พระธรรมคำสอน….สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระธรรมคำสอน….สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

คนเราทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ต้องทำต้องพูดอยู่ทุกๆ วัน เด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีสติ เมื่อทำอะไรพูดอะไรไปแล้ว ก็ระลึกได้ว่าได้ทำอะไรหรือพูดอะไรผิดหรือถูกเรียบร้อยหรือไม่เรียบร้อย เป็นต้น จะทำจะพูดอะไรก็มีความระลึกนึกคิดก่อนว่าดีหรือไม่ดี อย่างโบราณสอนให้นับสิบก่อน คือ ให้นึกให้รอบคอบก่อนนั่นเอง ในขณะที่กำลังทำกำลังพูดก็รู้ตัวอยู่เสมอ ไม่หลงลืมตัวไม่เผลอตัว บางคนมีปัญญาความรู้ดีแต่ขาดสติ ทำพูดอะไรผิดพลาดได้ อย่างที่พูดกันฉลาดแต่ไม่เฉลียว จึงสมควรหัดให้มี สติรอบคอบ

http://onknow.blogspot.com/2013/09/blog-post_6558.html

องค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

องค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สมเด็จพระสังฆราชสมเด็จ พระสังฆราช (เจริญ สุวัฑฒโน) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

พระองค์มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติที่อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงศึกษาที่โรงเรียนวัดเทวสังฆาราม เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา และบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเทวสังฆาราม เมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้ไปเรียนภาษาบาลีที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ. ๑๔๗๒ ได้มาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ศึกษาพระปริยัติธรรม ได้ตามลำดับดังนี้
พ.ศ. ๒๔๗๒ สอบได้นักธรรมชั้นตรี
พ.ศ. ๒๔๗๓ สอบได้นักธรรมชั้นโท และเปรียญธรรม ๓ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๗๕ สอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม ๔ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๗๖ อุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม จำพรรษาที่วัดนี้ ๑ พรรษา แล้วกลับมาวัดบวรนิเวศวิหาร อุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุติ และสอบไล่เปรียญธรรม ๕ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๗๗, ๒๔๗๘, ๒๔๘๑ และ ๒๔๘๔ สอบได้เปรียญธรรม ๖,๗,๘ และ ๙ ประโยคตามลำดับ
พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย และเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ และเป็นกรรมการสภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับพระทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระโศภณคณาภรณ์ และเป็นกรรมมหามงกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นกรรมการเถรสมาคม คณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว
พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นกรรมการอำนวยการมหามงกุฎราชวิทยาลัย และเป็นกรรมการแผนกตำราของมหามงกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นกรรมการตรวจชำระ คัมภีร์ฎีกา อ่านเพิ่มเติม

ทาน….โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ทาน….โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ทาน

การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ ๓ ประการ ถ้าประกอบถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ

องค์ประกอบข้อที่ ๑. “วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์”
วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนเองได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยยักยอก ทุจริต ลักทรัพย์ ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ

ตัวอย่าง ๑ ได้มาโดยการเบียดเบียนชีวิตและเลือดเนื้อสัตว์ เช่นฆ่าสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้นว่า ปลา โค กระบือ สุกร โดยประสงค์จะเอาเลือดเนื้อของเขามาทำอาหารถวายพระเพื่อเอาบุญ ย่อมเป็นการสร้างบาปเอามาทำบุญ วัตถุทานคือเนื้อสัตว์นั้นเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ แม้ทำบุญให้ทานไป ก็ย่อมได้บุญน้อย จนเกือบไม่ได้อะไรเลย ทั้งอาจจะได้บาปเสียอีก หากว่าทำทานด้วยจิตที่เศร้าหมอง แต่การที่จะได้เนื้อสัตว์มาโดยการซื้อหามาจากผู้อื่นที่ฆ่าสัตว์นั้น โดยที่ตนมิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจในการฆ่าสัตว์นั้นก็ดี เนื้อสัตว์นั้นตายเองก็ดี เนื้อสัตว์นั้นย่อมเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ เมื่อนำมาทำทานย่อมได้บุญมากหากถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบข้ออื่น ๆ ด้วย
อ่านเพิ่มเติม

บางมุมของ “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” ที่ชาวพุทธยังไม่รู้

บางมุมของ “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก”
ที่ชาวพุทธยังไม่รู้

3 ตุลาคม เป็นวันที่เหล่าพุทธศาสนิกชนชาวไทย ล้วนปลาบปลื้มปีติเป็นล้นพ้น เนื่องด้วยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเจริญพระชันษา 100 ปี พระองค์ทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2532 นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ด้วยพระองค์ทรงมีพระเมตตาต่อพุทธศาสนิกชนไทยเป็นล้นพ้น ทรงประกอบศาสนกิจเป็นคุณประโยชน์อเนกอนันต์ มิเพียงแต่ชาวพุทธในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังทรงแผ่พระเมตตาบารมีไปทั่วโลก พระองค์ท่านจึงได้รับการยกย่องจากทั้งชาวพุทธในประเทศไทยและในต่างประเทศ

พระ ดร.อนิลมาน ศากยะ ผู้ช่วยเลขานุการ สมเด็จพระสังฆราช ได้เมตตาเล่าถึงพระประวัติส่วนพระองค์ ที่สะท้อนถึงพระจริยวัตรอันงดงาม มีคุณค่าแก่ชาวพุทธ ให้ได้ยึดถือเป็นแบบอย่างสืบเนื่องต่อไป พระ ดร.อนิลมาน ศากยะ เป็นชาวเนปาล สมเด็จพระสังฆราชทรงรับอุปถัมภ์ตั้งแต่เป็นสามเณรอายุ 14 ปี ทรงสั่งสอนหลักธรรม และส่งเสริมให้เรียนรู้จนจบปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ด้วยพระ ดร.อนิลมาน รับใช้สมเด็จพระสังฆราชมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กจนเจริญวัยในปัจจุบัน จึงเป็นท่านหนึ่งที่ทราบถึงพระประวัติส่วนพระองค์ทุกเรื่องได้เป็นอย่างดี
อ่านเพิ่มเติม

พระองค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวัฑฒโน)

พระองค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวัฑฒโน)

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวัฑฒโน)

วัดบวรนิเวศวิหาร

ภูมิลำเนาเดิม : ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรนายน้อย นางกิมน้อย คชวัตร

วันประสูติ : ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๖ ในรัชกาลที่ ๖

วันสถาปนา : ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระชนมายุ : ๘๙ พรรษา

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า เจริญ นามสกุล คชวัตร นามฉายาว่า สุวัฑฒโน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ลำดับที่ ๖ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นต้นมา

พระประวัติ
สมเด็จฯ มีชาติภูมิอยู่ ณ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนที่ ๑ ในจำนวนบุตร ๓ คน ของนายน้อย คชวัตร และนางกิมน้อย คชวัตร ชาติกาล ณ บ้านวัดเหนือ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ เวลา ๐๔.๐๐ น. เศษ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
อายุได้ ๘ ขวบ ได้เข้าศึกษาชั้นต้น ณ โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม และโรงเรียนในสมัยนั้นก็คือ ศาลาวัดนั่นเอง จบชั้นประถม ๓ ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ มีอายุย่างเข้าปีที่ ๑๔ ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเทวสังฆาราม มีพระครูอดุลสมณกิจ (ดี พุทธโชติ) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อออกพรรษาแล้วได้ไปเรียนบาลีไวยากรณ์ที่วัดเสนหา จังหวัดนครปฐม ในพรรษานั้น เพื่อกลับมาสอนที่วัดเทวสังฆาราม ในพรรษาต่อมาคือ พ.ศ. ๒๔๗๒ พระครูอดุลสมณกิจได้พาสมเด็จฯ มาถวายตัวต่อเจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (พระยศในขณะนั้นของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่ออยู่ศึกษาต่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ประทานนามฉายาว่า สุวัฑฒโน อ่านเพิ่มเติม

พระเจดีย์ ๘๔ พรรษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระเจดีย์ ๘๔ พรรษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระเจดีย์ ๘๔ พรรษาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกหลวงพ่ออุตตะมะเป็นประธานวางศิลาฤกษ์เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๖ในสมัยพระอธิการสมเด็จ วราสโย สร้างเพื่อถวายกุศลในวโรกาสเจริญพระชนมายุ ๗ รอบ ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งมีชาติภูมิเป็นคนจังหวัดกาญจนบุรี

สถานที่ตั้ง

ชื่อสถานที่ตั้ง วัดท่าขนุน เลขที่ ๒๓๕ หมู่ที่ ๑ บ้านท่าขนุน ถนนกาญจนบุรี –สังขละบุรี ตำบลท่าขนุนอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

http://m-culture.in.th/moc_new/album/

น้อมถวายอาลัยแด่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราชองค์ที่ 19

น้อมถวายอาลัยแด่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราชองค์ที่ 19

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่ง เมื่อปี 2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และยังเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์แรกของไทยที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 100 พรรษา เมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าทรงมีพระชนมายุมากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 9 ซึ่งมีพระมหาเถระได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จสังฆราชทั้งหมด 19 พระองค์ ที่สำคัญทรงดำรงสมณศักดิ์สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก รวม 24 ปี ถือว่ายาวนานที่สุดเมื่อเทียบกับสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตที่ผ่านมา

ทั้งยังทรงได้ยกย่องให้เป็น “ผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา” เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 ในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธโลกจาก 32 ประเทศ ที่ได้ทูลถวายตำแหน่งพระเกียรติยศอันสูงสุด แสดงให้เห็นถึงพระเกียรติคุณที่ได้รับการแซ่ซ้องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลก

ขอบคุณที่มา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 ตุลาคม 2556 22:35 น.
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000133348
ประมวลภาพ : พระจริยวัตร พระกรณียกิจ “สมเด็จพระสังฆราช” ในดวงใจชาวไทยกว่า 24 ปี
แก้ไขเมื่อ 25-10-2013 14:06:57

“สองธรรมราชา”

ในหลวง กับ สมเด็จพระสังฆราช

สองพระองค์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่แห่ง “อาณาจักร” และ “ศาสนจักร” ของประเทศไทย
ผู้ทรงเปี่ยมด้วยคุณธรรมและเมตตาธรรมอันสุดประมาณ
อ่านเพิ่มเติม

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วิธีสร้างบุญบารมี หน้า 4

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วิธีสร้างบุญบารมี>>หน้า 4

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วิธีสร้างบุญบารมี(4)

ต่อไปนี้เป็นการเจริญสมถะและวิปัสสนาอย่างง่ายๆประจำวัน ซึ่งควรจะได้ทำให้บ่อยๆ ทำเนืองๆ ทำให้มากๆ ทำจนจิตเป็นอารมณ์แนบแน่น ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใด คือไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ก็คิดและใคร่ครวญถึงความเป็นจริง 4 ประการ ดังต่อไปนี้ หากทำแล้วพระพุทธองค์ตรัสว่า “จิตของผู้นั้นไม่ห่างจากวิปัสสนา และเป็นผู้ที่ไม่ห่างจากมรรค ผล นิพพาน” คือ

(1) มีจิตใคร่ครวญถึงมรณัสสติกรรมฐาน
หรือมรณานุสสติกรรมฐาน ซึ่งก็คือการใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ อันความมรณะนั้นเป็นธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครสามารถที่จะเอาชนะได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงบรรลุถึงพระธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ตาย แต่ก็ยังต้องทรงทอดทิ้งพระสรีระร่างกายไว้ในโลก การระลึกถึงความตายจึงเป็นการเตือนสติให้ตื่น รีบพากเพียรชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ก่อนที่ความตายจะมาถึง พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญมรณัสสติว่า “มรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย) อันบุคคลทำให้มากแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่พระนิพพานเป็นที่สุด ฯลฯ” อันมรณัสสติกรรมฐานนั้น แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ซึ่งแม้จะได้บรรลุมรรคผลแล้ว ก็ยังไม่ยอมละ เพราะยังทรงอารมณ์มรณัสสตินี้ควบคู่ไปกับวิปัสสนา เพื่อความอยู่เป็นสุข ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ตถาคถนึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าและออก ฯลฯ”

มรณัสสติกรรมฐานนั้น โดยปกติเป็นกรรมฐานของผู้ที่มีพุทธิจริต คือคนที่ฉลาด การใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ ก็คือการพิจารณาถึงความเป็นจริงที่ว่า ไม่ว่าคนและสัตว์ทั้งหลาย เมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว เฒ่าแก่ สูง ต่ำ เหลื่อมล้ำกันด้วยฐานันดรศักดิ์อย่างใด ในที่สุดก็ทันกันและเสมอกันด้วยความตาย ผู้ที่คิดถึงความตายนั้น เป็นผู้ที่ไม่ประมาทในชีวิต ไม่มัวเมาในชีวิต เพราะเมื่อคิดถึงแล้วย่อมเร่งกระทำความดีและบุญกุศล เกรงกลัวต่อบาปกรรมที่จะติดตามไปในภพชาติหน้า ผู้ที่ประมาทมัวเมาต่อทรัพย์สมบัติยศศักดิ์ตำแน่งหน้าที่นั้นเป็นผู้ที่หลง เหมือนกับคนที่หูหนวกและตาบอด ซึ่งโบราณกล่าวตำหนิไว้ว่า “หลงลำเนาเขาป่ากู่หาพอได้ยิน หลงยศอำนาจย่อมหูหนวกและตาบอด” และกล่าวไว้อีกว่า “หลงยศลืมตาย หลงกายลืมแก่” และความจริงก็มีให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ที่บางท่านใกล้จะเข้าโลงแล้ว ก็ยังหลงและมัวเมาในอำนาจ วาสนา ตำแหน่งหน้าที่ จนลืมไปว่าอีกไม่นานตนก็จะต้องทิ้ง ต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนได้หลงมัวเมาเฝ้าแสวงหาหวงแหนเกาะแน่นอยู่นั้น ก็จะต้องสลายไปพร้อมกับความตายของตน สูญเปล่าไม่ได้ตามติดกับตนไปด้วยเลย แล้วไม่นานผู้คนที่อยู่เบื้องหลังก็ลืมเลือนตนไปเสียสิ้น ดูเหมือนกับวันเวลาทั้งหลายที่ตนได้ต่อสู้เหนื่อยยากขวนขวายจนได้สิ่งดังกล่าวมานั้น ต้องโมฆะสูญเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้เลย

อ่านเพิ่มเติม

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วิธีสร้างบุญบารมี หน้า 3

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วิธีสร้างบุญบารมี หน้า 3

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วิธีสร้างบุญบารมี(3)

3. การภาวนา

การเจริญภาวนานั้น เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น มี 2 อย่าง คือ (1) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) และ (2) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) แยกอธิบายดังนี้ คือ

(1) สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
สมถภาวนา ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาน ซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่นๆ วิธีภาวนานั้น มีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ 40 ประการ เรียกกันว่า “กรรมฐาน 40” ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างสมอบรมมาแต่ในอดีตชาติ เมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใด จิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่นๆ และการเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อน คือหากเป็นฆราวาสก็จะต้องรักษาศีล 5 เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณรก็จะต้องรักษาศีล 10 หากเป็นพระก็จะต้องรักษาศีลปาฏิโมกข์ 227 ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาดและด่างพร้อย จึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้ หากศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน (เป็นกำลัง) ให้เกิดสมาธิขึ้น อานิสงส์ของสมาธินั้น มีมากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า “แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล 227 ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง 100 ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู” คำว่า “จิตสงบ” ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” คือสมาธิเล็กๆ น้อยๆ สมาธิแบบเด็กๆ ที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลง แล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่ ซึ่งเป็นอารมณ์จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น สงบวูบลงเล็กน้อยแล้วก็รักษาไว้ไม่ได้ ซึ่งยังห่างไกลต่อการที่จิตถึงขั้นเป็นอุปจารสมาธิและฌาน แม้กระนั้นก็ยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้ โดยหากผู้ใดจิตทรงอารมณ์อยู่ในขั้นขณิกสมาธิแล้วบังเอิญตายลงในขณะนั้น อานิสงส์นี้จะส่งผลให้ได้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่ 1 คือชั้นจาตุมหาราชิกา หากจิตยึดไตรสรณคมน์ (มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันสูงสุดด้วย ก็เป็นเทวดาชั้น 2 คือ ดาวดึงส์)

สมาธินั้น มีหลายขั้นตอน ระยะก่อนที่จะเป็นฌาน (อัปปนาสมาธิ) ก็คือขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิ ซึ่งอานิสงส์ส่งให้ไปบังเกิดในเทวโลก 6 ชั้น แต่ยังไม่ถึงชั้นพรหมโลก สมาธิในระดับอัปปนาสมาธิหรือฌานนั้น มีรูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4 ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้ไปบังเกิดในพรหมโลกรวม 20 ชั้น แต่จะเป็นชั้นใดย่อมสุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌานที่ได้ (เว้นแต่พรหมโลกชั้นสุทธาวาสคือ ชั้นที่ 12 ถึง 16 ซึ่งเป็นที่เกิดของพระอนาคามีบุคคลโดยเฉพาะ) รูปฌาน 1 ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้น 1 ถึงชั้น 3 สุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌาน 1 ส่วนอรูปฌานที่เรียกว่า “เนวสัญญา นาสัญญายตนะ” นั้น ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือชั้นที่ 20 ซึ่งมีอายุยืนยาวถึง 84,000 มหากัป เรียกกันว่านิพพานพรหม คือนานเสียจนเกือบหาเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดมิได้ จนเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นนิพพาน

อ่านเพิ่มเติม

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วิธีสร้างบุญบารมี หน้า 2

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วิธีสร้างบุญบารมีหน้า 2

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วิธีสร้างบุญบารมี(2)

3. ร่ำรวยปัจฉิมวัย คือร่ำรวยในบั้นปลายชีวิตนั้น สืบเนื่องมาจากผลทานที่ผู้กระทำมีเจตนางามไม่บริสุทธิ์ในระยะแรกและระยะที่ 2 แต่งามบริสุทธิ์เฉพาะในระยะที่ 3 กล่าวคือ ก่อนและในขณะที่ลงมือทำทานอยู่นั้น ก็มิได้มีจิตโสมนัสยินดีในการทำทานนั้นแต่อย่างใด แต่ได้ทำลงไปโดยบังเอิญ เช่นทำตามๆพวกพ้องไปอย่างเสียไม่ได้ แต่เมื่อได้ทำไปแล้ว ต่อมาหวนคิดถึงผลทานนั้น ก็เกิดจิตโสมนัสร่าเริงยินดีเบิกบาน หากผลทานชนิดนี้จะน้อมนำให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลที่ยากจนคับแค้น ต้องต่อสู้ดิ้นรนศึกษาเล่าเรียนและขวนขวายสร้างตนเองมากตั้งแต่วัยต้นจนล่วงวัยกลางคนไปแล้ว กิจการงานหรือธุรกิจนั้นก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ เช่นต้องล้มลุกคลุกคลานตลอดมา แต่ครั้นถึงบั้นปลายชีวิตก็ประสบช่องทางเหมาะ ทำให้กิจการงานนั้นเจริญรุ่งเรืองทำมาค้าขึ้นและร่ำรวยอย่างไม่คาดหมาย ซึ่งชีวิตจริงๆของคนประเภทนี้ก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่มาก

องค์ประกอบข้อ 3. “เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์”
คำว่า “เนื้อนาบุญ” ในที่นี้ได้แก่บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานนั้นเอง นับว่าเป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด แม้ว่าองค์ประกอบในการทำทานข้อ 1 และ 2 จะงามบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้ว กล่าวคือวัตถุที่ทำทานนั้นเป็นของที่แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เจตนาในการทำทานก็งามบริสุทธิ์พร้อมทั้งสามระยะ แต่ตัวผู้รับการทำทานเป็นคนที่ไม่ดี ไม่ใช่ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญที่เลว ทานที่ทำไปนั้นก็ไม่ผลิดอกออกผล เปรียบเหมือนกับการหว่านเมล็ดข้าวเปลือกลงในพื้นนา 1 กำมือ แม้เมล็ดข้าวนั้นจะเป็นพันธุ์ดีที่พร้อมจะงอกงาม (วัตถุทานบริสุทธิ์) และผู้หว่านคือกสิกรที่มีเจตนาจะหว่านเพื่อทำนาให้เกิดผลิตผลเป็นอาชีพ (เจตนาบริสุทธิ์) แต่หากที่นานั้นเป็นที่ที่ไม่สม่ำเสมอกัน เมล็ดข้าวที่หว่านลงไปก็งอกเงยไม่เสมอกัน โดยเมล็ดที่ไปตกในที่เป็นดินดี ปุ๋ยดี มีน้ำอุดมดีก็จะงอกเงยมีผลิตผลที่สมบูรณ์ ส่วนเมล็ดที่ไปตกบนพื้นนาที่แห้งแล้ง มีแต่กรวดกับทรายและขาดน้ำ ก็จะแห้งเหี่ยวหรือเฉาตายไป หรือไม่งอกเงยเสียเลย

อ่านเพิ่มเติม

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วิธีสร้างบุญบารมี

บุญ ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) กล่าวว่า บุญ คือ เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฑติชอบทางกาย วาจา และใจ กุศลธรรม
บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง

วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ 3 ขั้นตอน คือการให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา ที่นิยมเรียกกันว่า “ทาน ศีล ภาวนา” ซึ่งการให้ทานหรือการทำทานนั้น เป็นการสร้างบุญที่ต่ำที่สุด ได้บุญน้อยที่สุด ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าการถือศีลไปได้ การถือศีลนั้นแม้จะมากอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด ได้มากที่สุด ในทุกวันนี้เรารู้จักกันแต่การให้ทานอย่างเดียว เช่นการทำบุญตักบาตร ทอดกฐินผ้าป่า สละทรัพย์สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ส่วนการถือศีล แม้จะได้บุญมากกว่าการทำทาน ก็ยังมีการทำกันเป็นส่วนน้อย เพื่อความเข้าใจอันดี จึงขอชี้แจงการสร้างบุญบารมี อย่างไรจึงจะเป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้บุญบารมีมากที่สุดดังนี้คือ

1. การทำทาน

การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้นจะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ 3 ประการ ถ้าประกอบหรือถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบ 3 ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ

องค์ประกอบข้อ 1. “วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์”
วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยทุจริต ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ

อ่านเพิ่มเติม

อัศจรรย์บารมี สมเด็จพระสังฆราช “เรียกฝนดับไฟ”

อัศจรรย์บารมี สมเด็จพระสังฆราช “เรียกฝนดับไฟ”

เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๔ เวลาประมาณ ๐๒.๐๐ น. ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ใหญ่ที่ชุมชนตรอกบวรรังษี หลังวัดบวรนิเวศวิหาร ต้นเหตุเกิดจากบ้านของแขกขายถั่วซึ่งติดอยู่กับ ตึก สว.ธรรมนิเวศ ที่เตรียมทอดถั่วสำหรับขายในวันต่อไป ไฟได้ลุกลามแผ่ขยายออกไปเรื่อยๆ อย่างใหญ่โตมโหฬารไม่อาจยับยั้งได้ อีกทั้งถนนเข้าชุมชนนั้นก็คับแคบมาก และมีสิ่งกีดขวางมากมาย ยากที่รถดับเพลิงจะเข้าไปทำการสกัดไฟใดๆ ได้

ศิษย์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก บางท่านได้ทุบประตู “พระตำหนักคอยท่าปราโมช” ชั้นบนอันเป็นที่ประทับอย่างแรง เพื่อปลุกเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ให้หนีไฟ ซึ่งตอนนั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯ กำลังทรงนั่งสมาธิอยู่ จึงทรงมีรับสั่งสั้นๆ อย่างพระทัยเย็นแต่เพียงว่า

“ไฟไหม้รึ…??”

ครั้นแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ทรงครองจีวรเสด็จลงจากพระตำหนัก ตอนนั้น พระสัทธิวิหาริกต้องการนำเสด็จไปที่ศาลา ๑๕๐ ปีอันตั้งอยู่กลางวัด ซึ่งน่าจะเป็นที่น่าจะปลอดภัยกว่า ทว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มิโปรดที่จะกระทำเช่นนั้น แต่กลับเสด็จเข้าไปที่ใกล้ที่เกิดเหตุ ที่เพลิงกำลังโหมไหม้อย่างหนักหน่วงอยู่ โดยเสด็จขึ้นไปยังบนชั้น ๕ ของตึก สว.ธรรมนิเวศ ซึ่งอยู่ติดๆ กับเขตเพลิงไหม้อย่างน่ากลัวที่สุดโดยมิทรงหวั่นเกรงต่อภยันตรายใดๆ เมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เสด็จขึ้นถึงชั้นที่ ๕ ของตึก สว.ธรรมนิเวศ ก็มีรับสั่งให้ศิษย์เปิดหน้าต่างออก ทำให้แลเห็นพระเพลิงกำลังโชนไหม้ชุมชนแออัดอย่างรุนแรง เสียงไฟที่กำลังโหมกระหน่ำ เสียงผู้คนที่ขนของหนีไฟเอาชีวิตรอดดังอึงคะนึงสับสนอลหม่านระงมไปหมด เป็นที่น่าหวาดหวั่นปนน่าสังเวชเวทนาเป็นที่ยิ่ง
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมะ – พระจริยาของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ธรรมะ – พระจริยาของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

หากจะถามว่าในบรรดาสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทั้งหมด 19 พระองค์ สมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษาถึง 100 ปี มีกี่พระองค์ คำตอบ มีเพียง “หนึ่งพระองค์” เท่านั้น คือ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน คชวัตร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราช องค์ที่ 19

พระจริยวัตรของพระองค์โสภณะงดงามและน่าเลื่อมใสยิ่ง พระเกียรติคุณทั้งก่อนจะได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช และตลอด 25 ปีในตำแหน่งประมุขสงฆ์ไทยได้ผรณาการแผ่ไพศาลทั้งในและต่างประเทศ ทว่าพระจริยาและพระเกียรติคุณมีอเนกอนันต์ มิอาจพรรณนาหมดสิ้น หลายเรื่องเป็นที่ปรากฏ แต่ก็มีหลายเรื่องที่ชาวไทยและพุทธศาสนิกชนอาจไม่เคยได้ยินที่ไหนมาก่อน และเพื่อเทิดพระเกียรติ จึงขอถ่ายทอดพระจริยาและพระเกียรติคุณจากปากของผู้ที่ถวายงานและเคยถวายงานใกล้ชิด

แม้สุขภาพกายไม่ดี…แต่ทรงอายุยืน

หากใครที่เคยอ่านพระประวัติของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช จะทราบว่าพระองค์มีพระสุขภาพไม่ค่อยดีตั้งแต่ทรงพระเยาว์ด้วยมีโรคประจำตัว แต่ใครจะคิดว่าพระองค์จะทรงปฏิบัติศาสนกิจโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและยังเจริญด้วยอายุถึง 100 ปี ทรงมีเคล็ดลับหรือทรงปฏิบัติพระองค์อย่างไร

พระ ดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย หนึ่งในผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช และผู้ถวายการปรนนิบัติสมเด็จพระสังฆราชตั้งแต่ตัวเองยังเป็นสามเณรอายุ 14 ปี เล่าว่า จริงอยู่ในแง่พระสุขภาพนั้นไม่ดีมาตั้งแต่เด็ก เพราะมีโรคประจำตัว แต่พระองค์ไม่เคยคิดว่าพระวรกายเป็นปัญหา ไม่ย่อท้อต่อโรค ทรงมีพระทัยมุ่งมั่นกอปรด้วยพระวิริยอุตสาหะในการฟันฝ่าอุปสรรคนับครั้งไม่ถ้วน ที่สำคัญทรงใช้สมาธิในการดูแลพระวรกายไปพร้อมกับการรักษาของหมอ
อ่านเพิ่มเติม

ถึงวัดบวรฯแล้ว! พระศพสมเด็จพระสังฆราช ชาวพุทธน้อมอาลัย

ถึงวัดบวรฯแล้ว! พระศพสมเด็จพระสังฆราช ชาวพุทธน้อมอาลัย

เคลื่อนขบวนพระศพสมเด็จพระสังฆราชจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ถึงวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ชาวพุทธเฝ้าส่งพระศพตลอดเส้นทาง ทางวัดเปิดให้ถวายสักการะ สรงน้ำพระศพ ถึง 16.00 น. วันนี้
วันนี้ บรรยากาศที่วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กทม. ได้มีการจัดเตรียมสถานที่หลังทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
โดยมี สมเด็จพระวันรัต เป็นผู้ควบคุมดูแลการจัดเตรียมสถานที่ให้พร้อมก่อนจะเคลื่อนพระศพมาประดิษฐาน ณ ตำหนักเพ็ชร ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ท่ามกลางประชาชนที่ทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ ได้เริ่มทยอยเดินทางมาบริเวณวัดเพื่อติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด
ในเวลา 12.15 น. ที่ผ่านมา สำนักพระราชวังได้เคลื่อนขบวนพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ออกจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อไปประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลพระศพที่วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว
โดยมีคณะแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก พร้อมใจกันมายืนตั้งแถวเพื่อส่งพระศพตลอดเส้นทาง ท่ามกลางบรรยากาศอันโศกเศร้า
กระทั่งในเวลา 12.55 น. ขบวนอัญเชิญพระศพได้เดินทางถึงพระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีข้าราชการทหาร ประชาชน มาเฝ้ารอรับพระศพอย่างเนืองแน่น ซึ่งประชาชนที่มานั้นต่างแต่งกายด้วยชุดขาวดำ บางรายร่ำไห้ด้วยความอาลัย
นอกจากนี้ มีพุทธศาสนิกชนบางส่วนร่วมกันสวดมนต์ถวายพรแด่สมเด็จพระสังฆราช ขอให้พระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัย
ทั้งนี้ ทางวัดบวรนิเวศวิหารจะเปิดให้ประชาชนร่วมถวายสักการะและสรงน้ำพระศพ ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป จนถึงเวลาประมาณ 16.00 น. ที่อาคารมนุษยนาควิทยาทาน
ก่อนจะเคลื่อนพระศพมายังพระตำหนักเพ็ชร เพื่อประกอบพระราชพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ โดย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์ เป็นประธานในพิธี ในเวลา 17.00 น.

http://www.talkystory.com/?p=67364

๒๕๕๖ ปีมหามงคล พระชันษาครบ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

๒๕๕๖ ปีมหามงคล พระชันษาครบ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา

พุทธศักราช 2556 ปีที่หน้าประวัติศาสตร์ของวงการคณะสงฆ์ไทยต้องบันทึกถึงความสำคัญอีกครั้ง

เพราะเป็นปีที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประมุขแห่งคณะสงฆ์ไทย จะทรงมีพระชันษาครบ 100 ปี หรือ 1 ศตวรรษ

นับเป็น สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่เจริญพระชันษายิ่งยืนนานกว่าสมเด็จพระสังฆราชในอดีตที่ผ่านมา

ทั้งยังทรงดำรงตำแหน่งต่างๆทางคณะสงฆ์ยาวนานกว่าพระสงฆ์รูปอื่นๆ คือ ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 23 ปี ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต 24 ปี ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร 51 ปี

ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ.2469 จากสามเณรที่บวชแก้บน ณ วัดเทวสังฆาราม จ.กาญจนบุรี และได้เข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรม และบวชเป็นพระสงฆ์ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 15 ก.พ.2476 พระองค์ทรงปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดและครบถ้วน จนกระทั่งได้รับพระ ราชทานสถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ลำดับที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2532

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงสร้างประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ไทยไว้อย่างมากมาย

ในด้านการพระศาสนา ช่วงที่พระองค์ยังไม่ได้มีพระอาการประชวร จะทรงประทานพระโอวาทสั่งสอนพระภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่อยู่ในฐานะพระอุปัชฌาย์อยู่เสมอ ทั้งยังทรงสอนกรรมฐานแก่พุทธศาสนิกชนเป็นประจำทุกวันพระ และหลังวันพระเป็นประจำ นอกจากนี้ ยังทรงเสด็จไปปฏิบัติศาสนกิจในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ และเยี่ยมพระสงฆ์ในพื้นที่ต่างๆอยู่เสมอ เพื่อจะได้ทรงทราบปัญหาของคณะสงฆ์ ทั้งยังทรงสร้างโรงพยาบาลถวายเป็นพระอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทั้ง 18 พระองค์ขึ้นในภูมิภาคต่างๆ

ส่วนด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระองค์ทรงเป็นผู้ริเริ่มกิจการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังต่างประเทศ ทรงส่งพระธรรมทูตไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินโดนีเซีย ทั้งยังเสด็จไปให้การบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรในอินโดนีเซีย ทำให้เกิดคณะสงฆ์เถรวาทและวัดทางพระพุทธศาสนาเถรวาทขึ้นในประเทศอินโดนีเซียเป็นครั้งแรก
อ่านเพิ่มเติม

โปรดเกล้าฯไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก 30 วัน ถวายอาลัย “สมเด็จพระสังฆราช” 25ต.ค.ถึง23 พ.ย. วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 09:00:16 น.

โปรดเกล้าฯไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก 30 วัน ถวายอาลัย “สมเด็จพระสังฆราช” 25ต.ค.ถึง23 พ.ย.
วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 09:00:16 น.

แถลงการณ์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เรื่อง
พระอาการประชวรของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ขณะประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ฉบับที่ ๙
************************

วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษารายงานว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระอาการโดยรวมทรุดลง ได้สิ้นพระชนม์ลงแล้ว เมื่อเวลา ๑๙.๓๐ นาฬิกาของวันนี้ สาเหตุเนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

*******************************************************

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม สำนักพระราชวัง ได้ออกประกาศไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก ความว่า

เลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์เนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ต.ค.56 เวลา 19.30 น.
อ่านเพิ่มเติม

‘สมเด็จพระสังฆราช’สิ้นพระชนม์แล้ว

‘สมเด็จพระสังฆราช’สิ้นพระชนม์แล้ว

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม เวลา 20.28 น. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 9 เรื่องพระอาการประชวรของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ขณะประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ความว่า

วันนี้คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษารายงานว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระอาการโดยรวมทรุดลง ได้สิ้นพระชนม์ลงแล้วเมื่อเวลา 19.30 น. วันนี้ (24 ต.ค.) สาเหตุเนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

ด้านนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังสักการะพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ว่า สำหรับกำหนดการในวันที่ 25 ตุลาคม อยู่ระหว่างรอทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยคาดว่าจะมีการเคลื่อนพระศพจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในเวลา 12.00 น.และอัญเชิญพระศพประดิษฐาน ณ พระตำหนักเพ็ชร ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร คาดว่าจะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน

นอกจากนี้จะออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี แจ้งให้ข้าราชการทั่วประเทศแต่งชุดไว้ทุกข์แสดงความอาลัยเป็นเวลา 15 วัน ส่วนสถานที่ราชการลดธงครึ่งเสาเป็นเวลา 3 วัน สำหรับประชาชนที่ต้องการไปร่วมพิธีถวายน้ำสรงพระศพหน้าพระรูป สามารถไปได้ที่อาคารมนุษยนาควิทยาทาน ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป

ทั้งนี้ เมื่อช่วงเช้าวันเดียวกัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 8 รายงานความคืบหน้าพระอาการว่า สมเด็จพระสังฆราช มีพระอาการโดยรวมทรุดลง ระดับความดันพระโลหิต อยู่ในเกณฑ์ต่ำลง คณะแพทย์และพยาบาลยังคงถวายพระโอสถ และเฝ้าถวายการตรวจรักษาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง
อ่านเพิ่มเติม

ในหลวงโปรดเกล้าฯ สมเด็จพระบรมฯ เสด็จฯแทนสรงน้ำพระศพ-พระราชทานพระโกศกุดั่นใหญ่ ภายใต้เศวตฉัตร 3 ชั้น “สมเด็จพระสังฆราช”

ในหลวงโปรดเกล้าฯ สมเด็จพระบรมฯ เสด็จฯแทนสรงน้ำพระศพ-พระราชทานพระโกศกุดั่นใหญ่ ภายใต้เศวตฉัตร 3 ชั้น “สมเด็จพระสังฆราช”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 ตุลาคม 2556 11:16 น.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สมเด็จพระบรมฯ เสด็จฯแทนพระองค์ในการสรงน้ำพระศพ “สมเด็จพระสังฆราช” ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พระราชทานพระโกศกุดั่นใหญ่ ภายใต้เศวตฉัตร 3 ชั้นพร้อมเครื่องประกอบพระเกียรติยศ ให้มีพิธีสวดพระอภิธรรมพระศพ 7 วัน ขณะที่บรรยากาศที่ รพ.จุฬาฯ ตั้งแต่ช่วงเช้ามีประชาชนมาร่วมสักการะพระศพอย่างเนืองแน่น เพื่อน้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน ก่อนที่จะเคลื่อนพระศพในเวลา 12.15 น.

วันนี้ (25 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตั้งแต่เวลา 06.00 น.เริ่มมีพุทธศาสนิกชนเป็นจำนวนมากเดินทางมารอเข้าร่วมสักการะพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก อย่างเนืองแน่น ด้วยความรักและความอาลัยที่มีต่อพระองค์ท่าน ภายหลังทรงสิ้นพระชนม์ลงเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 24 ต.ค. 2556 ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ซึ่งก่อนที่ รพ.จุฬาลงกรณ์จะเปิดให้ประชาชนขึ้นทำการสักการะพระศพในช่วงเวลาประมาณ 07.00 น.นั้น สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ในฐานะประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่ สมเด็จพระสังฆราช ได้เข้าทำการสักการะพระศพก่อน จากนั้นจึงเปิดให้ประชาชนขึ้นทำการสักการะจนถึงเวลา 10.30 น.
อ่านเพิ่มเติม

เคลื่อนพระศพ “สมเด็จพระสังฆราช” จาก รพ.จุฬาฯ ไปยังวัดบวรฯ

เคลื่อนพระศพ “สมเด็จพระสังฆราช” จาก รพ.จุฬาฯ ไปยังวัดบวรฯ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 ตุลาคม 2556 13:33 น.

พระศพ “สมเด็จพระสังฆราช” เคลื่อนขบวนออกจาก รพ.จุฬาลงกรณ์ ไปยังวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ท่ามกลางประชาชนจำนวนมากเฝ้ารอส่งพระศพด้วยความเศร้าและความอาลัยอย่างเนืองแน่น

วันนี้ (25 ต.ค.) ที่บริเวณหน้าอาคารวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้าที่จะเคลื่อนขบวนพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่ทรงสิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 24 ต.ค. 2556 ในช่วงเวลา 12.15 น.นั้น มีแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ และประชาชนจำนวนมากร่วมกันแต่งชุดไว้ทุกข์ เดินทางมาร่วมแสดงความอาลัยและรอส่งขบวนพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก อย่างเนืองแน่น ด้วยความอาลัยยิ่งกับการสิ้นพระชนม์ของพระองค์

เมื่อเวลา 12.15 น. สมเด็จพระวันรัต รักษาการเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ได้อัญเชิญพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จากชั้น 6 อาคารวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร มายังรถพยาบาลของ รพ.จุฬาลงกรณ์ โดยมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ติดตามอัญเชิญพระศพ จากนั้นริ้วขบวนได้เคลื่อนออกจาก รพ.จุฬาลงกรณ์ โดยมีพระพุทธรูปประจำพระชนมวารนำขบวน และติดตามด้วยรถเจ้าหน้าที่ตำรวจ รถบัสเจ้าหน้าที่พยาบาล โดยมุ่งออกถนนราชดำริเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระราม 4 ข้ามสะพานลอยไทย-เบลเยียม ขึ้นทางด่วนพระราม 4 แล้วลงทางด่วนที่ยมราช เข้าถนนหลานหลวง ข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ก่อนที่จะเลี้ยวขวาเข้าถนนพระสุเมรุ และเทียบขบวนรถที่บริเวณด้านหน้าพระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร

ภายหลังริ้วขบวนส่งพระศพเคลื่อนออกจาก รพ.จุฬาลงกรณ์ แล้ว ประชาชนจำนวนมากต่างมาร่วมสักการะพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก บริเวณโถงอาคารอานันทมหิดล พร้อมรับพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และล็อกเกตพระฉายาลักษณ์ของพระองค์อย่างเนืองแน่น

http://www.thaiday.com/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000133515

ในหลวงโปรดเกล้าฯ เพิ่มวันไว้ทุกข์ “สมเด็จพระสังฆราช”เป็น 30 วัน

ในหลวงโปรดเกล้าฯ เพิ่มวันไว้ทุกข์ “สมเด็จพระสังฆราช”เป็น 30 วัน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 ตุลาคม 2556 23:51 น.

ในหลวง โปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มวันไว้ทุกข์ “สมเด็จพระสังฆราช”เป็น 30 วัน เริ่ม 25 ต.ค.-23 พ.ย.นี้ พร้อมถวายเกียรติยศตามพระราชประเพณีทุกประการ ด้าน “ยิ่งลักษณ์” สนองพระบรมราชโองการ ออกประกาศสำนักนายกฯให้หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจลดธงลงครึ่งเสา 3 วัน และไว้ทุกข์ 15 วัน ขณะที่พระธรรมทูตสายต่างประเทศรุ่นที่ 16 ออกประกาศนิมนต์พระธรรมทูตรุ่นที่ 16 ทุกรูปร่วมพิธีถวายน้ำสรงพระศพ

วันที่ 24 ต.ค.2556 เลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สิ้นพระชนม์ เนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ โรงพยาบาลจุฬากรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2556 เวลา 19 นาฬิกา 30 นาที

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยความเศร้าสลดพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก 15 วัน นับตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2556 ถึงวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2556 และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระศพไว้ ณ พระตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร และถวายพระเกียรติยศ ตามราชประเพณีทุกประการ
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .