากนั้นหลวงปู่ชุ่มท่านเมตตาเล่าให้ผู้เขียนฟังอีกว่า

อ่านเพิ่มเติม

การบูรณะวัดพระธาตุจอมกิจจิ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

การบูรณะวัดพระธาตุจอมกิจจิ* อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

*วัดพระธาตุจอมกิจจิ จ.เชียงใหม่ – ปัจจุบันเรียกว่า วัดพระธาตุจอมกิตติ พ้องกับที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม มีวัย 77 ปี แล้ว ในตอนที่มานั่งหนักเป็นประธาน บูรณะวัดพระธาตุจอมกิจจิ ในปี พ.ศ. 2518 แม้ท่านจะชราภาพแล้ว แต่ดูเหมือนจะมีเหตุให้ต้องมาทำภารกิจนี้ในที่สุด อาจจะเนื่องเพราะวาจาสิทธิ์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย ผู้เป็นพระอาจารย์ของท่าน ซึ่งกล่าวกับผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ ตอนเขาเหล่านั้นมาอาราธนาท่านให้บูรณะวัดพระธาตุจอมกิจจิ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้

“สถานที่นี้ต้องรอเจ้าของเขามาสร้าง ซึ่งจะเป็นศิษย์ของเราเอง โดยจะเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2518”

และในปี พ.ศ. 2518 นี้เอง ที่หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่มได้พบกันด้วย “กายเนื้อ” กับหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดท่าซุง เป็นครั้งแรก

หลวงพ่อพระราชพรหมยานท่่านเป็นพระอริยะเจ้าผู้มีชื่อเสียงเกียรติคุณขจรไกล มีศิษยานุศิษย์มากมายทั่วประเทศ ในราวปี พ.ศ. 2518 ท่านพาคณะศิษย์เดินทางมากราบพระอริยเจ้า “สายเหนือ” ที่ท่านเรียกว่า “พระสุปฏิปันโน” หลายรูป รวมทั้งหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ด้วย มูลเหตุดังนี้จึงทำให้คนเมืองหลวง และภาคอื่น ๆ ได้รู้จักพระ “อริยเจ้า” อีกหลายรูป ซึ่งหลบเร้นอยู่ในดินแดนแห่งป่าเขาทางภาคเหนือ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน

อ่านเพิ่มเติม

พระรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย ปั้นขณะท่านยังมีชีวิตอยู่ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

พระรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย ปั้นขณะท่านยังมีชีวิตอยู่

ตอนนั้นครูบาเจ้าชุ่มได้ให้ช่างมีฝีมือคนหนึ่ง คือ “หนานทอง” ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านเอง มาปั้นรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัยขนาดเท่าองค์จริงในท่านั่งสมาธิ หนานทองได้ใช้เวลาทำงานอยู่หลายวัน ด้วยความที่ครูบาศรีวิชัยอาพาธอยู่ หนานทองจึงต้องเทียวเดินเข้า-ออกจากห้องที่ท่านครูบาเจ้าพักอยู่ วันหนึ่งหลายครั้ง โดยเข้ามาดูหน้าท่าน แล้วก็เดินกลับไปปั้นรูป หากติดขัด ไม่แน่ใจบริเวณส่วนไหน ก็เดินมาดูหน้าองค์ท่านอีก ทำแบบนี้อยู่หลายครั้ง จนในที่สุดก็ปั้นเสร็จ จึงได้ตกแต่งทาสีเรียบร้อยสมบูรณ์

จากนั้น ครูบาเจ้าชุ่มได้ให้ยกพระรูปเหมือนนั้นมาตั้งไว้ตรงปลายเท้าครูบาเจ้าศรีวิชัยในขณะที่ท่านยังหลับอยู่ รอจนท่านตื่นขึ้น ครูบาเจ้าชุ่ม กับครูบาธรรมชัยได้ช่วยกันประคองท่านให้ลุกขึ้นนั่ง พอท่านได้เห็นพระรูปเหมือนขนาดเท่าจริงของตน ก็ตื้นตันจนหลั่งน้ำตาออกมา ท่านได้ใช้มือลูบคลำรูปเหมือนของตน จากนั้นได้ละมือจากรูปเหมือน มาถอดประคำที่ท่านคล้องคออยู่ เพื่อนำประคำไปคล้องที่คอของรูปเหมือนแทน และยังได้มอบไม้เท้าพร้อมทั้งพัดหางนกยูงให้อีก 1 คู่ จากนั้นท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยได้กล่าวขึ้นว่า

“รูปเหมือนนี้จะเป็นตัวแทนเราต่อไปในภายภาคหน้า”

และได้สั่งเสียให้เก็บรักษาไว้ ถือปฏิบัติแทนตัวท่าน ต่อมาอีกไม่นาน ครูบาเจ้าศรีวิชัยก็ได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ณ วัดบ้านปาง ขณะอายุได้ 60 ปี 8 เดือน 10 วัน

ในภายหลัง ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ได้อัญเชิญพระรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย จากวัดจามเทวี มาประดิษฐานยังวัดชัยมงคล (วังมุย) จึงนับเป็นพระรูปเหมือนเพียงองค์เดียวที่ได้ปั้นขึ้นในสมัยที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย-ตนบุญแห่งล้านนายังมีชีวิตอยู่ ซึ่งพระรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัยนี้ขึ้นชื่อลือเลื่องในความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ชาวบ้านวังมุยและประชาชนทั่วไปได้ยึดเป็นที่พึ่งที่ระลึกมาจนปัจจุบัน

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

ศิษย์ผู้ได้รับมอบไม้เท้า และพัดหางนกยูง จากครูบาเจ้าศรีวิชัย (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

ศิษย์ผู้ได้รับมอบไม้เท้า และพัดหางนกยูง จากครูบาเจ้าศรีวิชัย

ครูบาเจ้าศรีวิชัย-ตนบุญแห่งล้านนา ได้ริเริ่มดำเนินการก่อสร้างทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ จึงได้เรียกหาครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ผู้เป็นศิษย์ให้เข้ามาช่วยเหลือ​การก่อสร้างด้วย ตอนนั้นครูบาเจ้าชุ่มมีอายุเพียง ๓๗ ปี ท่านได้มาอยู่รับใช้ช่วยเหลืองานของครูบาเจ้าชุ่มเจ้าชุ่มเจ้าศรีวิชัยอย่างใกล้ชิด โดยครูบาเจ้าชุ่มทำงานในแผนก “สูทกรรม” เวลาต่อมา พระภิกษุหนุ่มวัยยี่สิบเศษนาม “ตุ๊วงศ์” หรือ หลวงปู่ครูบาวงศ์ ก็มาปวารณาตัวช่วยงานครูบาเจ้าศรีวิชัยด้วยเช่นกัน โดยตุ๊วงศ์ทำงานในแผนก “ดินระเบิด” ท่านครูบาศรีวิชัยได้แบ่งหน้าที่การงานต่างๆ มอบหมายให้พระลูกศิษย์แต่ละท่านอย่างชัดเจน

จากการที่ได้อยู่ใกล้ชิดช่วยเหลือกิจการงานดังกล่าว ครูบาเจ้าชุ่มจึงมีโอกาสได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติจากครูบาเจ้าศรีวิชัยอย่างเต็มที่ ท่านได้นำไปฝึกฝนปฏิบัติต่อหลังจากเสร็จงานทุกวัน จนเกิดความชำนาญแตกฉานขึ้นตามลำดับ

อ่านเพิ่มเติม

พบรอยเท้าเสือใหญ่ และผจญช้างตกมัน (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

พบรอยเท้าเสือใหญ่ และผจญช้างตกมัน

ตะวันสีหมากสุกได้ลับหายไปจากแนวไม้แล้ว อากาศในแนวป่ากลางดงลึก เย็นลงอีก สรรพสำเนียงไพรยามค่ำเริ่มต้นแล้ว เสียงเสือคำราม สลับกับเสียงเก้งร้องเรียกหากันให้ระวังภัย ดังแว่วมาแต่ไกล นี่เพียงโพล้เพล้แต่เสียงเสือใหญ่ก็คำรามข่มขวัญสัตว์ป่าในพงไพรเสียแล้ว

ขณะที่ธุดงค์ผ่านป่าทึบในอำเภอเวียงป่าเป้า ตะวันเริ่มจะลับทิวไม้แล้ว ขณะที่ผ่านดอยนางแก้ว ได้พบรอยเท้าเสือขนาดใหญ่เท่าฝ่ามือกางออก เป็นรอยเท้าที่เพิ่งเหยียบย่ำผ่านไปใหม่ๆ น้ำที่ขังในรอยเท้ายังขุ่นอยู่ ครูบาเจ้าชุ่มเจ้าชุ่มหาได้เกรงกลัวไม่ ได้เจริญพรหมวิหารสี่ แล้วแผ่เมตตาให้ โดยอธิษฐานว่า

“หากมีกรรมเก่าติดค้างกันมา ก็ขอยอมสละชีวิตเพื่อเป็นพุทธบูชาหากไม่มีกรรมเก่าต่อกันแล้วไซ้ ขออย่าได้ทำร้ายกันเลย จะเกิดกรรมติดตัวไปไม่รู้จบไม่รู้สิ้น”

แล้วท่านและผู้ติดตามจึงเดินทางเข้าป่าใหญ่ ในทิศทางเดียวกับที่เสือใหญ่เดินผ่าน ไม่กี่อึดใจก็ทะลุออกป่าโปร่ง แต่ก็ไม่พบเสือใหญ่ตัวนั้นเลย

เข้านิโรธสมาบัติใน “ถ้ำปุ่ม* ถ้ำปลา”
*ภาษาเหนือแปลว่า ปู

อ่านเพิ่มเติม

พบพระบรมสารีริกธาตุ และสมบัติของพระนางเจ้าจามเทวี (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

พบพระบรมสารีริกธาตุ และสมบัติของพระนางเจ้าจามเทวี

วีรกษัตรีย์แห่งนครหริภุญชัย

เมื่อครูบาเจ้าชุ่ม ได้จัดที่พำนักเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มงานบูรณะองค์พระเจดีย์ทันที โดยมีศรัทธาชาวบ้านมาร่วมด้วยเต็มกำลัง ในขณะที่ดำเนินการขุดวางฐานรากขององค์พระเจดีย์ใหม่ ท่านได้พบศิลาจารึกมีใจความว่า “องค์พระเจดีย์นี้พระนางจามเทวีเป็นผู้สร้าง และจะมีพระสงฆ์ 3 รูป มาบูรณะต่อเติม” ครูบาเจ้าชุ่มได้สอบถามชาวบ้านดูได้ความว่า ในอดีตได้มีพระมาบูรณะพระเจดีย์นี้แล้ว 2 องค์ ท่านครูบาเจ้าชุ่มเป็นองค์ที่ 3

หลังจากนั้น ชาวบ้านจึงได้ทำการขุดลงไปใต้ฐานพระเจดีย์ ได้พบไหซองใบใหญ่หนึ่งใบ ปิดปากอย่างแน่นหนา ครูบาเจ้าชุ่มจึงสั่งให้ชาวบ้านนำขึ้นมาเก็บไว้ก่อน แล้วจึงเชิญกำนันผู้ใหญ่บ้านหนองหล่มมาร่วมเป็นสักขีพยานในการเปิดออกดู ปรากฏว่าภายในมีแต่เบี้ย (เงินโบราณ) ทั้งนั้น ครูบาชุ่มจึงได้สั่งให้ปิดปากไหตามเดิม อ่านเพิ่มเติม

อธิษฐานเรียกน้ำ สร้างบูรณะวัดที่ อ. ห้างฉัตร จ.ลำปาง (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

อธิษฐานเรียกน้ำ สร้างบูรณะวัดที่ อ. ห้างฉัตร จ.ลำปาง

ต่อมาครูบาเจ้าชุ่มท่านได้พิจารณาถึงหลักการปฏิบัติธุดงค์ว่า “เป็นธรรมดาของการธุดงค์ การอยู่ในสถานที่ใดนาน ๆ นั้น จะทำให้พระธุดงค์ติดถิ่นที่อยู่ อันอาจส่งผลให้เกิดการย่อหย่อนในการปฏิบัติธุดงควัตร และส่งผลให้การปฏิบัติธรรมขัดเกลากิเลสไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร” ดังนั้นท่านจึงลาศรัทธาญาติโยมออกธุดงค์ต่อไป ในครั้งนี้มีพระขอติดตามท่านออกธุดงค์ด้วย

สองข้างทางที่ธุดงค์ไป ทั้งผ่านป่าดงดิบ มีต้นไม้ยืนต้นสูงใหญ่ ใบไม้ปกคลุมหนาทึบ แสงแดดแทบไม่มีเล็ดลอดลงมาให้เห็น ทั้งมีลำต้นใหญ่โต ขนาดหลายคนโอบ บางครั้งก็ผ่านป่าโปร่ง มีต้นไม้ขึ้นแซมไม่ทึบนัก สลับกับทุ่งหญ้าบ้างในบางครั้ง ป่าทางภาคเหนือสมัยครูบาชุ่มเดินธุดงค์นั้น บางแห่งแทบจะไม่เคยมีพระธุดงค์รูปใดย่างกรายเข้ามาเลย สัตว์ป่าต่างๆ ยังคงมีอยู่อย่างชุกชุม โดยเฉพาะ เก้ง กวาง กระจง รวมไปถึง นกยูง ไก่ฟ้า ไก่ป่า รวมถึงสัตว์ประเภทอื่นๆ ล้วนมีอยู่อย่างดาษดื่น ซึ่งการเดินธุดงค์ในป่าดงพงไพรที่สัปปายะเช่นนี้ จิตของครูบาชุ่มรู้สึกแช่มชื่น และสุขใจเป็นอันมาก ท่านได้เดินธุดงค์ พร้อมเจริญพรหมวิหารสี่ พร้อมคำภาวนา “พุทโธ” ไปตลอดการเดินทาง อ่านเพิ่มเติม

แรงบุญหนุนนำจากทุกสารทิศ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

แรงบุญหนุนนำจากทุกสารทิศ

การที่ครูบาเจ้าชุ่มมีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลประตูป่าอยู่ด้วย ทำให้ท่านมีภารกิจการปกครองคณะสงฆ์ในความรับผิดชอบ อีกประการหนึ่ง ท่านได้รับการแต่งตั้งจากทางการคณะสงฆ์จังหวัดลำพูน ให้เป็นพระอุปัชฌาย์ในการบรรพชาพระภิกษุ-สามเณรด้วย

ด้วยภาระหน้าที่ที่มีมาก ท่านจึงต้องกลับวัดวังมุย เพื่อตรวจดูความเรียบร้อย และการงานของวัดเป็นระยะๆ การกลับวัดวังมุยครั้งหนึ่งๆ ท่านจะพักอยู่ประมาณเดือนเศษ หลังจากนั้น ท่านก็จะนำภิกษุสามเณรศิษยานุศิษย์ของท่านออกธุดงค์ เพื่อสอนธรรมะภาคปฏิบัติ และบำเพ็ญบารมีต่อไป

ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก นับได้ว่า เป็นพระภิกษุที่มีเมตตาธรรมสูงส่ง ท่านเสียสละโดยประการต่างๆ เพื่อเกื้อกูลเหล่าชาวบ้านให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แล้วยังบำเพ็ญประโยชน์ให้บังเกิดแก่สาธารณะชนส่วนรวมอย่างแท้จริง เมื่อท่านจาริกไปถึงที่ใด จะปรากฏมีชาวบ้านมากราบสักการะน้อมรับธรรมะ และร่วมบริจาคทรัพย์ ทำบุญกับท่านเป็นจำนวนมาก ด้วยศรัทธาในปฏิปทาของครูบาเจ้าองค์นี้

ทุกครั้งครูบาเจ้าชุ่มก็ได้มอบทรัพย์เหล่านั้นกลับคืน เพื่อสร้างสิ่งอันเป็นสาธารณะประโยชน์ในชุมชน บางแห่งท่านก็เป็นประธานในการสร้างเหล่านั้นด้วยตนเอง ท่านปฏิบัติอยู่เช่นนั้นตลอดมาตั้งแต่ยังเป็นพระภิกษุหนุ่ม จนล่วงเลยเข้าสู่ความเป็นพระมหาเถระผู้มีอายุ

ช่วงปัจฉิมวัย ครูบาเจ้าชุ่มไดกลับมายังวัดวังมุย และได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งต่างๆ ทุกตำแหน่ง เหลือเพียงตำแหน่งเจ้าอาวาส คล้ายเป็นการปลดระวางภารกิจบางประการลงบ้าง ครั้นทุกอย่างเรียบร้อยดีแล้ว ท่านก็ได้ธุดงค์ต่อไป โดยตั้งใจว่าจะขึ้นไปเหนือสุดของประเทศ โดยเริ่มออกเดินธุดงค์เข้าปักกลดในป่าช้าบ้านแม่ยิ่ง ต.หนองหล่ม อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง อีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้ ท่านได้เห็นซากพระเจดีย์ปรักหักพัง ท่านรู้สึกสลดใจเป็นอย่างยิ่ง จึงได้พักอยู่ และดำริจะบูรณะซ่อมแซมพระเจดีย์ให้กลับมาดีดังเดิมให้จงได้

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

ชีปะขาวปรากฏในนิมิต นำมงกุฎใส่พานมาถวาย (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

ชีปะขาวปรากฏในนิมิต นำมงกุฎใส่พานมาถวาย

ค่ำคืนหนึ่ง ในบรรยากาศอันวิเวกของป่าช้าวัดหนองบัวคำ ลมพัดเอื่อยๆ เย็นสบาย หลังจากที่ครูบาเจ้าชุ่มได้ทำกิจวัตรส่วนตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านก็ได้เข้าสู่กลด เพื่อนั่งสวดมนต์ไหว้พระทำจิตเข้าถึงพระไตรสรณคมน์ รำลึกถึงแก้วสามดวงอันประเสริฐเป็นสรณะ และจากนั้นจึงได้เจริญสมาธิภาวนาตามแนวที่ได้ศึกษามาจากครูบาอาจารย์ ท่านรู้สึกจิตสงบดิ่งดีมาก ขณะที่ครูบาเจ้าชุ่มกำลังนั่งสมาธิ ฉับพลันนั้น ก็ได้ปรากฏนิมิตเห็นชีปะขาว 5 ตน นำมงกุฎใส่พานมาถวายท่าน ในนิมิตท่านก็ได้ให้ศีลให้พร และแผ่เมตตาให้ หลังจากนั้น ชีปะขาวทั้ง 5 ตน ก็ได้กราบลาจากไป เมื่อครูบาเจ้าชุ่ม ถอนจิตออกจากสมาธิ รู้สึกจิตชุ่มชื่นดี สังเกตว่าเป็นเวลาตี 4 พอดี

ท่านครุ่นคิดถึงนิมิตเมื่อคืน รู้สึกว่าจะเป็นนิมิตที่มีความหมายดี ในคืนต่อมา ครูบาเจ้าชุ่มก็ได้เข้าสมาธิเจริญพระกรรมฐานอีกตามปกติ ก็เห็นนิมิตเช่นเดียวกับคืนก่อน โดยมีชีปะขาวนำมงกุฎใส่พานมาถวายท่านอีก แต่คราวนี้มาเพียง 4 ตนเท่านั้น ครูบาเจ้าชุ่มท่านก็ได้ให้ศีลให้พรไปเช่นเดิม และถอนจิตออกจากสมาธิ เป็นเวลาตี 4 เช่นคืนก่อน

อ่านเพิ่มเติม

บูรณะพระบรมธาตุดอยเกิ้ง (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

บูรณะพระบรมธาตุดอยเกิ้ง รับสัมผัสปาฏิหาริย์ขององค์พระบรมสารีริกธาตุ

พระธาตุดอยเกิ้ง

ต่อมาครูบาเจ้าชุ่มได้เดินธุดงค์จาก ต.บ้านก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน ตัดป่าเขาลำเนาไพรขึ้นไปทางทิศตะวันตก มุ่งหน้าสู่ อ.ฮอด ล่วงจนถึงพระบรมธาตุดอยเกิ้ง ปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคเหนือของไทย พระบรมธาตุดอยเกิ้งนั้น มีความเก่าแก่ และศักดิ์สิทธิ์ เป็นเจดีย์ขนาดพอๆ กับพระบรมธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ในขณะที่ครูบาเจ้าชุ่มได้ธุดงค์ไปพบนั้น พระบรมธาตุมีสภาพแตกร้าวและชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก ท่านรู้สึกสลดใจที่ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ ขาดการบูรณปฏิสังขรณ์ แต่ท่านก็ได้น้อมนำคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้ามาพิจารณา คือกฎไตรลักษณ์ ไม่ว่าสิ่งมีชีวิตหรือวัตถุสิ่งของใดในโลก ต่างก็หลีกไม่พ้นกฎ 3 ข้อนี้ อันได้แก่ “อนิจจัง” ความไม่เที่ยง “ทุกขัง” เมื่อทรงตัวอยู่ก็เป็นทุกข์ และ “อนัตตา” มีความเสื่อมสลายส้นไปเป็นธรรมดา

ครูบาเจ้าชุ่มตั้งใจว่า จะพักอยู่ ณ ที่แห่งนี้ และคิดหาวิธีการที่บูรณะองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อธำรงรักษาพุทธสถานแห่งนี้ไว้ให้เป็นที่สักการบูชาสืบต่อไป

เมื่อท่านได้สำรวจรอบบริเวณองค์พระบรมธาตุ คำนวณวางแผนการบูรณะได้อย่างละเอียดแน่ชัดแล้ว จึงได้ไปพบนายอำเภอ แจ้งความประสงค์ว่า ท่านปรารถนาจะบูรณะองค์พระบรมธาตุ และจะสร้างทางขึ้นพระบรมธาตุ นายอำเภอตอบตกลง และยินดีให้ความร่วมมือ

ครั้งนี้ ครูบาชุ่มได้พำนักอยู่ที่ป่าช้าวัดหนองบัวคำ ขณะที่พำนักอยู่ในป่าช้า ท่านก็ได้ปฏิบัติกิจของสงฆ์ตามปกติ คือการทำวัตร สวดมนต์ เจริญพระกรรมฐานเป็นปฏิบัติบูชา เสร็จแล้วจึงแผ่เมตตาไปในจักรวาลทั้งปวง ให้แก่สัตว์โลกที่เวียนว่ายตายเกิดเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด

คืนหนึ่งมีชาวบ้านในละแวกนั้น ได้เห็นองค์พระบรมธาตุ สำแดงปาฏิหาริย์ โดยปรากฏรัศมีเรืองรองสว่างไสวไปทั่วบริเวณ ทำให้ชาวบ้านเหล่านั้นต่างปลื้มปีติยินดียิ่งนัก ด้วยว่าไม่เคยพบเห็นปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อนในชีวิต

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

เทศน์โปรดชาวลัวะ ชาวยาง (กะเหรี่ยง) (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

เทศน์โปรดชาวลัวะ ชาวยาง (กะเหรี่ยง)

ท่านได้ออกเดินธุดงค์ไปยังอำเภอลี้ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวลัวะ ชาวยาง (กะเหรี่ยง) ท่านได้อยู่อบรมธรรมเทศนาสั่งสอน โปรดพวกเขาเหล่านั้นจนมีผู้ศรัทธามากมาย ศิษยานุศิษย์ได้ร่วมใจกันปลูกกุฏิให้ครูบาเจ้าชุ่มอยู่ประจำ และจัดจังหัน (ภัตตาหาร) ถวายทุกวันมิได้ขาด ด้วยศรัทธาอันแรงกล้า พวกเขาจึงจัดเวรยามอยู่ปรนนิบัติครูบาชุ่ม ด้วยความเกรงกลัวว่าท่านจะหนีไปที่อื่น บางครั้ง ครูบาเจ้าชุ่มมีกิจธุระ ต้องกลับวัดวังมุย พวกเขาจะพากันมาส่งถึงวัด และรอรับครูบาเจ้าชุ่มกลับไปด้วย เมื่อเสร็จธุระแล้ว ท่านจึงต้องกลับไปกับพวกเขา เป็นอย่างนี้ถึง 3 ครั้ง 3 ครา โดยศรัทธาชาวเขาอ้างว่า หากครูบาเจ้าชุ่มไม่กลับไปกับพวกเขา จะพากันเผากุฏิครูบาให้ไหม้หมด เลิกกันเสียที

ครูบาเจ้าชุ่มต้องปลอบใจพวกเขา และต่อมาท่านจึงได้บวชชาวลัวะ และชาวกะเหรี่ยงผู้เป็นลูกศิษย์รวม 2 รูป ให้อยู่กับพวกเขา ในขณะที่ท่านต้องเดินทางไปยังสถานที่แห่งอื่นๆ เหตุการณ์ที่จะเผาที่พักจึงล่วงพ้นไปได้

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

ธุดงควัตร (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

ธุดงควัตร

ทางภาคเหนือนั้น มักนิยมเรียกพระภิกษุที่ตนเองเคารพนับถือว่า “ครูบาเจ้า” พระภิกษุชุ่ม โพธิโก ก็เช่นเดียวกัน ชาวบ้านทั่วไป และชาวบ้านวังมุย นิยมเรียกท่านด้วยความเคารพอย่างสูงว่า “ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก”

ต่อมา ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ได้เกิดเบื่อหน่ายในการคลุกคลีของหมู่คณะ ท่านปรารภถึงความสงบวิเวก การปฏิบัติภาวนาอันจักเป็นหนทางนำไปสู่การหลุดพ้น และเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดในสมณเพศ จึงได้ตัดสินใจที่จะออกธุดงค์จาริกไปเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ท่านจึงกราบลาพระอุปัชฌาย์ เพื่อขออนุญาตออกเดินธุดงค์ พระอุปัชฌาย์ คือ ครูบาอินตา ก็ได้อนุโมทนา ในความตั้งใจครั้งนี้ จากนั้น ท่านก็ได้เดินทางไปล่ำลาบิตามารดาและญาติโยม เพื่ออกเดินทางสู่ราวป่าอันเงียบสงบ วิเวก เหมาะแก่การเจริญสมณธรรมต่อไป

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

ไม้เท้าของครูบาศรีวิชัย (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

ไม้เท้าของครูบาศรีวิชัย

คราวหนึ่ง ครูบาชุ่มจาริกหลีกเร้นไปแสวงหาที่วิเวกเจริญพระกรรมฐาน และนั่งภาวนาอยู่ที่กระท่อมในบริเวณป่าช้า พอเริ่มมืดลง มีคนเมาสุราคนหนึ่ง เห็นท่านนั่งอยู่ในกระท่อมเพียงผู้เดียวในระยะไกล จึงได้เดินตรงเข้ามาหาด้วยเจตนาที่ไม่ดี ครูบาชุ่มท่านรู้ ท่านจึงหยิบไม้เท้าของครูบาศรีวิชัยขึ้นมาบริกรรมคาถา พร้อมกับขีดเป็นวงรอบตัว เมื่อชายผู้นั้นเดินเข้ามาใกล้กระท่อม ก็ต้องพบกับความแปลกใจ เพราะมองไม่เห็นใครอยู่ในกระท่อมเลย

ลูกศิษย์ทั่วไปต่างเชื่อว่าท่านเป็นพระที่ทรงอภิญญา สามารถแสดงฤทธิ์ได้ แต่ครูบาชุ่มท่านไม่เคยอวดตัว ยังคงทำตนเหมือนพระธรรมดาๆ ทั่วไปรูปหนึ่ง เสมือนช้างเผือกที่หลีกเร้นอยู่ในป่าลึก

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

บุญญาภินิหาร (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

บุญญาภินิหาร

ครูบาชุ่มมีเมตตาธรรมประจำใจ ไม่ค่อยขัดต่อผู้ใดที่มาขอร้องให้ท่านช่วยเหลือ ถ้าไม่เกินขอบเขตแห่งพระธรรมวินัย โดยเฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยด้วยคุณไสยแล้ว เชือกและน้ำมนต์ของท่านขลังยิ่งนัก

มีอยู่ครั้งหนึ่งครูบาชุ่มได้ธุดงค์ไปถึงอำเภอฮอด เข้าพักแรมในป่าช้าบ้านบ่ง ชาวบ้านเหล่านั้นมีด้วยกันหลายเผ่าหลายภาษา เช่น ลั๊วะ, ยาง (กระเหรี่ยง) ได้เอาเนื้อสด ๆ มาถวายโดยบอกว่า เป็นส่วนของวัดหนึ่งหุ้นที่ล่าสัตว์มาได้ ครูบาชุ่มไม่ยอมรับและบอกว่า หากจะนำมาถวายพระหรือสามเณร ควรจัดทำให้สุกเป็นอาหารมา จึงจะรับได้

และขอบิณฑบาตว่า อย่าได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเขาเลย พอตกค่ำ ครูบาชุ่มได้ทำวัตร สวดมนต์ นั่งสมาธิ แผ่เมตตาจิตให้สรรพสัตว์ทั้งปวง จนใกล้สว่างจึงออกไปบิณฑบาต พวกชาวบ้านมาใส่บาตร แต่ได้ขอร้องครูบาชุ่มไม่ให้สวดมนต์อีกต่อไป โดยกล่าวหาว่าเป็นเพราะท่านสวดมนต์ พวกตนจึงเข้าป่าล่าสัตว์ไม่ได้สัตว์มาหลายวันแล้ว

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

โดนลองของ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

โดนลองของ

ครั้งหนึ่ง ครูบาชุ่มโดน “ลองของ” โดยพระรูปหนึ่งในจังหวัดลำพูนนั่นเอง พระผู้นั้นได้ปล่อยของทางไสยศาสตร์มายังกุฏิของท่าน ขณะนั้นครูบาชุ่มกำลังจำวัดอยู่ และทราบเหตุร้ายด้วยญาณ ท่านจึงลุกขึ้น และได้เรียกบอกพระเณรให้มานั่งอยู่ในกุฏิท่าน พร้องทั้งสั่งให้ทุกรูปสวดมนต์ ของที่ส่งมานั้นปรากฏเป็นตัวแมลงขนาดใหญ่ พวกมันได้แต่บินวนเวียนอยู่ด้านนอกกุฏิ เสียงชนฝาผนังดังปึงปังอยู่ตลอดเวลา และแล้วครูบาชุ่มก็ได้หยิบหมากขึ้นมาเคี้ยวพร้อมทั้งบริกรรมคาถา จากนั้นก็คายชานหมากลงในกระโถน สักพักต่อมา เหล่าแมลงได้บินฝ่าเข้ามาถึงด้านในกุฏิ พุ่งตรงเข้ามาหาท่านทันที

ท่านจึงบริกรรมคาถาจนหมู่แมลงอ่อนกำลังลง จากนั้นได้นำกระโถนที่คายชานหมากไว้มาครอบแมลงเหล่านั้น เมื่อเปิดกระโถนออกดู ปรากฏว่าแมลงได้กลับกลายเป็นตะปูไปจนหมด

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

ผลของการปฏิบัติ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

ผลของการปฏิบัติ

ครูบาชุ่มท่านเป็นพระผู้ทรงศีลาจารวัตร และมุ่งมั่นในการปฏิบัติอย่างแรงกล้า ครั้งหนึ่งท่านนั่งสมาธิอยู่ในพระวิหารที่วัดวังมุย ได้เกิดมีเปลวไฟฉายโชนออกจากร่างกายของท่าน แลดูสว่างไสว มีผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นเห็นเหตุการณ์หลายคน “พ่อหนานปัน” ก็เป็นหนึ่งในนั้น ได้เห็นไฟลุกโพลนขึ้นท่วมร่างของครูบาชุ่ม จากนั้นเปลวไปได้เคลื่อนออกจากกาย ตรงขึ้นไปที่ปล่องด้านข้างของพระวิหาร พอครูบาชุ่มคลายออกจากสมาธิ ลูกศิษย์ที่เป็นห่วงได้รีบเข้าไปถามว่า “ครูบาเจ้าเป็นอะไรไปหรือเปล่า ทำไมไฟลุกขึ้นมา” ท่านได้เมตตาบอกว่า “เป็นเพราะผลของการปฏิบัติ”

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

. . . . . . .