การให้ผลของกรรม – หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

การให้ผลของกรรม – หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

การให้ผลของกรรมมีสองชั้น คือ การให้ผลของกรรมชั้นธรรมดาอย่างหนึ่ง และการให้ผลของกรรมในชั้นศีลธรรมอีกอย่างหนึ่ง การให้ผลของกรรมชั้นธรรมดา เป็นการให้ผลโดยไม่คำนึงถึงว่าถูกหลังความชอบธรรมหรือไม่ เช่นนาย ก. โกงเงินหลวง หรือขโมยทรัพย์มา นาย ก. ก็จะได้เงินนั้นมา และถ้านาย ก. ใช้เงินซื้อบ้าน นาย ก. ก็จะได้อยู่บ้านนั้น นี่เป็นการให้ผลของกรรมชั้นธรรมดา แต่การให้ผลของกรรมหาได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้นไม่ กรรมที่ทำลงไปยังจะให้ผลในชั้นศีลธรรมอีก คือ ถ้าทำดีจะต้องได้รับผลดีอย่างแน่นอน และถ้าทำชั่วก็จะต้องได้รับผลชั่วอย่างหลีกไม่พ้น

กรรมบางอย่าง อาจจะให้ผลในชาตินี้ เรียกว่า ทิฎฐธรรมเวทนียกรรม
กรรมบางอย่าง อาจจะให้ผลในชาติหน้า ที่เรียกว่า อุปปัชชเวทนียกรรม
กรรมบางอย่าง อาจจะให้ผลในชาติต่อๆ ไป ที่เรียกว่า อปราปรเวทนียกรรม อ่านเพิ่มเติม

เตรียมตัวตาย พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)

เตรียมตัวตาย พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)

โอวาทธรรม พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)

อาตมามีเพื่อนคนหนึ่งชื่อ นิกร อยู่ที่ภาคใต้ แม่เกลียดมากให้ไปอยู่กับพี่ชาย พี่ชายก็ให้ไปเป็นลูกจ้างฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่เคยทำบุญ แต่ตัวเองพอจะเป็นช่างอยู่บ้าง จึงหนีพี่ชายไปรับจ้างเป็นช่างไม้ ที่หนีพี่ชายไปเพราะไม่อยากฆ่าสัตว์ ตอนหลังกลับมาบ้านแม่ก็ทารุณอีก บอกให้ไปอยู่กับพี่ชายเลยไม่รู้ว่าจะไปที่ไหน ต้องฆ่าตัวตายแน่

จึงไปหาหลวงตาที่วัด ถามว่าคนจะตายต้องทำอย่างไรบ้าง หลวงตาก็บอกให้ทำบุญ เขาก็ไม่เข้าใจ เขาบอกว่ามีเงินอยู่ ๒๐ บาท จะทำอย่างไร หลวงตาก็บอกว่าให้ถวายผ้าป่า ไปซื้อผ้า กล้วย อ้อย มะพร้าว ขนมจันอับ และไปตัดผม แต่งตัวสวย ๆ อ่านเพิ่มเติม

ทำบุญวันเกิดแบบผู้มีบารมี

ทำบุญวันเกิดแบบผู้มีบารมี

เมื่อวันพุธที่ ๑๕ สิงหาคมที่จังหวัดสิงหบุรี มีงานวันเกิดครบรอบ ๗๙ ปี ของพระอาจารย์กรรมฐานผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง ซึ่งหลายท่านต้องรู้จักแน่ๆ ท่านคือ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม แห่งวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี

งานแสดงมุทิตาจิตวันเกิดนี้จัดขึ้นภายในวัดอัมพวัน มีสานุศิษย์และผู้คนมากมายจากทั่วทุกสารทิศมาร่วมในงานจนกระทั่งทำให้บริเวณ วัดคับแคบไปทันตา แม้กระทั่งกุฏิของหลวงพ่อจรัญ ที่สวยงามและกว้างขวางดูเล็กไปถนัดตา
อ่านเพิ่มเติม

อมตะธรรม-คำสอน

อมตะธรรม-คำสอน
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี

“กรรม”

กรรมให้ผลไม่เหมือนกัน ให้ผลทันเวลา และให้ผลในระยะยาวต่อไป

ฉะนั้น ทุกคนจึงมีโอกาสรับกรรม ..ไม่เหมือนกัน

บางคนคิดว่า..ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วได้ดี

ทั้งนี้…เป็นเพราะความดีที่ทำไว้ยังมาไม่ถึง

ความชั่วหนักกว่า…ก็มาให้ผลก่อน

ส่วนความดีนั้นเบา…จะให้ผลในภายหลัง

ทั้งนี้…เพราะความดี…ความชั่ว…น้ำหนักไม่เท่ากัน
อ่านเพิ่มเติม

การสร้างบารมีในการปฏิบัติธรรม (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)

การสร้างบารมีในการปฏิบัติธรรม (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)

ขอนอบน้อมพระรัตนตรัย
คือ คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า
น้อมนึกระลึกถึงผู้มีพระคุณ มีคุณมารดา บิดา ครู อาจารย์
ญาติพงศ์วงศา ญาติในพระพุทธศาสนา มาร่วมใจสามัคคี
สร้างความดีในการฟังธรรม ณ ศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนาราม ในวันนี้

และขอน้อมระลึกถึงผู้อำนวยการศูนย์ฯ
ได้แก่ พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณภาวนาพิศาลเถระ
ตลอดกระทั่งเจ้าอาวาสให้การอุปถัมภ์ วัดปทุมวนาราม
พระมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้าองค์พระราชา
ศาสนูปถัมภกยกย่องพระพุทธศาสนา
เรามีศาลาอันโอ่โถง สวยสง่างามตามระเบียบ งามตามพระธรรมวินัย
ถูกต้องตามวิธีการทุกประการ
ขอถวายการเคารพนอบนบบูชาก่อนที่จะชี้แจงแสดงไป ณ กาลบัดนี้เทอญ อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อจรัญ เล่าเรื่องหลวงพ่อเดิม

หลวงพ่อจรัญ เล่าเรื่องหลวงพ่อเดิม
เมื่ออาตมาไปเล่าเรียนวิชากับ “หลวงพ่อเดิม”

อาตมานับถือหลวงพ่อเดิมมาก เพราะท่านให้ชีวิตอันเป็นอมตะในสมณเพศแก่อาตมา อาตมาสวดมนต์ไหว้พระแล้วก็กราบหลวงพ่อเดิมทุกวัน ระลึกถึงพระคุณของท่านที่ได้สร้างอาตมาให้เป็นสงฆ์ที่ดี อัฐิของท่านอาตมาก็แบ่งเอามากราบไหว้เพื่อระลึกถึงพระคุณ ท่านเป็นพระที่ลึกซึ้งและเยี่ยมยอดจริงๆ จะหาพระอาจารย์อย่างท่านได้ยาก

ย้อนระลึกเล่าสู่กันฟัง เรื่องนี้ผ่านมาเป็นเวลา ๕๐ ปีแล้ว อาตมาได้ไปเล่าเรียนวิชากับ พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) วัดหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ อาตมายังรู้สึกเสียดายว่า เราน่าจะพบกับท่านก่อนหน้านี้นานแล้ว แต่กรรมของเรายังมีอยู่ พอพบท่านใกล้ชิดท่านได้เพียงหกเดือน ท่านก็มรณภาพจากไป
อ่านเพิ่มเติม

เรื่องพระเจ้าตาก จากหลวงพ่อจรัญ

เรื่องพระเจ้าตาก จากหลวงพ่อจรัญ

ข้อ เท็จจริงตามประวัติศาสตร์ที่ว่า พระเจ้าตากนั้นเป็นผู้กู้เอกราชให้กับไทยนั้นพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์นักรบ ที่เก่งกาจกล้าหา­ญ และเสียสละอย่างมากอย่างที่ชนธรรมดามิได้ล่วงรู้อีกมากมาย แต่เรื่องที่จะเล่าเกี่ยวกับพระเจ้าตากนั้นไม่ได้มีในประวัติศาสตร์ที่เรา เคยเรียนกัน

พระเจ้าตากมิใช่เป็นลูกของคนจีนสามั­ญชนตามประวัติ ศาสตร์ แต่เป็นโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับสนมลับชาวจีนชื่อ ไหฮอง แต่เนื่องจากสมัยอยุธยานั้นมีการแก่งแย่งชิงดีกันมาก มีการฆ่ากันเพื่อชิงราชสมบัติ พระมารดาของพระเจ้าตากเกรงจะเป็นอันตราย จึงได้ปิดเป็นความลับ และบอกว่าบิดาของพระเจ้าตากชื่อ ไหฮอง (ชื่อของนางเอง) และมารดาชื่อนางนกเอี้ยง (ชื่อที่แต่งขึ้นไม่มีตัวตนจริง)
อ่านเพิ่มเติม

คติธรรม คำสอน หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน

คติธรรม คำสอน หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน

“แก้กรรมทำไม่ได้ แต่แก้ตัวเอง ทำได้”

คำสอนสั้นๆแต่ลึกซึ้งประโยคนี้ของหลวงพ่อจรัญ ได้ทำให้คนที่แสวงหาการแก้กรรมต้องหยุดฟัง เพราะเหตุใดจึงแก้กรรมไม่ได้? คำว่า “กรรม” นั้นแปลว่า “การกระทำ” สิ่งใดที่กระทำไปแล้วไม่สามารถกลับคืนไปทำอีกอย่างได้ เช่น วันนี้กินเหล้า พุ่งนี้จะย้อนเวลามาหยุดการกินเหล้าไม่ได้ ดังนั้น คำว่ากรรมนี้ ไม่มีทางแก้ได้ แต่…ก็ใช่ว่าจะไม่มีทางออก ลองอ่านต่อไป

หลายคนชอบไปหาสำนักแก้กรรมต่างๆ ซึ่งจริงๆแล้วก็มีที่ดีๆอยู่ แต่นั่นไม่ใช่การแก้กรรม นั่นคือ “การชดใช้กรรม” หรือ “ขอขมากรรม” หรือถ้าบางสำนักใช้วิธีแบบเลวร้ายขึ้นมาหน่อยก็จะกลายเป็น “การต่อยอดกรรม” หรือ “การหนีกรรม”
อ่านเพิ่มเติม

คติธรรมโบราณ รวบรวมโดย หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

คติธรรมโบราณ รวบรวมโดย หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

อย่าพูดโกหก……….อย่าพกแต่ลม……….อย่าชมแต่รูป

อย่าสูบแต่ราก……….อย่ามากแต่โง่……….อย่าโตแต่เปลือก

อย่าเสือกหาเรื่อง……….อย่าเคืองคนสอน……….อย่านอนขี้เซา

อย่าเมาการโลก……….อย่าโศกเกินเหตุ……….อย่าเทศน์ผิดหลัก

อย่าผลักความผิด……….อย่าปิดช้างตาย……….อย่าหมายเมียท่าน
อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม หรือ พระธรรมสิงหบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี ซึ่งพระคุณเจ้าได้มาประจำวัดนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ด้วยพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ท่านได้พัฒนาปรับปรุงวัดแห่งนี้จนเป็นสถานปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานที่มี ชื่อเสียงแห่งหนึ่ง พระเดชพระคุณท่านเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และวิปัสสนาจารย์ จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้รับพระราชทานโล่เกียรติคุณนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่นในสาขาสังคมสงเคราะห์

วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี

ขอบคุณข้อมูล : http://campaign.edtguide.com/

ธรรมบรรยาย อุปาสกปฏิบัติ

ธรรมบรรยาย อุปาสกปฏิบัติ

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

คฤหัสถ์ชนผู้มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย เพราะได้ฟังธรรมเทศนา แต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า หรือเพราะได้ฟังแต่พุทธสาวกและพุทธศาสนิกบัณฑิตอื่นๆ แล้วซึ่งพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก ชายชื่อว่า อุบาสก หญิงชื่อว่า อุบาสิกา แปลว่า ผู้เข้านั่งใกล้ซึ่งพระรัตนตรัยด้วยใจของตน
ในอรรถกถา แสดงอาการถึงสรณะ ๔ อย่างคือ ความมอบให้ซึ่งตน ๑ ความเป็นผู้มีรัตนตรัยนั้นเป็นที่ไปเบื้องหน้า ๑ เข้าไปถึงซึ่งความเป็นศิษย์ ๑ ความนอบน้อม ๑ ความสละซึ่งตนต่อพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ด้วยคำอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ามอบให้ซึ่งตนแก่พระพุทธเจ้า แก่พระธรรม แก่พระสงฆ์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ซึ่งว่าความมอบให้ซึ่งตน ความเป็นผู้มีพระรัตนตรัยนั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้าด้วยคำอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายทรงไว้ว่า ข้าพเจ้ามีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่ไปเบื้องหน้าตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ชื่อว่าความเป็นผู้มีพระรัตนตรัยนั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เข้าไปถึงซึ่งความเป็นศิษย์ด้วยคำอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงทรงไว้ซึ่งข้าพเจ้าว่าเป็นอันเตวาสิกของพระพุทธเจ้า ของพระธรรม ของพระสงฆ์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ชื่อว่าเข้าไปถึงซึ่งความเป็นศิษย์ ความกระทำซึ่งความตกต่ำเป็นอย่างยิ่งในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ฟังคำอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงทรงไว้ซึ่งข้าพเจ้าว่าทำอยู่ซึ่งการกราบไหว้ การลุกรับอัชลีกรรมและสามีจิกรรมแก่วัตถุทั้งสาม มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ชื่อว่าความนอบน้อม สรณะที่บุคคลกระทำ ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคือเอาแล้วชื่อว่าถ้าเอาแล้วดี อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย อานิสังสกถา

ธรรมบรรยาย อานิสังสกถา

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

ณ บัดนี้ อาตมาภาพได้รับประทานแสดงพระสัทธรรมเทศนาในอานิสังสกถา พรรณนาอานิสงส์แห่งกุศลจริยาสัมมาปฏิบัติ ท่านเจ้าภาพพร้อมด้วยญาติมิตรคณะศิษยานุศิษย์ ได้มีจิตเป็นเอกฉันท์พร้อมกัน บัดนี้ท่านทั้งหลายบรรดาศิษย์ได้พร้อมใจกัน ด้วยความกตัญญูรู้อุปการะคุณแห่งท่าน อันได้มีมาแล้วแก่ตน ท่านเคยเป็นผู้ประกอบคุณความดีไว้ทั้งในส่วนอัตตสมบัติ คือมีศีลาจารวัตร และในส่วนปรหิตสมบัติ คือความดีที่มีต่อผู้อื่น ความดีเหล่านี้ยังยืนมาหาได้สูญสิ้นไป เมื่อมาอนุสรณ์คำนึงถึงท่านคราวใด อันเพียบพร้อมไพศาลไปด้วยกตเวทิตาธรรม จึงได้น้อมนำเอาโอกาสเช่นนี้เป็นเครื่องแสดงกตเวทีตามวิสัยสามารถ โอกาสเช่นนี้จึงนับว่าเป็นสมัยสำคัญในอันที่จะประกาศความเป็นผู้มีกตเวทีให้ปรากฏ และการที่ท่านเจ้าภาพพร้อมด้วยศิษย์สามัคคีกันด้วยกายและจิต อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย อานิสงส์ สร้างพระพุทธรูป

ธรรมบรรยาย อานิสงส์ สร้างพระพุทธรูป

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

พระพุทธรูป หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่าพระรูปของพระพุทธเจ้า การสร้างพระพุทธรูปจะมีอานิสงส์อย่างไรบ้าง? การสร้างพระพุทธรูปมีอานิสงส์มากมายหลายประการ เหลือที่จะนับจะประมาณได้ จะขอยกมาแสดงไว้ในที่นี้แต่พอเป็นตัวอย่าง หรือพอเป็นแนวทางเท่านั้นคือ
ผู้สร้างพระพุทธรูป ชื่อว่าได้บำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการคือ
๑) ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน หมายความว่า ผู้นั้นต้องเอาพระพุทธรูปไปถวายพระสงฆ์ไว้ในวัดใดวัดหนึ่ง เพื่อให้ภิกษุสามเณรหรืออุบาสกอุบาสิกาได้กราบไหว้สักการะบูชา และก่อนที่จะได้ถวายตัวเองก็ต้องบริจาคเงินสร้างหรือเช่ามาแล้วนี้เป็นทานมัยกุศลชั้นต้น ต่อมาก็มีการเฉลิมฉลองอีก ตัวเองก็บริจาคจตุปัจจัยไทยทานถวายพระทำบุญ นี้เป็นทานมัยกุศลชั้นที่ ๒ ถึงแม้ว่าจะสร้างไปไว้ที่บ้านเพื่อสักการะบูชา ก็ต้องปฏิบัติในทำนองเดียวกันนี้ ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อวาได้บำเพ็ญทานมัยกุศลไปด้วย
๒) ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล หมายความว่า ก่อนแต่จะทำการถวายทานหรือถวายพระพุทธรูป เจ้าภาพก็ต้องสมาทานศีลเสียก่อน ศีลที่สมาทานคราวนี้เกิดขึ้นเพราะการสร้าพระพุทธรูปเป็นปัจจัย ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูป จึงชื่อว่าได้บำเพ็ญศีลมัยกุศลไปด้วย อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย ออกพรรษา และ ปวารณา

ธรรมบรรยาย ออกพรรษา และ ปวารณา

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

คำว่า “ปวารณา” แปลว่าหมายถึงให้เราให้สติ ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อที่บกพร่องที่จะต้องแก้ไข
ระหว่างภรรยา กับ สามี ระหว่างพ่อแม่ กับ ลูก
ระหว่างครูอาจารย์ กับ ศิษย์ ระหว่างเพื่อน กับ เพื่อน
ทำให้เราคลายละพยศ ลดมานะ ละทิฏฐิ ในการอยู่ร่วมกันลงได้มาก ไม่เก็บกดในอารมณ์
ออกพรรษา อย่าออกจากทาน-บุญกุศล
ออกพรรษา อย่าออกจากการเจริญสมาธิ
ออกพรรษา อย่าออกจากวัด
ออกพรรษา อย่าออกจากคุณความดี
ออกพรรษา อย่าออกจากความสามัคคี
ออกพรรษา อย่าออกจากศีล-ศีลอุโบสถ
ออกพรรษา อย่าออกจากการเจริญวิปัสสนา-ภาวนา
ออกพรรษา อย่าออกจากศาสนา อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย องค์ธรรมแห่งสามัคคี

ธรรมบรรยาย องค์ธรรมแห่งสามัคคี

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

ทานัง ความเป็นผู้อัธยาศัย อารีอารอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เจือจานแก่กัน ตามกำลังของตน อันนี้เป็นทางให้เกิดความสามัคคีประการ ๑ ความเป็นคนใจจืด เหนียวแน่น เห็นแต่ประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว เป็นเหตุทำลายความสามัคคี
เปยฺยวชฺชํ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน นุ่มนวลควรดื่มไว้ในใจ ถึงแม้ว่าวาจาจะหยาบคาย แต่เป็นเครื่องเตือนใจให้ประพฤติดี วาจาเช่นนี้ ก็ควรดื่มไว้ในใจ อันนี้เป็นทางให้เกิดความสามัคคีประการ ๑ การพูดเสียดสีกระทบกระทั่ง บริภาษให้บาดใจ เป็นเหตุทำลายความสามัคคี อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย หลักธรรมของผู้ครองเรือน

ธรรมบรรยาย หลักธรรมของผู้ครองเรือน

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

อันวิถีแห่งการครองเรือนนั้น ย่อมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งหนักหนา มิใช่เป็นการง่ายๆ เราจะเห็นว่ามิเป็นการยากจะอะไรนั้นหาได้ไม่ (ก็น่าจะเป็นอยู่บ้าง ในเมื่อเรามองดูเหลี่ยมชีวิตของผู้ครองเรือนโดยไม่แยบคาย แต่ถ้าเราพิจารณาดูให้ลึกซึ้ง เราก็จะมองเห็นแง่ที่เราควรจะคิดมิใช่น้อย เพียงในหย่อมแห่งมนุษย์ชนหย่อมเดียวเท่านั้น การดำเนินชีวิตของเขาก็ไม่เหมือนกันแล้ว บางครอบครัว ร่ำรวยเจริญด้วยทรัพย์ แต่อีกแห่งหนึ่งแสนจะเดือดร้อน หากินไม่พอเลี้ยง หรือบางครอบครัวหรือบางคนเคยเจริญแล้ว แต่กลับต้องเสื่อมลงในปลายมือ รักษาความเจริญของตนไปไม่ตลอดได้ นี่วิถีชีวิตของมนุษย์) ไม่เสมอภาคกันเช่นนั้น ก็เพราะเนื่องจาก

ก. ไม่ฉลาดในการครองเรือนบ้าง
ข. ปล่อยให้ผีแห่งการพนันเข้าสิงบ้าง
ค. คบเพื่อนชั่วบ้าง

เหล่านี้เป็นต้น บางท่านอาจไม่รู้อยู่ในเกณฑ์เหล่านี้ แต่ประกอบการงานไม่เจริญได้ พึ่งเข้าใจว่าการกระทำของผู้นั้น ยังไม่สมแก่ผลที่ควรได้ คือทำโดยย่อหย่อนบ้าง ไม่ถูกกาลเทศะบ้าง ผลจึงไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยได้เลย ก็ถ้าผู้ครองเรือนเป็นคนฉลาด รู้จักหลีกเลี่ยงเหตุอันจะทำให้การครองเรือนต้องล่มจม ประกอบเหตุอันจะทำให้ชีวิตของตนประสบความเจริญแล้ว การครองเรือนก็จักมีแต่ความสมบูรณ์ไม่ตกอับโดยแท้ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย หลักการรักษาน้ำใจมิตร

ธรรมบรรยาย หลักการรักษาน้ำใจมิตร
ควรติ ตักเตือนคนที่ท่านรัก

รวบรวมโดย พระราชสุทธิญาณมงคล วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

1. อย่านำความบกพร่องของเขาไปพูดในที่ลับหลัง
2. อย่าติเตียน เตือนเขา ต่อหน้าบุคคลที่สามหรือมีบุคคลอื่นอยู่หลายคน
3. ขอโอกาสเขาก่อน ก่อนจะชี้ความบกพร่องของเขา
4. เตือน ชี้ความบกพร่องของเขาในขณะเขาอารมณ์ดี
5. อย่าพูดว่าเขาใช้ไม่ได้ เพราะมีความบกพร่องตรงนั้น แต่พึงพรรณนาความดีทั้งหลายของเขาก่อน แล้วจึงพูดว่าถ้าเขาแก้ไขตรงนั้นได้ เขาจะดีที่สุด ดีไม่มีที่ติ
6. ศิลปการชม ไม่ชมเขาชมเครื่องแต่งกาย ชมพาหนะ ชมคำพูด น้ำเสียง ความรู้ หลักจิตวิทยา ชมมิตรของเขา เขาย่อมภาคภูมิใจเกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง เขาจะรักเรา แม้ศัตรูก็จะหายโกรธเรา อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย หลักการฝึกสมาธิเพื่อการศึกษา

ธรรมบรรยาย หลักการฝึกสมาธิเพื่อการศึกษา

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

สมาธิคืออะไร ?
พจนานุกรมให้คำอธิบายว่า ความตั้งมั่นแห่งจิต การสำรวมใจ ความแน่วแน่ของจิต การตริตรองอย่างเคร่งเครียดในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
คำอธิบายเหล่านี้ล้วนแต่แสดงลักษณะของสมาธิ ให้เห็นความหมายและความสำคัญที่มีอยู่ในสมาธินั้นทั้งสิ้น เพียงแต่ความตั้งมั่นแห่งจิต ซึ่งเป็นคำอธิบายท่อนแรก ก็มีความหมายลึกซึ้ง และแสดงให้เห็นว่า สมาธินั้นเกี่ยวกับจิต เพราะว่าความตั้งมั่นจะมีได้ต้องตั้งอยู่ที่จิต การทำจิตให้มั่นคง ไม่ให้ฟุ้งซ่าน ไม่ให้กวัดแกว่ง ให้ตั้งอยู่ในอารมณ์ ไม่เกาะเกี่ยวด้วยสิ่งอื่น ไม่ให้เป็นไปตามกระแสของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ประสบด้วยตา หรือหู หรือจมูก ลิ้น กาย ใจ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้ง ๖ นี้ มีชื่อเรียกตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาว่า “อินทรีย์” คำว่า อินทรีย์ แปลว่า เป็นใหญ่ คือเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ตาเป็นใหญ่ในการดู หูเป็นใหญ่ในการฟัง จมูกเป็นใหญ่ในการดม ลิ้นเป็นใหญ่ในการลิ้ม กายเป็นใหญ่ในการถูกต้อง ใจเป็นใหญ่ในการรู้ ดู ฟัง ลิ้ม ถูกต้อง รู้ เป็นหน้าที่ของอินทรีย์ทั้ง ๖ แต่ละอย่าง อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย หลักการทำนายรัก

ธรรมบรรยาย หลักการทำนายรัก

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

หลักการทำให้นายรัก และไว้วางใจนายนั้นมี ๒ ลักษณะ คือ
รวบรวมโดย พระราชสุทธิญาณมงคล วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี

นายจ้าง คือ นายผู้เป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของกิจการ เจ้าของบริษัท เจ้าของสถานที่
นาย คือ ผู้บังคับบัญชา เช่น งานราชการทั่วไป หรือบริษัท ที่ระบบคล้ายราชการ หรือธนาคาร เป็นต้น
นาย คือ ผู้ร่วมงาน ที่มอบหมายให้เราทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งให้สำเร็จ
—————————————————-
1. ถ้าผู้เป็นนายนั้น สั่งหรือมอบหมายให้ทำงานใด ๆ แล้ว ถ้ารับปาก ก็จงทำงานนั้นจนสำเร็จ ไม่ควรให้เขาเตือนเป็นครั้งที่ ๒
2. รักษาหรือทำสถานที่ทำงานนั้นให้สะอาดอยู่เสมอ
3. วัตถุหรือสิ่งใด ๆ วางเกะกะพึงเก็บเสียเองให้เรียบร้อย อย่ารอให้เขาเตือน
4. พึงทำงานให้คุ้มค่าแรงและให้เหลือกว่าค่าแรงเสมอ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย สุจริตธรรม

ธรรมบรรยาย สุจริตธรรม

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

สุจริตธรรมให้เกิดผลอย่างไร คิดให้รอบคอบสักหน่อย ก็จักให้เห็นได้ในปัจจุบันนี้เอง ผู้ประพฤติสุจริตธรรมย่อมเป็นคนไม่มีภัย ไม่มีเวร มีกาย วาจา ใจ ปลอดโปร่งนี้เอง ความสุขที่เห็นกันอยู่แล้ว ส่วนผู้ประพฤติทุจริตอธรรม ตรงกันข้าม มีกาย วาจา ใจ หมกมุ่นวุ่นวาย แม้จักมีทรัพย์ ยศ ชื่อเสียง สักเท่าใด ก็ไม่ช่วยให้ปลอดโปร่งได้ ต้องเปลืองทรัพย์ เปลืองสุข ระวังทรัพย์ ระวังรอบด้าน นี้เป็นความสุขที่เห็นกันอยู่แล้ว ส่วนในอนาคตเล่าจักเป็นอย่างไร อาศัยพุทธภาษิตที่แสดงว่า
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ผู้ทำดีย่อมได้ดี
ปาปการี จ ปาปกํ ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว
จึงลงสันนิษฐานได้ว่า สุจริตธรรม อำนวยผลที่ดีคือความสุข ทุจริตอธรรม อำนวยผลที่ชั่วคือความทุกข์ แม้ในอนาคตแน่แท้ อนึ่งในที่นี้รวมผลแห่งสุจริตธรรมทั้งสิ้น แสดงรวมยอดอย่างเดียวว่าความสุข เพราะเหตุนี้ สิ่งใดเป็นอุปกรณ์แห่งความสุข หรือเรียกว่าสุขสมบัติ เช่น ความบริบูรณ์ทรัพย์ ผิวพรรณงาม อายุยืน ยศ ชื่อเสียง เป็นต้น สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นผลแห่งสุจริตธรรม อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .