เรียนศาสตร์ทางโลก…เริ่มศาสตร์ทางธรรม–ครูบาอริยชาติตอนที่ 2

1479540_10201131606040787_2138090438_n

เด็กชายเก่งเริ่มเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนวัดชัยชนะ ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (บ้านปิงน้อย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ บ้านเกิดของครูบาอริยชาติ เป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับอาณาเขตของจังหวัดลำพูนเพียงชั่วสะพานกั้น จึงสามารถไปมาระหว่างกันได้สะดวก)

ด้วยความขยันเอาใจใส่ประกอบกับสติปัญญาที่ฉลาดเฉลียว ทำให้เด็กชายเก่งสอบได้เป็นที่ ๑ ของชั้นมาโดยตลอด กระทั่งแม้เมื่อเรียนจบชั้น ป.๖ และเข้าเรียนต่อระดับมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนสารภีพิทยาคม ผลการเรียนของเด็กชายเก่งก็ยังคงโดดเด่น ประกอบกับความโอบอ้อมมีน้ำใจอันเป็นอุปนิสัยส่วนตัว ก็ทำให้เขาเป็นที่รักของครูและเพื่อนพ้องเสมอมา

การตักบาตรเข้าวัดมาตั้งแต่ยังเล็กทำให้เด็กชายเก่งมีความคุ้นเคยกับวัดเป็นอย่างดี ประกอบกับขณะอายุได้ ๑๒ ปี ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อระหว่าง ป.๖ และ ม.๑ เด็กชายมักติดตามพี่ชายซึ่งเป็นขโยมวัด (เด็กวัด) ไปที่วัดชัยชนะ จังหวัดลำพูนอยู่เสมอ ซึ่งที่วัดชัยชนะแห่งนี้เอง ที่ทำให้เด็กชายเก่งมีโอกาสได้กราบ “ครู” คนสำคัญ และเป็นครูในทางธรรมท่านแรก นั่นคือ ครูบาจันทร์ติ๊บ ญาณวิลาโส เจ้าอาวาสวัดชัยชนะในขณะนั้น

ครูบาจันทร์ติ๊บ นับเป็นพระสงฆ์ผู้เรืองวิทยาคุณอย่างยิ่งผู้หนึ่งในยุคนั้น เนื่องจากท่านเป็นสหธรรมิกกับ “ครูบาชุ่ม โพธิโก” อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล (วัดวังมุย) และครูบาชุ่มผู้นี้ นอกจากจะเป็นผู้ทรงภูมิธรรมสูงส่งแล้ว ท่านยังได้รับความศรัทธานับถือจากญาติโยมในยุคนั้น ว่าเป็นพระสงฆ์ผู้เจริญด้วยศีลาจารวัตร อีกทั้งยังได้รับการยกย่องในฐานะเกจิผู้เข้มขลังด้วยสรรพวิชาสารพัดแขนง จากการที่ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับอาจารย์ผู้เลิศในศาสตร์แห่งวิทยาคุณมากมายหลายท่านนั่นเอง

ด้วยหัวใจของความเป็นครู บวกกับเจตนาที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้ของท่านให้สืบทอดสู่เด็กรุ่นลูกหลานต่อๆ ไป ครูบาจันทร์ติ๊บจึงไม่เพียงปลูกฝังสั่งสอนศีลธรรมจรรยาต่างๆ ให้กับเด็กๆ เท่านั้น แต่ท่านยังถ่ายทอดความรู้เรื่องอักขระพื้นเมือง หรือที่เรียกว่า “ตั๋วเมือง” ให้กับบรรดาลูกศิษย์ที่มาเรียนกับท่านอีกด้วย

ในบรรดาเด็กๆ ที่มาเรียนกับครูบาจันทร์ติ๊บนั้น ผู้ที่ทำให้ครูบาผู้เฒ่าบังเกิดความสนใจแกมปีติยินดีอย่างยิ่งก็คือ…เด็กชายเก่ง ด้วยไม่เพียงเด็กชายผู้นี้จะเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนและพากเพียรเรียนรู้ในสิ่งที่ครูบาถ่ายทอดให้ด้วยความใส่ใจเท่านั้น แต่เด็กชายเก่งยังสามารถเรียนรู้ในศาสตร์วิชาที่ท่านสั่งสอนได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถอ่านและเขียนตั๋วเมืองที่ว่ายากนักยากหนาได้ภายในเวลาเพียงชั่วข้ามคืนเป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง!

เรื่องราวดังกล่าวได้รับการกล่าวขานเป็นที่รับรู้ทั่วไปในกลุ่มผู้ใหญ่ที่สนใจในช่วงเวลานั้น กระทั่งได้ยินไปถึง “ครูบาตั๋น” หรือ “ตุ๊ลุงตั๋น” ซึ่งในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าคณะอำเภอสารภีรูปที่ ๔ และเป็นประธานศูนย์เผยแผ่พุทธศาสนาวัดหวลก๋าน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ตุ๊ลุงตั๋นไม่เชื่อว่าจะมีเด็กที่สามารถเรียนตั๋วเมืองจนอ่านออกเขียนได้ในเวลาเพียงข้ามคืนดังที่บอกเล่ากัน ท่านจึงเดินทางมาพิสูจน์ข่าวนี้ด้วยตัวเอง กระทั่งได้ประจักษ์ความจริงนี้ด้วยสายตาของท่านเอง ทำให้ตุ๊ลุงตั๋นรู้สึกชื่นชมในตัวเด็กชายเก่งอย่างมาก จึงได้มอบรางวัลให้เป็นกำลังใจแก่เด็กชายจำนวน ๑ พันบาท อ่านเพิ่มเติม

กำเนิด “ครูบาน้อย” –ครูบาอริยชาติตอนที่ 1

019

โรงพยาบาลสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ วันศุกร์ที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๔…

“พี่…เด็กคนนี้เลี้ยงให้ดีนะ โตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ผมทำคลอดมาหลายคน ยังไม่เคยเห็นเหมือนเด็กคนนี้เลย…”

“คุณหมอสุชาติ” แพทย์ผู้ทำคลอดให้กับ นางจำนงค์ อุ่นต๊ะ บอกกับนางจำนงเมื่อวันที่บุตรชายคนที่ ๓ ของนางลืมตาดูโลกเป็นวันแรก แล้วคุณหมอผู้ทำคลอดก็ขออนุญาตตั้งชื่อให้ทารกแรกเกิดผู้นี้ว่า “เก่ง”

ณ วันนั้น การได้เห็นลูกน้อยซึ่งตนอุ้มท้องมานานถึง ๙ เดือน เป็นความปีติยินดีของนางจำนงค์ยิ่งกว่าสิ่งใด อีกทั้งลักษณะของบุตรชายที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้น ก็ทำให้นางจำนงค์รู้สึกภูมิใจไม่น้อย ด้วย “เด็กชายเก่ง” ผู้นี้ มีลักษณะอัน “งาม” ยิ่ง กล่าวคือ…ผิวพรรณผุดผ่อง ตาโต ใบหูยาวใหญ่ นิ้วมือนิ้วเท้าเรียวยาว…ซึ่งรูปลักษณ์เช่นนี้ตามคำทำนายของคนเฒ่าคนแก่แต่โบร่ำโบราณว่ากันว่า…นี่คือลักษณะของ “ผู้มีบุญ”

ทารกน้อยผู้เป็นลูกชาย ทำให้นางจำนงค์นึกถึงความฝันอันประหลาดซึ่งเกิดขึ้นถึง ๒ ครั้ง ๒ ครา ก่อนจะตั้งท้องลูกคนนี้ ครั้งแรกนางฝันไปว่า…ได้รับผ้าผืนใหญ่สีขาวนวลตา เมื่อพิจารณาดูก็รู้สึกชอบใจยิ่งนัก เพราะผ้าผืนนั้นขาวสะอาดไร้รอยเปื้อนใดๆ

และครั้งที่สอง… “แม่ฝันว่าผลักประตูเข้าไปในห้องนอน เห็นแต่สีเหลืองทองเต็มห้องไปหมด…”
ไม่ว่าจะเป็นความฝันที่น่าจะเป็นนิมิตหมายอันดี หรือรูปลักษณ์อันงามของบุตรชายคนสุดท้องก็ตาม วันที่ “เด็กชายเก่ง” หรือ สุชาติ อุ่นต๊ะ ถือกำเนิดขึ้น ก็นับเป็นวันแห่งความสุขและความปลื้มปีติของนายสุขและนางจำนงค์ผู้เป็นบิดาและมารดาอย่างที่สุด

ถึงอย่างนั้น ใครเล่าจะคาดคิด ว่าในกาลข้างหน้า เด็กชายผู้ลืมตาดูโลกในวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ผู้นี้ จะเติบโตขึ้นและเจริญในวิถีแห่งธรรมจนโด่งดังเป็นที่รู้จักในนาม “ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต” … “ตนบุญ” ผู้มีชื่อเสียงนับตั้งแต่ดินแดนเหนือสุดของประเทศจรดแผ่นดินบริเวณด้ามขวานของไทย ตลอดรวมถึงต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำยกย่องว่า “ครูบา” หรือ “ตนบุญ” นี้ ถูกเรียกขานมาตั้งแต่นักบวชหนุ่มผู้นี้ก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ได้เพียงไม่กี่ปี

เป็น “ครูบาน้อย” ตั้งแต่อายุยังน้อย และตั้งแต่ยังเป็นเพียงสามเณรเท่านั้น!

ขอขอบคุณ http://www.watsangkaew.com/

พระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ตนบุญแห่งล้านนา : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

9k86bbeib96ah6bg99b5c

“ครูบาคิดว่าความสวยงามในวัตถุทำให้เกิดกุศลขึ้นในจิตใจ เรามาวัดอย่างน้อยได้เห็นความร่มรื่น ได้เห็นความสงบ ได้เห็นสิ่งสวยงาม ได้เห็นพระพุทธรูป ได้เห็นความเป็นไทย จิตเราจะเกิดความเบิกบาน นี่คือคำว่า บุญ”

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นปณิธานในการสร้างวัดของพระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย โดยท่านได้สร้างมีรูปหล่อเหมือนพระครูเจ้าศรีวิชัยหน้าตัก ๙ เมตร เนื้อโลหะองค์ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งเด่นตระการตา เป็นที่เคารพสักการะของผู้ที่มาเยือน มีเทพทันใจให้ผู้คนได้เสี่ยงทายขอโชคลาภ มีแม่นางกวักตุ้ยนุ้ยให้ได้บูชาเป็นที่เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์

ครูบาอริยชาติ ถือวัตรปฏิบัติเช่นเดียวกับครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ลูกศิษย์จึงตั้งสมญานามว่า “ครูบาอริยชาติ ตนบุญแห่งล้านนา” โดยในแต่ละวันจะมีลูกศิษย์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เดินทางไปกราบไหว้ขอพรเป็นจำนวนมาก

ครูบาอริยชาติ บอกว่า คำถามยอดฮิตที่มาหาครูบา คือ “เมื่อไรจะรวย เมื่อไรจะดี เมื่อไรจะขายที่ได้” เท่าที่มีคนมาหายังไม่เคยเห็นคนรวยเลย เจ้าของโรงงานมีคนงานเป็นพัน ก็มาถามครูบาว่า “เมื่อไรจะรวย?” เจ้าของโรงแรมขนาด ๕๐ ห้อง ก็มาถามว่า “เมื่อไรจะรวย?” เจ้าของที่เป็นพันไร่ก็มาถามว่า “เมื่อไรจะรวย?” นั่งรถเบนซ์มาก็ถามว่า “เมื่อไรจะรวย?” ใครต่อใครที่ก้าวเข้ามาในวัด แต่งตัวดีใส่นาฬิกาโรเล็กซ์ ใส่เพชรใส่พลอยเต็มตัวสุดท้ายก็มาถามว่า “เมื่อไรจะรวย?”

ตั้งแต่บวชเป็นพระมาครูบายังไม่เคยเห็นคนรวยเข้ามาที่นี่เลย คนเราเวลาขอพร มักบอกขอให้รวยมีเงินมีทอง ครูบาว่า คนเราถึงจะมีเงินมากก็ตาม แต่เงินก็ไม่สามารถให้ความสุขแก่เราได้ มีเงินก็ต้องมีความสามารถ ในการบริหารเงิน มีเงินแล้วบริหารไม่ดีก็หมด ติดเหล้า ติดยา ติดเพื่อน ติดการพนัน นำความเดือดร้อนมาให้ครอบครัว มีเงินเป็นร้อยล้านพันล้านก็ไม่มีความสุขถ้าไม่รู้จักพอ คนเราถ้ารูจักพอมันก็รวยแล้ว

พร้อมกันนี้ ครูบาอริยชาติ ยังบอกด้วยว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ ให้สนใจศึกษาเรื่องภายใน เรื่องของตนเอง ไม่ต้องไปไกลถึงนอกโลก บางคนมาคุยกับครูบา รู้ทุกเรื่องที่เป็นเรื่องภายนอก รู้เหตุการณ์บ้านเมือง รู้ความเป็นไปของโลก คนไปโลกพระจันทร์ชื่ออะไร นิลอาร์มสตรอง รู้ถึงนอกโลกโน้นแน่ะ พอถามว่า “แล้ววันนี้กินข้ากี่คำ?” กลับตอบว่า “ไม่รู้” ไม่รู้เพราะอะไร เพราะไม่สนใจศึกษาเรื่องของตนเอง รู้จักคนอื่น รู้จักโลกอื่น แต่ไม่รู้จักตนเองก็ไม่มีประโยชน์อะไร อ่านเพิ่มเติม

ครูบาอริยชาติ

ครูบาอริยชาติ หรือ “ครูบาน้อย” เจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายอายุ 32 ปี 12 พรรษา เกิดที่อำเภอสารภี เชียงใหม่ ถือว่าเป็น นักบุญล้านนายุคใหม่ โดยได้รับการศรัทธายกย่องให้เป็น “ครูบา” หมายถึง อาจารย์ผู้มีความเข้มขลัง ตั้งแต่อายุยังน้อย

ครูบาน้อย….เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์บรรพชาเป็นสามเณรกับ ครูบาเทือง นาถสีโล วัดเด่นสลีเมืองแกน เชียงใหม่ เมื่ออายุ 17 ปี ได้ศึกษาอักขระเวทมนตร์ต่างๆจนล้ำลึกสุดยอดในวิชาเมตตามหานิยม จนได้รับการขนานนามว่า…หลวงพ่อเณรน้อย (ยังไม่ถึงระดับหลวงปู่…)

พออายุครบ 20 ปี อุปสมบท ณ วัดชัยมงคล (วังมุย) ลำพูน ได้อุทิศตนทุ่มเทการพัฒนาศาสนสถานหลายแห่ง จนได้รับความศรัทธาเลื่อมใสขจรไกล ไปทั่ว …..ทั้งในและต่างประเทศ

อาจารย์แห้ว….หรือ ซินแสณรงค์ศักดิ์ คูกิติรัตน์ เป็นชาวจันเสน อำเภอตาคลี นครสวรรค์โดยกำเนิด ชีวิตในวัยเด็กก็เฉกเช่นลูกชาวนาธรรมดาๆ

คนหนึ่ง มามี อาการที่ผกผันเมื่อตอนอายุ 8 ขวบ ด้วยเกิดความรู้สึกที่ผิดปกติ มีสัญชาตญาณอันเร้นลับในสัมผัสที่ 6 เพียงเอานิ้วมือสัมผัสก็สามารถหยั่งรู้ถึงอนาคต บอกเหตุและทายทักชะตาชีวิตของมนุษย์โดยทั่วๆไปได้ยังกับเทวดาบอก แต่ก็มิกล้าแสดงออกด้วยเกรงจะถูกกล่าวหาว่า “อุตริมนุส”

แต่ก็หาได้รอดพ้นไม่ ด้วย เกิดนิมิตมีชาวจีนชรามาบอกหลายครั้ง ให้เป็นหัวแรงในการบูรณะศาลเจ้าพ่อนาคราช (ศาลนี้มีอายุ 4 ชั่วชีวิตคน) เมื่อรับปาก จึงได้นำเอาสัมผัสกับความเร้นลับที่เกิดขึ้นมาสงเคราะห์มวลชนจนได้รับแรงศรัทธาร่วม ทั้งคนไทยในประเทศ และชาวต่างชาติจากแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย และอื่นๆ เพียง 5 ปีก็สามารถพลิกศาลไม้ผุๆเป็น…..อาคารถาวรคอนกรีตเสริมเหล็ก

กิจกรรม “สะเดาะเคราะห์ สืบชะตา” ครั้งนี้ อาจารย์แห้ว เดินทางล่วงหน้า ครูบาอริยชาติ ปูพรมด้วยการ ดูฮวงจุ้ย ทายทักชะตาชีวิต สะเดาะ-เคราะห์ให้กับชาวมาเลเซียที่ศรัทธา ซึ่งเข้าคิวกันยาวเหยียดในแต่ละวันตั้งแต่เช้าจดค่ำ

ณ…..วันจัดพิธีกรรมในประมณฑลขนัดด้วยศรัทธา (จัตุรัสนั่นกางเต็นท์ขนาดจัมโบ้ 40 หลัง หลังหนึ่งตั้งเก้าอี้ 54 ตัว และมียืนอีกส่วนหนึ่ง) ช่วงเช้าประเดิมด้วย อาจารย์แห้วทำพิธีบวงสรวงเทพยดาและเหล่าเซียนในแต่ละระดับชั้นสวรรค์

แล้วเสร็จ….ครูบาอริยชาติประกอบพิธีกรรมทางพุทธฯ ด้วยการสลายสรรพทุกข์ โศก โรคภัย ด้วยสวดพระปริต ธรรมจักร ชัยยะน้อย ฯลฯ ผู้เข้าพิธีกรรมเอาสายสิญจน์มัดหัวเพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไหลเข้ากายสลายความเลวร้าย ทั้งปวง….แล้ว ประพรมน้ำมนต์เสริมมงคลพลัง

เพื่อเพิ่มพูนความขลัง…พระครูวิธานธรรมวิสุทธิ์ พระครูสุธรรมโฆสิต พระครูวีระปุญญาธร พระครูปลัดพรเทพ และ พระอธิการมนตรี วัดเชิงท่า คณะสงฆ์จากลพบุรีสวด เจริญชัยมงคลคาถา แล้ว อาจารย์แห้วอัญเชิญ “พญานาคราช” เข้าสิงร่าง เขียนฮู้ เจิมหน้า เจิมหัว ให้กับผู้ศรัทธา อ่านเพิ่มเติม

เกณฑ์วินิจฉัย กรรมดี-กรรมชั่ว พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)

เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว
ก) ปัญหาเกี่ยวกับความดี-ความชั่ว

กรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความดีและความชั่วโดยตรง เมื่อพูดถึงกรรม จึงควรพูดถึงเรื่องความดีและความชั่วไว้ด้วย เพื่อช่วยให้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรรมชัดเจนยิ่งขึ้น

เรื่องความดีและความชั่ว มักมีปัญหาเกี่ยวกับความหมายและหลักเกณฑ์ที่จะวินิจฉัย เช่นว่า อะไรและอย่างไร จึงจะเรียกว่าดี อะไรและอย่างไร จึงจะเรียกว่าชั่ว
อย่างไรก็ตาม ปัญหาเช่นนี้มีมากเฉพาะในภาษาไทยเท่านั้น ส่วนในทางธรรม ที่ใช้คำบัญญัติจากภาษาบาลี ความหมายและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้นับได้ว่าชัดเจน ดังจะได้กล่าวต่อไป

คำว่า “ดี” และ “ชั่ว” ในภาษาไทย มีความหมายกว้างขวางมาก โดยเฉพาะคำว่าดี มีความหมายกว้างยิ่งกว่าคำว่าชั่ว คนประพฤติดีมีศีลธรรม ก็เรียกว่าคนดี อาหารอร่อยถูกใจผู้ที่กิน ก็อาจพูดว่า อาหารมื้อนี้ดี หรืออาหารร้านนี้ดี เครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพหรือทำงานเรียบร้อย คนก็เรียกว่าเครื่องยนต์ดี ไม้ค้อนที่ใช้ได้สำเร็จประโยชน์สมประสงค์ คนก็ว่าค้อนนี้ดี ภาพยนตร์ที่สนุกสนานถูกใจ คนที่ชอบก็ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ดี ภาพเขียนสวยงาม คนก็ว่าภาพนี้ดี หรือถ้าภาพนั้นอาจขายได้ราคาสูง คนก็ว่าภาพนั้นดีเช่นเดียวกัน โรงเรียนที่บริหารงานและมีการสอนได้ผล นักเรียนเก่ง ก็เรียกกันว่าโรงเรียนดี โต๊ะตัวเดียวกัน คนสามคนบอกว่าดี แต่ความหมายที่ว่าดีนั้นอาจไม่เหมือนกันเลย คนหนึ่งว่าดีเพราะสวยงามถูกใจเขา อีกคนหนึ่งว่าดีเพราะเหมาะแก่การใช้งานของเขา อีกคนหนึ่งว่าดีเพราะเขาจะขายได้กำไรมาก

ในทำนองเดียวกัน ของที่คนหนึ่งว่าดี อีกหลายคนอาจบอกว่าไม่ดี ของบางอย่างมองในแง่หนึ่งว่าดี มองในแง่อื่นอาจว่าไม่ดี ความประพฤติหรือการแสดงออกบางอย่าง ในถิ่นหนึ่งหรือสังคมหนึ่งว่าดี อีกถิ่นหนึ่งหรืออีกสังคมหนึ่งว่าไม่ดี ดังนี้เป็นต้น หาที่ยุติไม่ได้ หรืออย่างน้อยไม่ชัดเจน อาจต้องจำแนกเป็นดีทางจริยธรรม ดีในแง่สุนทรียภาพ ดีในแง่เศรษฐกิจ เป็นต้น
เหตุที่มีความยุ่งยากสับสนเช่นนี้ ก็เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณค่า และคำว่า “ดี” หรือ “ไม่ดี” ในภาษาไทย ใช้กับเรื่องที่เกี่ยวกับคุณค่าได้ทั่วไปหมด ความหมายจึงกว้างขวางและผันแปรได้มากเกินไป
เพื่อตัดปัญหาเกี่ยวกับความยุ่งยากสับสนนี้ จึงจะไม่ใช้คำว่าดี ไม่ดี หรือชั่ว ในภาษาไทย และเป็นอันไม่ต้องพิจารณาปัญหา เกี่ยวกับคุณค่าด้านต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด
ในการศึกษาเรื่องความดีความชั่วที่เกี่ยวกับกรรมนี้ มีข้อควรทราบดังนี้ อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ

1
“หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ” หรือ “พระครูวิชิตพัชราจารย์” วัดช้างเผือก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ พระเกจิชื่อดังและเป็นพระนักพัฒนาที่มีคุณูปการต่อคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบูรณ์

หลังมรณภาพเมื่อ 35 ปีที่ผ่านมา คณะศิษยานุศิษย์นำศพหลวงพ่อไปบรรจุไว้ในโลงแก้ว ตามคำสั่งสุดท้ายก่อนมรณภาพที่สั่งไว้ว่า “ห้ามนำร่างกายกูไปเผา ต่อไปในวันข้างหน้า ร่างกายนี้จะมีคุณประโยชน์ ต่อวัด”

เกิดในสกุล ม่วงดี ที่บ้านยางหัวลม ต.นายม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2424 บิดา-มารดา ชื่อ นายเผือก และ นางอินทร์ ม่วงดี อายุ 16 ปี ครอบครัวนำไปฝากพระอาจารย์สี วัดช้างเผือก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ให้บวชเป็นสามเณร ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและวิทยาคม

พ.ศ.2445 เมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดศิลาโมง ต.นายม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ มีพระครูเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ปาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ธัมมปัญโญ หมายถึง ผู้มีความรู้ในพระธรรม
หลังอุปสมบท ท่านย้ายไปจำพรรษาที่วัดช้างเผือก เพื่อศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิทยาคมจากพระอาจารย์ปาน จนมีความเชี่ยวชาญ จากนั้นได้ออกเดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ บำเพ็ญภาวนา แสวงหาสถานที่สัปปายะทำกัมมัฏฐาน ขณะเดียวกันได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้านวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ต่างๆ อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .