คลังเก็บผู้เขียน: admin
หลวงปู่มั่น สติปัฏฐาน เป็น ชัยภูมิ คือสนามฝึกฝนตน
หลวงปู่มั่น จิตเดิมเป็นธรรมชาติใสสว่าง
หลวงปู่มั่น มูลการของสังสารวัฏฏ์
หลวงปู่มั่น มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ
หลวงปู่มั่น มูลฐานสำหรับทำการปฎิบัติ
ประวัติ การงาน หลักธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (๘)
ประวัติ การงาน หลักธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (๘)
อย่าดังเกินไป
พ.ศ.๒๔๘๗ ท่านอาจารย์มั่นไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโคก อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านอีกครั้งหนึ่ง ตามความปรารถนาของท่านอาจารย์กงมา จิรปุญโญ
หมู่บ้านนี้เป็นเหมือนบ้านป่า การคมนาคมยังไม่ดี ที่ว่างเปล่าซึ่งไม่มีผู้ใดจับจองจึงมีมาก มีป่าไม้มาก ส่วนใหญ่เป็นพวกไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้ยาง ไม้ตะบาก ไม้ตะแบก ที่มีร่มเงาเหมาะแก่การสร้างวัดปฏิบัติกัมมัฏฐาน ทั้งอยู่ไม่ไกลเกินไปพออาศัยบิณฑบาตเลี้ยงชีพได้
การอยู่จำพรรษาที่บ้านโคกในครั้งที่ ๒ ปรากฏว่าได้มีพระเถระผู้เป็นศิษย์ของท่านมารวมตัวกันที่บ้านโคกนี้มาก ซึ่งก็พอดีกับที่ท่านอาจารย์มั่นอยากจะพบศิษย์อยู่ด้วยเหมือนกัน เพื่อจะได้แนะนำการปฏิบัติในขั้นสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป
อ่านเพิ่มเติม
พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต)
พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต)
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต [1] หรือที่นิยมเรียกด้วยความเคารพว่า “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต”[2][3][4][5] (20 มกราคม พ.ศ. 2413—11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) เป็นพระภิกษุชาวไทยสายธรรมยุตชื่อดังในประวัติศาสตร์พระกรรมฐานไทย เมื่อท่านเป็นพระภิกษุ ได้ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า แก่ประชาชน ทำให้ท่านมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก จึงทำให้แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นคำสอนพระวัดป่า (สายพระอาจารย์มั่น) หลังจากท่านมรณภาพลง ในปี พ.ศ. 2492 ยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนวปฏิบัติของท่านสืบมา โดยลูกศิษย์ของท่านเรียกว่า พระกรรมฐานสายวัดป่า หรือ พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านได้รับยกย่องจากผู้ศรัทธาให้เป็น พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า สืบมาจนปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
ปัจฉิมบท ในวัยชรานบแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา ท่านหลวงปู่มั่นมาอยู่ที่จังหวัดสกลนครเปลี่ยนอิริยาบทไปตามสถานที่วิเวกผาสุขวิหารหลายแห่ง คือ ณ เสนาสนะป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง (ปัจจุบันเป็นอำเภอโคกศรี สุพรรณ) บ้าง ที่ใกล้ๆ แถวนั้นบ้าง
ครั้นพ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยุ่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึงปีสุดท้ายแห่งชีวิต ตลอดเวลา ๘ ปี ในวัยชรานี้ท่านได้เอาธุระอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ทางสมถวิปัสสนาเป็นอันมาก ได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์เป็นประจำวัน ศิษย์ผู้ใกล้ชิดได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านไว้และได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเผยแพร่แล้วให้ชื่อว่า “มุตโตทัย” ครั้นมาถึงปี ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านมีอายุย่างขึ้น ๘๐ ปี ท่านเริ่มอาพาธเป็นไข้ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิดก็ได้เอาธุระรักษาพยาบาลไปตามกำลังความสามารถอาพาธก็สงบไปบ้างเป็นครั้งคราว แต่แล้วก็กำเริบขึ้นอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนจวนออกพรรษา อาพาธก็กำเริบมากขึ้น ข่าวนี้ได้กระจายไปโดยรวดเร็ว พอออกพรรษา ศิษยานุศิษย์ผู้อยู่ไกลต่างก็ทะยอยกันเข้ามาปรนนิบัติพยาบาล ได้เชิญหมอแผนปัจจุบันมาตรวจ และรักษาแล้วนำมาพักที่เสนาสนะป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคมเพื่อสะดวกแก่ผู้รักษา และศิษยานุศิษย์ที่จะมาเยี่ยมพยาบาล อาการอาพาธมีแต่ทรงกับทรุดลงโดยลำดับ
อ่านเพิ่มเติม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
สมุทัยของจิตที่ปิดธรรม แก้ว่าสมุทัยกว้างใหญ่นัก
ย่อลงคือความรักบีบใจทำลายขันธ์ ถ้าธรรมมีกับจิตเป็นนิจนิรันดร์
เป็นเลิศกันสมุทัยมิได้มี จงจำไว้อย่างนี้วิถีจิต
ไม่ต้องคิดเวียนวนจนป่นปี้ ธรรมไม่มีอยู่เป็นนิจติดยินดี
ใจจากที่สมุทัยอาลัยตัว ว่าอย่างย่อทุกข์กับธรรมประจำจิต
จิตคิดรู้เห็นจริงจึงเย็นทั่ว จะสุขทุกข์เท่าไรมิได้กลัว
สร่างจากเครื่องมัวคือสมุทัยไปที่ดี รู้เท่านี้ก็จะคลายหายความร้อน
พอดักผ่อนสืบแสวงหาทางดี จิตรู้ธรรมลืมจิตที่ติดธุลี
ใจรู้ธรรมที่เป็นสุข ขันธ์ทุกขันธ์แน่ประจำ
ธรรมคงเป็นธรรม ขันธ์คงเป็นขันธ์เท่านั้นแล อ่านเพิ่มเติม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงโอวาทธรรมให้ปรากฏไว้ เมื่อครั้งท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดสระปทุม (ปัจจุบันคือ วัด ประทุมวนาราม) กทม. ซึ่งปัจจุบันอาจค้นคว้าหาอ่านได้ไม่ง่ายนัก มีดังนี้ นมัตถุ สุคตัสสะ ปัญจธัมมักขันธานิ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมซึ่งพระสุคต บรมศาสดาศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ และพระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้านั้น บัดนี้ข้าพเจ้าจักกล่าวซึ่งธรรมขันธ์โดยสังเขปตามสติปัญญาฯ
ยังมีท่านคนหนึ่งรักตัวคิดกลัวทุกข์ อยากได้สุขพ้นภัยเที่ยวผายผัน
เขาบอกว่าสุขมีที่ไหนก็อยากไป แต่เที่ยวหมั่นไปมาอยู่ช้านาน
นิสัยท่านนั้นรักตัวกลัวตายมาก อยากจะพ้นแท้ๆ เรื่องแก่ตาย
วันหนึ่งท่านรู้จริงซึ่งสมุทัยพวกสังขาร ท่านก็ปะถ้ำสนุกสุขไม่หาย
เปรียบเหมือนดังกายนี้เอง ชะโงกดูถ้ำสนุกทุกข์คลาย
แสนสบายรู้ตัวเรื่องกลัวนั้นเบา ดำเนินไปเมินมาอยู่หน้าเขา
จะกลับไปป่าวร้องพวกพ้องเล่า ก็กลัวเขาเหมาว่าเป็นบ้า
เป็นอันจบเรื่องคิดไม่ติดต่อ ดีกว่าเที่ยวรุ่มร่ามทำสอพลอ อ่านเพิ่มเติม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
แก้ให้ตกเด้อ แก้บ่ตกคาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้นคาก้นย่างยาย คาย่างยายเวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิด ในภพทั้งสามภพทั้งสามเป็นเฮือนเจ้าอยู่
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อจันทร์ เพียแก่นท้าวเป็นปู่ นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดีเดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวขาวแดง แข็งแรงว่องไวสติปัญญาดีมาตั้งแต่กำเนิด ฉลาด เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักขรสมัยในสำนักของอา คือเรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะมีความทรงจำดี และมีความขยันหมั่นเพียรชอบการเล่าเรียนศึกษา
อ่านเพิ่มเติม
คติธรรม คำสอน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
คติธรรม คำสอน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
“การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์”
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า “ธรรมะของพระตถาคต เมื่อไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมเป็นของปลอมทั้งสิ้น แต่เมื่อไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยะเจ้าแล้วไซร้ ย่อมบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย”
เพราะเหตุใดหนอ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวเช่นนี้ พระอาจารย์ใหญ่ได้อธิบายไว้ว่า หากมีความพากเพียร แต่ยังเรียนในพระปริยัติธรรมอย่างเดียว นั้นยังใช้การไม่ได้ดี ก็ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติขัดเกลาจิตใจให้กิเลสนั้นหมดไป จึงจะถูกต้อง อ่านเพิ่มเติม
ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง ฯ จ.สกลนคร
ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง ฯ จ.สกลนคร
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อ จันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่ นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดี มาแต่กำเนิด ฉลาด เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอม อ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะมีความทรงจำดี และขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ
อ่านเพิ่มเติม
การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
รายละเอียด
การฝึกสมาธิ
โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส
ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร
การทำสมาธิเบื้องต้น ต้องชำระศีลให้บริสุทธิ์ ทำวัตรสวดมนต์บูชาพระ เจริญพรหมวิหาร 4 และสมาทานกรรมฐาน เดินสมาธิหรือเดินจงกรม การเดินสมาธิหรือเดินจงกรมเหมาะสำหรับคนที่มักมีความคิดฟุ้งมาก พระพุทธองค์กล่าวว่า ประโยชน์ของการเดินจงกรม มีดังนี้คือ
— ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย
— ทำให้ขาแข็งแรงเดินได้ทนและไกล
— เมื่อทำหลังอาหารทำให้อาหารย่อยง่าย
— สมาธิที่ได้จากการเดินจงกรมจะอยู่ได้นาน
อ่านเพิ่มเติม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ
พระปรมาจารย์ใหญ่สายกรรมฐาน
………………………….
“ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าเลิศ” “ได้สมบัติทั้งปวงไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตนเป็นบ่อเกิดแห่งสมบัติทั้งปวง”
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
วัดป่าสุทธาวาส ตำบลธาตุเชิงชุม
อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
กำเนิด
หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ท่านถือกำเนิดในสกุล แก่นแก้ว บิดาชื่อนายคำด้วง มารดาชื่อนางจันทร์ มีเพีย (พระยา) แก่นท้าวเป็นปู่ ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดีเดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคมพ.ศ.๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ( ปัจจุบันคือ บ้านคำบง ต.สงยาง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี ) มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี หลวงปู่มั่น องค์ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวขาวแดงแข็งแรงว่องไวสติปัญญาดีมาตั้งแต่กำเนิดฉลาดดี เมื่อ ท่านอายุได้ ๑๕ ปีได้บรรพชา เป็นสามเณรในสำนักวัดบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนามีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปรานีมาก เพราะ เอาใจใส่ในการเล่าเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้
อ่านเพิ่มเติม
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
“พระอริยเจ้าผู้เป็นบิดาของพระกรรมฐาน”
พระเดชพระคุณท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านเป็นสุดยอดพระอรหันต์แห่งยุค เป็นบิดาของพระกรรมฐานตำนานชีวิตและปฏิปทาของท่านถูกกล่าวขานกันไม่รู้จบ ท่านสำเร็จปฏิสัมภิทานุศาสน์ ๔ อย่าง คือ ๑. ธัมมปฏิ สัมภิทา คือ แตกฉานในธรรม ๒. อัตถปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในอรรถ ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในภาษา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในปฏิภาณ
ในพุทธศักราช ๒๔๗๘ ท่านบรรลุธรรมชั้นสูงสุดที่ ถ้ำดอกคำ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นท่านได้ธุดงค์ไปยังดอยนะโม ที่นได้พูดกับลูกศิษย์คือหลวงปู่ขาวว่า
“ผมหมดงานที่จะทำแล้ว ก็อยู่สานกระบุงตะกร้า พอช่วยเหลือพวกท่านและลูกศิษย์ ลูกหาได้บ้างเท่านั้น”
ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ เป็นครู เป็นพ่อ และเป็นต้นแบบของพระกรรมฐานที่ยึดมั่นในหลักพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ท่านถือธุดงค์และทรงผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ท่องเที่ยวธุดงค์ทางภาคอีสาน กลาง เหนือ ในประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศเขมร ประเทศพม่า ชอบอยู่ตามถ้ำและป่าลึก อาศัยบิณฑบาตกับชาวป่าชาวเขา เป็นผู้สมถะสันโดษ มักน้อยในลาภสักการะมีชีวิตเป็นอยู่ด้วยพระธรรมวินัยทุกอิริยาบถ
อ่านเพิ่มเติม
โครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รูปเหมือนของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
เชิญใส่บาตรพระอรหันต์และชมปรากฏการณ์พระธาตุนฤมิตรเสด็จจากแดนนาคาพิภพและพิธีเปิดบุญบารมี
รูปเหมือนพระอรหันต์สาวกองค์ใหญ่ที่สุดในโลก
กราบเรียนเชิญ ทุกๆท่านที่เคารพนับถือยิ่ง
ตามที่ท่านหลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ,พระอาจารย์สุริยันต์ จันทวัณโณ วัดป่าฉัพพรรณรังสี อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ ,หลวงพ่อเปลี่ยน ปัญญาปทีโป,ครูบาอริยชาติ อริยจิตโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ฯลฯ
ให้ริเริ่มโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รูปเหมือนของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
(องค์ใหญ่ที่สุดในโลก)โดยมีหน้าตักกว้าง ๑๘ เมตร สูง ๓๓ เมตร
ขณะนี้ได้ดำเนินการสร้างส่วนองค์พระสำเร็จแล้ว ๑๐๐ % ขณะนี้ทางโครงการได้ดำเนินการก่อสร้างราวกันตกชั้น ๒ และ ๓ และพื้นชั้นล่างเป็นพิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตและเหล่าบรรดาลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตจำนวน ๑๐๐ รูป เพื่อเป็นพุทธานุสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสติ เพื่อเปิดเป็นสถานที่สักการบูชาแห่งใหม่ของประเทศไทย
จึงขอเชิญท่านร่วมเชิดชูเกียรติประวัติหลวงปู่มั่น ถวายเป็นสมบัติของแผ่นดิน ดังกำหนดการดังนี้
อ่านเพิ่มเติม
ประวัติย่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ประวัติย่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2413 ที่บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในสกุลแก่นท้าว เป็นตะกูลนักรบ เพียแก่นท้าวเป็นปู่ ปู่เคยผ่านศึกทุ่งเชียงขวาง นายคำด้วงเป็นบิดา นางจันทร์เป็นมารดา นับถือพระพุทธศาสนาตลอดมา
บุคลิกลักษณะ ร่างเล็ก ผิวขาวแดง คล่องแคล่ว ว่องไว สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความประพฤติ อัธยาศัยเรียบร้อย ชอบศึกษาธรรมะ รักในเพศนักบวชประจำนิสัย
อุปสมบทอายุ 22 ปี ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณเป็นอนุศาสนาจารย์
ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามเบื้องยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4)
เดินธุดงค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะแรก 24 พรรษา บั้นปลายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 พรรษา ที่วัดป่าบ้านหนองผือ 5 พรรษา (2487-2492)
มรณะภาพ 2492 ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร อายุ 80 ปี
_____________________________________________________________ อ่านเพิ่มเติม
โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
“ผมปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเห็นบรรดาลูกศิษย์ มีความเข้มแข็งต่อแดนพ้นทุกข์ด้วยความเพียรทุกประโยค
ที่เต็มไปด้วยสติปัญญาเป็นหัวหน้างาน ไม่งุ่มง่ามเซอะซะต่อตัวเองตลอดธุระหน้าที่ทั้งหลาย
สมกับศาสนายอดเยี่ยมด้วยหลักธรรมที่สอนคนให้ฉลาดทุกแง่ทุกมุม
แต่ไม่ปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเห็นผู้ปฏิบัติที่มาอาศัยอยู่ด้วย เป็นคนอ่อนแอโง่เง่าเต่าตุ่น วุ่นวายอยู่กับอารมณ์เครื่องผูกพันด้วยความนอนใจ
และเกียจคร้านในกิจการที่จะยกตัวให้พ้นภัย ไม่ขยันคิดอ่านด้วยความสนใจในงานของตัวทุกประเภท
เพราะงานของพระผู้พร้อมแล้วเพื่อข้ามโลกข้ามสงสารเป็นงานชั้นเยี่ยม
ไม่มีงานใดในโลกจะหนักหน่วงถ่วงใจยิ่งกว่างานยกจิตให้พ้นจากห้วงแห่งวัฏทุกข์ งานนี้เป็นงานที่ทุ่มเทกำลังทุกด้าน แม้ชีวิตก็ยอมสละไม่อาลัยเสียดาย
จะเป็นจะตายก็มอบไว้กับความเพียร เพื่อรื้อถอนตนให้พ้นจากหล่มลึกคือกิเลสทั้งมวล ไม่มีการแบ่งรับแบ่งสู้เหมือนงานอื่น ๆ
จะรู้จะเห็นธรรมอัศจรรย์ที่ไม่เคยพบเคยเห็น ก็รู้และเห็นกันกับความเพียรที่สละตายไม่เสียดายชีวิตนี่แล วิธีอื่น ๆ ก็ยากจะคาดถูกได้”
โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ที่มา : หนังสือ “ประวัติ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ โดย พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน”
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.pajerosport-thailand.com/forum/index.php?topic=9374.0