ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ จ.ลำพูน

ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ จ.ลำพูน

ครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนามของ “ตนบุญ” หรือ “นักบุญ”อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่ได้สร้างประโยนช์แก่สังคมมากมายอาจพบว่ามีการเรียกอีกหลายอย่างว่า เช่น ครูบาเจ้าศรีวิชัย, พระครูบาศรีวิชัย,ครูบาศีลธรรม หรือตุ๊เจ้าสิริ แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองว่า พระชัยยาภิกขุหรือพระศรีวิชัยชนะภิกขุครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย มีนามเดิมว่า “เฟือน” หรือ
“อินท์เฟือน” บ้างก็ว่า “อ้ายฟ้าร้อง” เนื่องจากในขณะที่ท่านได้ถือกำเนิดนั้น ปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาท หวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์
ท่านเกิดในปีขาล เดือน ๙ เหนือ(เดือน ๗ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑ ค่ำ จ.ศ.๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๑ ที่บ้านปาง ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย และนางอุสามีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน มีลำดับดังนี้ คือ ๑. นายไหว ๒. นางอวน ๓. นายอินท์เฟือน (ครูบาศรีวิชัย) ๔. นางแว่น ๕. นายทา ทั้งนี้นายควายผู้เป็นบิดาของท่านได้ ติดตามผู้เป็นพ่อตาคือ หมื่นปราบ(ผาบ) ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างของเจ้าหลวงดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์(เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ ช่วง พ.ศ.๒๔๑๔-๒๔๓๑) ไปตั้งครอบครัวบุกเบิกที่ทำกินอยู่ที่บ้านปาง บ้านเดิมของนายควายอยู่ที่บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูนเดิม ในสมัยนั้นหมู่บ้านแถบนั้นยังทุลกันดารอยู่มากมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่มาก โดยเฉพาะชาวปกาเกอญอ
(กะเหรี่ยง) และในหมู่บ้านปางก็ ยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้านเลย จนเมื่อท่านมีอายุได้ ๑๗ ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัติยะ (ชาวบ้านเรียกว่าครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก) เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้นชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปางแล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา ในช่วงนั้นเด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ ๑๘ ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขันติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ ๓ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๒) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี ก็ได้เข้าอุปสมบทในพระอุโบสถ
วัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า สิริวิชโยภิกฺขุ มีนามบัญญัติว่า “พระศรีวิชัย” ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็น สรีวิไชย สีวิไช หรือ สรีวิชัย อ่านเพิ่มเติม

135 ปี “ครูบาศรีวิชัย” นักบุญแห่งล้านนา ศรัทธาไม่เคยจางหาย

135 ปี “ครูบาศรีวิชัย” นักบุญแห่งล้านนา ศรัทธาไม่เคยจางหาย

ครูบาศรีวิชัยองค์ใหญ่ที่วัดบ้านปาง

ช่วงนี้มีข่าวไม่ดีในวงการผ้าเหลืองหลายเรื่องชวนให้หลายๆ คนเสื่อมศรัทธากับวัดและพระสงฆ์ไปตามๆ กัน

แม้ศรัทธาในวัดหรือในพระสงฆ์จะเสื่อม แต่ศรัทธาในธรรมและการทำความดีจงอย่าเสื่อม พระพุทธเจ้าเองก่อนปรินิพพานก็ตรัสสั่งให้พระธรรมคำสั่งสอนเป็นศาสดาแทนพระองค์ มิใช่ให้ยึดถือตัวบุคคล

วันนี้ “ตะลอนเที่ยว” จึงอยากพาไปรู้จักกับพระสงฆ์ดีๆ ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ ซึ่งแม้ท่านจะมรณภาพไปแล้วแต่เราก็สามารถเรียนรู้ประวัติของท่านเพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตได้ นั่นก็คือ “ครูบาศรีวิชัย” พระสงฆ์ที่ได้ชื่อว่าเป็น “นักบุญแห่งล้านนา” เป็นพระนักพัฒนาและเป็นศูนย์รวมจิตใจและศรัทธาของผู้คนในภาคเหนือมาจนถึงทุกวันนี้

พิพิธภัณฑ์ครูบาศรีวิชัยที่วัดบ้านปาง

“ตะลอนเที่ยว” จะพาไปตามรอยครูบาศรีวิชัยในสถานที่สำคัญต่างๆ พร้อมกับเล่าประวัติของท่านให้ฟังไปพร้อมๆ กัน

ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักแพร่หลายที่สุดในฐานะที่เป็นผู้นำในการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ จนหลายๆ คนอาจคิดว่าท่านเป็นชาวเชียงใหม่ แต่แท้จริงแล้ว ครูบาศรีวิชัยมีถิ่นกำเนิดและเริ่มชีวิตภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ที่จังหวัดลำพูน โดยท่านถือกำเนิดขึ้นที่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2421 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 อ่านเพิ่มเติม

วัตถุมงคลของครูบาเจ้าศรีวิชัย

วัตถุมงคลของครูบาเจ้าศรีวิชัย

ในยุคที่ครูบาศรีวิชัยยังไม่ถึงแก่มรณภาพนั้น ผู้ที่ทำบุญกับครูบาศรีวิชัยจะได้รับความอิ่มใจที่ได้ทำบุญกับท่านเท่านั้น ส่วนการสร้างวัตถุมงคลนั้น ระยะแรก พวกลูกศิษย์ที่นับถือครูบาศรีวิชัยได้จัดทำพระเครื่องคล้ายพระรอดหรือพระคงของลำพูน โดยเมื่อครูบาปลงผมในวันโกน ก็จะเก็บเอาเส้นผมนั้นมาผสมกับมุกมีส่วนผสมกับน้ำรักกดลงในแบบพิมพ์ดินเผาแล้วแจกกันไปโดยไม่ต้องเช่าในระหว่างศิษย์ กล่าวกันว่าเพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ซึ่งก็ลือกันว่ามีอิทธิฤทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์
ส่วนเหรียญโลหะรูปครูบาศรีวิชัยนั้น พระครูวิมลญาณประยุต (สุดใจ วิกสิตฺโต) ชาวจังหวัดอ่างทองได้ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดลำพูนสร้างขึ้นให้เช่าเพื่อนำเงินมาช่วยในการปลงศพครูบาศรีวิชัย โดยให้เช่าในราคาเหรียญละ ๕ สตางค์ ทั้งนี้ สิงฆะ วรรณสัย ยืนยันจากประสบการณ์ที่ท่านรู้จักครูบาดีและได้คลุกคลีกับเรื่องพระเครื่องมาตั้งแต่ครูบายังไม่มรณภาพนั้นระบุว่าไม่มีเหรียญรุ่นดอยสุเทพ ไม่มีเหรียญที่ครูบาศรีวิชัยสร้าง หรือวัตถุมงคลอื่นใดที่ครูบาจะสร้างขึ้น นอกจากการให้พรและความอิ่มใจในการทำบุญกับท่านเท่านั้น แต่ในระยะหลังก็พบว่ามีการสร้างวัตถุมงคลของครูบาอยู่เป็นจำนวนมาก ในรูปแบบต่างๆ โดยผู้ที่ครอบครองวัตถุมงคลเหล่านั้นมีความศรัทธาในความดีของ “ตนบุญ”เป็นสำคัญ
(เรียบเรียงจากงานของ วิลักษณ์ ศรีป่าซาง, ประวัติครูบาศรีวิชัยร่วมกับหลวงศรีประกาศ ตอนสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ของ ส.สุภาภา ๑๐ พค.๒๕๑๘, สารประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย ของสิงฆะ วรรณสัย ศูนย์หนังสือเชียงใหม่ พฤศจิกายน ๒๕๒๒, และ ตำนานครูบาศรีวิชัยแบบพิศดารและตำนานวัดสวน-ดอก สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕๓๗)

http://www.oceansmile.com/N/Chianmai/Chiangmai2.htm

พระครูบาศรีวิชัย เชียงใหม่

พระครูบาศรีวิชัย เชียงใหม่

ครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตล้านนาว่าเป็น “ตนบุญ” หรือ “นักบุญ” อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน”ตุ๊เจ้าสิลิ”) แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองเป็น พระชัยยาภิกขุ หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ เดิมชื่อเฟือนหรืออินท์เฟือนบ้างก็ว่าอ้ายฟ้าร้อง เนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดนั้นปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ ท่านเกิดในปีขาล เดือน ๙ เหนือ(เดือน ๗ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑ ค่ำ จ.ศ.๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๑ ที่หมู่บ้านชื่อ “บ้านปาง” ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย นางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน มีชื่อตามลำดับ คือ ๑. นายไหว ๒. นางอวน ๓. นายอินท์เฟือน(ครูบาศรีวิชัย) ๔. นางแว่น ๕. นายทา
ทั้งนี้นายควายบิดาของท่านได้ติดตามผู้เป็นตาคือ หมื่นปราบ (ผาบ) ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างของเจ้าหลวงดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์(เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ ช่วง พ.ศ.๒๔๑๔-๒๔๓๑)ไปตั้งครอบครัวบุกเบิกที่ทำกินอยู่ที่บ้านปาง บ้านเดิมของนายควายอยู่ที่บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูน
ในสมัยที่ครูบาศรีวิชัยหรือนายอินท์เฟือนยังเป็นเด็กอยู่นั้น หมู่บ้านดังกล่าวยังกันดารมากมีชน กลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากโดยเฉพาะชาว ปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) ในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ ๑๗ ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัติยะ (ชาวบ้านเรียกว่า ครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก) เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้น ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปาง แล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา ในช่วงนั้น เด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ ๑๘ ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขัติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ ๓ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๒) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี ก็ได้เข้าอุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่งจังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะวัดบ้านโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า สิริวิชโยภิกฺขุ มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็น สรีวิไชย สีวิไช หรือ สรีวิชัย อ่านเพิ่มเติม

ครูบาศรีวิชัย

ครูบาศรีวิชัย

บทความนี้เกี่ยวกับพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงของภาคเหนือและประเทศไทย สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ศรีวิชัย

พระศรีวิชัย ( ชนะภิกขุ)
ครูบาศรีวิชัย

เกิด 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421
อุปสมบท พ.ศ. 2442
มรณภาพ 22 มีนาคม พ.ศ. 2481
พรรษา 39
อายุ 59
จังหวัด เชียงใหม่
ครูบาศรีวิชัย หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ (คำเมือง: ) พระมหาเถระซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สร้างถนนทางขึ้นพระบรมธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2477 จนได้รับการขนานนามว่า ตนบุญแห่งล้านนา[1] หมายถึงนักบุญแห่งล้านนา
เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติ
1.1 วัยเยาว์
1.2 หลังอุปสมบท
2 คำสอนที่สำคัญ
3 ทำดีไม่ได้ดี
4 บูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานแผ่นดินล้านนา
5 การเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะสงฆ์ในล้านนา
6 ความขัดแย้งของคณะสงฆ์ในล้านนา
7 การถูกจับกุม
7.1 การจับกุมในช่วงแรก พ.ศ. 2451-2453
7.2 การถูกจับกุมในระยะที่สอง พ.ศ. 2454-2464
7.3 การจับกุมในช่วงที่สาม พ.ศ. 2478-2479
8 สิ้นแห่งตนบุญล้านนา
9 อ้างอิง
10 แหล่งข้อมูลอื่น อ่านเพิ่มเติม

วิธีเจริญกรรมฐานภาวนา (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

วิธีเจริญกรรมฐานภาวนา (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

วิธีเจริญกรรมฐานภาวนา

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

จะแสดงวิธีเจริญกรรมฐานภาวนา เพื่อโยคาวจรกุลบุตรได้ศึกษาและปฏิบัติสืบไป โยคาวจรผู้ใดจะเจริญกรรมฐานภาวนา พึงตรวจดูจริตของตนให้รู้ชัด ว่า ตนเป็นคนมีจริตอย่างใดแน่นอนก่อนแล้วพึงเลือกเจริญกรรมฐานอันเป็นที่สบายแก่จริตนั้นๆ ดังได้แสดงไว้แล้วนั้นเถิด

อนึ่ง พึงทราบคำกำหนดความดังต่อไปนี้ไว้เป็นเบื้องต้นก่อน คือบริกรรมนิมิต หมายเอาอารมณ์ของกรรมฐานที่นำมากำหนดพิจารณา อุคคหนิมิต หมายเอาอารมณ์ของกรรมฐานอันปรากฏขึ้นในมดนทวาร ขณะที่กำลังทำการเจริญภาวนาอยู่อย่างชัดแจ้ง คล้ายเห็นด้วยตาเนื้อ ปฏิภาคนิมิต หมายเอาอารมณ์ของกรรมฐานอันปรกฏแจ่มแจ้งแก่ใจของผู้เจริญภาวนายิ่งขึ้นกว่าอุคคหนิมิต และพึงทราบลำดับแห่งภาวนาดังนี้ บริกรรมภาวนา หมายการเจริญกรรมฐานในระยะแรกเริ่มใช้สติประคองใจกำหนดพิจารณาในอารมณ์ กรรมฐานอันใดอันหนึ่ง อุปจารภาวนา หมายการเจริญกรรมฐานในขณะเมื่ออุคคหนิมิตเกิดปรากฏในมโนทวาร อัปปนาภาวนา หมายการเจริญภาวนาในขณะเมื่อปฏิภาคนิมิตปรากฏ จิตเป็นสมาธิแนบเนียน มีองค์ฌาณปรากฏขึ้นครบบริบูรณ์ อ่านเพิ่มเติม

7 วิธีตายอย่างสบายและคำสอนหลวงปู่มั่น

7 วิธีตายอย่างสบายและคำสอนหลวงปู่มั่น

๗ วิธีตายอย่างสบายใจ

๗ วิธีต่อไปนี้ ใช้ได้กับคนที่เหลือเวลาในชีวิตไม่ต่ำกว่า ๑ วันกับ ๑ คืนขึ้นไป หากเหลือเวลาน้อยกว่านั้นคงอ่านไม่ทันหรือทำความเข้าใจไม่ถูกหรือมีแก่ใจซักซ้อมไม่ได้
๗ วิธีต่อไปนี้ ไม่ได้มีไว้ให้คนที่รู้ตัวว่ากำลังจะตายเท่านั้น แต่ยังเหมาะสำหรับคนที่ไม่คิดว่ากำลังจะตายเร็วๆนี้ด้วย
๗ วิธีต่อไปนี้ เหมาะแม้สำหรับคนที่กำลังคิดจะฆ่าตัวตาย และอยากเตรียมใจพร้อมรับความตายโดยปราศจากความกระวนกระวาย เพราะทุกวิธีไม่มีคำขอร้องให้ใครอยู่ต่อ มีแต่การนำเสนอข้อเท็จจริงสำหรับเตรียมใจก่อนตายสถานเดียว
๗ วิธีต่อไปนี้ จะยืนพื้นอยู่บนความสามารถทำได้จริง ไม่ว่าคุณจะเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายอย่างไร เราจะหยุดกันแค่ที่การได้ตายอย่างสบายใจ อันควรเป็นยอดปรารถนาสุดท้ายของชีวิต ส่วนความจริงที่ปรากฏหลังตายจะตรงหรือไม่ตรงกับความเชื่อของใคร ค่อยปล่อยให้รู้เฉพาะตน
๗ วิธีต่อไปนี้ เพียงข้อใดข้อหนึ่งที่คุณทำได้ ก็พอเชื่อว่าคุณจะสบายใจในขณะเผชิญหน้ากับความตาย และหากทำได้มากกว่าหนึ่งข้อ ก็เป็นประกันได้ว่าไม่ใช่แค่สบายใจอย่างเดียว ความตายของคุณจะฝากรอยยิ้มไว้ให้โลกดูด้วยความประทับใจไปอีกนานทีเดียว อ่านเพิ่มเติม

ปาฏิหาริย์ในการขอถ่ายรูปหลวงปู่มั่น

ปาฏิหาริย์ในการขอถ่ายรูปหลวงปู่มั่น

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

รูปท่านพระอาจารย์ที่เราเห็นนั้น จะเป็นรูปที่ท่านตั้งใจให้ถ่ายทั้งหมด ถ้าท่านไม่ให้ ก็ไม่มีใครถ่ายติด นี่เป็นเรื่องจริง มีอยู่ครั้งหนึ่ง ขุนศรีปทุมวงศ์

มาอุปัฏฐากท่านพระอาจารย์ เที่ยวไปฟังเทศน์ไปอุปการะด้วยปัจจัย 4 เมื่อท่านฯ อาพาธ ขุนศรีฯ ก็ส่งหมอไป หมอฉีดยาให้ท่าน 2 เข็ม และให้ยาไว้ฉันด้วย หมอของขุนศรีฯ พักอยู่ที่นั่นถึง 3 วัน อาการดีขึ้น

ท่านก็บอกว่า “พอแล้วนะ ไม่ต้องมาฉีดอีก อาการหายแล้ว”
พอขึ้นไปครั้งที่สอง

หมอเอาช่างถ่ายภาพไปด้วย กราบนมัสการท่านว่า “พวกกระผมขออนุญาตถ่ายภาพท่านอาจารย์ไว้เป็นที่เคารพบูชา”

ท่านฯ ว่า “ไม่ได้ดอกโยมหมอ อาตมาไม่ให้ เพราะโยมหมอถ่ายภาพของอาตมาไป เพื่อจะทำการซื้อขาย หาอยู่หากิน กลัวโยมจะเป็นบาป อาตมาไม่ให้”
เขาก็กราบอ้อนวอน ท่านฯ บอกว่า “เราเป็นคน รู้จักภาษา ไม่ให้ ไม่ให้ เข้าใจไหมล่ะ ” เขาก็เลยเลิกไม่อ้อนวอนอีก อ่านเพิ่มเติม

ธรรมหลวงปู่มั่น

รรมหลวงปู่มั่น

บันทึกโดยพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร
( ปัจจุบันพระราชธรรมเจติยาจารย์ วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ )

ณ วัดป่าบ้านนามน
กิ่ง อ. โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร พ.ศ. ๒๔๘๖

ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อธรรมดังต่อไปนี้

๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า

๔. มูลฐานสำหรับทำการปฏิบัติ
๕. มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ
๖. มูลการของสังสารวัฏฏ์

๗. อรรคฐาน เป็นที่ตั้งแห่งมรรคนิพพาน
๘. สติปัฏฐาน เป็น ชัยภูมิ คือสนามฝึกฝนตน
๙. อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเลส อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชิ่อจันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปลี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะ มีความทรงจำดีและขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะการแสวงหาธรรมและปฏิปทา

เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนา มีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปราณีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดาเต็มความสามารถ

ท่านเล่าว่า เมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่เคยลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนหนหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า “เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก” คำสั่งของยายนี้คอยสกิดใจอยู่เสมอ อ่านเพิ่มเติม

เสือเทพนิรมิต (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

เสือเทพนิรมิต (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

พระที่ท่านชอบอยู่ป่าอยู่เขาอยู่ถ้ำและเงื้อมผา รู้สึกมีเรื่องสะดุดใจให้ท่านผู้อ่านได้คิดอยู่มากกว่าที่พักอยู่ในที่ธรรมดา ดังท่านอาจารย์องค์ที่กำลังนำลงอยู่เวลานี้ แม้จะถวายนามท่านว่า “นักเผชิญ” ก็ไม่น่าจะผิดและเสียความเคารพ เพราะการเผชิญก็เพื่อบุกเบิกหาธรรมของจริง การถวายนามก็อนุวัติไปตามปฏิปทาของท่านที่หนักไปในทางเป็นนักต่อสู้หรือเผชิญ โดยไม่ลดละล่าถอยให้เหตุการณ์นั้นๆ หัวเราะเยาะได้ การเป็นนักต่อสู้ในขณะที่กำลังเผชิญกับเหตุการณ์นี้ ท่านยังจะได้อ่านเรื่องของท่านไปเรื่อยๆ จนกว่าจะยุติ นี่ก็กำลังนำท่านผู้อ่านชมเหตุการณ์ที่ท่านเผชิญมา อ่านเพิ่มเติม

ฝึกฝนสมาธิ กับ หลวงปู่มั่น

ฝึกฝนสมาธิ กับ หลวงปู่มั่น

* วิธีปฏิบัติเบื้องต้น วิธีปฏิบัติตั้งแต่เบื้องต้นของการทำจิต คือ ให้พิจารณา
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ท่านพระอาจารย์มั่นได้ให้เหตุผลว่า “ทุกคนที่เกิดมาได้ไป
ติด คือ ยึดมั่นถือมั่นไม่มีที่อื่นหรอก โดยเฉพาะก็มายึดมั่นถือมั่นที่ ผม ขน เล็บ
ฟัน หนัง นี้เอง ให้พยายามพิจารณาให้ได้ตามความจริงแก่การยึดถือ ผม ขน
เล็บ ฟัน หนัง เป็นสิ่งสวยงามบ่ได้ ด้วยสามารถแห่งกำลังสมาธิ ก็จะเป็นทาง
ไปสู่ความเป็นอริยเจ้าได้”

* คำแนะนำอบรมทางจิตใจ “กรรมฐาน ๕ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ให้
พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงด้วยสามารถแห่งสมาธิการพูดนั้นเป็นการง่าย
นิดเดียว แต่การทำนั้นเป็นของยาก เช่นพูดว่า “ทำนา” เพียงเท่านี้ เราทำกันไม่รู้
กี่ปีไม่รู้จักแล้ว (แล้ว=เสร็จ) และปริยัติที่เรียนมานั้นให้เก็บไว้ให้หมดก่อน ใช้แต่
การพิจารณาตามความเป็นจริงเพื่อให้เกิดความสงบอย่างจริงจังสมาธิก็ดี มี
คำว่า ขณิก-อุปจาร-อัปปนา และมีคำว่า วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
แต่ถ้าเราจะให้ใจของเราเป็น ฌาน เรานั่งนึกว่า นี่วิตก นี่วิจาร นี่ปีติ นี่สุข
นี่เอกัคคตา มันจะเป็นฌานขึ้นมาไม่ได้ จึงจำต้องละถอนสัญญาภายนอกด้วย
สามารถแห่งอำนาจของสติ จึงจะเป็นสมาธิเป็นฌาน”ท่านพระอาจารย์มั่นได้
สอนแก่พระอาจารย์มหาทองสุข สุจิตฺโต (พระครูอุดมธรรมคุณ) ท่านได้บันทึก
คำสอนโดยย่ออีก ๑๑ ข้อ ที่หมู่บ้านแม่เจ้าทองทิพย์ อำเภอแม่สาย จังหวัด
เชียงราย ไว้ดังนี้ อ่านเพิ่มเติม

ประวัติโดยย่อ…หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ประวัติโดยย่อ…หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส อ. เมือง จ. สกลนคร

ชาติกาล ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓
ชาติภูมิ บ้านคำบง ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
บรรพชา เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี
อุปสมบท เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี
มรณภาพ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ สิริรวมอายุได้ ๘๖ ปี

คติธรรมคำสอน
ของ
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ธรรมชาติของดีทั้งหลาย ย่อมเกิดแต่ของไม่ดี มีอุปมาดังดอกปทุมชาติ อัน สวย ๆงามๆ ก็เกิดขึ้นมาจากโคลนตมอันเป็นของสกปรก ปฏิกูลน่าเกลียด แต่ว่าดอกบัวนั้น เมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่สะอาดเป็นที่ทัดทรงของพระราชา อำมาตย์ อุปราช และเสนาบดี เป็นต้น และดอกบัวนั้น มิได้กลับคืนไปยังโคลนตมนั้นอีกเลย
ฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่า ทำตามพระพุทธเจ้า ถ้าบุคคลไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษปรากฏว่า ปาปโก สทฺโท โหติ คือ เป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ
ธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมเป็นของปลอมทั้งสิ้น (สัทธรรมปฏิรูป) แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร้ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย
เมื่อยังเพียรเรียนแต่พระปริยัตธรรมฝ่ายเดียว ยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจจำกัดเหล่ากะปอมก่า คือกิเลสแล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

เรื่อง สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

เราทั้งหลายต่างเกิดมาด้วยวาสนา มีบุญพอเป็นมนุษย์ได้อย่างเต็มภูมิดังที่ทราบอยู่แก่ใจ อย่าลืมตัวลืมวาสนา โดยลืมสร้างคุณงามความดีเสริมต่อ ภพชาติของเราที่เคยเป็นมนุษย์ จะเปลี่ยนแปลงและกลับกลายหายไปเป็นชาติที่ต่ำทราบ

ท่านจึงสอนไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามกัน เมื่อเห็นเขาตกทุกข์หรือกำลังจน จนน่าทุเรศ เราอาจมีเวลาเป็นเช่นนั้นหรือยิ่งกว่านั้นก็ได้ เมือ่ถึงวาระเข้าจริง ๆ ไม่มีใครมีอำนาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะกรรมดีกรรมชั่วเรามีทางสร้างได้เช่นเดียวกับผู้อื่น

ผู้สงสัยกรรมหรือไม่เชื่อกรรมว่ามีผล คือลืมตน จนกลายเป็นผู้มืดบอดอย่างช่วยไม่ได้

กรรม คือการกระทำดีชั่ว ทางกายวาจาใจต่างหาก ผลจริงคือความสุขทุกข์ มนุษย์ก็มีกรรมชนิดหนึ่งที่พาให้มาเป็นเช่นนี้ ซึ่งล้วนผ่านกำเนิดต่าง ๆ มาจนนับไม่ถ้วน ให้ตระหนักในกรรมของสัตว์ว่ามีต่าง ๆ กัน เพราะฉะนั้น ไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามในชาติกำเนิด ความเป็นอยู่ของกันและกัน และสอนให้รู้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมดี กรรมชั่วเป็นของ ๆ ตน อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สอนเรื่องการกินเจ

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สอนเรื่องการกินเจ

“คนเรามันไม่ได้วิเศษเพราะการกินผักกินเนื้อนะ แต่มันวิเศษด้วยการกินเพราะการพินิจพิจารณาโดยแยบคาย อันผักหญ้าเนื้อนั้นมันไม่ได้รู้เรื่องดี เรื่องชั่ว เหมือนคนเรา จิตเราดอก

พระธรรมคำสอนแง่หนักเบาต่างหา
ก ที่เรานำมาพินิจพิจารณา แล้วนำมาสอนตนจะทำให้เราดีขึ้นได้ เรื่องกิน อยู่หลับนอน อะไร ๆ พระพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงบัญญัติไว้หมดแล้ว ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไรกับกินเจไม่กินเจ กินเนื้อ ไม่กินผัก กินแต่ผักไม่กินเนื้อ อันไหนกินได้ ฉันได้ ท่านก็บัญญัติไว้หมดแล้ว

ถ้าท่านคิดว่าการกินแต่ผักทำให้ท่านเลิศเลย เป็นผู้วิเศษขึ้นมาได้ อันนี้ผมก็สุดปัญญาที่จะสอนท่าน ถ้าการกินแต่ผักอย่างท่านว่า เป็นผู้บริสุทธิ์สิ้นกิเลส จบพรหมจรรย์ได้ มนุษย์ไม่ได้สิ้นกิเลสหรอก วัวควายเป็นต้นนั่นแหละมันจะสิ้นก่อน เพราะมันไม่ได้กินเนื้อ มันกินแต่ผักแต่หญ้า เต็มปากเต็มพุง มันกินแต่ผักแต่หญ้า ทำไมลูกมันถึงเต็มท้องไร่ทุ่งนา อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต, สกลนคร

พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต, สกลนคร

พิพิธภัณฑ์อาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ตั้งอยู่ในวัดป่าสุทธาวาส เดินทางไปตามถนนสุขเกษมจนถึงศูนย์ราชการจังหวัดมีทางแยกซ้ายไปอีกประมาณ 250 เมตร ตัวพิพิธภัณฑ์มีลักษณะการก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ประยุกต์สร้างด้วยกระเบื้องดินเผา ภายในพิพิธภัณฑ์มีรูปหล่อเหมือนองค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตในท่านั่งสมาธิ และมีตู้กระจกบรรจุอัฐิของท่านที่แปรสภาพเป็นแก้วผลึกใสสีขาว ยกฐานสูงพื้นปูด้วยหินอ่อน พร้อมทั้งตู้แสดงเครื่องอัฐบริขาร รวมทั้งประวัติความเป็นมาของท่านตั้งแต่เกิดจนมรณภาพพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว ที่ตำบลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี และอุปสมบทเมื่ออายุ 22 ปี ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี

ท่านเป็นพระที่ยึดมั่นในปฏิมาธุดงด์กรรมฐานเป็นวัตรมีพระในสายเดียวกับท่านอีกหลายองค์ ที่ได้เข้ามาปฏิบัติและฝึกวิปัสสนากรรมฐานตามแนวของท่าน เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ขาว อาลนาโยหลวงปู่แหวน สุจินต์โน เป็นต้น ในระยะหลังท่านเริ่มมีอาการป่วยบ่อย จึงย้ายจากการธุดงด์กรรมฐานเข้ามาจำพรรษาที่วัดป่าสุทธาวาส และมรณภาพเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492

http://www.thai-tour.com/thai-tour/northeast/sakonnakorn/data/place/pic-monk-mun.html

ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง ฯ จ.สกลนคร

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อ จันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่ นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2413 ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดี มาแต่กำเนิด ฉลาด เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอม อ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะมีความทรงจำดี และขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ

การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

เมื่อหลวงปู่มั่นอายุได้ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษา หาความรู้ ทางพระศาสนามีสวดมนต์ และพระสูตรต่าง ๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปราณีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ 17 บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วย การงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดา เต็มความสามารถ ท่านเล่าว่า เมื่อลาสิกขาไปแล้ว ยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่เคยลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัย ในทางบวช มาแต่ก่อนหนหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก คำสั่งของยายนี้ คอยสะกิดใจอยู่เสมอ อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต) หรือที่นิยมเรียกด้วยความเคารพว่า “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต” (20 มกราคม พ.ศ. 2413—11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) เป็นพระภิกษุชาวไทยสายธรรมยุตชื่อดังในประวัติศาสตร์พระกรรมฐานไทย เมื่อท่านเป็นพระภิกษุ ได้ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า แก่ประชาชน ทำให้มีท่านมีพระสงฆ์และฆราวาสที่เป็นลูกศิษย์จำนวนมาก จึงทำให้แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นคำสอนพระวัดป่า (สายพระอาจารย์มั่น) หลังจากท่านมรณภาพลง ในปี พ.ศ. 2492 ยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนวปฏิบัติของท่านสืบมา โดยลูกศิษย์ของท่านเรียกว่า พระกรรมฐานสายวัดป่า หรือ พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ด้วยเหตุนีจึงทำให้ท่านได้รับยกย่องจากผู้ศรัทธาให้เป็น พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า สืบมาจนปัจจุบัน

ภูมิหลัง

ชื่อเดิมคือ “มั่น แก่นแก้ว” ท่านเกิดที่บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม (ปัจจุบันคือ อำเภอศรีเมืองใหม่) จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายด้วง และนางจันทร์ แก่นแก้ว และได้อุปสมบทในธรรมยุติกนิกายเมื่ออายุ 22 ปี ในปี พ.ศ. 2436 ณ วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 โดยมีพระอริยกวีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณเป็นพระอนุสาวนาจารย์ อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต(โดยย่อ)

ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต(โดยย่อ)

ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
(ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
ชื่อเดิมของหลวงปู่คือ “มั่น แก่นแก้ว” ท่านเกิดที่บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม (ปัจจุบัน คือ อำเภอศรีเมืองใหม่) จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของ นายด้วง และนางจันทร์ แก่นแก้ว และได้อุปสมบทในธรรมยุติกนิกายเมื่ออายุ 22 ปี ในปี พ.ศ. 2436 ณ วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 โดยมีพระอริยกวีเป็นพระอุปัชฌาย์พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณเป็นพระอนุสาวนาจารย์
ก่อนหน้านี้หลวงปู่มั่นได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 15 ปี ณ วัดบ้านคำบง เมื่อบวชได้ 2 ปี บิดาขอร้องให้ลาสิกขา เพื่อช่วยการงานทางบ้าน จิตท่านยังหวนคิดถึงร่มผ้ากาสาวพัสตร์อยู่เนืองนิจ เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า “เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายากนัก” ครั้นอายุได้ 22 ปี จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และได้เข้าฝึกปฏิบัติธรรม ในสำนักวิปัสสนากับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ณ วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี จนกระทั่งท่านได้ออกจาริกเดินธุดงค์ตามสถานที่ต่างๆ เมื่อออกพรรษา แล้วไปศึกษาธรรมะจากพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) แห่งวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร แล้วออกจาริกไปอีกหลายที่หลายแห่ง จนกระทั่งถึงที่ถ้ำไผ่ขวาง น้ำตกเขาสาริกา จ.นครนายก

http://www.watpaarizona.com/newss/3935.html

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

“พระอริยเจ้าผู้เป็นบิดาของพระกรรมฐาน”

พระเดชพระคุณท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านเป็นสุดยอดพระอรหันต์แห่งยุค เป็นบิดาของพระกรรมฐานตำนานชีวิตและปฏิปทาของท่านถูกกล่าวขานกันไม่รู้จบ ท่านสำเร็จปฏิสัมภิทานุศาสน์ ๔ อย่าง คือ ๑. ธัมมปฏิ สัมภิทา คือ แตกฉานในธรรม ๒. อัตถปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในอรรถ ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในภาษา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในปฏิภาณ
ในพุทธศักราช ๒๔๗๘ ท่านบรรลุธรรมชั้นสูงสุดที่ ถ้ำดอกคำ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นท่านได้ธุดงค์ไปยังดอยนะโม ที่นได้พูดกับลูกศิษย์คือหลวงปู่ขาวว่า
“ผมหมดงานที่จะทำแล้ว ก็อยู่สานกระบุงตะกร้า พอช่วยเหลือพวกท่านและลูกศิษย์ ลูกหาได้บ้างเท่านั้น”
ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ เป็นครู เป็นพ่อ และเป็นต้นแบบของพระกรรมฐานที่ยึดมั่นในหลักพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ท่านถือธุดงค์และทรงผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ท่องเที่ยวธุดงค์ทางภาคอีสาน กลาง เหนือ ในประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศเขมร ประเทศพม่า ชอบอยู่ตามถ้ำและป่าลึก อาศัยบิณฑบาตกับชาวป่าชาวเขา เป็นผู้สมถะสันโดษ มักน้อยในลาภสักการะมีชีวิตเป็นอยู่ด้วยพระธรรมวินัยทุกอิริยาบถ อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .