ยืนกำหนด พระธรรมสิงหบุราจารย

ยืนกำหนด พระธรรมสิงหบุราจารย์

ยืนกำหนด ต้องใช้สติกำหนดมโนภาพ อันนี้มีประโยชน์มาก แต่นักปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่ค่อยปฏิบัติจุดนี้กัน

ปล่อยให้ล่วงเลยไปเปล่า โดยใช้ปากกำหนด ไม่ได้ใช้จิตกำหนด ไม่ได้ใช้สติกำหนดให้เกิดมโนภาพ

อันนี้มีความสำคัญสำหรับผู้ปฏิบัติมาก

กำหนดจิต คือ ต้องใช้สติ ไม่ใช่ใช้ว่าแต่ปาก ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ….

ไม่ง่ายเลยแต่ต้องทำซ้ำๆซากๆให้เคยชิน ให้สติคุ้นกับจิต ให้จิตคุ้นกับสติ ถึงจะเกิดสมาธิ

เราจึงต้องมีการฝึกจิตที่กระหม่อม วาดมโนภาพลงไปช้าๆ ลมหายใจนั้นไม่ต้องไปดู แต่ให้หายใจยาวๆ

มันจะถูกจังหวะ แล้วตั้งสติ ตามจิตลงไปว่า ยืน … ที่กระหม่อมแล้ว หนอ….. ลงไปที่ปลายเท้า
อ่านเพิ่มเติม

บุญ พระธรรมสิงหบุราจารย์

บุญ พระธรรมสิงหบุราจารย์

บุญ… สำเร็จได้ด้วย ทาน ศิล ภาวนา

คำว่า ” บุญ ” นี้ไม่มีความทุกข์ ท่านต้องการมีความทุกข์ก็ไม่เป็นไร ถ้าไม่ต้องการมีบุญวาสนาก็ไม่เป็นไร ….

ทานมัย ศิลมัย ภาวนามัย ท่านจะได้สำเร็จมรรคผล สำเร็จกิจการงานและหน้าที่

ทานมัย … บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน

ศิลมัย ….. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศิล

ภาวนามัย … บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา ให้มีสติปัญญา

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.b.yimwhan.com/board/show.php?user=kobkob&topic=117&Cate=9

ผู้ปฏิบัติซึ่งจะได้ผลภายใน ๗ วัน…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

ผู้ปฏิบัติซึ่งจะได้ผลภายใน ๗ วัน…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

สำหรับผู้ปฏิบัติซึ่งจะได้ผลภายใน ๗ วันนั้น
ต้องก้าวหน้าอย่างนี้
หูได้ยินเสียง เกิดสัมผัส ก็ตั้งสติไว้ที่หู
เอาจิตปักไว้ที่มันสัมผัส
จิตเกิดขึ้นแล้ว เสียงนั้นเป็นเสียงด่า เสียงว่า
หรือเสียงที่เขาพูดกัน คุยกันตามไปสนใจฟังในเรื่องนั้น
จึงกำหนดว่า เสียงหนอ ๆ เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมโอสถรักษาโลภ โกรธ หลง…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

ธรรมโอสถรักษาโลภ โกรธ หลง…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

ธรรมโอสถเพื่อละความโลภ ละความโกรธ และละความหลงนี้
ไม่มีอะไรจะเกินกว่าการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
การเจริญสติปัฏฐานสี่ อันได้แก่ กายานุปัสสนาฯ
กาย ยืน เดิน นั่ง นอน มีสติพิจารณาเวทนาไว้อย่าหลง
และเมื่อเกิดโมหะขึ้นมา ก็กำหนดรู้ กำหนดจิตตลอดไป
จึงจะละกิเลสทั้งสามประการนี้อย่างได้ผล

การใช้ธรรมโอสถของพระพุทธเจ้า
ด้วยการเจริญสติปัฎฐานสี่นี้
สามารถจะรู้ความโลภ ความโกรธ และความหลงได้
อ่านเพิ่มเติม

วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น

วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น
(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี)

๑. การเดินจงกรม ก่อนเดินให้ยกมือไขว้หลัง มือขวาจับข้อมือซ้าย วางไว้ตรงกระเบนเหน็บ ยืนตัวตรง เงยหน้า หลับตา ให้สติจับอยู่ที่กลางกระหม่อม กำหนดว่า ยืนหนอ ช้า ๆ ๕ ครั้ง เริ่มจากศีรษะลงมาปลายเท้า และจากปลายเท้าขึ้นไปบนศีรษะ กลับขึ้นกลับลงจนครบ ๕ ครั้ง แต่ละครั้งแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรก คำว่า ยืน จิตวาดมโนภาพร่างกายจากศีรษะ (กลางกระหม่อม) ลงมาหยุดที่สะดือ ช่วงที่สอง คำว่า หนอ จากสะดือลงไปปลายเท้า นับเป็นครั้งที่ ๑ กำหนดขึ้น ช่วงแรก คำว่า ยืน จากปลายเท้ามาหยุดที่สะดือ ช่วงที่สอง คำว่า หนอ จากสะดือไปกลางกระหม่อม นับเป็น ครั้งที่ ๒ กำหนด กลับขึ้น , กลับลง จนครบ ๕ ครั้ง ขณะนั้น ให้สติอยู่ที่ร่างกาย อย่าให้ออกไปนอกกาย เสร็จแล้วลืมตาขึ้น ก้มหน้า ตามองที่ปลายเท้าข้างที่กำหนดสติคุมจิตอยู่ที่เท้า การเดิน กำหนดว่า ขวา ย่าง หนอ กำหนดในใจ คำว่า ขวา ต้องยกส้นเท้าขวาขึ้นจากพื้นประมาณ ๒ นิ้ว เท้ากับใจนึกต้องให้พร้อมกัน ย่าง ต้องก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าช้าที่สุด เท้ายังไม่เหยียบพื้น คำว่า หนอ เท้าลงถึงพื้นพร้อมกัน เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน กำหนดว่า ซ้าย ย่าง หนอ คงปฏิบัติเช่นเดียวกันกับ ขวา ย่าง หนอ ระยะก้าวในการเดินห่างกันประมาณ ๑ คืบ เป็นอย่างมาก เพื่อการทรงตัวขณะก้าวจะได้ดีขึ้น เมื่อเดินสุดสถานที่ที่ใช้แล้วให้นำเท้ามาเคียงกัน เงยหน้า หลับตา กำหนด ยืน หนอ ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง เหมือนกับที่อธิบายมาแล้ว ลืมตา ก้มหน้า ท่ากลับ การกลับกำหนดว่า กลับหนอ ๔ ครั้ง คำว่า กลับหนอ ครั้งที่หนึ่ง ยกปลายเท้าขวา ใช้ส้นเท้าขวาหมุนตัวไปทางขวา ๙๐ องศา ครั้งที่ ๒ ลากเท้าซ้ายมาติดกับเท้าขวา ครั้งที่ ๓ ทำเหมือนครั้งที่หนึ่ง ครั้งที่ ๔ ทำเหมือนครั้งที่ ๒ ขณะนี้จะอยู่ในท่ากลับหลังแล้ว ต่อไปกำหนด ยืน หนอ ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง ลืมตา ก้มหน้า แล้วกำหนดเดินต่อไป กระทำเช่นนี้ จนหมดเวลาที่ต้องการ อ่านเพิ่มเติม

๓๖ ข้อคิดในการดำเนินชีวิต ..จาก .. หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม

๓๖ ข้อคิดในการดำเนินชีวิต ..จาก .. หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม

ในระหว่างการทำความสะอาดและคัดหนังสือเพื่อบริจาค พบหนังสือธรรมเล่มเล็กที่ไม่ค่อยได้เปิดอ่าน สงสัยจะห่างธรรมเยอะไปหน่อย

มีข้อเขียนจากหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม แห่งวัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ที่ผมนับถือ ฝากตัวเป็นศิษย์แบบไกล ๆ ไม่เคยได้เจอท่านเลย แต่นับถือการถ่ายทอดคำสอนจากท่าน

ขอนำมาเสนอไว้ในบันทึกเพื่อเผยแพร่ข้อธรรมนั้นอีกต่อนะครับ 😉

ข้อคิดในการดำเนินชีวิต

๑. ขอบคุณข้าวทุกเม็ด น้ำทุกหยด อาหารทุกจานอย่างจริงใจ

๒. อย่าสวดมนต์เพื่อขอสิ่งใด นอกจาก “ปัญญา” และ “ความกล้าหาญ”

๓. “เพื่อนใหม่” คือ ของขวัญที่ให้กับตัวเอง ส่วน “เพื่อนเก่า หรือ มิตร” คือ อัญมณีที่นับวันจะเพิ่มคุณค่า
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมทาน

ธรรมทาน

สัพพะ ทานัง ธัมมะ ทานัง ชินาติ
(การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง)

๑.) คำสั่งสอนเด็ดๆของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม(วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี)

***** “สติปัฎฐาน ๔ ดีที่สุดในโลก”

*** “ สร้างความดีต้องมีอุปสรรค สร้างความดีมากเท่าใร อุปสรรคขัดขวางมากเท่านั้น เพราะคนเราเกิดมาเพื่อสร้างความดีใช้หนี้กรรมเก่า”

*** “คนเราจะยากดีมีจนเขาไม่ได้วัดความเป็นคนดีที่บ้านใหญ่โต จะมียศถาบรรดาศักดิ์ เป็นรัฐมนตรี
เป็นนายพล เป็นเจ้าเมือง ดูคนดีเขาดูที่ละความชั่วได้ไหมคือวัดด้วยคุณธรรม”

*** “มารไม่มี บารมีไม่เกิด ประเสริฐไม่ได้”
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนข้อคิดธรรมมะ

คำสอนข้อคิดธรรมมะ

ดีไม่ดี… อยู่ที่ใจ

ดีไม่ดี… อยู่ที่ใจเรา
หัวเราะ… เมื่ออยากหัวเราะ
ร้องไห้… เมื่ออยากร้องไห้
และต้องหัวเราะให้ได้หลังร้องไห้ทุกครั้ง!
อย่าทำอะไรที่ไม่อยากทำ…
จงทำอะไรที่ใจอยากทำ!

ตัวหนังสือ… เขียนผิด… ลบได้
การกระทำ… ทำผิด… เอาอะไรลบ
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม เกี่ยวกับจิตเกิดดับ ธรรมแท้ของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน

คำสอนของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม เกี่ยวกับจิตเกิดดับ ธรรมแท้ของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน

ช่องทวาร ๖ นี้ ทางพระพุทธศาสนาท่านเรียกว่า อายตนะ อายตนะมีภายใน ๖ ภายนอก ๖ ดังนี้
อายตนะภายในมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายนอกมีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (กาย ถูกต้องสัมผัส) ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดจากใจ) รวม ๑๒ อย่างนี้
มีหน้าที่ต่อกันเป็นคู่ ๆ คือ ตาคู่กับรูป หูคู่กับเสียง จมูกคู่กับกลิ่น ลิ้นคู่กับรส กายคู่กับการสัมผัสถูกต้อง ใจคู่กับอารมณ์ที่เกิดกับใจ

เมื่ออายตนะคู่ใดคู่หนึ่ง ต่อถึงกันเข้า จิตก็จะเกิดขึ้น ณ ที่นั้นเอง และจะดับลงไป ณ ที่นั้นทันที
อ่านเพิ่มเติม

อยู่กับคนต้องอดทนตลอดไป ของ หลวงพ่อจรัญ

อยู่กับคนต้องอดทนตลอดไป ของ หลวงพ่อจรัญ

ประมวลคำสอน
อยู่กับคนต้องอดทนตลอดไป ของ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) วัดอัมพวัน อ. พรหมบุรี จ. สิงห์บุรี

ความอดทนเป็นสมบัติของนักต่อสู้
ความรู้เป็นสมบัติของนักปราชญ์
ความสามารถเป็นของนักประกอบกิจ
ความสามารถทุกชนิดเป็นสมบัติของผู้ดี

ความดีเป็นศัตรูของชีวิต ความดีต้องมีอุปสรรค
เขาร้ายมาอย่าร้ายตอบ เขาไม่ดีมา เราเอาความดีไปแก้ไข
คนตระหนี่ก็ให้ของที่ต้องใจ
คนพูดเหลวไหล เอาความจริงใจไปสนทนา
อ่านเพิ่มเติม

คำคม คำสอนหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม วัดอัมพวัน

คำคม คำสอนหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม วัดอัมพวัน

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม พระราชทินนาม พระธรรมสิงหบุราจารย์ ภาวนาปฏิภาณโกศล โสภณธรรมานุสิฐ พิพัฒน์กิจสุนทร มหาคณิสสรบวรสังฆารามคามวาส ณ วัดอัมพวัน ท่านมีชื่อเสียงในด้าน กรรมฐาน สติปัฏฐาน ๔ ท่านมีลูกศิษย์มากมายที่มาเรียน มาศึกษาการนั่งกรรมฐานเพื่อแก้กรรม ในหมู่นักปฏิบัติธรรม เราว่าส่วนใหญ่ต้องรู้จัก “สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดอัมพวัน” ชีวิตของคนเรานั้นมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย บางคนหาทางออกได้ แต่สำหรับบางคนหาทางออกไม่ได้ กรรมฐานเป็นวิธีหนึ่งที่เราจะสามารถล่วงรู้กรรมในอดีตของเราได้ เราก็จะสามารถแก้กรรมที่เกิดขึ้นกับเราได้
“ถ้าท่านตั้งใจปฏิบัติธรรมโดย กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ทำความเพียรให้มากแล้ว
ไม่สนใจใครทั้งหมด ตัดปลิโพธิกังวลให้หมด (พะว้าพะวัง ห่วงโน้น ห่วงนี่ ห่วงนั่น)
ท่านจะไม่ขาดทุน” อ่านเพิ่มเติม

คติธรรม คำสอน หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน

คติธรรม คำสอน หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน

“แก้กรรมทำไม่ได้ แต่แก้ตัวเอง ทำได้”

คำสอนสั้นๆแต่ลึกซึ้งประโยคนี้ของหลวงพ่อจรัญ ได้ทำให้คนที่แสวงหาการแก้กรรมต้องหยุดฟัง เพราะเหตุใดจึงแก้กรรมไม่ได้? คำว่า “กรรม” นั้นแปลว่า “การกระทำ” สิ่งใดที่กระทำไปแล้วไม่สามารถกลับคืนไปทำอีกอย่างได้ เช่น วันนี้กินเหล้า พุ่งนี้จะย้อนเวลามาหยุดการกินเหล้าไม่ได้ ดังนั้น คำว่ากรรมนี้ ไม่มีทางแก้ได้ แต่…ก็ใช่ว่าจะไม่มีทางออก ลองอ่านต่อไป

หลายคนชอบไปหาสำนักแก้กรรมต่างๆ ซึ่งจริงๆแล้วก็มีที่ดีๆอยู่ แต่นั่นไม่ใช่การแก้กรรม นั่นคือ “การชดใช้กรรม” หรือ “ขอขมากรรม” หรือถ้าบางสำนักใช้วิธีแบบเลวร้ายขึ้นมาหน่อยก็จะกลายเป็น “การต่อยอดกรรม” หรือ “การหนีกรรม”
อ่านเพิ่มเติม

ความกตัญญู คำสอนจากหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

ความกตัญญู คำสอนจากหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

“ผู้ใดก็ตาม ที่คุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้กลับไปหาแม่ ไปกราบเท้าขอพรจากท่าน จะได้มั่งมีศรีสุข ส่วนคนที่เคยทำไม่ดีไว้กับท่าน ก็นำเทียนแพไปกราบขออโหสิกรรม ล้างเท้าให้ท่านด้วย เป็นการขอขมาลาโทษ ฯ

ขอฝากท่านไว้ไปสอนลูกหลาน อย่าคิดไม่ดีกับพ่อแม่เลย ไม่ต้องถึงกับฆ่าหรอก แค่คิดว่าพ่อแม่เราไม่ดี จะทำมาหากินไม่ขึ้น เจ๊ง ท่านต้องแก้ปัญหาก่อนคือ ถอนคำพูด ไปขอสมาลาโทษเสีย แล้วมาเจริญกรรมฐาน รับรองสำเร็จแน่ มรรคผลเกิดแน่ ฯ

บางคนลืมพ่อลืมแม่ อย่าลืมนะการเถียงพ่อเถียงแม่ไม่ดี ขอบิณฑบาต สอนลูกหลานอย่าเถียงพ่อเถียงแม่ อย่าคิดไม่ดีกับพ่อกับแม่ ไม่อย่างนั้นจะก้าวหน้าได้อย่างไร ก้าวถอยหลังดำน้ำไม่โผล่ ฯ
อ่านเพิ่มเติม

มส.ตั้ง “หลวงพ่อจรัญ” เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี

มส.ตั้ง “หลวงพ่อจรัญ” เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี

นายอำนาจ บัวศิริ ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมหาเถรสมาคมได้พิจารณาเรื่องเสนอขอแต่งตั้งพระสังฆาธิการเป็นที่ปรึกษา ตามที่เจ้าคณะภาค 3 รายงานว่า พระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม สิริอายุ 80 พรรษา 59 วัดอัมพวัน ต.บ้านแป้ง อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี ได้ปฏิบัติหน้าที่มาด้วยดีจนอายุครบ 80 ปีบริบูรณ์ สมควรได้รับยกย่องเชิดชูเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี ตามความในข้อ 34 วรรคสอง แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 28 (พ.ศ.2546) จึงเสนอรายงานมาเพื่อให้คณะกรรมการมหาเถรสมาคมพิจารณา ทั้งนี้ ที่ประชุมมหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นชอบแต่งตั้งพระธรรมสิงหบุราจารย์ ให้ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อตอบปัญหาปัญญาชนตะวันตก (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)

หลวงพ่อตอบปัญหาปัญญาชนตะวันตก (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)

หลวงพ่อตอบปัญหาปัญญาชนตะวันตก
โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)
วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ๑๖๑๖๐
บันทึกการสนทนาธรรม

ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชสุทธิญาณมงคล
(จรัญ ฐิตธมฺโม) (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) กับ
ดร.เจอร์รัลด์ แมกเคนนี่ หัวหน้าภาควิชาศาสนศึกษา
มหาวิทยาลัยไรซ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
อ่านเพิ่มเติม

” ครองรัก ครองเรือน “( หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม )

” ครองรัก ครองเรือน “( หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม )

– ขอให้มีความอดทนต่อการครองรักครองเรือน
ภายในครอบครัวระหว่างสามีภรรยา
รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักถนอมน้ำใจกัน…อย่าทะเลาะกัน
… อาตมาขอบิณฑบาตตั้งแต่นานแล้ว
หนักนิดเบาหน่อยให้อภัยกันระหว่างสามีภรรยา
มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นก็ค่อยพูดค่อยจาพาทีกัน

อ่านเพิ่มเติม

บทสวดมนต์พาหุงมหากา ฉบับพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)

บทสวดมนต์พาหุงมหากา ฉบับพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)

บทสวดมนต์พาหุงมหากา ฉบับพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ตธมฺโม) วัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
เนื้อหา [ซ่อน]
1 คำบูชาพระรัตนตรัย
2 ปุพพภาคนมการ
3 ไตรสรณคมน์
4 บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
5 บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
6 บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
7 พุทธชัยมงคลคาถา
8 ชยปริตร
9 พุทธคุณเท่าอายุเกิน ๑ (อิติปิโสเท่าอายุ+๑)
10 บทแผ่เมตตา
11 บทอุทิศส่วนกุศล (บทกรวดน้ำ)
12 ที่มา
13 คำประกาศสิทธิจากเว็บไซต์วัดอัมพวัน อ่านเพิ่มเติม

วัตถุมงคล”พรหมบันดาล” หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน

วัตถุมงคล”พรหมบันดาล” หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน

วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี เป็นชื่อเดิมมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก จากการสำรวจทางราชการตั้งแต่ปีพ.ศ.2175 มีการสร้างอุโบสถ ผูกพัทธสีมาแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งครั้งแรกเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3

ปัจจุบันวัดอัมพวันมีพระนักเทศน์และพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ‘พระธรรมสิงหบุราจารย์’ หรือ ‘หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม’ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

หลวงพ่อจรัญเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบน่าศรัทธาเลื่อมใสมาก มีชื่อเสียงระดับประเทศในฐานะพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์ เน้นหนักในการสั่งสอนเรื่อง ‘กฎแห่งกรรม’ ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว โดยยกเหตุการณ์ที่ท่านประสบพบมา และเป็นกฎแห่งกรรมเล่าอุทาหรณ์ให้ศิษยานุศิษย์ฟังอยู่เสมอ
อ่านเพิ่มเติม

จิตนี้ฝึกได้…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

จิตนี้ฝึกได้…หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

ท่านทั้งหลาย เพิ่งเริ่มเข้ามาปฏิบัติไม่กี่ชั่วโมง
จึงอาจจะไม่ลึกซึ้งถึงขึ้นที่ดูหน้าดูตาก็จะรู้ได้
ดูคนให้ดูหน้า ดูโหงวเฮ้ง
การแนะแนวไม่ใช่มาถึงวัดสอนบุญ บาป
ทำบุญไปสวรรค์ ทำบาปไปนรกเท่านั้น
ต้องสอนแนะแนวถึงกรรมฐานแก้กรรมได้อย่างไร
ใครเอาไปใช้ปฏิบัติเป็นประจำ จะแก้กรรมได้จริง ๆ
อ่านเพิ่มเติม

การให้ผลของกรรม – หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

การให้ผลของกรรม – หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

การให้ผลของกรรมมีสองชั้น คือ การให้ผลของกรรมชั้นธรรมดาอย่างหนึ่ง และการให้ผลของกรรมในชั้นศีลธรรมอีกอย่างหนึ่ง การให้ผลของกรรมชั้นธรรมดา เป็นการให้ผลโดยไม่คำนึงถึงว่าถูกหลังความชอบธรรมหรือไม่ เช่นนาย ก. โกงเงินหลวง หรือขโมยทรัพย์มา นาย ก. ก็จะได้เงินนั้นมา และถ้านาย ก. ใช้เงินซื้อบ้าน นาย ก. ก็จะได้อยู่บ้านนั้น นี่เป็นการให้ผลของกรรมชั้นธรรมดา แต่การให้ผลของกรรมหาได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้นไม่ กรรมที่ทำลงไปยังจะให้ผลในชั้นศีลธรรมอีก คือ ถ้าทำดีจะต้องได้รับผลดีอย่างแน่นอน และถ้าทำชั่วก็จะต้องได้รับผลชั่วอย่างหลีกไม่พ้น

กรรมบางอย่าง อาจจะให้ผลในชาตินี้ เรียกว่า ทิฎฐธรรมเวทนียกรรม
กรรมบางอย่าง อาจจะให้ผลในชาติหน้า ที่เรียกว่า อุปปัชชเวทนียกรรม
กรรมบางอย่าง อาจจะให้ผลในชาติต่อๆ ไป ที่เรียกว่า อปราปรเวทนียกรรม อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .