เทศน์อบรม-ให้สัมภาษณ์หนังสือนิตยสาร “ดิฉัน”

เทศน์อบรม-ให้สัมภาษณ์หนังสือนิตยสาร “ดิฉัน”

(โดย คุณหญิงทิพยวดี ปราโมช ณ อยุธยา)

ที่กุฏิหลวงตา ณ วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๑ (เย็น)

ตอบข้อข้องใจ

หมอในเมืองกับหมอบ้านนอกนี่ต่างกันอยู่มากนะ พวกหมอบ้านนอกส่วนมากช่วยคนไข้จริง ๆ คนไข้วิ่งเข้าไปหานี่ จะทำไง ก็ต้องช่วยรักษาเขาเต็มไม้เต็มมือ เวลารักษาแล้วเขาไม่มีเงินให้ก็ต้องปล่อยไป ๆ แต่หมอในเมืองไม่เป็นอย่างนั้นนะ

หมอประเภทนี้กินไปเรื่อยเสียก่อนนะ กินไปเรื่อย พอเสร็จแล้วหยูกยานี้เท่าไรเป็นเงินสักเท่าไร รีดเอา ๆ แหลก ๆ นี่ละหมอในเมืองกับหมอบ้านนอกต่างกันอย่างนี้ นี้เป็นหลักความจริงเราไม่หาเรื่องอุตริ เรื่องของมันเป็นอย่างนี้ เลยหมอทุกวันนี้กลายเป็นปอบเป็นผีไป พอเห็นคนไข้เข้ามาโรงพยาบาลแล้ว ว่าวันนี้อาหารว่างเกิดแล้ว เป็นลักษณะนั้นนะ ไม่ได้มีความเมตตาอะไรทุกวันนี้ เพราะฉะนั้นใครจึงอยากจะเป็นหมอ ๆ เพราะมันเป็นหมาได้ง่าย รีดขูดกินตลอดเวลาไม่มีสนใจในเรื่องอรรถเรื่องธรรมเลย

เวลานี้จิตใจของหมอนี้เหือดแห้งมากที่สุด เราพูดจริง ๆ ตรงไปตรงมานี้ เราเคยพูดกับหมออย่างนี้เหมือนกัน ถ้าเราจะพูดแล้วไม่มีสะทกสะท้าน เราจะต้องพูดไปตามเหตุตามผลหลักเกณฑ์เท่านั้น อรรถธรรมเป็นอย่างนั้น ธรรมไม่ได้พูดอ้อมแอ้ม ๆ ต้มตุ๋นหลอกลวงเก่ง ๆ นั้นเรื่องกิเลสสกปรกหาความสะอาดไม่ได้ ประดับประดาหน้าร้านให้สวยงาม ข้างในมีแต่ขี้หมูราขี้หมาแห้ง แต่สำหรับธรรมแล้วตรงไปตรงมา เป็นภาษาที่สะอาด ภาษาตรงไปตรงมาคือภาษาธรรม ภาษากิเลสนี้สกปรกมากที่สุด

เวลานี้โลกเต็มไปด้วยกิเลส เพราะฉะนั้นมันถึงสกปรก ไปที่ไหนมีแต่ความเดือดร้อนเต็มบ้านเต็มเมืองหาความสุขไม่ได้ ใครอยู่ที่ไหน ๆ ใครอย่าว่ามีความสุขนะ หาความสุขไม่ได้ มันประดับประดาร้านเฉย ๆ ทางจิตใจมันเป็นฟืนเป็นไฟเผาไหม้กันด้วยความโลภ ราคะตัณหา ความโกรธ เต็มไปอยู่ในหัวใจ บีบบังคับอยู่นั้นเอาความสุขมาจากไหนคนเรา
อ่านเพิ่มเติม

คติธรรม – คำสอนหลวงตามหาบัว

คติธรรม – คำสอนหลวงตามหาบัว

“ถ้าทำด้วยความระมัดระวัง ความบกพร่องแม้มีก็ไม่มาก ฉะนั้นสติจึงสำคัญและมาอันดับหนึ่ง
ปัญญามาที่สอง การทำบุญตักบาตรเป็นความดี เป็นบุญแก่จิตใจ เมื่อมีโอกาสพอทำได้เมื่อไร
จึงควรทำเสมอ”

“ไปที่ใหนก็อย่าลืมพุทโธภายในใจ ให้พุทโธ ๆ เสมอไป ใจจะสงบเอง เป็นสุขอยู่กับตัว
ตลอดกาลสถานที่”

“การระวังตัวเองนั้นถูกต้องแล้ว ส่วนมากมักระวังแต่ผู้อื่น สิ่งอื่น ไม่ย้อนมาระวังตัวเอง
ซึ่งเป็นตัวการสำคัญบ้างเลย จึงมักผิดพลาดอยู่บ่อย ๆ ธรรมะท่านสอนให้ดูตัวเอง ระวังตัวเอง
จะได้เห็นความบกพร่องของตัวเองแล้วแก้ไขไปเรื่อย ๆจนสมบูรณ์ได้ จึงขออนุโมทนาด้วยนะ”

“ใจเราถ้าเฝ้าสังเกตดูอยู่โดยสม่ำเสมอกับการประกอบกิจทั้งปวง ย่อมจะมีวันรอบคอบไปด้วย
กับงาน ไม่บกพร่องทั้งใจและงาน จนกลายเป็นความเคยชินต่อการระวังรักษา”

“การไปทำบุญปกติย่อมไม่ขาดทุน มีแต่ได้กำไรทางจิตใจโดยถ่ายเดียว”

http://www.buddhaknowledge.org/th/?

บทสวดมนต์บูชาธาตุขันธ์หลวงตามหาบัว

บทสวดมนต์บูชาธาตุขันธ์หลวงตามหาบัว

1
การสวดมนต์ ของหลวงปู่มั่นนั้น ท่านสวดมาก สวดนานเป็นชั่วโมงๆ และสวดเป็นประจำทุกคืนมิได้ขาด สูตรยาวๆ เช่น ธรรมจักร (ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร) และมหาสมัย ท่านสวดเป็นประจำ ในกรณีพิเศษ เช่น เมื่อคราวท่านกับหลวงปู่เสาร์ไปวิเวกที่ท่าแขก ฝั่งประเทศลาว และชาวบ้านเกิดโรคฝีดาษกันทั้งหมู่บ้าน ท่านแผ่เมตตาใหญ่ในรอบ ๒๔ ชั่วโมงต่อ ๓ ครั้ง คือ เวลากลางวัน ตอนบ่ายขณะนั่งภาวนาครั้งหนึ่ง ตอนก่อนนอนครั้งหนึ่ง ตอนตื่นนอนครั้งหนึ่ง ส่วนการแผ่เมตตาปลีกย่อยประจำนิสัยนั้น มิได้นับอ่านว่าวันหนึ่งกี่สิบครั้ง และท่านกล่าวถึงอานุภาพของการสวดมนต์ไหว้พระว่า พุทธมนต์นั้นใครสวดก็ตามจะเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์ เช้า-เย็น หรือชาวพุทธทุกคนสวดพุทธคุณ:
• ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล
• พูดหรือออกเสียงพอฟังได้ มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนจักรวาล
• สวดมนต์เช้า-เย็นธรรมดา มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนโกฏิจักรวาล
• สวดเต็มเสียง สุดกู่ มีอานุภาพแผ่ไปได้อนันตจักรวาล
• แม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสามภพและที่สุดอเวจี มหานรก ยังได้รับความสุข
เมื่อแว่วเสียงพุทธมนต์ ผ่านลงไปชั่วขณะหนึ่งครู่หนึ่ง ดีกว่าหาความสุขไม่ได้เลยตลอดกาล (จาก“ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ” โดยหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน “รําลึกวันวาน”โดยหลวงตาทองคํา จารุวฺณโณ)
อ่านเพิ่มเติม

วิธีพิสูจน์จิตและพระพุทธศาสนา หลวงตามหาบัว ญานสัมปันโน

วิธีพิสูจน์จิตและพระพุทธศาสนา หลวงตามหาบัว ญานสัมปันโน

โอวาท
บรรยายแก่พระนวกะ วัดบวรนิเวศวิหาร พระนคร
เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๔

วิธีพิสูจน์จิตและพระพุทธศาสนา

ตามที่ได้รับเชิญให้มาบรรยายในวันนี้ จะแสดงในแนวปฏิบัติจิตใจมากกว่าทางอื่นเพื่อท่านที่สนใจทางด้านจิตตภาวนา จะได้นำไปปฏิบัติตามหลักภาวนาซึ่งมีหลายแขนงด้วยกัน ตามแต่จริตนิสัยของผู้ศึกษาอบรมจะเลือกเอาตามใจชอบ

ศาสนามีส่วนเกี่ยวข้องสำหรับการปกครอง ทั้งทางโลกและทางธรรม โลกมีอยู่หลายโลกด้วยกัน คือโลกแห่งมนุษย์ โลกแห่งสัตว์และโลกแห่งเทวดา มาร พรหมต่างๆ ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก ท่านแสดงไว้เพียงสามโลก คือกามโลก รูปโลก และอรูปโลก จะเป็นสัตว์ประเภทใดก็ตามที่ตกอยู่ในภูมิที่ควรสงเคราะห์เข้าในโลกสาม โลกใดโลกหนึ่ง ท่านก็สงเคราะห์เข้าในโลกนั้น ในที่นี้จึงไม่ขออธิบายไปมากเพื่อให้เหมาะกับเวลาที่มีจำกัด
พระพุทธเจ้าพระองค์เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก่อนที่จะเป็นศาสดาได้ ก็ทรงศึกษาธรรมในหลักธรรมชาติอยู่ถึง ๖ ปี ระยะเวลาที่ทรงศึกษาและปฏิบัติอยู่นั้น ทราบว่าทรงศึกษาอย่างแท้จริงทั้งการศึกษาและการปฏิบัติ ผิดหรือถูกย่อมกระทบกระเทือนสุขภาพทางพระกายและพระทัย ให้ได้รับทุกข์ลำบากเช่นเดียวกัน หากพระองค์จะทรงย่อท้อในการศึกษาและปฏิบัติธรรมเสีย แต่เวลาได้รับความลำบากทรมาน ก็คงเอาชนะกิเลสภายในพระทัยจนกลายเป็นศาสดานำศาสนามาสั่งสอนโลกไม่ได้ อ่านเพิ่มเติม

มิจฉาสมาธิ-สัมมาสมาธิ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

มิจฉาสมาธิ-สัมมาสมาธิ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

มิจฉาสมาธิ-สัมมาสมาธิ

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด

เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๕

เราเป็นนักบวชและเป็นผู้งดเว้นทุกอย่าง บรรดาที่เป็นข้าศึกต่อตนเองและส่วนรวม ท่านจึงให้นามว่า นักบวช แปลว่า ผู้งดเว้น คำว่า เว้น ในที่นี้หมายความว่า เว้นสิ่งที่เป็นข้าศึกที่จะทำให้เราเสีย จงสังเกตคำว่า นัก ถ้าขึ้นหน้าด้วยคำว่า นัก แล้วต้องเลื่องลือ เช่นคำว่านักเลง นักปล้นจี้ เป็นต้น ต้องเป็นคนเสียหายอย่างลือนาม ถ้าเป็นทางดี เช่น นักปราชญ์ นักบวช นักปฏิบัติ ย่อมเป็นไปเพื่อความดีเด่นเป็นส่วนมาก เฉพาะที่นี่จะอธิบายเกี่ยวกับนักบวช ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่งดเว้นสิ่งที่เป็นอกุศล และบำเพ็ญสิ่งที่เป็นกุศล คือความฉลาดเข้าให้มากเท่าที่จะมากได้ จนพอตัวแล้วก็ข้ามอุปสรรคคือกองทุกข์เสียได้ เพราะฉะนั้น เราทุกท่านบัดนี้ได้ทราบแล้วว่าเราเป็นนักบวช โลกก็ให้นามว่าเป็นนักบวช จงทำความรู้สึกในเพศของตนตลอดเวลาและทุกๆ อาการที่เคลื่อนไหวทางกาย วาจา ใจ

เราบวชในพระศาสนามีพระโอวาทเป็นเครื่องปกครอง พระโอวาทมีทั้งรั้วกั้น มีทางเดิน รั้วกั้น คือพระวินัย ปรับโทษแห่งความผิดไว้เป็นชั้น ๆ อย่างหนักก็มี อย่างกลางก็มี อย่างเบาก็มี นี่คือรั้วกั้นทางผิดไม่ให้ปลีกออก และเปิดทางที่ถูกไว้คือพระธรรมเพื่อดำเนินไปสู่จุดประสงค์ที่มุ่งหวัง พระวินัยเป็นรั้วกั้นสองฟากทาง ถ้าแยกออกไปแล้วแสดงว่าผิด แยกออกน้อยก็ผิดน้อย แยกออกมากก็ผิดมาก แยกออกไปจนถึงไม่กลับเข้าสู่ทางเลย ก็แสดงว่าผิดไปเลย เหมือนคนหลงทาง ถ้าหลงน้อยก็วกกลับเข้ามาได้เร็ว ถ้าหลงมากก็ทำให้เสียเวลานาน ยิ่งหลงไปเสียจริง ๆ ก็ไม่มีโอกาสจะถึงจุดประสงค์
อ่านเพิ่มเติม

สมถธรรม-วิปัสสนาธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ

สมถธรรม-วิปัสสนาธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ

เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด

เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๒

ปฏิปทาเครื่องดำเนินที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์มั่นพาดำเนินมา ไม่ว่าทางด้านธรรมด้านวินัย เป็นความถูกต้องดีงามทุกสิ่งทุกอย่าง เท่าที่ได้ไปอยู่กับท่านและสังเกตเต็มสติกำลังความสามารถของตนเรื่อยมา จนกระทั่งวาระสุดท้ายที่ท่านจากไป เป็นสิ่งที่ให้ดูดดื่มทั้งหลักธรรมหลักวินัยที่ท่านพาดำเนินไม่ให้ผิดเพี้ยนไปได้เลย

เฉพาะอย่างยิ่งพระวินัยท่านรักษาอย่างเข้มงวดกวดขัน ไม่ปรากฏว่าท่านได้ล่วงเกินพระวินัยข้อใดเลย นับแต่อาบัติทุกกฏขึ้นไปจนกระทั่งถึงสุดของพระวินัย ท่านเก็บหอมรอมริบเอาไว้หมด สมกับท่านเคารพพระพุทธเจ้าศาสดาองค์เอกอย่างแท้จริง ส่วนธรรมท่านก็ดำเนินด้วยความถูกต้องดีงาม

การฝึกอบรมบรรดาลูกศิษย์ท่านไม่ได้ถือเป็นแบบเดียว ในบรรดาธรรมะที่จะนำมาสั่งสอนบรรดาลูกศิษย์นั้น ย่อมมีหลายแง่หลายกระทง เช่นเดียวกันกับที่ท่านแสดงไว้ในกรรมฐาน ๔๐ นั่นคือท่านไม่ผูกมัดหรือไม่ผูกขาด ไม่บังคับบัญชาให้กำหนดเฉพาะธรรมบทใดก็ตามที่ท่านดำเนินมาแล้ว และให้เพื่อนฝูงดำเนินตามแบบของท่านโดยถ่ายเดียวเท่านั้นไม่ปรากฏ

ท่านแสดงเป็นกลาง ๆ ในบรรดาธรรมทั้งหลาย เช่น สมถธรรมที่อยู่ในห้องกรรมฐาน ๔๐ ท่านก็แสดงเป็นกลาง ๆ ไป แล้วก็มอบให้เป็นไปตามอัธยาศัยของผู้บำเพ็ญจะนำธรรมบทใดเข้าไปบริกรรมภาวนาก็ได้ เมื่อธรรมบทนั้นเห็นว่าเหมาะสมกับจริตนิสัยของตน แล้วได้ผลขึ้นมาในเวลาภาวนาด้วยความตั้งใจจริงจัง ท่านก็ให้พึงยึดธรรมบทนั้นไว้เป็นหลักเป็นเกณฑ์
อ่านเพิ่มเติม

ขันธ์ ๕ ต่างหากจากจิต หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ

ขันธ์ ๕ ต่างหากจากจิต หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ

เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด

เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๒๑

สิ่งภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆ มีอยู่ทั่วไปตลอดเวลาเมื่อมีสิ่งรับทราบกัน สิ่งเหล่านั้นจะสัมผัสสัมพันธ์ไม่ขาดวรรคขาดตอนกับสิ่งภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ความมีสติ มีปัญญาเครื่องพิสูจน์กลั่นกรองกับสิ่งที่มาสัมผัสย่อมได้อุบายขึ้นมาเรื่อยๆ ท่านเรียกว่าฟังเทศน์ เมื่อสิ่งเหล่านั้นมาสัมผัสสัมพันธ์กับตัวเราย่อมเป็นการปลุกความรู้สึกขึ้นมา เมื่อจิตใจมีความตั้งมั่นต่อเหตุผลหรืออรรถธรรมอยู่แล้ว ก็ทราบได้ทั้งสิ่งดีและชั่วที่มาสัมผัส การพิจารณาตามนั้นเรียกว่าเรียนธรรม ปฏิบัติธรรม การเกิดข้อข้องใจขึ้นมาก็เกิดจากสิ่งเหล่านั้น

การพิจารณาแก้ไขข้อข้องใจจนปลดเปลื้องตนไปได้ ก็อาศัยปัญญาพิจารณาให้ถูกทางตามหลักธรรมที่ท่านสอนไว้ จนผ่านพ้นไปได้เป็นพักๆ เป็นตอนๆ เรื่อยไปเรียกว่า เรียนความจริง ไม่ใช่เรียนให้เป็นความจำ เรียนเป็นความจำก็อย่างเราเรียนเราท่องตำรับตำราต่างๆ เรียกว่าเรียนเพื่อจำ นี้เรียนเพื่อความจริง คือ ความรู้จริงเห็นจริงตามหลักธรรมชาติที่เป็นจริงซึ่งมีอยู่ทั้งภายนอกภายใน
อ่านเพิ่มเติม

สติปัฏฐาน ๔ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

สติปัฏฐาน ๔ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด

เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕

การบำเพ็ญเพียรที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าและพระสัทธรรม คือ ความจงใจ ใคร่ต่อการประพฤติดีจริงๆ ธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกอย่าง ควรทำด้วยความจงใจ การประกอบการงานทุกประเภทถ้าขาดความจงใจแล้ว แม้จะเป็นงานเล็กน้อย ย่อมไม่สำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อยและน่าดูเลย เพราะความจงใจ เป็นเรื่องของสติและหลักใจ ที่จะยังงานนั้นๆ ให้สำเร็จได้ขาดไปจากตัวและวงงาน ผู้มีสติและหลักใจประจำตัวและงาน จึงชื่อว่าผู้มีความเพียรไปในตัว

ทั้งกิจนอกการใน ถ้าขาดความจงใจ เป็นเครื่องจดจ่อต่องานแล้ว แม้ผู้เป็นนายช่างทำสิ่งต่างๆ ซึ่งมีความฉลาดอยู่บ้าง ทำอะไรมีความสวยงามและแน่นหนามั่นคง แต่ถ้าขาดความจงใจใคร่ต่องานแล้ว แม้งานนั้นจะสำเร็จก็ย่อมลดคุณภาพและความสวยงาม ฉะนั้น ความตั้งใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยผู้มุ่งต่อผลของงานอันสมบูรณ์จึงไม่ควรมองข้ามไป

เราเป็นนักบวชและนักปฏิบัติ ควรเห็นความตั้งใจจดจ่อต่อธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกประเภท โดยมีความรู้สึกอยู่กับงานนั้นๆ แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัด เช็ดถูกุฏีและศาลา ปูอาสนะ ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน ตลอดการเคลื่อนไหวไปมา เหลือบซ้ายแลขวา ควรมีสติประจำอยู่ทุกๆ ขณะ ชื่อว่าผู้มีความเพียรประจำตน
อ่านเพิ่มเติม

วิธีปฏิบัติธรรมเบื้องต้น พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน

วิธีปฏิบัติธรรมเบื้องต้น พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน

เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด

มนุษย์เราต้องมีเพื่อนมีฝูง มีพวกมีคณะ ไม่ว่าแต่ฆราวาสหญิงชาย แม้มาบวชเป็นพระเป็นเณรแล้วก็ยังไม่พ้นจากความอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นคณะ ผิดกับสัตว์บางประเภทซึ่งเขาอยู่ตัวเดียว สัตว์ป่าบางประเภทอยู่ตัวเดียว บางประเภทก็เป็นหมู่เป็นคณะ เป็นฝูงๆ แต่มนุษย์เรานี้ไม่ว่าที่ใดๆ ทั่วโลก ไม่ปรากฏว่าอยู่คนเดียว ไม่ว่าประเทศไหนทวีปใด ก็ต้องมีหมู่มีคณะ เป็นครอบครัว เป็นสังคม เป็นหมู่ๆ พวกๆ ทั่วดินแดน จะว่ามนุษย์ขี้ขลาดก็ถูก เป็นนิสัยของมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาที่ต้องเกี่ยวข้องกันอยู่ร่วมกันเรื่อยมาแต่ดึกดำบรรพ์

นี่เราเป็นพระ เป็นเพศที่เด็ดเดี่ยวอาจหาญ ตามหลักธรรมและนิสัยของนักบวชควรจะอยู่ลำพังองค์เดียว แต่หลักใหญ่ก็ต้องอยู่เป็นหมู่เป็นคณะ เกี่ยวข้องกับหมู่เพื่อนเพศเดียวกันอยู่โดยดี แม้จะออกไปบำเพ็ญในสถานที่ต่างๆ ด้วยความเป็นผู้มีตนคนเดียว แต่โอกาสหรือความจำเป็นที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับหมู่กับคณะ กับครูบาอาจารย์ เพื่อการศึกษาปรารภข้ออรรถข้อธรรมต่างๆ ย่อมมีอยู่เป็นวรรคเป็นตอน สุดท้ายก็ไม่พ้นจากความเป็นสัตว์หมู่สัตว์คณะอีกเหมือนกัน เป็นแต่เพียง ลัทธิ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักธรรมวินัย ที่แสดงออกของพระกับฆราวาสนั้นต่างกันเท่านั้น พระมีกฎมีระเบียบตามหลักธรรมวินัยเป็นเครื่องประพฤติดำเนิน การแสดงออกทุกแง่ทุกมุม จึงเป็นไปตามหลักธรรมหลักวินัย ไม่ว่าจะแสดงทางจิต คิดออกมาด้วยเหตุผลกลไกอันใด ต้องระวังสำรวมในความคิดผิดหรือถูกอยู่โดยดี ความผิดนั้นถ้าไม่ผิดธรรมก็ต้องผิดวินัย ไม่ผิดวินัยก็ต้องผิดธรรม การผิดวินัยเป็นความหยาบ ผิดธรรมเป็นความละเอียด เป็นเรื่องของกิเลสประเภทหยาบ จำต้องได้ระมัดระวังเพราะเรามาแก้กิเลส จึงไม่ควรนอนใจในความคิด การพูด การกระทำ ทุกอาการที่แสดงออก
อ่านเพิ่มเติม

กำเนิดแห่งภพ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

กำเนิดแห่งภพ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

กำเนิดแห่งภพ

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔

คำว่าความเกิดแก่เจ็บตาย ซึ่งมีอยู่ทุกตัวสัตว์และบุคคล รู้ ๆ เห็น ๆ กันอยู่อย่างเปิดเผยนี้ มีสาเหตุเป็นมาจากใจเป็นตัวแกนสำคัญ ซึ่งเป็นที่ฝังจมอยู่แห่งเชื้อที่จะพาให้เกิดแก่เจ็บตาย มีใจดวงเดียวเท่านั้นเป็นผู้รับเชื้อเหล่านี้ไว้ เมื่อเชื้ออันเป็นสาเหตุที่จะพาให้เกิดมี สัตว์โลกทุกตัวทุกรายจะไม่เกิดไม่ได้ ต้องเกิดเพราะเชื้อบังคับให้เกิด การที่จะเกิดเป็นดีและชั่วต่าง ๆ นั้นเป็นวิบาก คือผลที่เกิดขึ้นจากการทำดีทำชั่วของตน พาให้เป็นไปต่าง ๆ กัน แต่หลักใหญ่ก็คือจิตเป็นแกนอันสำคัญ ที่จะให้เชื้อฝังจมอยู่ได้หรือแทรกอยู่ได้ มีใจเท่านั้น

สิ่งที่กล่าวว่าความเกิดแก่เจ็บตายนี้ ไม่ได้เป็นของลี้ลับ เห็นกันอยู่ทุกตัวสัตว์ตัวบุคคล แม้แต่สัตว์เดรัจฉานเขายังกลัวเรื่องความตาย เพราะเขารู้ แต่รู้เพียงผลของมันเท่านั้น แต่โลกไม่สามารถที่จะรู้สาเหตุและละสาเหตุถอดถอนสาเหตุแห่งความเกิดแก่เจ็บตายอันเป็นที่หนุนมาแห่งความทุกข์ทั้งหลายได้ สัตว์โลกทั้งหลายไม่รู้ จึงต้องพากันเวียนว่ายตายเกิด ไม่ว่าสถานที่เกิดกำเนิดที่อยู่จะเป็นเช่นไร เจ้าของบงการหรือบังคับบัญชาเอาตามต้องการไม่ได้ ย่อมเป็นไปตามหลักแห่งวิบาก อันมีเชื้อพาให้เกิดเป็นเครื่องผลักไสออกมา แล้วก็ให้ไปเกิดในที่สูง ๆ ต่ำ ๆ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ
อ่านเพิ่มเติม

หลวงตามหาบัว มรณภาพแล้ว สิริอายุ 98 ปี

หลวงตามหาบัว มรณภาพแล้ว สิริอายุ 98 ปี

เมื่อเวลา 03.53 น.ของเช้าวันนี้ (30 มกราคม 2554) หลวงตามหาบัวญาณสัมปัณโณ หรือ พระธรรมวิสุทธิมงคล เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานีได้มรณภาพแล้ว สิริอายุ 98 ปี

หลวงตามหาบัว อาพาธด้วยอาการลำไส้อุดตัน และปอดติดเชื้อมานานกว่า 6 เดือน ซึ่งคณะแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น และโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ได้ร่วมให้การรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยสร้างกุฎิปลอดเชื้อภายในวัด เพื่อให้หลวงตาพักฟื้น

โดยคำชี้แจงของคณะแพทย์ ตรวจพบสมองของหลวงตาหยุดทำงานในเวลา 02.49 น. เวลา 03.25 น.ตรวจพบม่านตาขยายไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองที่ฝ่ามือฝ่าเท้า เวลา 03.40 น.ออกซิเจนในเลือดมีค่าเท่ากับ 0 จากนั้นในเวลา 03.53 น.ความดันโลหิตมีค่าเท่ากับ 0 หัวใจหยุดเต้น และหยุดการหายใจ รวมสิริอายุ 97 ปี 5 เดือน 18 วัน ซึ่งคณะสงฆ์ จะประกอบพิธีเคลื่อนย้ายร่างหลวงตามหาบัวจากกุฏิปลอดเชื้อมาให้พุทธศาสนิกชนสรงน้ำในเวลา 09.00 น.
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน โดยย่อ หน้า 3

ประวัติหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน โดยย่อ หน้า 3

อดีตเจ้าอาวาสและก่อตั้งวัดป่าวิเวกวัฒนาราม อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
โปรด…ชาวอังกฤษ ฝรั่งชาวพุทธในอังกฤษ มีความสนใจต่อการปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก กราบขออาราธนานิมนต์ให้ท่านเมตตาเดินทางไปโปรด เพื่อบรรยายสอนธรรม ท่านก็เมตตาไปในช่วง ๗-๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๗ โดยมีพระชาวอังกฤษและแคนาดา ที่จำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าบ้านตาด ติดตามไปด้วย แม้ระยะต่อมาก็ประสงค์อยากกราบขอนิมนต์ท่านไปอีก แต่ด้วยปัญหาเรื่องสุขภาพและวัยชราท่านจึงงดเดิน
ทางไปเทศนาตามสถานที่ต่าง ๆ ในต่างประเทศ
สงเคราะห์…โรงพยาบาล ด้วยเหตุที่ท่านเคยเห็นสภาพคนไข้ ที่ต่างรอความหวังจากหมอ ว่าเป็นสภาพที่น่า
สงสารมาก เหมือนคนจนตรอกจนมุม เมื่อวิ่งมาหาหมอ หากไม่มี ีเครื่องมือที่ทันสมัยที่ดีพอ ก็ก้าวไม่ออกรักษา
ไม่ได้ และสภาพคนชนบทก็เป็นคนยากจนส่วนมากการบำบัดรักษาถ้าพอเป็นไปได้ก็ควรให้การรักษาใกล้บ้าน
จะได้ไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินทองมากในการเดินทาง ตลอดสถานที่พักอาศัยการกินอยู่หลับนอนด้วยเหตุนี้ท่าน
จึงให้ความเอาใจใส่ต่อสถานพยาบาลต่าง ๆ ตลอดมาแบบเงียบๆ จนถึงขณะนี้ท่านได้สงเคราะห์ช่วยเหลือ
โรงพยาบาลในจังหวัดต่าง ๆ กว่า ๑๐๐ โรง โดยทั้งก่อสร้างตึกอาคารผู้ป่วย สงฆ์อาพาธ ห้องผู้ป่วย ห้องผ่าตัด ตั้งกองทุนศูนย์พิทักษ์ดวงตา กองทุนสงเคราะห์คนพิการ ซื้อที่ดิน บริจาครถยนต์พยาบาล และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น เครื่องเอกซเรย์ อุลตร้าซาวด์ เครื่องตรวจคลื่นหัวใจ เครื่องช่วยชีวิตเด็ก ช่วยหายใจเด็กทารก เครื่องคลอด เตียงทำฟัน ฯลฯ รวมแบ่งเป็นประเภท ๆ ของรายการการสงเคราะห์ รวมแล้วกว่า ๕๐๐ รายการ
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน โดยย่อ หน้า 2

ประวัติหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน โดยย่อ หน้า 2

อดีตเจ้าอาวาสและก่อตั้งวัดป่าวิเวกวัฒนาราม อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
โหมความเพียร จากการได้ศึกษากับผู้รู้จริง ได้รับอุบายต่าง ๆ มากมาย และหักโหมความเพียรเต็มกำลัง ชนิดนั่งสมาธิภาวนาตลอดรุ่งถึง ๙ คืน ๑๐ คืนโดยเว้น ๒ คืนบ้าง ๓ คืนบ้าง ทำให้ก้นของท่านระบมจนถึงกับ
แตกพอง เลอะเปื้อนสบงเลยทีเดียว แต่จิตใจที่เคยเสื่อมนั้น กลับเจริญขึ้น ๆ จนสามารถตั้งหลักได้
จริงจัง ท่านถูกจริตกับการอดอาหาร เพราะทำให้ท่านตัวเบา การภาวนาง่ายสะดวก และจิตใจเจริญขึ้น
ได้ดีจึงมักงดฉันอาหารติดต่อกันเป็นเวลานาน คราวหนึ่งท่านออกวิเวกแถบป่าใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชาวบ้าน
ไม่เห็นท่านออกบิณฑบาตนานจนผิดสังเกต ถึงขนาดหัวหน้าหมู่บ้านต้องตีเกราะเรียกประชุมกัน ด้วยลือกันว่า
ไม่ใช่ท่านตายแล้วหรือก็เคยมี
นักรบธรรม ท่านไม่เห็นแก่การกินการนอนมากไปกว่าผลแห่งการปฏิบัติธรรม ดังนั้นในช่วงบำเพ็ญเพียร สภาพร่างกายของท่าน จึงเป็นที่น่าตกอกตกใจแก่ผู้พบเห็นอย่างมาก แม้ท่านพระอาจารย์มั่นเองเห็นท่าน
ซูบผอมจนผิดสังเกต ชนิดหนังห่อกระดูก ทั้งผิวก็ซีดเหลืองเหมือนเป็นดีซ่าน ท่านถึงกับทักว่า
“โฮ้ ทำไมเป็นอย่างนี้ล่ะ” แต่ด้วยเกรงว่าลูกศิษย์จะตกใจและเสียกำลังใจ ท่านพระอาจารย์มั่นก็กลับพูด
ให้กำลังใจในทันทีนั้นว่า “มันต้องอย่างนี้ซิ จึงเรียกว่า นักรบ” ท่านเคยเล่าถึงความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับกิเลส เพื่อจะเอาแพ้เอาชนะกันว่า “ถ้ากิเลสไม่ตาย เราก็ต้องตาย จะให้อยู่เป็นสองระหว่างกิเลสกับเรานั้น ไม่ได้”
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน โดยย่อ หน้า 1

ประวัติหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน โดยย่อ หน้า 1

อดีตเจ้าอาวาสและก่อตั้งวัดป่าวิเวกวัฒนาราม อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
นาม บัว โลหิตดี
ชาติภูมิ ในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะกิน ณ บ้านตาด อุดรธานี
เกิดเมื่อ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖
บิดา
มารดา พี่น้องทั้งหมด ๑๖ คน
สถานภาพ

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
สมัยเด็ก เคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยได้ร่วมทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ
วัยหนุ่ม เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำงานอะไร
ทำจริงๆ จังๆ เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวง
คู่ครอง เดิมไม่เคยคิดจะบวช เพราะอยากมีครอบครัว แต่มักมีอุปสรรคให้แคล้วคลาดทุกทีไป
เหตุที่บวช เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ่อแม่ขอร้องให้บวชตามประเพณีอยู่หลายครั้ง ท่านก็ทำเฉย ๆ ตลอดมา ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธแต่อย่างใด ในครั้งสุดท้ายนี้ ด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้า หวังพึ่งใบบุญจากการบวชของลูกให้ได้ ถึงกับทำให้พ่อแม่น้ำตาร่วง ครั้งนี้ท่านรู้สึกสะเทือนใจและเห็นใจพ่อแม่มาก จึงตัดสินใจ และยอมบวชตามประเพณี เพื่อตอบแทนพระคุณพ่อแม่ โดยตั้งใจไว้ในตอนต้นนี้ว่า จะบวชเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น
วันบวช ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ วัดโยธานิมิตร อุดรธานี
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน (ย่อ)

“เวลามีชีวิตอยู่นี้ เราจะทำความดีให้โลกทั้งหลายได้เป็นคติตัวอย่างอันดีงาม
และทำด้วยความเมตตาสงสารต่อโลก เพราะหลังจากนี้แล้ว…เราตายแล้ว…
เราจะไม่กลับมาเกิดในโลกนี้อีกต่อไป เป็นตลอดอนันตกาล”

นี้…เป็นสัจจะวาจา ของท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน พ่อแม่ครูอาจารย์… องค์หลวงตา… ของปวงศิษย์ทุกคน ที่ประกาศต่อชาวโลกอย่างองอาจกล้าหาญ กิตติศัพท์กิตติคุณกึกก้องกังวาล ทำโลกธาตุให้สะเทือนสะท้าน ดุจพระยาไกรสรสีหราชผู้เป็นจอมไพร บันลือสีหนาทด้วยอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ภิกษุผู้เฒ่าในวัยอันชราภาพมากแล้ว ได้ประกาศแสนยานุภาพแห่งพระพุทธศาสนา ดัวยเมตตาธรรมอันบริสุทธิ์ล้ำค่าไม่มีประมาณ ก่อให้เกิดคุณูปการแผ่ไปในเหล่าสรรพสัตว์ เปรียบหยาดน้ำฝนตกจากนภากาศ รดราดผืนพสุธาอันแห้งผาก…ให้ชุ่มฉ่ำเย็น ฉะนั้น

ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน

ชาติภูมิ

หลวงตา ถือกำเนิดในครอบครัวชาวนาแห่งสกุล “โลหิตดี” ณ ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันอังคารที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ตรงกับวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ ปีฉลู บิดาชื่อ “นายทองดี” มารดาชื่อ “นางแพง” ได้ให้มงคลนามว่า “บัว”
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงตามหาบัว

ประวัติหลวงตามหาบัว

กำเนิด ในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะกิน ณ บ้านตาด อุดรธานี

วันเกิด ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖

นาม บัว โลหิตดี

พี่น้องทั้งหมด ๑๖ คน

สมัยเด็ก เคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยได้ร่วมทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ

วัยหนุ่ม เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำงานอะไรทำจริงๆ จังๆ เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวง

คู่ครอง เดิมไม่เคยคิดจะบวช เพราะอยากมีครอบครัว แต่มักมีอุปสรรคให้แคล้วคลาดทุกทีไป

เหตุที่บวช เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ่อแม่ขอร้องให้บวชตามประเพณีอยู่หลายครั้ง ท่านก็ทำเฉย ๆ ตลอดมา ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธแต่อย่างใด ในครั้งสุดท้ายนี้ ด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้า หวังพึ่งใบบุญจากการบวชของลูกให้ได้ ถึงกับทำให้พ่อแม่น้ำตาร่วง ครั้งนี้ท่านรู้สึกสะเทือนใจและเห็นใจพ่อแม่มาก จึงตัดสินใจ และยอมบวชตามประเพณี เพื่อตอบแทนพระคุณพ่อแม่ โดยตั้งใจไว้ในตอนต้นนี้ว่า จะบวชเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น

วันบวช ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ วัดโยธานิมิตร อุดรธานี

พระอุปัชฌาย์ ชื่อ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์

เคารพพระวินัย ด้วยเดิมมีนิสัยจริงจัง จึงบวชเพื่อเอาบุญกุศลจริง ๆ และตั้งใจรักษาสิกขาบทวินัยน้อยใหญ่อย่างเคร่งครัด ในพรรษาแรกท่านได้ตั้งสัจอธิษฐานว่า ในการทำวัตรเช้า-เย็นรวมและการบิณฑบาต จะไม่ให้มีวันใดขาดเลย และท่านก็ทำได้ตามที่ตั้งคำสัตย์ไว้
อ่านเพิ่มเติม

นายกฯ กราบหลวงตามหาบัว ห่วงรถติดวันพระราชทานเพลิงศพ

นายกฯ กราบหลวงตามหาบัว ห่วงรถติดวันพระราชทานเพลิงศพ

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก luangta.com ,ครอบครัวข่าว 3

เมื่อเวลา 18.45 น.ของวานนี้ (15 กุมภาพันธ์) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี นายอิสสระ สมชัย รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รมว. วัฒนธรรม และนายไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาธิการ ได้เดินทางไปถึงวัดป่าบ้านตาด เพื่อกราบขอขมาสรีระสังขารหลวงตาพระมหาบัว พร้อมกับสวดมนต์ทำวัตรเย็น ซึ่งหลังเสร็จพิธีนายอภิสิทธิ์ ได้จุดเทียนส่องธรรม รับฟังพระธรรมเทศนาของพระญาณวิศิษฏ์ หลวงพ่อทอง จันทสิริ เจ้าอาวาสวัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

โดยก่อนหน้านั้น นายอภิสิทธิ์ พร้อมคณะ ได้เข้าไปดูงานก่อสร้างเมรุลอย และรับฟังคำอธิบายการก่อสร้าง ซึ่งขณะนี้คนงานได้เร่งก่อสร้างทั้งกลางวันและกลางคืน จนคืบหน้าไปอย่างมาก โดยได้ทำบันไดพร้อมลูกกรงบันไดทางขึ้นซึ่งมีหัวเป็นเหลี่ยมเพชร 13 เหลี่ยมเสร็จแล้วทั้ง 4 ด้าน ขณะที่ฐานส่วนบนสุด เตาเผา และเทพื้นซีเมนต์เรียบร้อยแล้วเช่นกัน ยังเหลือในส่วนของการทำฐานชั้นแรก ติดราวบันได เป็นต้น

ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ได้เป็นห่วงการสร้างเมรุ แต่เป็นห่วงเรื่องการจัดการจราจรในวันพิธีพระราชทานเพลิงศพ หลวงตามหาบัว เนื่องจากเชื่อว่า จะมีประชาชนเดินทางมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก
อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)

พระธรรมวิสุทธิมงคล
(บัว ญาณสมฺปนฺโน)
หลวงตาบัว, หลวงตามหาบัว

เกิด 12 สิงหาคม พ.ศ. 2456
อุปสมบท 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2477
มรณภาพ 30 มกราคม พ.ศ. 2554
พรรษา 76
อายุ 97
วัด วัดเกษรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด)
จังหวัด อุดรธานี
สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
วุฒิการศึกษา น.ธ.เอก, เปรียญธรรม 3 ประโยค
ตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสัมปันโน) หรือ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (12 สิงหาคม พ.ศ. 2456 – 30 มกราคม พ.ศ. 2554) เป็นพระภิกษุชาวจังหวัดอุดรธานี สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ฝ่ายวิปัสสนาธุระ อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดป่าบ้านตาด ท่านเป็นศิษย์ของพระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต)) ซึ่งได้มีโอกาสอุปฐากรับใช้หลวงปู่มั่นในช่วงปัจฉิมวัยและเป็นผู้หนึ่งที่ได้บันทึกประวัติของหลวงปู่มั่นโดยละเอียดในเวลาต่อมา
หลวงตามหาบัวเป็นที่รู้จักในฐานะพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานผู้มีปฏิปทาที่มั่นคง แน่วแน่ เด็ดขาด และจริงจัง บรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่มั่นต่างนับถือกันว่าท่านเป็นลูกศิษย์องค์หนึ่งที่มีปฏิปทาที่คล้ายคลึงกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต การกล่าวขวัญถึงท่านในหมู่ผู้ศรัทธามีหลายเรื่องค่อนไปในเชิงอภินิหาร เช่น การล่วงรู้วาระจิตของบุคคลอื่น การที่เศษผม เศษเล็บ และชานหมากของท่านกลายเป็นพระธาตุไปตั้งแต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้น
หลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2540 ชื่อของหลวงตามหาบัวได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งในและนอกประเทศ จากการที่ท่านได้ดำเนินการทอดผ้าป่าทองคำและเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ชื่อ “โครงการผ้าป่าช่วยชาติ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน” เพื่อใช้เป็นทุนสำรองของประเทศไทย ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ได้ดำเนินการมาโดยตลอดในช่วงปัจฉิมวัยของท่าน อย่างไรก็ตาม ในช่วงปัจฉิมวัยนี้เองได้มีเหตุการณ์ที่ทำให้ท่านตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ว่าท่านเข้ามายุ่งเกี่ยวทางการเมืองจากนักวิชาการและนักสื่อสารมวลชนจำนวนหนึ่ง เช่น ประเด็นการคัดค้านการรวมบัญชีเงินทุนสำรองของประเทศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ประเด็นการคัดค้านการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสงฆ์ฉบับใหม่ และการเทศนาวิพากษ์วิจารณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีช่วง พ.ศ. 2548 เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อเกษม เขมโก แร่เหล็กน้ำพี้

หลวงพ่อเกษม เขมโก แร่เหล็กน้ำพี้

หลวงพ่อเกษม เขมโก
องค์หล่อจากแร่ศักดิ์สิทธิ์ แร่เหล็กน้ำพี้ จ.อุตรดิตถ์

ประวัติ
หลวงพ่อเกษม เขมโก เดิมมีนามว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง ประสูติ เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 เป็นบุตรใน เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ) รับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และเป็นราชปนัดดาในมหาอำมาตย์โท พลตรีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
สมัยตอนเด็กๆมีคนเล่าว่าท่านซนมากมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านปีนต้นบ่ามั่น(ต้นฝรั่ง)เกิดผลัดตกจนมีแผลเป็นที่ศรีษะ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว 7 วันได้ลาสิกขาและท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งเมื่ออายุ 15 ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ท่านได้ศึกษาด้านพระปรัยัติธรรมจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ. 2474 และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา โดยมี พระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า “เขมโก” แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม โดยพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ได้ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย
พ.ศ. 2479 ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษามคธได้เป็นอย่างดี แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูง ๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น
เมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติธรรมแล้ว ท่านแสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนา จนกระทั่ง ท่านทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา คือ ครูบาแก่น สุมโน ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านได้ตามครูบาแก่น สุมโน ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึก จนถึงช่วงเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราวท่านจึงต้องแยกทางกับพระอาจารย์ และกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออก ก็ติดตามอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา อ่านเพิ่มเติม

สถานปฏิบัติธรรม-มณฑป หลวงพ่อเกษมเขมโก(สำนักสงฆ์สุสานไตรลักษณ์) จังหวัดลำปาง

สถานปฏิบัติธรรม-มณฑป หลวงพ่อเกษมเขมโก(สำนักสงฆ์สุสานไตรลักษณ์) จังหวัดลำปาง

เมืองลำปางแห่งนี้เคยมีพระอาจารย์เกจิชื่อดัง ที่มีชื่อเสียงในด้านต่างๆ ถึงแม้ว่าท่านจะล่วงลับไปแล้วแต่ชื่อเสียงของท่านก็ยังคงอยู่ ประจำเมืองนครลำปางแห่งนี้อยู่ไม่เสื่อมคลาย พระอาจารย์ท่านนั้นคือ หลวงพ่อเกษมเขมโก ท่านมีนามเดิมว่า เกษม มณีอรุณ เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2455 ณ บ้านท่าเก๊าม่วง ริมแม่น้ำวัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ท่านเป็นบุตรของเจ้าน้อยหนู และเจ้าแม่จ้อน ณ ลำปาง

หลวงพ่อเกษมเขมโก ท่านมรณภาพเมื่อ พ.ศ.2538 และเก็บศพไว้ที่สำนักสงฆ์สุสานไตรลักษณ์ ในปัจจุบันสถานปฏิบัติธรรม-มณฑป หลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ ตั้งอยู่ชานเมืองลำปาง ตามทางสายลำปาง-แจ้ห่มประมาณ 1 กิโลเมตร ไปเส้นทางเดียวกับวัดเจดีย์ซาวหลัง แต่ถึงก่อนประมาณ 500 เมตร เมื่อไปถึงจะพบรูปปั้นหลวงพ่อเกษมขนาดใหญ่ที่สังเกตเห็นได้จากถนน ภายในบริเวณมีมณฑปลักษณะเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ มีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งของหลวงพ่อเกษม เขมโก เกจิอาจารย์ซึ่งมีผู้เคารพนับถือเป็นจำนวนมาก นั่งขัดสมาธิขนาดเท่ารูปจริง เพื่อให้ประชาชนเคารพสักการะ และบริเวณหน้ามณฑปมีสถานที่เช่าพระเครื่อง ส่วนกุฏิของหลวงพ่อเกษมอยู่ด้านข้างมณฑป

ประวัติของหลวงพ่อเกษมเขมโก ชีวิตช่วงก่อนบวชได้เรียนที่โรงเรียนบุญทวงศ์อนุกูล จนจบชั้นประถมปีที่ 5 การศึกษาสามัญ ปี พ.ศ. 2466 แล้วบรรพชาเป็นครั้งแรก โดยการบวชหน้าไฟ อายุได้ 12 ปี เมื่ออายุได้ 15 ปี บรรพชาเป็นสามเณรจำพรรษาที่วัดบุญยืน จนกระทั่งอายุได้ 21 ปีจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อ พ.ศ. 2475 โดยท่านเจ้าคุณพระธรรมจินดานายก เจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากการอุปสมบทแล้ว ท่านได้เข้าเรียนภาษาบาลีและปริยัติธรรมจากสำนักวัดศรีล้อม วัดบุญวาทย์วิหาร วัดเชตวันและวัดเชียงราย ในจังหวัดลำปาง ท่านสอบได้นักธรรมเอก ในพ.ศ.2479 ขณะนั้นอายุได้ 24 ปี และได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับครูบาแก่น (พระอุบล สุมโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูป่อง ลำปาง ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืนจนถึง พ.ศ. 2492 จึงได้ยื่นใบลาออกจากเจ้าอาวาส เพราะหลวงพ่อเกษมชอบความวิเวก จึงอาศัยอยู่ที่ศาลาวังทาน จากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่ป่าช้าแม่อาง แล้วกลับมาบำเพ็ญภาวนาที่ป่าช้าศาลาวังทานได้พรรษาหนึ่งก็ไปอยู่ป่าช้าบ้านนาป้อและกลับมาอยู่ประตูม่าห์ (ประตูม้า-สุสานไตรลักษณ์ปัจจุบัน) ท่านอยู่ประตูม่าห์ในระยะหนึ่ง เจ้าคุณวัดเชียงรายได้มานิมนต์ให้ไปอยู่ที่วัดม่อนพยาแช่เพื่อนั่งหนักบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุ การพัฒนาวัดต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการจัดทำเหรียญของท่านให้สาธารณชนบูชา เสนาสนะต่างๆ ที่สร้างด้วยเงินบูชาวัตถุมงคลของหลวงพ่อเกษม มีจำนวนมาก เช่น กุฏิสงฆ์หอฉัน ห้องน้ำ-ส้วม แท็งก์เก็บน้ำฝน ศาลาจักรีวังสานุสรณ์ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ห้องเก็บของกำแพงกั้นดินข้างห้วยและใน พ.ศ.2529 ได้จัดตั้งมูลนิธิการศึกษาหลวงพ่อเกษมเขมโก เพื่อช่วยเหลือเด็กในด้านการศึกษา
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .