สายสัมพันธ์ศิษย์ – อาจารย์ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

สายสัมพันธ์ศิษย์ – อาจารย์

ลูกศิษย์สายตรงของครูบาชุ่ม ในปัจจุบันพอจะกล่าวถึงได้ดังนี้

1. หลวงพ่อทองใบ โชติปัญโญ เจ้าอาวาสวัดพรหมวนารามหรืออดีต ครูทองใบ สายพรหมมา เป็นศิษย์ผู้ได้รับอนุญาตให้สร้างเหรียญครูบาเจ้าชุ่มรุ่นแรกปี พ.ศ. 2517

2. พระอาจารย์หมื่น ญาณเมธี วัดพรหมวนาราม นอกจากเป็นศิษย์แล้วท่านยังเป็นหลานแท้ ๆ ของครูบาเจ้าชุ่ม คือ ตุ๊ลุงหมื่น เป็นบุตรของแม่อุ้ยแก้ว พี่สาวร่วมอุทรของครูบาเจ้าชุ่ม ตุ๊หมื่นได้เก็บรักษาเครื่องระลึกถึงครูบาเจ้าชุ่มไว้หลายอย่าง เช่นภาพถ่ายเก่าๆ, ดาบ, เล็บ และอัฐิ

3. พ่อหนานปัน จินา เป็นศิษย์ที่มีความสนใจในด้านวิชาอาคมขลังและพิธีกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะศาสตร์ในเรื่องตะกรุด ซึ่งท่านได้รับการถ่ายทอดจากครูบาเจ้าชุ่มมาพอสมควร ปัจจุบันท่านเป็นผู้อาวุโสของหมู่บ้าน

4. พ่ออุ้ยตุ่น หน่อใจ เป็นศิษย์ที่ได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่สองอย่าง คือปลงเกศาให้ครูบาเจ้าชุ่ม และช่วยสร้างพระผงให้ท่าน

อ่านเพิ่มเติม

พระเดชลือชา (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

พระเดชลือชา

ช่วงเย็น 18.00 น. พระเณรที่วัดวังมุยจะทำวัตรเย็นพร้อมกัน ต่อจากนั้นนั่งสมาธิอีกประมาณ 30 นาที แล้วจึงแยกย้ายกันไปทำกิจธุระส่วนตัวได้ จนใกล้เวลาจำวัด คือราว 20.10 น. ครูบาชุ่มท่านจะเรียกให้พระเณรทุกองค์มาสวดมนต์ร่วมกันก่อนจำวัดอีกครั้ง โดยท่านจะนั่งอยู่ด้านหน้า นำสวดบท นะโมฯ 3 จบ แล้วท่านจะเงียบ คอยฟังเสียงของพระเณร ว่าตั้งใจสวดมนต์กันหรือไม่ หากพบว่าองค์ไหนเงียบเสียงไป ท่านจะเมตตาตักเตือนให้ อย่างเบา คือโยนดินสอ หรือหนังสือไปสะกิด และก็มีบ้างที่ท่านต้อง “เมตตา” หนักเป็นกรณีพิเศษ คือสะกิดด้วยกระโถนบิน พระเณรที่ย่อหย่อนจากความเพียร อุตสาหะ วิริยะ ต่างหัวปูด หัวโน ไปตามกัน

แม้แต่ชาวบ้านที่พ้นวัยเด็กมานาน หากมาส่งเสียงดังในบริเวณวัด อย่างเบา ครูบาชุ่มท่านจะแค่ตวาด และอย่างหนักหน่อยอาจจะโดนท่านยิงด้วยหนังสติ้ก แล้วท่านก็ยิงได้แม่นยำอย่างยิ่ง โดยเล็งที่ขาหรือหลัง พอให้รู้ตัว

อ่านเพิ่มเติม

เสาะหาครูบาอาจารย์ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

เสาะหาครูบาอาจารย์

ตั้งแต่ช่วงแรกที่บวชเป็นพระภิกษุ พระภิกษุชุ่มก็ได้พากเพียรฝึกกายฝึกจิตตามแนวทางสายเอกของพระพุทธศาสนา แล้วยังออกเดินทางแสวงหาครูบาอาจารย์เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ เอาเยี่ยงอย่างภูมิธรรมชั้นเลิศจากคณาจารย์หลายท่านคือ

ครูบาอริยะ ที่วัดท้าวบุญเรือง ต.หนองหอย อ.หางดง จ.เชียงใหม่

ศึกษาศาสตรสนธิทั้งแปดมรรค แปดบท อันเป็น อรรถคาถา บาลีมูล กัจจายน์ จนจบ สามารถแปลและผูกพระคาถาต่าง ๆ ได้

พระครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่ง อ.หางดง จ.เชียงใหม่

เป็นพระอาจารย์ พระปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ตอนที่ครูบาชุ่มไปฝากตัวเป็นศิษย์ พระครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่ง มีอายุประมาณ 70 ปีแล้ว แต่ก็ยังแข็งแรงดี ครูบาชุ่มได้อยู่ศึกษาปฏิบัติกับพระครูบาศรีวิชัยวัดร้องแหย่ง เป็นเวลา 2 พรรษา

อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงปู่ ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก

ประวัติหลวงปู่ ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก

พระอริยเจ้าแห่งหริภุญชัย

วัดชัยมงคล (วังมุย) ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน

จากหนังสือ วังมุย แห่งหริภุญชัย

จัดทำโดย สมาชิกฯ อินทราพงษ์

หลวงปู่ ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก แห่ง วัดชัยมงคล (วังมุย) ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน

นามเดิมชื่อ ชุ่ม ปลาวิน ถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2442 เมื่อวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 เหนือ ปีกุน ณ บ้านวังมุย จ.ลำพูน บิดาชื่อ นายมูล ปลาวิน มารดาชื่อ นางลุน ปลาวิน มีพี่น้องสืบสายโลหิตเดียวกัน 6 คน เป็นผู้หญิง 3 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5

บุตรคนหัวปี ชื่อ พี่เอ้ย (หญิง) บุตรคนรองชื่อ พี่เป็ง (หญิง) บุตรคนที่สามชื่อ พี่โต (ชาย) บุตรคนที่สี่ ชื่อพี่แก้ว (หญิง) บุตรคนที่ห้า คือ ครูบาชุ่ม และบุตรคนสุดท้องชื่อ นายเปา (ชาย)

บิดาของท่านเป็นคนบ้านวังมุยโดยกำเนิด ส่วนมารดาเป็นคนบ้านขุนคง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (ระยะทางระหว่างบ้านวังมุยกับบ้านขุนคงอยู่ห่างกันประมาณ 10 กิโลเมตร) บุพการีทั้ง 2 ท่าน เป็นคนเชื้อสาย ละ บางคนออกเสียง วะ หรือ ลัวะ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก

เมื่อเด็กชายชุ่ม ปลาวิน เจริญวัยขึ้นก็พอจะทำงานช่วยเหลือบิดา มารดา เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการงานได้บ้าง เช่น ช่วยทำงานในทุ่งนา เท่าที่สามารถจะทำได้ทุกอย่าง เลิกงานก็ทำสวนทำไร่ ถางหญ้าพรวนดิน และงานบ้าน อย่างการปัดกวาดเช็ดถูบ้านเรือน เพื่อเป็นการทดแทนพระคุณของบิดา มารดาเท่าที่กำลังความสามารถของตนจะทำได้ อ่านเพิ่มเติม

คำสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

คำสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

รวมคำสอนธรรมปฎิบัติ เล่ม 1 ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรเกินธรรมดา ท่านสอนให้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาวางทุกข์เสีย ให้รู้ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม ดา อะไรก็ตามเถอะ ถ้ามันเกิดขึ้นกับเรา มันเป็นธรรมดาของโลกทั้งนั้นในเมื่อร่างกาย เรามีอยู่ในโลกเท่านี้เอง หลักสูตร ในพระพุทธศาสนานี้ ไม่มีอะไร เบื้องสูงลงมา ท่านสอนตั้งแต่ ปลายผมลงมาถึงฝ่าเท้าเบื้องต่ำขึ้นไป ท่านสอนตั้ง แต่ปลายเท้าถึงปลายผม มีแค่นี้ ถ้าเราไปเพ่งเล็งคนอื่นว่า คนนั้นชั่วคนนี้ดีแสดงว่า เราเลวมาก เราควรจะดูใจของเราต่าง หากว่าเรามันดี หรือเรามันเลว ถ้าเราดีเสียอย่างเดียว ใครเขาจะเลวร้อยแปด พันเก้า ก็เรื่องของเขา ถ้าเราดีแล้ว ก็หาคน เลวไม่ได้ เพราะ เรารู้เรื่องของคน คนมาจากอบายภูมิก็มี คนมาจากสัตว์เดรัจฉานก็มี คนมาจากมนุษย์ก็มี มาจากเทวดา ก็มี มาจากพรหมก็ มีมันจะเสมอกันไม่ได้ ถ้าพวกมาจากอบายภูมิ สอนยากป่วยการสอน คนใดก็ตามที่ประกาศตนเป็นอาจารย์พระพุทธเจ้า รู้ดีเกินพระพุทธเจ้า ที่บอกของพระพุทธเจ้าไม่ดีไม่ทันสมัย เอาอย่างโน้นดีกว่า อย่างนี้ดีกว่า ผมไม่คบด้วย พวกจัญไรนี่ไม่คบ คบยังไง มันจะไปไหน ไอ้พวกนี้ โน่น อเวจีมหานรก เพราะทำคนทั้งหลายที่มีเจตนาดี ให้มีมิจฉาทิฎฐิ ปฎิบัติผิด ฟังความเห็นผิด กรรมมันมาก ของสงฆ์ที่ตากแดดตากฝนอยู่ ถ้าจะเกิดความเสียหาย ถ้าพระองค์ใดหรือว่าหลายองค์เดินหลีกไป ไม่เก็บของที่ควรจะเก็บ ปรับอาบัติ ทุกเที่ยวที่ผ่าน อาบัติที่ปรับนี่ ไม่ต้องรอพิพากษานะ มันล่อเลย ผ่านไปแบบไม่แยแส ไม่สนใจ เป็นโทษทันที นี่ไม่ใช่ว่าพระอรหันต์ เห็นของอะไรก็โยนทิ้งๆ ไม่ใช่ ท่านรักษากำลังใจของคนอื่น ที่มีศรัทธา ยิ่งกว่ากำลังใจของท่าน เพราะวัตถุทุกอย่างจะพึงมีได้ ก็ต้องอาศัยชาวบ้าน ชาวบ้านกว่าจะได้มาแต่ละชิ้น ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ อ่านเพิ่มเติม

อริยสัจ 4 โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

อริยสัจ 4 โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

อริยสัจ 4 มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4

1. ทุกข์ คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์

2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง

3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน

4. มรรค คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้
อ่านเพิ่มเติม

วิธีการปฏิบัติพระกรรมฐาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

วิธีการปฏิบัติพระกรรมฐาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

วิธีการปฏิบัติพระกรรมฐาน

คำสอน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

จาก หนังสือ ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน

สำหรับ การที่จะศึกษาต่อก็ขอทบทวนต้น เป็นการแนะนำตามวิธีการปฏิบัติที่แท้จริง เพราะการปฏิบัติพระกรรมฐานจริง ๆ เขาทำกันได้เมื่อเริ่มใหม่ ๆ เขาจะทวนจากของเก่าไปก่อน พยายามทรงอารมณ์ของเดิที่ได้แล้วตามลำดับไปถึงที่สุดที่เราพึงได้แล้วจึงจะ ทำต่อ

ขอเตือนให้ท่านทั้งหลายตามนึกถึง สติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นอันดับแรกที่เราพึงปฏิบัติในเบื้องต้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า “จงกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก หายใจออก” นี่หมายถึงว่า ทรงสั่งสอนให้เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ สติ แปลว่า การระลึกนึกได้ ว่าเวลานี้เรามีภาวะเป็นอะไร นึกว่าเราจะทำอะไร สัมปชัญญะ ทราบดีว่ากิจนั้นเราทำแล้วหรือยัง เมื่ออารมณ์จิตคิดว่าเราจะทำอะไร การนั้นที่เราทำมันควรไม่ควร เราจะรู้ได้ด้วยสติสัมปชัญญะจะบอกได้เลยว่า ไอ้นี่เป็นกรรมที่เป็น กุศล หรือเป็นกรรมที่เป็นอกุศล หรือเป็นความดีหรือความชั่ว ทำตนให้ไม่ลืมสติสัมปะชัญยะ นึกไว้ในด้านของความดี ระมัดระวังความชั่วไม่ให้เกิด พยายามรักษาอารมณ์ไม่ให้บกพร่องในด้านความดี พยายามริดรอนความชั่วไม่ให้เกิดขึ้นกับจิต หรือว่าจริยาทั้งหมด ทั้งอารมณ์ของจิต ทั้งวาจาและกาย เราจะต้องระมัดระวัง คือ ใช้สติสัมปชัญญะ ควบคุมอยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตทรงอยู่อย่างนี้ขึ้นชื่อว่าอารมณ์เป็นสมาธิ อันนี้เรามีแล้วหรือยัง พวกเราระมัดระวังกันหรือเปล่า

ประการที่สอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำว่า “เราจงเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์” ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงให้บุคคลอื่นทำลายศีล และไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อฤาษีลิงดำอธิบายเรื่องเจ้ากรรมนายเวร

หลวงพ่อฤาษีลิงดำอธิบายเรื่องเจ้ากรรมนายเวร

“..เจ้ากรรมนายเวรหมายถึงบาปที่เป็นอกุศลที่เราได้ทำไว้กับคนและสัตว์ใน อดีตชาติก็ดีในชาติปัจจุบันก็ดี อย่างบางคนที่เราฆ่าเขาบ้าง เราทำร้ายเขาบ้างเขาอาจจะไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมแล้ว ถ้าเป็นเทวดาเขาไม่สนใจแล้วแต่ไอ้ตัวบาปที่เราทำไว้ อย่างคนที่ไปขโมยของเขาเจ้าของเขาไม่ติดใจแต่ตำรวจมีหน้าที่ตามไม่ใช่อยาก ตาม แต่กฎหมายให้ตาม

ฉะนั้น กรรมหรือเวรตัวนี้คือกฎหมาย ถ้าหากปฏิบัติในขั้น สุกขวิปัสสโก ก็จะบอกว่าไม่มีตัวตนเพราะไม่เคยเห็น แต่ว่าตั้งแต่ เตวิชโช (วิชา๓) ขึ้นไปเขาเห็นดังเรื่องที่อาตมาเล่าให้ฟังประกอบเรื่องนี้

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗คืนหนึ่งอาตมาเจริญพระกรรมฐานเสร็จ ก็อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรขณะที่อุทิศส่วนกุศลก็มายืนกันมากแต่ไม่ ใช่เจ้ากรรมนายเวร เป็นคนมาโมทนาบุญพอเขาโมทนากันเสร็จ ก็มีชายคนหนึ่งคลานเข้ามา ถือขวานเล่มใหญ่
อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อสอนต่ออายุแบบง่ายๆ (พระราชพรหมญาณเถระ หรือ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)

หลวงพ่อสอนต่ออายุแบบง่ายๆ (พระราชพรหมญาณเถระ หรือ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)

หลวงพ่อสอนต่ออายุแบบง่ายๆ
(พระราชพรหมญาณเถระ หรือ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)

การต่ออายุก็ต้องทำให้มันถูก ถ้าทำไม่ถูกแล้วก็เสียเงินเปล่า ถ้าบังเอิญเป็นอายุขัยต่อเท่าไรไม่สำเร็จผล เพราะเชื้อไฟเดิมดับ หมดบุญบารมีที่ทำมา

การหมดบุญบารมีนั้นแม้อายุขัยก็ไม่แน่ บางคนเป็นเด็กก็หมดอายุขัย บางคนก็เป็นหนุ่มเป็นสาว บางคนวัยกลางคน บางคนก็ถึงวัยแก่ อายุขัยนี่ไม่แน่นอนนัก

คำว่า อายุขัย นี่หมายความว่าก่อนที่จะเกิดกฎของกรรมดีหรือกรรมชั่วกำหนดชีวิตให้มาเท่าไรถ้ากำหนดชีวิตมา ๒๐ ปี ก็ต้องแค่ ๒๐ ปี ๑๐ ปีก็ต้อง ๑๐ ปี ๓ วัน ก็ต้องแค่ ๓ วัน นี่เป็นอายุขัยต่อไม่ได้

ถ้าตายก่อนนั้นเขาเรียกว่า อุปฆาตกกรรม หรือว่า อกาลมรณะ อย่างนี้ต่อได้

และถ้าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายจะต่ออายุแบบนี้ ก็ต่อเสียทุกวันก็หมดเรื่องกัน วิธีต่อทุกวันก็หมายความว่า ให้ทุกท่านมีความเคารพในพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระอริยสงฆ์อย่างจริงจัง และก็ต้องเว้นจากกรรมที่ เป็น ปาณาติบาต และถ้ามีเวลาเดินผ่านไป มีใครเขาหาปลาหาเต่า ที่เขาจะฆ่ามันให้ตายก็ออกสตางค์ซื้อพอกำลังที่เราจะซื้อได้ แล้วก็นำไปปล่อยในที่ปลอดภัย ไม่ใช่ปล่อยในหม้อข้าวหม้อแกงของเรานะไปปล่อยในสถานที่ ๆ เธอจะมีความสุขในแม่น้ำก็ได้ หนอง คลอง บึงก็ได้ปล่อยให้เธอรอดชีวิต
อ่านเพิ่มเติม

คาถาปัดเป่า ทุกข์ (จากหลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

คาถาปัดเป่า ทุกข์ (จากหลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

หลวงพ่อวัดท่าซุง ท่านเรียนคาถาบทหนึ่งมาจากหลวงปู่จง วัดหน้าต่างนอก ท่านบอกว่าเอาไว้สำหรับคนที่กำลังกลัดกลุ้ม มีแต่ความทุกข์ มีแต่ความเศร้าในชีวิต ท่านบอกว่าให้ภาวนาคาถานี้ แล้วจะทำให้สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นค่อย ๆ ลดน้อยถอยลงและหายไปจากชีวิตของเรา ตัวคาถาว่า “ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน โหตุ สัพพะทา”

คาถาค่อนข้างจะยาว แต่ถ้าใครเคยสวดมนต์ทำวัตรเป็นประจำ จะรู้ว่าบทนี้แหละที่เวลาเจริญพุทธมนต์ พระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นบทส่งเทวดากลับ เพียงแต่ต่อท้ายด้วย โหตุ สัพพะทา เท่านั้น ท่านให้ภาวนาไปเรื่อย ท่านบอกว่าความทุกข์ ความเศร้าหมองต่าง ๆ จะค่อยหมดไปจากใจของเราเอง

คำสอนหลวงพ่อเล็ก เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

http://www.ponboon.com/board/index.php?topic=6668.0

คาถาเงินล้าน ฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

คาถาเงินล้าน ฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

คาถาเงินล้าน (เป็นคาถาของพระราชพรหมยาน หรือ ฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ) หลวง พ่อได้คาถาบทเหล่านี้โดยตรงจากองค์สมเด็จฯ(องค์ปฐม)ตั้งแต่ปี 2517 เป็นเวลา 4 ปี จึงจะได้ครบถ้วน ท่านบอกว่า คาถาที่ได้จากกรรมฐาน เขาจะไม่บอกใคร เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2527 เวลา 23.59 น. องค์สมเด็จฯ ได้อนุญาตให้ลูกหลาน และพุทธบริษัทใช้ได้เป็นสาธารณะ เพื่อช่วยบรรเทาสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ อีกทั้งการก่อสร้างของวัดท่าซุง จะต้องเร่งรัดให้เสร็จทันฉลองวัดในปี 2532 จึงจำเป็นที่จะต้องใช้คาถาเหล่านี้ช่วย เพื่อพุทธบริษัท และลูกหลานของหลวงพ่อ มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น

ตั้ง นะโม ๓ จบ
นาสังสิโม
พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)
พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม (คาถาเงินแสน )
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันต ุเม (คาถาลาภไม่ขาดสาย)
มิเตภาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)
พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา
วิระทาสี วิระทาสา วิระอิทถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม (คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า)
สัมปะติจฉามิ (คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)
เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ
อ่านเพิ่มเติม

…. หลวงพ่อฤาษีลิงดำ +++ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

…. หลวงพ่อฤาษีลิงดำ +++ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

เดิมท่านชื่อ สังเวียน เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2460 เป็นบุตรของนายควง และ นางสมบุญ สังข์สุวรรณ เกิดที่ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีพี่น้อง 5 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3เมื่ออายุ 6 ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ 4 เมื่ออายุ 15 ปี เข้ามาอยู่กับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ในสมัยนั้น และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ อายุ 19 ปี เข้าเป็นเภสัชกรทหารเรือ สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ อุปสมบท เมื่อวันที่16 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 เวลา 13.00 น. ณ วัดบางนมโค โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิหารกิจจานุการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อายุ 21 ปี สอบได้นักธรรมตรี อายุ 22ปี สอบได้นักธรรมโท อายุ 23ปี สอบได้ นักธรรมเอก
ระหว่างปี พ.ศ. 2480-2481 ได้ศึกษาพระกรรมฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิเช่นหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค, พระครูรัตนาภิรมย์ วัดบ้านแพน, พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า, หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย, หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ
อ่านเพิ่มเติม

ดวงจิตจริงมันดวงเดียว (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

ดวงจิตจริงมันดวงเดียว (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

ดวงจิตจริงมันดวงเดียว
หลวงพ่อพระราชพรหมยานตอบปัญหา

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เอกะจะรัง จิตตัง…จิตดวงเดียวเที่ยวไป” ไอ้ที่บอกเป็นหลายดวง คืออารมณ์เข้ามาสิงจิตอยู่ใช่ไหม.. อย่างจิตมีความโกรธ จิตมีความโลภ จิตมีความหลง ใช่ไหม.. จิตมีความรัก อารมณ์ของจิตก็ต่างกันไป นั่นมันเป็นอารมณ์ไม่ใช่ดวงจิต ดวงจิตจริงมันดวงเดียว.

ดวงจิตจริงมันดวงเดียว
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

ผู้ถาม:- “ล่อจิตตั้ง ๑๒๗ ดวง ๘๒ ดวง”

หลวงพ่อ:- “ใช่…ฉันก็เคยเล่นมาก่อนเหมือนกัน”

ผู้ถาม:- “หลวงพ่อน่ะหรือครับ”

หลวงพ่อ:- “อ้าว…ถ้าไม่โง่เสียก่อนจะรู้เรื่องได้ยังไง”

ผู้ถาม:- “นึกว่าแจ่มแจ๋ว…ตั้งแต่เล็กจนโต”

หลวงพ่อ:- “แจ๋วมาก! ตอนนั้นแจ๋วมากจำได้ทุกดวง… (หัวเราะ) แต่ว่าพอไปเทศน์เข้าจริง ๆ เหลือ ดวงเดียว”

ผู้ถาม:- “ตอนนี้พระที่เทศน์ด้วยกัน ไม่ค้านหูดับตับไหม้เลยหรือครับ ?”

หลวงพ่อ:- “ใครจะค้านใคร เขาก็ค้าน แค่ ๓ ธรรมาสน์นี่น่ะ ทีแรก ๒ องค์ก็ล่อจิตกี่ดวง ตอบ ๘๐ ดวงบ้าง ๑๒๐ ดวงบ้างน่ะ ล่อกันอีรุงตุงนัง ฉันก็ล่อกินหมาก บุหรี่ไม่สูบเป่ายานัตถุ์บ้าง อะไรใช่ไหม.. นั่งหลับตาเสียบ้าง เดี๋ยวเขาหันมาว่า ไงธรรมาสน์โน้น ถามอะไร แกเทศน์อะไรกันนี่ ถามทำไม บอกข้ากินหมากบ้าง เป่ายานัตถุ์บ้าง…เพลินไป
อ่านเพิ่มเติม

คำสั่งของพ่อ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

คำสั่งของพ่อ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

คำสั่งของพ่อ
“ลูกรัก… พี่น้องของลูกที่ยังอยู่อนุบาลยังมีอยู่ พ่อขอสั่งลูก
หน้าที่ของลูกในชีวิตที่เหลืออยู่ “คือตามพี่น้องกลับบ้าน”
มันเป็นหน้าที่เดียวที่พ่อจะมอบให้ลูก
เราจะกลับบ้านกันทุกคนเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
แม้แต่คนเดียว เพราะเราคือพี่น้องกัน จำให้ดีนะลูกใครเขาจะว่าอย่างไร
จะว่าผิดทางหรือถูกทาง ไม่ใช่หน้าที่ของลูกที่จะไปตอบโต้กับใคร
หน้าที่ของลูกทุกคนคือตามพี่น้องเรากลับบ้านให้หมด
ส่วนคนอื่นหากเขายอมรับการสงเคราะห์ก็ช่วยถ้าเขามา
เพื่อทิฐิมานะ จงอย่าสนใจ ตามพี่น้องเรากลับบ้านเท่านั้นคือภาระของลูก”

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ (พระมหาวีระ ถาวโร)

www.bloggang.com

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ คำสอนและเมตตายังคงอยู่

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ คำสอนและเมตตายังคงอยู่

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วันท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี และถึงแม้ว่าท่าจะมรณภาพนานหลายปีแล้วนั้น แต่ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่ปฏิบัติชอบ ด้วยอานุภาพและบุญบารมีที่ทางด้านของหลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านมีความเมตตาไม่มีประมาณต่อญาติโยมและสาธุชนในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น และถึงแม้ว่าท่านจะได้มรณภาพไปแล้ว แต่ทางด้านของศิษยานุศิษย์ก็ยังคงเดินทางไปทำบุญที่วัดท่าซุงกันอย่างไม่ขาดสายกันเลยทีเดียว

และด้วยความมหัศจรรย์ หรืออาจจะเป็นเพราะบุญบารมีของท่าน ที่ได้แผ่ไพศาลไปถึงศิษยานุศิษย์ และทางด้านของความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ยังไม่เสื่อมคลาย ยังมีผู้คนอีกจำนวนมากที่ได้กล่าวขานถึงอภินิหารต่าง ๆ ของท่านที่ได้มีผู้ประสบกับตัวเอง และได้นำมาถ่ายทอดและบอกกล่าวเล่าสู่กันฟัง จนทำให้มีผู้คนได้เดินทางไปกราบไหว้ขอพรที่วัดท่าซุงแห่งนี้จนแน่นขนัดกันเลย

และยังมีโบสถ์แก้วที่สวยงามแปลกตา ถือได้ว่าเป็นมรดกที่มีคุณค่าทางวัตถุธรรม ที่ทางหลวงพ่อได้ทำการจัดสร้างเอาไว้ให้ผู้คนรุ่นหลังได้เห็น ภายในโบสถ์ประดิษฐานสังขารของหลวงพ่อไว้ ให้ผู้ที่เดินทางมาได้เข้าไปทำการกราบไหว้ และนอกจากนี้ภายในวัดก็ยังมีการให้เสี่ยงเซี่ยมซี ทำให้ผู้คนที่เดินทางมาทำบุญไหว้พระกันแล้ว ก็มักจะเสี่ยงเซียมซีแล้วนำเลขที่ไปเสี่ยงเซียมซีได้ ไปซื้อหวยจนได้รับโชคลาภ และได้รับรางวัลใหญ่กันมาแล้วหลายต่อหลายคน ในช่วงก่อนวันหวยออกจึงมักจะมีผู้คนเดินทางมาที่วัดท่าซุงกันจนแน่นขนัด ถึงขนาดที่จะต้องเข้าคิวรอเสี่ยงเซียมซีกันเลยทีเดียวค่ะ

– See more at: http://www.xn--22c0ba9d0gc4c.com

บทกรวดน้ำ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

บทกรวดน้ำ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

อิทัง ปุญญะ พะลัง

ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญ มาล้ว ณ.โอกาสนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว ตั้งแต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงอนุโมทนาส่วนกุศลนี้ และขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้..ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน

และข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาตัวข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และพญายมราช ขอให้เทพเจ้าทั้งหลาย และพญายมราช จงอนุโมทนาส่วนกุศลนี้ และขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด

และข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ และความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ.กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

ผลและบุญใดที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้ว ณ.โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพาน ในชาติปัจจุบันนี้เทอญ

http://www.watchai.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=539322978&Ntype=20

รวมคำสอนหลวงพ่อฤาษี (ลิงดำ) วัดท่าซุง

รวมคำสอนหลวงพ่อฤาษี (ลิงดำ) วัดท่าซุง

ธรรมะเป็นสิ่งที่ชโลมจิตใจเราให้มีสติ รู้จักคิด ตั้งหมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง โดยยึดถือหลักธรรมะไปปรับใช้ ถึงแม้เราจะไม่ได้บวช ไม่ได้ถือศีล 8 ศีล 227 แต่เราก็สามารถนำหลักแนวคิดธรรมะที่เราเคยได้ยินมาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้ อย่างเช่นกันทำงานกับคนหมู่มาก ย่อมมีคามคิดที่แตกต่างมีปัญหามากมายตามมา เราควรจะมีสติรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น หาวิธีแก้ไขปัญหาโดยไม่ด่วนตัดสินใจ ลองปรึกษากับเพื่อนร่วมงานคนรอบข้าง ย่อมมีวิธีใดวิธีหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาให้เราได้ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ หรือพระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) ก็ได้เทศนาธรรมะดีๆให้เราได้รู้จักคิดรู้จักมีสติ สอนวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมากมายให้เราได้อ่านกัน

พุทธานุสสติ ทรงอารมณ์ได้ถึงฌาน ๔
โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
อ่านเพิ่มเติม

พิธีพุทธาภิเษก และ การห้อยพระที่ถูกต้อง โดย หลวงพ่อฤาษี ลิงดำ

พิธีพุทธาภิเษก และ การห้อยพระที่ถูกต้อง โดย หลวงพ่อฤาษี ลิงดำ

วิธีการปลุกพระ ปลุกผ้ายันต์ และวัตถุมงคลต่างๆ ถ้าพระที่เข้าขั้นที่เรียกว่าได้ทิพยจักขุญาน โดยมากเขาไม่ทำเองนะ เขาเที่ยววานพระมาทำ พระพุทธเจ้าบ้าง พระปัจเจกพุทธเจ้าบ้าง พระอริยสงฆ์บ้าง เทวดาบ้าง พรหมบ้าง อันนี้ก็สบายดี แต่หากว่าถ้าทำเองไม่นานมันก็เจ๊ง ตัวเองยังคุ้มครองตัวเองไม่ค่อยได้ คนมันก็ตายนี่ แล้วมันจะไปคุ้มครองความตายของใครเค้าได้ วิธีทำฉันก็บวงสรวงชุมนุมเทวดา อาราธนาบารมีพระทั้งหมด ตั้งแต่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอริยสาวกทั้งหมด ตั้งแต่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอริยสาวกทั้งหมด พรหมทั้งหมด เทวดาทั้งหมด ครูอาจารย์ทั้งหมด ฉันยกยอดเลย ยกยอดในเมื่ออาราธนาก็เห็นท่านมากันครบถ้วน แล้วมาทำกัน เมื่อท่านบอกว่าไม่มีอะไรจะบรรจุแล้ว เต็มแล้ว ฉันก็เลิก จงจำไว้นะ การที่เราจะเสกพระเสกยันต์อะไรต่ออะไรนี่นะ ถ้าเสกด้วยอำนาจกำลังของเราล่ะก็ ไม่ช้ามันก็เสื่อม เราน่ะมันดีแค่ไหน การเสกว่าคาถาต่างๆ นี่ก็เป็นการอาราธนาบารมีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเทวดา หรือพรหมมาช่วย แต่ว่าคาถาบางอย่างก็จะว่าแต่เฉพาะบางจุด
อ่านเพิ่มเติม

บทความธรรมมะ อานิสงส์การบวชในพุทธศาสนา…โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

บทความธรรมมะ

อานิสงส์การบวชในพุทธศาสนา…โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ต่อแต่นี้ไป จะนำเอาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าด้วยเรื่อง อานิสงส์การบรรพชา มาคุยกับบรรดาท่านพุทธบริษัท ความมีว่า องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์เมื่อทรงพระชนม์อยู่ องค์สมเด็จพระบรมปรารถเรื่องการอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า การอุปสมบทบรรพชานี้มีอานิสงส์พิเศษ
อานิสงส์อย่างอื่น มีการสร้างวิหารทานก็ดี การถวายสังฆทานก็ดี ทอดกฐินผ้าป่าก็ดี จัดว่าเป็นอานิสงส์สำคัญ แต่อานิสงส์นี้นั้น บุคคลที่จะพึ่งได้ต้องโมทนาก่อน หมายความว่า ถ้าบุตรธิดาของตนบำเพ็ญกุศล บิดามารดาไม่โมทนาย่อมไม่ได้ แต่ว่าการอุปสมบมบรรพชานี้แปลกกว่านั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า
อ่านเพิ่มเติม

ลืมอุทิศส่วนกุศล หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ลืมอุทิศส่วนกุศล หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ลืมอุทิศส่วนกุศล

“เมื่อทำบุญแล้ว ถ้าจะอุทิศส่วนกุศลภายหลังจะได้ไหมคะ…?”
การทำบุญไปแล้วครั้งหนึ่งสักกี่ปีๆ บุญก็ยังอยู่
ถ้าทำไปแล้วสัก ๓๐ ปีก็ยังอุทิศส่วนกุศลได้ บุญมันไม่หาย
ไม่ใช่เราทำบุญแล้วเดี๋ยวเดียวมันก็หาย ไม่ใช่อย่างนั้นนะ

“แล้วถ้าเผื่อทำบุญแล้ว ไม่ได้อุทิศส่วนกุศลจะได้บุญเต็มที่ไหมคะ?”
ก็ได้เต็มที่อยู่แล้ว เราเป็นผู้ได้สมบูรณ์แบบ

แต่อยู่ที่ว่า เราจะให้เขาหรือไม่ให้
การอุทิศส่วนกุศลนี่ถ้าเราไม่ให้เราก็กินคนเดียว ใช่ไหม
ทีนี้ถ้าเราให้เขา ของเราก็ไม่หมด
อีกส่วนที่เราให้ไปไม่ได้ยุบไปจากของเดิม
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .