หลังจากที่ท่านสร้างสวนโมกข์–ไชยา ไม่นาน ท่านคิดทำหนังสือ “พุทธสาสนา” โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ธรรมะ และเพื่อแถลงกิจการของคณะธรรมทานและสวนโมกข์ ท่านเล่าว่าในยุคนั้นที่กรุงเทพฯเคยมีหนังสือพิมพ์ “ธรรมจักษุ” ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า (กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) แต่เมื่อสิ้นท่านก็ได้หยุดไป เมื่อท่านพุทธทาสออกหนังสือพิมพ์พุทธสาสนาในต่างจังหวัด ทางกรุงเทพฯ จึงรื้อทางกรุงเทพฯ จึงรื้อฟื้น “ธรรมจักษุ”
ชุดธรรมโฆษณ์ (วรรณกรรมหลัก)
“ระเบิดภูเขาหิมาลัย” หนังสือที่ออกมาเพื่อต่อต้านเรื่อง “ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม” โดยโจมตีว่า พุทธทาสภิกขุ รับจ้างคอมมิวนิสต์มาทำลายพระศาสนา และมีการนำเรื่องดังกล่าวฟ้องพระเถระผู้ใหญ่ด้วย แต่ไม่เป็นผล อ่านเพิ่มเติม
ความรู้ของท่านพุทธทาส
การที่ท่านพุทธทาสมีความรู้แตกฉานในศาสตร์ต่าง ๆ มากมายนั้น ก็สืบเนื่องจากความสนใจในการศึกษาซึ่งท่านเคยกล่าวไว้ในจดหมายถึงสามเณร กรุณา กุศลาสัย ดังนี้ “…ผมเองก็เป็นนักศึกษาโดยตนเอง ทุกประเภทวิชชา…” และ “…ต้องเรียนเอาเองเรื่อย ๆ จากหนังสือทั่ว ๆ ไป ตลอดถึงจากหนังสือพิมพ์ ภาษาอังกฤษนับว่าไม่รู้อะไรเลย เพิ่งมาเรียนเอาโดยตนเองอีกเมื่อบวชแล้ว จนบัดนี้ก็ยังไม่รู้พอที่จะนับว่าคล่องตัว หรือพอใช้แก่การงานของตัว ภาษาไทยนับว่าพอคล่องตัว แต่ก็ยังต้องเรียนไปอีกเรื่อย ๆ ทั้งสองอย่าง ธรรมเคยเรียนในโรงเรียนเพียงสองปี ต่อนั้นเรียนลำพังเอง ไปขอสมัครสอบได้นักธรรมทั้งสามชั้นแล้ว ก็ยังไม่รู้สึกว่ามีความรู้ธรรมเลย ยังเรียนเองเรื่อย ๆ กระทั่งบัดนี้และทั้งเชื่อว่ายังต้องเรียนไปเองอีกนาน… สำหรับภาษาบาลียิ่งร้ายกาจใหญ่ ควรจะเรียนกันตั้ง ๑๐–๑๒ ปี อ่านเพิ่มเติม
พุทธทาสภิกขุ หรือ พระธรรมโกศาจารย์
พุทธทาสภิกขุ หรือ พระธรรมโกศาจารย์
นามเดิม เงื่อม พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๙ ณ บ้านกลาง ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๗ สำเร็จการศึกษาชั้น น.ธ.เอก, ป.ธ.๓ เริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลาราม ที่ อ.ไชยา เมื่อวันที่ ๑๒ พ.ค. ๒๔๗๕ และหันมาใช้นามปากกา“พุทธทาส” แทนนามเดิมนับแต่นั้นมา ท่านพุทธทาสภิกขุอุทิศตนเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนกระทั่งถึงแก่มรภาพอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ ๘ ก.ค. ๒๕๓๖
คำสอนอันโดดเด่นของท่านคือเรื่อง “การปล่อยวาง” ผลงานอันยิ่งใหญ่ของท่านคืองานนิพนธ์ชุด “ธรรมโฆษณ์” และงานนิพนธ์อีกไม่น้อยกว่า ๓๕๐ เล่ม ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับการสดุดีว่าเป็นมหาปราชญ์แห่งพุทธธรรมทางบูรพาทิศ ที่มีเกีตรติคุณไม่น้อยไปกว่าท่านนาคารชุน ปราชญ์ใหญ่ฝ่ายมหายานในอดีต ปัญญาชนทั้งไทยและต่างประเทศถือว่า ท่านเป็นนักปฏิรูปพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งของเมืองไทย
ขอขอบคุณ http://www.dhammathai.org
พุทธทาส ผลงานแห่งชีวิต
ตลอดชีวิต ของ ท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านย้ำอยู่เสมอว่า “ธรรมะ คือ หน้าที่”
เป็นการทำหน้าที่ เพื่อความอยู่รอด ทั้งทางฝ่ายกาย และฝ่ายวิญญาณ ของมนุษย์
และ ท่าน ได้ทำหน้าที่ ในฐานะ ทาสผู้ซื่อสัตย์ ของพระพุทธเจ้า ทุกอณูแห่งลม
หายใจ เข้าออก จนแม้วาระสุดท้าย แห่งชีวิต จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า ผลงาน ที่ท่าน
สร้างสรรค์ ไว้ เพื่อ เป็น มรดก ทางธรรมนั้น จะมีมากมาย สักปานใด ซึ่งจะขอ
นำมากล่าวเฉพาะ ผลงานหลักๆ ดังนี้ คือ
๑. การจัดตั้ง สถานปฏิบัติธรรม สวนโมกขพลาราม และ สวนโมกข์นานาชาติ
๒. การร่วมกับ คณะธรรมทาน ในการออกหนังสือพิมพ์ “พุทธสาสนา”
ราย ๓ เดือน นับเป็นหนังสือพิมพ์ ทาง พระพุทธศาสนา เล่มแรก ของไทย
เริ่มตีพิมพ์ เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๖ และ ต่อเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน
เป็นเวลารวม ๖๑ ปี นับเป็นหนังสือพิมพ์ ทาง พระพุทธศาสนา ที่มีอายุยืนยาว
ที่สุดของไทย
๓. การพิมพ์หนังสือ ชุด “ธรรมโฆษณ์” ซึ่งเป็นหนังสือที่ รวบรวม พิมพ์จาก
ปาฐกถาธรรม ที่ท่านแสดงไว้ในวาระต่างๆ และ งานหนังสือเล่ม เล่มอื่นๆ
ของท่าน โดยแบ่งออก เป็น ๕ หมวด คือ อ่านเพิ่มเติม
พุทธทาส ปณิธานแห่งชีวิต
อุดมคติ ที่หยั่งรากลึกลงแล้วนี้ ทำให้ท่านสนใจใฝ่หา
ความรู้ทางธรรมะตลอดเวลา ไม่เฉพาะแต่พระ
พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท หรือหินยาน แต่ครอบคลุม
ไปถึงพระพุทธศาสนา แบบมหายาน และศาสนาอื่น
เช่น คริสต์ อิสลาม ฮินดู สิกข์ เป็นต้น จากความรอบรู้
ที่กว้างขวาง และลึกซึ้ง นี้เอง ทำให้ท่านสามารถ
ประยุกต์ วิธีการสอน และปฏิบัติธรรมะได้อย่าง
หลากหลาย ให้คนได้เลือกปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับ
พื้นความรู้และอุปนิสัยของตนได้ โดยไม่จำกัดชนชั้น
เชื้อชาติ และศาสนา เพราะท่านเชื่อว่า มนุษย์ทุกคน
ก็คือ เพื่อน ร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น
และหัวใจของทุกศาสนาก็เหมือนกันหมด คือ ต้องการ ให้คน พ้นจากความทุกข์
ท่านจึง ได้ตั้ง ปณิธานในชีวิตไว้ ๓ ข้อ คือ
๑. ให้พุทธศาสนิกชน หรือ ศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตาม
เข้าถึง ความหมายอันลึกซึ้ง ที่สุดแห่งศาสนาของตน
๒. ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา
๓. ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกมาเสียจากวัตถุนิยม อ่านเพิ่มเติม
พุทธทาส อุดทคติแห่งชีวิต
ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช
เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้า
ที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคน
พระเงื่อมได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อ ที่กรุงเทพฯ สอบได้
นักธรรมเอกแล้วเรียนภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญ๓ ประโยค
ระหว่างที่เรียน เปรียญธรรม๔ อยู่นั้น ด้วยความที่ท่านเป็นคน
รักการศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และศึกษาค้นคว้าออก
ไปจากตำรา ถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศ
ศรีลังกา อินเดีย และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในโลก
ตะวันตก ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือ
รูปแบบตามระเบียบแบบแผนมากเกินไป ความย่อหย่อนใน
พระวินัยของสงฆ์ ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของ
พุทธศาสนิกชน ในเวลานั้น ทำให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่า พระพุทธศาสนาที่สอน
ที่ปฏิบัติกัน ในเวลานั้นคลาดเคลื่อน ไปมาก จากที่ พระพุทธองค์ ทรงชี้แนะ อ่านเพิ่มเติม
พุทธทาส กำเนิดแห่งชีวิต
ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช
เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้า
ที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคน
เป็นชายชื่อยี่เก้ย และเป็นหญิงชื่อกิมซ้อย
บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลักคือ
การค้าขายของชำ เฉกเช่น ที่ชาวจีนนิยมทำกันทั่วไป
แต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดา กลับเป็นเรื่องของ
ความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้
ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดา อ่านเพิ่มเติม
ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–มรณภาพ
พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุ 87 ปี 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่านรับมรดกความเป็น “พุทธทาส” เพื่อพุทธทาสจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนาดังบทประพันธ์ของท่านที่ว่า
พุทธทาส จักอยู่ไป ไม่มีตาย แม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง
ร่างกายเป็น ร่างกายไป ไม่ลำเอียง นั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลา
พุทธทาส คงอยู่ไป ไม่มีตาย ถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา
สมกับมอบ กายใจ รับใช้มา ตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลย
พุทธทาส ยังอยู่ไป ไม่มีตาย อยู่รับใช้ เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย
ด้วยธรรมโฆษณ์ตามที่วางไว้อย่างเคย โอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตายฯ
แม้ฉันตาย กายลับ ไปหมดแล้ว แต่เสียงสั่ง ยังแจ้ว แว่วหูสหาย
ว่าเคยพลอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลาย ก็เหมือนฉันไม่ตาย กายธรรมยัง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน นั้นไม่ตาย ยังอยู่กับ ท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง
มีอะไรมาเขี่ยไค้ ให้กันฟัง เหมือนฉันนั่ง ร่วมด้วย ช่วยชี้แจง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน ไม่ตายเถิด ย่อมจะเกิด ผลสนอง หลายแขนง
ทุกวันนัด สนทนา อย่าเลิกแล้ง ทำให้แจ้ง ที่สุดได้ เลิกตายกันฯ
ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org
ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–สู่กรุงเทพฯ อีกครั้ง
เมื่อหมดหน้าที่สอนนักธรรมแล้ว อาเสี้ยงก็เร่งเร้าให้ท่านพุทธทาสภิกขุเข้ากรุงเทพฯ อีกครั้ง โดยหวังให้หยิบพัดยศมหาเปรียญมาไว้เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล ท่านพุทธทาสภิกขุจึงเข้ากรุงเทพฯ อีกคราวหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2473 เมื่ออยู่กรุงเทพฯ ในครั้งนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุคิดเพียงแต่จะมุ่งเรียนภาษาบาลีเท่านั้น และทิ้งเรื่องการลาสิกขาเอาไว้ก่อน แต่ท่านพุทธทาสภิกขุไม่ได้เข้าเรียนในช่วงกลางวัน เนื่องจากเห็นว่าเป็นการสอนที่อืดอาด ไม่ทันใจ จึงให้พระครูชยาภิวัฒน์ (กลั่น) สอนพิเศษในช่วงกลางคืน นอกจากการเรียนภาษาบาลีแล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังสนใจในเรื่อง การท่องเที่ยว การถ่ายภาพ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องเล่นวิทยุ เครื่องเล่นแผ่นเสียง ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ข่าวสารบ้านเมือง ทั้งยังติดตามงานเขียนของปัญญาชนทั้งหลายในสมั้ยนั้น ไม่ว่าจะเป็น ครูเทพ น.ม.ส. พระองค์วรรณฯ เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป และหลวงวิจิตรวาทการ อ่านเพิ่มเติม
ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–พรรษาที่สามและสี่
ในพรรษาที่สาม ท่านพุทธทาสภิกขุสอบนักธรรมเอกได้ เมื่อออกพรรษา คุณนายหง้วน เศรษฐภักดี ซึ่งเป็นผู้บริจาคเงินสร้างโรงเรียนนักธรรมที่วัดพระบรมธาตุไชยา และเป็นญาติของท่านพุทธทาสภิกขุ รวมทั้งพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) รองเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยาในสมัยนั้น ได้ชักชวนให้ท่านพุทธทาสภิกขุมาเป็นอาจารย์สอนนักธรรมอยู่ที่วัดพระบรมธาตุไชยาแห่งนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุจึงได้เลื่อนกำหนดการลาสิกขาไว้ก่อน และมาเป็นอาจารย์สอนนักธรรมอยู่หนึ่งปี กลวิธีการสอนของท่านพุทธทาสภิกขุชวนติดตาม ทำให้นักเรียนของท่านสอบได้หมดยกชั้น เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุได้เล่าเอาไว้ว่า
สอนนักธรรมนี่ก็สนุก สอนคนเดียว 2 ชั้น มันคุยได้ว่าสอบได้หมด แต่ตามหลักฐานที่ปรากฏตกไปองค์หนึ่ง เพราะใบตอบหาย ก็กลายเป็นครูที่มีชื่อเสียงขึ้นมาทันที มันสนุก เพราะเป็นของใหม่ และมันชักจะอวด ๆ อยู่ว่าเราพอทำอะไรได้ หาวิธียักย้ายสอนให้มันสนุก ไม่เหมือนกับที่เขาสอนๆ กันอยู่ เช่นผมมีวิธีเล่า วิธีพูดให้ชวนติดตาม หรือให้ประกวดกันตอบปัญหา ทำนองชิงรางวัล นักเรียนก็เรียนกันสนุก ก็สอบได้กัน อ่านเพิ่มเติม
ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–พรรษาที่สอง
แม้แต่เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียนตามประเพณีเพียง 3 เดือน แต่เมื่อได้ใช้ชีวิตเป็นพระแล้ว ความยินดีในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการเอาอกเอาใจจากพุทธบริษัทรอบข้าง ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุไม่มีความคิดที่จะลาสิกขา อีกทั้งพระภิกษุในวัดหลายรูปเห็นว่าท่านพุทธทาสภิกขุเรียนหนังสือเก่งและเทศนาดี จึงหนุนให้ท่านพุทธทาสภิกขุอยู่ที่วัดต่อไปเพื่อเป็นกำลังในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา
เล่ากันว่าเจ้าคณะอำเภอเคยถามท่านพุทธทาสภิกขุในพรรษานี้ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรในการใช้ชีวิต ท่านพุทธทาสภิกขุตอบว่า
ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ให้มากที่สุด… แต่ถ้ายี่เกยจะบวชผมก็ต้องสึกออกไปอยู่บ้านค้าขาย
ท่านเจ้าคณะอำเภอจึงไปคุยกับโยมแม่ของท่านพุทธทาสภิกขุว่าท่านพุทธทาสภิกขุควรจะอยู่เป็นพระต่อไป ส่วนน้องชายของท่านนั้นไม่ต้องบวชก็ได้ เพราะมีชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว คือ เป็นคนมักน้อย สันโดษ การกินอยู่เรียบง่าย และตัดผมสั้นเกรียนตลอดเวลา ในการนี้ ทำให้นายธรรมทาส น้องชายของท่านพุทธทาสภิกขุ ไม่ได้บวช และยอมละทิ้งการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มารับผิดชอบหน้าที่ทางบ้าน เพื่อให้ท่านพุทธทาสภิกขุเจริญสมณธรรมต่อไป อ่านเพิ่มเติม
ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–บรรพชิต
ท่านพุทธทาสภิกขุได้บวชเรียนตามประเพณี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 ที่โรงอุโบสถวัดอุบล หรือวัดนอก ก่อนจะย้ายมาประจำอยู่ที่วัดพุมเรียง มีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) รองเจ้าคณะเมืองในสมัยนั้น และมีพระปลัดทุ่ม อินทโชโต เจ้าอาวาสวัดอุบล และ พระครูศักดิ์ ธมฺรกฺขิตฺโต เจ้าอาวาสวัดวินัย หรือวัดหัวคู เป็นพระคู่สวด ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับฉายาว่า อินทปญฺโญ ซึ่งแปลว่าผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่
การบวชของท่านพุทธทาสภิกขุเป็นไปตามธรรมเนียม และไม่คิดที่จะบวชไม่สึก ดังที่ท่านปัญญานันทภิกขุอ้างถึงคำพูดของท่านพุทธทาสภิกขุก่อนที่จะบวชไว้ว่า
เรื่องบัญชี บัญน้ำ เก็บไว้ก่อน เมื่อสึกออกมาแล้วค่อยมาทำต่ออีก
ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าถึงมูลเหตุการบวชของตนเองไว้ว่า อ่านเพิ่มเติม
ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–ด้านชีวิตวัยหนุ่ม
เมื่ออายุได้ 11 ขวบ ท่านพุทธทาสภิกขุได้กลับมาอยู่ที่บ้าน และเข้าเรียนที่วัดโพธาราม หรือวัดเหนือ โรงเรียนในวัดนี้เป็นโรงเรียนแผนใหม่ ซึ่งใช้หลักสูตรที่ปรับปรุงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในสมัยนั้นมีการเกณฑ์พระจากทั่วประเทศไปอบรมครูที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ก่อนที่จะกลับมาสอนยังท้องถิ่นเดิมของตน ที่วัดโพธาราม มีครูที่ไปอบรมในครั้งนั้นชื่อครูวัลย์ จากนั้นก็สืบต่อมายัง ครูทับ สุวรรณ และท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้เล่าเรียนกับครูผู้นี้
ท่านพุทธทาสภิกขุเรียนชั้นประถมที่วัดโพธาราม จากนั้นก็ย้ายมาเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนสารภีอุทิศ ซึ่งอยู่ในตลาดไชยา ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุต้องจากบ้านที่พุมเรียงมาพักอยู่กับบิดา ซึ่งได้เปิดร้านค้าอีกแห่งเพื่อขายข้าวเปลือกที่ตลาดไชยานี้ บางครั้ง ท่านพุทธทาสภิกขุต้องรับหน้าที่ลำเลียงสินค้าจากบ้านที่ไชยาไปบ้านที่พุมเรียง เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวไว้ว่า อ่านเพิ่มเติม
ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–ด้านชีวิตวัยเยาว์
เมื่ออายุได้ 8 ขวบ บิดามารดาได้พาท่านพุทธทาสภิกขุไปฝากตัวเป็นเด็กวัดที่วัดพุมเรียง หรือวัดใหม่ ซึ่งเป็นวัดที่คนในสกุลพานิชเคยบวชสืบต่อกันมา โดยในสมัยก่อนที่จะมีโรงเรียนนั้น พ่อแม่มักจะให้ลูกชายได้อยู่ที่วัด เพื่อที่จะให้ได้รับการศึกษาขั้นต้นตามแบบโบราณ รวมทั้งจะได้มีการคุ้นเคยกับพระพุทธศาสนา และได้ฝึกหัดการอาชีพต่างๆ ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าถึงชีวิตช่วงที่ตนเองอยู่วัดเอาไว้ว่า
ผมออกจากบ้านไปอยู่วัดเมื่ออายุ 8-9-10 เรียนหนังสือ ก ข ก กา กระทั่ง มูลบทบรรพกิจกันที่วัด อายุ 11 ปีได้เวลาไปโรงเรียนแล้วถึงกลับมาอยู่บ้าน สมัยก่อนมันเป็นธรรมเนียมเด็กชายต้องอยู่วัดกันทั้งนั้น แต่ละวัดมีเด็กเป็นฝูง จะไปอยู่วัดก็มีดอกไม้ธูปเทียนไปฝากตัวเป็นศิษย์พระ ทางวัดเขาก็จะมอบหน้าที่ให้อาจารย์องค์หนึ่งหรือสององค์ให้คอยดูแลเรื่องอาหารการกิน คอยควบคุมให้เด็กมันได้กินกันเป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วให้มันได้เรียนหนังสือ ได้รับการอบรมอะไรบ้าง ในเรื่องไหว้พระสวดมนต์ต์ เรื่องอุปัฏฐากพระ เป็นเวรผลัดกันตักน้ำ ขาดไม่ได้ ทำสวนครัวริมสระ ยกร่องปลูกมัน ทำกันทั้งนั้น อาหารนั้นข้าวก็ได้จากบิณฑบาต ส่วนแกงนี่ทางบ้านเขาจะส่งเป็นหม้อเขียว ๆ ของบ้านใครเด็กคนนั้นก็ไปเอามา หม้อแกงจึงมีมาก ข้าวก็พอฉัน แกงก็พอ บ้านพุมเรียง ข้าวปลามันอุดมสมบูรณ์
การได้อยู่วัดทำให้ความรู้เรื่องยาโบราณและยาสมุนไพรของท่านพุทธทาสภิกขุกว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ท่านยังได้ถูกหัดให้ชกมวย เนื่องจากเมืองไชยาเป็นแหล่งมวยที่มีชื่อเสียง ส่วนการละเล่นของเด็กวัดก็เป็นการละเล่นทั่วไป มีการละเล่นหนึ่งที่เด็กวัดจะนั่งรวมกลุ่มแล้วผลัดกันเล่าเรื่อง ซึ่งต้องเล่าให้ดี มิฉะนั้นจะถูกติถูกค้าน เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าไว้ว่า อ่านเพิ่มเติม
ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–ด้านครอบครัว
ท่านพุทธทาสภิกขุมีนามเดิมว่า เงื่อม พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย หรือวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ในสกุลของพ่อค้า ที่ตลาดพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านพุทธทาสภิกขุเกิดในช่วงเวลาปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นพุมเรียงยังเป็นที่ตั้งของตัวเมืองไชยา หรือจังหวัดไชยา ก่อนที่จะกลายมาเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน
บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ เซี้ยง พานิช ประกอบอาชีพหลักคือการค้าขายของชำ บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุมีเชื้อสายจีน เนื่องจากปู่ของท่านพุทธทาสภิกขุอพยพจากมณฑลฮกเกี้ยนในประเทศจีน มาเป็นช่างเขียนภาพสีบนกระจกที่เมืองไชยา ย่าของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อส้มจีน ซึ่งเชื้อสายของย่าอพยพจากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาอยู่เมืองไชยาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมบิดาของท่านพุทธทาสภิกขุใช้แซ่โข่วหรือข่อ (หรือโค้ว ในสำเนียงแต้จิ๋ว) ต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัตินามสกุลในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางราชการจึงเปลี่ยนนามสกุลของบิดาท่านเป็น พานิช เพราะตอนนั้นมีเพียงครอบครัวของท่านเท่านั้นที่ทำการค้าขาย อ่านเพิ่มเติม
พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)
พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด
ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ แห่งวัดชลประทานรังสฤษฎ์ และท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์
ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org
ธรรมะจากหลวงพ่อชา (คำสอนที่ง่ายๆ…เเต่ลึกซึ้ง)
โยม ไม้อันที่อาตมาถืออยู่นี่นะ มันสั้น หรือว่า มันยาว?
โยม ไม้อันนี้ธรรมชาติแท้ ๆ ของมันมีแค่นี้ เท่านี้ … มันไม่สั้น และก็ไม่ยาว
โยม ความต้องการที่จะให้ไม้นี้มันสั้นเข้า หรือยาวออก นั่นแหละ “ทุกข์”
ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเรายอมตามธรรมชาติที่มันเป็นอยู่ ยอมที่ไหน ทุกข์ก็ไม่เกิดที่นั่น
สมมุติว่าวันนี้ โยมหาเงินได้ ๑๐๐ บาท ธรรมชาติของมันแค่ ๑๐๐ บาท
จะอยากให้ได้มากกว่านั้น…ก็ไม่ได้
จะอยากให้ได้น้อยกว่านั้น…ก็ไม่ได้
หาได้ ๕๐ บาท ธรรมชาติของเขาก็แค่นั้น
หาไม่ได้เลย ธรรมชาติของมันก็เท่ากับหาไม่ได้เลย
ยอมตามธรรมชาติที่มันเป็นทุกอย่าง ทุกแห่ง ทุกข์ก็ไม่เกิด
ธรรมะอย่างนี้ปฏิบัติที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้
ใคร ๆ ก็ปฏิบัติได้ ปฏิบัติเมื่อไหร่ ที่ไหน…ทุกข์ก็ไม่เกิดเมื่อนั้น ที่นั่น
โยม อีกอย่างหนึ่ง สมมุติว่าถ้าเราจะปลูกต้นไม้
อันดับแรก เราต้องเตรียมดินให้ดี ขุดหลุมกว้างเมตร ลึกเมตร
คลุกดินด้วยปุ๋ยคอกอย่างดี แล้วจึงปลูกต้นไม้ลงไป
เมื่อปลูกแล้ว เราต้องคอยดูแล โดยหมั่นรดน้ำ พรวนดิน ดายหญ้า และล้อมรั้วกันอันตรายให้
หน้าที่ของเรามีเพียงแค่นี้ ทำให้ครบ ทำให้ดีที่สุด
ส่วนผลที่ต้นไม้จะให้นั้น บางชนิด ๑ ปีให้ผล
บางชนิด ๓ ปี ๕ ปี ๑๐ ปี
นั่นเป็นเรื่องของเขา เป็นเรื่องของต้นไม้เขาเอง อ่านเพิ่มเติม
ประวัติพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)–ตอนการเดินจงกรม
การเดินจงกรมนั้น คือการฝึกสมาธิในอิริยาบถเดินนั่นเอง เป็นอิริยาบถที่เหมาะเมื่อนั่งสมาธิพอสมควรแล้ว แต่ต้องการภาวนาต่อ ส่วนมากนักปฏิบัติมักจะสลับการนั่งสมาธิกับการเดินจงกรม อนึ่ง การเดินเป็นอุบายแก้ความง่วงเหงาหาวนอนที่ดี และเหมาะในเวลาฉันอาหารเสร็จใหม่ๆ หรือยามดึกดื่น พระพุทธองค์ทรงแสดงอานิสงค์ของการเดินจงกรมว่ามี ๕ อย่าง คือ
๑. อดทนต่อการเดินทางไกล
๒. อดทนต่อความเพียร
๓. มีอาพาธน้อย
๔. อาหารที่ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มรสแล้ว ย่อมย่อยไปด้วยดี
๕ สมาธิที่ได้ในขณะเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน
วิธีการเดินจงกรม หลวงพ่อให้กำหนดเส้นทางเดินจากระยะต้นไม้ ๒ ต้น หรือเครื่องหมายอะไรสักอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจน ห่างกันราว ๗-๘ วา (๒๐-๓๐ ก้าว) แล้วตั้งใจเดินกลับไปกลับมา โดยมีสติสัมปชัญญะในอิริยาบถแห่งการเดินนั้น สำหรับการทำความรู้สึกในขณะเดินจงกรม หลวงพ่ออธิบายไว้ดังนี้
“ก้าวเท้าขวาออกก่อน ให้พอดีๆ ให้นึกพุทโธ พุทโธ ตามก้าวเดินนั้น ให้มีความรู้สึกในอารมณ์นั้นไปเรื่อยๆ ถ้าเกิดฟุ้งซ่านหรือเหนื่อยก็หยุด กำหนดจิตให้นิ่ง กำหนดลมหายใจให้สบายเมื่อสบายพอสมควรแล้ว ก็ทำความรู้สึกกำหนดการเดินอีก ให้มีความรู้ตัวอยู่เรื่อยๆ ต้นทางออกก็ให้รู้จัก รู้จักหมด ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ทำความรู้สึกให้ติดต่อกันเรื่อยๆ ขณะที่เราเดินจงกรม บางทีความหวาดความสะดุ้งมันเกิดขึ้นมา เราก็ทวนมันอีก มันเป็นของไม่แน่ ความกล้าหาญเกิดขึ้นมา อันนี้มันก็ไม่แน่นอนเหมือนกัน ไม่แน่ทั้งหมดนั่นแหละ ไม่รู้จักจับอะไร นี่ทำปัญญาให้เกิดเลยทีเดียว ทำปัญญาให้เกิด ไม่ใช่รู้ตามสัญญา(ความจำ) รู้จิตของเราที่มันคิดมันนึกอยู่นี้ มันคิดนึกทั้งหมด เกิดขึ้นมาในใจของเรานี้แหละ…”
เหนื่อยพอสมควรก็หยุด แล้วออกจากทางจงกรม ให้ระวังต้องมีสติให้ติดต่อ ไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ให้มีสติอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดตอน
ขอขอบคุณ http://www.watkhaophaengma.com
ประวัติพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)–ตอนการฝึกสมาธิ
หลวงพ่อให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการฝึกสมาธิภาวนาว่า“เป็นการฝึกจิตของเราให้ตั้งมั่นและมีความสงบ เพราะตามปกติจิตนี้เป็นธรรมชาติดิ้นรนกวัดแกว่ง ห้ามได้ยาก รักษาได้ยาก ชอบไหลไปตามอารมณ์ต่ำๆ เหมือนน้ำชอบไหลสู่ที่ลุ่มเสมอ พวกเกษตรกรเขารู้จักกั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ในการเพาะปลูกต่างๆ มนุษย์เรามีความฉลาดรู้จักเก็บรักษาน้ำ เช่น กั้นฝาย ทำทำนบ ทำชลประทาน เหล่านี้ก็ล้วนแต่กั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ทั้งนั้น พลังงานไฟฟ้าที่ให้ความสว่างและใช้ทำประโยชน์อื่นๆ ก็ยังอาศัยน้ำที่คนเรารู้จักกั้นไว้นี่เอง ไม่ปล่อยให้มันไหลลงสู่ที่ลุ่มเสียหมด จิตใจที่มีการกั้น การฝึกที่ดี ก็ให้ประโยชน์อย่างมหาศาลเช่นกัน ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า จิตที่ฝึกดีแล้วความสุขมาให้ การฝึกจิตให้ดี ย่อมสำเร็จประโยชน์ดังนี้เป็นต้น”
หลวงพ่อไม่ได้จำกัดวิธีการเจริญภาวนา ผูกขาดลงไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง แต่ท่านเน้นว่า “แนวทางการทำสมาธิใดที่นำไปสู่การปล่อยวาง ไปสู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นทางปฏิบัติที่ถูกต้อง” แต่ท่านก็สอนให้ภาวนา “พุทโธ” หรืออานาปานสติ โดยท่านให้เหตุผลว่า “เป็นสิ่งที่ง่ายและสบายแก่นักปฏิบัติ เพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ตลอดเวลา ทุกอิริยาบถ ไม่ต้องสร้างหรือปรุงขึ้นมา”
“อาการบังคับตัวเองให้กำหนดลมหายใจ ข้อนี้เป็นศีล การกำหนดลมหายใจได้และติดต่อไปจนจิตสงบ ข้อนี้เรียกว่าสมาธิ การพิจารณากำหนดลมหายใจว่าไม่เที่ยง ทนได้ยาก มิใช่ตัวตน แล้วรู้การปล่อยวาง ข้อนี้เรียกว่าปัญญา
การทำอานาปานสติภาวนา จึงกล่าวได้ว่าเป็นการบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ไปพร้อมกัน และเมื่อทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้ครบ ก็ชื่อว่าได้เดินทางตามมรรคมีองค์ ๘ ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นทางสายเอก ประเสริฐกว่าทางทั้งหมด เพราะจะเป็นการเดินทางเข้าถึงพระนิพพาน เมื่อเราทำตามที่กล่าวมานี้ ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงพุทธธรรมอย่างถูกต้องที่สุด”
สำหรับอิริยาบถนั่งสมาธินั้น หลวงพ่อไม่พิถีพิถันมากนัก แต่ให้คำแนะนำสั้นๆ ง่ายๆ ว่า นั่งตัวตรง ดำรงสติมั่น เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ไม่นั่งหลังงอหรือหลังโกง ไม่เคร่งจนเกินไป ไม่เอียงไม่เอนไปทางซ้ายทางขวา ทำตัวให้สบายๆ นั่งเหมือนพระพุทธรูป
“เอาสติที่มันมีอยู่นี้ ตามลมเข้า ตามลมออก ตามลมเข้าไป ต้นลม กลางลม ปลายลม ให้มีสติสัมปชัญญะอยู่ที่ลมเท่านั้น เมื่อเราฝึกเช่นนี้พอสมควรแล้ว สติก็มีอยู่ เข้าก็มีสติ ออกก็มีสติ กลางลมก็มีสติ ต้นลมก็มีสติ จิตใจหรือความรู้สึกของเรา มันไม่มีเวลาหลีกไปเก็บเอาอารมณ์อื่น เพราะมันรู้อยู่ที่ตรงนี้ ทั้งลมเข้าลมออก ถ้าหากว่าจิตใจหรือความรู้สึกของเรา มันแส่ส่ายไปหาอารมณ์อื่น ก็แสดงว่าสติมันเผลอไปแล้ว ให้ตั้งสติขึ้นใหม่ ให้รู้จักว่ามันผ่านตรงนี้ๆ ดูไปเรื่อยๆ บางทีมันหนีไปที่ไหนตั้งนานแล้วก็ยังไม่รู้ อ้าวเผลอสติอีกแล้วก็ยกขึ้นมาใหม่ ถ้าเราทำอย่างนี้จะรู้จักต้นลม กลางลม ปลายลม ได้พอสมควร…”
ขอบอขอบคุณ http://www.watkhaophaengma.com
ประวัติพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)–ตอนวัตรปฏิบัติ
พระอาจารย์เที่ยง โชติธมฺโมปรารภถึงคำสอนของหลวงพ่อว่า “จุด ใหญ่ใจความที่หลวงพ่อเน้นหนักคือ เรื่องพระวินัยและการปฏิบัติ ข้อวัตรปฏิบัตินี่ทิ้งไม่ได้เลย หยุดไม่ได้ กิจสวดมนต์ ไหว้พระ ไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ให้หยุด..” เรื่องการเน้นหนักพระวินัยและข้อวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อนี้ พระครูบรรพตวรกิตศิษย์คนหนึ่งของหลวงพ่อ ได้ถ่ายทอดบรรยากาศอันเข้มขันในสมัยแรกๆ ไว้ว่า
กิจวัตรประจำวันก็ ตีสามตื่น มาประชุมทำวัตรเช้า โดยมากท่านจะมาก่อนลูกศิษย์ พอมาถึงศาลา ท่านก็นั่งสมาธิ ทำวัตรสวดมนต์ ทุกคนก็มาพร้อมหน้าพร้อมตากันและบางครั้งมีการเรียกชื่อ ถ้าพระเณรมีความย่อหย่อนในข้อวัตรปฏิบัติ หลบหน้าหลบหลัง ท่านก็เรียกชื่อถามหา ให้เวลา ๑๕ นาทีในการเดินมาถึงศาลา และเมื่อได้เวลา ๑๕ นาทีแล้ว ท่านก็เรียกชื่อ เสร็จแล้วจึงเริ่มทำวัตร นั่งสมาธิ ท่านก็อธิบายความหมายและสอนวิธีกำจัดนิวรณ์เบื้องต้น ทุกคนตั้งอกตั้งใจในการปฏิบัติ และท่านก็คอยมองอยู่เรื่อย ถ้านิวรณ์ครอบงำพระเณรองค์ไหน ท่านเห็นท่านก็ตะโกนไปเตือนให้รู้สึกตัวขึ้นมา
เมื่อถึงเวลาเลิก ท่านก็ย้ำเตือนอีกเรื่องทางกาย ทางกิริยาและจิต ท่านให้รู้ประจำอยู่เสมอ ทุกคนเงียบหมดถ้าท่านพูดขึ้นมา มีความเกรงกลัว ไม่กล้ากระดุกระดิก ไม่พูด หากจะพูดกันก็พูดค่อยที่สุด แล้วก็พากันจัดแต่งบริขารออกบิณฑบาต สายไกลก็ออกไปก่อน สายใกล้อยู่รอก่อน ส่วนท่านไปสายใกล้ ท่านไม่ไปบิณฑบาตที่บ้านก่อ ท่านบอกว่า ยังมีเชื้ออยู่ คือมีเชื้อยินดีกับสถานที่กับบุคคล ไปแล้วเห็นบ้านเรือนเห็นสถานที่เก่าๆ ที่เคยอาศัย เห็นพี่สาวน้องสาว เห็นลูกเห็นหลาน จิตจะวกไปติดอยู่ที่นั้น ถ้าไม่จำเป็นท่านไม่ไปบ้านก่อ ท่านไปบิณฑบาตบ้านกลาง
ช่วงที่สายไกลออกไปบิณฑบาตแล้ว ท่านก็จับไม้กวาด กวาดวัดก่อนออกบิณฑบาต กวาดแล้วก็เก็บไปด้วย บางวันไม่กวาดท่านก็เอาบุ้งกี๋มาเก็บใบไม้ตามทางเดินรอบๆ ศาลาเล็ก ลูกศิษย์ก็ทำด้วย เมื่อถึงเวลาก็ออกไปบิณฑบาต เราก็ทำกันอยู่อย่างนี้
ถึงเวลาบ่ายสามโมง ก็ปิดประตูหน้าต่างกุฏิ ถ้าตากจีวรตากผ้าไว้ก็ต้องเก็บเสียก่อน เพราะถ้ามีเหตุคือลมฝน จะได้ไม่ต้องวิ่งกลับไปเก็บ
การกราบก็มีอยู่ทุกครั้ง ก่อนลงจากกุฏิก็กราบ ถ้าไม่กราบลงเดินมาถึงกลางทางพอนึกขึ้นได้ ก็ต้องกลับไปกราบก่อน แล้วถือไม้กวาดและกาน้ำมาด้วย ผ้าสรงน้ำเอาหนีบรักแร้มาหรือไม่ก็พับแล้ววางไว้บนศีรษะ มาถึงศาลาก็เอาของวางลงแล้วเข้าไปกราบพระในศาลาใหญ่เสียก่อน กาน้ำวางไว้ที่อาสนะสงฆ์ ส่วนผ้าอาบน้ำนำออกมาด้วย ถ้ามีแดดก็เอาปิดศีรษะ แต่ไม่ใช่เอาคลุม เอาวางเป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วช่วยกันกวาดใบไม้ หลวงพ่อก็กวาด พระเณรกวาดเป็นแถว และไม่ได้ยินเสียงพูดคุยกัน ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ จะไม่พูดคุยกัน ได้ยินแต่เสียงทำงาน
เมื่อปัดกวาดเสร็จก็มาเตรียมน้ำใช้น้ำฉัน เมื่อก่อนก็ต้องตักและหามเอา หลวงพ่อเป็นคนจับเชือกและช่วยดึงถังน้ำขึ้นมา พระคอยรับถังน้ำ ตอนนั้นพระเณรก็มีไม่มากเท่าไร เริ่มตั้งแต่ ๖ องค์ ๘ องค์ ๑๐ องค์ เพิ่มขั้นเรื่อยๆ ตักน้ำขึ้นมาแล้วก็ช่วยกันหามไปทั้งคนแก่และหนุ่ม ได้ยินแต่เสียงทำงาน ไม่มีเสียงพูดคุยกัน ท่านคอยสังเกตตลอดเวลา พระเณรจึงมีความระมัดระวัง มีความยำเกรง และมีศรัทธากันจริงๆ
พอตักน้ำใช้น้ำฉันเสร็จ ก็เข้าไปในศาลาปัดกวาดปูอาสนะ คือกวาดข้างนอกก่อน กวาดไปตามลำดับ เพื่อไม่ให้ฝุ่นฟุ้งเข้าไปในศาลา กวาดข้างนอกศาลาเสร็จก็ถูศาลาและจัดอาสนะต่อจากนั้นก็สรงน้ำ เมื่อสรงน้ำแล้วก็แยกกันเข้าสู่ทางจรงกรม เดินจนถึงหกโมงเย็นพอได้ยินเสียงระฆัง จัดเก็บบริขารและปิดเสนาสนะ แล้วรีบมารวมกันที่ศาลา อ่านเพิ่มเติม