คติธรรมคำสอน สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

คติธรรมคำสอน สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ… ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้

อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกจากกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิน

อ่านเพิ่มเติม

โอวาทสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

โอวาทสมเด็จพระพุฒาจารย์
(โต พรหมรังสี)

“ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด
เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน
เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย
มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด
เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนล้นตัว…
เมื่อทำบุญกุศลได้บารมีมาก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด
ไม่มีอะไรเหลือติดตัว…
แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้…
แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง…
จงจำไว้นะ… เมื่อยังไม่ถึงเวลา เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้…
ครั้นถึงเวลา…
ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่… จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน
เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า…”

อ่านเพิ่มเติม

การปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์จากคำสอนของสมเด็จโต

การปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์จากคำสอนของสมเด็จโต

การปฏิบัติธรรมแบบของสมเด็จโตมีสองขั้นค่ะ เป็นการสอนทั้งทางโลกและทางธรรม ขั้นแรกทางโลกสอนให้ไม่ทุกข์ ขั้นสองทางธรรมสอนให้พ้นทุกข์

ทางโลก
เป็นการตัดกรรมค่ะ คนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรมในอดีตชาติทั้งนั้น ที่ใครๆว่ากรรมตามทันแบบติดจรวดน่ะ ไม่ใช่นะคะ แต่สิ่งที่เกิดมันเป็นผลมาจากวิบากที่สอดคล้องกันกับอดีตเท่านั้น กรรมไม่ดีที่ทำในชาตินี้ก็รอไปใช้วิบากกันในชาติต่อๆไป อาจหมดในชาติเดียวหรือหลายชาติไม่มีใครรู้ได้นอกจากผู้กำหนดกรรม

การขจัดวิบากกรรมจะว่ายากก็ใช่ไม่ยากก็ใช่ มันคือการยอมรับวิบากที่เกิดขึ้นในปัจจุบันโดยดุษฎี วางอุเบกขา เข้าใจว่าทุกข์ที่ได้รับนั้นมาจากกรรมไม่ดีที่เราทำมาในอดีตชาติ แทนอารมณ์ทุกข์นั้นด้วยความเข้าใจและวางเฉยให้ได้ นั่นก็จะเป็นการขจัดวิบากที่เกิดจากเหตุในอดีตชาติให้หมดไป
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนดีดีจากสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)

คำสอนดีดีจากสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)

“บุญเราไม่เคยสร้าง…ใครที่ใหนจะมาช่วยเจ้า”…!
“ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเองคือบารมีลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สิน ในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว… เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว… แล้วเจ้าจะเอาอะไรไว้ในภพหน้าหมั่นสร้างบารมีไว้… แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง…”
“จงจำไว้นะ…เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้…ครั้นถึงเวลา…ทั่วฟ้าจบดิน ก็ต้านเจ้าไม่อยู่…จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า…”
นี่คือคำเทศนา ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)พรหมรังษีที่ได้โปรดชี้ธรรมไว้นิมิต หลังจากที่ท่านล่วงลับไปแล้ว เมื่อ 100 กว่าปีก่อน อันเป็นปฐมเหตุที่ต้องสร้างความดี อย่างไม่มีวันสุด

ขอขอบคุณ : http://www.dek-d.com/board/view/1772910/

คำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)

คำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)

ลูกเอ๋ย….ยามที่พ่อแม่ของเจ้ามีอายุมากขึ้น…
ย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน..
ความแข็งแรงของร่างกายที่เคยมีก็ลดลง…
ใจน้อย โกรธง่าย ความจำก็เสื่อม ขี้หลงขี้ลืม…
จิตใจก็หมดความสดชื่น…

ถึงแม้พวกเจ้าจะคอยเอาใจใส่ดูแลใกล้ชิดสักเพียงใดก็ตาม
ก็ไม่อาจช่วยให้พ่อแม่ของเจ้ามีความสุขได้เต็มที่…
เพราะพวกเจ้าทุกคนต่างก็มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ…

เจ้าช่วยท่านให้ได้รับความสุขเพียงการให้กินอยู่หลับนอน
อันเป็นความสุขทางกายเท่านั้น…
แต่จิตใจของท่านหาได้ร่าเริงสดชื่นผ่องใสไม่…
อ่านเพิ่มเติม

คติธรรมคำสอน ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

คติธรรมคำสอน ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่ และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้ อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา

กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกจากกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิน
อ่านเพิ่มเติม

คติธรรม คำสอน สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

คติธรรม คำสอน สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

“ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีจากหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือ บารมีของตน ลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอ จึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า

หมั่นสร้างบารมีไว้ แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง จงจำไว้นะ…เมื่อยังไม่ถึงเวลา เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้ ครั้นถึงเวลาทั้งฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า”

คำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต เป็นคำสอนที่เตือนสติใครหลายๆคนได้ดีจริงๆ เพราะคนส่วนใหญ่มักจะเที่ยวขอบารมีจากหลวงพ่อองค์นั้นบ้าง องค์นี้บ้าง หรือจากเทวดาบ้าง ซึ่งจริงๆแล้วก็ไม่ผิด แต่โอกาสที่จะได้นั้นน้อยเต็มที เพราะผู้ขอไม่ได้สร้างเอง การที่สามารถขอบารมีจากพระก็ดี เทวดาก็ดี ได้นั้น เพราะบุญเก่ามีอยู่ แต่ถ้าบุญเก่าน้อย หรือบาปมีมากกว่า ใครก็ช่วยไม่ได้หรอก

ดังนั้นท่านทั้งหลายควรเก็บเล็กผสมน้อยกันเอง ทำบุญบ้าง รักษาศีลบ้าง เจริญสมาธิบ้าง ตามแต่โอกาสจะเอื้ออำนวย อย่าหมิ่นบุญน้อย มีโอกาสก็ทำไปเลย ทำด้วยความศรัทธาจริงๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวว่า “อย่าประมาทเพราะเห็นว่าเป็นความดีเพียงนิดเดียวแล้วไม่ทำ และอย่าประมาทเพราะเห็นว่าเป็นความชั่วนิดเดียวแล้วพึงทำ ทุกสิ่งทุกอย่างแม้จะเล็กน้อยเพียงใด ทำแล้ว ย่อมส่งผลให้เราทั้งสิ้น”

ขอขอบคุณ : http://dhammasawasde.blogspot.com/2013/05/blog-post_1832.html

ธรรมะของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

ธรรมะของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
ท่านเป็นอมตมหาเถระ ที่มีเกียรติคุณเป็นที่ปรากฏอย่าน่าอัศจรรย์ มีปัญญาเฉียบแหลมแตกฉานในทางธรรม
เป็นเลิศทั้งด้านสมถะและวิปัสสนา พระคาถาที่ทรงอานุภาพยิ่งของท่าน คือ คาถาชินบัญชร

ชาติกาล 17 เมษายน พ.ศ. 2331
ชาติภูมิ บ้านบางขุนพรหม ฝั่งตะวันออก กรุงธนบุรี
บรรพชา เมื่ออายุได้ 13 ปี
อุปสมบท เมื่ออายุได้ 20 ปี
ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2408
มรณภาพ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415
สิริรวมชนมายุได้ 84 ปี

คติธรรมคำสอน ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่ และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้ อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

คำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

“ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีจากหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง
คือ บารมีของตน ลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอ จึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย
มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว
เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว
แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า

หมั่นสร้างบารมีไว้ แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง
จงจำไว้นะ…เมื่อยังไม่ถึงเวลา เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้
ครั้นถึงเวลาทั้งฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน
เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า”

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทำไมทำดีแล้วจึงไม่ได้ดี : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

แหล่งที่มา : http://www.411-11.com/

ขอขอบคุณ : http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=11214

พบจารึกที่ถูกลืม ชำระประวัติ”สมเด็จโต”

พบจารึกที่ถูกลืม ชำระประวัติ”สมเด็จโต”

พระมหาเถระที่มีชื่อเสียง มากด้วยผู้เคารพและศรัทธาแห่งยุครัตนโกสินทร์ หนึ่งในนั้นคือ “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)” แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม หรือมักเรียกกันติดปากว่า “สมเด็จโต”

ท่านถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 13 คํ่า ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 สัมฤทธิศก จุลศักราช 1150 เวลาประมาณ 06.54 น.

เดิมเป็นชาวบ้านท่าอิฐ อำเภอบ้านโพ จังหวัดอุตรดิตถ์ ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่กับยายที่บ้านไก่จัน ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมามารดาย้ายไปอยู่ที่ตำบลบางขุนพรหม และมอบให้เป็นศิษย์ท่านเจ้าคุณอรัญญิก เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร

เมื่ออายุครบ 12 ปี ตรงกับปีวอก พ.ศ.2342 บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระบวรวิริยเถร (อยู่) เจ้าอาวาสวัดบางลำพู (ปัจจุบันคือ วัดสังเวชวิศยาราม) เป็นพระอุปัชฌาย์

สามเณรโตเป็นผู้ที่มีวิริยะ อุตสาหะในการศึกษา มีวัตรปฏิบัติที่น่าเลื่อมใส จนรัชกาลที่ 2 ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
อ่านเพิ่มเติม

พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม

พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม

ประวัติการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

การสร้างพระเครื่องไว้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนานั้น ได้มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวปีพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ต่อมาท่านโบราณจารย์ผู้เชี่ยวชาญฉลาดได้ประดิษฐ์คิดสร้างพระเครื่อง ด้วยรูปแบบต่างๆนานาตามแต่จะเห็นว่างาม นอกจากนั้นแล้งยังได้บรรจุพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ตลอดจนพระปริตรและหัวใจพระพุทธมนต์อีกมากมายหลายแบบด้วยกัน และการสร้างพระเครื่องนั้น นิยมสร้างให้มีจำนวนครบ ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์อีกด้วย

ดังนั้น ในชมพูทวีปและแม้แต่ประเทศไทยเราเอง ปรากฏว่ามีพระเครื่องอย่างมากมาย เพราะท่านพุทธศาสนิกชนได้สร้างสืบต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย และในบรรดาพระเครื่องจำนวนมากด้วยกันแล้ว ท่านยกย่องให้พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ซึ่งสร้างโดยท่านเจ้าประคุณพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) เป็นยอดแห่งพระเครื่อง และได้รับถวายสมญานามว่าเป็น ราชาแห่งพระเครื่อง อีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติย่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

ประวัติย่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

รายละเอียด
ตอนที่ 1 ประวัติย่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

สถานที่เกิด

1.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียงประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไว้เป็นความย่อๆเรียกว่า “เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์” พิมพ์ขึ้นปีพ.ศ. 2466 กล่าวว่า “…สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า “โต” เมื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา ได้นามฉายาว่า “พรหมรังสี” อุบัติขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ที่บ้านท่าหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา…”

2.มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์) รวบรวมประวัติเจ้าประคุณสมเด็จฯพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และเรียบเรียงเรื่องปีพ.ศ. 2473 กล่าวว่า “…สมเด็จฯพระพุฒาจารย์ (โต) อุบัติขึ้นบนบ้านที่ปลูกใหม่บางขุนพรหม กรุงเทพ…”

บรรพชาและอุปสมบท

เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้วได้บรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา ต่อมาปรากฎว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปีพ.ศ. 2350 ได้โปรดเกล้าฯให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระสังฆราช (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ ในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย ทรงโปรดฯรับไว้ในพระราชูปถัมภ์
อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์อัศจรรย์สมเด็จโต

พิพิธภัณฑ์อัศจรรย์สมเด็จโต

ประวัติการสร้างพระเครื่องเบญจสิริ

สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)พรหมรังสี เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี(ท้วมบุญนาค)
เสนาบดี กรมพระยาสมัยราชการที่ 5 เป็นประธานฝ่ายฆราวาสเมื่อปี พ.ศ. 2412 ท่านเจ้ากรมท่าเป็นผู้สนิทชิเชื้อใกล้ชิดใน เจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจานย์ (โต)ฯ ท่านเริ่มชีวิตปฐมวัยด้วยการเป็นเด็กที่มีถิ่นฐานอยู่ใกล้วัดระฆังและสันนิษฐานว่าท่าน
ศึกษาธรรมตั้งแต่ยังเป็นปฐมวัย ที่วัดระฆังเรื่อยมา จึงแตกฉานในอักขระวิธี ทั้งในไทยและเทศ (ไทย,อังกฤษ,จีน) เข้ารับราชการ
ในการคลังหลังจากสำเร็จเปรียญธรรม โดยการสนับสนุนจากท่านพระคุณสมเด็จ (โต) ซึ่งสนิทชิดเชื้อและเป็นที่เกรงใจของรัชกาลที่ 4 และท่านได้ทำหน้าที่เป็นอุปัฏฐากเจ้าท่าน ประคุณสมเด็จ (โต)สิ้นชีพตักษัย
อ่านเพิ่มเติม

พระสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

พระสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มีนามเดิมว่า “โต” เมื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา ได้นามฉายาว่า “พรหมรังสี” ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ที่บ้านท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา] จากบันทึกของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์) กล่าวว่าสมเด็จโตเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งทรงพระยศเป็น เจ้าพระยาจักรี โยมมารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “สมเด็จโต” เป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้ทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล “พระสมเด็จ” ของท่าน ที่ถูกจัดเข้าในเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท) ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของ เมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ.

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ.

เป็นที่ทราบกันดีว่า สมเด็จพุฒาจารย์โต เป็นชาวกำแพงเพชร หลักฐานจากบันทึกของ
มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ความว่า… ครั้งนั้นเจ้าพระยาจักรี ตั้งทัพอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร เวลาเช้าวันหนึ่งออกลาดตระเวนกองทัพทั้งปวงเพื่อบัญชาการ และชักม้าลัดเพื่อตัดทาง ม้าก็เลยพาท่านเข้าป่าฝ่าพง จำเพาะมายังบ้านปลายนาใต้เมืองกำแพงเพชรเป็นเวลาเย็น จึงแลเห็นโรงหนึ่งตั้งอยู่ปลายทุ่งนา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงได้ชักม้าไปถึงโรงนั้น ไม่เห็นมีคนผู้ใหญ่อยู่ ได้เห็นแต่หญิงสาวคนหนึ่งเดินออกมา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงบอกแก่นางสาวคนนั้นว่า ข้ากระหายน้ำ เจ้าจงตักน้ำมาให้กินสักขันเถิด นางสาวคนนั้นจึงวิ่งด่วนเข้าไปในห้อง หยิบได้ขันล้างหน้าใบหนึ่งแล้วจ้วงตักน้ำในหม้อกลัน แล้วล้วงไปหักดอกบัวในหนองน้อยข้างโรงนั้นสองสามดอก แล้วฉีกกลีบเด็ดเอาแต่เกษรบัวโรยลงไปในขันน้ำจนเต็ม แล้วนำไปส่งให้บนหลังม้า เจ้าคุณแม่ทัพรับเอามา เป่าเกษรเพื่อแหวกหาช่องน้ำ
ต้องเอาริมฝีปากเบื้องบนเม้มเกสรไว้ แล้วดูดดื่มน้ำจนหมดขันด้วยกำลังอยากกระหายน้ำ ครั้นดื่มน้ำหมดแล้ว เจ้าคุณแม่ทัพจึงถามนางสาวคนนั้นว่า เรากระหายน้ำอุตส่าห์บากหน้ามาขอน้ำเจ้ากิน เหตุไฉนจึงแกล้งเรา เอาเกสรบัวโรยสงส่งให้ เรากินน้ำของเจ้าลำบากนัก เจ้าแกล้งทำเล่นแก่เราหรือ
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระพุทฒาจารย์

สมเด็จพระพุทฒาจารย์

ชาวพุทธตัวอย่างที่เป็นพระปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) บทความนี้ควรปรับปรุงภาษาหรือรูปแบบการเขียน เนื่องจากมีเนื้อหาที่แปลไม่สมบูรณ์ (ดูเพิ่ม) สะกดหรือใช้ไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง หรือเขียนด้วยภาษาพูด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ และแก้ไขรูปแบบให้เป็นสารานุกรม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สมเด็จโต, หลวงปู่โต, สมเด็จวัดระฆัง เกิด 17 เมษายน พ.ศ. 2331 บรรพชา พ.ศ. 2343 อุปสมบท พ.ศ. 2351 มรณภาพ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 พรรษา 64 อายุ 84 วัด วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัด กรุงเทพมหานคร สังกัด มหานิกาย ตำแหน่งทางคณะสงฆ์ เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก “สมเด็จโต” “หลวงปู่โต” หรือ “สมเด็จวัดระฆัง” เป็นพระสงฆ์มหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏที่พระราชทินนาม “สมเด็จพระพุฒาจารย์” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4[1] สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี[2]) ณ บ้านไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331) มารดาของท่านมีนามว่าเกสร หรือเกตุ[3] ชาติภูมิเดิมเป็นคนแถบตำบลท่าอิฐ อำเภอบางโพ 1 ส่วนฝ่ายบิดาไม่ปรากฏนาม แต่มีความเชื่อว่าบิดาของท่านเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์จักรี[4] ท่านบรรพชาเป็นสามเณรในปี พ.ศ. 2343 และอุปสมบทในปี พ.ศ. 2350 อ่านเพิ่มเติม

คาถา สมเด็จพระพุฒาจารย์และประวัติ

คาถา สมเด็จพระพุฒาจารย์และประวัติ

ประวัติ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก “สมเด็จโต” “หลวงปู่โต” หรือ “สมเด็จวัดระฆัง” เป็นพระสงฆ์มหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชนและนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดด เด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล “พระสมเด็จ” ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทยและมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของ เมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

เพื่อน ๆ ต้องรู้จัก หรือไม่ก็ต้องเคยได้ยินเรื่องราวขององค์ท่านมาบ้างไม่มากก็น้อยเพราะท่านเป็นพระสงฆ์ที่มี ีอัจฉริยะภาพ และภูมิปัญญา แบบไม่ธรรมดาเลยทีเดียว นาคาเลยจะเล่าถึงประวัติของท่านให้เพื่อน ๆ รู้กันนะคะ เพราะว่าท่านมีเรื่องสนุกเยอะแยะทีเดียว

ก่อนจะเล่าถึงความเป็นอัจฉริยะของท่าน นาคาขอกล่าวถึงประวัติของท่านก่อนสักเล็กน้อยนะคะ

องค์สมเด็จ ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด ซึ่งในหนังสือบางเล่ม อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรีเชียวนะคะ

ท่านได้บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุ 13 ปี ณ วัดเสนาใหญ่ เมืองพิจิตรค่ะ และต่อมาท่านได้ย้ายมา ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาท พออายุได้ 18 ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวง อดิศร สุนทร พระ บรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ ท่านบวชเป็นพระภิกษุ พอถึง พ.ศ. 2351 อายุ 21 ปี สมเด็จเจ้าฟ้า พระบรมราชโอรส ทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับ พระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไป
อ่านเพิ่มเติม

ขรัวโต พระแปลกผู้ทรงภูมิรู้

ขรัวโต พระแปลกผู้ทรงภูมิรู้

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)พรหมรังษี วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นอริยสงฆ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้แตกฉานยิ่งในพระปริยัติธรรม เป็นพหูสูตรอบรู้ทั้งทางโลกทางธรรม มีความเจนจบทั้งพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์ สันนิษฐานว่าท่านเป็นบุคคลที่สันโดษมักน้อยจริงๆ ไม่ยินดีในเกียรติยศชื่อเสียง การศึกษาของท่านเพื่อต้องการความรู้เท่านั้น จึงไม่นิยมสอบเปรียญธรรมนัก

ท่านเกิดในสมัยรัชกาลที่๑ เป็นนาคหลวงของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นโอรสนอกเศวตฉัตรในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหน้านภาลัย กับ นางงุด สาวงามจากเมืองกำแพงเพชร บุตรีของนายผลและนางลา

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นนักเทศน์ที่หาตัวจับยากในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ท่านได้แสดงความเป็นอัจฉริยะตั้งแต่เยาว์ ทั้งเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าแผ่นดิน และประชาชนคนเดินดินทั่วไป คุณวิเศษสำคัญประการหนึ่งของท่าน คือ สามารถเทศน์ให้หัวเราะก็ได้ ให้ร้องไห้ก็ได้ ให้คนเทกระเป๋าทำบุญก็ได้ นอกจากนี้ ท่านยังเป็นนักโหราศาสตร์ ทำนายดวงชะตาได้แม่นยำ และยังเป็นนักใบ้หวยที่โด่งดังด้วย
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมสี) หรือ วัดสรพงศ์ ชาตรี จ.นครราชสีมา

มูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมสี) หรือ วัดสรพงศ์ ชาตรี จ.นครราชสีมา

คุณสรพงศ์ ชาตรี เป็นพุทธมามกะ ผู้ยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ดำรงตนอยู่ในทาน ศีล ภาวนา ซึ่งได้ปฎิบัติธรรมกับพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก จ.เชียงใหม่ ซึ่งพระอาจารย์ได้แนะนำคุณ สรพงศ์ ชาตรี ให้ไปอธิษฐานจิตขอพรบารมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังฯ แล้วการงานทุกอย่างที่กังวลอยู่จะสำเร็จดังประสงค์ทุกประการ เพราะหลวงปู่โต มีลูกหลานเป็นเทพบุตรเทพธิดา จะได้พากันมากราบไหว้บูชาสักการะและช่วยให้งานนั้นๆ สำเร็จดังปรารถนา

คุณสรพงศ์ ชาตรี เป็นพุทธมามกะ ผู้ยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ดำรงตนอยู่ในทาน ศีล ภาวนา ซึ่งได้ปฎิบัติธรรมกับพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก จ.เชียงใหม่ ซึ่งพระอาจารย์ได้แนะนำคุณ สรพงศ์ ชาตรี ให้ไปอธิษฐานจิตขอพรบารมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังฯ แล้วการงานทุกอย่างที่กังวลอยู่จะสำเร็จดังประสงค์ทุกประการ เพราะหลวงปู่โต มีลูกหลานเป็นเทพบุตรเทพธิดา จะได้พากันมากราบไหว้บูชาสักการะและช่วยให้งานนั้นๆ สำเร็จดังปรารถนา
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .