สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง (ครูบาเหนือชัย)

สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 2 ธรรมราชา อันเป็นมหามงคลยิ่งของปวงชนชาวไทยทั่วประเทศ

สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง ร่วมกับทุกภาคส่วนปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 2 ธรรมราชา เพื่อเป็นการร่วมกันฟื้นคืนสิ่งแวดล้อมรักษาต้นน้ำในพื้นที่ตามแนวชายแดน ณ บริเวณภายในบริเวณสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง ตำบลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2556 พระครูบาเหนือชัย โฆษิโต เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง นายพงษศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นำคณะร่วมกันทำพิธีปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 2 ธรรมราชา ในปี 2556 เป็นปีมหามงคลของปวงชนชาวไทย เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงเจริญพระชันษาครบ 100 ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต พระบรมราชินีนาถ ณ ภายในบริเวณสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง ตำบลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทองแห่งนี้ เป็นพื้นที่ปฏิบัติธรรม และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม (UNSEETHAILAND) หรือที่เรียกกันว่า วัดพระขี่ม้าบิณฑบาต
พระครูบาเหนือชัย โฆษิโต เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง กล่าวสัมมาอะระหังว่า ในการจัดกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 2 ธรรมราชา ครั้งนี้เพื่อเป็นการฟื้นคืนสิ่งแวดล้อมรักษาต้นน้ำในพื้นที่ โครงการแก้ไขปัญหาที่พักสงฆ์ในพื้นที่ป่าไม้ถ้ำป่าอาชาทอง และเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สองมหาราชาผู้ทรงธรรม ของคนไทยทั้งแผ่นดิน โดยมีคณะเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ป่าไม้ อุทยาน นักเรียน นักศึกษา อาสาสมัคร ภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมพิธีปลูกป่าครั้งนี้ด้วย จึงเป็นที่มาของโครงการเฉลิมพระเกียรติ 2 ธรรมราชา ในปี พ.ศ. 2556 เป็นมหามงคลยิ่งของปวงชนชาวไทย ซึ่งมีพื้นที่ปลูกป่าจำนวนทั้งสิ้น 800 ไร่ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่โครงการโดยพระสงฆ์เป็นแกนนำ และเสริมสร้างคุณธรรมปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาป่าไม้ ฟื้นฟูพื้นที่โครงการให้เป็นสถานที่ศึกษาธรรมชาติ ส่งเสริมศาสนา จริยธรรม อำนวยประโยชน์แก่ชุมชนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการป้องกันการบุกรุกทำลายป่า มีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ อีกด้วย

http://region3.prd.go.th/ct/news/viewnews.php?ID=130829130848

ประคำมหาปราบ ตะกรุด 108 ดอก ครูบาเหนือชัย โฆษิโต

ประคำมหาปราบ ตะกรุด 108 ดอก ครูบาเหนือชัย โฆษิโต วัดถ้ำป่าอาชาทอง จ.เชียงราย

พระครูบาเหนือชัย หรือพระขี่ม้าบิณฑบาตร ท่านคือนักบุญแห่งขุนเขาอย่างแท้จริง ปัจจุบันนอกจากท่านจะเป็นพระผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ ท่านยังสงเคราะห์วัดในสาขาร่วมสิบวัดแล้วท่านยังเป็นพระนักพัฒนาตัวยง ที่ช่วยปลุกให้ชาวบ้านตื่นจากอำนาจของยาเสพย์ติด และสิ่งไม่ดีอีกด้วย พระครูบาท่านปฎิบัติธรรมตามแนวทางของ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ และ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง วัตถุมงคลของท่านนอกจากจะปลุกเสกด้วยวิชาอาคมที่ท่านร่ำเรียนมาแล้ว ยังอธิษฐานจิตด้วยบารมีธรรมของท่านอาราธนาคุณพระรัตนตรัยมาสถิตอยู่ในวัตถุมงคล วัตถุมงคลของท่านแทบทุกรุ่นจึงมีประสบการณ์เด่นๆ คือแคล้วคลาด และเมตตา ประคำมหาปราบ ขนาดใหญ่ ปลุกเสกโดย ครูบาเหนือชัย แห่งวัดถ้ำป่าอาชาทอง จ.เชียงราย ไว้สวมใส่เพื่อนำมาภาวนาคาถา “สัมมาอรหัง” ซึ่งเป็นคาถาภาวนาที่ครูบาท่านนำมาจากวิธีการปฎิบัติของ หลวงพ่อสด แห่งวัดปากน้ำ ครูบาอาจารย์ที่ท่านนับถือ ประคำนี้ถือเป็นสุดยอดประคำที่ท่านได้จัดสร้างขึ้น เพราะมีความพิเศษตรงที่ในเม็ดประคำทุกเม็ดจะสอดตะกรุดที่ครูบาท่านจารไว้ในลูกประคำด้วยเท่าจำนวนเม็ดประคำ สรุปคือประคำก็มี 108 เม็ด ตะกรุดที่สอดในลูกประคำแต่ละดอกก็มีรวมกันถึง 108 ดอก เป็นประคำมหาปราบ มหามงคล พุทธคุณครบทั้งเมตตา แคล้วคลาด คงกระพัน และยังนำมาใช้เป็นเครื่องมือไว้ปฎิบัติธรรมได้อีกด้วย ถือว่าครบเครื่องเป็นประคำคู่ชีวิตได้เลยครับ

http://www.pramuangnue.com/product_show.php?idpro=28159

เรื่องจริง พระ-เณร ขี่ม้าบิณฑบาต (ครูบาเหนือชัย)

เรื่องจริง พระ-เณร ขี่ม้าบิณฑบาต

สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง ตำบลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
ข้อมูลท่องเที่ยว พระ-เณรชมขี่ม้าบิณฑบาต

สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง เป็นถิ่นกันดารอยู่ห่างไกล ชาวบ้านนิยมใช้ม้าแกลบในการบรรทุกต่างสัมภาระสิ่งของต่างๆ เจ้าอาวาสของสำนักซึ่งเคยเป็นทหารม้าเก่า จึงให้พระและเณรของสำนักนี้ใช้ม้าเป็นพาหนะในการออกบิณฑบาตไปยังหมู่บ้านสี่หมื่นไร่ ซึ่งมีระยะทางร่วม 5 กิโลเมตร ในวัดมีสวนธรรมซึ่งมีรูปปั้นแม่ไม้มวยไทยท่าทางต่างๆ ไว้เพื่อการศึกษา บนยอดเขาเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุอินยอง
สำนักปฏิบัติธรรมสงฆ์ถ้ำป่าอาชาทอง ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย

ครูบาเหนือชัย โฆษิโต หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ครูบาเสือโคร่ง เป็นผู้ดูแล เป็นสำนักปฏิบัติธรรมสงฆ์แห่งแรกที่สร้างโอกาสให้ชาวไทยภูเขาบนดอยสูง ห่างไกลตัวเมือง ได้เข้าถึงพระธรรมคำสอนขององค์พระพุทธเจ้า ลูกหลานชาวเขาจะเข้ารับการบวชเณรเพื่อศึกษาพระธรรมและเรียนหนังสือไทยควบคู่กันไป แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่รอบถ้ำป่าอาชาทองอยู่ติดแม่น้ำคำและอยู่ใกล้แนวชายแดนไทย-พม่า แวดล้อมด้วยภูเขาสูง การเดินทางด้วยรถยนต์จะทำได้ไม่สะดวก ดังนั้น ม้าจึงกลายเป็นพาหนะที่ถูกเลือกในการเดินทาง พระและสามเณรจะได้รับการฝึกการขี่และเลี้ยงม้า
ปัจจุบันมีม้าสายพันธุ์ต่างๆ กว่า 70 ตัว
?
ในขณะที่ขี่ม้าบิณฑบาตตามหมู่บ้าน พระและสามเณรก็จะปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือทางการในการสำรวจพื้นที่ และสอดส่องปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติดด้วย ทั้งนี้ด้วยแนวทางที่สอดคล้องกัน กองทัพภาคที่ 3 จึงเข้ามาร่วมดูแลภารกิจของพระเณรวัดถ้ำป่าอาชาทอง ทั้งในส่วนของการจัดออกเป็นวิทยากรถ่ายทอดศาสนาแก่ประชาชน การอบรมเทคนิคการขี่ม้าให้กับเจ้าหน้าที่ทหาร ในการขี่ม้าเพื่อภารกิจหาข่าวและตรวจสอบความเคลื่อนไหวบริเวณชายแดนจุดต่างๆ

http://www.thaihotelsdirectory.com/index.php/travel-information/unseen-thailand/485-unseen-thailand

ยิง3นัด “ครูบาขี่ม้า” กระสุนด้าน-ปมรุกที่ (ครูบาเหนือชัย)

ยิง3นัด “ครูบาขี่ม้า” กระสุนด้าน-ปมรุกที่

โดย คม ชัด ลึก วัน อังคาร ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 06:37 น.
คนร้ายบุกเดี่ยว หวังเก็บ “ครูบาเหนือชัย” พระขี่ม้า อันซีนไทยแลนด์ จ.เชียงราย แต่กระสุนด้าน เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมปักใจ มือยิงเป็นอดีตกำนัน ส่วนชนวนเหตุคาดมาจากขัดแย้งเรื่องรุกสำนักสงฆ์และที่สาธารณะ ปลัดอำเภอหวั่นเกิดเหตุร้ายส่งกำลังคุ้มกัน

เหตุการณ์คนร้ายพยายามลอบยิงเจ้าอาวาสสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง หรือพระขี่ม้า อันซีนไทยแลนด์ ใน ต.แม่คำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย ครั้งนี้ “คม ชัด ลึก” ได้รับแจ้งจากลูกศิษย์ผู้ดูแลสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง ว่า เมื่อเวลา 01.30 น. วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา มีคนร้ายเป็นชาย 1 คน ขี่รถจักรยานยนต์เข้ามาในสำนักปฏิบัติธรรม หลังจากคนร้ายจอดรถได้เดินไปกุฏิของพระครูบาเหนือชัย โฆสิโต เจ้าอาวาสสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง โดยขณะนั้นพระครูบาเหนือชัยอยู่ในห้องน้ำ ซึ่งแยกออกจากตัวกุฏิ
อ่านเพิ่มเติม

พระขี่ม้าบิณฑบาตร วัดถ้ำป่าอาชาทอง จ.เชียงราย (ครูบาเหนือชัย)

พระขี่ม้าบิณฑบาตร วัดถ้ำป่าอาชาทอง จ.เชียงราย

วัดถ้ำป่าอาชาทอง ตั้งอยู่ที่ ตำบลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ด้วยที่ตั้งอันห่างไกลจากหมู่บ้าน ทำให้การออกไปบิณฑบาตรในแต่ละเช้ามีอุปสรรค์เรื่องระยะทางเพราะแต่ละหมู่บ้านที่ออกบิณฑบาตรนั้นล้วนแต่อยู่ไกลจากวัดทั้งสิ้น ทำให้ ครูบาเหนือชัย พระ เณร ขี่ม้าบิณฑบาตร ซึ่งหมู่บ้านที่ไกลที่สุดอยู่หางจากวัดประมาณ 10 กิโลเมตร โดยทางส่วนใหญ่เป็นภูเขาและท้องนา ถึงแม้ว่าหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านจะไม่ได้อยู่ทางเดียวกัน ก็ไม่ได้ทำให้พระ เณร ย่อท้อแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับรู้สึกว่า ยิ่งห่างไกลยิ่งต้องไป ไปเพื่อเผยแผพระพุทธศาสนา

แต่สำหรับเรา ในฐานะของนักท่องเที่ยว สิ่งที่ทำได้คือ การไปรอทำบุญตักบาตรที่ บริเวณ ลานธรรม วัดถ้ำป่าอาชาทอง หลังจากที่พระ เณร ออกบิณฑบาตรตามหมู่บ้านต่างๆเสร็จสิ้นแล้ว จะมารับบาตรบริเวณลานธรรม ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมแก่การไปตักบาตรนั้น อยู่ในช่วงเวลา 07.00-08.30 น. สำหรับของตักบาตรหากใครลืมซื้อ สามารถหาซื้อได้บริเวณวัดถ้ำป่าอาชาทอง เนื่องจากมีชาวบ้านนำอาหารแห้งมาขายให้สำหรับนักท่องเที่ยว
อ่านเพิ่มเติม

ครูบาเหนือชัย โฆษิโต นักบุญแห่งขุนเขา วัดถ้ำป่าอาชาทอง

ครูบาเหนือชัย โฆษิโต นักบุญแห่งขุนเขา วัดถ้ำป่าอาชาทอง

ครูบาเหนือชัย โฆสิโต วัดถ้ำอาชาทอง ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย

ปุจฉาวิสัชชนา ครูบาเหนือชัย… “นักบุญแห่งขุนเขา”

ภาพ “พระเณรขี่ม้าออกบิณฑบาต” นำโดย “ครูบาเหนือชัย โฆสิโต” นอกจากสร้างความประทับใจต่อ พุทธศาสนิกชนไทยแล้ว ยังกระฉ่อนโด่ง ดังไปทั่วโลก เหตุที่พระ เณรและลูกศิษย์ต้องขี่ม้าบิณฑบาต เนื่องจาก สำนักอยู่ห่างไกลจากชุมชน และถนนหนทางยังไม่สะดวก การใช้ม้าจึง มีความสะดวกในการเดินทาง กว่า ๑๐ ปี ของการออกธุดงค์ เผยแผ่หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าตาม ชายแดนไทย-พม่า โดยไม่แบ่งชาติพันธุ์ ในที่สุดท่านก็ได้รับการขนาน นามว่า “นักบุญแห่งขุนเขา”

นอกจากจะมีชื่อเสียงในรูปแบบและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแล้ว นักบุญแห่งขุนเขายังมีชื่อ เสียงใน เรื่องของเครื่องรางของขลัง ด้านอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยมและเกี่ยวกับการค้าขาย ให้มีความเจริญก้าวหน้า ร่ำรวยอีกด้วย จนเป็นที่กล่าวขวัญของบรรดาชาวบ้านและพุทธศาสนิกชน ทั้งในเมืองไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนจะดีเพียงใดนั้น ต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์แบบ “คม ชัด ลึก”
อ่านเพิ่มเติม

พระครูบา เหนือชัย โฆสิโต

พระครูบา เหนือชัย โฆสิโต

ชาติภูมินักบุญแห่งขุนเขา

นายเสมอ ใจปินตา เป็นชื่อและสกุลเดิมของ ครูบาเหนือชัย โฆสิโต เจ้าอาวาสสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย ปัจจุบันอายุ ๔๓ ปี พรรษา ๑๔ เกิดเมื่อวัน จันทร์ที่ ๓ กันยายน ๒๕๐๕ ปีขาล บิดาชื่อ สามยอด มารดาชื่อ น้อย เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้อง ๓ คน
โยมพ่อและโยมแม่พื้นเพเป็นคนเชื้อสายยอง ซึ่งบรรพบุรุษ อพยพมาจาก จ.ลำพูน โยมแม่เป็นคนมีลูกยากจึงไป ขอลูกจากพระธาตุดอยตุง เมื่อกลับมาถึงบ้านคืนหนึ่งโยมแม่ฝันว่ามีม้าสีขาวมารับ แล้วพาท่องไปทั่วจักรวาล สักพักหนึ่ง จึงท้อง แล้วคลอดครูบาเหนือชัยขึ้นมา
สมัยเป็นเด็กเลี้ยงยาก ร้องไห้ตลอดเวลา จึงไปหาหมอดูประจำเผ่า ได้รับคำ แนะนำว่าให้ใช้ช้างและม้ามารับขวัญ ทำให้โยมพ่อซึ่งขณะนั้นไม่มีเงิน แต่ด้วยความเป็น พ่อจึงได้ออกกุศโลบายนำ ถ่านที่ใช้หุงต้มมาเขียนเป็นรูปช้างและม้าติดไว้ที่ฝาผนังบ้าน แล้วบอกกับ ครูบาว่า นี่เป็นช้างกับม้าที่พ่อซื้อมารับขวัญ หลังจากนั้นมาก็กลายเป็นเด็กเลี้ยงง่าย
ครูบาเหนือชัย จบชั้น ป.๗ จากโรงเรียนบ้านแม่คำ และจบชั้น ม.ศ.๕ จากโรงเรียนแม่จันวิทยา คม จากนั้น เดินทางไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ โดยเข้าเรียนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่ศึกษาถึงปีที่ ๓ ก็ต้องลาออก เพื่อกลับมาช่วยงานที่บ้านเนื่องจากบิดาป่วย
ในวัยเด็ก ครูบาเหนือชัยมีความสนใจในเรื่องพระพุทธศาสนามาก เพราะเป็นคนที่ชอบใช้ชีวิตอยู่ สองแห่ง คือ หากไม่อยู่ที่วัดก็จะอยู่ตามทุ่งนาเพื่อฝึกสมาธิ ชอบเข้าหาพระธุดงค์และหนาน (ทิด) โดยศึกษาธรรมกับเจ้าอาวาสวัดแม่คำ ขณะเดียวกันก็มีความสนใจและศึกษาศิลปะการป้องกันตัว ตามตำรา ?อัฏมาศ? หรือที่รู้จักกันในชื่อการต่อสู้ตามแบบ กองกำลังจตุรงคบาท ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทำให้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องกระบี่ กระบอง พลองไทย และแม่ไม้ มวยไทย
เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๓๕ ได้อุปสมบท ณ อุโบสถวัดล้านตอง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โดยมี ครูบาทองสืบ วิสุทธจาโร เจ้าอาวาสวัดล้านตอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาธรรมโดยการออกธุดงค์อยู่ ในป่าเขาตามแนวชายแดน และปฏิบัติธรรมอยู่บริเวณถ้ำป่าอาชาทอง จึงได้ตั้งสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำ ป่าอาชาทองขึ้นจนถึงปัจจุบัน
ครูบาเหนือชัย โฆสิโต วัดถ้ำอาชาทอง ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย

http://www.kongdeelanna.com/index.php?mo=3&art=585632

แนวทางการปฏิบัติของพระครูบา (ครูบาเหนือชัย)

แนวทางการปฏิบัติของพระครูบา

พระครูบาท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านสนใจศึกษาพระธรรม ตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นฆราวาสโดยได้ยึดแนวทางปฏิบัติของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำและหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง

ตอนอายุ ๑๕ ท่านได้บวชเณรกับหลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดศรีค้ำโดยอาศัยการภาวนาแบบ “สัมมาอะระหัง” จากนั้นก็ยึดถือปฏิบัติมาตลอด นอกจากนี้ในสมัยที่เป็นนักศึกษาท่านได้มีโอกาสอ่านหนังสือของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง จากรุ่นพี่และได้ไปกราบนมัสการหลวงพ่อฤๅษีลิงดำที่บ้านซอยสายลม จากนั้นเป็นต้นมาเมื่อมีโอกาสท่านก็จะไปวัดปากน้ำและบ้านซอยสายลมเสมอมา

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ท่านนั่งสมาธิบนโขดหินโดยอธิษฐานว่า “จะขอนั่งอยู่ตรงนี้จนกว่าจะบรรลุธรรม แม้ตายก็จะไม่ลุกจากที่นี่” ท่านนั่งนิ่งอยู่ ๑๕ วัน จนผึ้งมาเกาะทำรังตามเนื้อตัว ท่านรู้สึกเจ็บจึงพยายามแยกความรู้สึกของกายออกจากจิต แม้กายจะเจ็บแต่จิตนิ่งใสสว่าง ความเจ็บก็ทุเลาลง ท่านเห็น หลวงปู่เกษม ณ สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง มาบอกว่า นี่คือการเข้านิโรธสมาบัติ แยกจิตกับกายและให้หมั่นเพียรนั่งสมาธิ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการบรรลุธรรม อ่านเพิ่มเติม

การเดินทางไปชมพระขี่ม้าบิณฑบาต (ครูบาเหนือชัย)

การเดินทางไปชมพระขี่ม้าบิณฑบาต

๑. ใช้เส้นทางเชียงราย – แม่จัน เลยจากอำเภอแม่จัน ไป ๑ กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปดอยแม่สลอง ถนนผ่านหน้าบ้านแม่สลอง สภาพถนนเข้าหมู่บ้านยังไม่สะดวกควรใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ

๒. ใช้เส้นทางเชียงราย-แม่สาย (ทางหลวงสาย a๑) ระยะทางจากอำเภอเมือง – อำเภอแม่จัน ประมาณ ๒๘ กิโลเมตร จากตัวอำเภอแม่จันประมาณ ๔ – ๕ กิโลเมตร ก็ถึงปากทางไปวัดถ้ำป่าอาชาทอง (ถนนข้างวัดแม่คำหลวง) จะมีป้ายและลูกศรบอกตลอดทาง และเข้าไปอีกประมาณ ๕ – ๗ กิโลเมตร ลักษณะถนนตอนทางขึ้นตั้งแต่สะพานก่อนถึงลานพระแก้ว ระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร รถยนต์ส่วนตัวของท่านสามารถขึ้นได้และทิวทัศน์สองข้างทางก็ทำให้สดชื่น (ใช้เส้นทางนี้สะดวกกว่าค่ะ)

ไปมาเมื่อประมาณปีสองปีก่อน ช่วงขึ้นเขาก่อนถึงวัด ท่านปรับปรุงถนนทำเป็นคอนกรีตเฉพาะแนวล้อ อำนวยความสะดวกให้รถเก๋งสามารถขึ้นถึงวัดได้

ระหว่างทางมีรีสอร์ตสภาพพอพักได้ในราคาไม่แพง คืนละ ๔-๕๐๐ บาท แต่สำหรับผู้ที่รสนิยมหรูหราขึ้นมาอีกหน่อย ขอแนะนำระเบียงจันรีสอร์ต ซึ่งเมื่อวิ่งรถในเขตตัวอำเภอแม่จันเลยสามแยก(เลี้ยวซ้าย)ไปท่าตอน มาอีกเล็กน้อยก็จะเจอสี่แยกไฟแดง ที่เลี้ยวซ้ายเข้าตัวอำเภอแม่จัน เลี้ยวขวาไปบ้านหนองแว่น(มีไปรษณีย์และเสาติดตั้งจานไมโครเวฟที่มุมสี่แยก)

ให้เลี้ยวขวาไปทางหนองแว่น ไปอีกประมาณ ๑-๒ กิโล ก็จะพบป้ายที่สามแยกให้เลี้ยวขวาไประเบียงจันรีสอร์ต ไปอีกเพียงประมาณ ๕๐ เมตร จะพบระเบียงจันรีสอร์ตอยู่ซ้ายมือ

ราคาคืนละ ๑,๐๐๐ บาทรวมอาหารเช้าแสนอร่อยในบรรยากาศสวนสวรรค์อันสงบเงียบสำหรับช่วง Low ส่วนช่วง High สนนราคาที่ ๑,๕๐๐ บาทต่อคืน

ปากทางมีห้างโลตัสด้วย สามารถซื้อหาเครื่องอุปโภคบริโภคไปใส่บาตรทำบุญได้โดยสะดวกตามอัธยาศัย

http://watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=652

ประวัติพระขี่ม้าบิณฑบาต (ครูบาเหนือชัย)

ประวัติพระขี่ม้าบิณฑบาต

‘อาชาทอง’ ม้าหนุ่มร่างกำยำ ควบตะบึงพา ‘พระครูบา’ ข้ามเขาลูกแล้วลูกเล่าเพื่อรับบาตรจากญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา และเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธองค์ อาหารที่เหลือจากการบิณฑบาตถูกแจกจ่ายให้ชาวเขาผู้ยากไร้ กว่า ๑๓ ปีแล้วที่ ‘พระครูบาเหนือชัย’ พากเพียรให้ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมแก่ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดน จ.เชียงราย เพื่อเปลี่ยนพวกเขาจากกลุ่มผู้ลักลอบขนยามาเป็นชาวไร่ผู้หวงแหนและร่วมพิทักษ์ผืนแผ่นดินไทย ‘พระครูบาเหนือชัยโฆสิโต’ เจ้าอาวาส ‘วัดป่าอาชาทอง’ อ.แม่จัน จ.เชียงราย ได้เปลี่ยนฐานะจาก “นายเสายมอชัย ใจบินตา” หนุ่มวัย ๒๙ ปีที่ชอบวิชาหมัดมวยมาบวชเป็นภิกษุเพื่อศึกษาธรรมะ ท่านตัดใจจากภรรยาและลูกน้อยชาย-หญิงทั้ง ๒ คน หลังจากมีครอบครัวได้เพียง ๘ ปี ด้วยเห็นทุกข์ของชีวิตทางโลก จะบวชเพียง ๗ วัน แต่นับจากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลากว่า ๑๓ ปีแล้วที่ท่านมุ่งศึกษาและเผยแผ่ธรรมะแก่บรรดาชาวเขาตามแนวตะเข็บชายแดน หลังครองผ้ากาสาวพัสตร์ได้เพียง ๑ วัน ท่านก็ออกธุดงค์เพื่อแสวงหาความสงบ โดยยึดโอวาทจากพระอุปัชฌาย์ว่า ‘บวชเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง’ ท่านเดินทางมาจนถึง ‘ดอยผาม้า’ และเห็นว่าเป็นสถานที่ ๆ เหมาะสมจึงยึดเป็นที่ปฏิบัติธรรม พระครูบานั่งสมาธิ พิจารณาขันธ์ ๕ ด้วยใจมุ่งมั่นที่จะบรรลุธรรม ครั้งหนึ่งท่านนอนหลับและว่า ‘หลวงปู่สด’ วัดปากน้ำภาษีเจริญ มาสอนวิชาธรรมกาย ให้ท่านทำใจใส ๆ กำหนดองค์พระอยู่ศูนย์กลางกาย ท่านไม่มั่นใจว่าฝันนั้นเป็นจริงหรือไม่ จึงอธิษฐานจิตว่าหากหลวงปู่สดมาพบในฝันจริงขอให้มีญาติโยมนำปัจจัยมาถวาย ๑,๐๐๐ บาท พอรุ่งเช้าก็มีนักข่าวของสถานีวิทยุท้องถิ่นนำปัจจัยมาถวายตามคำอธิษฐาน และขอสมัครเป็นศิษย์ ท่านจึงให้ญาติโยมดังกล่าวพาท่านไปยังวัดปากน้ำ และนำเงิน ๑,๐๐๐ บาทที่ได้ทำบุญกับทางวัด จึงนำคำสอนของหลวงปู่สดมาใช้ในการนั่งสมาธิเรื่อยมา อ่านเพิ่มเติม

พระขี่ม้าบิณฑบาต (ครูบาเหนือชัย)

พระขี่ม้าบิณฑบาต

ที่มาของการขี่ม้าบิณฑบาต

จากเดิมที่พระครูบาเหนือชัยเดินขึ้นลงเขาเพื่อรับบาตรจากญาติโยม ได้ฉันบ้าง ไม่ได้ฉันบ้าง ด้วยหนทางที่ห่างไกลกว่าท่านจะเดินถึงวัดก็เลยเวลาฉันเพล ชาวบ้านจึงสงสารนำม้ามาถวายเพื่อให้ท่านใช้เป็นพาหนะในการเดินทาง ซึ่งม้าดังกล่าวเป็นม้าที่มีลักษณะดี ร่างกายกำยำ พระครูบาจึงตั้งชื่อให้ว่า ‘ม้าอาชาทอง’ และใช้ชื่อดังกล่าวเป็นชื่อวัดด้วย จึงเป็นที่มาของ ‘วัดป่าอาชาทอง’ และพระขี่มาบิณฑบาต ซึ่งสร้างความแปลกใจจนกลายเป็นหนึ่งใน ‘Unseen Thailand’ เมื่อท่านมีม้าเป็นพาหนะจึงทำให้การบิณฑบาตและเดินทางเผยแผ่ธรรมะได้รับความสะดวกมากขึ้น แม้พระครูบาจะต้องขี่ม้าเป็นระยะทางไม่ต่ำกว่า ๕ กิโลเมตรเพื่อรับบาตรจากสาธุชนผู้มีจิตศรัทธา

“บางครั้งอาหารที่ได้มาตกหล่นไปกว่าครึ่ง เพราะเวลาม้าควบตะบึงไปตามทาง มันคดโค้ง ขรุขระ ของก็กระเด้งกระดอนหล่นหมด พระครูบาท่านทนร้อนทนหนาวข้ามเขาลูกแล้วลูกเล่า เพื่อนำอาหารที่เหลือจากฉันไปแจกจ่าย
ให้ชาวเขาเพราะพวกนี้ยากจนมาก ท่านก็เผยแผ่ธรรมะไปด้วย ท่านก็ไม่เคยบ่นไม่เคยท้อนะ ท่านอยากให้ชาวบ้าน
มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม” สุทธิพงศ์ ชุติมากุลทวี ผู้ประสานงานของวัดป่าอาชาทอง หนึ่งในลูกศิษย์ที่ติด
ตามรับใช้พระครูบาเหนือชัยมาตลอด เล่าถึงภารกิจของพระครูบา อ่านเพิ่มเติม

ปุจฉาวิสัชชนา ครูบาเหนือชัย… “นักบุญแห่งขุนเขา”

ปุจฉาวิสัชชนา ครูบาเหนือชัย… “นักบุญแห่งขุนเขา”

ภาพ “พระเณรขี่ม้าออกบิณฑบาต” นำโดย “ครูบาเหนือชัย โฆสิโต” นอกจากสร้างความประทับใจต่อพุทธศาสนิกชนไทยแล้ว ยังกระฉ่อนโด่งดังไปทั่วโลก เหตุที่พระ เณร และลูกศิษย์ต้องขี่ม้าบิณฑบาต เนื่องจากสำนักอยู่ห่างไกลจากชุมชน และถนนหนทางยังไม่สะดวก การใช้ม้าจึงมีความสะดวกในการเดินทางมากกว่า ๑๐ ปีของการออกธุดงค์ เผยแผ่หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าตามชายแดนไทย-พม่า โดยไม่แบ่งชาติพันธุ์ ในที่สุดท่านก็ได้รับการขนานนามว่า “นักบุญแห่งขุนเขา”

นอกจากจะมีชื่อเสียงในรูปแบบ และวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแล้ว นักบุญแห่งขุนเขา ยังมีชื่อเสียงในเรื่องของเครื่องรางของขลัง ด้านอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม เกี่ยวกับการค้าขายให้มีความเจริญก้าวหน้าร่ำรวยอีกด้วย จนเป็นที่กล่าวขวัญของบรรดาชาวบ้านและพุทธศาสนิกชน ทั้งในเมืองไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนจะดีเพียงใดนั้น ต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์แบบ “คม ชัด ลึก”

“คำว่า “นักบุญแห่งขุนเขา” ใครเป็นผู้ตั้งให้ครับ ?”

“นักบุญแห่งขุนเขา” ฉายานี้ได้มาจากเจ้าหน้าที่ที่ร่วมงานกันในโครงการ “มิตรมวลชนคนชายแดน” ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ทหารจากกองกำลังเฉพาะกิจ กองพันที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๗ (ฉก.ร.๑๗ พัน ๓) ตั้งให้ เพราะเห็นว่าเราเป็นพระที่ใช้ชีวิตอยู่ในป่า เผยแผ่ธรรมะอยู่ในป่า”
อ่านเพิ่มเติม

ครูบาเหนือชัย โฆสิโต วัดถ้ำอาชาทอง

ครูบาเหนือชัย โฆสิโต วัดถ้ำอาชาทอง
ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย

ชาติภูมินักบุญแห่งขุนเขา

นายเสมอ ใจปินตา เป็นชื่อและสกุลเดิมของ “ครูบาเหนือชัย โฆสิโต” เจ้าอาวาสสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย

เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๓ กันยายน ๒๕๐๕ ปีขาล บิดาชื่อ สามยอด มารดาชื่อ น้อย เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้อง ๓ คน

โยมพ่อและโยมแม่พื้นเพเป็นคนเชื้อสายยอง ซึ่งบรรพบุรุษอพยพมาจาก จ.ลำพูน โยมแม่เป็นคนมีลูกยาก จึงไปขอลูกจากพระธาตุดอยตุง เมื่อกลับมาถึงบ้าน คืนหนึ่งโยมแม่ฝันว่ามีม้าสีขาวมารับ แล้วพาท่องไปทั่วจักรวาล หลังจากนั้นก็ได้ตั้งท้อง แล้วให้กำเนิดครูบาเหนือชัยขึ้นมา

สมัยเป็นเด็กเลี้ยงยาก ร้องไห้ตลอดเวลา จึงไปหาหมอดูประจำเผ่า ได้รับคำแนะนำว่าให้ใช้ช้างและม้ามารับขวัญ ทำให้โยมพ่อซึ่งขณะนั้นไม่มีเงิน แต่ด้วยความจำเป็น พ่อจึงได้ออกกุศโลบาย นำถ่านที่ใช้หุงต้มมาเขียนเป็นรูปช้างและม้าติดไว้ที่ฝาผนังบ้าน แล้วบอกกับครูบาว่า นี่เป็นช้างกับม้าที่พ่อซื้อมารับขวัญ หลังจากนั้นมาก็กลายเป็นเด็กเลี้ยงง่าย
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร สกลนคร …

ประวัติ พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร สกลนคร …

ภูลังกา….แดนลับแล…หนองคาย

ที่มาจาก…จากหนังสือ “พญานาค…เมืองลับแล” โดยคุณนรเศรษฐ์

และขอขอบคุณที่มาของข้อมูลจาก อ. กิตตินันท์ เจนาคม kittinun.com

จากหนังสือชื่อ ชำแหละกฎแห่งกรรม เขียนโดย ร.ต.เจ้าประเวศ ณ เชียงใหม่

คัดลอกจาก

http://www.trytodream.com/topic/12738

โพสท์โดย แดงคนดี เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2553, :33:48

ภูลังกาเป็นเทือกเขาห้าลูก เกาะกลุ่มกันอยู่ใกล้กับบึงโขงโหลงและภูวัว ท้องที่จังหวัดหนองคาย เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอบ้านแพง แต่ในปัจจุบันเป็นพื้นที่ของอำเภอบึงโขงโหลง ใกล้กับอำเภอเซกา ภูลังกาเป็นตำนานอันลือเลื่อง เกี่ยวพันกับศาสนาและคติความเชื่อปรัมปรา

ภูลังกามีความลี้ลับอาถรรพ์มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เป็นเรื่องพูดยากอธิบายยากเพราะเป็นเรื่องของนามธรรม ที่ทางวิทยาศาสตร์ก็พิสูจน์ไม่ได้ แต่ทั้งๆ ที่พิสูจน์ไม่ได้ คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่มีการศึกษาสูงๆ เป็นครู เป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และระดับศาสตราจารย์ด็อกเตอร์จากต่างประเทศจำนวนไม่น้อยก็ยอมรับว่า เรื่องความลึกลับนามธรรมเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ทางจิต ที่ต้องรับฟังไว้เพื่อศึกษาพิจารณาค้นคว้าต่อไป จะปฏิเสธเสียเลยทีเดียวไม่ได้

ภูลังกา เป็นตำนานเรื่องพระเจ้าห้าพระองค์ นโมพุทธายะ และเป็นเมืองหลวงของชาวบังบดลับแล อันมีเมืองพญานาครวมอยู่ด้วย และยังเป็นสนามรบกับกองทัพกิเลส ที่กองทัพธรรมของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ส่งศิษยานุศิษย์ที่เป็นพระธุดงค์กรรมฐานทุกรุ่นทุกสมัย มารบราฆ่าฟันกับกิเลสตัณหาที่ภูลังกา ไม่เคยเลิกรา จนกระทั่งถึงทุกวันนี้

พระกรรมฐานที่มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพเลื่อมใสของมหาชน ที่เคยไปบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ภูลังกามา แล้วคือ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ครูบาวัง ฐิติสาโร พระอาจารย์สมชาย เขาสุกิม พระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง พระอาจารย์โง่น โสรโย ฯลฯ

ตามตำนานพระเจ้าห้าพระองค์นั้นกล่าวว่า กาเผือกได้ตกไข่ 5 ฟองที่ภูลังกา วันหนึ่งเกิดลมพายุใหญ่หอบเอาไข่ปลิวไปตามลม ไข่นั้นได้ตกกระจัดกระจายไปในสถานที่หลายแห่ง ต่อมาไข่นั้นได้ฟักออกมาเป็นพระพุทธเจ้ากกุสันโธ พระพุทธเจ้าโกนาคโม พระพุทธเจ้ากัสสโป พระพุทธเจ้าโคตโม และองค์ต่อไปได้แก่ พระศรีอาริยเมตรัยโย ที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตอีกประมาณ 750 ล้านปี เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ในภัทรกัปนี้ ( ตัวเลข 750 ล้านปี เป็นเพียงสันนิษฐานของปราชญ์ผู้รู้ อย่าได้ยึดเอาเป็นหลักฐานทางประวัติพุทธศาสนา ) อ่านเพิ่มเติม

ธรรมคำสอนของพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร

ธรรมคำสอนของพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร

บันทึกจากความทรงจำโดยพระจันโทปมาจารย์

มนุษย์เราทุกคนย่อมหลงอยู่ในสมมติของโลกคือ สมมติให้เป็นมนุษย์ เป็นสัตว์ เป็นต้นไม้ ภูเขา แผ่นฟ้า แผ่นดิน ทุกอย่างที่อยู่ในพื้นโลกนี้ ก็ถูกสมมติให้เป็นต่างๆ กันไป ตามคำสมมตินั้นๆ ส่วนมนุษย์เรานั้นมีส่วนประกอบพร้อมมูล คือสังขารทั้งหลาย ได้แก่ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ปรุงแต่งให้เป็นมนุษย์ คือคนเราทุกวันนี้ส่วนประกอบที่เห็นได้ชัดๆ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม รวมประชุมกันอยู่เหมือนๆ กันหมด แต่แล้วก็สมมติว่า นี่เป็นผู้ชาย นี่เป็นผู้หญิง นี่เป็นบิดา นี่เป็นมารดา เป็นสามี เป็นภรรยา เป็นพี่เป็นน้อง ปู่ย่า ตายาย แล้วแต่จะสมมติไปตามความประสงค์ที่จะให้เป็น
เหมือนกันกับการสมมติของคณะหมอลำหมู่ หรือคณะลิเก เล่นละครเมื่อเขาเล่นเขาก็สมมติกันไปตามเรื่อง คือสมมติให้เป็นพระเอกนางเอก เป็นเจ้า เป็นบ่าวไพร่ แล้วเขาก็แสดงไปตามเรื่องราวในแต่ละท้องเรื่องนั้นๆ ในท้องเรื่องนั้นก็จะมีทั้งบทรัก ความเศร้าโศกเสียใจ มีทั้งบทหัวเราะ รื่นเริง เพลิดเพลินเจริญใจ บางตอนก็พลัดพรากจากกัน แล้วก็คร่ำครวญร้องให้โศกเศร้าเสียใจ บางคราวมีการกระทบกระทั่งกัน จนถึงมีการฆ่าฟัน ล้มตายกันก็มี เรื่องทั้งหมดนั้นคละเคล้าทั้งส่วนที่สมหวัง ทั้งส่วนที่ผิดหวัง มีทุกรส พร้อมหมดทุกอย่าง เขาก็เล่นกันไปตามสมมติกันไปตลอดคืน ครั้นรุ่งเช้ามาแล้วก็สมมติว่าจบเรื่อง สิ้นสุดการสมมติลงแค่นั้น ตัวสมมติทั้งหลายก็กลับเป็นจริง คือ นาย ก นาย ข นาย ค และนาง ง ตามเดิม ไม่ได้เป็นจริงตามคำสมมตินั้นเลย อ่านเพิ่มเติม

สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิ (ครูบาวัง)

สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิ

เมื่อทำการถวายเพลิงศพท่านแล้ว ได้นำอัฐิครึ่งหนึ่งไปก่อเจดีย์ไว้บนหลังถ้ำชัยมงคล ภูลังกา บ้านโพธิ์หมากแข้ง ตำบลโพธิ์หมากแข้ง กิ่งอำเภอบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย โดยการนำของท่านพระครูวินัยธร (ท่านเจ้าคุณพระจันโทปมาจารย์) พระสิงห์ อินทปญฺโญ (ปัจจุบันคือ พระมงคลนายก) พระหนูเพชร ปญฺญาวุฑโฒ พระเสียน วชิรญาโณ และเด็กวัด คือ นายสังวาลย์ ผงพิลา นายสีทัด ประสงค์ดี การก่อเจดีย์บนภูเขา ซึ่งเป็นที่สูงย่อมลำบากเหน็ดเหนื่อย ลำพังแต่ตัวเปล่าเดินขึ้น ก็เหนื่อยพอแรงอยู่แล้ว นี้ต้องแบ่งเอาซีเมนต์จากถุงใหญ่ใส่ถุงเล็ก กว่าจะหมดปูน ๕ ถุง ต้องเดินขึ้นลงอยู่หลายเที่ยว ส่วนทรายที่จะใช้ก่อ ก็ต้องลงจากหลังเขาที่จะก่อเจดีย์ ลงไปเอาในลำห้วยกั้ง ซึ่งเป็นลำห้วยอยู่บนเขา มีกองทรายพอรวมเอาได้ แต่อยู่ไกลจากที่ก่อเจดีย์ประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นระยะทางบนภูเขา มีขึ้นๆ ลงๆ ตลอด กว่าจะถึงต้องหยุดพักหลายครั้ง มีเหงื่อโทรม ทั่วตัว แต่ทุกคนก็ยินดีพร้อมเพรียงช่วยกันเป็นอย่างดี ส่วนน้ำที่จะผสมปูนนั้น ต้องเอาบาตรลงไปตัก ซึ่งมีน้ำอยู่ใกล้กว่าทรายหน่อย เอามาได้ทีละบาตรเท่านั้น ส่วนอิฐสำหรับก่อนั้นเอาก้อนหินที่พอดี ถากแต่งนิดหน่อยใช้แทนอิฐ แล้วก็ฉาบแต่งตามรูปที่ต้องการ ได้ช่วยกันพยายามทำอยู่ถึง ๒๑ วันจึงสำเร็จ เสร็จแล้วได้นำอัฐิของท่านบรรจุไว้ตรงกลางเจดีย์ ในเวลาที่พร้อมกันทำอยู่นี้ก็ได้อาศัยการอุปถัมภ์จากญาติโยมโนนหนามแท่ง บ้านดอนกลาง บ้านโพธิ์หมากแข้ง ได้จัดทำอาหารขึ้นไปถวายจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีจึงขออนุโมทนา ณ ที่นี้ด้วย จากนั้นก็กลับลงไปสู่วัดของตน
อ่านเพิ่มเติม

พญานาคมาขอส่วนบุญ (ครูบาวัง)

พญานาคมาขอส่วนบุญ

เช้าวันหนึ่ง พระอาจารย์วังได้เล่าให้เณร(พระจันโทปมาจารย์) ฟังว่า เมื่อคืนมีพญานาคมาหาให้นิมิตสมาธิ บอกว่ามาขอส่วนบุญ พอตกกลางวันวันนั้น มีงูตัวหนึ่งสีแดงทั้งตัว ขนาดไม่ใหญ่นัก ยาวประมาณสองศอก เลื้อยเข้ามาในถ้ำชัยมงคล แล้วหายเข้าไปในถ้ำ เมื่อถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ก่อนจะทำการถวายภัตตาหาร ท่านอาจารย์วังได้กล่าวว่าบุญกุศลที่พวกเณรและผ้าขาว ถวายภัตตาหารแด่พระเณรให้อุทิศไปให้พญานาค แล้วท่านก็พาทำบุญอุทิศ ครั้นวันถัดมา ท่านได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อคืนพญานาคมาหาอีกครั้งบอกว่าเขาได้รับบุญกุศลแล้ว มาขอลาไปสู่สุคติภพที่ดีกว่า

ภุมมเทวดาตักเตือน
ขณะที่อยู่บนภูลังกา ปกติจะมีญาติโยมขึ้นไปกราบท่านอยู่เสมอ เพราะขณะนั้นชื่อเสียงของท่านค่อนข้างจะโด่งดั่งพอสมควร เมื่อญาติโยมขึ้นมากราบท่านที่ถ้ำ ก็มักจะเดินเที่ยวชมป่าเขาด้วย ท่านจะคอยบอกญาติโยมว่า ห้ามโยนก้อนหินลงไปหน้าผาหน้าถ้ำ เพราะพวกภุมมเทวดาเขามาบอกว่าเขาไม่ชอบ มีโยมกลุ่มหนึ่ง แม้ท่านจะห้ามแล้วก็ยังแอบกระทำอยู่ในตอนกลางวัน พอตกค่ำ ๓ ทุ่มหลังจากทำวัตรเสร็จแล้ว กำลังฟังเทศน์กันอยู่ ก็มีเสียงดังสะท้อนลั่นมาจากลานหินหลังถ้ำ ( ถ้ำนี้เป็นชะง่อนหินริมผา มีลานหินอยู่ด้านบน ) เหมือนมีหินขนาดใหญ่สัก ๒ เมตร กลิ้งมาแล้วตกลงหน้าผา ห่างจากถ้ำราว ๖ วา ญาติโยมก็แตกตื่นตกใจวิ่งไปจับกลุ่มอยู่ใกล้ ๆ ท่านอาจารย์วัง ท่านจึงถามว่าเมื่อโยมขึ้นไปหลังถ้ำมีใครโยนก้อนหินลงหน้าผาหรือไม่ โยมตอบว่า มีเด็กมากันหลายคน และพากันโยนหินเล่น ท่านจึงบอกว่า พวกเจ้าที่เขาไม่พอใจที่ไปทำอย่างนั้น จึงเกิดเสียงอย่างนี้ขึ้น ขอโทษเขาก็ได้ ไม่เป็นไร แค่คราวต่อไปห้ามทำอย่างนี้อีก ครั้นตอนเช้ามาดูก้อนหินที่ตกลงมา ปรากฏว่าเป็นหินที่มีขนาดเท่าบาตรเท่านั้น ไม่สมกับเสียงที่ได้ยินเมื่อคืนเลย

ข้อมูลอ้างอิงจาก : dharma-gateway.com

http://www.web-pra.com/

พบถ้ำชัยมงคล (ครูบาวัง)

พบถ้ำชัยมงคล

อยู่มาปีหนึ่ง พ.ศ.๒๔๘๘ ท่านได้ออกเที่ยววิเวกเหมือนทุกปีที่ผ่านมาได้เดินธุดงค์ไปที่ภูลังกา บ้านโพธิ์หมากแข้ง บ้านโนนหนามแท่ง ได้ขึ้นไปที่หลังภูลังกาซึ่งเคยขึ้นเกือบทุกปี แต่ปีนั้นได้พบถ้ำๆ หนึ่ง ซึ่งเป็นถ้ำกว้างพออยู่อาศัยได้สะดวก ถ้ำนี้แบ่งเป็นสองตอน ตรงกลางมีก้อนหินตับคั่นเป็นห้อง แต่พอเดินไปหากันได้ตลอด เป็นชะง่อนหินริมผา ลักษณะคล้ายถ้ำขาม จังหวัดสกลนคร ด้านหน้าถ้ำอยู่ตรงทิศตะวันออก แสงอาทิตย์ส่องถึงภายในถ้ำได้ตลอด ถ้ำนี้ยังไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน เมื่อท่านได้พบแล้ว เป็นที่พอใจของท่านอย่างมาก ท่านพูดว่าต่อไปเราจะมาอยู่ที่นี่ ซึ่งตามปกติท่านก็ชอบภูเขาอยู่แล้ว ท่านจึงให้ชื่อถ้ำนี้ว่า “ถ้ำชัยมงคล” ระยะทางจากถ้ำนี้ลงไปถึงตีนเขาประมาณ ๑ กิโลเมตรกว่า ตีนเขาห่างจากหมู่บ้านโพธิ์หมากแข้ง บ้านโนนหนามแท่ง เดินผ่านดงไปอีกประมาณ ๘ กิโลเมตร บริเวณรอบภูลังกานี้เป็นป่าไม้ดงดิบที่อุดมสมบูรณ์มาก มีพวกสัตว์ป่าต่าง ๆ เช่น ช้าง เสือ ควายป่า กระทิง หมี เลียงผา อีเก้ง กระจง ชะมด ลิง ค่าง บ่าง กระรอก กระแต ไก่ป่า ไก่ขัว นกยูงเป็นฝูงๆ และนกอื่นๆ อีกมากมาย ในด้านทิศตะวันตกของภูลังกาคือบ้านโพธิ์หมากแข้ง มีถ้ำอยู่ตามเงื้อมเขา พอเป็นที่ผึ้งจะอาศัยทำเป็นรัง มีอยู่หลายถ้ำ เช่น ถ้ำพร้าว ถ้ำปอหู เป็นต้น โดยเฉพาะถ้ำพร้าว เป็นถ้ำสูงจึงมีผึ้งมาทำรังอยู่ ปีละไม่น้อยกว่าหนึ่งรัง ชาวบ้านต้องประมูลจากทางอำเภอเมื่อประมูลได้แล้ว ก็เฝ้ารักษาคอยเก็บเอาเฉพาะรังผึ้งมาทำเป็นขี้ผึ้งขาย ไม่ค่อยนำเอาน้ำผึ้งมาขาย เพราะถ้ำอยู่สูง ไม่สะดวกในการเก็บน้ำผึ้ง ไม่เหมือนที่ภูสิงห์ ภูวัว ซึ่งเป็นเป็นภูเขาที่มีถ้ำอยู่ต่ำ จึงเก็บเอาน้ำผึ้งมาขายได้ง่ายกว่า
เมื่อท่านได้พบถ้ำนั้นแล้ว ในปีนั้นและปีต่อๆ มา ได้จึงได้พาพระเณรขึ้นไปจำพรรษาอยู่ที่นั่นทุกปี แต่ละปีไม่ต่ำกว่า ๕-๖ รูป เพราะถ้ำ ชัยมงคลอยู่ไกลจากหมู่บ้านมาก จะลงไปรับบาตรไม่ได้ ต้องอาศัยญาติโยมชาวบ้าน สามเณรและเด็กจัดทำอาหารถวาย สามเณรที่อยู่ประจำคือ สามเณรคำพันธ์ ปทุมมากร(พระจันโทปมาจารย์) สามเณรสุบรรณ ชมพูพื้น สามเณรใส ทิธรรมมา และสามเณรวันดี สอนโพธิ์ อ่านเพิ่มเติม

เดินจงกรมอยู่ต่อหน้าเสือ (ครูบาวัง)

เดินจงกรมอยู่ต่อหน้าเสือ

มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้พาพระเณร ๔ รูป มีอาจารย์สิงห์ สามเณรทัน สามเณรสุบัน และตัวท่านเที่ยวธุดงค์ไปตามเส้นทางเก่าที่เคยไป ได้พา พระเณรพักภาวนาที่ป่าบ้านโคกกอย ตอนหัวค่ำท่านก็ได้อบรมพระเณร ที่ติดตามให้สังวรระวังอย่าประมาทให้รีบเร่งทำความเพียร จากนั้นท่านก็เข้าทางจงกรมที่เณรได้เตรียมไว้ให้ ส่วนพระเณรรูปอื่น ๆ ก็แยกย้ายกันไป พอตะวันลับฟ้าความมืดก็ปกคลุมเสียงเจ้าป่าก็กระหึ่มก้องภูวัวทำให้สามเณรที่ไปด้วยต้องรีบเข้ากลดนั่งเหงื่อโชกตัวสั่นงันโงก ส่วนพระอาจารย์วังก็เดินจงกรมอยู่เหมือนไม่มีอะไร ไม่นานร่างเจ้าของเสียงก็ปรากฏที่ปลายทางจงกรมของท่านราว ๒ เมตร และก็มอบดูท่านอยู่ อย่างนั้น ส่วนพระอาจารย์วังก็ไม่ได้สนใจกับมัน ยังคงเดินจงกรมเป็นปกติจนกระทั่งท่านเหนื่อยจึงพูดขึ้นว่า “ เหนื่อยแล้วเด้อ ” มันจึงร้องโฮกกระโจนเข้าป่าหายไปกับความมืด

ข้อมูลอ้างอิงจาก : dharma-gateway.com

http://www.web-pra.com/

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร (ครูบาวัง)

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

ชนบทภาคอีสานในสมัยนั้นอยู่ห่างไกลความเจริญเวลาเจ็บไข้ก็อาศัยยารากไม้ ต้มกินบ้าง ฝนกินบ้าง ตามภูมิความรู้ของหมอยากลางบ้าน ของพระหมอยาบ้าง ผู้บันทึกตอนนี้(พระวินิต สุเมโธ) ตอนเป็นเด็กเวลาเป็นไข้ยังได้กินยาฝนจากรากไม้บ้าง กระดูกสัตว์ เปลือกหอยบ้างว่ากันว่าต้นไม้ทุกชนิดที่เกิดบนภูลังกาพระอาจารย์วังรู้สรรพคุณหมด เพราะท่านเชี่ยวชาญใส่ยาคนป่วยได้ฉมัง คนเฒ่าคนแก่อายุเจ็ดสิบขึ้นไปเล่าให้ฟังว่าคนไข้บางคนพอรู้ว่ายาพระอาจารย์วังยังไม่ทันได้กินหายป่วยแล้วก็มี ตัวผู้เขียนได้นำไปรักษาผู้ป่วยดู ฝนให้กินเพียงขันเดียวไม่ถึง ๓๐ นาที คนป่วยลุกนั่งได้อย่างอัศจรรย์

ข้อมูลอ้างอิงจาก : dharma-gateway.com

http://www.web-pra.com/

. . . . . . .