การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

รายละเอียด
การฝึกสมาธิ
โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

วัดป่าสุทธาวาส
ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร

การทำสมาธิเบื้องต้น ต้องชำระศีลให้บริสุทธิ์ ทำวัตรสวดมนต์บูชาพระ เจริญพรหมวิหาร 4 และสมาทานกรรมฐาน เดินสมาธิหรือเดินจงกรม การเดินสมาธิหรือเดินจงกรมเหมาะสำหรับคนที่มักมีความคิดฟุ้งมาก พระพุทธองค์กล่าวว่า ประโยชน์ของการเดินจงกรม มีดังนี้คือ

— ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย
— ทำให้ขาแข็งแรงเดินได้ทนและไกล
— เมื่อทำหลังอาหารทำให้อาหารย่อยง่าย
— สมาธิที่ได้จากการเดินจงกรมจะอยู่ได้นาน
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ
พระปรมาจารย์ใหญ่สายกรรมฐาน
………………………….

“ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าเลิศ” “ได้สมบัติทั้งปวงไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตนเป็นบ่อเกิดแห่งสมบัติทั้งปวง”

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
วัดป่าสุทธาวาส ตำบลธาตุเชิงชุม
อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

กำเนิด
หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ท่านถือกำเนิดในสกุล แก่นแก้ว บิดาชื่อนายคำด้วง มารดาชื่อนางจันทร์ มีเพีย (พระยา) แก่นท้าวเป็นปู่ ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดีเดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคมพ.ศ.๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ( ปัจจุบันคือ บ้านคำบง ต.สงยาง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี ) มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี หลวงปู่มั่น องค์ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวขาวแดงแข็งแรงว่องไวสติปัญญาดีมาตั้งแต่กำเนิดฉลาดดี เมื่อ ท่านอายุได้ ๑๕ ปีได้บรรพชา เป็นสามเณรในสำนักวัดบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนามีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปรานีมาก เพราะ เอาใจใส่ในการเล่าเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

“พระอริยเจ้าผู้เป็นบิดาของพระกรรมฐาน”

พระเดชพระคุณท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านเป็นสุดยอดพระอรหันต์แห่งยุค เป็นบิดาของพระกรรมฐานตำนานชีวิตและปฏิปทาของท่านถูกกล่าวขานกันไม่รู้จบ ท่านสำเร็จปฏิสัมภิทานุศาสน์ ๔ อย่าง คือ ๑. ธัมมปฏิ สัมภิทา คือ แตกฉานในธรรม ๒. อัตถปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในอรรถ ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในภาษา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในปฏิภาณ
ในพุทธศักราช ๒๔๗๘ ท่านบรรลุธรรมชั้นสูงสุดที่ ถ้ำดอกคำ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นท่านได้ธุดงค์ไปยังดอยนะโม ที่นได้พูดกับลูกศิษย์คือหลวงปู่ขาวว่า
“ผมหมดงานที่จะทำแล้ว ก็อยู่สานกระบุงตะกร้า พอช่วยเหลือพวกท่านและลูกศิษย์ ลูกหาได้บ้างเท่านั้น”
ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ เป็นครู เป็นพ่อ และเป็นต้นแบบของพระกรรมฐานที่ยึดมั่นในหลักพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ท่านถือธุดงค์และทรงผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ท่องเที่ยวธุดงค์ทางภาคอีสาน กลาง เหนือ ในประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศเขมร ประเทศพม่า ชอบอยู่ตามถ้ำและป่าลึก อาศัยบิณฑบาตกับชาวป่าชาวเขา เป็นผู้สมถะสันโดษ มักน้อยในลาภสักการะมีชีวิตเป็นอยู่ด้วยพระธรรมวินัยทุกอิริยาบถ
อ่านเพิ่มเติม

โครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รูปเหมือนของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

เชิญใส่บาตรพระอรหันต์และชมปรากฏการณ์พระธาตุนฤมิตรเสด็จจากแดนนาคาพิภพและพิธีเปิดบุญบารมี
รูปเหมือนพระอรหันต์สาวกองค์ใหญ่ที่สุดในโลก

กราบเรียนเชิญ ทุกๆท่านที่เคารพนับถือยิ่ง

ตามที่ท่านหลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ,พระอาจารย์สุริยันต์ จันทวัณโณ วัดป่าฉัพพรรณรังสี อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ ,หลวงพ่อเปลี่ยน ปัญญาปทีโป,ครูบาอริยชาติ อริยจิตโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ฯลฯ

ให้ริเริ่มโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รูปเหมือนของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
(องค์ใหญ่ที่สุดในโลก)โดยมีหน้าตักกว้าง ๑๘ เมตร สูง ๓๓ เมตร
ขณะนี้ได้ดำเนินการสร้างส่วนองค์พระสำเร็จแล้ว ๑๐๐ % ขณะนี้ทางโครงการได้ดำเนินการก่อสร้างราวกันตกชั้น ๒ และ ๓ และพื้นชั้นล่างเป็นพิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตและเหล่าบรรดาลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตจำนวน ๑๐๐ รูป เพื่อเป็นพุทธานุสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสติ เพื่อเปิดเป็นสถานที่สักการบูชาแห่งใหม่ของประเทศไทย
จึงขอเชิญท่านร่วมเชิดชูเกียรติประวัติหลวงปู่มั่น ถวายเป็นสมบัติของแผ่นดิน ดังกำหนดการดังนี้
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติย่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ประวัติย่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2413 ที่บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในสกุลแก่นท้าว เป็นตะกูลนักรบ เพียแก่นท้าวเป็นปู่ ปู่เคยผ่านศึกทุ่งเชียงขวาง นายคำด้วงเป็นบิดา นางจันทร์เป็นมารดา นับถือพระพุทธศาสนาตลอดมา
บุคลิกลักษณะ ร่างเล็ก ผิวขาวแดง คล่องแคล่ว ว่องไว สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความประพฤติ อัธยาศัยเรียบร้อย ชอบศึกษาธรรมะ รักในเพศนักบวชประจำนิสัย
อุปสมบทอายุ 22 ปี ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณเป็นอนุศาสนาจารย์
ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามเบื้องยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4)
เดินธุดงค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะแรก 24 พรรษา บั้นปลายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 พรรษา ที่วัดป่าบ้านหนองผือ 5 พรรษา (2487-2492)
มรณะภาพ 2492 ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร อายุ 80 ปี
_____________________________________________________________ อ่านเพิ่มเติม

โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

“ผมปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเห็นบรรดาลูกศิษย์ มีความเข้มแข็งต่อแดนพ้นทุกข์ด้วยความเพียรทุกประโยค
ที่เต็มไปด้วยสติปัญญาเป็นหัวหน้างาน ไม่งุ่มง่ามเซอะซะต่อตัวเองตลอดธุระหน้าที่ทั้งหลาย
สมกับศาสนายอดเยี่ยมด้วยหลักธรรมที่สอนคนให้ฉลาดทุกแง่ทุกมุม

แต่ไม่ปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเห็นผู้ปฏิบัติที่มาอาศัยอยู่ด้วย เป็นคนอ่อนแอโง่เง่าเต่าตุ่น วุ่นวายอยู่กับอารมณ์เครื่องผูกพันด้วยความนอนใจ
และเกียจคร้านในกิจการที่จะยกตัวให้พ้นภัย ไม่ขยันคิดอ่านด้วยความสนใจในงานของตัวทุกประเภท
เพราะงานของพระผู้พร้อมแล้วเพื่อข้ามโลกข้ามสงสารเป็นงานชั้นเยี่ยม

ไม่มีงานใดในโลกจะหนักหน่วงถ่วงใจยิ่งกว่างานยกจิตให้พ้นจากห้วงแห่งวัฏทุกข์ งานนี้เป็นงานที่ทุ่มเทกำลังทุกด้าน แม้ชีวิตก็ยอมสละไม่อาลัยเสียดาย
จะเป็นจะตายก็มอบไว้กับความเพียร เพื่อรื้อถอนตนให้พ้นจากหล่มลึกคือกิเลสทั้งมวล ไม่มีการแบ่งรับแบ่งสู้เหมือนงานอื่น ๆ
จะรู้จะเห็นธรรมอัศจรรย์ที่ไม่เคยพบเคยเห็น ก็รู้และเห็นกันกับความเพียรที่สละตายไม่เสียดายชีวิตนี่แล วิธีอื่น ๆ ก็ยากจะคาดถูกได้”

โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ที่มา : หนังสือ “ประวัติ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ โดย พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน”

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.pajerosport-thailand.com/forum/index.php?topic=9374.0

หลวงปู่มั่น จอมทัพธรรม

หลวงปู่มั่น จอมทัพธรรม

ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงเห็นคุณค่าของผู้อื่นว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน
ไม่เบียดเบียนทำลายกัน ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ไปในสุคติในโลกสวรรค์
ไม่ตกต่ำเพราะอำนาจศีลคุ้มครองรักษาและสนับสนุน จึงควรอย่างยิ่งที่จะพากัน
รักษาให้บริบูรณ์ ธรรมก็สั่งสอนแล้วควรจดจำให้ดี ปฏิบัติให้มั่นคง
จะเป็นผู้ทรงคุณสมบัติทุกอย่างแน่นอน

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หนึ่งในคำสอนของหลวงปู่มั่นในหนังสือ หลวงปู่มั่นจอมทัพธรรม เขียนโดยนักเขียนที่พวกเรา
Book Lover Club คุ้นเคยกันดี คุณ พศิน อินทรวงศ์ ค่ะ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์อัมรินทร์
เนื่องจากได้มีโอกาสไปงานเปิดตัวหนังสือเล่มนี้ที่เวทีกลางในงานมหกรรมหนังสือครั้งที่ 18
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมา จึงทำให้ได้รู้ที่มาที่ไปของหนังสือเล่มนี้ว่าเป็นยังไง
บอกได้คำเดียวว่าซาบซึ้งในความพยายามของทีมงานมากๆค่ะ เป็นหนังสือที่ทั้งผู้เขียนและทีมงาน
ทุ่มเททำเพื่อถวายหลวงปู่มั่นด้วยจิตอันบริสุทธิ์จริงๆ
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมธุดงควัตรหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ธรรมธุดงควัตรหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อายุได้ 22 ปี ท่านได้สละเพศฆารวาสเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 ที่วัดสีทอง โดยมีพระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูสีทาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายาว่า “ภูริทัตโต”
เมื่ออุปสมบทแล้วท่านพระภิกษุมั่นได้ไปฝากตัวเรียนวิปัสนากรรมฐานที่สำนักวัดเลียบในเมืองอุบลราชธานี โดยมีท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลเป็นพระอาจารย์สอนวิปัสสนา
การเข้าฝึกวิปัสสนากรรมฐานนี้ ท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ยึดเอาคำ “พุทโธ” เป็นคำบริกรรมภาวนาสมถะกรรมฐาน เพราะท่านชอบคำ “พุทโธ” นี้อย่างกินใจลึกซื้งดื่มด่ำเป็นพิเศษมากกว่าบทธรรมอื่น ๆ
และในเวลาต่อมาจวบกระทั่งตลอดชีวิตของท่านก็ได้ยึดเอาคำ “พุทโธ” นี้ใช้บริกรรมประจำใจในอิริยาบทต่างๆ ในการเจริญวิปัสสนาทุกครั้งไป เมื่อถือเพศสมณะอย่างเต็มภาคภูมิแล้วท่านก็ตัดขาดทาง โลกอย่างสิ้นเชิงไม่แลเหลียว ความคึกคะนองในสมัยเป็นหนุ่มไม่มีหลงเหลืออยู่เลย กลับกลายเป็นคนละคนทีเดียว ท่านเต็มไปด้วยจริยาอันสำรวมเคร่งครัดในพระธรรมวินัย อย่างยิ่งยวด ไม่มีวอกแวกยึดถือธรรมธุดงควัตรอย่างเหนียวแน่นเอาเป็นเอาตาย ด้วยใจรักอันเด็ดเดี่ยวไม่ให้มีผิดพลาดได้แม้แต่นิดเดียว สืบมาตลอดชีวิตอันยาวนานของท่าน จนถึงวาระสุดท้ายเข้าสู่พระนิพพานอันเป็นแดนเกษม
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร

ประวัติ :หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

ท่าน กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชิ่อจันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะ มีความทรงจำดีและขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา
อ่านเพิ่มเติม

(การ์ดคำสอน) หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต – จะเป็นจะตายก็มอบไว้กับความเพียร

(การ์ดคำสอน) หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต – จะเป็นจะตายก็มอบไว้กับความเพียร

“…เพราะงานของพระผู้พร้อมแล้วเพื่อข้ามโลก
ข้ามสงสารเป็นงานชั้นเยี่ยม
ไม่มีงานใดในโลกจะหนักหน่วงถ่วงใจ
ยิ่งกว่างานยกจิตให้พ้นจากห้วงแห่งวัฏทุกข์

งานนี้เป็นงานที่ทุ่มเทกำลังทุกด้าน
แม้ชีวิตก็ยอมสละไม่อาลัยเสียดาย
จะเป็นจะตายก็มอบไว้กับความเพียร
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ประวัติปฏิปทาหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เดิมชื่อ มั่น นามสกุล แก่นแก้ว เป็นบุตรของ นายคำด้วง และ นางจันทร์ ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๑๓ ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ณ บ้านคำบง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

อุปสมบท

เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่ามีความอยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดามารดาบวช ซึ่งท่านทั้งสองก็อนุญาต จึงได้เข้ารับการอุปสมบทในวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ณ วัดศรีทอง อ.เมือง จ. อุบลราชธานี โดยมีพระอริยกวี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “ ภูริทัตโต ” แปลว่า “ ผู้ให้ปัญญาประดุจดั่งแผ่นดิน ” หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ไปพำนักจำพรรษา และศึกษาธรรมกับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโลที่วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต – จะเป็นจะตายก็มอบไว้กับความเพียร

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต – จะเป็นจะตายก็มอบไว้กับความเพียร

“…เพราะงานของพระผู้พร้อมแล้วเพื่อข้ามโลก
ข้ามสงสารเป็นงานชั้นเยี่ยม
ไม่มีงานใดในโลกจะหนักหน่วงถ่วงใจ
ยิ่งกว่างานยกจิตให้พ้นจากห้วงแห่งวัฏทุกข์

งานนี้เป็นงานที่ทุ่มเทกำลังทุกด้าน
แม้ชีวิตก็ยอมสละไม่อาลัยเสียดาย
จะเป็นจะตายก็มอบไว้กับความเพียร อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร

ประวัติ :หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

ท่าน กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชิ่อจันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะ มีความทรงจำดีและขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา อ่านเพิ่มเติม

ธรรมธุดงควัตรหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ธรรมธุดงควัตรหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อายุได้ 22 ปี ท่านได้สละเพศฆารวาสเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 ที่วัดสีทอง โดยมีพระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูสีทาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายาว่า “ภูริทัตโต”
เมื่ออุปสมบทแล้วท่านพระภิกษุมั่นได้ไปฝากตัวเรียนวิปัสนากรรมฐานที่สำนักวัดเลียบในเมืองอุบลราชธานี โดยมีท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลเป็นพระอาจารย์สอนวิปัสสนา
การเข้าฝึกวิปัสสนากรรมฐานนี้ ท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ยึดเอาคำ “พุทโธ” เป็นคำบริกรรมภาวนาสมถะกรรมฐาน เพราะท่านชอบคำ “พุทโธ” นี้อย่างกินใจลึกซื้งดื่มด่ำเป็นพิเศษมากกว่าบทธรรมอื่น ๆ
และในเวลาต่อมาจวบกระทั่งตลอดชีวิตของท่านก็ได้ยึดเอาคำ “พุทโธ” นี้ใช้บริกรรมประจำใจในอิริยาบทต่างๆ ในการเจริญวิปัสสนาทุกครั้งไป เมื่อถือเพศสมณะอย่างเต็มภาคภูมิแล้วท่านก็ตัดขาดทาง โลกอย่างสิ้นเชิงไม่แลเหลียว ความคึกคะนองในสมัยเป็นหนุ่มไม่มีหลงเหลืออยู่เลย กลับกลายเป็นคนละคนทีเดียว ท่านเต็มไปด้วยจริยาอันสำรวมเคร่งครัดในพระธรรมวินัย อย่างยิ่งยวด ไม่มีวอกแวกยึดถือธรรมธุดงควัตรอย่างเหนียวแน่นเอาเป็นเอาตาย ด้วยใจรักอันเด็ดเดี่ยวไม่ให้มีผิดพลาดได้แม้แต่นิดเดียว สืบมาตลอดชีวิตอันยาวนานของท่าน จนถึงวาระสุดท้ายเข้าสู่พระนิพพานอันเป็นแดนเกษม อ่านเพิ่มเติม

“ วินาทีบรรลุธรรม” หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

“ วินาทีบรรลุธรรม” หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

จากหนังสือ พระอรหันต์มีจริง วินาทีบรรลุธรรม
โดย : เธียรนันท์
นำมาพิมพ์เผยแผ่โดย คุณพยัคฆ์น้อย

บรรลุธรรมกลางถนน กรุงเทพ

ธรรมะเป็นอกาลิโก ไม่เลือกกาลและสถานที่ เรื่องนี้เป็นหัวข้อที่ใครๆท่องจำจนขึ้นใจ แม้จะอยู่ในกรุงเทพ เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยความจอแจคับคั่งของผู้คน แต่ ณ. ที่นี้ครั้งหนึ่งในอดีต.. กลางถนนสายหนึ่ง ณ.ศูนย์กลางแฟชั่นความทันสมัยจากยุโรป หลวงปู่มั่นได้เข้าถึงธรรมมาแล้ว

เหตุเกิดในพรรษาที่ 8 หลวงปู่มั่นเดินทางเข้ากรุงเทพ พักกุฏิที่วัดสระปทุม (วัดปทุมวนาราม-ปัจจุบัน) เพื่อศึกษาทั้งปริยัติและปฏิบัติไปพร้อมๆกัน ระหว่างที่จำพรรษาที่นี้ 3 พรรษา ท่านต้องเดินทางไปยังวัดบรมนิวาสเพื่อศึกษาธรรมฟังเทศน์จากทานเจ้าคุณอุบาลีคุณปมาจารย์ (จันทร์ สิริจฺนโท) เป็นประจำ
คืนเดือนเพ็ญราตรีหนึ่ง. หลวงปู่มั่นพร้อมสหธรรมมิกราว 5 รูป ได้เดินทางไปฟังธรรมะจากท่านเจ้าคุณอุบาลีตามปกติ ขณะที่พระคาราวานนี้เดินทางกลับวัดสระปทุม บนถนนพระรามหนึ่ง
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติย่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ วัดภูริทัตตถิรวาส

ประวัติย่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ วัดภูริทัตตถิรวาส

เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2413 ที่บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในสกุลแก่นท้าว เป็นตะกูลนักรบ เพียแก่นท้าวเป็นปู่ ปู่เคยผ่านศึกทุ่งเชียงขวาง นายคำด้วงเป็นบิดา นางจันทร์เป็นมารดา นับถือพระพุทธศาสนาตลอดมา

บุคลิกลักษณะ ร่างเล็ก ผิวขาวแดง คล่องแคล่ว ว่องไว สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความประพฤติ อัธยาศัยเรียบร้อย ชอบศึกษาธรรมะ รักในเพศนักบวชประจำนิสัย

อุปสมบทอายุ 22 ปี ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณเป็นอนุศาสนาจารย์

ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามเบื้องยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4)
เดินธุดงค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะแรก 24 พรรษา บั้นปลายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 พรรษา ที่วัดป่าบ้านหนองผือ 5 พรรษา (2487-2492)
มรณะภาพ 2492 ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร อายุ 80 ปี
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

คำสอนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

* ผู้สนใจศึกษาปฏิบัติธรรม คือ ผู้สนใจหาความรู้ความฉลาดเพื่อคุณงามความดีทั้งหลายที่โลกเขาปรารถนากัน

เพราะคนเราจะอยู่และไปโดยไม่มีเครื่องป้องกันตัว ย่อมไม่ปลอดภัยต่ออันตรายทั้งภายนอกและภายใน เครื่องป้องกันตัวคือ หลักธรรม มีสติปัญญาเป็นอาวุธสำคัญ จะเป็นเครื่องมั่นคงไม่สะทกสะท้าน มีสติปัญญาแฝงอยู่กับตัวทุกอิริยาบถ จะคิดพูดทำอะไร ๆ ไม่มีการยกเว้น มีสติปัญญาสอดแทรกอยู่ด้วยทั้งภายในและภายนอก มีความเข้มแข็งและอดทน มีความเพียรที่จะประกอบคุณงามความดี คนอ่อนแอโง่เง่าเต่าตุ่นว่นวายอยู่กับอารมณ์เครื่องผูกพันด้วยความนอนใจ และเกียจคร้านในกิจการที่จะยกตัวให้พ้นภัย
อ่านเพิ่มเติม

โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

“..ของดีมีอยู่กับตัวเรา ทุกคนก็พากันปฏิบัติเอา ทำเอา เมื่อเวลาตายแล้วจึงวุ่นวายหานิมนต์พระมากุสลามาติกา ไม่ใช่เกาถูกที่คัน ต้องรีบแก้เสียบัดนี้ คือ เร่งทำความดีแต่บัดนี้ จะได้หายห่วง

…อะไร ๆ ที่เป็นสมบัติของโลก มิใช่สมบัติอันแท้จริงของเรา ตัวจริงไม่มีใครเหลียวแล สมบัติในโลกเราแสวงหามา หามาทุจริตก็เป็นไฟเผา เผาตัวทำให้ฉิบหายได้จริง ๆ ข้อนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดและความโง่เขลาของผู้แสวงหาแต่ละราย
อ่านเพิ่มเติม

มุตโตทัย (๔)

มุตโตทัย (๔)

แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

๑๓. วิสุทธิเทวาเท่านั้นเป็นสันตบุคคลแท้
อกุปฺปํ สพฺพธมฺเมสุ เญยฺยธมฺมา ปเวสฺสนฺโต
บุคคลผู้มีจิตไม่กำเริบในกิเลสทั้งปวง รู้ธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นพหิทธาธรรม ทั้งที่เป็น อัชฌัตติกาธรรม สนฺโต จึงเป็นผู้สงบระงับ สันตบุคคลเช่นนี้แลที่จะบริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ มีธรรมบริสุทธิ์สะอาด มีใจมั่นคงเป็นสัตบุรุษผู้ทรงเทวธรรมตามความในพระคาถาว่า หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา สุกฺกธมฺมสมาหิตา สนฺโต สปฺปุริสา โลเก เทวธมฺมาติ วุจฺจเร อุปัตติเทวา ผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ วุ่นวายอยู่ด้วยกิเลส เหตุไฉนจึงจะเป็นสันตบุคคลได้ ความในพระคาถานี้ย่อมต้องหมายถึงวิสุทธิเทวา คือพระอรหันต์แน่นอน ท่านผู้เช่นนั้นเป็นสันตบุคคลแท้ สมควรจะเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ และ สุกฺกธรรม คือ ความบริสุทธิ์แท้ อ่านเพิ่มเติม

มุตโตทัย (๓)

มุตโตทัย (๓)

แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

๙. อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเลส
ธรรมชาติของดีทั้งหลาย ย่อมเกิดมาแต่ของไม่ดี อุปมาดั่งดอกปทุมชาติอันสวยๆ งามๆ ก็เกิดขึ้นมาจากโคลนตมอันเป็นของสกปรก ปฏิกูลน่าเกลียด แต่ว่าดอกบัวนั้น เมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้วย่อมเป็นสิ่งที่สะอาด เป็นที่ทัดทรงของพระราชา อุปราช อำมาตย์ และเสนาบดี เป็นต้น และดอกบัวนั้นก็มิได้กลับคืนไปยังโคลนตมนั้นอีกเลย ข้อนี้เปรียบเหมือนพระโยคาวจรเจ้า ผู้ประพฤติพากเพียรประโยคพยายาม ย่อมพิจารณาซึ่ง สิ่งสกปรกน่าเกลียดนั้นก็คือตัวเรานี้เอง ร่างกายนี้เป็นที่ประชุมแห่งของโสโครกคือ อุจจาระ ปัสสาวะ (มูตรคูถ) ทั้งปวง สิ่งที่ออกจากผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ก็เรียกว่า ขี้ ทั้งหมด เช่น ขี้หัว ขี้เล็บ ขี้ฟัน ขี้ไคล เป็นต้น เมื่อสิ่งเหล่านี้ร่วงหล่นลงสู่อาหาร มีแกงกับ เป็นต้น ก็รังเกียจ ต้องเททิ้ง กินไม่ได้ และร่างกายนี้ต้องชำระอยู่เสมอจึงพอเป็นของดูได้ ถ้าหาไม่ก็จะมีกลิ่นเหม็นสาป เข้าใกล้ใครก็ไม่ได้ ของทั้งปวงมีผ้าแพรเครื่องใช้ต่างๆ เมื่ออยู่นอกกายของเราก็เป็นของสะอาดน่าดู แต่เมื่อมาถึงกายนี้แล้วก็กลายเป็นของสกปรกไป อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .