กายานุปัสสนา ๔ ชั้น สมเด็จพระญาณสังวร

กายานุปัสสนา ๔ ชั้น
สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะ เป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้น ก็ขอให้ทุกๆ ท่าน ตั้งใจนอบน้อมนมัสการพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม ปัญญาในธรรมนั้นต้องอาศัยสมาธิ และสมาธินั้นก็ต้องอาศัยศีลพร้อมกับสรณะเป็นภาคพื้น สรณะนั้นจำต้องอาศัยโดยแท้ เพราะธรรมะทั้งปวงอาศัยคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดา ฉะนั้น ความรับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ ก็คือการถึงสรณะ หรือมีสรณะนั้นเอง ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติจึงควรตั้งใจถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะคือที่พึ่ง ตั้งใจถึงพระธรรมเป็นสรณะคือที่พึ่ง ตั้งใจถึงพระสงฆ์เป็นสรณะคือที่พึ่ง ความตั้งใจถึงนี้เป็นความตั้งใจที่แน่วแน่ ไม่มีแบ่ง ดังบทสวดที่ว่า

นัตถิ เม สรณัง อัญญัง ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
พุทโธ เม สรณัง วรัง พระพุทธเป็นที่พึงอันประเสริฐของข้าพเจ้า
ธัมโม เม สรณัง วรัง พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
สังโฆ เม สรณัง วรัง พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
อ่านเพิ่มเติม

พระคติธรรมสมเด็จพระสังฆราชฯ

พระคติธรรมสมเด็จพระสังฆราชฯ

วันที่ 3 ตุลาคม 2555 รับนิมนต์ไปฉันภัตตาหารเพลในงานบำเพ็ญพระกุศลคล้ายวันประสูติ เจริญพระชันษา 99 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ฉันภัตตาหารเพลเสร็จได้รับแจกหนังสือเกี่ยวกับสมเด็จพระสังฆราชนมาหลายเล่มเช่นพระผู้สำรวมพร้อม พระพุทธศาสนากับสังคมไทย ตนอันเป็นที่รักยิ่งของตน รวบรวมพระคติธรรม เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ เจริญพระชันษา 99 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ขออนุญาตนำพระคติธรรมบางส่วน บทประพันธ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ มาให้อ่าน ในวันคล้ายวันประสูติ เจริญพระชันษา 99 ปี 3 ตุลาคม 2555

พระมรดก
จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาคือให้คนเป็นคนดี

ความดีระดับใดก็จะนำให้ไกลทุกข์ในระดับนั้น
ความดีถึงที่สุดคือความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง
ความโลภความโกรธ ความหลงมิหลงเหลือแม้แต่น้อย
อย่าทำบาปแม้เล็กน้อยเพียงใด
ทำกุศลทั้งปวงให้เต็มสติปัญญาความสามารถ ทำใจให้ผ่องใส
อ่านเพิ่มเติม

ศาสนาและทศพิธราชธรรมในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

ศาสนาและทศพิธราชธรรมในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เขียนคำนำหนังสือ ศาสนาและทศพิธราชธรรม ที่พิมพ์ในโอกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงประมุขสงฆ์ในฐานะสมเด็จพระสังฆราชมาครบ 24 ปี เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2556 ว่า ทศพิธราชธรรมเป็นคำสอนที่มีมาในคัมภีร์ชาดกของพระพุทธศาสนา เชื่อกันว่าเป็นคำสอนที่โบราณาจารย์สั่งสอนพระราชาในสมัยโบราณ ทางพระพุทธศาสนาจึงถือว่าเป็นหลักธรรมสำหรับพระราชาผู้เป็นประมุขของประชาชน และได้นำสืบๆ กันมา

ต่อมาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงนำมาเป็นแบบแผนในการถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถา สำหรับพระมหากษัตริย์ และทรงอธิบายขยายความลำดับต่อมาว่ามิใช่เป็นธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น หากแต่เป็นหลักธรรมสำหรับผู้ปกครองทั่วไปในระดับต่างๆ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงอธิบายขยายความต่อว่าทศพิธราชธรรม เป็นธรรมสำหรับทุกคน

ในขณะที่ผู้เรียบเรียง กล่าวว่า
อ่านเพิ่มเติม

หลักการทำสมาธิเบื้องต้น พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

หลักการทำสมาธิเบื้องต้น

พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

คัดลอกจาก http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk713/mk7131/mk7132.htm

สมาธินี้ได้มีอยู่ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก ในสิกขาสามก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ในมรรคมีองค์แปดก็มีสัมมาสมาธิเป็นข้อสุดท้าย และในหมวดธรรมทั้งหลายก็มีสมาธิรวมอยู่ด้วยข้อหนึ่งเป็นอันมาก ทั้งได้มีพระพุทธภาษิตตรัสสอนไว้ให้ทำสมาธิในพระสูตรต่าง ๆ อีกเป็นอันมาก เช่น ที่ตรัสสอนไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอบรมสมาธิ เพราะว่าผู้ที่มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้วย่อมรู้ตามเป็นจริง ดั่งนี้ ฉะนั้น สมาธิจึงเป็นธรรมปฏิบัติสำคัญข้อหนึ่งในพระพุทธศาสนา

แต่ว่าสมาธินั้นมิใช่เป็นข้อปฏิบัติในทางศาสนาเท่านั้น แต่เป็นข้อที่พึงปฏิบัติในทั่ว ๆ ไปด้วย เพราะสมาธิเป็นข้อจำเป็นจะต้องมีในการกระทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการดำเนินชีวิตทั่วไปหรือทางด้านปฏิบัติธรรม มีคนไม่น้อยที่เข้าใจว่าเป็นข้อที่พึงปฏิบัติเฉพาะในด้านศาสนา คือสำหรับผู้ที่ต้องการปฏิบัติธรรมอย่างเป็นภิกษุ สามเณร หรือเป็นผู้ที่เข้าวัดเท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ฉะนั้น ก็จะได้กล่าวถึงความหมายของสมาธิทั่วไปก่อน

สมาธินั้น ได้แก่ความตั้งใจมั่นอยู่ในเรื่องที่ต้องการให้ใจตั้งไว้เพียงเรื่องเดียวไม่ให้ใจคิดฟุ้งซ่านออกไป นอกจากเรื่องที่ต้องการจะให้ใจตั้งนั้น ความตั้งใจดั่งนี้เป็นความหมายทั่วไปของสมาธิ และก็จะต้องมีในกิจการที่จะทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเล่าเรียนศึกษา หรือว่าการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
อ่านเพิ่มเติม

“วิธีล้างบาปของพระพุทธเจ้า”…สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

“วิธีล้างบาปของพระพุทธเจ้า”…สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

คัดลอกจากหนังสือเรื่อง วิธีการของพระพุทธเจ้า
(หัวข้อ วิธีล้างบาปของพระพุทธเจ้า)
นิพนธ์ในเจ้าพระคุณสมเด็จญาณสังวร (สุวฑฺฒนมหาเถระ)
พิมพ์น้อมถวายเป็นวิทยาทานโดยมหามงกุฏราชวิทยาลัย
ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ หน้า ๘๐-๘๑

สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ
คราวนั้นอยู่ในฤดูหนาวจัดราว ๘ วัน (ราวกลางเดือน ๓ ตามที่นับอย่างไทย)
มีหิมะตกมาก เวลากลางคืนก็ยิ่งหนาวจัด

พวก ชฎิล (นักบวชที่เกล้าผมเป็นกระเซิง ซึ่งกลายมาเป็นแบบชฎา) เป็นอันมาก
พากันลงไปในแม่น้ำคยา ดำผุดโผล่ สระสนานเกล้าหรือรดให้เปียก บูชาไฟบ้างก็มี
ด้วยคิดว่า สุทธิ คือ ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยการวิธีปฏิบัตินี้

พระพุทธเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นการปฏิบัติของพวกชฎิลเหล่านั้น
ได้ทรงอุทานขึ้นในเวลานั้น ความว่า
“ความดี บริสุทธิ์สะอาดมีได้เพราะน้ำหามิได้เพราะชนก็อาบน้ำกันมาก
สัจจะและธัมมะมีในผู้ใด ผู้นั้นเป็นคนสะอาด เป็นพราหมณ์ คือ คนดี”
อ่านเพิ่มเติม

องค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

องค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สมเด็จพระสังฆราชสมเด็จ พระสังฆราช (เจริญ สุวัฑฒโน) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

พระองค์มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติที่อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงศึกษาที่โรงเรียนวัดเทวสังฆาราม เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา และบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเทวสังฆาราม เมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้ไปเรียนภาษาบาลีที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ. ๑๔๗๒ ได้มาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ศึกษาพระปริยัติธรรม ได้ตามลำดับดังนี้

พ.ศ. ๒๔๗๒ สอบได้นักธรรมชั้นตรี
พ.ศ. ๒๔๗๓ สอบได้นักธรรมชั้นโท และเปรียญธรรม ๓ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๗๕ สอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม ๔ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๗๖ อุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม จำพรรษาที่วัดนี้ ๑ พรรษา แล้วกลับมาวัดบวรนิเวศวิหาร อุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุติ และสอบไล่เปรียญธรรม ๕ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๗๗, ๒๔๗๘, ๒๔๘๑ และ ๒๔๘๔ สอบได้เปรียญธรรม ๖,๗,๘ และ ๙ ประโยคตามลำดับ
พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย และเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ และเป็นกรรมการสภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับพระทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระโศภณคณาภรณ์ และเป็นกรรมมหามงกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นกรรมการเถรสมาคม คณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว อ่านเพิ่มเติม

เปิดตัวหนังสือพุทธการ์ตูน “จิตตกรรมเล่าเรื่องจิตตนคร” พระนิพนธ์สมเด็จพระสังฆราช เล่มแรกของประเทศไทย

เปิดตัวหนังสือพุทธการ์ตูน “จิตตกรรมเล่าเรื่องจิตตนคร” พระนิพนธ์สมเด็จพระสังฆราช เล่มแรกของประเทศไทย เทิดพระเกียรติ 100 ชันษา 3 ตุลาคม 2556 แจกประชาชนในงานฉลองพระชันษาวัดบวรนิเวศวิหาร สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ระบุขอต้นฉบับไปพิมพ์แจกประชาชนได้

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 และมูลนิธิวีระภุชงค์ เปิดตัว “หนังสือจิตตกรรมเล่าเรื่องจิตตนคร” เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในโอกาสเจริญพระชันษา 100 ปี 3 ตุลาคม 2556

โดยมีรมว.วัฒนธรรม (วธ.) พระดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ กรรมการมูลนิธิวีระภุชงค์ และพระธีรโพธิภิกขุ หรือพระอาจารย์ธีระพันธุ์ ลอไพบูลย์ ประธานชมรมธุลีไท ร่วมแถลงข่าว

พระ ดร.อนิลมาน กล่าวว่า เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษา 100 ปี 3 ตุลาคม 2556 รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมใจจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน ระหว่างวันที่ 1-7 ตุลาคม 2556

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ในการบำเพ็ญพระราชกุศล เป็นกรณีพิเศษ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระสังฆราช ในวันที่ 3 ตุลาคม นี้
อ่านเพิ่มเติม

เปิดตัวหนังสือ จิตตกรรมเล่าเรื่องจิตตนคร ถอดพระนิพนธ์ พระสังฆราช

เปิดตัวหนังสือ จิตตกรรมเล่าเรื่องจิตตนคร ถอดพระนิพนธ์ พระสังฆราช เป็นสมุดภาพเล่าเรื่องครั้งแรกของไทย เทิดพระเกียรติ 100 ชันษา

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. ที่ ห้องประชุมชั้น 6 บริษัท ไทยนครพัฒนา จ.นนทบุรี นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)กล่าวในพิธีเปิดงานแถลงข่าว “หนังสือจิตตกรรมเล่าเรื่องจิตตนคร” เทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษา 100 ปี ว่า จิตตนคร เป็นผลงานพระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งได้นำหลักพระธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา เรื่องจิตและธรรมะที่เกี่ยวกับจิตในแง่มุมต่างๆ มาผูกเป็นเรื่องราวในทำนองบุคลาธิษฐาน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในเรื่องจิตและการปฏิบัติทางจิต ทั้งนี้ พระธีรโพธิภิกขุ ได้รับประทานอนุญาต จากสมเด็จพระสังฆราช ให้นำพระนิพนธ์ดังกล่าว มาเป็นแรงบันดาลใจเขียนเรื่องและวาดภาพประกอบ ให้มีความน่าสนใจเข้าถึงคนรุ่นใหม่ในชื่อเรื่อง “จิตตกรรมเล่าเรื่องจิตตนคร” เพื่อให้ผู้ศึกษาพระนิพนธ์ มีความเข้าใจในหลักธรรมง่ายขึ้น นายสนธยา กล่าวต่อไปว่า สวธ. ได้ร่วมกับสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 และมูลนิธิวีระภุชงค์ ให้การสนับสนุนการจัดพิมพ์หนังสือจิตกรรมเล่าเรื่องจิตตนคร จำนวน 15,000 เล่ม เพื่อถวายเป็นสักการบูชาและถวายเป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระสังฆราช อีกทั้งเล็งเห็นในคุณค่าของหนังสือ “จิตตกรรมเล่าเรื่องจิตตนคร” ว่าจักสามารถเผยแผ่พระธรรมคำสอนให้เข้าถึงประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนไทยได้ง่ายขึ้น ซึ่งไม่เฉพาะแต่ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่เป็นหลักปฏิบัติอย่างสากล ถือเป็นหนังสือแห่งยุคที่เชื่อว่าจะสามารถพัฒนาไปสู่รูปแบบอื่นได้อีก เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมโลกต่อไป

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เปิดตัวหนังสือ จิตตกรรมเล่าเรื่องจิตตนคร เทิดพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช 100 ชันษา

http://www.stepzii.com/archives/3279

ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องจิตตนครของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)

ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องจิตตนครของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)

ผู้วิจัย : นางสาวพารณี เจียรเกียรติ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องจิตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร-วาท (๒) เพื่อศึกษาแนวคิดจิตตนครของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และ (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าเชิงจริยธรรมในพระนิพนธ์จิตตนครของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฏีกา วิสุทธิมรรค พระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก หนังสือของท่านพุทธทาสภิกขุ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ศ.ดร. ระวี ภาวิไล เป็นต้น

การวิจัยพบว่าแนวคิดเรื่องจิตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและในพระนิพนธ์จิตตนครเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ในพระนิพนธ์จิตตนครใช้ลักษณะการอธิบายแนวคิดเรื่องจิต โดยการอุปมาอุปมัยผ่าน บุคคลา-ธิษฐาน ทำให้เกิดความซาบซึ้งดื่มด่ำและเข้าใจธรรมของพุทธองค์ได้มากขึ้น ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่าเชิงจริยธรรม ซึ่งเข้าใจในลักษณะและธรรมชาติของจิต กระบวนการพัฒนาจิต และการส่งเสริมการปฏิบัติทางจิต
อ่านเพิ่มเติม

ที่พึ่งของชีวิต อันไม่มีที่พึ่งใดเปรียบได้ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ที่พึ่งของชีวิต อันไม่มีที่พึ่งใดเปรียบได้ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ที่พึ่งของชีวิต อันไม่มีที่พึ่งใดเปรียบได้

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเพื่อจิตใจโดยแท้ เป็นศาสนาที่ทะนุถนอมจิตใจเป็นอย่างยิ่ง มุ่งพิทักษ์รักษาจิตใจเป็นอย่างยิ่ง มุ่งพิทักษ์รักษาจิตใจให้ห่างไกลจากความเศร้าหมองทั้งปวง อันจักเกิดแต่ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศึกษาพระพุทธศาสนาให้รู้จริง ก็จะเห็นพระพุทธเจ้าว่า ทรงมีพระหฤทัยละเอียดอ่อนและสูงส่งเหนือผู้อื่นทั้งปวง ความอ่อนโยนประณีตแห่งพระหฤทัย ทำให้ทรงเอื้ออาทรถึงจิตใจสัตว์โลกทั้งหลาย ทรงแสดงความทะนุถนอมห่วงใยสัตว์น้อยใหญ่ไว้แจ้งชัด สารพัดที่ทรงตรัสรู้อันจักเป็นวิธีป้องกันจิตใจของสัตว์โลก สมเด็จพระบรมศาสดาทรงพระมหากรุณาพร่ำชี้แจงแสดงสอนตลอดพระชนมชีพที่ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เช่นนี้แล้วไม่ความหรือที่พุทธศาสนิกทุกถ้วนหน้า จะตั้งใจสนองพระมหากรุณาเต็มสติปัญญาความสามารถปฏิบัติตามที่ทรงสอน เอื้ออาทรต่อเพื่อนร่วมทุกข์ทั้งหลาย ด้วยการแนะนำบอกเล่าให้รู้จัก ให้เข้าใจว่าสมเด็จพระพุทธศาสดานี้ทรงยิ่งด้วยพระมหากรุณา จึงทรงอบรมพระปัญญา จนถึงสามารถทรงยังให้เกิดพระพุทธศาสนาขึ้นได้ เป็นที่พึ่งยิ่งใหญ่ของสัตว์โลกทั้งหลายได้จนถึงทุกวันนี้ ไม่มีที่พึ่งอื่นใดเปรียบได้
อ่านเพิ่มเติม

อนุรักษ์ “มรดกทางธรรม” สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

อนุรักษ์ “มรดกทางธรรม” สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

อนุรักษ์ “มรดกทางธรรม” สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

ห้องสมุดพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ฉลอง 100 พรรษา “สมเด็จพระสังฆราช”

ถาวรวัตถุอันเป็นมงคล ซึ่งสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร กำลังเตรียมการเพื่อจัดสร้างเป็นพระกุศลเฉลิมพระเกียรติในวาระมหามงคล เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จะทรงเจริญพระชนมายุ 100 พรรษา ในปี 2556

โดยมีเป้าหมายต้องการพัฒนาให้เป็นห้องสมุดทางพระพุทธศาสนาที่สมบูรณ์แบบที่สุดในประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะมีหนังสือทางพระพุทธศาสนาแล้ว ยังจะมีผลงานการวิจัยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สื่อมัลติมีเดียต่างๆ ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา รวมทั้งจะเป็นสถานที่ที่ใช้จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาด้วย

และที่สำคัญห้องสมุดพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย จะถือว่าเป็นห้องสมุดแห่งเดียวของประเทศ ไทยที่จะมีการรวบรวมข้อมูลที่ เป็นมรดกทางธรรมของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ไว้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ลายพระหัตถ์ หนังสือพระนิพนธ์หนังสือ วิชาการส่วนพระองค์ พระสุรเสียงที่พระองค์ทรงเทศน์ในงานต่างๆ ที่มีการบันทึกไว้รวม ไปถึงพระรูปที่หาชมได้ยากของ พระองค์ด้วย
อ่านเพิ่มเติม

จดหมายเหตุ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

จดหมายเหตุ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระฉายาว่า”สุวัฑฒโน” พระนามเดิมว่าเจริญ พระสกุล “คชวัตร”
ประสูติที่บ้านเลขที่ 367ตำบลบ้านเหนืออำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรีเมื่อวันศุกร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคมพ.ศ.2456เวลาประมาณ10ทุ่มหรือประมาณ 4.00 น. เศษแห่งวันเสาร์ที่ 4 ตุลาตม พ.ศ.2456 ตามที่นับในปัจจุบัน โยมบิดาชื่อน้อย คชวัตร ถึงแก่กรรม พ.ศ.2465 โยมมารดาชื่อกิมน้อย คชวัตรถึงแก่กรรม พ.ศ.2508

บรรพชน
บรรพชนของสมเด็จมาจาก 4 ทิศ บิดามาจากสายกรุงเก่าทางหนึ่ง จากปักษ์ใต้ทางหนึ่ง ส่วนมารดามีเชื้อสายญวนทางหนึ่ง และจีนทางหนึ่ง บิดาคือนายน้อย คชวัตร เป็นบุตรนายเล็กและนางแดงอิ่ม เป็นหลานปู่พระยา หลานย่าของหลวงพิพิธภักดี และนางจีนเป็นชาวกรุงเก่ามารับราชการในกรุงเทพ ได้ออกไปเป็นผู้ช่วยราชการอยู่เมืองไชยาคราวหนึ่ง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ 3ได้เป็นผู้หนึ่งที่ไปคุมเชลยที่เมืองพระตะบอง ได้ภริยาชาว เมืองไชยา 2 คน ชื่อทับ กับชื่อนุ่น และได้ภริยาชาวเมืองพุ่มเรียง 1 คน ชื่อแต้ม ต่อมาเมื่อได้รับคำสั่งให้ไปราชการปราบแขกที่มาตีเมืองตรังเมืองสงขลาจึงไปได้ภรรยาซึ่งเป็นพระธิดาของพระปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง ( สน )และได้พาภริยามาตั้งครอบครัวอยู่ที่กรุงเทพ ฯ เวลานั้นพี่ชายของหลวงพิพิธภักดีเป็นที่พระพิชัยสงคราม เจ้าเมืองศรีสวัสดิ์และพระยาประสิทธิสงคราม ( ขำ ) เจ้าเมืองกาญจนบุรีเป็นอาของหลวงพิพิธภักดีจึงพาภรรยาไปตั้งครอบครัวอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี และลาออกจากราชการไปประกอบอาชีพทำนา ตระกูลคชวัตร นายเล็กกับนางแดงอิ่ม มีบุตร 3 คน

1.นายน้อย คชวัตร
2.นายวร คชวัตร
3.นายบุญรอด คชวัตร
นายน้อย กับนางกิมน้อย คชวัตร มีบุตร 3 คนดังนี้

1.สมเด็จพระญาณสังวรฯ( เจริญ คชวัตร )
2.นายจำเนียร คชวัตร
3.นายสมุทร คชวัตร

อ่านเพิ่มเติม

ชีวิตและปฏิปทา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) ตอนที่ ๒

ชีวิตและปฏิปทา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) ตอนที่ ๒

ศาสนาพุทธสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกชีวประวัติบุคคล

จาก http://pantip.com/topic/31074925

ปฏิปทาอันควรค่าแก่การเป็นแบบอย่าง สำหรับพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั่วไป พระปฏิปทาอันเป็นแบบ
อย่างดังกล่าวก็คือ

• ความเป็นผู้ทรงปริยัติและไม่ทิ้งปฏิบัติ
• ความเป็นผู้สำรวมระวังในพระวินัย
• ความเป็นผู้มักน้อยสันโดษ

——————————————————————————

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้เคยกล่าวยกย่อง
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ไว้ว่า “หลวงตาอาจจะมีบารมีทางด้านคุ้มครองรักษาประเทศชาติไทยเราได้
แต่หากเป็นด้านค้ำจุนพระศาสนาแล้ว
สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศ จะมีบารมีมากกว่าเสียอีกน๊ะ”

“ท่านไม่ได้ใช้วาจาเลยนะ ไม่พูดเลย มีแต่เราพูดเล็กน้อย พอให้ท่านทราบเท่านั้น
แล้วก็ไม่อยู่นาน เวลาสำคัญๆ ท่านคุยธรรมะเรื่องภายในสำคัญๆ อยู่มาก
เฉพาะสองต่อสอง เรื่องสำคัญท่านจะถามคุยกันธรรมดาว่าท่านพูดน้อยท่านก็ไม่ได้พูดน้อย
เวลาคุยกันเฉพาะสองต่อสองคุยกันธรรมดาเลยนะ เวลาออกสังคมท่านพูดน้อยมาก
เวลาคุยกันสองต่องสองนี้คุยกันธรรมดาเลย มีอะไรท่านก็รับสั่งถามมา เราก็ตอบไปๆ
ท่านถามข้ออรรถข้อธรรมข้อใด พูดกันธรรมดา แต่เวลาสิ่งสำคัญๆ ท่านมักจะถามเฉพาะสองต่อสอง
อยู่วัดบวรฯ ก็ดี อยู่วัดป่าบ้านตาดก็ดี ก็เราสนิทกับท่านมานานเท่าไหร่แล้ว อยู่วัดบวรฯ มาด้วยกัน
ท่านเคยไปเป็นพระภาวนาอยู่ที่วัดป่าบ้านตาดหลายครั้ง ครั้งละเป็นอาทิตย์”
อ่านเพิ่มเติม

หนังสือทรงคุณค่าที่ ‘สมเด็จพระสังฆราช’ ทรงนิพนธ์

หนังสือทรงคุณค่าที่ ‘สมเด็จพระสังฆราช’ ทรงนิพนธ์

ทีมข่าว special scoop ขอร่วมถวายสักการะพระศพ และน้อมจิตเป็นหนึ่งส่งเสด็จ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สู่นิพพาน ด้วยการรำลึกถึงหนังสืออันทรงคุณค่าที่ทรงนิพนธ์เรื่องต่างๆ ทางด้านพระพุทธศาสนาไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นตำรา พระธรรมเทศนา และทั่วไป ซึ่งเป็นหลักธรรมคำสอนที่ประชาชนชาวไทยและต่างชาติสามารถใช้เป็นหลักคิดหรือแนวทางในการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี พร้อมนำเสนอตัวอย่างหนังสือที่ทรงนิพนธ์ดังนี้

‘การศึกษาเพื่อความเป็นคนที่สมบูรณ์’

พระนิพนธ์ฉบับนี้จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา (5 ธันวาคม 2555) “เรื่องการศึกษาเพื่อความเป็นคนที่สมบูรณ์นี้” ได้ปรับปรุงมาจากธรรมบรรยายของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ ที่ทรงสอนพระนวกภิกษุ วัดบวรนิเวศวิหาร ในพรรษากาล 2533 โดยคัดเลือกตัดตอนมาในส่วนของความรู้ความเข้าใจเรื่องศีล สมาธิ และปัญญา ตามหลักคำสอนและตามความหมายทางพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาไม่ยากและไม่ง่ายจนเกินไป ที่ผู้อ่านจะได้ความรู้เรื่องศีล สมาธิ ปัญญา สามารถเป็นพื้นฐานที่จะศึกษาต่อไป อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดสันติสุขแก่ชีวิตและสังคมได้ด้วย

‘ความสุขหาได้ไม่ยาก’

พระนิพนธ์ฉบับนี้จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่ทรงเจริญพระชนมายุกาลครบ 93 พรรษา ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยคณะศิษย์เห็นว่าพระนิพนธ์เรื่องความสุขหาได้ไม่ยาก เป็นพระนิพนธ์ที่ทรงอธิบายถึงพุทธวิธีที่จะสร้างความสุขให้ชีวิต ตามหลักคำสอนและตามความมุ่งหมายทางพระพุทธศาสนา สามารถไปปฏิบัติได้ง่าย
อ่านเพิ่มเติม

ยิ่งสงบ ยิ่งเป็นสุข – สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ยิ่งสงบ ยิ่งเป็นสุข – สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ยิ่งสงบ ยิ่งเป็นสุข

ที่จริง จิตใจเวลามีความปรารถนาต้องการกับ
เวลาไม่มีความปรารถนาต้องการนั้นแตกต่างกันมาก
จิตใจยามมีความโลภหรือความปรารถนาต้องการนั้น
ไม่ได้มีความสุข มีแต่ความร้อนความตื่นเต้น
กระวนกระวายขวนขวายเพื่อให้ได้สมปรารถนา

จิตใจยามไม่มีความปรารถนาต้องการนั้น
มีความสุขอย่างยิ่ง เห็นจะต้องเปรียบง่ายๆ คือ
ในยามหลับกับในยามตื่น
อ่านเพิ่มเติม

อิทธิปาฏิหาริย์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

อิทธิปาฏิหาริย์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

องค์พระประมุขแห่งพุทธจักรปัจจุสมัยที่ทรงพระชนม์ยืนยาวสูงสุด เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีพระชาติภูมิ ณ กาญจนบุรี เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๖ ในปีนี้จึงนับเป็นมหามงคลอันพิเศษยิ่งที่ทรงเจริญพระชันษาครบ ๑๐๐ ปี (๓ ตุลาคม ๒๕๕๖) ทั้งปีนี้ยังครบ ๒ รอบ หรือ ๒๔ ปีแห่งการได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับแต่วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๓๒

เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงมีพระวิริยะในการศึกษา ทรงเรียนและสอบด้านปริยัติธรรมได้ในชั้นสูงสุด กล่าวคือ นักธรรมเอก (พ.ศ. ๒๔๗๕) และเปรียญ ๙ ประโยค (พ.ศ. ๒๔๘๔) ทรงใฝ่พระทัยศึกษาภาษาต่าง ๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และบาลี-สันสกฤต จนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง จึงทรงหาความรู้สมัยใหม่ด้วยการอ่านหนังสือภาษาต่างประเทศ ทั้งในคดีโลกและคดีธรรม เป็นเหตุให้พระทัศนะกว้างขวาง ทันต่อเหตุการณ์โลก อันเป็นประโยชน์ยิ่งต่อการสอนสั่งและเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระนิพนธ์หนังสือทางพระพุทธศาสนาอีกจำนวนมากเป็นคู่มือการศึกษาและหลักปฏิบัติของชาวพุทธ ล้วนสมสมัย เหมาะแก่บุคคล และสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งทรงสอนพระพุทธธรรมแก่พหูชนไม่เว้นแม้ชาวต่างประเทศ พระนิพนธ์หลายเล่มได้รับการแปลไปในภาษาอื่น เช่น จีน อังกฤษ เยอรมนี และฝรั่งเศส เป็นต้น นอกจากด้านปริยัติข้างต้นซึ่งเป็นฐานแล้ว ในด้านปฏิบัติก็ทรงฝึกหัดและเริ่มทำกรรมฐาน โดยคำแนะนำในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระอุปัชฌาย์ของพระองค์ และทรงทำตลอดมาอย่างต่อเนื่อง จึงทรงตอบพระราชปุจฉาธรรมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เช่น เกี่ยวกับวิปัสสนากรรมฐาน ได้กระจ่าง เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย โปรดให้ทรงนิพนธ์พระวิสัชชนาคำสอนนั้นไว้เป็นประจักษ์ตราบปัจจุบัน นับว่าทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงภูมิธรรมทั้งด้านปริยัติศาสนาและด้านปฏิบัติศาสนา อนึ่ง ระหว่างวันที่ ๒๒ ตุลาคม – ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งรัชกาลที่ ๙ เสด็จออกทรงผนวชนั้น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเลือกให้สมเด็จพระญาณสังวรฯ (ซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์ที่พระโศภณคณาภรณ์) เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อ่านเพิ่มเติม

อภัยทาน (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

อภัยทาน (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

อภัยทาน คืออย่างไร ?

อภัยทาน ก็คือการยกโทษให้

คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ

อภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน
คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้น
จากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ

อันใจที่แจ่มใส กับใจที่มืดมัว ไม่อธิบายก็น่าจะทราบกันอยู่ทุกคนว่าใจแบบไหนที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นแก่เจ้าของ ใจแบบไหนที่ยังความทุกข์ให้เกิดขึ้น และใจแบบไหนที่เป็นที่ต้องการ ใจแบบไหนที่ไม่เป็นที่ต้องการเลย
อ่านเพิ่มเติม

แสงส่องใจ (สมเด็จพระญาณสังวร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

แสงส่องใจ

(สมเด็จพระญาณสังวร)
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ขอเจริญพร ทุกท่านผู้เป็นไทยในทุกจังหวัดภาคใต้
ในโอกาสมงคลขึ้นปีใหม่ตามธรรมเนียมไทย

ความไม่สงบที่สุดกำลังเกิดขึ้นทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่บ้านเมืองไทยที่รักของเราทั้งหลายและรุนแรงเป็นพิเศษในจังหวัดภาคใต้ ทำให้อาตมาภาพและคณะสงฆ์ไทยมีความวิตกกังวลอย่างยิ่ง ด้วยความห่วงใยพวกท่านที่อยู่ทางใต้คนไทยทั้งหลายก็แสดงความเป็นห่วงพวกท่านเป็นอันมาก ทำอะไรได้เพื่อช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา ก็เห็นพยายามทำกันอยู่ มิได้นิ่งนอนใจ ไม่ว่าจะนับถือศาสดาใด ก็ปรากฏว่าได้รวมใจกันขอพระเมตตาให้คุ้มครองไทย ให้กลับสู่ความสงบสุขโดยเร็ววัน

อาตมาภาพ และคณะสงฆ์ไทย และคนไทยพุทธทุกคน รวมทั้งบรรดาญาติโยมที่อยู่ในภาคใต้ทุกคน ไม่ว่าจะนับถือพระศาสนาของพระพุทธองค์ หรือของศาสดาก็ตาม มีสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นพระร่มโพธิ์ทองป้องปกอยู่ด้วยพระคุณอันเลิศ

บัดนี้พระร่มโพธิ์ทองของไทยต้องทรงหม่นหมองไปมิใช่น้อย เหตุจากความไม่สงบสุขของพสกนิกรของพระองค์ท่าน เพื่อได้มีทางปฏิบัติสนองพระมหากรุณาธิคุณ ตามวิสัยของคนดี ที่มีกตัญญูกตเวที คือรู้พระคุณที่ได้รับแล้ว และตอบแทนพระคุณนั้น ขอบอกวิธีที่ควรได้ด้วยกันทุกคน ไม่ยาก และเป็นคุณยิ่ง นั่นก็คือขอให้ทุกคนทำความดีให้สุดความสามารถ ทุกวันเวลา ผลอันเลิศจะเกิดแน่นอนแก่ชีวิตตนเอง ของทุกคนที่ทำ และเมื่อทั้งบ้านทั้งเมืองช่วยกันทำ ผลอันเป็นที่ต้องการของผู้คนทั่วหน้าจะเกิดแน่นอน คือความสงบสุขทั่วภาคใต้ และทั่วบ้านเมืองไทย

ความดีที่ขอให้พร้อมเพรียงกันทำ ตั้งแต่บัดนี้ คือให้ใจของทุกคนมีพระพุทธเจ้า นึกถึงพระองค์ท่านไว้ให้เป็นนิตย์ พร้อมกับภาวนา พระพุทโธ พระพุทโธ พระพุทโธ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชีวิตจิตใจ แม้ขาดสติลืมไปบ้างพอนึกถึงได้ ให้นึกถึงพระพุทโธทันที โดยต้องไม่ลืมว่าพระพุทโธที่กำลังนึกถึงนั้น คือพระพุทธเจ้าพระผู้ทรงมีความประเสริฐสูงสุด ทรงเป็นมหามงคล หาที่เปรียบมิได้ ความปรารถนาที่หวังให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมืองเรา ก็ย่อมสมปรารถนาอย่างไม่ยากเย็น จึงขออำนวยพรให้ทุกท่านเชื่อมั่นปฏิบัติ ท่องพระพุทโธ พระพุทโธ พระพุทโธ ไว้ให้เสมอ จะสามารถนำประเทศชาติไทยของเรา ภาคใต้ของเรา ให้ร่มเย็นเป็นสุขได้อย่างยิ่ง

ขออำนวยพร
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐

http://www.watnonggai.com/forum/forum.php?mod=viewthread&tid=19251

ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

การปฏิบัติกรรมฐาน ก็คือการปฏิบัติอบรมสมาธิ และอบรมปัญญา อันสูงขึ้นมาจากศีล ซึ่งพึงปฏิบัติให้เป็นภาคพื้น เพราะศีลนั้นจะต้องปฏิบัติให้เป็นภาคพื้น ของการปฏิบัติทางสมาธิและปัญญา เป็นศีลที่สมาทาน จะเป็นศีล ๕ ก็ตามศีล ๘ ก็ตาม หรือเป็นศีลที่ได้จากการบรรพชาอุปสมบท คือศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ของสามเณร ของภิกษุ

ทั้งในขณะที่จะปฏิบัติกรรมฐาน ก็ให้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อันเป็นศีลสำหรับการปฏิบัติทางสมาธิและทางปัญญา แม้ว่าก่อนแต่มาปฏิบัติจะมิได้สมาทานศีล เช่นศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้น มาก่อน ก็ให้ทำความสำรวมกายวาจาใจในขณะที่จะปฏิบัตินี้ ความสำรวมดังกล่าวนี้ก็ชื่อว่าเป็นศีล เป็นพื้นฐานของสมาธิ และปัญญาได้

อนึ่ง การปฏิบัติสมาธินั้น แม้ในการฟังคำบรรยายอบรมกรรมฐานนี้ ก็ให้ตั้งใจฟัง คือฟังด้วยหูตามหน้าที่ของการฟัง และใจก็ต้องตั้งใจฟัง ความตั้งใจฟังนี้ เป็นสมาธิในการฟัง หูฟังใจฟังไปพร้อมกัน จึงจะฟังได้ยินและรู้เรื่อง ความรู้เรื่องนั้นก็กล่าวได้ว่าเป็นตัวปัญญา ตามภูมิตามชั้น เพราะฉะนั้น เมื่อมีสมาธิในการฟัง ก็ได้ปัญญาจากการฟังนั้นไปพร้อมกัน ตั้งต้นแต่ฟังรู้เรื่อง เข้าใจ เป็นตัวปัญญา
อ่านเพิ่มเติม

เรื่องจิต.จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เรื่องจิต.จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

:เรื่องจิต.จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เรื่องจิตนี้

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์

อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุก ๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

จะแสดงพระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องจิต

ตามที่ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ โดยชื่อว่าจิตบ้าง วิญญาณบ้าง เพราะว่าการปฏิบัติอบรมจิตอันเรียกว่าจิตภาวนานั้น พระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดาก็ได้ตรัสสอนไว้ ซึ่งมีคำแปลว่า ภิกษุทั้งหลายจิตนี้ปภัสสร คือผุดผ่อง จิตนี้นี่แหละเศร้าหมองไป เพราะอุปกิเลสคือเครื่องที่เข้าไป หรือเข้ามา ทำให้จิตเศร้าหมองทั้งหลาย ที่เป็นอาคันตุกะคือที่จรมา บุถุชนผู้มิได้สดับแล้วย่อมไม่รู้จักจิตนั้น

พระองค์จึงตรัสว่าจิตภาวนา การอบรมจิตย่อมไม่มีแก่บุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว

อริยสาวกคือศิษย์ของพระอริยะผู้ประเสริฐผู้เจริญ ได้สดับแล้ว ย่อมรู้จักจิตนั้น พระองค์ตรัสว่าจิตภาวนา การอบรมจิตย่อมมีแก่อริยสาวกผู้สดับแล้ว ดั่งนี้ และได้มีพระพุทธภาษิตตรัสถึงจิตไว้อีกเป็นอันมาก เป็นต้นว่า จิตที่มิได้อบรมแล้ว มิได้รักษาคุ้มครองแล้ว เป็นจิตที่ไม่ควรแก่การงาน ย่อมเป็นไปเพื่อโทษ มิใช่ประโยชน์ใหญ่ ส่วนจิตที่อบรมแล้ว รักษาคุ้มครองแล้ว เป็นจิตที่ควรแก่การงาน ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่ ดั่งนี้เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .