พระราชประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

พระราชประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีท่านเกิดในสมัยรัชกาลที่๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๓๑ เวลา ๑๖.๓๕ นาฬิกา
ท่านเป็นบุตรนอกเศวตรฉัตรในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่๒ แห่งราชวงศ์จักรี กล่าวคือในสมัยรัชกาลที่๑ นั้น ได้เกิดศึกขึ้นทางภาคเหนือของไทย โดยกองทัพเวียงจันทน์จะยกมาตีเมืองโคราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ) จึงทรงมีรับสั่งให้รัชกาลที่๒ ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า ไปปราบศึกที่ยกมา รัชกาลที่๒ ซึ่งขณะนั้นเพิ่งมีพระชนมายุได้ ๑๗ พรรษาเท่านั้น ก็ได้ยกทัพไปทางเรือ ครั้นไปถึงจังหวัดกำแพงเพชรก็ได้มีชาวบ้านจัดสินค้าต่างๆมาขายแก่พวกทหารในกองทัพ ในจำนวนแม่ค้าพายเรือมาขายของนั้น ได้มีมารดาของท่านซึ่งเป็นสาวงามชาวกำแพงเพชรด้วยผู้หนึ่ง( ท่านเล่าว่ามารดาของท่านชื่อ แม่งุด ) มารดาของท่านพายเรือขายผลกระท้อนแก่พวกทหาร ด้วยบุพเพสันนิวาส พวกนายทหารเห็นเป็นบุญว่ามารดาของท่านเป็นคนสวยจึงชักพาให้ได้กับเจ้าฟ้าแม่ทัพ และได้อยู่ร่วมกันคืนหนึ่ง ก่อนที่จะจากไปท่านแม่ทัพบิดาของท่านได้ประทานรัดประคดอันหนึ่งแก่มารดาของท่านไว้ เพื่อมอบให้บุตรที่จะเกิดขึ้นต่อไป ทั้งรับสั่งไว้ด้วยว่าถ้ามารดาของท่านคลอดบุตรเป็นชายให้ตั้งชื่อว่า “โต” ถ้าคลอดบุตรเป็นหญิง ให้ตั้งชื่อว่า “เกตุแก้ว”หลังจากนั้นก็เดินทัพต่อไป
อ่านเพิ่มเติม

คำทำนาย ชะตาเมืองไทย ของสมเด็จโต”

คำทำนาย ชะตาเมืองไทย ของสมเด็จโต”

จากหนังสือจุลสาร ” 1999 โลกพินาศ 2542 แผนอยู่รอด ”

รวบรวมโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พิชัย โตวิวิชญ์

ในหนังสือ “ปัญญาไทย 1” ที่เขียนบันทึกเกี่ยวกับประวัติ ผลงานอภินิหาร และ เกียรติคุณ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) พรหมรังษี ของ มหาอำมาตย์ ตรีพระยาทิพโกษา ( สอน โลหะนันท์ ) ซึ่งเป็นฉบับที่ ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ รวบรวมในปี พ.ศ.2493 โดยไม่มีการแก้ไขข้อความเดิม ในหน้า 27 มีการพยากรณ์ ถึงชะตาเมือง ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

หลังจากที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) พรหมรังษี ได้มรณภาพลง เมื่อวันเสาร์แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415

ตอนเที่ยงคืน เช้าวันรุ่งขึ้น นายอาญาราช ( อิ่ม ) ศิษย์ก้นกุฏิ ของเจ้าประคุณสมเด็จ เข้าไปเก็บกวาด ในกุฏิของท่าน ขณะทำความสะอาดพื้นกุฏิ นายอาญาราชได้พบ เศษกระดาษชิ้นหนึ่งซุก อยู่ใต้เสื่อเป็นลายมือของเจ้าประคุณสมเด็จ เขียนสั้นๆ โดยสังเขป เป็นคำทำนายชะตาเมือง มีความว่า
อ่านเพิ่มเติม

คติพจน์คำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

คติพจน์คำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

คติพจน์คำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เป็นนักเทศน์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่ทรงคุ้นเคยมาทั้งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาโตเป็นผู้ไม่ปรารถนาลาภ ยศ สมณศักดิ์ใดๆ เมื่อเรียนรู้พระปริยัติมาแล้วก็ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญและไม่รับเป็นฐานานุกรม เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะ พระมหาโตได้ทูลขอตัวมิยอมรับตำแหน่ง หรือเลี่ยง โดยออกธุดงค์ไปตามวัดในชนบทห่างไกลทุกคราวไป จึงคงเป็นพระมหาโตมาตลอด จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาโตจึงยอมรับพระมหากรุณา

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี มีอัธยาศัยมักน้อยเป็นปกติ ลาภสักการะที่ได้มาในทางเทศนาก็นำไปสร้างสิ่งเกี่ยวเนื่องด้วยพระศาสนา จึงมีผู้นับถือศรัทธามาก บางคนเรียกท่านว่า “ขรัวโต” เพราะท่านจะทำอย่างไรก็ทำตามความพอใจไม่ถือตามความนิยมของผู้อื่นเป็นใหญ่
อ่านเพิ่มเติม

การก่อสร้างพระพุทธรูปสมเด็จ

การก่อสร้างพระพุทธรูปสมเด็จ

อนุสรณ์การสร้างพระพุทธรูปของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี)

สถานที่ที่มีความสำคัญและเกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) มีด้วยกันมากมาย หลายแห่งซึ่งสถานที่เหล่านั้นมีความ ผูกผันกับ ชีวิตของสมเด็จโตฯตั้งแต่เกิดจนกระทั่งมรณภาพ ท่านก็มักจะสร้างอะไร ๆ ที่ใหญ่ ๆ โต ๆ สมกับชื่อของท่าน ส่วนใหญ่แล้วท่านก็จะสร้างเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถต่างๆ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ตัวท่านเอง จึงได้สร้างปรากฏไว้เป็นหลักฐาน
สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) ราชสกุลวงษ์ของเจ้าประคุณสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต พรฺหมฺรํสี) มารดาชื่อ เกตุ (ธิดานายไชย) เดิมเป็นชาวบ้าน ต.ท่าอิฐ อำเภอบ้านโพธิ์ (ปัจจุบันคืออำเภอเมือง จ.อุตรดิตถ์) ส่วนบิดาจะมีนามใดไม่ปรากฏแน่ชัด ทราบเพียงแต่ว่ารับราชการเป็นชาวเมืองอื่น แต่ก็เชื่อได้ว่าเป็น “ราชสกุลวงษ์” ต่อมาการทำนาไม่ได้ผลเพราะฝนแล้งมาหลายปี โยมมารดาท่านจึงคิดย้ายภูมิลำเนาโดยการออกทำมาค้าขายโดยทางเรือและตามหาโยมพ่อด้วย จนกระทั่งเดินทางมาถึง บ้านไก่โจน (ต่อมาแผลงเป็น “ไก้จ้น”) ตำบลไก่จ้น อำเภอนครน้อย (อ.ท่าเรือ) แขวงเมืองกรุงเก่า (จ.พระนครศรีอยุธยา) จึงได้จอดเรือในคลองป่าสัก ใต้ต้นสะตือ ที่ริมตลิ่งหน้าวัดท่างาม (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดสะตือ) โยมเกตุได้คลอดบุตรเป็นชาย ณ ที่แห่งนั้น ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก สัมฤทธิ์ศก จ.ศ. 1150 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 เวลาบิณฑบาต ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 7 ปี) และตั้งชื่อว่า “โต” เมื่อท่านเกิดแล้ว (ยังเป็นทารกแบเบาะ) มารดาก็พาท่านไปอยู่ที่ตำบลไชโย จ.อ่างทอง จนกระทั่งท่านนั่งได้ มารดาก็พามาอยู่ ณ บ้านตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร จนกระทั่งยืนเดินได้ (ภายหลังท่านได้สร้างพระพุทธรูปใหญ่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ ณ ที่ตำบลทั้ง 3) ดังจะกล่าวไปข้างหน้า
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จโตกับการเลิกทาส

สมเด็จโตกับการเลิกทาส

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรฺหมฺรํสี) กับการเลิกทาส

เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรฺหมฺรํสี) มารดาชื่อ เกตุ (ธิดานายไชย) เดิมเป็นชาวบ้าน ต.ท่าอิฐ อำเภอบ้านโพธิ์ (ปัจจุบันคืออำเภอเมือง จ.อุตรดิตถ์) ส่วนบิดาจะมีนามใดไม่ปรากฏแน่ชัด ทราบเพียงแต่ว่าเป็นชาวเมืองอื่น แต่ก็เชื่อได้ว่าเป็น “ราชสกุลวงษ์” ต่อมาการทำนาไม่ได้ผลเพราะฝนแล้งมาหลายปี โยมมารดาท่านจึงคิดย้ายภูมิลำเนาโดยการออกทำมาค้าขายโดยทางเรือและตามหาโยมพ่อด้วย จนกระทั่งเดินทางมาถึง บ้านไก่โจน (ต่อมาแผลงเป็น “ไก้จ้น”) ตำบลไก่จ้น อำเภอนครน้อย (อ.ท่าเรือ) แขวงเมืองกรุงเก่า (จ.พระนครศรีอยุธยา) จึงได้จอดเรือในคลองป่าสัก ใต้ต้นสะตือ ที่ริมตลิ่งหน้าวัดท่างาม (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดสะตือ) โยมเกตุได้คลอดบุตรเป็นชาย ณ ที่แห่งนั้น ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก สัมฤทธิ์ศก จ.ศ. ๑๑๕๐ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ เวลาบิณฑบาต ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้ ๗ ปี) และตั้งชื่อว่า “โต” เมื่อท่านเกิดแล้ว (ยังเป็นทารกแบเบาะ) มารดาก็พาท่านไปอยู่ที่ตำบลไชโย จ.อ่างทอง จนกระทั่งท่านนั่งได้ มารดาก็พามาอยู่ ณ บ้านตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร จนกระทั่งยืนเดินได้ (ภายหลังท่านได้สร้างพระพุทธรูปใหญ่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ ณ ที่ตำบลทั้งสาม)
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี)

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี)
ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี)

หากจะถามว่า…สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในโลกนี้มีจริงหรือไม่ ? ก็ไม่มีใครสามารถตอบได้แน่ชัดว่ามีจริงหรือไม่จริง เพราะมันเป็นสิ่งที่ลี้ลับยากที่จะพิสูจน์ความเชื่อถือ และศรัทธาของคนเท่านั้น ที่เป็นผู้กำหนดว่ามีจริงหรือไม่ แต่ก็มักจะกล่าวกันว่า “ถ้าหากไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่” เนื่องจากความเชื่อของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพสักการะสถิตอยู่ในหัวใจของชาวอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ “องค์หลวงพ่อโต วัดสะตือ” เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ (นอน) ก่ออิฐถือปูนขนาดองค์พระยาว 1 เส้น 6 วา สูง(ตั้งแต่พื้นถึงรัศมี) 8 วา ฐานยาว 1 เส้น 10 วา กว้าง 4 วา 2 ศอก หรือ ยาว 52 เมตร กว้าง 9 เมตร สูง 16 เมตร ถือว่าเป็นพระนอนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรฺหมฺรํสี) ได้ทรงสร้างไว้เป็นอนุสรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2413 ณ วัดสะตือ (เดิมชื่อ “วัดท่างาม” ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดสะตือ” เพราะมีต้นสะตือใหญ่ขึ้นอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตรงหน้าวัด) ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำป่าสัก หมู่ที่ 6 ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
อ่านเพิ่มเติม

พระราชประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรมรังสี

พระราชประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรมรังสี

จุดไต้เข้าจวน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ นั้น มีพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ ปี ๑๐ วันเท่านั้น ยังทรงพระเยาว์นัก จึงต้องมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) อัครมหาเสนาบดี ผู้ใหญ่ในขณะนั้น เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
วันหนึ่งเจ้าประคุณสมเด็จก็จุดไต้ลูกใหญ่เข้าไปหาสมเด็จเจ้าพระยาในจวนของท่าน ยามกลางวันแสก ๆ อีกเช่นเดียวกัน สมเด็จเจ้าพระยาจึงถามว่า มีประสงค์อันใดหรือ จึงถือไต้เข้ามาหากระผมเช่นนี้
เจ้าประคุณสมเด็จตอบไม่อ้อมค้อมเลยว่า “อาตมภาพได้ยินว่า ทุกวันนี้แผ่นดินมืดมัวนักด้วยมีคนคิดร้ายจะเอาแผ่นดิน ไม่ทราบว่าเท็จจริงจะเป็นประการใด ถ้าเป็นความจริงแล้วไซร้ อาตมภาพก็ใคร่จะขอบิณฑบาตเขาเสียสักครั้งหนึ่งเถิด”
สมเด็จเจ้าพระยา อึ้งไปนิดหนึ่งก่อนจะตอบว่า “ขอพระคุณเจ้าอย่าได้วิตกเลย ตราบใดที่กระผมยังมีชีวิตอยู่ฉะนี้ จะไม่ให้แผ่นดินนั้นมืดมัวหล่นลงไป ด้วยจะไม่มีผู้ใดแย่งแผ่นดินไปได้เป็นอันขาด”
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จบอกว่า เพื่อความสบายใจ ให้สมเด็จเจ้าพระยาไปสาบานตัวต่อพระแก้วมรกตในวัดพระแก้ว ภายหลังต่อมาท่านผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นข้าราชการผู้หนึ่ง ที่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีส่วนผลักดันให้การบริหารราชการแผ่นดินก้าวเข้าสู่ยุคใหม่
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติสมเด็จโต ฉบับพระยาทิพโกษา(สอนโลหะนันท์)ตอน12 เป็นพระมหาโต

ประวัติสมเด็จโต ฉบับพระยาทิพโกษา(สอนโลหะนันท์)ตอน12 เป็นพระมหาโต

(ต่อไปนี้จะได้บรรยายประวัติในรูปภาพที่ฝาผนังโบสถ์ วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม ฝ่ายทักษิณแห่งพระอุโบสถวัดนั้น เป็นฉากที่ ๕ ต่อไป ในฉากที่ ๕ นั้น ท่านให้ช่างเขียนรูปพระสังฆราชมี เขียนรูปท่านเข้าไปไหว้ลา เขียนรูปวัดระฆัง เขียนรูปเรียนหนังสือ เขียนรูปพระบรมมหาราชวัง และรูปพระบวรราชวัง รูปฉันในบ้านตระกูลต่างๆ รูปพระสังฆราชนาค สันนิษฐานตามเค้าเหตุผล เรียงตามลำดับดังนี้)
ครั้นรุ่งขึ้นเป็นวันแรมสองค่ำ เดือนหก ศกนั้น ท่านพระยาพิษณุโลกให้ส่งสมเด็จพระวันรัตและพระภิกษุโตกับพระอาจารย์แก้วกลับกรุงเทพฯ ได้ขอทุเลากับสมเด็จพระวันรัตว่า “เกล้าฯ ขอทุเลาให้หายเหนื่อยสัก ๒ วัน และสั่งกิจการ ต่อวันแรม ๔ ค่ำ เดือนหก จึงจะไปหาพระคุณเจ้า” สมเด็จพระวันรัตว่า “ตามใจเจ้าคุณเถิด” ครั้นตกลงกันแล้ว พระยาพิษณุโลกก็ทำรายงานเรื่องอุปสมบทตราพระกระแสร์รับสั่ง มอบให้เสมียนตราด้วงน้อมเกล้าถวายแล้วส่งเจ้าเมืองทั้ง ๔ กลับพร้อมทั้งผู้คน สั่งยกกระบัตรและกรมการใหญ่น้อยให้ทำหน้าที่ แล้วจัดเรือแจว ๖ แจว มีฝีพาย เรือครัวไปส่งพระในกรุงเทพฯ ในวันแรม ๔ ค่ำ เดือนนั้น อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จโตสยบฤทธิ์แม่นาคพระโขนง

สมเด็จโตสยบฤทธิ์แม่นาคพระโขนง

ครั้นเมื่อ นางนาค บ้านพระโขนง เขาตายทั้งกลม ปีศาจของนางนาคกำเริบ เขาลือกันต่อมาว่า ปีศาจนางนาคมาเป็นรูปคน ช่วยผัววิดน้ำเข้านาได้ จนทำให้ชายผู้ผัวมีเมียใหม่ไม่ได้ ปีศาจนางนาคเที่ยวรังควานหลอนหลอก คนเดินเรือในคลองพระโขนงไม่ได้ ตั้งแต่เวลาเย็นตะวันรอนๆ ลงไป ต้องแลเห็นปีศาจนางนาคเดินห่มผ้าสีบ้าง โหนตัวบนต้นโพธิ์ต้นไทรบ้าง พระสงฆ์ในวัดพระโขนงมันก็ล้อเล่น จนกลางคืนพระภิกษุสามเณรต้องนอนรวมกัน ถ้าปลีกไปนอนองค์เดียว เป็นต้องถูกปีศาจนางนาครบกวน จนเสียงกร๊อกแกร๊กอื่นๆ ก็เหมาว่าเป็นปีศาจนางนาคไปหมด พวกหมอผีไปทำเป็นผู้มีวิเศษตั้งพิธีผูกมัดเรียกภูตมัน มันก็เข้ามานั่งแลบลิ้นเหลือกตาเอา เจ้าหมอต้องเจ๊งมันมาหลายคน จนพวกแย่งพวกชิงล้วงลัก ปลอมตัวเป็นนางนาค หลอกลวงเจ้าของบ้าน เจ้าของบ้านกลัวนางนาค เลยมุดหัวเข้ามุ้ง ขโมยเก็บเอาของไปสบาย ค่ำลงก็ต้องล้อมต้องนั่งกองกันยันรุ่งก็มี
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

โดย ร้อยเอกประชุม สุขสำราญ

๐ ก่อนจะเป็นสมเด็จโตฯ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นพระเถระที่ทรงคุณวิเศษอยู่หลายประการ ยังผลให้ “พระสมเด็จ” ที่ท่านสร้างได้รับความนิยมอย่างสูง แม้นคาถา “ชินบัญชร” ก็ยังเป็นที่นิยมสวดภาวนา จนเป็นคาถาที่เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ สามารถบันดาลผลที่ปรารถนาได้สารพัด ทั้งนี้ก็ด้วยบารมีแห่งคุณวิเศษของท่านนั่นเอง

เจ้าประคุณสมเด็จฯ โต มีอายุยืนยาวถึง 5 รัชกาล คือ เกิดใน พ.ศ. 2331 (รัชกาลที่ 1) และสิ้นใน พ.ศ. 2415 (รัชกาลที่ 5) และเชื่อกันว่า เจ้าประคุณเป็นเชื้อพระวงศ์ด้วย

ผมเคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่ พูดถึงประวัติของท่านโดยสรุปว่า

“เกิดที่ไชโย โตที่วัดอินทร์ สิ้นที่วัดระฆัง”

เพราะฉะนั้น ท่านจึงสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ๆ ในสถานที่ที่ท่านเกี่ยวข้องอยู่นั้น นัยว่าเพื่อให้สมกับชื่อ “โต” ของท่าน เช่นที่วัดเกตุไชโย อ่างทอง, หลวงพ่อโต วัดอินทร์ บางขุนพรหม กทม. เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ สมเด็จโต วัดระฆัง

ประวัติ สมเด็จโต วัดระฆัง

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มีประวัติเป็นที่ประทับใจประชาชนคนไทยอย่างไรเห็นจะไม่ต้องพูดกัน เพราะหลายท่านทราบกันดีอยู่แล้วในกิตติศัพท์อันเลื่องลือของ “สมเด็จโต” โดยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) ได้เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามเมื่อ พ.ศ. 2395 และวัดระฆังเป็นวัดที่อยู่ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ชาวบางกอ น้อยจึงถือท่านเป็นเสมือนเพชรประดับในเรือนใจของชาวบางกอกน้อย

วันที่ 15 ตุลาคม 2538 เป็นวันที่เขตบางกอกน้อยมีอายุครบ 80 ปี ผู้เขียนจึงขอเชิญประวัติและอภินิหารของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) ตามที่ได้มีตำนานเล่าขานกันมา มาเรียบเรียงไว้ในหนังสือ “80 ปี เขตบางกอกน้อย” โดยหวังให้เป็นมูลสำหรับอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้สืบไป

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี)

บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทร พระ บรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ
อ่านเพิ่มเติม

จดหมายเหตุ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)

จดหมายเหตุ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียงประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไว้เป็นความย่อๆเรียกว่า “เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์” พิมพ์ขึ้นปีพ.ศ. 2466 กล่าวว่า “…สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า “โต” เมื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา ได้นามฉายาว่า “พรหมรังสี” อุบัติขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ที่บ้านท่าหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา…” โยมบิดาของสมเด็จ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งทรงพระยศเป็น เจ้าพระยาจักรี โยมมารดาชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

บรรพชาและอุปสมบท

เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้วได้บรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา ต่อมาปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปีพ.ศ. 2350 ได้โปรดเกล้าฯให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระสังฆราช (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ ในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดฯรับไว้ในพระราชูปถัมภ์

อ่านเพิ่มเติม

เรืองเล่าปาฏิหารย์สมเด็จโต

เรืองเล่าปาฏิหารย์สมเด็จโต

เรืองเล่าปาฏิหารย์สมเด็จโต

เรียบเรียงโดย บรามี

กลับมาอีกครั้งนะคะ ได้เวลาเล่าเรืองใหม่กันอีกแล้ว พอดี 2-3 วันที่ผ่านมานี้ บรามีได้มี
โอากาสอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ และได้พบข่าวอันน่ามหัสจรรรย์เกียวกับหลวงปู่โต พรหมรังษี หลวงปู่ที่บรามี รักและเคารพมากองค์หนึงเลยนะคะ ก็เลยนำมาเล่าต่อ เรืองก็มีอยู่ว่า อยู่ดี ๆ ก็เกิดมีงูจงอางตัวบิ๊กเบิ้ม อยู่ ๆ มาพันรอบองค์ของท่านนะคะ ชาวบ้านแถบนั้นเชือว่า งูจงอางนี้เป็นงูเจ้าึ่ค่ะ มาเพือแสดงปาฏิหารย์ค่ะ แต่ปาฏิหารย์อันใด จะมาแจ้งอะไร ก็ไม่มีใครทราบแน่นอนนะคะ รู้กันแต่ว่า ชาวบ้านต่างอัศจรรย์ใจที่อยู่ๆ ก็มีงูยักษ์มาทำความเคารพรุปเหมือนของอาจารย์ปู่น่ะคะ

เรืองนี้ทำให้บรามีหวนคิดถึง เรืองราวความผูกพันธ์ระหว่างหลวงปู่โต พรหมรังษีแห่ง วัดระฆัง และสังคมไทยนะคะ คงจะมีคนจำนวนน้อยนะคะ ถ้าเอ่ยถึงยอดพระคาถชินบัญชร แล้วจะไม่ร้องอ๋อ พร้อมๆ กับการระลึกนึกถึงอาจารย์ปู่ของเรานะคะ ใช่แ้ล้วค่ะ หลวงปู่โต พรหมรังสีท่านเป็นผู่ได้คัดลอกยอดพระคาถาอันศักดิสิทฺธินี้มาจาก ประเทศศรีลังกานะคะ บุญคุณของท่านต่อชาวพุทธอย่างเรา ๆ นั้นใหญ่หลวง เนืองจาก ยอดพระคาถาดั้งเดิมนั้นยาว และยากมากค่ะ แต่ด้วยความเป็นอัจฉริยะของหลวงปู่ท่าน ท่านได้นำมาคัดลอกให้ได้ใจความไม่ขาดตกบกพร่อง แต่ความยาวกำลังพอเหมาะ เพราะท่านเล็งเห็น และอยากให้ พุทธศาสนิกชนรุ่นหลังได้้ทำการสวดท่อง ยอดพระคาถาอันศักดิสิทธินี้ สืบต่อไป นานเท่านานค่ะ
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ท่านเป็นปูชนียบุคคลที่พระพุทธศาสนิกชนกล่าวขวัญถึงในนามของสมเด็จโต ท่านถือกำเนิดในปี พ.ศ. 2319 จนอายุได้ 13 ปี สมเด็จโตจึงบรรพชาเป็นสามเณรในเมืองพิจิตร เมื่ออายุครบอุปสมบทจึง โปรดฯ ให้บวชเป็นนาคหลวงที่วัดตะไกร จ.พิษณุโลก ท่านได้เป็นพระพี่เลี้ยง และครูสอนหนังสือขอมและ คัมภีร์มูลกัจจายน์ เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฏทรงบวชเป็นสามเณร ครั้งเจ้าฟ้ามงกุฏ ครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 4

สมเด็จฯโตได้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม และได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ท่านรอบรู้แตกฉานใน พระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติ ความเป็นเลิศในการเทศนา ได้รับการยกย่องสรรเสริญในสติปัญญาและ ปฏิญาณโวหารที่ฉลาดหลักแหลม เปี่ยมด้วยจิตเมตตากรุณาแก่ผู้ตกยาก มีอัธยาศัย มักน้อย สันโดษ “พระสมเด็จ” สมเด็จฯโตท่านสร้างขึ้น เพราะปรารภถึง พระมหาเถระในสมัยก่อน มักสร้างพระพิมพ์บรรจุใน ปูชนียสถาน เพื่อเป็นการสืบต่ออายุพระศาสนาให้ถาวรตลอดกาล ท่านจึงทำตามคตินั้นสร้างพระสมเด็จไว้ 84,000 องค์ เท่ากับพระธรรมขันธ์

สมเด็จฯโต ท่านถือปฏิบัติในข้อธุดงค์วัตรทุกประการ คือ ฉันในบาตร ถือผ้าสามผืนออกธุดงค ์เยี่ยมป่าช้า นั่งภาวนา เดินจงกรม จนวาระสุดท้ายท่านมรระภาพเมื่อวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 9 ปีจอ เวลา 2 ยาม รวมสิริอายุได้ 85 ปี

ขอขอบคุณ : http://www.dhammathai.org/monk/sangha27.php

ธรรมคำสอนของ สมเด็จโต พรหมรังสี

ธรรมคำสอนของ สมเด็จโต พรหมรังสี

“หมั่นสร้างบารมีไว้…แล้วฟ้าดินจะช่วย”

“ลูกเอ๋ย… ก่อนที่จะเที่ยวไปขอบารมีจากหลวงพ่อองค์ใด

เจ้าจะต้องมีทุนของตนเอง คือ บารมีของตนลงทุนไปก่อน

เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอ จึงค่อยขอยืมบารมีของคนอื่นมาช่วย

มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด

เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมเขามาจนล้นตัว

เมื่อทำบุญกุศลได้บารมีมา

ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว

แล้วเจ้าจะไม่มีอะไรไว้ในภพหน้า

หมั่นสร้างบารมีไว้แล้วฟ้าดินจะช่วยเจ้าเอง อ่านเพิ่มเติม

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)

เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี นามเดิมว่า “โต” (กล่าวกันว่าเมื่อเป็นเด็ก รูปร่างท่านแบบบาง ผู้ใหญ่จึงตั้งชื่อให้ตรงกันข้าม (ข่มนาม) ว่า “โต” ) นามฉาย าว่า “พฺรหมรังสี” เกิดในรัชกาลที่ ๑ (สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว๗ ปี) ณ บ้านตำบลไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๕๐ เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑

มีผู้รู้ตำราโหราศาสตร์ได้ผูกดวงชาตาของท่านไว้ดังนี้ (ในหนังสือ “ประวัติขรัวโต” ของพระยาทิพโกษากล่าวว่า ดวงชะตาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (ผู้สร้างพระกริ่งปวเรศน์ผู้เขียน) ทรงคำนวณถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ด้วยมีพระประสงค์จะทรงทราบว่า ผู้มีอายุตั้งแต่ ๘๐ ปีขึ้นไปจะมีดวงชะตาเป็นอย่างไร แล้วพระราชทานไปยังสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ซึ่งได้ประทานให้แก่พระยาทิพโกษา ลอกคัดเก็บรักษาไว้อีกต่อหนึ่ง ดวงชะตาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ที่ว่านี้ลัคนาสถิตราศีใดหาทราบไม่ แต่ได้ค้นพบในที่อื่นอยู่ในหอพระสมุดแห่งชาติ ปรากฏว่าโหรวางลัคนาไว้ในราศีเมษ แต่พบในที่อื่นอยู่ในราศรีพฤษภ. (มหาเฮง วัดกัลยาณ์)
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)

ชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
ชีวประวัติ
เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
(เดิมเขียนว่า)”พระพุทธธาจารย์” เห็นจะเทียมด้วยนามพระพุทธโฆษาจารย์

เปลี่ยนเป็น “พระพุฒาจารย์” ในรัชกาลที่ ๔

************************************************

พระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ชาติภูมิ
เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี นามเดิมว่า “โต” (กล่าวกันว่าเมื่อเป็นเด็ก รูปร่างท่านแบบบาง ผู้ใหญ่จึงตั้งชื่อให้ตรงกันข้าม (ข่มนาม) ว่า “โต” ) นามฉาย าว่า “พฺรหมรังสี” เกิดในรัชกาลที่ ๑ (สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว๗ ปี) ณ บ้านตำบลไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๕๐ เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑

มีผู้รู้ตำราโหราศาสตร์ได้ผูกดวงชาตาของท่านไว้ดังนี้ (ในหนังสือ “ประวัติขรัวโต” ของพระยาทิพโกษากล่าวว่า ดวงชะตาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (ผู้สร้างพระกริ่งปวเรศน์ผู้เขียน) ทรงคำนวณถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ด้วยมีพระประสงค์จะทรงทราบว่า ผู้มีอายุตั้งแต่ ๘๐ ปีขึ้นไปจะมีดวงชะตาเป็นอย่างไร แล้วพระราชทานไปยังสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ซึ่งได้ประทานให้แก่พระยาทิพโกษา ลอกคัดเก็บรักษาไว้อีกต่อหนึ่ง ดวงชะตาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ที่ว่านี้ลัคนาสถิตราศีใดหาทราบไม่ แต่ได้ค้นพบในที่อื่นอยู่ในหอพระสมุดแห่งชาติ ปรากฏว่าโหรวางลัคนาไว้ในราศีเมษ แต่พบในที่อื่นอยู่ในราศรีพฤษภ. (มหาเฮง วัดกัลยาณ์)
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

จากการศึกษาประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) จากเอกสารต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ นามเดิม โต นามฉายาว่า พรหมรังสี เกิดในรัชกาลที่ 1 ณ บ้านตำบลไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 เวลาพระบิณฑบาต มารดาชื่อ ละมุด (บางคนบอกว่าชื่อ เกศ) เดิมเป็นชาวตำบลท่าอิฐ อำเภอบ้านโพธิ์ (อำเภอเมือง) จังหวัดอุตรดิตถ์ บิดาไม่ปรากฏชื่อ (บางตำราบอกว่าบิดาคือ ร. 1 บางตำราบอกว่า ร.2) ขณะที่ท่านเป็นทารกนั้น ครอบครัวได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่ตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง พอท่านยืนนั่งได้ ครอบครัวจึงได้ย้ายมาอยู่ที่ตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร กล่าวกันว่า ขณะที่ท่านวัยเยาว์นั้น ท่านได้ศึกษาอักขรสมัยในสำนักเจ้าคุณอรัญญิก (ด้วง) วัดอินทรวิหาร ครั้นอายุ 12 ปี (พ.ศ. 2342) ได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยเจ้าคุณบวรวิริยะเถระ (อยู่) วัดสังเวชวิศยาราม บางลำพู เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ย้ายมาอยู่วัดระฆังเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมตั้งแต่บัดนั้น ขณะที่ท่านยังเป็นสามเณรอยู่นั้น ปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงโปรดปรานมาก จึงทรงรับไว้ในพระราชูปถัมภ์ ครั้นอายุครบอุปสมบท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้บวชเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (บางท่านบอกว่า บวชที่วัดระฆังโฆสิตาราม) เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2350 โดยมีสมเด็จพระสังฆราชสุก วัดมหาธาตุเป็นพระอุปัชฌาย์
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติสมเด็จโต ของตรียัมปวาย (ย่อความจากหนังสือ)

ประวัติสมเด็จโต ของตรียัมปวาย (ย่อความจากหนังสือ)

หนังสือสมเด็จโต ของตรียัมปวาย ปัจจุบันหายากมาก ผมได้จากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เมื่อ 2 ปีก่อน ด้วยความเคารพนับถือต่อท่านเจ้าพระคุณสมเด็จท่านเป็นอย่างยิ่ง จึงอยากเผยแพร่ประวัติ และเกียรติคุณของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จ โดยย่อความจากหนังสือดังกล่าว ออกมา ดังนี้
ประวัติ สมเด็จโต
ภูมิสมภพ
เกิดในแผ่นดีน สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ณ บ้านไก่จ้น ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับจากคำบอกเล่าของ นายกลิ่น ญาตฺนายโทน หลาน ของสมเด็จโต ท่านเกิดวันพฤหัส เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ เวลาพระบิณฑบาต ย่ำรุ่ง 9บาท จุลศักราช 1150 ปีวอก ตรงกับ วันที่ 17เมษายน 2331 หลังตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 7 ปี
เจ้าพระยาทิพยโกษา ได้อธิบายว่า ดวงชะตาสมเด็จนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรางคำนวณถวายรัชกาลที่ 5 แล้วพระราชทานไปยังสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ซึ่งประทานให้พระยาทิพยโกษา คัดลอกไว้ ดังนี้ ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรมรังสี เป็นผู้ทรงกิตติคุณ มหานิยมยิ่ง เป็นผู้มีพื้นเพดีเป็นที่รักของมุขมนตรี และท้าวพระยามหากษัตริย์ เป็นผู้มีอุตสาหะอันแรงกล้า มักน้อยสันโดษ มีศิษยานุศิษย์มาก และมีศิษย์ที่ทรางกิตติคุณสูง ทรงคุณปัญญายอดเยี่ยมแตกฉานในพระปริยัติธรรม เชี่ยวชาญในอักษรสมัย ช่ำชองในพระกรรมฐาน และเป็นเกจิอาจารย์ชั้นเยี่ยม ปราศจากการสะสมทรัพย์ใดๆ และเป็นผู้มีอายุยืน และเป็นผู้เชี่ยวชาญในพุทธาคม และศาสตร์อันลี้ลับ

อ่านเพิ่มเติม

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)

เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) – ถือกำเนิดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ณ บ้านไก่จ้น อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 บิดาไม่ปรากฏนาม มารดาชื่อ เกตุ ในกาลต่อมาบิดามารดาของท่านได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่ตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง และท่านได้ย้ายครอบครัวอีกครั้งหนึ่งโดยมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บางขุนพรหม จังหวัดพระนครในสมัยนั้น

หลังจากได้ย้ายครอบครัวมาที่บางขุนพรหม ท่านได้เรียนอักษรสมัยกับท่านเจ้าคุณอรัญญิก(ด้วง) เจ้าอาวาสวัดอินทร์ในสมัยนั้น เมื่ออายุได้ 12 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอินทร์ โดยมีท่านเจ้าคุณบวรวิริยเถร(อยู่) เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ย้ายไปอยู่วัดระฆังเพื่อเรียนพระปริยัติธรรม ท่านเป็นผู้มีปฎิภาณเป็นเลิศ มีความจำยอดเยี่ยม สามารถแปลและจดจำพระไตรปิฎกได้อย่างแม่นยำ ความทราบถึงพระบาทสมเด็จ
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .