มุตโตทัย (๒)

มุตโตทัย (๒)

แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

๕. มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เว้นมหาปัฏฐาน มีนัยประมาณเท่านั้นเท่านี้ ส่วนคัมภีร์มหาปัฏฐาน มีนัยหาประมาณมิได้เป็น “อนันตนัย” เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรอบรู้ได้ เมื่อพิจารณาพระบาลีที่ว่า เหตุปจฺจโย นั้นได้ความว่า เหตุซึ่งเป็นปัจจัยดั้งเดิมของสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุนั้นได้แก่ มโน นั่นเอง มโน เป็นตัวมหาเหตุเป็นตัวเดิม เป็นสิ่งสำคัญ นอนนั้นเป็นแต่อาการเท่านั้น อารมฺมณ จนถึงอวิคฺคต จะเป็นปัจจัยได้ก็เพราะมหาเหตุคือใจเป็นเดิมโดยแท้ ฉะนั้น มโนซึ่งกล่าวไว้ในข้อ ๔ ก็ดี ฐีติ ภูตํ ซึ่งจะกล่าวในข้อ ๖ ก็ดี และมหาธาตุซึ่งกล่าวในข้อนี้ก็ดี ย่อมมีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัยก็ดี รู้อะไรๆ ได้ด้วย ทศพลญาณ ก็ดี รอบรู้ สรรพเญยฺยธรรม ทั้งปวงก็ดี ก็เพราะมีมหาเหตุนั้นเป็นดั้งเดิมทีเดียว จึงทรงรอบรู้ได้เป็นอนันตนัย แม้สาวทั้งหลายก็มีมหาเหตุนี้แลเป็นเดิม จึงสามารถรู้ตามคำสอนของพระองค์ได้ด้วยเหตุนี้แลพระอัสสชิเถระผู้เป็นที่ ๕ ของพระปัญจวัคคีย์จึงแสดงธรรมแก่ อุปติสฺส (พระสารีบุตร) ว่า เย ธมฺมา เหตุปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ ความว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ…เพราะว่ามหาเหตุนี้เป็นตัวสำคัญ เป็นตัวเดิม เมื่อท่านพระอัสสชิเถระกล่าวถึงที่นี้ (คือมหาเหตุ) ท่านพระสารีบุตรจะไม่หยั่งจิตลงถึงกระแสธรรมอย่างไรเล่า? เพราะอะไร ทุกสิ่งในโลกก็ต้องเป็นไปแต่มหาเหตุถึงโลกุตตรธรรม ก็คือมหาเหตุ ฉะนั้น มหาปัฏฐาน ท่านจึงว่าเป็น อนันตนัย ผู้มาปฏิบัติใจคือตัวมหาเหตุจนแจ่มกระจ่างสว่างโร่แล้วย่อมสามารถรู้อะไรๆ ทั้งภายในและภายนอกทุกสิ่งทุกประการ สุดจะนับจะประมาณได้ด้วยประการฉะนี้ อ่านเพิ่มเติม

มุตโตทัย (๑)

มุตโตทัย (๑)

แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมกลายเป็นของปลอม (สัทธรรมปฏิรูป) แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร้ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติถ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจกำจัดเหล่า กะปอมก่า คือ อุปกิเลส แล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย อ่านเพิ่มเติม

มุตโตทัย แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

มุตโตทัย
แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น

มุตโตทัย
บันทึกโดยพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ( ปัจจุบันพระราชธรรมเจติยาจารย์ วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ ) ณ วัดป่าบ้านนามน กิ่ง อ. โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร พ.ศ. ๒๔๘๖
ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อธรรมดังต่อไปนี้

๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
๔. มูลฐานสำหรับทำการปฏิบัติ
๕. มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ
๖. มูลการของสังสารวัฏฏ์
๗. อรรคฐาน เป็นที่ตั้งแห่งมรรคนิพพาน
๘. สติปัฏฐาน เป็น ชัยภูมิ คือสนามฝึกฝนตน อ่านเพิ่มเติม

ธรรมคำสอน

ธรรมคำสอน

รวมคำสอนต่างๆ ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ

มุตโตทัย แนวทางปฏิบัตให้ถึงความหลุดพ้น พระธรรมเทศนา ขององค์หลวงปู่
ขันธะวิมุติ บทประพันธ์ขององค์หลวงปู่ โอวาทครั้งสุดท้าย บันทึกโดยหลวงปู่หล้า
โอวาทธรรม บันทึกโดยหลวงปู่หลุย จันทสาโร พระธรรเทศนา ที่แสดงแด่หลวงปู่ฝั้นเป็นครั้งแรก

หลวงปู่มั่นตอบปํญหาธรรมะ
ตอบปัญหาชาวโคราช ตอบปัญหาพระมหาเถร ตอบปัญหาชาวกรุงเทพ
” ….ท่านทั้งหลายจงอย่าทำตัวเป็นตัวบุ้งตัวหนอนคอยกัดแทะกระดาษแห่งคัมภีร์ใบลานเปล่าๆ
โดยไม่สนใจพิจารณาสัจธรรมอันประเสริฐที่มีอยู่กับตัว แต่มัวไปยึดธรรมที่ศึกษามาถ่ายเดียว
ซึ่งเป็นสมบัติของพระะพุทธเจ้า มาเป็นสมบัติของตน ด้วยความเข้าใจผิด
ว่าตนเรียนรู้และฉลาดพอตัวแล้ว ทั้งที่กิเลสยังกองเต็มหัวใจยิ่งกว่าภูเขาไฟ มิได้ลดน้อยลงบ้างเลย

จงพากันมีสติคอยระวังตัว อย่าให้เป็นคนประเภทใบลานเปล่าๆ เรียนเปล่าและตายทิ้งเปล่า
ไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริงติดตัวบ้างเลย”

….นี่คือคำสอนที่องค์หลวงปู่มั่นเคยพูดอยู่เสมอๆ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://luangpumun.org

๕ ปฏิปทาท่านพระอาจารย์มั่น

๕ ปฏิปทาท่านพระอาจารย์มั่น
ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ

๑. บังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา
จึงได้พักผ่อนให้คหบดีจีวรบ้างเพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
๒. บิณฑบาตกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารวัตรเที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธไปในละแวก
บ้านไม่ได้ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉันจนกระทั่งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัยจึงงดบิณฑบาต
๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาตรใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธหนักจึงงด
๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ตลอดมา แม้ถึงอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยก็มิได้เลิกละ
ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราวที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ ถืออยู่ เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัยเมื่อถึงวัยชราจึงอยู่ใน เสนาสนะ ป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลังที่จะภิกขาจารบิณฑบาตเป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนยำเกรงไม่รบกวน นัยว่าในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยวแสวงวิเวกไปในดงพงลึกจน สุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์ จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่นในคราวไปอยู่ทางภาคเหนือเป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอร์ ยังชาวมูเซอร์ซึ่งพูดไม่รู้เรื่องกันให้บังเกิดศรัทธาในพระศาสนาได้

พระอริยคุณคุณาธาร วัดเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น เรียบเรียง
อ่านเพิ่มเติม

๔ พระธาตุ

๔ พระธาตุ

หลังองค์หลวงปู่มั่น ลาขันธ์เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ จึงได้มี การจัดถวายพระเพลิงศพหลวงปู่ ณ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนครในวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เมื่อถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว อัฐิขององค์หลวงปู่ได้ถูกแบ่งแจกไปตามจังหวัดต่างๆ ส่วนประชาชนได้เถ้าอังคารไป

ต่อมาปรากฏว่าอัฐิธาตุขององค์หลวงปู่ ที่แจกจ่ายไปยังที่ต่างๆ ก็กลายเป็น พระธาตุไปหมด แม้แต่เส้นผมของท่านที่มีผู้เก็บไปบูชาในที่ต่างๆ ก็กลายเป็นพระธาตุ ได้เช่นเดียวกับอัฐิของท่าน

ปัญหาเรื่องอัฐิหลวงปู่มั่นกลายเป็นพระธาตุนี้ พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ได้อธิบายไว้ว่า
อ่านเพิ่มเติม

๓ ปัจฉิมวัย

๓ ปัจฉิมวัย

ในวัยชรานับแต่ พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นต้นมา ท่านหลวงปู่มั่นมาอยู่ที่จังหวัดสกลนคร เปลี่ยนอิริยาบท ไปตามสถานที่วิเวกผาสุขวิหารหลายแห่ง คือ เสนาสนะป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง (ปัจจุบันเป็นอำเภอโคกศรีสุพรรณ) บ้าง แถวนั้นบ้าง
ครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยุ่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึงปีสุดท้ายแห่งชีวิต ตลอดเวลา ๘ ปีในวัยชรานี้ ท่านได้เอาธุระอบรมสั่งสอน ศิษยานุศิษย์ทางสมถวิปัสสนา เป็นอันมาก ได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์เป็นประจำวันศิษย์ ผู้ใกล้ชิด ได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านไว้ และได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเผยแพร่ แล้วให้ชื่อว่า “มุตโตทัย”
อ่านเพิ่มเติม

๒ บำเพ็ญเพียร

๒ บำเพ็ญเพียร

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
( จันทร์ สิริจันโท )
วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ในสมัยต่อไปได้แสวงหาวิเวก บำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่างๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง หุบเขา ซอกเขา ห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถ้ำ เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้าง ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ทางกรุงเทพ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนา กับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม และถ้ำสิงห์โต ลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัยในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอีสาน ทำการอบรมสั่งสอนสมถวิปัสสนา แก่สหธรรมิกและอุบาสกอุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใสปฏิบัติตามมากขึ้นโดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลายกระจายทั่วภาคอีสาน

ในกาลต่อมาได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ อีก ๑ พรรษาแล้ว ไปเชียงใหม่ กับท่านเจ้าคุณพระคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( จันทร์ สิริจนฺโท ) จำพรรษาวัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษา แล้วออกไปพักตามที่วิเวกต่างๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้นๆ นานถึง ๑๑ ปี จึงได้กลับมาจังหวัดอุีดรธานี พักจำพรรษาอยู่ที่วัดโนนนิเวศน์ เพื่ออนุเคราะห์สาธุชนในที่นั้น ๒ พรรษา แล้วมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร จำพรรษาที่วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ( ปัจจุบันคืออำเภอ โคกศรีสุพรรณ ) ๓ พรรษา จำพรรษาที่วัดป่าหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม ๕ พรรษาเพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติได้ติดตามศึกษา อบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่าน ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยังเกียรติคุณของท่านให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://luangpumun.org

๑ ชาติกำเนิดและการอุปสมบท

๑ ชาติกำเนิดและการอุปสมบท

อนุสรณ์สถานบ้านเกิด
ณ บ้านคำบง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อจันทร์ เพีย ( พระยา ) แก่นท้าวเป็นปู่ นับถือพุทธศาสนา

เกิดวันพฤหัสบดีเดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ( ปัจจุบันคือ บ้านคำบง ตำบลสงยาง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี )

มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวขาวแดง แข็งแรง ว่องไว สติปัญญาดีมาตั้งแต่กำเนิดฉลาดดี
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

“…หลวงปู่ฝั้นนั่งห่างองค์หลวงปู่มั่นประมาณวาหนึ่งต่างหากผินหน้ามาทางองค์หลวงปู่ใหญ่ อยู่ข้างหลังพระอาจารย์กงมา หลวงปู่ฝั้นนั้นท่านนั่งขัดสมาธิภาวนาอยู่นิ่ง ๆ พวกที่เข้าคิวนั่งรอบกายองค์หลวงปู่มั่น ห่างจากกายขององค์หลวงปู่มั่นก็ประมาณฝ่ามือ พระอาจารย์กงมานั่งอยู่ทางขวาขององค์หลวงปู่ที่นอนตะแคงขวานิดหน่อย เพียงไหล่ขององค์หลวงปู่ พระอาจารย์มหาบัวนั่งอยู่เพียงบั้นเอวขององค์หลวงปู่ ข้าพเจ้านั่งอยู่ใต้ฝ่าเท้าของท่านสีหา ครูบาทองคำนั่งอยู่เพียงหัวเข่าขององค์หลวงปู่ ครูบาวันนั่งอยู่เพียงบั้นเอวขึ้นไปหาอกขององค์หลวงปู่ ต่างก็นิ่งจ้องดูลมขององค์ท่านอยู่…..ประมาณสัก ๒๐ นาที องค์ท่านก็สิ้นลมปราณไปเงียบ ๆ ทีนี้อ้ายใจผีบ้าน้ำตากิเลส…..”
อ่านเพิ่มเติม

เคลื่อนขบวนไปสู่ความจริง

เคลื่อนขบวนไปสู่ความจริง

พฤศจิกายนเป็นเดือนท้ายของฤดูฝน อุณหภูมิเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่หน้าหนาว ตอนเช้ามี หมอกลงบางเบา อากาศหนาว ท้องฟ้าโปร่ง แจ่มใสในเวลากลางวัน กลางคืนหนาวเยือกเย็นต้องห่มผ้าหนา หลายผืน ลมประจำฤดูเริ่มพัดโชยมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือและพัดผ่านลงสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ อันเป็นการแสดงถึงอาการที่จะเข้าสู่หน้าหนาว พืชไร่ และต้นข้าวในนาของชาวไร่ชาวนา กำลังแก่ใบเหลือง เป็นสีทอง เมล็ดข้าวในรวงกำลังสุกสกาวเหลืองอร่ามแผ่กระจายไปทั่วทุกท้องนาอันกว้างใหญ่ไพศาลสุดสาย หูสายตา น้ำตามตลิ่ง ห้วย หนอง คลอง บึงต่างๆ เริ่มหยุดไหล ประชาชนชาวไร่ชาวนาในชนบทกำลังมี ความหวัง ที่จะได้เก็บเกี่ยวข้าวในนาของตน มองดูใบหน้าและแววตาของแต่ละคน มีความสดชื่นเป็นประกาย นั่นหมายถึง การทำไร่ทำนาในปีนี้กำลังให้ผลผลิตอย่างเต็มที่ แต่ละคนมีความกระปรี้กระเปร่ากุลีกุจอเตรียม เสาะแสวงหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการเก็บเกี่ยวข้าวกัน เช่น เคียวเกี่ยวข้าว ต้องซื้อต้องหา กระบุง ตะกร้า มีด พร้า จอบ เสียม ตลอดทั้งเตียมถากถางกลางลานนา สำหรับเป็นที่นวดข้าว เป็นต้น เหล่านี้ เป็นวิถีชีวิตของชาวไร่ชาวนาในภาคอีสานทั่วไป

ชาวบ้านหนองผือก็เช่นเดียวกัน มีความหวังตั้งตารอ ที่จะได้ลงนาเก็บเกี่ยวข้าวกันในเดือนนี้ แต่ก็พะวักพะวนรอฟังข่าวคราวของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่อยู่ทางวัดป่าบ้านหนองผือเพราะท่านทราบว่าองค์ ท่านพระอาจารย์มั่นท่านชราภาพมากแล้ว อาการอาพาธของท่านมีแต่ทรงกับทรุดครูบาอาจารย์ที่อุปัฏฐากท่าน ก็พยายามช่วยเยียวยารักษาท่านอย่างเต็มที่ มีพระอาจารย์มหาบัวญาณสมฺปนฺโน พระอาจารย์ทองคำ ญาโณภาโส และพระอาจารย์วัน อุตฺตโม พร้อมคณะศิษยานุศิษย์ที่เป็นฆราวาสก็ช่วยติดตามหมอชาวบ้าน ที่เคยเป็นหมอ เสนารักษ์ประจำตำบลมาฉีดยารักษาให้หลายครั้งหลายคราว แต่อาการอาพาธของท่านมีแต่พอทุเลา แล้วก็ทรุดลง ไปอีกดังที่กล่าวมาแล้ว

พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี
พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน
พรอาจารย์ฝั้น อาจาโร
พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
พระเถระบางรูปที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์

เมื่อออกพรรษาแล้วครูบาอาจารย์พระเถระผู้ใหญ่จึงเริ่มทยอยเดินทาง เข้าไปยังวัดป่าบ้านหนองผือ เช่น พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์เทสก์ เทสรํงสี พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินโน พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นต้น หลายครั้งหลายหนจนพระทั่งปลายเดือนตุลาคมขึ้นต้นเดือนพฤศจิกายน ประมาณวันที่ ๑ หรือ ๒ พ.ศ. ๒๔๙๒ ข่าวทางวัดกระจายเข้ามาถึงหมู่บ้านและกระจายไปทั่วหมู่บ้านอย่างรวดเร็ว ว่า ทางคณะครูบาอาจารย์ท่านได้ตกลงกันว่า จะนำองค์ท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งกำลังอาพาธอยู่ ออกไปจาก บ้านหนองผือในวันพรุ่งนี้

เหตุการณ์นี้ทำให้ญาติโยมชาวบ้านหนองผือ มีความรู้สึกซึมเซาจนตั้งตัวไม่ติดคิดอะไรไม่ออก ทำอะไรไม่ถูกเลยทีเดียว ภาษาในสมัยใหม่เรียกว่า ” ช็อค ” เกือบจะทั้งหมู่บ้านจากนั้นความหม่นหมองก็เข้า มาแทนที่ในดวงจิตของประชาชนชาวบ้านหนองผือ ด้วยความว้าวุ่นขุ่นมัวตลอดมา จะพากันคิดพิจารณาทัดทาน ขอร้องไม่ให้นำองค์ท่านพระอาจารย์มั่น ออกไปจากบ้านหนองผือก็ทำไม่ได้ เพราะด้วยความเคารพศรัทธา เลื่อมใสในครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ด้วยจะนำองค์ท่านพระอาจารย์มั่นออกจากวัดป่าบ้านหนองผือ

บางท่านก็มีความเห็นว่า ที่อยากจะให้นำองค์ท่านพระอาจารย์มั่น ออกจากบ้านหนองผือเพื่อไปรักษา ตัวที่วัดป่าสุทธาวาส เพราะอยู่ในตัวจังหวัดการหมอการแพทย์ทันสมัยกว่า ความเจริญทางการแพทย์กำลังเข้าสู่ตัวจังหวัดสกลนคร การเยียวยารักษาคงจะแน่นอนขึ้น บางท่านก็มีเหตุผลว่า องค์ท่าน พระอาจารย์เคยปรารภถึงโยมแม่นุ่มในทำนองยกย่องอยู่เสมอ ๆ ในครั้งที่องค์ท่านเริ่มอาพาธใหม่ ๆ ตอนในพรรษา ชะรอยองค์ท่านคงจะต้องการให้นำท่านไปวัดป่าสุทธาวาสเพื่อจะได้โปรดโยมแม่นุ่ม ซึ่งเคยอุปการะต่อครูบาอาจารย์ สายวัดป่ากัมมัฏฐานเป็นครั้งสุดท้ายเลยถือเป็นเหตุอ้างในการตกลงนำองค์ท่านไปยังวัดป่าสุทธาวาส

บ้างก็มีเหตุผลที่มองการณ์ไกลออกไปอีกว่า การอาพาธของท่านพระอาจารย์ใหญ่ของเราในคราวนี้ คงเป็นครั้งสุดท้าย จะเอายาอะไรมาเยียวยารักษาก็คงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เพราะองค์ท่านพระอาจารย์ ท่านพูดอยู่เสมอๆ ว่า ” เอาน้ำมารดไม้แก่นล่อน ให้มันป่งเป็นใบ สิมีหรือ ” ( เป็นคำถิ่นอีสาน หมายความว่า จะเอาน้ำมารดต้นไม้ที่ตายยืนต้นเหลือแต่แก่นให้ผลิดอกออกใบอีกนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ) เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็หมายความว่าองค์ท่านพระอาจารย์จะต้องจากพวกเราไปอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นหากท่านมรณภาพที่บ้านหนองผือ แล้ว จะมีเหตุขัดข้องหลายอย่างหลายประการ ผู้คนประชาชนก็จะมามาก หนทางไปมาก็ไม่สะดวก ตลาดก็ไม่มี เกรงว่าจะเป็นเหตุให้สัตว์ตายในงานนี้เป็นจำนวนมาก เขาจะฆ่าทำอาหารสำหรับเลี้ยงแขกที่มาในงานถ้ามรณภาพ ที่วัดป่าสุทธาวาส ก็มีตลาดเขาทำกันอยู่แล้ว

จากนั้นท่านพระอาจรย์มั่จึงพูดว่า “รอให้ผู้ใหญ่มาเกิ่น ผู้ใหญ่เพิ่นสิว่าจั่งใด” ผู้ใหญ่ในที่นี้คงจะ หมายถึงพระอาจารย์เทสก์ เทสรํงสี เพราะเมื่อท่านพระอาจารย์มั่นพูดได้ไม่นานก็พอดีเป็นจังหวะที่พระอาจารย์ เทสก์เข้าไปยังวัดป่าบ้านหนองผือในวันนั้น

หลังจากนั้นข่าวการจะหามท่านพระอาจารย์มั่น ออกจากบ้านหนองผือก็เป็นความจริงการดำเนิน การหามจึงเริ่มขึ้น คือการเตรียมอุปกรณ์ในการหาม โดยป่าวร้องให้ประชาชนชาวบ้านหนองผือช่วยกันจัดหาแคร่ไม้ โดยใช้ไม้ไผ่ทั้งลำ ตัดยาวประมาณ ๒ วา ๔ ลำ เชือกอีกประมาณ ๘ เส้น และผ้าขาวสำหรับมุงหลังคากันแดด ประกอบกันเข้าทำเหมือนประทุนเกวียนเมื่อทำแน่นหนามั่นคงเรียบร้อยจึงเก็บเตรียมไว้ พอเช้าวันรุ่นขึ้นฉันจังหันเสร็จ พระเณรก็ไปที่กุฏิท่านพระอาจารย์มั่น เพื่อจัดเก็บข้าวของเครื่องใช้อัฐบริขารที่จำเป็นต้องนำไปด้วย

เมื่อพระเณรจัดเก็บอัฐบริขารที่จำเป็นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้มีหน้าที่หามก็หามแคร่ไม้ที่ทำเสร็จแล้วนั้นไปตั้งที่หน้ากุฏิท่าน แล้วพระเณรจึงเข้าไปกราบอาราธนาท่านพระอาจารย์มั่นเพื่อจะได้นำองค์ท่านขึ้นแคร่หามที่เตรียมไว้ เมื่อท่านทราบท่านพระอาจารย์มั่นนิ่งไม่ว่าอะไรพระเณรทั้งหลายถือเอาอาการนั้นว่า ท่านรับอาราธนาหรืออนุญาตแล้ว ดังนั้นพระเถระและพระอุปัฏฐากจึงขอโอกาสเข้าไปประคองท่านพระอาจารย์ให้ลุกขึ้น แล้วประคองพาเดินลง จากกุฏิไปยังแคร่หาม

ในตอนนี้ผู้คนประชาชนกำลังทยอยกันมาเป็นจำนวนมาก ตลอดทั้งพระเณรและผู้ที่จะนำส่งท่าน ก็เตรียมพร้อมแล้ว สำหรับโยมผู้ชายที่แข็งแรงเป็นผู้หามก็เข้าประจำที่ เมื่อได้เวลาจึงให้สัญญาณว่าพร้อมแล้ว ทั้งหมดจึงพากันยกคานหามขึ้นบ่าแล้วออกเดินทางโดยบ่ายหน้าไปทางทิศจะวันตกของวัด และเดินตามถนนไปสู่ทางออก ประตูวัด ผู้คนประชาชนพร้อมทั้งพระเณรก็ขยับเขยื้อนเคลื่อนตามขบวนหามไป แต่ละท่านแต่ละคนเงียบกริบ ไม่มีเสียงพูดจากันบ้างก็ช่วยสะพายบาตรพระ บ้างก็ช่วยถืออัฐบริขาร บ้างก็เดินสะพายถุงและย่าม ตามไป เอาใจช่วยเป็นกำลัง บ้างก็ช่วยแบกกลดและร่ม บ้างก็ถือกระติกน้ำร้อนและน้ำเย็น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเดินทาง ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่หามก็ขะมักเขม้น เดินไปอย่างขยันขันแข็ง จนกระทั่งผ่านประตูวัดออไป แล้วลงสู่ทุ่งนาอันกว้าง ไกลพอสมควร ซึ่งในระหว่างทุ่งนามีสะพานทำด้วยไม้กว้างประมาณ ๑.๘๐ เมตร ทอดยาวดิ่งจากฝั่งทุ่งนาด้านนี้ ไปจรดทุ่งนาด้านโน้นเป็นระยะทางประมาณ ๓๐๐ เมตร กระดานพื้นสะพานทำด้วยไม้ตะเคียนเลื่อยผาเป็นแผ่น แต่ละแผ่นกว้างประมาณ ๙๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๔ เมตร ปูเรียงคู่สองแผ่นต่อกันไปจนสุดสายทางข้ามทุ่งนา

การหามท่านพระอาจารย์มั่นก็หามไปตามสะพานนี้ จนผ่านพ้นสะพานแล้วมุ่งขึ้นสู่ถนนกลางหมู่บ้าน หนองผือ ในช่วงที่ผ่านหมู่บ้านนี้มีผู้คนประชาชนเด็กเล็กพากันชะเง้อชะแง้มองดูพอรู้ว่าเป็นขบวนหามท่าน พระอาจารย์ใหญ่ พวกเขาก็มุ่งเข้ามาดูใกล้ๆ ตามขอบข้างทางเป็นแถวบางคนนั่งพนมมือ และบางคนก็นั่งคุกเข่า พนมมือกราบเป็นครั้งสุดท้าย ด้วยความอาลัยอาวรณ์สุดเสียดายจนขบวนหามผ่านเลยไปและผ่านพ้นหมู่บ้าน มุ่งเข้าสู่ทางเกวียนที่จะไปบ้านห้วยบุ่นซึ่งเป็นช่องทางเกวียน ลุลอดเลี้ยวไปมาตามใต้ดงหนา ป่าทึบอันเขียวครึ้มขจีเต็ม ไปด้วยแมกไม้ต่างๆ นานาพรรณ ทั้งเสียงนกตัวจบอยู่บนยอดกิ่งไม้สูงส่งเสียงร้อง โพระดก โกโต้ง โกโต้ง ก้องกังวาลไพรไปไกลทั่ว ตลอดทั้งตามรายทางก็มีเสียงแมลงป่าเรไรซึ่งจับอยู่บนต้นไม้ทั่วไปร้องกรีดกริ่งคล้าย เสียงกระดิ่งวัว เมื่อขบวนหามผ่านเข้าไปใกล้มันก็หยุดร้อง คอยสังเกตุดูจนขบวนหามนั้นผ่านเลยไป เห็นว่า ไม่เป็นภัยแล้วมันก็ร้องขึ้นมาใหม่ เป็นอย่างนี้จนทะลุเข้าสู่ละแวกบ้านห้วยบุ่น ซึ่งเป็นหมู่บ้านของคนเผ่าข่าหรือ พวกโซ่

เมื่อขบวนหามผ่านบ้านห้วยบุ่นแล้ว เลยลุลงมาสู่ทุ่งนาอีกครั้ง ซึ่งเป็นร่องน้ำซับจนกระทั่งผ่านไปได้ จึงขึ้น สู่ทางเกวียนอันเป็นเนินและลุ่ม สุงๆ ต่ำๆ บางทีก็คดโค้งทอดยาวไปเลี้ยวซ้ายแลเลี้ยวขวาตามต้นไม้สูงใหญ่ เป็นเวลาประมาณ ๒ ชั่วโมงจึงถึงอีกหมู่บ้านหนึ่งคือบ้านนาเลา ขบวนไม่ได้หยุดพักในหมู่บ้านนี้ได้หามผ่านเลยออกไป จนถึงคลองน้ำซับซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านนี้เท่าใดนัก ที่นั่นมีบ่อน้ำเล็กๆ อยู่ริมคลอง น้ำซับและมีน้ำบ่อไหลออกมาใสเย็น สะอาดบริเวณใกล้ๆ เป็นเนินร่มรื่นซึ่งใช้เป็นที่หยุดพักของคนเดินทางไปมา เมื่อขบวนหามท่านพระอาจารย์มาถึง ตรงนั้นจึงตกลง พากันหยุดพักเหนื่อยเสียก่อนแล้วค่อยเดินทางต่อไป ผู้ที่หามแคร่ตลอดทั้งญาติโยม พระเณร เมื่อเห็นว่าวางแคร่หามท่านพระอาจารย์มั่นเรียบร้อยแล้ว ต่างก็นั่งพักเหนื่อย เอาแรงตามใต้ร่มไม้ต่างๆ ใกล้บริเวณนั้น บ้างก็ไปตักน้ำในบ่อด้วยครุหรือกระป๋องมาแจกจ่ายผู้ที่หามแคร่และญาติโยมที่ตามไปในขบวนให้ได้ดื่ม กินจนอิ่มหนำสำราญโดยทั่วกัน

คราวนี้ขบวนหามออกเดินทางเป็นระยะทางที่รู้สึกว่าไกลพอสมควร หามเดินไปตามทางล้อเกวียนของ ชาวไร่ชาวนา ที่สัญจรไปมาในหมู่บ้านรายทางละแวกนั้น บางช่วงก็เดินตัดลัดเลาะเลียบตามเชิงเขาภูพาน แล้วจึง โค้งไปทางหมู่บ้านโคกะโหล่ง หรือปัจจุบันเรียกบ้านคำแหว ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร แต่ก็เลยผ่านออกจากหมู่บ้าน มุ่งสู่ทางเดินเท้าของชาวบ้านละแวกนั้นโดยไม่ได้หยุดพัก

ขบวนหามเดินไปเรื่อย ๆ ตามหนทางเหล่านั้น จนผ่านริมสวนไร่นาของหมู่บ้านโคกสะอาดเลาะเลียบ ไปทางใต้ของหมู่บ้าน มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยไม่ได้แวะเข้าหมู่บ้านโคกสะอาดและหมู่บ้านใดอีกเลย เพียงแต่เฉียดผ่านเขตนอกหมู่บ้านเท่านั้น จนกระทั่งเข้าสู่เขตป่าใหญ่ดงไม้ที่เรียกว่าเบญจพรรณ มี กะบาก ตะแบก เต็ง รัง ไม้แดง พะยอม พะยูง ยาง อันสูงใหญ่ลิบลิ่วจนยอดเฉียดฟ้าเทียมเมฆ ซึ่งยืนต้นเรียงราย อยู่ตามขอบสองข้างทางเดิน

พวกขบวนหามก็หามท่านพระอาจารย์มั่นไปตามหนทางอันคดเคี้ยว บ้างก็เลี้ยวหลบหลุมบ่อลึกที่แห้งขอด บ้างก็เดินตามทางที่ราบเรียบเตียนโล่งลอดใต้ต้นไม้ใหญ่พอได้อาศัยร่มเงาเย็นเป็นกำลังในการเดินทาง บางคราว ลมหนาวเดือนพฤศจิกายนหรือเดือนสิบสองซึ่งพัดเอื่อยอยู่บนท้องฟ้าแผ่กระจายไปทั่วนภากาศ หอบต้อนเอา ก้อนเมฆขาวสะอาดเป็นกลุ่ม ๆ ค่อย ๆ เคลื่อนบ่ายลงสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ลอยล่องผ่านไป ลูกแล้วลูกเล่าบาง ครั้งลมอ่อนๆ ก็พัดซู่โชยมา เบื้องล่างเป็นระลอกคลื่นสัมผัสกระทบปลายยอดกิ่งไม้ที่เรียงรายตามทางจรจนกิ่งก้าน พุ่มใบปลิวโนไปมา ส่วนใบที่เหลืองแก่แห้งขั้วก็หลุดร่วงกรูพรั่งพรูโปรบปรายลงมาเป็นสายสู่พื้นดิน คล้ายกับว่า มีใครยินดีโปรยดอกไม้เงินดอกไม้ทองลงมาจากสรวงสวรรค์ จนเวลานานเท่าไหร่ไม่ทราบจึงบรรลุเข้าสู่เขต แดนหมู่บ้านอุ่มไผ่ และต้องเลี้ยวตามทางไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อย

การเดินในระยะทางช่วงนี้ใช้เวลาประมาณเท่าไหร่ไม่ทราบ จึงบรรลุถึงทุ่งนาของชาวบ้านหนองโดก และหามเดินเลาะเลียบริมฝั่งหัวหนองโดกลงมาทางใต้ แล้วมุ่งหน้าเดินตามทางขึ้นสู่ป่าดงดิบอันเต็มไปด้วยไม้ นานาชนิด ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับป่าดงไม้ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นป่าดงในช่วงนี้รู้สึกว่ากว้างไกลพอสมควร จนกระทั่งทะลุถึงทุ่งนา ซึ่งเป็นของชาวบ้านกุดก้อมอยู่ด้านทิศเหนือของหมู่บ้านเล็กน้อย ขบวนหามก็หามผ่าน ทุ่งนา เดินตามคันนาจนถึงห้วยซึ่งมีสะพานที่ทำด้วยไม้อยู่กลางทุ่งนา โดยหามข้ามสะพานไปได้ด้วยดี แล้วจึง มุ่งไปสู่วัดป่ากลางโนนภู่อันเป็นวัดของพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใหญ่รูปหนึ่งของท่าน พระอาจารย์มั่นและเคยพำนักพักจำพรรษากับท่าน

แต่ก่อนจะไปถึงวัดป่ากลางโนนภู่นั้น จะต้องหามท่านพระอาจารย์มั่นเดินตามทางบนคันนาซึ่งย้อน ไปย้อนมาหักหน้าหักหลัง เพราะพื้นนานั้นเต็มไปด้วยต้นข้าวที่กำลังสุกเหลืองอร่ามพอจะ เก็บเกี่ยวได้แล้ว ขบวนหามได้ไปถึงนาของโยมคนหนึ่งชื่อ คุณโยมเป้ะ ชาวบ้านกุดก้อมซึ่งได้ร่วมเดินมากับขบวนนี้ด้วย เขาเป็นอุบาสกที่มีความศรัทธาในองค์ท่านพระอาจารย์มั่นมากอยู่ เห็นความลำบากในการหามท่านย้อนไปย้อนมา บนคันนา และเวลานั้นใกล้จะค่ำอยู่แล้วจึงยอมเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ โดยยอมให้ขบวนหามเดินผ่านต้นข้าว ที่กำลังสุกเหลืองอร่ามอยู่นั้นเพื่อตรงมุ่งหน้าสู่วัดป่ากลางโนนภู่ได้เลย เพราะที่นาของเขาอยู่ระหว่างกลาง ของทางเข้าวัด ท่านทั้งหลายลองคิดดู คนเกือบสองร้อยคนเดินผ่านนาข้าวที่กำลังสุกเหลืองอร่ามอยู่นั้น สภาพจะเป็นอย่างไร แต่เจ้าของนารายนี้เขากลับดีใจและไม่คิดเสียดายเลย เป็นสิ่งที่แปลกนี่แหละท่านเรียก ว่าบุญ เกิดขึ้นในใจของเขาแล้ว

วัดป่ากลางโนนกู่ บ้านกุดก้อม ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
ในที่สุดก็หามท่านพระอาจารย์มั่นเข้าสู่วัดป่ากลางโนนกู่ บ้านกุดก้อม ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ได้โดยสวัสดิภาพ เมื่อถึงวัดแล้วหามองค์ท่านขึ้นพำนัก พักบนกุฏิหลังหนึ่งที่กว้างขวาง และถาวรที่สุดในสมัยนั้น คราวนี้ผู้คนประชาชนพระเณรพร้อมทั้งผู้ที่ติดตามขบวนหามมา ต่างก็หลั่งไหล แห่เข้ามาภายในบริเวณวัด เพราะเป็นเวลาจะใกล้ค่ำมืดอยู่แล้วบางคนพึ่งทราบข่าวก็เข้ามาในบริเวณวัดเดี๋ยวนั้น ก็มี พระเณรที่ติดตามอุปัฏฐากซึ่งมากับพระเถระต่างก็ตระเตรียมหาที่พักชั่วคราวตามแต่จะหาได้ตรงไหน สำหรับอาจารย์ของใครๆ อย่างฉุกละหุกวุ่นวายพอสมควร สำหรับพระเถระผู้ใหญ่พร้อมกับพระอุปัฏฐากที่ ใกล้ชิดท่านพระอาจารย์มั่นก็เข้าไปชุมนุมที่กุฏิรับรองท่านพระอาจารย์มั่น เพื่อคอยดูแลความเรียบร้อย

สำหรับญาติโยมชาวบ้านหนองผือที่ติดตาม เมื่อหามส่งท่านพระอาจารย์มั่นถึงจุดหมายปลายทาง เรียบร้อยแล้วก็พากันเก็บแคร่คานหามและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้หามท่าน บางหมู่บางคณะก็กลับบ้านในคืนนั้น เพราะรีบเร่งในการที่จะลงเก็บเกี่ยวข้าวที่กำลังสุกแก่เต็มที่แล้วโดยเดินด้วยฝีเท้าลัดไปตามทางคนเดิน ผ่านหมู่บ้านเสาขวัญถึงวัดถ้ำเจ้าผู้ข้า แล้วขึ้นสู่สันเขาภูพานข้ามตรงลงไปทางบ้านหนองผือเป็นระยะทาง ไม่ไกลนักประมาณ ๗-๘ กิโลเมตร

ศาลาพักอาพาธท่านพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่ากลางโนนกู่

ส่วนอีกหมู่คณะหนึ่งซึ่งยังไม่กลับในคืนนั้นก็พักค้างคืนที่วัดป่ากลางโนนภู่ พอรุ่งเช้าเมื่อกินข้าว กินปลาเสร็จธุระเรียบร้อยแล้ว จึงเดินทางข้ามเขาภูพานกลับบ้านเช่นเดียวกัน โดยหมู่คณะหลังนี้ส่วนมากเป็นคนแก่ เมื่อเห็นว่าหมดธุระหน้าที่แล้วจึงเข้าไปขอโอกาสกราบลาท่านพระอาจารย์มั่นที่กุฏิรับรอง โดยเข้าไปกราบบอก ความประสงค์ให้พระอุปัฏฐากทราบ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า ผู้ใกล้ชิดอุปัฏฐากในช่วงนั้นเข้าใจว่าคงเป็น พระอาจารย์วัน อุตฺตโม เมื่อพระอาจารย์วันเห็นญาติโยมชาวบ้านหนองผือเข้ามากราบลาท่านพระอาจารย์มั่น กลับบ้าน ท่านจึงพนมมือน้อมตัวไปทางท่านพระอาจารย์มั่น แล้วกล่าวคำขอโอกาสรายงานท่านพระอาจารย์มั่นว่า ” พวกโยมบ้านหนองผือ มากราบลาท่านพ่อแม่ครูบาอาจารย์กลับบ้านกระผม”

เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นได้ยินเสียง จึงลืมตาขึ้นช้าๆ เห็นเป็นโยมชาวบ้านหนองผือท่านได้พูดตักเตือน เป็นสำเนียงอีสานครั้งสุดท้ายว่า ” เมือเสียเด้อ… หมดทอนี้ล่ะเน้อ… เอาน้ำไปรดไม้แก่นล่อนให้มันเป็นป่งเป็นใบ บ่มีดอกเด้อ… ให้พากันเฮ็ดพากันทำตามที่อาตมาเคยพาเฮ็ดพาทำนั้นเด้อ อย่าลืมเด้อ…ให้พากันรักษาศีลห้า ถ้าผู้ใดรักษาศีลห้าได้ตลอดชีวิต ผู้นั้นเลิศที่สุด หมดทอนี้ล่ะ ” ( หมายความว่า ให้พวกโยมชาวบ้านหนองผือ พากันกลับบ้านซะ ชีวิตของท่านก็คงจะหมดเท่านี้แหละจะรักษาเยียวยาอย่างไรก็คงไม่หาย เปรียบเสมือนกับ เอาน้ำไปรดต้นไม้ที่ตายผุกร่อน เหลือแต่แก่นให้มันกลับงอกกิ่งใบได้อีก คงเป็นไปไม่ได้ นอกจากนั้นท่านให้ พากันปฏิบัติตามแนวทาง ที่ท่านเคยสั่งสอนและปฏิบัติมาแล้วนั้น ท่านว่า ไม่ให้ลืมโดยเฉพาะศีลห้าซึ่งเหมาะสำหรับ ฆราวาสที่สุด ถ้าผู้ใดรักษาศีลห้าได้ตลอดชีวิตแล้วท่านว่า คนนั้นเป็นคนที่เลิศที่สุดในชีวิตของเพศฆราวาส ) จากนั้น ท่านก็หลับตาลงแล้วไม่ได้พูดอะไรต่ออีกเลย คำพูดเหล่านั้นเป็นการพูดครั้งสุดท้ายของท่าน

โยมแม่นุ่ม ชุวานนท์
เมื่อญาติโยมชาวบ้านหนองผือกลับบ้านแล้ว ก็ยังคอยฟังข่าวคราวของท่านพระอาจารย์มั่นอยู่ ตลอดเวลา ได้ทราบว่าท่านพักอยู่ที่วัดป่ากลางโนนภู่ประมาณ ๙-๑๐ วัน จึงมีโยมแม่นุ่ม ชุวานนท์ ที่เป็นชาว เมืองสกลนคร ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่รู้จักและศรัทธาในพระกัมมัฏฐานสายท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น มากในยุคแรก ได้ให้รถมารับท่านพระอาจารย์มั่นเข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดสกลนคร เพื่อไปพักที่วัดป่าสุทธาวาส
ในการรับองค์ท่านพระอาจารย์มั่นไปในคราวนี้นั้น ได้รับความอนุเคราะห์จากกรมทางไปรับและมี หมอติดตามไปกับรถนี้ด้วย ชื่อคุณหมอประยูร ศรีมาดา ซึ่งเป็นหมอประจำสุขศาลา ในเมืองสกลนคร โดยนำรถออกวิ่งจากตัวเมืองสกลนคร ไปตามถนนสายสกลนคร-อุดรธานี ( สมัยนั้นยังเป็นทางหินลูกรัง ) รถวิ่งไปตามทางหินลูกรังอย่างทุลักทุเล ใช้เวลากี่ชั่วโมงไม่ทราบได้ รถวิ่งมาได้โดยปลอดภัยจนกระทั่งมาหยุด จอดที่ปากทางแยกเข้าวัดป่ากลางโนนภู่ ซึ่งอยู่ห่างจากวัด ประมาณ ๑ กิโลเมตร รถเข้าถึงวัดไม่ได้เพราะติดทุ่งนา ซึ่งมีแต่ทางเกวียนเล็กๆ ผ่านเข้าไปสู่หน้าวัดเท่านั้น

ดังนั้นจึงแก้ปัญหา โดยให้ญาติโยมชาวบ้านพากันหามท่านพระอาจารย์มั่นจากวัดป่ากลางโนนภู่ มาขึ้นรถที่จอดรออยู่ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า ก่อนจะหามท่านออกจากวัด คุณหมอได้ฉีดยานอนหลับให้ท่านเข็มหนึ่ง จึงหามท่านมาขึ้นรถ เมื่อถึงรถก็นำองค์ท่านมาขึ้นรถ เมื่อถึงรถก็นำองค์ท่านขึ้นรถและจัดให้ท่านอยู่ในอาการที่สบาย จากนั้นขบวนรถจึงได้เคลื่อนตัวออก นำองค์ท่านพระอาจารย์มั่นมุ่งสู่ตัวเมืองสกลนคร ท่านพระอาจารย์มั่นนอนหลับ ตลอดทาง จะด้วยฤทธิ์ของยานอนหลับก็ไม่อาจทราบได้ จนในที่สุดรถได้นำองค์ท่านพระอาจารย์มั่น เข้าสู่วัด ป่าสุทธาวาสโดยปลอดภัย โดยมาถึงวัดเวลาประมาณบ่าย ๓ หรือ ๔ โมงเย็นของวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒

เมื่อถึงวัดแล้วจึงหามองค์ท่านขึ้นไปพักบนกุฏิรับรองที่เตรียมไว้แล้ว และดูแลให้ท่านนอนพัก แต่อาการ ท่านอ่อนเพลียมาก ท่านไม่พูดจาอะไรเลย เป็นเพียงแต่นอนหลับตามีลมหายใจเชื่องช้าแผ่วเบา และเคลื่อนไหวกาย เล็กน้อยเท่านั้น ฝ่ายครูบาอาจารย์พระเณรในตอนนี้ต่างก็นั่งรายล้อมสงบอยู่ บางท่านก็คอยห้ามไม่ให้ส่งเสียง ดังเพื่อรักษาความสงบ และคอยเตือนผู้คนประชาชนที่ทราบข่าว และหลั่งไหลเข้ามาในบริเวณวัด ไม่ให้ส่งเสียง หรือเข้าไปใกล้รบกวนท่านที่พักผ่อนสงบอยู่นั้น

เวลาช่างผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน มันเคลื่อนคล้อยค่ำมืดลงทุกทีจาก ๖ โมงเย็นเป็น ๑ ทุ่ม ๒ ทุ่ม ๓ ทุ่ม และ ๔ ทุ่มผ่านไปจนถึง ๖ ทุ่ม ตี ๑ ครึ่งกว่า ๆ อาการขององค์ท่านพระอาจารย์มั่นที่นอนนิ่งอยู่บนที่นอน นั้น ก็เริ่มผิดปกติเป็นไปในทางที่ไม่น่าไว้ใจ มีความอ่อนเพลียมากขึ้น ลมหายใจแผ่วเบามากและเบาลง ๆ ตามลำดับอย่างน่าใจหาย ส่วนองค์กายของท่านนอนอยู่ในท่าครึ่งหงายตะแคงขวา ในที่สุดลมหายใจขององค์ ท่านก็สิ้นสุด ถึงแก่มรณภาพละสังขาร ไว้ให้แก่โลกไพิจารณาโดยสงบ ชีวิตขององค์ท่านจบสิ้นเพียงเท่านี้ ซึ่งตรงกับเวลาตี ๒ กว่าๆ ที่ถือว่าเป็นวันใหม่ คือวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ณ วัดป่าสุทธาวาส ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://luangpumun.org/real2.html

สาเหตุของการปฏิบัติไม่ได้ผล…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

สาเหตุของการปฏิบัติไม่ได้ผล…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

การปฏิบัติไม่ได้ผลเพราะเหตุใด?

1. ไม่ตั้งใจทำ

2. ไม่ทำติดต่อไปเรื่อยๆ

3. ทำๆ หยุดๆ เลิกไปท่านจะได้อะไร

4. อ่อแอ ท้อแท้ใจ นิวรณ์เข้าครอบงำ

ถ้าท่านอ่อนแอทท้อแท้…..ไม่ต้องเจริญกรรมฐาน อีกร้อยปี

ท่านก็ไม่ได้อะไร ท่านต้องอดทน ถ้าไม่เต็มใจทำ…..

ไม่มีศรัทธา ไม่ตั้งใจ ไม่เต็มใจ มากับเขาเรื่อยไปแค่นั้น….
อ่านเพิ่มเติม

สอนตัวเองได้ประเสริฐสุด หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

สอนตัวเองได้ประเสริฐสุด หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

การเกิดเป็นมนุษย์ยากแล้ว ทำไมเอาความเป็นสมบัติมนุษย์ไปทิ้ง ท่านมีกุศลกรรมบถ10มาแล้ว

ไม่อย่างนั้นท่านก็จะไม่เป็นมนุษย์ พลาดท่าเสียทีก็ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานมากมายก่ายกอง

ทำไมไม่รักษาความเป็นมนุษย์ไว้

การเจริญภาวนา เจริญสติปัฏฐาน4 เช่น มีการยืนหนอ5ครั้ง
…การเดินจงกรม ตั้งสติไว้ทุกอริยาบท

กุศลกรรมบถ10 ท่านก็ครบ ขณะที่เจริญกรรมฐาน…พองหนอ….ยุบหนอ กายกรรม3ครบ

วจีกรรม4ครบ มโนกรรม3ครบ นี่แหละสมบัติมนุษย์ครบ จะก่อให้บังเกิดผลขึ้นในสมบัติมนุษย์ของท่าน

ตลอดกาลในชีวิตของท่าน ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนทรัพย์ ร่วมประเวณีแต่ประการใด
อ่านเพิ่มเติม

สิ่งที่พึงได้จากการอบรมจิต หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

สิ่งที่พึงได้จากการอบรมจิต หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

ทุกคนไม่ทราบว่า เราสร้างเวรกรรมอะไรไว้กี่ชาติกี่อย่าง…นานาประการ เวียนวนตลอดรายการแล้ว

ไหนเลยเล่าเราจะได้ความสุขที่มันถูกต้อง และแน่นอนที่สุด…ไม่เท่ากับการเจริญพระกรรมฐาน

ที่เราได้มาฝึในวัดนี้ หรือไปฝึกที่วัดไหนๆ ก็เหมือนกันหมด ขอให้ฝึกได้สามประการ

1. ระลึกชาติของชีวิตได้ไหม?

2. รู้กฏแห่งกรรมมแล้วรึยัง?

3. แก้ปัญหาได้ไหม?
อ่านเพิ่มเติม

นำตัวเอง-ตามตัวเอง…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

นำตัวเอง-ตามตัวเอง…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

การเจริญกรรมฐาน ไม่ใช่มานั่งหลับตาไปสวรรค์นิพพาน
เพื่อต้องการฐานทัพให้แน่น
ต้องการเอาสมบัติมนุษย์ให้ครบถ้วนทุกประการ
แต่แล้วเกิดมานี่สมบัติมนุษย์ยังไม่ครบ
ยังทำอะไรก็จ้ำจี้จ้ำจด หมดอาลัยตายอยาก
ความเป็นมนุษย์ไม่ครบ
ถ้าความเป็นมนุษย์ท่านครบ ท่านจะไม่ฆ่าสัตว์
ไม่เบียดเบียนสัตว์ จะไม่ล่วงประเวณีในสังคม
จะไม่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบพูดเพ้อเจ้อ
แล้วก็ไม่ดื่มสุรายาเมา
ถ้ายังดื่มสุรายาเมาอยู่นั่นเป็นมนุษย์ไม่ครบ
อ่านเพิ่มเติม

การพิสูจน์ความถูกต้องของชีวิตโยม…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

การพิสูจน์ความถูกต้องของชีวิตโยม…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

การเจริญสติปัฏฐาน ๔ เป็นการแก้ปัญหาชีวิต
พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่าเป็นทางสายเอก
พระองค์ได้ประสบการณ์จากหนทางเส้นนี้มาแล้ว
มีความสุขแน่ ๆ มีความเจริญในมรรคมรรคา

มรรค ๘
ได้แก่สรุป ศีล สมาธิ ปัญญา
สรุปสติคือ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
คือ สติปัฏฐาน ๔ ในมรรค ๘ ชัดเจน
ทำไมโยมไปภาวนาไปสวรรค์นิพพาน
อ่านเพิ่มเติม

หลักสำคัญของการปฏิบัติ…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

หลักสำคัญของการปฏิบัติ…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

หลักสำคัญ ๓ ข้อ
การปฏิบัตินี้ อาตมาเน้นอยู่ ๓ ข้อคือ
๑. ยืนหนอ ๕ ครั้ง
๒. การเดินจงกรมให้ช้าที่สุด มันจะได้สติรวบรวมไว้ได้ดี
๓. หายใจเข้าออก เอาสติยัดเข้าไปตามลมหายใจ ให้ได้จังหวะ

นอกจาก สามอย่างนี้
เราจะต้องไม่เกียจคร้าน
ต่อการงานและหน้าที่ รับผิดชอบในกัมมัฏฐาน
กัมมัฏฐาน นี้ เป็นการกระทำให้ฐานะ ดีขึ้น
นั่งแต่ละครั้งจะเหมือนกัน
นั่งแต่ละครั้งอาจจะไม่เหมือนกัน
ถ้าเราทำไปนานๆ แม้เราจะอายุมากก็ตาม
โรคภัย ไข้เจ็บก็จะหายไปอย่างน่าอัศจรรย์ อ่านเพิ่มเติม

มีสัจจะและขันติ พระธรรมสิงหบุราจารย์

มีสัจจะและขันติ พระธรรมสิงหบุราจารย์

ถ้ามีอุปสรรคในการนั่งกรรมฐาน… ปวดเมื่อย เกิดเวทนา เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวเสียใจ

เดี๋ยวดีใจ… ก็กำหนด ตัวกำหนด คือตัวที่มีปัญญา ที่สามารถจะแก้ไขปัญหาต่างๆได้

ให้ผ่านอุปสรรคไปได้อย่างแน่นอน เรามีสติสัมปชัญญะดี ปัญญาก็เกิดขึ้น ในเรื่องของกรรมฐาน

แก้ปัญหาได้ ปวดหนอ… ปวดหนอ เกิดขึ้น… ตั้งอยู่… ดับไป แยกรูป แยกนามออก เวทนาก็แยกไป

ตรงนี้ตัวปัญญาก็เกิด ใช้เป็นอาวุธประจำตัวเราได้ อุปสรรคมันก็หายไป คือมารอันนั้น การปวดเมื่อยจะไม่มีอีกต่อไป

เราปลงตกแล้ว อนิจจังมันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ พอมีทุกข์ก็เป็นอนัตตา เกิดขึ้น… ตั้งอยู่… ดับไป…

ไม่มีทุกข์อะไรอยู่กับเราอีกแล้ว จิตใจก็เกิดปัญญารอบรู้ ก็เป็นประโยชน์กับท่านเองโดยเฉพาะ
อ่านเพิ่มเติม

ถ้าเราเจริญกรรมฐาน จะพบความสำเร็จของชีวิต…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

ถ้าเราเจริญกรรมฐาน จะพบความสำเร็จของชีวิต…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

เงินให้ความสุขและความสำเร็จในชีวิตไม่ได้
ความสำเร็จในชีวิตไม่ต้องใช้เงิน
แต่จงใช้ความดีที่ตัวสร้าง
เงินให้ความสะดวก จะซื้อรถกี่คันก็ได้
จะซื้อบ้านกี่หลังก็ได้ แต่ซื้อความสุขในชีวิต
ให้ลูกเป็นดอกเตอร์สักคนได้ไหม
ซื้อความสำเร็จให้สามีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับเราได้ไหม
มีเงินมากมายก่ายกองแต่ทำไมสามีภรรยานั่งทะเลาะกัน
ความคิดไม่ตรงกันเลย
อ่านเพิ่มเติม

ปฏิบัติธรรมก็มีความหมายอย่างนี้ …หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

ปฏิบัติธรรมก็มีความหมายอย่างนี้ …หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

ที่มาปฏิบัติธรรมก็มีความหมายอย่างนี้
ก็ขอเจริญพรไว้ คนสวดมนต์นี้ก็สวดให้มันจริง ๆ หน่อย
สวดไม่จริง สวดแล้วก็ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ไป ไม่มีทางได้หรอก
มีเรื่องยกตัวอย่างอยู่มากมาย
จะเป็นฆราวาส ภิกษุสงฆ์องค์เจ้าทำได้
มันจะเป็นอย่างที่กล่าว
จิตจะสงบตลอด จิตจะเป็นสมาธิตลอดเวลา
ดังหลักฐานที่กล่าวชี้แจงมานี้
จิตสงบไม่มีวุ่นวาย ต้องมีน้ำอดน้ำทนทุกคนนะ
ไหน ๆ มาอยู่แล้วไม่ใช่มาวันเดียว
บางคนมาวันเดียวก็ไม่ได้ อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .