แนวคิดทางการศึกษาของท่านพุทธทาสภิกขุ

แนวคิดทางการศึกษาของท่านพุทธทาสภิกขุ

การศึกษาที่เอาแบบตะวันตกและมุ่งพัฒนาวัตถุนั้น เป็นการศึกษาที่เน้นความรู้เพื่อความรู้ ซึ่งมักให้ผลเป็นสภาพ “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด” เป็นเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีเป็นปรัชญา เป็นหลักการใช้เหตุผล แต่ไม่มีประโยชน์ในทางปฏิบัติ ไม่สามารถแก้ปัญหาส่วนตัว ปัญหาสังคม และทำให้ผู้เรียนพ้นทุกข์ได้ แม้แต่การเรียนพุทธศาสนาในปัจจุบันก็เป็นการเรียนแบบปรัชญา ไม่ใช่เรียนแบบศาสนา เป็นการฝึกการคิดเหตุผล และการพลิกแพลงทางภูมิปัญญาแต่ไม่ทำให้เข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริง

แนวคิดทางการศึกษาของพุทธทาสภิกขุ
พุทธทาสภิกขุ เป็นพระภิกษุที่เพียบพร้อมไปด้วยศีลาจารวัตรและภูมิปัญญาอันสูงยิ่งในสังคม ไทย ท่านเป็นรูปหนึ่งที่รอบรู้ทางการศึกษาและมองเห็นข้อบกพร่องของการศึกษาของ ไทย และได้เรียกการศึกษาในโลกปัจจุบันว่า “การศึกษาหมาหางด้วน” พร้อมทั้งเรียกร้องให้ปัญญาชนและผู้เกี่ยวข้องในด้านการศึกษาทุกท่านมาช่วย กันต่อหางสุนัข ท่านพุทธทาสมองว่าการศึกษาตามแบบปัจจุบันละเลยบทเรียนทางศีลธรรม การศึกษาที่ปราศจากการปลูกฝังจริยธรรม จึงเปรียบเหมือนสุนัขหางด้วนที่พยายามหลอกผู้อื่นว่า สุนัขหางด้วนเป็นสุนัขที่สวยงามกว่าสุนัขมีหาง ท่านจึงพยายามชี้ให้เห็นว่าสุนัขที่มีหางเป็นสุนัขที่สวยงาม การศึกษาจึงต้องเน้นบทเรียนทางศีลธรรม การศึกษาที่ไม่มีบทเรียนทางศีลธรรม ไม่เน้นภาคจริยศึกษา ย่อมไร้ประโยชน์ และอาจจะเป็นอันตรายต่อสังคมอีกด้วย อ่านเพิ่มเติม

100 รูป ร้อยกวี 100 ปีพุทธทาส

100 รูป ร้อยกวี 100 ปีพุทธทาส

วันที่ 5 – 20 พฤศจิกายน 2549 ณ พิพิธภัณฑ์ไทหัว จ.ภูเก็ต : ตลอดปี พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมา จนล่วงเข้าปี พ.ศ. 2549 นี้ ครอบครัว “วรรณานนท์” อันประกอบด้วย พ่อ แม่ และลูกชาย (ชัยวัฒน์,วรรณี,ปิยวัฒก์)ได้โดยสารรถตู้หนึ่งคันเป็นพาหนะ ตระเวนไปรับภาพเขียนและบทกวีของศิลปินตามภาคต่างๆ ที่ยินดีบริจาคผลงานเข้าร่วมแสดงในนิทรรศการ “100 รูป ร้อยกวี 100 ปี พุทธทาส”

เป็นที่ทราบกันดีว่าในปีนี้เป็นปี ครบรอบ 100 ปี ชาตกาล ของ ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ขณะที่หน่ายงานและองค์กรต่างๆได้เตรียมจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ เพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านที่ได้ทำหน้าที่ “ทาสของพระพุทธศาสนา” ในการถ่ายทอดและย่อยพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้คนธรรมดาๆ เช่นเราได้เข้าใจ อีกทั้งยังนำไปปรับใช้กับชีวิตได้เสมอมา

ชัยวัฒน์ วรรณานนท์ คนทำงานศิลปะซึ่งปวารณาตัวเป็นลูกศิษย์ท่านพุทธทาส ก็อยากที่จะจัดกิจกรรมดีๆเพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านเช่นกัน เขาจึงได้นำเรื่องไปปรึกษากับคนในครอบครัวว่าอยากจะระดมเพื่อนศิลปินด้วยกันจัดนิทรรศการศิลปะครั้งใหญ่ขึ้นสักครั้ง เมื่อคนในครอบครัวเห็นดีด้วยและตกลงใจว่าพร้อมจะเหนื่อยด้วยกันเขาจึงส่งสารถึงเพื่อนศิลปิน ตลอดจนชุมนุมศิลปะต่างๆ แล้วเริ่มต้นก่อการดีนับแต่นั้นเป็นต้นมา
อ่านเพิ่มเติม

น้ำชาล้นถ้วย (นิทานเซน) ท่าน พุทธทาสภิกขุ

น้ำชาล้นถ้วย (นิทานเซน) ท่าน พุทธทาสภิกขุ

น้ำชาล้นถ้วย

เรื่องที่หนึ่ง ซึ่งไม่อยากจะเว้นเสีย ทั้งที่ เคยเอ่ยถึงแล้ว วันก่อน คือ เรื่อง น้ำชาล้นถ้วย คือว่า อาจารย์ แห่งนิกายเซ็น ชื่อ น่ำอิน เป็น ผู้มีชื่อเสียง ทั่วประเทศ และ โปรเฟสเซอร์ คนหนึ่ง เป็น โปรเฟสเซอร์ ที่มีชื่อเสียง ทั่วประเทศ ไปหา อาจารย์น่ำอิน เพื่อขอศึกษา พระพุทธศาสนา อย่างเซ็น ในการต้อนรับ ท่านอาจารย์ น่ำอิน ได้รินน้ำชา ลงในถ้วย รินจนล้นแล้วล้นอีก โปรเฟสเซอร์ มองดูด้วยความฉงน ทนดูไม่ได้ ก็พูดโพล่งออกไปว่า “ท่านจะใส่มัน ลงไปได้อย่างไร” ประโยคนี้ มันก็แสดงว่า โมโห ท่านอาจารย์ น่ำอิน จึงตอบว่า” ถึงท่านก็เหมือนกัน อาตมาจะใส่อะไร ลงไปได้อย่างไร เพราะท่านเต็มอยู่ด้วย opinions และ speculations ของท่านเอง” คือว่า เต็มไปด้วยความคิด ความเห็น ตามความ ยึดมั่นถือมั่น ของท่านเอง และมีวิธีคิดนึก คำนวณ ตามแบบ ของท่านเอง สองอย่างนี้แหละ มันทำให้เข้าใจ พุทธศาสนาอย่างเซ็น ไม่ได้ เรียกว่า ถ้วยชามันล้น
อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาสภิกขุ : สวนโมกขพลาราม

136 ท่านพุทธทาสภิกขุ : สวนโมกขพลาราม

สวนโมกขพลาราม
สำนักปฏิบัติธรรม โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ
บริเวณรับแขกในสวนโมกข์ปัจจุบัน ม้านั่งตัวกลางนั้น
อาจารย์พุทธทาสเคยใช้รับแขกและสนทนาธรรมกับผู้มาเยือน

ที่มาของชื่อ ” สวนโมกข์พลาราม ” : เราว่าไปคนเดียว คิด คิด คิดไปตามกฎเกณฑ์ หรือตามถ้อยคำที่มีไช้อยู่
และเพื่อขบขันบ้าง เรามันมีนิสัยฮิวเมอริสท์อยู่บ้าง ฟลุคที่ว่ามันมีต้นโมก และต้นพลา
ที่สวนโมกข์เก่านั้น เอาโมกกับพลามาต่อกันเข้า มันก็ได้ความหมายเต็มว่า
” กำลังแห่งความหลุดพ้น ” ส่วนคำว่าอาราม แปลว่า ที่ร่มรื่น ที่รื่นรมย์ เมื่อมันฟลุคอย่างนี้มันก็ออกมาจริงจัง
ตรงตามความหมายแท้จริงของธรรมะ มีความหลุดพ้น เรียกว่า ” โมกข-พลาราม ”
เป็นชื่อสำนักป่าที่จัดขึ้นมาเพื่อส่งเสริมวิปัสนาธุระ
อ่านเพิ่มเติม

สังคมไทยกับทศวรรษแห่งการจากไปของพุทธทาสภิกขุ

สังคมไทยกับทศวรรษแห่งการจากไปของพุทธทาสภิกขุ – ส.ศิวรักษ์ –

ปาฐกถาในงาน ทศวรรษแห่งการจากไปของพุทธทาส
วันอังคารที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ณ ห้องประชุมศรีอยุธยา
หอวชิราวุธ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ ต่อจากฉบับ ๑๕๙

ที่ว่ามานั้นเป็นประเด็นหลัก หากยังมีประเด็นรองๆ ลงมาอีกบ้าง แต่ข้าพเจ้าไม่มีเวลาจะพรรณนาได้โดยละเอียด กล่าวคือ

(๑) ควรมีการจัดขั้นตอนคำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาส ให้คนที่ไม่คุ้นเคยกับคำพูดและข้อเขียนของท่าน ได้เริ่มอ่านหรือศึกษาจากง่ายไปหายาก ยิ่งสามารถทำเป็นการ์ตูนให้เด็กๆ ได้ลิ้มชิมรสวาทะของท่าน นั่นจะเป็นคุณค่าที่คัญยิ่ง

(๒) ศาสนพิธีนั้น เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนา โดยที่เถรวาทแบบไทยนั้น พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าฯ ทรงเริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาแต่สมัยทรงผนวชในรัชกาลที่ ๓ แล้วคงรูปลักษณ์สืบต่อๆ กันมา อย่างแทบจะไม่ได้ปรับปรุงให้ถึงแก่น เพื่อความเหมาะสมกับยุคสมัยเอาเลย ท่านอาจารย์พุทธทาส เพียงนำคำแปลมาประกอบ ให้ชาวบ้านร้านตลาดเข้าใจคำสวดสังวัธยายด้วยเท่านั้น อ่านเพิ่มเติม

ข้อคิดจากพุทธทาส

ข้อคิดจากพุทธทาส

พุทธทาสภิกขุในบริบทของสังคมไทย

ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์

—ภิกขุ (พ.ศ. ๒๔๔๙ – ๒๕๓๖) เป็นนักปฏิรูปพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดคนหนึ่ง ในประวัติศาสตร์ไทย การตีความพุทธศาสนาของท่าน นับเป็นความพยายามที่ต่อเนื่อง ในการปฏิรูปพุทธศาสนาของไทย ซึ่งเริ่มต้นขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) พุทธทาสภิกขุ ได้ตีความคำสอนของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทและธรรมเนียมการปฏิบัติ ของชาวพุทธไทย ด้วยการใช้ปัญญาและเหตุผล อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน และการเติบโตของชนชั้นกลางในสังคมไทย ซึ่งรวมถึงคนในวงการวิชาชีพต่าง ๆ และปัญญาชน ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ ท่านได้เป็นผู้วางกรอบทฤษฎีทางสังคมกับการศึกษาพระไตรปิฎก และการตีความพุทธศาสนา ด้วยปัญญาและเหตุผล ทำให้คำสอนของท่านกลายเป็นตัวแทนของ “ปัญญา” ในพุทธศาสนาของไทย
อ่านเพิ่มเติม

ล้อพุทธทาส (ล้ออายุ 107 ปี) ตอนที่ 1

ล้อพุทธทาส (ล้ออายุ 107 ปี) ตอนที่ 1

สุรพศ ทวีศักดิ์
กลุ่มพุทธศาสน์ของราษฎร

“มนุษย์เสมอกันในสายตาของพระเจ้า
แต่ไม่เสมอกันในความสามารถที่จะทำการปกครอง
เพราะฉะนั้น ประชาธิปไตยจึงเป็นไปไม่ได้
และอำนาจต้องรวมอยู่ในมือของเจ้าผู้ปกครอง
ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจในนามของพระเจ้า”
-มาร์ติน ลูเธอร์-

หากแปลงความคิดของลูเธอร์ข้างบนมาแทนความหมาย “เผด็จการโดยธรรม” ของพุทธทาส ก็จะเป็นว่า

“มนุษย์เสมอกันในสายตาของพระธรรม
แต่ไม่เสมอกันในความเหมาะสมที่จะทำการปกครอง
เพราะฉะนั้น ประชาธิปไตยโดยประชาชนที่ยังโง่ ใช้เสรีภาพตามกิเลสจึงเป็นไปไม่ได้
อำนาจต้องรวมอยู่ในมือของผู้เผด็จการโดยธรรม
ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจนั้นในนามของพระธรรม”
อ่านเพิ่มเติม

“พุทธทาสภิกขุ” ผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่ ส่องสว่างทางธรรมให้กับโลก

“พุทธทาสภิกขุ” ผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่ ส่องสว่างทางธรรมให้กับโลก

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ) วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลารามเพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ผลงานของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีปรากฏอยู่มากมายทั้งในรูปพระธรรมเทศนา และในงานเขียน โดยท่านตั้งใจทำการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ในฐานะที่เป็นพุทธะศาสนาอย่างแท้จริง นั่นคือเป็นศาสนาแห่งความรู้ ไม่เจือปนไปด้วยความหลงผิดที่เข้าแทรกจนกลายเป็นเนื้อร้ายที่คอยกัดกิน ได้แก่เรื่อง พุทธพาณิชย์, ไสยศาสตร์ และเรื่องความหลงใหลในลาภยศของพระสงฆ์ ฯลฯ อีกทั้งคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้ถูกถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ โดยที่ยังคงเนื้อหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งคำสอนของท่านยังรวมไปถึงเรื่องทั่วๆ ไปด้วย เช่น การทำงาน, การเรียน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตประจำวัน
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติการจัดทำปฏิทินธรรมพุทธทาส

ประวัติการจัดทำปฏิทินธรรมพุทธทาส

โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ

ช่วงที่พุทธทาสภิกขุยังมีชีวิตอยู่ มีประชาชนเป็นจำนวนมากเดินทางไปนมัสการท่านและถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึก พร้อมกับอัดภาพเหล่านั้นส่งไปถวายท่านเป็นจำนวนมาก พุทธทาสภิกขุเห็นว่าน่าจะทำภาพเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นและหวังจะให้ผู้ถ่ายภาพเหล่านั้นได้บุญมากขึ้น จึงแต่งบทกลอนสอนธรรมประกอบภาพแล้วเย็บติดกับภาพไว้ พร้อมกับบอกศิษย์ใกล้ชิดให้เก็บไว้ใช้ประโยชน์ในอนาคตเช่นเดียวกับเอกสารอื่นๆ ที่ท่านเขียนไว้

สำนักพิมพ์สุขภาพใจดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือธรรมะของพุทธทาสภิกขุตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๕ และเริ่มจัดพิมพ์ปฏิทินธรรมของท่านพุทธทาสเผยแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

พ.ศ. ๒๕๓๗ นำภาพประวัติของพุทธทาสภิกขุมาจัดพิมพ์เป็นปฏิทินแบบตั้งโต๊ะสำหรับแจกเป็นธรรมทาน

พ.ศ. ๒๕๓๘ นำคำสอนเรื่อง “ปฏิจจสมุปบาทในชีวิตประจำวัน” มาอธิบายพร้อมภาพประกอบ เพื่อให้เห็นกระบวนการเกิดขึ้นของทุกข์ และวิธีดับทุกข์หลากหลายแง่มุมในชีวิตประจำวัน (เป็นปีแรกที่จัดทำปฏิทินออกจำหน่าย)
อ่านเพิ่มเติม

นิทานเรื่องสั้นของท่านพุทธทาส เรื่อง แม่-ลูก

นิทานเรื่องสั้นของท่านพุทธทาส เรื่อง แม่-ลูก เป็นอีกมุมมองของ”นิทานเรื่องสั้น”เป็นการยกตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่าง แม่-ลูก ลูก ๒-๓ ขวบ ซึ่งเป็นเด็กน้อยกับแม่ในฐานะผู้ปกครอง วิภวตัณหาใครจะมากกว่ากัน

นิทานเรื่องสั้นของท่านพุทธทาส เรื่อง แม่-ลูก
กระบวน แห่สิงโต ผ่านมาในถนน ประชาชนแตกตื่น พากัน อุ้มลูกจูงหลานออกมาดู เด็กอายุ ๓-๔ ขวบคนหนึ่งร้องไห้ เพราะความกลัวสิงโต ก็ดิ้นอย่างจะสิ้นชีวิตลงไป แม่ต้องอุ้ม พาหนีเข้าไปใน สวนข้างถนนแห่งหนึ่ง พลางบ่นว่า น่าสงสารลูกโง่ๆ คนนี้เหลือเกิน แม่จะได้ดูอะไร สักนิด ก็ไม่ได้ดู
ทันใดนั้นเอง แม่ก็ดิ้น และร้อง วิ๊ดว๊าดขึ้น เพราะกิ้งกือตัวหนึ่ง เผอิญหล่นลงมา ากต้นไม้ ตกลงไปในเสื้อ ลูกเล็กๆ คนนั้นเองหัวเราะชอบใจ เมื่อเขาบอกแม่ว่า เขาจะช่วยหยิบออกให้ แล้วก็ช่วย หยิบทิ้งให้จริงๆ
อ่านเพิ่มเติม

นิทานเซ็น เล่าโดย .. ท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่อง ช่างไม่เมตตาเสียเลย

นิทานเซ็น เล่าโดย .. ท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่อง ช่างไม่เมตตาเสียเลย

เรื่องที่ ๖ เขาให้ชื่อเรื่องว่า “ช่างไม่เมตตาเสียเลย” อาตมา แปลออกมา ตามตัว ว่า “ช่างไม่เมตตาเสียเลย” เขาเล่าว่า ในประเทศจีน ในสมัยที่ นิกายเซ็น กำลังรุ่งเรืองมาก อีกเหมือนกัน ใครๆ ก็นิยมนับถือภิกษุ ในนิกายเซ็นนี้ มียายแก่ คนหนึ่ง เป็นอุปัฎฐาก ของภิกษุองค์หนึ่ง ซึ่งปฏิบัติเซ็น ด้วยความศรัทธา อย่างยิ่ง มาเป็นเวลาถึง ยี่สิบปี; แกได้ สร้างกุฏิน้อยๆ ที่เหมาะสม อย่างยิ่งให้ และส่งอาหารทุกวัน นับว่า พระภิกษุองค์นี้ ไม่ลำบาก ในการจะปฏิบัติ สมาธิภาวนาอะไรเลย แต่ในที่สุด ล่วงมาถึง ๒๐ ปี ยายแก่ เกิดความสงสัย ขึ้นมาว่า พระรูปนี้ จะได้อะไร เป็นผลสำเร็จ ของการปฏิบัติ บ้างไหม ที่มัน จะคุ้มกันกับ ข้าวปลาอาหาร ของเรา ที่ส่งเสียมาถึง ๒๐ ปี
อ่านเพิ่มเติม

คำคมธรรมะสอนใจ พระพุทธทาสภิกขุ (พุทธทาส อินทปัญโญ)

คำคมธรรมะสอนใจ พระพุทธทาสภิกขุ (พุทธทาส อินทปัญโญ)

ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ (พุทธทาส อินทปัญโญ) มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช ท่านถูกปลูกฝั่งเรื่องธรรมะมาตั้งแต่สมัยเด็ก ด้วยพ่อแม่ของท่านสนใจในเรื่องของธรรมะอย่างลึกซึ้ง ครั้งเมื่ออายุท่านได้ 20 ปีก็ได้ออกบวชตามเจตนารมณ์ของพ่อและแม่ตามความเชื่อของคนไทยที่ต้องให้ลูกบวชทดแทนพระคุณพ่อแม่ ท่านจึงได้ออกบวชที่วัดโพธาราม ไชยา ได้รับฉายาว่า “อินทปัญโญ” แปลว่า ผู้มีปัญญา อันยิ่งใหญ่ ตลอดชีวิต ของ ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ท่านบอกเสมอว่า “ธรรมะ” นั้น คือหน้าที่…ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุได้ทำหน้าที่ ในฐานะ ทาสผู้ซื่อสัตย์ ของพระพุทธเจ้า ทุกอณูแห่งลมหายใจ เข้าออก ผลงานของท่านที่ท่านได้สร้างสรรค์ไว้ให้แก่พระพุทธศาสนานั้นมีมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ท่านจะเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก…

” ธรรมะมีอยู่แล้ว ไม่ต้องสร้างขึ้น ไม่ต้องวิ่งหา
เพียงแต่ทำให้ปรากฏแก่จิต ที่อบรมอยู่แล้วอย่างถูกต้อง
เดี๋ยวนี้มัวสร้างมัวหา เลยไม่พบทั้งที่มีอยู่แล้ว ” อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาสภิกขุ

ท่านพุทธทาสภิกขุ

เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมยินดีสำหรับชาวไทยและชาวพุทธทุกคนที่องค์การยูเนสโกยกย่องท่าน

พุทธทาสภิกขุเป็นบุคคลสำคัญของโลก จากการประชุมสมัยสามัญขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือองค์การยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 3-21 ต.ค. 2548 และจะมีการจัดงานฉลอง 100 ปี ชาตกาลของท่าน ในวันที่ 27 พ.ค. 2549 จากปี 2505 ถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีบุคคลที่ได้รับประกาศยกย่องมาแล้ว 17 ราย ซึ่งท่านธรรมโกษาจารย์หรือ ท่านพุทธทาส เป็นรายที่ 18 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ให้เหตุผลว่า การที่องค์การยูเนสโกยกย่องท่านพุทธทาสภิกขุเป็นบุคคลสำคัญของโลกนั้น เพราะผลงานของท่านที่ได้ตั้งปณิธานไว้ 3 ข้อ คือ

1. ให้ศาสนิกชนไม่ว่าศาสนาใดก็ตามเข้าถึงความหมายอันลึกซึ้งแห่งศาสนาของตน
2. ท่านตั้งใจว่าจะทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา อันนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะทุกศาสนาต้องอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
3. ดึงเพื่อนมนุษย์ออกจากวัตถุนิยม เราอยู่ในโลกของวัตถุนิยม แต่เราจะต้องรู้เท่าทันไม่ถูกมอมเมาด้วยกิเลสและตัณหาที่ไม่สามารถยับยั้งชั่งใจได้ (มติชน 23 ต.ค. 2548 หน้า 13)
อ่านเพิ่มเติม

ใครว่า”พุทธทาส”ปฏิเสธนรกสวรรค์ชาตินี้ชาติหน้า.???

ใครว่า”พุทธทาส”ปฏิเสธนรกสวรรค์ชาตินี้ชาติหน้า.???

เมื่อเอ่ยถึงท่านพุทธทาส แห่งสวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี
หลายๆ คนต้องรู้จัก เพราะท่านเป็นพระที่สอนการปฏิบัติธรรมแบบทางตรงไม่อ้อมค้อม จนบางครั้งมีผู้สงสัยว่า

ไม่เห็นท่านเอ่ยถึงนรก สวรรค์ ชาตินี้ ชาติหน้า

ซึ่งบรรดาลูกศิษย์ของท่านหลายๆ คน เลยตัดสินว่าที่ท่านไม่พูดนั้นแสดงว่า ไม่มีจริง
เพราะท่านสอนแบบประโยชน์ในปัจจุบันจริงๆโดยเขาอ้างว่าตามพระไตรปิฎก ที่พระพุทธเจ้าสอนพุทธธรรมกำมือเดียว
แต่ใบไม้ที่นอกกำมือมีอีกมาก จะปฏิเสธไปเลยทีเดียวไม่ได้
ตามการวิเคราะห์ของผู้เขียน
ผู้ที่เข้ามาสนใจในการปฏิบัติธรรม มีหลายจำพวก แยกได้คือ
อ่านเพิ่มเติม

จิตประภัสสร (รวมคำบรรยายของท่านพุทธทาส)

จิตประภัสสร (รวมคำบรรยายของท่านพุทธทาส)

จิตประภัสสร เป็นคำที่ชาวพุทธควรรู้อย่างถูกต้อง มีคำบรรยายของท่านพุทธทาสที่ครอบคลุมแง่มุมต่างๆของจิตประภัสสรอยู่หลายแห่ง พอจะรวบรวมได้ดังนี้

@ ความหมายของ “จิตประภัสสร”
“จิตประภัสสร หมายถึงจิตเดิมแท้ที่ยังว่างอยู่ ยังไม่ถูกอะไรปรุงแต่ง ยังไม่ถูกหุ้มห่อด้วยกิเลส ไม่ถูกหุ้มห่อด้วยผลของกิเลส คือความดี ความชั่ว เป็นต้น เหมือนอย่างเพชร มันมีรัศมีในตัวมันเอง มันเรืองแสงของมันได้ เหมือนอย่างจิตเดิมแท้ประภัสสร แต่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ มันจึงเปลี่ยนแปลงได้ มันจึงต้องมีการอบรมจนเป็นประภัสสรที่ถาวร ชนิดที่ไม่มีอะไรมาปรุงแต่งให้เปลี่ยนแปลงได้”
(พุทธทาสภิกขุ พจนานุกรมธรรมของท่านพุทธทาส ธรรมสภา กรุงเทพ หน้า 144)
“ประภัสสร แปลว่า ซ่านออกแห่งรัศมี ประภา = รัศมี สะระ = ซ่านออกมา คือไม่มีมลทิน แต่มันอยู่ในลักษณะที่มลทินมาจับได้ มาครอบได้ เศร้าหมองได้ ก็เป็นทุกข์ได้ อบรมจนมลทินจับไม่ได้”
(พุทธทาสภิกขุ พจนานุกรมธรรมของท่านพุทธทาส ธรรมสภา กรุงเทพ หน้า 143)
“สิ่งที่เรารียกว่าจิตเดิมแท้ ที่เป็นตัวเดียวกันกับปัญญา เราหมายถึงจิตที่ว่างจากการยึดถือมั่น”
(พุทธทาสภิกขุ พจนานุกรมธรรมของท่านพุทธทาส ธรรมสภา กรุงเทพ หน้า 51)
อ่านเพิ่มเติม

ตามรอยวิถีธรรม 20 ปี มรณกาล ‘พุทธทาสภิกขุ’ (จบ)

ตามรอยวิถีธรรม 20 ปี มรณกาล ‘พุทธทาสภิกขุ’ (จบ)

หลังจากทราบประวัติความเป็นมาของท่านพุทธทาสภิกขุ ตั้งแต่พื้นฐานครอบครัวที่ตั้งรกรากอยู่ที่ตลาดพุมเรียง เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จนกระทั่งเรื่องราวชีวิตวัยเยาว์ วัยหนุ่มและช่วงแรกๆ ในเพศบรรพชิต ซึ่งในช่วงพรรษาที่ 3-4 ท่านพุทธทาสสอบนักธรรมเอกได้และเป็นอาจารย์สอนนักธรรมอยู่ที่วัดพระบรมธาตุไชยา
ในขณะเดียวกัน นายธรรมทาส พานิช น้องชายท่านพุทธทาสได้รวบรวมญาติมิตรที่สนใจในพระพุทธศาสนามาจัดตั้งคณะขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ.2472 และนี่คือจุดเริ่มก่อนที่จะกลายเป็น “คณะธรรมทาน” ในเวลาต่อมา
เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าให้ฟังว่า “นายธรรมทาสเขามีนิสัยอยากส่งเสริมพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ตั้งแต่ตอนที่เขาไปเรียนเตรียมแพทย์ที่จุฬาฯ (พ.ศ.2469) เขาไปพบบทความเกี่ยวกับการเผยแผ่พุทธศาสนาทางสมาคมมหาโพธิ ของธรรมปาละ และหนังสือยังอิสต์ ของญี่ปุ่น ได้เร้าใจให้เขาเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนา และหาหนังสือทางพุทธศาสนามาจากหอสมุดนั้นมาอ่านเสมอ อ่านเพิ่มเติม

“สังฆะ” ในทัศนะท่านพุทธทาส

“สังฆะ” ในทัศนะท่านพุทธทาส / พระดุษฎี เมธงฺกุโร

พระดุษฎี เมธงฺกุโร

เกริ่นนำ

ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นพระมหาเถระที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปและฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้มีชีวิตชีวา สามารถแก้ปัญหาและอำนวยประโยชน์แก่ชาวโลก โดยอาศัยการกลับไปหา “ต้นฉบับ” คือพระพุทธวจนะในพระไตรปิฎกเป็นแนวทาง และทดลองปฏิบัติจริง โดยดำเนินชีวิตอยู่ในป่าใกล้เคียงกับชีวิตพระอริยสาวกในครั้งพุทธกาล เพื่อเข้าถึงความรู้สึกส่วนลึกและบรรยากาศของการเข้าถึงธรรม และพยายามประยุกต์และประกาศธรรม นำสิ่งที่ค้นพบมาจำแนกแจกแจงให้เหมาะกับยุคสมัย มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ คือทดลองพิสูจน์ได้ ช่วยตอบปัญหาชีวิตแก่ปัจเจกบุคคล และยังเป็นแนวทางที่ช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาให้สังคมดังมีหนังสือชุด “ธรรมโฆษณ์” ที่ท่านใช้โฆษณาธรรม ให้คนเห็นคุณค่าของธรรมะที่ประเสริฐยิ่งกว่าสินค้าใด ๆ ที่เป็นวัตถุปัจจัยปรนเปรอกาย หากธรรมะเป็นอาหารใจ เป็นยาใจ และเป็นหลักใจที่จำเป็นที่สุดแก่โลกและชีวิต
อ่านเพิ่มเติม

ดับไม่เหลือ

ดับไม่เหลือ

อย่าเข้าใจว่าต้องเรียนมาก ต้องปฏิบัติลำบากจึงพ้นได้
ถ้ารู้จริงสิ่งเดียวก็ง่ายดาย รู้ดับให้ไม่มีเหลือเชื่อก็ลอง
เมื่อเจ็บไข้ความตายจะมาถึง อย่าพรั่นพรึงหวาดไหวให้หม่นหมอง
ระวังให้ดีดีนาทีทอง คอยจดจ้องให้ตรงจุดหยุดให้ทัน
ถึงนาทีสุดท้ายอย่าให้พลาด ตั้งสติไม่ประมาทเพื่อดับขันธ์
ด้วยจิตว่างปล่อยวางทุกสิ่งอัน สารพันไม่ยึดครองเป็นของเรา
ตกกระไดพลอยโจนให้ดีดี จะถึงที่มุ่งหมายได้ง่ายเข้า
สมัครใจดับไม่เหลือเมื่อไม่เอา ก็ ” ดับเรา ” ดับตนดลนิพพาน

เพื่อท่านพุทธทาส
โดย น.พ.สันต์ หัตถีรัตน์
ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันเสาร์ที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๖
อ่านเพิ่มเติม

แนวคิดทางการศึกษาของพุทธทาสภิกขุ

แนวคิดทางการศึกษาของพุทธทาสภิกขุ

พุทธทาสภิกขุ เป็นพระภิกษุที่เพียบพร้อมไปด้วยศีลาจารวัตรและภูมิปัญญาอันสูงยิ่งในสังคมไทย ท่านเป็นรูปหนึ่งที่รอบรู้ทางการศึกษาและมองเห็นข้อบกพร่องของการศึกษาของไทย และได้เรียกการศึกษาในโลกปัจจุบันว่า “การศึกษาหมาหางด้วน” พร้อมทั้งเรียกร้องให้ปัญญาชนและผู้เกี่ยวข้องในด้านการศึกษาทุกท่านมาช่วยกันต่อหางสุนัข ท่านพุทธทาสมองว่าการศึกษาตามแบบปัจจุบันละเลยบทเรียนทางศีลธรรม การศึกษาที่ปราศจากการปลูกฝังจริยธรรม จึงเปรียบเหมือนสุนัขหางด้วนที่พยายามหลอกผู้อื่นว่า สุนัขหางด้วนเป็นสุนัขที่สวยงามกว่าสุนัขมีหาง ท่านจึงพยายามชี้ให้เห็นว่าสุนัขที่มีหางเป็นสุนัขที่สวยงาม การศึกษาจึงต้องเน้นบทเรียนทางศีลธรรม การศึกษาที่ไม่มีบทเรียนทางศีลธรรม ไม่เน้นภาคจริยศึกษา ย่อมไร้ประโยชน์ และอาจจะเป็นอันตรายต่อสังคมอีกด้วย[1]
อ่านเพิ่มเติม

หน้าที่ของชีวิต – ท่านพุทธทาสภิกขุ

หน้าที่ของชีวิต – ท่านพุทธทาสภิกขุ

ท่านสาธุชนผู้มีความสนใจในธรรมทั้งหลาย

บัดนี้เป็นโอกาสแห่งการศึกษาฉากสุดท้ายสำหรับสิ่งที่มีชีวิต คือบัดนี้ได้มีการแสดง
ให้เห็นโดยชัดแจ้งว่า ชีวิตนี้จะจบลงอย่างไร ปรากฏการณ์อันนี้ ควรจะได้รับความสนใจ
ศึกษาให้เป็นประโยชน์ จึงควรถือว่าเป็นโอกาสสุดท้ายของการศึกษาจากสิ่งที่มีชีวิต

หน้าที่ของสังขาร

ความตายเป็นหน้าที่ของสังขาร สังขารคือสิ่งปรุงแต่งจากเหตุจากปัจจัย เมื่อเหตุปัจจัย
บางส่วนหยุดปรุงแต่ง มันก็มีความตายบางส่วน ปรากฏออกมาสำหรับสังขารส่วนนั้น
จึงถือว่าการตายเป็นหน้าที่ของสังขาร หรือสังขารที่หน้าที่ที่จะต้องตายดังนั้นจึงไม่ควร
มีความประหลาดใจอะไรในส่วนนี้
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .