อาจาโรวาท หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

อาจาโรวาท
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

1. บุญและบาปสิ่งใดๆ ใจถึงก่อนใจเป็นรากฐาน
ใจเป็นประธาน มันสำเร็จที่ใจ

2. ตัวบุญคือใจสบาย เย็นอกเย็นใจ ตัวบาปคือใจไม่สบาย ใจเดือดใจร้อน

3. เราไม่อยากเป็นกรรมเป็นเวร เราต้องตัด ตัดอารมณ์น่ะหละ
ให้อยู่ในที่รู้ อยู่ตรงไหน แล้วเราก็เพ่งอยู่ตรงนั้น

4. ปัญญาคือ ความรอบรู้ในกองทุกข์สังขาร

5. ถ้าคนเราไม่ได้ทำ ไม่ได้หัดไม่ได้ขัด ไม่ได้เกลา
ที่ไหนเล่า จะมีพระอรหันต์ในโลก

6. ให้สติกำหนดที่ผู้รู้ อย่าส่งไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา
ข้างบน ข้างล่าง อดีต อนาคต กำหนดอยู่ที่ผู้รู้แห่งเดียวเท่านั้นแหละ

7. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ที่ใจ ในใจ
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ประวัติ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

วัดป่าอุดมสมพร อ. พรรณานิคม จ. สกลนคร

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2442 ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 ปีกุน ที่บ้านม่วงไข่ ต.พรรณนา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นบุตรของ เจ้าไชยกุมมาร (เม้า) ในตระกูล “สุวรรณรงค์” ซึ่งเป็นตระกูลเจ้าเมืองพรรณานิคมมาก่อน
มารดาของพระอาจารย์ฝั้นชื่อ “นุ้ย” บุตรของ “หลวงประชานุรักษ์” มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน พระอาจารย์ฝั้นเป็นบุตรคนที่ 4 สมัยเป็นเด็กท่านเป็นคนอ่อนโยน เรียบร้อยนิสัยใจคอเยือกเย็น มีความขยันหมั่นเพียร และสู้งานทุกอย่าง ช่วยเหลือบิดามารดาเป็นอย่างดี

การศึกษาขั้นต้น ท่านได้เรียนหนังสือที่วัดโพธิชัย ในบ้านม่วงไข่นั่นเอง ท่านเรียนหนังสือเก่งและแตกฉานมาก ต่อมาได้ไปอยู่กับนายเขียน อุปพงศ์ ผู้เป็นพี่เขย ซึ่งเป็นปลัดเมืองอยู่ที่ขอนแก่นได้เรียนหนังสือต่อจนจบการศึกษา มีความคิดว่าจะเข้ารับราชการ แต่ได้เปลี่ยนใจเสียก่อนเพราะในระหว่างที่อยู่กับพี่เขยนั้น พี่เขยได้เคยใช้ให้เอาปิ่นโตไปส่งให้นักโทษคนหนึ่งคือพระยาณรงค์ ซึ่งเป็นถึงเจ้าเมืองขอนแก่น ต้องโทษฐานฆ่าคนตาย นอกจากนี้ก็มีข้าราชการใหญ่อีกหลายคนที่ต้องติดคุกอยู่ด้วย ต่อมาเมื่อพี่เขยถูกย้ายไปจังหวัดเลย ท่านก็ไปเยี่ยม ก็ไปพบว่าพี่เขยของท่านซึ่งเป็นถึงปลัดก็เกิดไปติดคุกอยู่ที่จังหวัดเลย ในข้อหาฆ่าคนตายเหมือนกัน ท่านได้ประสบเหตุการณ์อย่างนี้เข้าก็สลดหดหู่ใจไม่ได้ คนใหญ่คนโตยังต้องติดคุกเช่นนี้จึงหมดอาลัยที่จะเข้ารับราชการตามความคิดฝันมาก่อน จากนั้นท่านก็เดินทางกลับมาพรรณานิคมแล้ว บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพนทอง บ้านบะทอง ในระหว่างเป็นสามเณรท่านได้เอาใจใส่ศึกษาพระธรรม และเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง พออายุครบ 20 ปี ก็ได้อุปสมบทที่วัดสิทธิบังคม บ้านไร่ อ.พรรณานิคม โดยมี พระครูป้อง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สัง กับพระอาจารย์นวล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ บวชแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง ขณะเดียวกันพระครูป้องก็ได้สอนกัมมัฎฐานให้ด้วย พอออกพรรษาในปีนั้นท่านได้ออกเดินธุดงค์ติดตาม ท่านพระครูธรรม เจ้าอาวาสวัดโพนทอง เป็นการฝึกหัดกัมมัฏฐานไปด้วย อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 ปีกุน ตรงกับวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2442 ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรคนที่ 5 ของเจ้าไชยกุมาร (เม้า) ในตระกูล “สุวรรณรงค์” อดีตเจ้าเมือ พรรณานิคม มารดาของท่านชื่อ นางนุ้ย พระอาจารย์ฝั้น ครั้งวัยเยาว์ มีความประพฤติเรียบร้อย นิสัยโอบอ้อมอารี ขยันหมั่นเพียร อดทนต่ออุปสรรค ช่วยเหลือกิจการงานของบิดา มารดา โดยไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก
เนื้อหา [ซ่อน]
1 การศึกษา
2 อุปสมบท
3 มรณภาพ
4 คำสอน
5 อ้างอิง
การศึกษา[แก้]

ท่านเข้าศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนวัดโพธิ์ชัย บ้านม่วงไข่ และเข้าไปศึกษาต่อกับพี่เขยที่เป็นปลัดขวา ที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ช่วงนั้นทีแรกท่านอยากรับราชการ แต่ต่อมาได้เห็นความเป็นอนิจจังของผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ จึงได้เปลี่ยนความตั้งใจ และได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดโพนทอง บ้านบะทอง ซึ่งเป็นวัดมหานิกาย ต่อจากนั้นใน พ.ศ. 2463 จึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และได้ขอญัตติเป็นธรรมยุตินิกาย เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2468 ที่วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ อ่านเพิ่มเติม

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

จากหนังสือ ภาพ ชีวประวัติและปฏิปทาของ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๔๒ ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ในตระกูล “สุวรรณรงค์” เจ้าเมืองพรรณานิคม

บิดาของท่านคือ เจ้าไชยกุมมาร (เม้า) ผู้เป็นหลานปู่ของ พระเสนาณรงค์ (นวล) และหลานอาของ พระเสนาณรงค์ (สุวรรณ์) เจ้าเมืองพรรณานิคมคนที่ ๒ และที่ ๔ ตามลำดับ

มารดาของท่านชื่อ นุ้ย เป็นบุตรีของหลวงประชานุรักษ์

พี่น้องร่วมบิดามารดา มีอยู่ทั้งหมด ๘ คน ถึงแก่กรรมแต่ยังเล็ก ๒ คน ส่วนอีก ๖ คน ได้แก่

๑. นางกองแก้ว อุปพงศ์

๒. ท้าวกุล

๓. นางเฟื้อง

๔. พระอาจารย์ฝั้น

๕. ท้าวคำพัน

๖. นางคำผัน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทุกคนสู่สุคติภพไปสิ้นแล้ว ยังเหลือแต่ลูกหลานที่สืบสกุลอยู่ทุกวันนี้เท่านั้น

เมื่อบุตรทุกคนเจริญวัยเป็นท้าวเป็นนางแล้ว เจ้าไชยกุมาร (เม้า) ผู้บิดา ได้อพยพพร้อมกับครอบครัวอื่น ๆ อีกหลายครอบครัว ออกจากบ้านม่วงไข่ ไปตั้งบ้านใหม่ขึ้นอีกหมู่หนึ่ง ให้ชื่อว่าบ้านบะทอง เพราะที่นั่นมีต้นทองหลางใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง แต่ปัจจุบันต้นทองหลางใหญ่ดังกล่าวได้ตายและผุพังไปสิ้นแล้ว สาเหตุที่อพยพออกจากบ้านม่วงไข่ก็เพราะเห็นว่า สถานที่ใหม่อุดมสมบูรณ์กว่า เหมาะแก่การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เช่นวัว ควาย และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเลี้ยงไหม เพราะเป็นพื้นที่ซึ่งมีลำห้วยขนาบอยู่ถึงสองด้าน ด้านหนึ่งคือ ลำห้วยอูนอยู่ทางทิศใต้ ส่วนอีกด้านหนึ่ง คือลำห้วยปลา อยู่ทางทิศเหนือ อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่บุดดา ถาวโร อริยสงฆ์ แห่งบางระจัน

หลวงปู่บุดดา ถาวโร อริยสงฆ์ แห่งบางระจัน

“อย่าเห็นว่า ผ้าเหลืองๆ จะเป็นพระทั้งหมด พระอยู่ที่ความบริสุทธิ์”

วาทะข้างต้นคือสิ่งที่ “หลวงปู่บุดดา ถาวโร” แห่งวัดกลางชูศรีเจริญสุข
อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี พระกรรมฐานรุ่นอาวุโสแห่งยุคสมัย
ซึ่งมีวัยพัน ๑๐๐ ปี บริบูรณ์ไปเมื่อเดือน มกราคม ๒๕๓๗ และ
เพิ่งละสังขารไปหมาด ๆ มักกล่าวเตือนสติสาธุชนที่เข้านมัสการ
สนธนาธรรมไว้ตอนหนึ่งเสมอ
เป็นที่ทราบกันดีในหมู่พระกรรมฐานและศาสนิกชนนักปฏิบัติ
ทั่วไปว่า สำหรับหลวงปู่นั้น นอกเหนือจากท่านจะเป็นพระที่มี
อาวุโสรูปหนึ่งของประเทศแล้ว ปฏิปทาวัตรปฏิบัติของท่านยังงาม
พร้อมสรรพ โดยเฉพาะการปฏิบัติธรรมนั้นว่าท่านได้บำเพ็ญเพียร
ก้าวล่วงสู่ความเป็น “อริยะ” ได้อย่างเต็มภาคภูมิชนิดญาติโยม
สามารถกราบไหว้ ได้อย่างสนิทมือสนิทใจทีเดียว
ในช่วงระยะที่ผ่านมา สหายทางธรรมรูปสำคัญยิ่งของหลวงปู่บุดดา
ที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างกว้างขวางจากมหาชนก็คือ “หลวงปู่สงฆ์ พรหมสโร”
แห่งวัดอาวุธวิกสิตาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งมรณภาพไปก่อนหน้าแล้ว
เมื่อปี ๒๕๑๙ และหลวงปู่สงฆ์รูปนี้นี่เอง ที่เคยกล่ายกย่องหลวงปู่บุดดาไว้เสมอ
ยามมีชีวิตอยู่ว่า “ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนที่สูงส่งด้วยธรรมเป็นอย่างยิ่ง”
กล่าวสำหรับหลวงปู่สงฆ์นั้นท่านเป็นชาวศรีษะเกษ เกิดในปี พ.ศ. ๒๔๒๗
ออกบวชที่จังหวัดปราจีน ปี พ.ศ.๒๔๖๔ และก่อนหน้าที่จะไปพำนักอยู่ที่
วัดอาวุธวิกสิตาราม กระทั่งมรณภาพ ท่านได้จาริกแสวงหาโมกขธรรม
ไปตามป่าเขาลำเนาไพร แทบจะทั่วทั้งภาคอิสานและภาคเหนือ
ส่วนหลวงปู่บุดดานั้นท่านเป็นชาวลพบุรี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๗
อันตรงกับขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ที่บ้านหนองเต่า ตำบลพุคา อำเภอโคกสำโรง
ท่านเป็นบุตรของนายน้อยและนางอึ่ง มงคลทอง ซึ่งประกอบอาชีพทำนา
โดยท่านมีพี่น้องร่วมท้อง ๗ คน แยกเป็นชาย ๔ คน หญิง ๓ คน
มีเรื่องเล่าในวัยเด็ก หลวงปู่บุดดา สามารถระลึกชาติได้ตั้งแต่อายุเพียง ๑๐ ขวบ
ทว่าระยะนั้นหามีใครใส่ใจต่อสิ่งที่หลวงปู่พร่ำพรรณนาให้แม่ฟังไม่
เพราต่างพากันเข้าใจว่าเป็นความซุกซนตามประสาเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษา
เนื่องจากสมัยนั้นในบริเวณละแวกบ้านเกิดของท่านยังไม่มีโรงเรียนที่จะให้การศึกษา
อย่างไรก็ตาม ปี พ.ศ.๒๔๕๘ พออาย่ครบ ๒๑ ปี หลวงปู่ได้เข้าเป็นทหารเกณฑ์
ในสังกัดทหารบก ปืน ๓ จังหวัดลพบุรี ของกองทัพบก ซึ่งสมัยนั้นตรงกับรัชสมัย
ของรัชกาลที่ ๖ โดยท่านรับราชการทหารอยู่นาน ๒ ปีเต็ม และระหว่างการเป็นทหารนี่เอง
ท่านได้มีโอกาสฝึกการเรียนเขียนอ่านควบคู่ไปด้วย จนสามารถใช้การได้ดีพอควร
ว่ากันว่าชีวิตในช่วงระยะแห่งการสวมเครื่องแบบ สีขี้ม้านี้ จะเป็นด้วยศักดิ์ศรี
ของความเป็นรั้วของชาติหรือบุคลิกหน้าตาของท่านหรืออย่างไร ไม่ชัดเจน
ปรากฏว่าได้มีสาวๆ ละแวกค่ายทหารไปติดพันท่านอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย
แต่สิ่งที่หลวงปู่มักยกขึ้นกล่าว อ้างกับบรรดาสาวละอ่อนเหล่านั้น
จนไม่มีใคร กล้ากระแซะเข้าใกล้อีกก็คือ อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่บุดดา ถาวโร สอนศิษย์

หลวงปู่บุดดา ถาวโร สอนศิษย์

โสดาของทายก
คณะอุบาสกอุบาสิกาและทายกของวัดหนึ่งได้พร้อมใจกันมากราบหลวงปู่ ด้วยความปีติใจที่มาปฏิบัติค้างคืนที่วัด ๑ คืน หลวงปู่ได้เมตตาให้ธรรมะกับคณะทายกนี้ว่า
“มาวัดก็เป็นโสดาเต็มวัด เต็มโบสถ์ เต็มศาสนา พอออกจากวัดก็เป็นบ้านกู ของกูหมด
เออ ! โสดาหายหมด วิ่งมาวัดหมด โสดาเฉพาะมาอยู่วัดคืนเดียว วันเดียว พอกลับไปบ้านเป็นคนหมด”

ระวังจะโดนม้าเตะ
หลวงปู่ท่านเมตตาให้ธรรมะกับชาวบ้านที่ตั้งใจมาขอหวย ชะรอยคนกลุ่มนี้คงจะเป็นนักพนันตัวยง หลวงปู่ได้เทศน์ว่า
“คนดีต้องหนีบ้าซิ !
บ้ากับบ้า ก็ไปต่อยกันซิ
สนามมวยต่อยกัน ไม่รู้จักเจ็บจักตาย
สนามม้าก็เหมือนกัน
สร้างเสร็จหมดเงินตั้งแสนตั้งล้าน
มีทุนเท่าไร ไปทุ่มเทในสนามม้าหมด
เราบอกมันตรง ๆ ไม่เชื่อหรอก
ไปสนามม้าบ่อย ๆ ระวังม้าเตะนะ !
ถุงขาดนะ กระเป๋าขาดนะ เงินหมดเลย เหลือแต่ร่างกาย”

ห่วงและหวง
มีโยมคนหนึ่งมาทำบุญที่วัดกลางชูศรีเจริญสุข แล้วก็ไปกราบหลวงปู่ หลวงปู่ยื่นกระป๋องแป้งให้ แล้วบอกให้โยมคนนั้นให้เอาไปโรยให้หมาขี้เรื้อนในวัดตัวหนึ่ง แล้วท่านก็บอกว่า
“หมาตัวนี้ มันเคยเป็นคนสร้างวัดมาก่อน มันเคยเป็นเจ้าของวัด มันรักวัดมาก ใครมาทำให้วัดสกปรกมันจะเห่า”
ขนาดเป็นหมาก็ยังรักวัดอยู่ ห่วงและหวงวัด หญิงคนนั้นก็เลยคิดว่า หลวงปู่คงให้สติว่า
“เวลาทำบุญ ก็อย่าห่วงบุญของตนเอง”
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

หลวงปู่บุดดา ถาวโร
วัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี

“เกิดเป็นมนุษย์ ถ้าล่วงศีล 5 ก็เป็นอบายภูมิเหมือนกัน ไม่ต่างจาก สัตว์เดรัจฉาน เพราะยังเบียดเบียนกัน สร้างกรรมเรื่อยไป มนุษย์ ถ้าเบียดเบียนกันก็เป็นอมนุษย์ทันที ขาดจากศีลธรรมไม่ได้หรอก เป็นเปรต อสุรกายทันที เดี๋ยวนั้นเลย ”

นามเดิม บุดดา มงคลทอง กำเนิด 5 ม.ค. 2437 สถานที่เกิด อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี อุปสมบท อุปสมบท ณ วัดเนินยาว อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2465 โดยมี พระครูธรรมขันธสุนทร เป็นพระอุปัชฌาย์ มรณภาพ 12 ม.ค. 2537 อายุ 101 ปี 73 พรรษา

ขณะที่ยังเป็นเด็กมีอายุได้ 5 ขวบ หลวงปู่เคยขอโยมบิดา มารดา บวชเณร แต่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากอายุยังน้อย กระทั่งหลวงปู่อายุ 28 ปี โยมบิดา มารดา จึงอนุญาตให้บวช ได้รับฉายาว่า “ถาวโรภิกขุ”หลวงปู่นับเป็นพระภิกษุผู้เคร่งครัดยิ่ง ถือธุดงควัตร ครองผ้าสามผืนเป็นวัตร ชีวิตเป็นอยู่เรียบง่ายทุกอย่างพอดีหมด หลวงปู่ได้ทุ่มเทชีวิตให้แก่การปฏิบัติธรรมชนิด เอาชีวิตเป็นประกัน เดิมพันด้วยความตาย และความสำเร็จ โดยเฉพาะยามประเทศชาติมีภัยสงคราม ปัจจัยสี่ทุกอย่างขัดสน ประชาชนเดือดร้อนทั้งประเทศ ช่วงนั้นหลวงปู่ต้องอดทนกับความทุกข์ยากอย่างยิ่ง แต่ด้วยความมุ่งมั่นมานะอย่างเด็ดเดี่ยว ในการประพฤติปฏิบัติธรรม หลวงปู่ก็สามารถต่อสู้กับความทุกข์ยากนั้นได้อย่างกล้าหาญยิ่ง หลวงปู่นับเป็นพระเถระที่มีคุณธรรม และมีพรรษามาก

ท่านได้มีโอกาสพบ และสนทนาธรรมกับพระสุปฏิบัติหลายรูป อาทิเช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ครูบาศรีวิชัย ธัมมวิตักโฏ ภิกขุ เป็นต้น นอกจากนั้น ท่านยังได้รับความนับถือจากพระเถราจารย์ ผู้ทรงคุณธรรมหลายรูป เช่น ครูบาพรหมา พรหมจักโก หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นต้น ซึ่งย่อมเป็นการแสดงให้เห็นถึงภูมิรู้ ภูมิธรรม และคุณธรรมอันสูงส่งของหลวงปู่ได้เป็นอย่างดี

http://www.dhammathai.org/monk/sangha34.php

ทานภายใน..หลวงปู่บุดดา ถาวโร

ทานภายใน..หลวงปู่บุดดา ถาวโร

ทาน คือ การให้ ได้แก่ อามิสทาน(ให้วัตถุสิ่งของ เป็นทานภายนอก) อภัยทาน และธรรมทาน

การให้ทานก็ถึงนิพพานได้ คือ “ธรรมทาน และอภัยทาน” ท่านเรียกว่า “ทานภายใน”

การให้ธรรมทานนั้น เพียงแต่กล่าวถึงคุณของ ทาน ศีล ภาวนา ก็เป็นทานที่สูงสุด เหนือทานภายนอก ทำให้ไม่มีข้าศึกศัตรู ไม่มีกาลสมัย เป็นอกาลิโก

อภัยทานก็อยู่ที่จิต (ให้อภัยแก่ผู้ที่มาโกงเรา เอารัดเอาเปรียบเรา ทำร้ายเรา ข่มเหงรังแกเรา หรือบุคคลที่เรารัก)

เขาไม่สอนกันอย่างนี้ กลัวจะได้เร็ว มัวแต่สอนทานภายนอก ได้ก็ได้ช้า มีอันตราย เพราะจะหลงลืมได้ มัวแต่ให้กายทำโน่น ทำนี่ อยู่ทำไม ? เสียเวลา

http://muangput.com/webboard/index.php?topic=574.0

คำสอนหลวงปู่บุดดา ถาวโร

คำสอนหลวงปู่บุดดา ถาวโร

ยอดของธรรมมะ

สัพเพ ธัมมา นาลัง อะภินิเวสายะ
สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น

จะให้ใครมาทำตัวอย่างให้เราดูเล่า
ตัวเองก็ทำให้ตัวเองดูเองสิ
รู้เท่าความเป็นจริง จึงไม่เจือด้วยทุกข์
ทุกข๋นั้นเกิดขึ้น
ให้รู้จัดทุกข์สะ

เราถูกคาดโทษไว้แล้ว คือโทษ แก่ เจ็บ ตาย
จงรีบแก้ไขตัวเอง เสียจนได้
ตายที่ไหนก็เป็นทุกข์ที่นั่น
เมื่อไม่เกิดที่ไหน ก็ดับทุกข์ที่นั่น
เมื่อไม่ตายที่ไหนก็ดับทุกข์ที่นั่น
ให้พ้นจากความเกิดความตาย
โดยเข้าสู่ในธรรมะโลกุตรธรรม
ให้เข้าสู่พระนิพพานโดยสวัสดิ์

ขอขอบพระคุณ ;; หนังสือเทศนาภาษาใจ ประมวลพระธรรมเทศนา และวาทะหลวงปู่บุดดา ถาวโร

http://www.baanklon.com/index.php?topic=1806.0

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

หลวงปู่บุดดา ถาวโร
(๒๔๓๗ – ๒๕๓๗)
วัดกลางชูศรีเจริญสุข ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

นามเดิม บุดดา มงคลทอง
เกิด วันเสาร์ ที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๕
บ้านเกิด บ้านหนองเต่า ตำบลพุคา อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
บิดามารดา นายน้อย และนางอึ่ง อาชีพทำนา
พี่น้อง มีพี่น้อง ๗ คน
อุปสมบท อายุ ๒๘ ปี ๒๔๖๕ ที่วัดเนินยาว ตำบลโพนทอง อำเภอบ้านหมี่ ลพบุรี โดยพระครูธรรมขันธสุนทร (ม.ร.ว. เอี่ยม) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายา ถาวโรภิกขุ

เรื่องราวในชีวิต

ท่านมีความพิเศษต่างจากคนอื่น คือสามารถระลึกชาติได้ตั้งแต่เด็ก รู้ว่าบิดานั้นเคยเป็นพี่ชายของท่านในชาติก่อน

ในวัยเด็กไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะในระแวกบ้านไม่มีโรงเรียน โตขึ้นจึงช่วยบิดามารดาทำนา เมื่ออายุ ๒๑ ปี ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารสังกัดกองทัพบก ที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ลพบุรี มีโอกาสได้เรียนอ่านเขียนหนังสือที่นั่น เมื่อพ้นทหารในปีต่อมา ยังต้องอยู่ช่วยทางบ้าน ทำนาอีก ๖ ปี จึงได้บวชสมความตั้งใจ
ระหว่างจำพรรษาที่วัดเนินยาว พยายามตัดความอยากได้อยากมีอยากเป็นพร้อมกับปฏิบัติธรรมจนชำนาญ พอออกพรรษาก็ออกธุดงค์ไปถึงหนองคายโดยไม่มีมุ้งไม่มีกลด พรรษาที่สองธุดงค์ไปในป่าดงทึบจังหวังเพชรบูรณ์ ข้ามไปฝั่งลาว ได้พบโครงกระดูกของท่านที่ถูกฝังไว้ในชาติก่อน ในพรรษาต่อมาเดินทางข้ามไปเวียงจันทร์ ได้พบวัดที่ท่านเคยเป็นเจ้าอาวาสติดต่อกันถึงสามชาติ หลังออกพรรษาได้ออกธุดงค์บริเวณเทือกเขาภูพาน ได้พบ หลวงปู่สงฆ์ พรหมสระ ซึ่งระลึกได้ว่า เคยเป็นบิดาของท่านเมื่อชาติก่อน อ่านเพิ่มเติม

แก้กิเลสมาร หลวงปู่บุดดา ถาวโร

แก้กิเลสมาร หลวงปู่บุดดา ถาวโร

“แก้กิเลสมารก็แก้ที่ปัจจุบัน ขันธมารก็แก้ที่ปัจจุบัน
เกิดได้ก็แก้ได้ ธรรมะไม่ตายยังอยู่นี่
อยู่ที่กายปัจจุบัน จิตปัจจุบัน
พุทธะก็อยู่นี้ ธรรมะก็อยู่นี่ สังฆะก็อยู่นี่
ปริยัติก็อยู่ปัจจุบัน ปฏิบัติก็ปัจจุบัน ปฏิเวธก็ปัจจุบัน
เอโก ธัมโม ธรรมมีอันเดียว
ธรรมไม่เกิดไม่ตาย ก็เข้านิพพานตรงนี้ มันจะต้องไปยากอะไรเล่า
พอถึงแล้วก็ไม่ตาย ก็เป็นนิพพานแล้ว มันจะไปยากอะไร”

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

http://www.buaplinor.com/webboard/index.php?topic=1796.0

อยู่กับธรรมะ ไม่ทุกข์ (หลวงปู่บุดดา ถาวโร)

อยู่กับธรรมะ ไม่ทุกข์ (หลวงปู่บุดดา ถาวโร)

อยู่กับธรรมะ ไม่ทุกข์ (หลวงปู่บุดดา ถาวโร)

ไปตามธรรมะ เดินตามธรรมะ
ยืนอยู่ก็ธรรมะ นั่งอยู่ก็ธรรมะ นอนอยู่ก็ธรรมะ
ไปก็ธรรมะ มาก็ธรรมะ จะไปทุกข์อะไร

อยู่กับธรรมะซิไม่ทุกข์

ธรรมะไม่มีสัตว์ ไม่มีคน
อยู่กับคนก็ทุกข์น่ะซิ
อยู่หลายคนก็ทะเลาะกัน
อยู่คนเดียวก็ทะเลาะกับตัวเอง
ทะเลาะกับมิจฉาทิฏฐิ

อยู่กับธรรมะไม่ทะเลาะกับใคร

หลวงปู่บุดดา ถาวโร
วัดกลางชูศรีเจริญสุข จ.สิงห์บุรี

http://www.inwza.com/2013/01/blog-post.html

ตัวโกรธ คือ ส้นตีน หลวงปู่บุดดา ถาวโร

ตัวโกรธ คือ ส้นตีน หลวงปู่บุดดา ถาวโร

ผู้รู้ธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึงผู้ทรงจำคัมภีร์ได้มากหรือเทศน์เก่งหากได้แก่ผู้ที่รู้จักจิตใจของตนและเท่าทันอารมณ์ที่บังเกิดขึ้น บางครั้งหลวงปู่บุดดา ก็มีวิธีการแปลกๆ เพื่อเตือนให้ตระหนักถึงความจริงข้อนี้

คราวหนึ่งหลวงปู่ได้รับอาราธนาให้เทศน์คู่กับท่านเจ้าคุณรูปหนึ่งท่านเจ้าคุณรูปนั้นเห็นหลวงปู่บุดดาเป็นพระบ้านนอก คงไม่มีความรู้ด้านปริยัติธรรมมากเท่าใด จึงถามหลวงปู่ทำนองหยั่งเชิงว่า “จะเทศน์เรื่องอะไร?”

หลวงปู่บุดดาตอบว่า “เรื่องตัวโกรธ กิเลสตัณหา” ท่านเจ้าคุณก็ถามลองภูมิต่อว่า “ตัวโกรธเป็นอย่างไร?”

“ส้นตีไงล่ะ” หลวงปู่ตอบ เท่านั้นแหละ ท่านเจ้าคุณก็โกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยงและไม่ยอมเทศน์คู่กับหลวงปู่ หลวงปู่ต้องขึ้นเทศน์รูปเดียวเมื่อเทศน์จบแล้ว ท่านก็ไปขอขมาท่านเจ้าคุณรูปนั้น แล้วอธิบายให้ท่านเจ้าคุณรู้ว่า “ตัวโกรธ” เป็นอย่างนี้เอง

เราสามารถเรียนรู้ธรรมได้จากอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น หากเพียงแต่รู้จักเฝ้ามองให้เป็น แต่ถ้าลืมตัว มันก็สามารถครอบงำจิตใจเราได้และพลอยทำให้เราตกเป็นทาสของสิ่งแวดล้อม สุดแท้แต่ว่ามันจะปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกใดๆ แก่เรา

นอกจากเรียนธรรมจากอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นแล้ว บางครั้งหลวงปู่ก็ใช้สถานการณ์รอบตัวเป็นเครื่องมือสอนธรรม โดยท่านเพียงแต่สะกิดให้ฉุกคิดเท่านั้น

ครั้งหนึ่งหลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปฉันเพลที่บ้านโยม เมื่อฉันเสร็จแล้วเจ้าของบ้านเห็นหลวงปู่เดินทางมาเหนื่อย จึงขอให้ท่านเอนกายพักผ่อนก่อนเดินทางกลับ ระหว่างนั้นข้างห้องซึ่งเป็นร้านขายของ มีคนเดินลากเกี๊ยะกระทบพื้นบันไดเสียงดัง ศิษย์คนหนึ่งทนเสียงเกี๊ยะไม่ได้ จึงบ่นว่า“แหม…เดินเสียงดังเชียว”

หลวงปู่ซึ่งนอนหลับตาอยู่ จึงพูดเตือนสติว่า “เขาเดินของเขาอยู่ดีๆเราเอาหูไปรองเกี๊ยะเขาเอง”

http://www.publichot.com/forums/showthread.php?

เทคนิควิธีกำราบความโกรธส่วนตัว โดย หลวงปู่บุดดา ถาวโร‏

เทคนิควิธีกำราบความโกรธส่วนตัว
โดย หลวงปู่บุดดา ถาวโร‏

ความโกรธ คืออารมณ์เดือดพล่าน ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ในยามที่เราต้องเกี่ยวข้องผู้อื่น อ่านเทคนิควิธีทำให้หายโกรธแบบง่ายๆ
ท่านสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิต ครอบครัวและการทำงาน

วิธีที่ ๑. ยามใดเมื่อเราโกรธ เราต้องรู้ตัวของเราเองว่า เรากำลังได้รับ
พิษร้ายเข้าไปแล้ว ควรสร้างความรู้สึก”สะดุ้งกลัว”ขึ้นมาทันที และพยายาม
ระงับความโกรธนั้นไว้ ไม่ให้พิษโกรธ กำเริบแสดงเป็นกริยาอาการอะไร
ออกมาอย่างเด็ดขาด ด้วยการพิจารณาโทษของความโกรธ
ให้มากที่สุด

ตัวอย่างวิธีคิด
“หากเราโง่เขลา คิดตอบโต้ผู้อื่นด้วยความโกรธเมื่อใด
พิษร้ายของความโกรธ ก็จะเพิ่มขึ้นและหมักหมมอยู่ในใจมากขึ้นทุกที
มันจะคอยออกมาเผาลนจิตใจของเรา ไปชั่วกาลนานเสมือนหนึ่ง
เราได้สร้างนรกให้เกิดขึ้น ในใจของตัวเอง ”

อ่านเพิ่มเติม

ตามรอยธรรมหลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชุศรีเจริญสุข อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี

ตามรอยธรรมหลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชุศรีเจริญสุข อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี

จูงจิตใจให้เข้าสู่มรรค ผล นิพพาน ให้เข้าสู่ในความไม่เกิดไม่ตาย
อย่าได้มาเวียนเกิดในกามภพ รูปภพ อรูปภพ
เกิดที่ไหนเป็นทุกข์ที่นั่น
เขาจะมีทุกข์ยังไงละทิ้งเหตุมันเสียแล้วกัน ดับแต่เหตุมันซิ
ความทุกข์กายทุกข์ใจ เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
เพราะฉะนั้นอย่าให้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
อย่าทิ้งวิริยะบารมีจนกว่าจะตรัสรู้ธรรมนะ
รู้จักทุกข์แล้วปล่อยทุกข์ซะ อยากพ้นทุกข์ก็อยู่กับธรรมะ
อยากเป็นทุกข์ก็ไปอยู่กับสัตว์โลก

ธรรมะเป็นอย่างไร
ธรรมะก็หนังแผ่นเดียวนะซิ จิตเดียวซิ
กิเลสมันมาเป็นเจ้าของอวิชชาตัณหาอุปาทาน
มันนึกว่าหนังของมัน เนื้อของมัน
ตา หู จมูก ลิ้น กายใจของมันที่ไหน
มันมาอาศัยเขาเกิดยังว่าของมันอีก
พ้นเกิดแก่เจ็บตาย พ้นในปัจจุบันนี้แหละ
ให้พ้นเกิดพ้นตาย จะได้ทำงานให้พระศาสนา
ต้องพูดอย่างธรรม พูดอย่างคนจะขัดคอคนนะซิ
อ่านเพิ่มเติม

โอวาทพระสุปฏิปันโน…หลวงปู่บุดดา ถาวโร

โอวาทพระสุปฏิปันโน…หลวงปู่บุดดา ถาวโร

วัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.บาระจัน จ.สิงห์บุรี

“ขันธ์ ๕ ของกิเลสมันเกิดเป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์อยู่แล้ว เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่แล้ว คนไทยนี่อะไร ๆ ไม่เสียดายหรอก ในโลกนี้ให้หมดนะอามิสน่ะ แต่ แต่มีข้อแม้ว่า “ผัวดิฉันนะ” ใครแตะไม่ได้นะ เอาตายเชียวนะ จะไปนิพพานจะเอาไปด้วย ปัดโธ่ เขาไปนิพพานเขาเอาผัวเมียไปที่ไหนกัน เขาเอาธรรมะไปต่างหากล่ะ

คนมันเขียนท้ายรถยนต์ ทำดีได้ดีมีที่ไหนทำชั่วได้ดีมีถมไป ไอ้นั่นนะมันไม่รู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มันเอาข้อวัตรของมันมาเอากิเลสอวด โอโธ่ พระพุทธเจ้าไม่ไดพูดอย่างนั้น ”

http://www.baanmaha.com/community/thread27028.html

หลวงปู่บุดดา ถาวโร ทิ้งขันธ์ ๕

หลวงปู่บุดดา ถาวโร ทิ้งขันธ์ ๕

ทั้งโทรทัศน์และ น.ส.พ. ออกข่าวว่า หลวงปู่บุดดา ท่านทิ้งขันธ์ ๕ ไปเมื่อวันพุธที่ ๑๒ ม.ค. พ.ศ.๒๕๓๗ เวลา ๒๐.๐๐ น. โดยประมาณด้วยอาการสงบ เพื่อนของผมท่านเล่าว่า ขณะที่กวาดวัดในตอนเช้า พอรู้ข่าวทั้ง ๆ ที่ตนเองก็รู้ล่วงหน้าว่าท่านจะทิ้งขันธ์หลังวันเกิดของท่านเมื่อ ๕ ม.ค. ๒๕๓๗ แต่อารมณ์จิตก็อดหวั่นไหวมิได้ ซึ่งก็เป็นของธรรมดา เพราะรู้ว่าตนยังมีอารมณ์ ๒ อยู่ (พอใจกับไม่พอใจ) พอทำจิตให้สงบลงก็เห็นหลวงปู่กับหลวงพ่อยืนอยู่ หลวงปู่สอนว่า

๑. “ขันธ์ที่ช่วยตัวเองไม่ได้อย่างนี้ ไม่มีใครต้องการเอาไว้หรอก ข้าเหมือนคนอยู่บ้านผุ ๆ หลังคาก็รั่ว เพดานก็โหว่ บันไดก็ใช้การอะไรไม่ใคร่จะได้ มันซ่อมไม่ไหว ก็ต้องไปดีกว่า นี่มันเรื่องธรรมดานะท่านฤๅษี”

๒. “ไอ้คนโง่เท่านั้นแหละที่มันไม่ยอมรับธรรมดา ร่างกายไม่ดีมันก็บอกว่าดี ร่างกายสกปรกมันก็ว่าดี ร่างกายมันจะไปไม่ไหว มันก็บอกว่าไปไหว มันฝืนความจริง เกาะร่างกายแจอย่างนี้ มันจะไปนิพพานได้อย่างไรกัน” (ฟังแล้วสะอึก เพราะท่านพูดแทงใจดำ)

๓. “เอ็งเห็นดอกไม้ที่ร่วงไหม?” (ก็รับว่าเห็นดอกที่ร่วงอยู่นี้) “มีทั้งดอกอ่อนที่ยังไม่ตูม ดอกที่ตูมแล้วยังไม่บาน ดอกที่บานแล้วยังไม่โรย ดอกที่โรยแล้วยังไม่เหี่ยว ดอกที่เหี่ยวแล้วยังไม่แห้ง ดอกที่แห้งแล้วเป็นที่สุดก็มี นี่มันร่วงลงมาจากต้นไม้เหมือนกัน ทั้ง ๆ ที่สภาวะของมันไม่เท่านั้น” อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

หลวงปู่บุดดา ถาวโร
วัดกลางชูศรีเจริญสุข ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

เกิด–ภูมิลำเนา หลวงปู่บุดดา ถาวโร มีนามเดิมว่า มุกดา นามสกุล มงคลทอง เกิดวันเสาร์ขึ้น 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2437 ที่บ้านเกวียนหัก ตำบลพุคา อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
บิดา น้อย มงคลทอง
มารดา อึ่ง มงคลทอง
มีพี่น้อง ทั้งหมด 7 คน ยังเหลือน้องชายคนเล็กชื่อ เหลือ มงคลทอง นอกนั้นถึงแก่กรรม(ตาย) ไปหมดแล้ว

ชีวิตฆารวาส

เมื่อวัยเด็กไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือเพราะไม่มีโรงเรียน อายุได้ 21 ปีบริบูรณ์ในปี พ.ศ. 2458 ได้ถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารสังกัดกองทัพบก ทหารบกปืน 3 ในสมัยรัชกาลที่ 6 รับราชกาลทหารอยู่ 2 ปี ในกองทัพที่ 3 ลพบุรี หลังรับราชการทหาร ท่านได้ช่วยโยมบิดามารดาทำงานเกษตรกรรมอยู่ 4 ปี ดังนั้นเมื่อมีโอกาสจึงขออนุญาตต่อบิดามารดาบวช เมื่ออายุได้ 28 ปี ที่วัดเนินยาว อ่านเพิ่มเติม

คำสอนของ หลวงปู่บุดดา ถาวโร

คำสอนของ หลวงปู่บุดดา ถาวโร

มีหนังแผ่นเดียว มีจิตดวงเดียวเท่านั้น ก็หนังแผ่นเดียวมันหุ้มอยู่ทั้งหมดกับทะลุ ๙ ช่อง นะวะทะวารัง ทะลุทางตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ทวารหนัก ทวารเบา………

หนังแผ่นเดียวนี้ก็ไม่ มีเจ้าของ นามรูปไม่มีเจ้าของใช้ได้แล้ว เข้าทางแล้ว รูปฌานเป็นเจ้าของไม่ได้ อรูปฌานก็เป็นเจ้าจองไม่ได้………

จับก็จับไปซิ จับแต่หนัง ไม่ได้จับตัว ตัวมีที่ไหนล่ะ พออริยมรรค ๔ อริยผล ๔ ทำงาน พอหมดแล้วไม่มีเจ้าของแล้ว…

หนัง แผ่นเดียวมันรักษาง่าย อยู่ในท้องก็มีเท่านี้แหละ ออกจากท้องมาแล้วก็มีเท่านี้แหละ หมดไป ๑๐๐ ชั่วโมง ๑๐๐ วัน ก็มีหนังแผ่นเดียวเท่านี้แหละ ตื่นขึ้นมาก็มีหนังแผ่นเดียว จะดับไปก็หนังแผ่นเดียว…

จะมาเกิดอีกก็มีแค่หนังแผ่นเดียวเท่านี้ ยังไม่เชื่อกัน ไม่เชื่อธรรมะก็ตามใจซิ………

อยาก ดูหนังก็ให้ดูหนังเรามีให้ดูตลอดเวลา ดูตามนี้ธรรมะดีขึ้น หนังมันดีลง จะไปติดอะไรกับหนัง จะไปเสียดายอะไรกับหนัง แค่กระดาษห่อขนมปังเท่านั้นเอง คนรู้นะ เขาทิ้งกระดาษห่อขนมปังทั้งนั้น พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ท่านรู้อย่างนี้ ท่านไม่หลงไม่ลืม แล้วเราจะอวดดีไปหลงไปลืมทำไม………

อ่านเพิ่มเติม

ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข

ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข

หลงมากทุกข์มาก หลงน้อยทุกข์น้อย ไม่หลงเสียเลยไม่ทุกข์
เลิกหลงกันเสียทีเถอะ !
ตำราของโลกไม่ได้สอนอริยสัจ ๔
อเนกชาติมาแล้วสัตว์ยึด เกิด แก่ จ็บ ตาย เป็นของตน
ยึด ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อุปาทานยึดหมด ชอบหาบเป็นเจ้าของ
ขอยืมเขามาใช้ยังอวดดีถือเอาเป็นของตัว เพราะกิเลสความหลงไม่รู้จบ
สัตว์โลกขาดศรัทธาญาณวิชา ไม่เห็นนิโรธสัจ ยังหลงนามรูปอยู่
ทุกข์ทั้งหลายรวมอยู่ในความเกิดความตายไม่เข็ดหรือไง ? หัดเข็ดกันบ้างซี่ !
ไม่มีใครช่วยให้เราพ้นเกิดตายได้นะ ! เกิดก็ทุกข์ แก่ เจ็บ ตาย ก็ทุกข์ ดียังไง ?
จะมัวสร้างความหลงให้กับตัวเองทำไม ? อย่าได้ประมาทนิ่งนอนใจ อย่าได้ทิ้งเด็ดขาด !
อย่ามัวแบกทุกข์ อวิชชาอยู่เลย ! รู้แล้วเห็นแล้ว อย่าให้ใจหลงงมงาย กิเลสมันมาทางหลง
หมดกิเลสก็หมดเกิดตายซี่ ! ให้เคารพศรัทธามั่นในโลกุตตรธรรมนะ !
ขอให้สาธุชนพ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง มีความสุขเกษมสันต์ทั่วหน้ากันเทอญ

ไม่มีเจตนาทำบาปเสียแล้ว
จิตไม่เศร้าหมอง
จึงปราศจากทุกข์
เจตนาละเว้นทุกลมหายใจเข้าออก
ผู้ปฏิบัติจงน้อมไปปฏิบัติ ในกาย วาจา ใจ ของตน
ธรรมของจริง ก็จะบังเกิด ทุกเมื่อ
เป็นธรรมอันไม่ตาย

หลวงปู่บุดดา ถาวโร
วัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี

http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=2178.0

. . . . . . .