การปฏิบัติในสติปัฏฐาน อานาปานสติ ๔ ชั้น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

การปฏิบัติในสติปัฏฐาน อานาปานสติ ๔ ชั้น
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์ อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

บทกรรมฐานที่สวดและแสดงในที่นี้ ได้มีพระสูตรใหญ่แห่งสติปัฏฐาน อันเรียกว่ามหาสติปัฏฐานเป็นหลัก และคำว่าสติปัฏฐานนี้กล่าวโดยย่อ หมายถึงสติตั้งอย่างหนึ่ง

ตั้งสติอย่างหนึ่ง ในการปฏิบัตินั้นก็คือตั้งสติ และเมื่อปฏิบัติจนตั้งสติได้ก็เรียกว่าสติตั้ง คำว่าตั้งสติและสติตั้งนี้ เรียกเป็นภาษาบาลีว่าสติปัฏฐานนั้นเอง

พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้มีความเพียรที่เรียกว่า อาตาปี มีสัมปชานะ หรือสัมปชัญญะความรู้ตัว มีสติ ความระลึกได้ กำจัดความยินดียินร้ายในโลกเสีย ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในคำว่าสติ ยกสติขึ้นมาคำเดียวก็หมายถึงทั้ง ๔ ข้อนี้ ซึ่งเป็นอุปการธรรมในการปฏิบัติตั้งสติ เพื่อให้สติตั้ง

หลักในการพิจารณากายเวทนาจิตธรรม

พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ตั้งสติพิจารณากายเวทนาจิตธรรม ให้มีสติตั้งอยู่ในกายเวทนาจิตธรรม ให้รู้จักกาย รู้จักเวทนา รู้จักจิต รู้จักธรรม ในกายใจของตัวเองนี้เอง แต่ก็ได้ตรัสสอนให้กำหนดพิจารณารู้ว่าแม้ในกายของผู้อื่นก็มีกายเวทนาจิตธรรมนี้เช่นเดียวกัน และพิจารณาเช่นเดียวกัน คือทั้งภายในทั้งภายนอก

ทั้งนี้โดยหลักที่พึงปฏิบัติในทุกข้อ ก็คือพิจารณาให้เห็นว่า อนิจจะ คือไม่เที่ยงต้องเกิดดับ ทุกขะ เป็นทุกข์คือตั้งอยู่คงที่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป เป็นอนัตตา

มิใช่อัตตาตัวตน ไม่ควรที่จะยึดถือว่า ของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ในกายเวทนาจิตธรรม ทั้งของตนเอง ทั้งของผู้อื่น ที่เรียกว่าทั้งภายในทั้งภายนอก ซึ่งการพิจารณาให้เห็นดั่งนี้ ก็รวมอยู่ในข้อที่ตรัสไว้ว่าให้ตั้งสติพิจารณาในกายเวทนาจิตธรรม
อ่านเพิ่มเติม

สัมปชัญญะในอิริยาบถ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ สมเด็จพระญาณสังวร? สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สัมปชัญญะในอิริยาบถ อินทรีย์ ๕ พละ ๕

สมเด็จพระญาณสังวร? สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก? วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความขาดนิดหน่อยแต่ไม่เสียความ?

อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม? ในมหาสติปัฏฐานสูตร

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อได้ตรัสสอนให้ปฏิบัติในอานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออกแล้ว ก็ได้ตรัสสอนให้ตั้งสติกำหนดในอิริยาบถทั้ง ๔

ให้มีความรู้ทั่ว ในอาการเดินยืนนั่งนอน ที่ …(เป็นอิริยาบถใหญ่ และในอาการต่างๆ ที่ปลีกย่อยออกไป คือในกิริยาที่ก้าวไปข้างหน้า ถอยมาข้างหลัง ในกิริยาที่แลเหลียว

ในกิริยาที่คู้เข้ามา คู้แขนคู้ขาเข้ามา และเหยียดแขนเหยียดขาออกไป ในกิริยาที่นุ่งห่ม ในกิริยาที่กินดื่มเคี้ยวลิ้ม ในกิริยาที่ถ่ายหนักถ่ายเบา ในกิริยาที่เดินยืนนั่งนอนตื่นพูดนิ่ง เป็นต้น )

(เริ่ม ๒๐๘/๒) ก็หัดปฏิบัติพิจารณาไป พร้อมกับกิริยาผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเหล่านี้ว่า ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา คือไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
อ่านเพิ่มเติม

การปฏิบัติในจิตตภาวนา สมเด็จพระญาณสังวร

การปฏิบัติในจิตตภาวนา
สมเด็จพระญาณสังวร? สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

วันนี้เป็นวันเริ่มแสดงอบรมปฏิบัติทางจิตในพรรษกาลคือในพรรษานี้ จึงขอให้เราทั้งหลายได้ตั้งใจปฏิบัติอบรมจิตกันให้มากตลอดพรรษกาล ทั้งที่มาฟังและปฏิบัติกันในที่นี้ตามกำหนด

ทั้งที่อยู่ที่บ้าน หรือที่อยู่ที่กุฏิของตนๆ การปฏิบัติอบรมจิตนี้เรียกตามภาษาบาลีว่า จิตตภาวนา แปลว่าการอบรมจิต พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แปลความว่า

จิตนี้เป็นธรรมชาติปภัสสรคือผุดผ่อง แต่จิตนี้เศร้าหมองไปเพราะอุปกิเลสคือเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายที่จรมา แต่ว่าจิตนี้ก็ปฏิบัติให้หลุดพ้นจากอุปกิเลส

คือเครื่องเศร้าหมองที่จรมาได้ บุถุชนคือผู้ที่มีกิเลสหนา ซึ่งมิได้สดับตรับฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าผู้อริยะคือผู้ประเสริฐ ย่อมไม่รู้จักจิตนั้นตามความเป็นจริง

จึงปล่อยให้จิตเศร้าหมอง เพราะฉะนั้น พระองค์จึงกล่าวว่าจิตตภาวนาคือการอบรมจิต ย่อมไม่มีแก่บุถุชนผู้มิได้สดับนั้น ส่วนอริยบุคคลคือบุคคลผู้ประเสริฐ

หรือบุคคลผู้เป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ? ซึ่งเป็นผู้สดับตรับฟังธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักจิตนั้นตามเป็นจริง

ย่อมหลุดพ้นจากเครื่องเศร้าหมองจิตที่จรเข้ามาทั้งปวงได้ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่าจิตตภาวนาการอบรมจิต ย่อมมีแก่อริยบุคคลผู้ที่ได้สดับตรับฟังแล้ว ดั่งนี้

เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายผู้เป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า จึงสมควรที่จะสดับตรับฟังคำสั่งสอนของพระองค์ ที่พระอาจารย์ทั้งหลายได้สั่งสอน

หรือที่เขียนเป็นหนังสือ ก็จับอ่านให้มีความเข้าใจในวิธีปฏิบัติอบรมจิตอันเรียกว่า

จิตตภาวนา และปฏิบัติให้สม่ำเสมอด้วยกันทุกๆ วัน วันละช้าบ้างเร็วบ้าง มากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งแม้จะน้อยก็ยังดีกว่าไม่ปฏิบัติเสียเลย
อ่านเพิ่มเติม

พระพุทธเจ้าสอนกรรมฐาน (๓) สมเด็จพระญาณสังวร? สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระพุทธเจ้าสอนกรรมฐาน (๓)

สมเด็จพระญาณสังวร? สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก? วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์? อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม?

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนให้ละอกุศลวิตก ความตรึกนึกคิดที่เป็นอกุศล ให้ตรึกนึกคิดในส่วนที่เป็นกุศล อันเรียกว่ากุศลวิตก และก็ตรัสสอนต่อไป

ให้สงบความตรึกนึกคิดแม้ที่เป็นกุศล รวมจิตเข้ามาตั้งสงบอยู่ในภายใน วิตก ๒ อย่างของพระพุทธเจ้า และได้ตรัสแสดงถึงพระองค์เอง ในเวลาปรกติก็ได้ทรงวิตก

คือทรงตรึกนึกคิด ๒ อย่างอยู่เป็นประจำ คือ ๑ เขมวิตกความตรึกนึกคิดที่เกษม อันหมายความว่าไม่เบียดเบียนใครอะไร อันเรียกว่า? เขมวิตก และความตรึกนึกคิดที่สงบสงัด
อ่านเพิ่มเติม

จริต ๔ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

จริต ๔

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก? วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต? อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม?

สติปัฏฐาน ๔ ก็คือตั้งสติกำหนดพิจารณากายเวทนาจิตและธรรม ที่มี ๔ ข้อ พระอาจารย์ได้แสดงอธิบายว่า เพราะจริตอันหมายถึง

ความประพฤติที่เป็นพื้นของจิตใจ ดังที่เรียกชื่ออื่นว่า อัธยาศัย นิสสัย ย่อมมี ๔ อย่าง คือ ๑ บุคคลที่เป็นตัณหาจริตอย่างหยาบ ๒ บุคคลที่เป็นตัณหาจริตอย่างละเอียด

หรืออย่างแรง ๓ บุคคลที่เป็นทิฏฐิจริตอย่างหยาบ ๔ บุคคล ที่เป็นทิฏฐิจริตอย่างละเอียด หรืออย่างแรง เพราะฉะนั้น สติปัฏฐานจึงมี ๔ ข้อ

เพื่อผู้มีจริตทั้ง ๔ นั้น จักได้ยกขึ้นปฏิบัติ กำหนดพิจารณาให้เหมาะแก่จริตของตน

ตัณหาจริต ๒

บุคคลจำพวกที่เรียกว่าตัณหาจริตอย่างหยาบนั้น ก็คือมีตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากของจิตใจ เพื่อที่จะได้สิ่งที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ เพื่อที่จะเป็นนั่นเป็นนี่

เพื่อที่จะให้สิ่งและภาวะที่ไม่ชอบใจไม่พอใจหมดสิ้นไป ดั่งที่เรียกว่าที่จะไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ คือไม่เป็นในภาวะที่ไม่พอใจไม่ชอบใจ? บุคคลที่เป็นตัณหาจริตดั่งที่กล่าวมานี้อย่างหยาบ

ดังที่ติดอยู่ในกาย ดิ้นรนทะยานอยากอยู่ในกาย ก็ตรัสสอนให้ปฏิบัติในสติปัฏฐานข้อพิจารณากาย ส่วนบุคคลที่เป็นตัณหาจริตคือมีความดิ้นรน

ทะยานอยากดังกล่าวนั้นอย่างละเอียด ก็ติดในเวทนา เช่นต้องการสุขเวทนาเป็นสำคัญ ก็ตรัสสอนให้ปฏิบัติในสติปัฏฐานข้อพิจารณาเวทนา
อ่านเพิ่มเติม

ชีวิตนี้น้อยนัก (จบ) พระธรรมเทศนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ชีวิตนี้น้อยนัก (จบ)

พระธรรมเทศนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เมื่อมั่นใจในความดำรงอยู่อย่างยั่งยืนนิรันดรแห่งพระพุทธบารมี หรือคุณธรรมของพระพุทธองค์และของครูบาอาจารย์สำคัญทั้งหลาย ที่ท่านไกลแล้วจากเครื่องกิเลสเศร้าหมอง

พุทธศาสนานิกทั้งหลายผู้มีสัมมาปัญญา-สัมมาทิฐิ ก็ควรเร่งปฏิบัติพระพุทธศาสนา ให้ได้เป็นคนดีตามลำดับไป ให้เป็นที่ปรากฏประจักษ์ในพระญาณหยั่งรู้ของพระพุทธองค์

ให้พระพุทธบารมีเสริมส่งบารมีของตน จนกว่าตนเองจะสามารถเป็นผู้มีบารมี มีคุณธรรมดำรงยั่งยืนอยู่ได้เช่นท่านผู้เป็นอริยสาวกทั้งหลาย วันนั้นมาถึงเมื่อใด เมื่อไร

วันนั้นผู้นั้นก็จะไม่ต้องกังวลที่จะใช้ชีวิตนี้ทำทางหนีมือแห่งกรรม และไม่ต้องกังวลสร้างชีวิตในชาติอนาคตให้สมบูรณ์บริบูรณ์สวยสดงดงามต่อไป

แทบทุกคนเคยเป็นมาแล้ว? ทั้งเทวดาเจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์ ยาจกวนิพกเศรษฐีคหบดี ตลอดจนสัตว์ใหญ่สัตว์น้อย เคยตายมาแล้วด้วยอาการต่าง ๆ ตายอย่างเทวดา

ตายอย่างเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ตายอย่างขอทานข้างถนน ตายอย่างสัตว์ ทั้งที่ตายเองและทั้งที่ถูกฆ่าตาย เคยมีทั้งสุขเคยมีทั้งทุกข์ เคยเป็นผู้ร้าย เคยเป็นทั้งผู้ดี

น้ำตาเคยท่วมบ้านท่วมเมืองมาแล้ว กระดูกทับถมแผ่นดินนี้? หาที่ว่างสักปลายเข็มหมุดจะปักลงไปก็ไม่พบ เปรียบกับชีวิตนี้เพียงชาติเดียว ชีวิตนี้จึงน้อยนัก จะห่วงใยแสวงหาอะไรอีกมาในชีวิตนี้

อ่านเพิ่มเติม

ชีวิตนี้น้อยนัก (ต่อ) พระธรรมเทศนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ชีวิตนี้น้อยนัก (ต่อ)

พระธรรมเทศนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูมาจนเติบใหญ่ ถูกผู้ทำร้ายประหัตประมาร ใจของผู้เป็นพ่อเป็นแม่ก็เหมือนกับตนเองถูกประหัตประหารด้วย? พระพุทธศาสนาคือสิ่งเกี่ยวเนื่องแนบแน่น

เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระพุทธเจ้า กว่าจะทรงค้นพบและตั้งขึ้นได้ลำบากยากเย็นยิ่งกว่าใครสักคนจะมีลูกเป็นที่รักดังดวงใจ ทำร้ายลูกก็เท่ากับทำร้ายผู้เป็นแม่พ่อ

ทำลายพระพุทธศาสนาจึงไม่แตกต่างกับทำลายพระพุทธเจ้า แน่นอน ไม่มีผู้ใดได้ทำ แต่แน่นอนเพียงการพยายามทำก็บาปหนักยิ่งกว่าฆ่าคนตาย ผลของกรรมนี้อาจจะลี้ลับ

เห็นยากและเห็นช้า จึงทำให้พากันคิดว่าการทำลายพระพุทธศาสนานั้นไม่เป็นบาป ไม่เป็นอกุศล การจงใจทำลายพระพุทธศาสนาที่ไม่เป็นผลสำเร็จ น่าจะเกิดผลไม่ดี

แก่ผู้มุ่งร้ายน้อยกว่าผู้ไม่ได้เจตนาทำลาย แต่ประพฤติตนเช่นเจตนาทำลาย บุคคลประเภทหลังนี้ โดยเฉพาะที่นับถือพระพุทธศาสนา กล่าวได้ว่า เป็นผู้ทำกรรมไม่ดีต่อพระพุทธศาสนา

ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตั้งขึ้น ทรงประคับประคองมาโดยมีพุทธบริษัทที่ดีรับมาประคับประคองต่ออย่างถือเป็นสมบัติล้ำค่า ไม่มีพระพุทธองค์แล้ว พระพุทธศาสนา

คือตัวแทนพระพุทธองค์ ผู้ที่เป็นสมาชิกของบริษัทสี่ในพระพุทธศาสนา แม้ทำตนให้เศร้าหมองด้วยการประพฤติผิดศีลผิดธรรมผิดวินัย แม้จะทำให้พระพุทธศาสนาเศร้าหมองไม่ได้

แต่เมื่อตนเป็นจุดหนึ่งในพระพุทธศาสนา ก็เท่ากับทำให้พระพุทธศาสนา? มีจุดเศร้าหมองปะปนอยู่ เล็กน้อยเพียงไรก็เป็นจุดดำ ?ความประพฤติปฏิบัติเช่นนั้นจึงเป็น

การทำกรรมไม่ดีต่อสิ่งสูงสุด ผลไม่ดีที่จะเกิดแก่ผู้ทำกรรมไม่ดีนั้นย่อมร้ายแรงแน่นอน พึงอย่าประมาท พึงกลัวกรรมหนักที่จะเกิดจากการทำไม่ดีต่อพระพุทธศาสนา
อ่านเพิ่มเติม

ชีวิตนี้น้อยนัก (ต่อ) พระธรรมเทศนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ชีวิตนี้น้อยนัก (ต่อ)

พระธรรมเทศนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ครูอาจารย์ท่านสำคัญ ๆ ท่านรับรอง และพระพุทธเจ้าก็ทรงรับรอง ว่าชาติในอนาคตมีอยู่สำหรับผู้ที่ยังไม่สามารถทำกิเลสให้หมดสิ้นได้ และการทำกิเลสให้หมดสิ้นนั้น

คนเป็นจำนวนมาก? ทำไม่ได้ในเวลาอันสั้น? ทั้งยังมีคนเป็นจำนวนมาก? ไม่สนใจจะทำให้กิเลสหมดสิ้น ยังเกลือกกลั้วอยู่กับกิเลสอย่างหลงผิด ดังนั้นภพชาติสำหรับคนเหล่านั้น

ยังมีอยู่มากมายนักหนา? ใช้เวลานานแสนนาน นับภพนับชาติหาได้ไม่ โอกาสที่กรรมจะตามไปถึงจึงมีมากมายนัก ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง และอย่าคิดว่า

เมื่อถึงวันนั้นเวลานั้น? ก็จะจำไม่ได้ว่าเราเป็นเรา อะไรจะเกิดขึ้นก็ไม่เดือดร้อน ความคิดเช่นนี้อาจจะเกิดแก่เราแล้วในอดีตชาติ และมาในปัจจุบัน เมื่อต้องพบความเดือดร้อน

เราก็เดือดร้อน มิใช่ว่าเราไม่เดือดร้อน ทั้งที่มิใช่ว่าเราจะจำได้ว่าเราเป็นเราไม่ว่าจะเกิดเป็นใครเป็นอะไรเมื่อใด ภพชาติไหนก็ตามเมื่อเป็นทุกข์ก็ต้องเป็นทุกข์เมื่อเป็นสุขก็ต้องเป็นสุข
อ่านเพิ่มเติม

ชีวิตนี้น้อยนัก (ต่อ) พระธรรมเทศนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ชีวิตนี้น้อยนัก (ต่อ)

พระธรรมเทศนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ทำธุรกิจการงานบ้าง ใคร ๆ ก็จะต้องพูดกันว่าลูกที่เกิดใหม่นั้นเป็นผู้มีบุญ ทำให้มารดาบิดามั่งมีศรีสุข ถ้าไม่คิดให้ดี ก็เหมือนจะเป็นการพูดไปเรื่อย ๆ ไม่มีมูลความจริง

และทั้งผู้พูดผู้ฟังก็มักจะไม่ใส่ใจพิจารณาให้ได้ความรู้สึกลึกซึ้งจริงจัง แต่ถ้าพิจารณากันให้จริงด้วยคำนึงถึงเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรม ก็น่าจะเชื่อได้ว่าเด็กที่ที่เกิดใหม่

นั้นเป็นผู้มีบุญมาเกิด ผู้มีบุญคือผู้ที่ทำบุญทำกุศลทำคุณงามความดีไว้มากในอดีตชาติ อันความเกิดขึ้นของผู้มีบุญนั้น ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับมีบุญห้อมล้อมรักษา

แม้ชนกกรรมนำให้เกิดจะนำให้เกิดลำบาก แต่เมื่อบุญที่ทำไว้มากกว่า กรรมไม่ดีที่นำให้ลำบากก็จะต้องถูกตัดรอนด้วยอำนาจของกุศลกรรม คือบุญอันยิ่งใหญ่กว่า

คือเกิดมามารดาบิดายากจน มือแห่งบุญก็จะต้องเอื้อมมาโอบอุ้ม ให้พ้นจากความลำบากยากจน ให้มั่งมีศรีสุข ควรแก่บุญที่ได้ทำไว้ผู้ที่เกิดในที่ลำบากยากจน

แต่เมื่อมีบุญเก่าได้กระทำไว้มากมายเพียงพอ มือแห่งบุญก็จะเอื้อมมาโอบอุ้มให้พ้นจากความยากลำบากได้อย่างรวดเร็ว พ้นจากความยากจนดังปาฏิหาริย์ มีตัวอย่างให้เห็นอยู่

เด็กบางคนทำบุญทำกุศลไว้ดี แต่ชนกกรรมนำให้เกิดกับมารดาบิดายากแค้นแสนสาหัส พอเกิดมารดาบิดาก็หาทางช่วยให้ลูกพ้นความเดือดร้อน นำไปวางไว้หน้าบ้าน

ผู้มั่งมีศรีสุขที่รู้กันว่าเป็นผู้มีเมตตา แล้วเด็กนั้นก็ได้เป็นสุขอยู่ในความโอบอุ้มของมือแห่งบุญ ควรแก่บุญที่เขาได้กระทำไว้แต่เด็กบางคนเกิดในที่ต่ำต้อยยากไร้

และเป็นผู้ที่มิได้ทำบุญทำกุศลมาในอดีตชาติเพียงพอ ย่อมไม่มีมือแห่งบุญมาโอบอุ้มเขาให้พ้นความลำบากยากจน แม้เมื่อมารดาบิดาจะพยายามเสี่ยงนำเขาไปวางไว้ในที่

ที่หวังว่าจะมีผู้ดีมีเงินมานำไปอุปการะเลี้ยงดู ความไม่มีบุญทำไว้ก่อน ทำให้ไม่เป็นไปดังความปรารถนาของผู้เป็นมารดาบิดา เขาอาจจะถูกทิ้งอยู่ตรงที่ที่ถูกนำไปวางและสิ้นชีวิตไป

ณ ที่นั้น อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย อาจจะทรมานด้วยความหนาวความร้อนความหิว โดยหาผู้ช่วยเหลือไม่ได้ และผู้เป็นมารดาก็อาจจะถูกจับได้รับโทษทางอาญา

นั่นก็เป็นเรื่องอำนาจอันยิ่งใหญ่นักของกรรมอย่างแท้จริง? อดีตชาติของทุกคนมีมากมายนัก จึงได้ทำกรรมกันไว้มากมายนัก กุศลกรรมบ้าง อกุศลกรรมบ้าง

ชีวิตในปัจจุบันจึงมีดีบ้างไม่ดีบ้าง สุขบ้างทุกข์บ้าง คนมั่งมีเป็นมหาเศรษฐีก็ด้วยอำนาจของกุศลกรรมคือการบริจาคช่วยเหลือเจือจุนผู้อื่น ที่ได้กระทำไว้ในอดีตชาติ
อ่านเพิ่มเติม

ชีวิตนี้น้อยนัก พระธรรมเทศนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ชีวิตนี้น้อยนัก

พระธรรมเทศนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พุทธศาสนาสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า? อัปฺปกญฺจิทํ ชีวิตมาหุธีรา ? ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนักทุกชีวิต ไม่ว่าคนไม่ว่าสัตว์ มิได้มีเพียงเฉพาะชีวิตนี้ คือมิได้มีเพียงชีวิตในชาตินี้ชาติเดียว

แต่ทุกชีวิตมีทั้งชีวิตในชาติอดีต ชีวิตในชาติปัจจุบัน และชีวิตในชาติอนาคต ?ชีวิตนี้น้อยนัก? หมายถึงชีวิตในชาติปัจจุบันน้อยนัก สั้นนักชีวิตคืออายุ

ชีวิตในปัจจุบันชาติของแต่ละคนอย่างยืนนานก็เกินร้อยปีได้ไม่เท่าไหร่ ซึ่งก็ดูราวเป็นอายุที่ไม่ยืนมากนัก แม้ไม่นำไปเปรียบเทียบกับชีวิตที่ต้องผ่านมาแล้ว

ในอดีตที่นับชาติไม่ถ้วนนับปีไม่ได้ และชีวิตที่จะต้องเวียนวนเกิดตายต่อไปอีกในอนาคตที่จะนับชาติไม่ถ้วน นับปีไม่ได้อีกเช่นกันที่ปราชญ์ท่านว่า ?ชีวิตนี้น้อยนัก? นั้น

ท่านมุ่งให้เปรียบเทียบกับชีวิตนี้กับชีวิตในอดีตที่นับชาติไม่ถ้วน และชีวิตในอนาคตที่จะนับชาติไม่ถ้วนอีกเช่นกัน สำหรับผู้ไม่ยิ่งด้วยปัญญา ไม่สามารถพาตนพ้นทุกข์สิ้นเชิงได้
อ่านเพิ่มเติม

อย่าทำผิดทั้งชีวิต.. สมเด็จพระญาณสังวร

อย่าทำผิดทั้งชีวิต..

สมเด็จพระญาณสังวร

สมัยนี้มีผู้ชอบกล่าวว่า เงินไม่มีเกียรติไม่มี นั่นไม่ใช่ความถูกต้อง เป็นความรู้สึกของคนบางคนเท่านั้น คน บางคนที่มีความเห็นผิดเป็นชอบ เท่านั้นที่จะมีความรู้สึกว่า คนไม่มีเงินเป็น

คนไม่มีเกียรติ เงินกับเกียรติมิใช่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มิใช่เป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ คนไม่มีเงินแต่มีเกียรติก็มีอยู่ คนมีเงินแต่ไม่มีเกียรติก็มีอยู่ ความสำคัญอยู่ที่ว่า เงินที่มีหรือที่ได้นั้นเป็นเงิน

ที่จะทำให้เกียรติยศชื่อเสียงสิ้นไปหมดหรือ ไม่ ควรจะพิจารณาให้รอบคอบในเรื่องนี้ โดยเฉพาะผู้ที่ยังคำนึงถึงชื่อเสียงเกียรติยศของตนเอง และของวงศ์ตระกูล

เช้าวันนี้ใครสักคนอาจจะตื่นขึ้นด้วยจิตใจเร่าร้อนเป็นอันมาก เมื่อพิจารณาหาเหตุผลก็ได้พบว่า เมื่อวานหลานเล็กๆ กำลังน่ารักน่าเอ็นดูและเป็นที่รักที่ชื่นใจอย่างยิ่งร้องไห้กลับมาจาก โรงเรียน

สะอึกสะอื้นอย่างเสียอกเสียใจยิ่งนัก ปลอบถามก็ได้ความว่า ถูกเพื่อนเด็กๆ ด้วยกันนั่นเองตะโกนล้อว่า เป็นหลานคนขี้โกง เด็กได้พยายามแก้ว่าไม่เป็นความจริง แต่ก็ไม่สำเร็จเพราะเด็กหลาย

คนรุมกันยืนยัน เมื่อเด็กร้องไห้แล้วเล่าให้ฟังนั้น ใครจะรู้สึกอย่างไรไม่ทราบ

แต่เจ้าตัวเองนั้นรู้สึกว่ากระทบ กระเทือน เหลือเกิน ทั้งอายทั้งโกรธ เหตุก็เพราะรู้ตัวว่า เงินทองที่หาได้อยู่เสมอๆ นั้น ได้มาด้วยวิธีที่ไม่ชอบไม่ควรจริงๆ จริงอยู่ เสียงที่กล่าวหาเป็นเสียงของ

ทารกไร้เดียงสา แต่ถ้าไม่ได้ฟังมาจากผู้ใหญ่แล้ว ทารกไร้เดียงสาเหล่านั้นจะไปได้ความคิดจากไหน นึกถึงหลานเล็กๆ ที่อับอายขายหน้าถึงกับร้องไห้ลั่น เพราะต้องเป็นลูกหลานคนขี้โกง นึก

แล้วก็สงสาร ไม่สบายใจ ไม่ได้เป็นความผิดของเด็กเลย แต่เป็นความผิดของผู้ใหญ่แท้ๆ
อ่านเพิ่มเติม

กรรม อวิชชา สันโดษ พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร

กรรม อวิชชา สันโดษ
พระนิพนธ์
สมเด็จพระญาณสังวร

กรรม อวิชชา สันโดษ

กุศลกรรม อกุศลกรรม อพยากตธรรม

-เรื่องกรรม (บาลี กัมมะ) เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในพระพุทธศาสนา ปรากฏในพระพุทธประวัติว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้ตรัสรู้ ยังทรงเป็นโพธิสัตว์อยู่ ได้เสด็จออกแสวงหาทางที่เป็นเครื่องหลุดพ้น ที่เรียกว่า โมกขธรรม เมื่อได้ทรงพบทางปฏิบัติที่ถูกต้องแล้วก็ได้ทรงปฏิบัติในทางนั้นจนถึงใน ราตรีที่จะตรัสรู้

– ในยามที่ ๑ แห่งราตรีนั้น ทรงได้ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ญาณนี้คือพระปรีชาหยั่งรู้ถึงขันธ์ที่เป็นที่อยู่อาศัยในปางก่อน เรียกสั้นว่าระลึกชาติได้

-ในยามที่ ๒ ทรงได้ จุตูปปาตญาณ พระปรีชาหยั่งรู้ในจุติและอุบัติของสัตว์ (สัตตะ) ทั้งหลาย คือ การตายและการเกิดอีกของสัตว์ทั้งหลายในชาตินั้นๆ ว่าเป็นไปตามกรรม กระทำชั่วไว้ก็เข้าถึงชาติที่ชั่วมีทุกข์ กระทำความดีไว้ก็เข้าถึงชาติที่ดีมีสุข

– ในยามที่ ๓ จึงทรงได้ อาสวักขยญาณ พระปรีชาหยั่งรู้วิธีกำจัดอาสวะ คือ กิเลส (ความไม่ดี) ที่นอนจมหมักหมมอยู่ในจิตสันดาน สำเร็จเป็นพุทธ คือ พระผู้ตรัสรู้

– กรรม เป็นคำกลางแปลว่า การงานที่บุคคลกระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ กรรมแบ่งออกได้เป็น ๓ คือ

กุศลกรรม คือ กรรมที่เป็นส่วนดี

อกุศลกรรม คือ กรรมที่เป็นส่วนชั่ว

อัพยากตกรรม คือ กรรมที่ไม่เป็นกุศลหรืออกุศล

กรรมทุกอย่างพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้โดยชัดเจนว่า กรรมเช่นไรเป็นอกุศล เช่นไรเป็นกุศล เช่นไรเป็นอัพยากตกรรม
อ่านเพิ่มเติม

พระลิขิตแห่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระลิขิตแห่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
พระพุทธศาสนาไม่มีผู้ใดอาจทำให้เศร้าหมองได้แม้แต่น้อย พระพุทธศาสนาคือเพชรที่น้ำแรงแสงกล้า

บริสุทธิ์สว่างไสว คือ อาทิตย์ยามเที่ยงวันที่เจิดจ้าบนท้องฟ้า ความสกปรกใดก็ไม่อาจแทรกซึมเข้าสู่เนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาได้ ดังนั้นไม่ว่าใครจะทำชั่วร้ายเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา จะโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ก็ไม่อาจทำพระพุทธศาสนาให้หมองมัวได้ แต่ทำชีวิตจิตใจตนเองให้หมองมัวนั้นแน่นัก

พุทธศาสนิกและผู้ได้รับประโยชน์จากพระพุทธศาสนา จากพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ มีหน้าที่ต้อง

กตัญญูกตเวทีตอบ คือ ต้องเทิดทูนรักษา มิใช่เหยียบย่ำทำลายด้วยความประพฤติผิดศีล ผิดธรรมผิดวินัย เพราะนั่นเป็นความอกตัญญูที่ผู้รู้ย่อมตราหน้า และผลบาปกรรมย่อมแรงด้วย

พระภิกษุสามเณรก็มีหน้าที่ต้องกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงแสดงสั่งสอนไว้

อย่างไร ทรงวางระเบียบศีลวินัยสำหรับสงฆ์ไว้อย่างไร ต้องปฏิบัติด้วยความเคารพเทิดทูนให้เรียบร้อยด้วยดีอย่างยิ่ง นอกจากนั้น พระเณรพึงนึกถึงอุปการะที่ได้รับจากญาติโยม ชีวิตของพระเณรดำรงอยู่โดยปราศจากอุปการะของญาติโยมไม่ได้ จึงพึงมีกตัญญูกตเวที รู้คุณของญาติโยม และพึงตอบแทนด้วยดี ด้วยการปฏิบัติเป็นพระดีพระแท้ เพราะนั่นคือความประสงค์แท้จริงในจิตใจญาติโยมผู้ให้ความอุปถัมภ์บำรุงพระเณร เป็นพระดี เป็นพระแท้ เป็นพระมีศีลมีวินัยงดงาม เจริญในพระธรรมวินัย นั่นคือความกตัญญูกตเวทีสำหรับพระเณร เป็นพระไม่ดี เป็นพระไม่แท้ เป็นพระไม่มีศีล ไม่มีวินัย นั่นคือ อกตัญญูกตเวที ต่อพระพุทธศาสนา ต่อพระพุทธเจ้า ต่อพระธรรม ต่อพระสงฆ์ เป็นอกตัญญูที่หนักหนาทีีสุด จึงมีผลที่เลวร้ายหนักหนาที่สุด

ขอจงมีใจมั่นคงอบรมกตัญญูกตเวทีตาธรรมให้เกิดได้มาก มีดังปรารถนา เพื่อได้รับคุณนานาประการ

เป็นมงคลแก่ชีวิต

ขอถวายพร ขออำนวยพร

(สมเด็จพระญาณสังวร)

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

หมายเหตุ คำนิยมในหนังสือสวดมนต์ นวกภิกษุ วัดบวรนิเวศวิหาร ฉบับพิมพ์ที่ มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗ จำนวน ๒๐๔ หน้า

http://www.l3nr.org/posts/210601?locale=en

รัฐบาลขยายเวลาไว้ทุกข์ สมเด็จพระสังฆราช เป็น 30 วัน ถึง 23 พ.ย.

รัฐบาลขยายเวลาไว้ทุกข์ สมเด็จพระสังฆราช เป็น 30 วัน ถึง 23 พ.ย.

วันศุกร์ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556
SMS ข่าวช่อง 3
www.krobkruakao.com

รัฐบาลขอความร่วมมือประชาชน หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชนร่วมไว้อาลัยสมเด็จพระสังฆราชเป็นเวลา 30 วัน ตามสำนักพระราชวัง

โดยสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศขยายเวลาการไว้ทุกข์ เพื่อแสดงการไว้อาลัยแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จากเดิม 15 วัน เป็น 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค.ไปสิ้นสุดในวันที่ 23 พ.ย.นี้ ส่วนการจัดงานพิธีพระศพ ได้มอบหมายให้นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกฯ ประสานงานกับสำนักพระราชวังเพื่อดำเนินการให้การจัดงานพิธีพระศพเป็นไปอย่างสมพระเกียรติ

และในวันนี้ สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถานศึกษา ทั่วประเทศ ได้พร้อมใจลดธงชาติลงครึ่งเสาเป็นเวลา 3 วัน เพื่อเป็นการไว้อาลัย โดยข้าราชการ พนักงาน รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งประชาชนทั่วไป พร้อมใจกันแต่งกายชุดดำ

ขณะที่ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีหนังสือด่วนที่สุด ถึงผู้บัญชาการและผู้บังคับการ ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการสถานบริการ สถานบันเทิง ให้งดเว้นการละเล่น การแสดงบันเทิงเพื่อร่วมถวายความอาลัยเป็นเวลา 15 วันนับตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค.- 8 พ.ย. 2556

http://www.krobkruakao.com/

รูปปั้นสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

รูปปั้นสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เสนอโดย admin group วันที่ 31 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย สมุทรสงคราม วันที่ 1 ตุลาคม 2555
จังหวัด : สมุทรสงคราม

รายละเอียด
รูปปั้นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
ที่ตั้งวัดประดู่ ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
สมเด็จพระญาณสังวรพระฉายาว่า “สุวัฑฒโน” พระนามเดิมว่าเจริญ พระสกุล “คชวัตร” ประสูติที่บ้านเลขที่ 367ตำบลบ้านเหนืออำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันศุกร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2456 เวลาประมาณ 10 ทุ่มหรือประมาณ 4.00 น. เศษแห่งวันเสาร์ที่ 4 ตุลาตม พ.ศ.2456 ตามที่นับในปัจจุบัน โยมบิดาชื่อน้อย คชวัตร ถึงแก่กรรม พ.ศ.2465 โยมมารดาชื่อ กิมน้อย คชวัตรถึงแก่กรรม พ.ศ.2508 บรรพชนของสมเด็จมาจาก 4 ทิศ บิดามาจากสายกรุงเก่าทางหนึ่ง จากปักษ์ไต้ทางหนึ่ง ส่วนมารดามีเชื้อสายญวนทางหนึ่ง และจีนทางหนึ่ง บิดาคือนายน้อย คชวัตร เป็นบุตรนายเล็กและนางแดงอิ่ม เป็นหลานปู่พระยา หลานย่าของหลวงพิพิธภักดี และนางจีนเป็นชาวกรุงเก่ามารับราชการในกรุงเทพ ได้ออกไปเป็นผู้ช่วยราชการอยู่เมืองไชยาคราวหนึ่ง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ 3 ได้เป็นผู้หนึ่งที่ไปคุมเชลยที่เมืองพระตะบอง ได้ภริยาชาวมืองไชยา 2 คน ชื่อ ทับ กับชื่อ นุ่น และได้ภริยาชาวเมืองพุ่มเรียง 1 คน ชื่อแต้ม ต่อมาเมื่อได้รับคำสั่งให้ไปราชการปราบแขกที่มาตีเมืองตรัง เมืองสงขลา จึงไปได้ภรรยาซึ่งเป็นพระธิดาของพระปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง ( สน )และได้พาภริยามาตั้งครอบครัวอยู่ที่กรุงเทพ ฯ เวลานั้นพี่ชายของหลวงพิพิธภักดีเป็นที่พระพิชัยสงคราม เจ้าเมืองศรีสวัสดิ์และพระยาประสิทธิสงคราม ( ขำ ) เจ้าเมืองกาญจนบุรีเป็นอาของหลวงพิพิธภักดีจึงพาภรรยาไปตั้งครอบครัวอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี และลาออกจากราชการไปประกอบอาชีพทำนา ตระกูล คชวัตร นายเล็กกับนางแดงอิ่ม มีบุตร 3 คน 1.นายน้อย คชวัตร 2.นายวร คชวัตร 3.นายบุญรอด คชวัตร นายน้อย กับนางกิมน้อย คชวัตร มีบุตร 3 คน อ่านเพิ่มเติม

ธัมมานุปัสสนา สมเด็จพระญาณสังวร

ธัมมานุปัสสนา

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
การปฏิบัติพุทธศาสนาต้องปฏิบัติให้ถึงจิต จึงจะประสบผลและก้าวหน้าไปสู่ความสิ้นทุกข์ได้โดยลำดับ การปฏิบัติให้ถึงจิตนั้นก็ต้องตั้งต้นตั้งแต่ขั้นฐานขั้นศีล สืบถึงขั้นสมาธิขั้นปัญญา อันรวมความว่าให้เข้าทางแห่งอริยมรรคที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ หรือว่าเข้าทางบารมีทั้งสิบที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญ การปฏิบัติเข้าทางบารมีนั้นก็ตั้งต้นแต่ทาน การให้ การบริจาค ต้องปฏิบัติให้ถึงจิต คือให้จิตสละ โลภะ มัจฉริยะ ให้จิตบริสุทธิ์ แม้จะให้น้อยก็ตาม เมื่อจิตบริสุทธิ์ก็ชื่อว่ามาก ให้มากถ้าจิตไม่บริสุทธิ์ก็ชื่อว่าน้อย

จิตที่บริสุทธิ์นั้นก็หมายถึง มิใช่ให้เพื่อเพิ่มโลภะ แต่ว่าให้เพื่อที่จะชำระโลภะ ความโลภอยากได้ มัจฉริยะความหวงแหนตระหนี่เหนียวแน่น เป็นการสละจิต คือสละทางจิต ให้จิตบริสุทธิ์ดังกล่าว เมื่อเป็นดั่งนี้ก็ชื่อว่าจิตประณีต จะให้เพียงนิดหน่อยเมื่อจิตประณีตวัตถุที่ให้นั้นก็ประณีต จึงได้ผลมาก และผลมากที่ได้นั้นก็หมายถึงผลทางจิตใจ คือความบริสุทธิ์นั้นเอง
อ่านเพิ่มเติม

จิตที่มีศีล สมาธิ ปัญญา สมเด็จพระญาณสังวร

จิตที่มีศีล สมาธิ ปัญญา

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะ เป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงชี้ตรงเข้ามา ถึงจุดสำคัญแห่งการปฏิบัติธรรมะ คือจิต หรือจิตใจ ได้ตรัสไว้ในพระธรรมบทซึ่งแปลใจความว่า จิตดิ้นรนกวัดแกว่ง รักษายากห้ามยาก แต่ผู้ทรงปัญญาย่อมกระทำจิตให้ตรงได้ เหมือนอย่างช่างศรดัดไม้ที่จะทำเป็นลูกศรให้ตรงได้ ฉะนั้น ดั่งนี้ ทุกคนย่อมทราบจิตของตนเองว่าดิ้นรนกวัดแกว่งไปในอารมณ์ คือเรื่องทั้งหลายอยู่เป็นประจำ และหากว่าจะสังเกตดูเด็กเล็กๆ ที่หัดตั้งไข่ ยืนขึ้นได้ เดินได้ วิ่งได้ ก็จะเห็นว่าเด็กนั้นอยากจะร้องก็ร้อง อยากจะวิ่งเมื่อไรก็วิ่ง อยากจะเดินก็เดิน อยากจะนั่งก็นั่ง อยากจะนอนก็นอน ไม่เลือกเวลาสถานที่ อาการที่เด็กแสดงออกไปต่างๆ นั้น ก็แสดงถึงความดิ้นรนกวัดแกว่งแห่งจิตของเด็กนั้นเอง แต่เมื่อโตรู้เดียงสาขึ้นได้มีการฝึกหัดให้รู้จักรักษากิริยาวาจาเป็นต้น เด็กก็จะค่อยๆ สงบขึ้น ไม่วิ่ง ไม่เดิน ไม่นั่ง ไม่นอน ไม่ร้อง เป็นต้น เหมือนอย่างเมื่อยังเล็กๆ ทั้งนี้มิใช่ว่าจิตของเด็กนั้นจะสงบ ก็คงดิ้นรนกวัดแกว่งอยู่นั่นเอง แต่ว่าอาศัยการฝึกหัดกิริยาวาจาต่างๆ อันเนื่องเข้าไปถึงการฝึกหัดจิตใจ จึงทำให้เริ่มมีสติ เริ่มมีปัญญาที่จะควบคุมยับยั้งตัวเอง มาเป็นผู้ใหญ่ๆ ขึ้น ความที่มีสติปัญญาควบคุมยับยั้งตนเองก็มากขึ้น แต่ว่าจิตใจนั้นก็คงดิ้นรนกวัดแกว่งอยู่นั่นเอง แต่ว่ามีสติมีปัญญาที่จะควบคุมยิ่งขึ้น ถ้าหากว่าไม่มีสติปัญญาควบคุมให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว แม้ว่าเด็กเล็กๆ นั้นจะโตขึ้นจนถึงเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ก็คงจะต้องอยากวิ่งก็วิ่ง อยากเดินก็เดิน อยากนั่งก็นั่ง อยากพูดก็พูด อยากนอนก็นอน เหมือนอย่างเด็กเล็กๆ นั้นเอง เพราะจิตนี้ดิ้นรนกวัดแกว่งไปอย่างนั้นบ้าง ไปอย่างนี้บ้าง เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น ถ้าสติและปัญญาของผู้ใหญ่มีน้อยเหมือนอย่างสติปัญญาของเด็กเล็กๆ แล้ว แม้จะเป็นผู้ใหญ่อายุเท่าไหร่ก็คงจะปฏิบัติเหมือนอย่างเด็กเล็กๆ นั้นเอง เพราะภาวะของจิตดิ้นรนกวัดแกว่งอยู่เช่นเดียวกัน
อ่านเพิ่มเติม

จิตตานุปัสสนา สมเด็จพระญาณสังวร

จิตตานุปัสสนา

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

บัดนี้ จักแสดงธรรมะ เป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

อันจิตใจนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของบุคคล เป็นต้นเหตุหรือต้นทางของความดีความชั่วทุกอย่าง ของสุขทุกข์ทั้งปวง ตลอดถึงของมรรคผลนิพพาน และของความสิ้นทุกข์ด้วยประการทั้งปวง แต่จิตใจนี้ที่ยังมิได้อบรม ย่อมดิ้นรนกวัดแกว่งกระสับกระส่าย รักษายากห้ามยาก เหมือนดั่งที่ทุกๆ คนย่อมได้ประสบอยู่ ซึ่งจิตใจของตนเองอันมีลักษณะดังกล่าว พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงลักษณะของจิตใจที่ยังมิได้รับอบรมไว้ดังกล่าวนั้น แต่ก็ได้ทรงแสดงต่อไปอีกว่า บุคคลผู้ทรงปัญญาย่อมปฏิบัติกระทำจิตของตนให้ตรงได้ เหมือนอย่างนายช่างศรดัดลูกศร และได้ทรงแสดงต่อไปอีกว่าจิตย่อมดิ้นรน แม้ว่าผู้ปฏิบัติจะยกจิตขึ้นสู่กรรมฐาน คือสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ก็ยังเป็นเหมือนอย่างปลาที่จับยกขึ้นจากที่อยู่คือน้ำ วางไว้บนบก ปลานั้นก็ย่อมดิ้นรนเพื่อที่จะลงไปสู่น้ำ จิตก็เป็นเช่นนั้น แม้ว่าจะยกจิตขึ้นจากอารมณ์อันเป็นบ่วงของมาร ซึ่งเป็นที่อยู่ของจิตอันยังมิได้รับอบรม ขึ้นสู่กรรมฐานดังกล่าว เพื่อละบ่วงของมารนั้น ก็ย่อมดิ้นรนเช่นนั้น แต่ก็ได้ตรัสแล้วว่าผู้ทรงปัญญาย่อมทำจิตของตนให้ตรงได้ เหมือนอย่างช่างศรดัดลูกศร เพราะแม้ว่าจิตขณะที่ยกขึ้นสู่กรรมฐาน ยังดิ้นรนอยู่ แต่เมื่อมีความเพียร มีความรู้ตัว มีสติที่ระลึกได้อยู่ และคอยกำจัดความยินดีความยินร้าย หากมีธรรมะเหล่านี้ค้ำจุนอยู่ในที่สุดก็จะทำจิตให้สงบได้ เหมือนอย่างปลาที่จับยกขึ้นมาจากน้ำวางไว้บนบก แม้ทีแรกปลาจะดิ้น แต่เมื่อเหนื่อยแรงเข้าก็จะหยุดดิ้นไปโดยลำดับ จนถึงนิ่งสงบ จิตก็เป็นเช่นนั้น
อ่านเพิ่มเติม

ประมวลหลักปฏิบัติ สมเด็จพระญาณสังวร

ประมวลหลักปฏิบัติ

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะ เป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระผู้รู้ผู้เห็นได้ตรัสสั่งสอนไว้ ให้เราทั้งหลายพากันปฏิบัติธรรมะ ในที่แห่งหนึ่งได้ตรัสประมวลข้อที่พึงปฏิบัติไว้ทั้งหมด โดยพระพุทธภาษิตที่แปลความว่า ท่านทั้งหลายจงมีความหลีกเร้นเป็นอาราม คือเป็นที่มายินดี ยินดีในความหลีกเร้น ตามประกอบความสงบแห่งใจในภายใน กระทำฌานคือความเพ่งพินิจมิให้เสื่อมไป ประกอบด้วยวิปัสสนาความเห็นแจ้ง หรือปัญญาเห็นแจ้งพอกพูนเรือนว่างอยู่เถิด ดั่งนี้

ข้อปฏิบัติข้อแรก

พระพุทธานุสาสนี ที่แปลความมานี้เป็นอันประมวลหลักปฏิบัติไว้ทั้งหมด ทุกๆ คนผู้ปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาย่อมต้องปฏิบัติในหลักที่ทรงสั่งสอนไว้นี้ แม้ว่าจะตั้งแต่ในเบื้องต้นซึ่งดูเหมือนจะยังไม่เข้าหลักที่ทรงสั่งสอนไว้ แต่อันที่จริงนั้นก็ต้องเริ่มเข้าหลักที่ทรงสั่งสอนไว้นั้นตั้งแต่ข้อแรก คือมีความหลีกเร้นเป็นอารามคือเป็นที่มายินดี ยินดีในความหลีกเร้น ข้อนี้ย่อมหมายถึงตั้งแต่สถานที่ ซึ่งเข้าไปปฏิบัติ และข้อประกอบต่างๆ ของการที่จะเข้าไปสู่สถานที่ซึ่งปฏิบัตินั้นได้ ตลอดจนถึงความเพียร ดังเช่น ต้องการจะปฏิบัติในบ้านของตนเอง ก็ต้องเข้าไปสู่ที่หลีกเร้น อันเป็นกายวิเวกความสงัดกาย มาสู่ที่นี้ก็เป็นการมาสู่ที่หลีกเร้นเช่นเดียวกัน หลีกก็คือว่าหลีกออกจากเครื่องพัวพัน แม้ว่าจะชั่วระยะหนึ่งเวลาหนึ่งก็ตามที เร้นก็คือว่าสงบสงัด ตลอดจนถึงจิตใจต้องวางสิ่งที่เป็นภาระธุระทั้งหลายอย่างอื่น และการที่จะหลีกเร้นดั่งนี้ได้ ก็จะต้องมีข้อประกอบเช่นว่า ศีล คือความสำรวมกายวาจาใจของตนเอง แม้ว่าจะมิได้คิดรับหรือสมาทานศีลห้าศีลแปด หรือศีลที่ยิ่งไปกว่าก็ตาม แต่ว่าเมื่อจะปฏิบัติก็จะต้องเริ่มมีความสำรวมกายวาจาใจ กายวาจาใจต้องมีความสงบ ไม่วุ่นวาย ดั่งนี้ก็เป็นศีล และก็จะต้องมีความสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเรียกว่าอินทรียสังวร ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะที่มีความระลึกรู้ในอันที่จะปฏิบัติ จึงจะชักนำให้เข้ามาสู่สถานที่หลีกเร้น และกายวาจาใจของตนเองก็สงบ มีสติสัมปชัญญะ อันเป็นอาการหลีกเร้น ซึ่งเป็นอาการของศีล ของอินทรียสังวร ของสติ ของสัมปชัญญะ แม้ว่าในขั้นเริ่มต้นก็ตามที
อ่านเพิ่มเติม

เวทนานุปัสสนา ๔ ชั้น สมเด็จพระญาณสังวร

เวทนานุปัสสนา ๔ ชั้น
สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะ เป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้น ก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม ปัญญาในธรรมนั้นก็ต้องอาศัยศีลเป็นภาคพื้น อาศัยสมาธิเป็นบาท เป็นอันว่า ศีล สมาธิ ปัญญา หรือปัญญาศีลสมาธิ หรือปัญญาสมาธิและศีล ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน อันผู้ปฏิบัติธรรมะจะพึงปฏิบัติให้มีทั้งสาม ดังจะพึงเห็นได้ว่าปัญญานั้นต้องมีเป็นภาคพื้นมาก่อนเหมือนกัน คือปัญญาที่เป็นพื้น จึงทำให้รู้จักพุทธศาสนา รู้จักศีล รู้จักสมาธิ รู้จักปัญญา รู้จักปฏิบัติศีลสมาธิปัญญา นี้ต้องอาศัยปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาเป็นพื้นอยู่เพียงพอก็จะไม่รู้จัก ไม่สามารถปฏิบัติได้

ภัพพบุคคล

ดังจะพึงเห็นได้ถึงสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย ไม่มีปัญญาเพียงพอที่จะรู้จักธรรมะ ที่จะรู้จักปฏิบัติธรรมะ แต่มนุษย์นั้นมีปัญญาเพียงพอที่จะรู้จัก ที่จะปฏิบัติได้ แต่แม้เช่นนั้นก็มีระดับของปัญญาแตกต่างกัน ถ้าหากว่ามีปัญญาน้อยมากเกินไปก็ยากที่จะรู้จัก ยากที่จะปฏิบัติได้เหมือนกัน ต้องมีปัญญาพอสมควรที่เรียกว่า ภัพพบุคคล เป็นบุคคลผู้สมควร ก็คือมีปัญญาพอสมควรและนอกจากนี้ยังจะต้องมีกิเลสเบาบางพอสมควร ไม่ใช่กิเลสหนานัก ถ้าหากว่ามีกิเลสหนานัก ก็ยากที่จะรู้จักธรรมะ รู้จักปฏิบัติธรรมะได้ ดังเช่นที่มีโลภโกรธหลงจัดเกินไป หรือว่ามีทิฏฐิมานะที่รุนแรงเกินไป มีมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดที่ดิ่งลงไปมากที่เรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิที่ดิ่งลงไปก็ยากที่จะรู้จักธรรมะ ปฏิบัติธรรมะได้ ทำให้ไม่เป็น ภัพพบุคคล คือบุคคลผู้ที่สมควรเรียกว่าเป็นคนอาภัพหรือ อภัพ ไม่สมควร คือไม่อาจที่จะรู้จักที่จะปฏิบัติธรรมะให้บรรลุผลได้ หรือว่ามีกรรมที่ประกอบไว้หนักมากเกินไป ดังที่ยกขึ้นแสดงก็คือ อานันตริยกรรม กรรมที่หนักมาก กรรมนี้เองก็ทำให้ไม่สามารถบรรลุผลของธรรมะที่เป็นมรรคเป็นผลได้ แม้ว่าจะรู้จักธรรมะ และปฏิบัติธรรมะได้ตามสมควร ก็ได้บรรลุผลตามสมควร แต่ที่จะให้ได้มรรคให้ผลให้ได้นิพพานนั้นท่านว่าไม่ได้ ก็เป็นอาภัพหรือ อภัพพบุคคล ส่วนบุคคลนอกจากนี้ไม่โง่เง่าทึบมืดเกินไป มีปัญญาที่เป็นพื้นอยู่ตามสมควร และก็มีกิเลสที่ไม่หนามากนัก ไม่มีทิฏฐิมานะจัดนัก ไม่มีความเห็นผิดที่ดิ่งลงไป และมิได้ประกอบกรรมที่หนักมากเป็นขั้น อานันตริยกรรม เป็นภัพพบุคคล บุคคลผู้ที่สมควร สามารถที่จะรู้จักธรรมะ ที่จะปฏิบัติธรรมะ จนถึงบรรลุมรรคผลนิพพานได้ด้วยกัน เพราะฉะนั้นบุคคลส่วนใหญ่จึงกล่าวได้ว่าอยู่ในจำพวกภัพพบุคคล
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .