ประวัติหลวงปู่บุดดา ถาวโร

ประวัติหลวงปู่บุดดา ถาวโร

ชาติกำเนิด
เกิดวันเสาร์ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗
ที่ตำบลพุคา อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ท่านเคยชี้ตำบลเกิดของท่าน ขณะขึ้นรถไฟผ่าน อยู่เหนือสถานี โคกกระเทียมเล็กน้อย เป็นหมู่บ้านเล็กๆ

ห่างจากทางรถไฟ ไปทางทิศตะวันตก ราว ๒ กม. ท่านบอกว่า หมู่บ้านหนองเต่า หมู่บ้านเดิม บิดาของท่านชื่อ น้อย มงคลทอง มารดาของท่านชื่อ อึ่ง มงคลทอง มีพี่น้องทั้งหมด ๗ คน ยังเหลือน้องชายคนเล็ก ชื่อ เหลือ มงคลทอง นอกนั้นถึง แก่กรรมไปหมด

อุปสมบท
วันเสาร์ที่ ๑๕ เมษายน ๒๔๖๕ ที่วัดเนินยาว ต.โพนทอง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี
มีพระครูธรรมขันธสุนทร (ม.ร.ว. เอี่ยม บ้านเดิมท่านอยู่ กทม.) เป็นอุปัชฌาย์
และมีคณะสงฆ์ ๒๕ รูป เป็นพระอันดับ ซึ่งหลวงปู่บุดดา ถาวโร นับถือว่าเป็นอาจารย์ท่าน

มรณภาพ
๑๒ มกราคม ๒๕๓๗ เวลา ๑๙.๐๐ น. หลวงปู่ได้ละสังขาร ที่โรงพยาบาลศิริราช
สิริรวมอายุ ๑๐๑ ปี ๗ วัน ๗๓ พรรษา ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ

คำสอนหลวงปู่บุดดา
กายเดียว จิตเดียว หนังแผ่นเดียว เกิดตายเป็นตัวหลง ตัวโมหะ ถ้าไม่พ้นเกิด ไม่พ้นตาย แล้วจะเกิดมาทำไม เกิดเป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์ จะเอาอีกหรือ…? เกิดก็ไม่เที่ยง ตายก็ไม่เที่ยง แล้วเราจะมาเกิด จะมาตายทำไม…? กายนี้เขาทดสอบเราว่า
หลงเขา หรือเปล่า…? ถ้าหลงกายนี้ก็เกิดบ่อย ตายบ่อย เป็นทุกข์บ่อยๆนะ..

” ไม่มีคนไปนรก ไม่มีคนไปสวรรค์ เน้อ” ” มันจะมีนรก มีสวรรค์อย่างไร นั่นมันกิเลส ต่างหากเล่า กิเลสหมด มันก็หมดนรก
หมดสวรรค์ซิ ” พวกเราถูกความแก่ เจ็บ ตาย คาดโทษไว้แล้ว จงรีบแก้ไขตัวเองซิ ! เกิดเป็นทุกข์ เจ็บเป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์
จะเอาอีกหรือ หือ…!
มัวแต่มองตาคนอื่นทำไม..? ตาของเราก็มี มองผิวหนังคนอื่นทำไม…? หนังของเราเองก็มีอยู่รอบ มองหน้าคนอื่นทำไม…? หน้าของเราก็มีอยู่แล้ว ระวัง…! อย่าคล้อยตามคน สัตว์ บุคคล จะหลงทางเดิน ไปไม่ถูกทางไม่ถึงที่หมายได้นะ…

http://watpacha.com/webpages/suanpah017.html

เทศนาภาษาใจ ๓. หลวงปู่บุดดา ถาวโร

เทศนาภาษาใจ ๓. หลวงปู่บุดดา ถาวโร

ลำดับนี้ตั้งใจน้อมนมัสการคุณพระรัตนตรัยด้วยกายพระนาม วจีพระนาม มโนพระนาม โดยสัจจะเคารพแล้วน้อมพระธรรมเทศนาคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้ามาแสดงเพิ่มพูนปัญญาบารมี ชาวพุทธทั้งหลายได้มาเจริญคุณพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสงฆ์สั่งสมให้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีญาณ มีวิชชาให้รู้ปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรม ปฏิเวธธรรมโดยฉับพลัน ขออำนาจแห่งคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ จูงจิตใจของพี่น้องชาวพุทธให้เข้าสู่ธรรมวินัยของพระผุ้มีพระภาคเจ้าให้เห็นความเกิดและความเป็นโทษ ให้เห็นความไม่เกิดไม่ตายเป็นคุณธรรมทั้งหลายให้เห็นว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี้เป็นเครื่องอาศัยของให้ศีลรักษาจิตใจไว้อย่าให้หลงอย่าให้ลืมซี

ธรรมะเป็นอย่างไร ธรรมะก็หนังแผ่นเดียวนะซิ จิตเดียวซิ กิเลสมันมาเป็นเจ้าของอวิชชา ตัณหาอุปาทานมันนึกว่าหนังของมัน เนื้อของมันตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของมัน ที่ไหนมันมาอาศัยเขาเกิดยังว่าของมันอีก

พ้นเกิดแก่เจ็บตาย พ้นในปัจจุบันนี้แหละ ไห้พ้นเกิดพ้นตายจะได้ทำงานให้พระศาสนา ต้องพูดอย่างธรรมพูดอย่างคนจะขัดคอคนนะซิ

ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครแก่ ไม่มีใครเจ็บไม่มีใครตายนั่นแหละเป็นแก่นศาสนา เราเกิดทีไร เกิดกับผู้หญิงทุกที เราจะไม่ประมาทพวกผู้หญิง ผู้หญิงมาเกะกะเราก็ไม่เอา เพราะแม่เราเป็นผู้หญิง ไอ้พวกผู้ชายมาชวนให้เป็นพวกปล้นสดมภ์เราก็ไม่เอา เพราะพ่อเราเป็นผู้ชายมีหนังแผ่นเดียว มีจิตดวงเดียวเท่านั้น ก็หนังแผ่นเดียวมันหุ้มอยู่ทั้งหมดกับทะลุ ๙ ช่อง นะวะทะวารัง ทะลุทางตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ทวารหนัก ทวารเบาอิริยาบถของกาย ๒๔ ชั่วโมง ต้องยืน เดิน นั่ง นอนต้องอาบน้ำ ห่มผ้า ดื่มอาหาร ถ่ายมูตร ถ่ายคูถ ถ่ายออกมางามเมื่อไรนะ ไม่งามหร็อก อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

หลวงปู่บุดดา ถาวโร
วัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี

“เกิดเป็นมนุษย์ ถ้าล่วงศีล 5 ก็เป็นอบายภูมิเหมือนกัน ไม่ต่างจาก สัตว์เดรัจฉาน เพราะยังเบียดเบียนกัน สร้างกรรมเรื่อยไป มนุษย์ ถ้าเบียดเบียนกันก็เป็นอมนุษย์ทันที ขาดจากศีลธรรมไม่ได้หรอก เป็นเปรต อสุรกายทันที เดี๋ยวนั้นเลย ”

นามเดิม บุดดา มงคลทอง กำเนิด 5 ม.ค. 2437 สถานที่เกิด อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี อุปสมบท อุปสมบท ณ วัดเนินยาว อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2465 โดยมี พระครูธรรมขันธสุนทร เป็นพระอุปัชฌาย์ มรณภาพ 12 ม.ค. 2537 อายุ 101 ปี 73 พรรษา

ขณะที่ยังเป็นเด็กมีอายุได้ 5 ขวบ หลวงปู่เคยขอโยมบิดา มารดา บวชเณร แต่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากอายุยังน้อย กระทั่งหลวงปู่อายุ 28 ปี โยมบิดา มารดา จึงอนุญาตให้บวช ได้รับฉายาว่า “ถาวโรภิกขุ”หลวงปู่นับเป็นพระภิกษุผู้เคร่งครัดยิ่ง ถือธุดงควัตร ครองผ้าสามผืนเป็นวัตร ชีวิตเป็นอยู่เรียบง่ายทุกอย่างพอดีหมด หลวงปู่ได้ทุ่มเทชีวิตให้แก่การปฏิบัติธรรมชนิด เอาชีวิตเป็นประกัน เดิมพันด้วยความตาย และความสำเร็จ โดยเฉพาะยามประเทศชาติมีภัยสงคราม ปัจจัยสี่ทุกอย่างขัดสน ประชาชนเดือดร้อนทั้งประเทศ ช่วงนั้นหลวงปู่ต้องอดทนกับความทุกข์ยากอย่างยิ่ง แต่ด้วยความมุ่งมั่นมานะอย่างเด็ดเดี่ยว ในการประพฤติปฏิบัติธรรม หลวงปู่ก็สามารถต่อสู้กับความทุกข์ยากนั้นได้อย่างกล้าหาญยิ่ง หลวงปู่นับเป็นพระเถระที่มีคุณธรรม และมีพรรษามาก

ท่านได้มีโอกาสพบ และสนทนาธรรมกับพระสุปฏิบัติหลายรูป อาทิเช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ครูบาศรีวิชัย ธัมมวิตักโฏ ภิกขุ เป็นต้น นอกจากนั้น ท่านยังได้รับความนับถือจากพระเถราจารย์ ผู้ทรงคุณธรรมหลายรูป เช่น ครูบาพรหมา พรหมจักโก หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นต้น ซึ่งย่อมเป็นการแสดงให้เห็นถึงภูมิรู้ ภูมิธรรม และคุณธรรมอันสูงส่งของหลวงปู่ได้เป็นอย่างดี

http://www.dhammathai.org/monk/sangha34.php

ประวัติ หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข – ประวัติหลวงปู่บุดดา หน้า 3

ประวัติ หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข – ประวัติหลวงปู่บุดดา หน้า 3

ละสังขาร

สำหรับพระอรหันต์ถึงแม้ว่ามีคุณวิเศษสามารถแยกจิตกับกายออกจากกันได้แล้วก็ตาม แต่ย่อมไม่สามารถที่จะบังคับให้กายสังขารทรงความมีชีวิตให้ยิ่งยืนนานตลอดไปได้ฉันใดกายสังขารของหลวงปู่บุดดา ถาวโร ก็เช่นเดียวกัน

เมื่อวันที่ ๖ ก.พ. ๒๕๓๖ หลวงปู่บุดดา ได้ไปร่วมพิธีทำบุญ ๑๐๐ วัน หลวงพ่อพระราชพรหมยานเถร (หลวงพ่อฤาษี) ณ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี หลังท่านกลับถึงวัดกลางชูศรีเจริญสุขแล้วเวลาประมาณ ๐๑.๐๐ น. หลวงปู่มีอาการป่วยกะทันหัน พระครูโสภณจารุวัฒน์ (พระอาจารย์ มหาทอง) จึงได้นำส่งโรงพยาบาลสิงห์บุรี นายแพทย์วิศิษฐ์ ถนัดสร้าง ได้นำหลวงปู่บุดดาเข้าเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่โรงพยาบาล หมอประเจิดพบว่าสมองด้านซ้ายฝ่อเส้นโลหิตอุดตัน และปอดอักเสบ หลวงปู่หอบเพราะเสมหะตกค้างในปอดมาก แพทย์ตัดสินใจใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก

– ๙ ก.พ. ๒๕๓๖ สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับหลวงปู่เข้าเป็นคนไข้พระราชูปถัมภ์ คณะแพทย์สิงห์บุรีจึงได้นำหลวงปู่ส่งโรงพยาบาล ศิริราช ณ ห้องไอซียู โดยมี ศ.พ.ญ. นันทา มาระเนตร์ เป็นแพทย์เจ้าของไข้

– ๑๑ ก.พ. ๒๕๓๖ หลวงปู่บุดดา ได้รับการรักษาที่ห้องอภิบาลการหายใจ (อาร์ซียู) ตึกอัษฏางค์ ชั้น ๒ หลวงปู่อาการดีขึ้นตามลำดับ หายใจได้เอง

– ๑๔ ก.ค. ๒๕๓๖ หลวงปู่บุดดา ได้ย้ายไปที่ห้องพิเศษ ตึก ๘๔ ปี ห้อง ๘๐๘ โดยอยู่ในความ ดูแลของแพทย์และพยาบาลประจำตึก มีพระอุปัฏฐากอยู่ประจำ ๒ รูป

– ๒๖ พ.ย. ๒๕๓๖ หลวงปู่บุดดา มีอาการทรุดลงทั้งหอบและไอ แพทย์ได้นำเสมหะไปเพาะ เชื้อปรากฏว่าหลวงปู่บุดดาติดเชื้ออย่างแรง

– ๒ ธ.ค. ๒๕๓๖ แพทย์ได้ย้ายหลวงปู่บุดดา กลับไปที่ห้องอาร์ซียูอีกครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น

– ๑๑ ม.ค. ๒๕๓๗ ช่วงกลางคืนอาการหลวงปู่บุดดาสุดวิสัยที่คณะแพทย์จะเยียวยารักษาได้ อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข – ประวัติหลวงปู่บุดดา หน้า 2

ประวัติ หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข – ประวัติหลวงปู่บุดดา หน้า 2

วัดบุญทวี ถ้ำแกลบ

วัดนี้สร้างด้วยความร่วมมือสมานฉันท์ของชาวเพชรบุรี ทั้งสองนิกายคือ ธรรมยุติและมหานิกาย (เกี่ยวข้องกับหลวงพ่อสงฆ์และหลวงปู่บุดดาเป็นสื่อจูงใจ) ดังปรากฏกุฏิหลวงพ่อสงฆ์เดิม ภายหลังต่อมากลับกลายเป็นห้องสมุดของสำนักปฏิบัติ อุโบสถก็เป็นอุโบสถที่มีการผูกพัทธสีมา ทั้งแบบธรรมยุติและมหานิกาย ฝ่ายปริยัตินั้นอยู่พื้นที่ส่วนราบฝ่ายปฏิบัติอยู่บนภูเขา

เนื่องจากวัดเพชรบุรีเป็นที่ ๆ หลวงปู่บุดดา จำพรรษามากกว่าที่อื่น ๆ ยกเว้นจังหวัดสิงห์บุรี ประกอบกับท่านเป็นพระของทั้งสองนิกาย ชาวเพชรบุรีจึงศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านมาก ขนาดสามล้อแย่งกันนิมนต์ขึ้นรถของตัวเอง เขามีความเชื่อว่าถ้าหลวงปู่ได้นั่งรถของเขาแล้ววันนั้นเขาจะได้ลาภมากกว่าปกติไม่ว่าจะเป็นสามล้อหรือรถโดยสารธรรมดาในจังหวัดเพชรบุรีแล้ว เขาต้องนิมนต์ให้ท่านขึ้นรถของเขาถ้าพบว่าท่านตามทาง

งานเดียวถูกนิมนต์ ๓ วาระ

ในงานฌาปนกิจศพของคหบดีคนหนึ่งของวัดเจ้าคณะตำบลใกล้วัดถ้ำแกลบนี้เอง ซึ่งบุตร ทั้ง 3 คน เป็นเจ้าภาพร่วมกันพอวันงานปรากฏว่าพระขาดไปรูปหนึ่ง น้องคนเล็กจึงไปนิมนต์หลวงปู่บุดดาจากวัดถ้ำแกลบ พอมาถึงท่านก็นั่งยังอาสนะที่เขาจัดไว้ เจ้าภาพได้เถียงกัน พี่ชายคนกลางว่าไปนิมนต์พระมาเช่นกัน ท่านได้ฟังก็ลุกอาจสนะลงมาข้างล่างและพระที่พี่ชายคนกลางนิมนต์มาก็เข้านั่งประจำที่แต่แล้วเจ้าภาพทั้งสองคนก็ตกลงจัดที่เพิ่มและนิมนต์หลวงปู่บุดดาขึ้นไปใหม่ ต่อพอพี่ชายคนโตมาถึงก็เอ็ดใหญ่ไม่ยอมฟังคำชี้แจงของน้องทั้งสองคน เขาเล่าว่าไม่เห็นท่านแสดงอาการอย่างไร ท่านก็ลุกจากอาสนะอีกครั้งหนึ่ง แล้วเดินผ่านมาทางซ้ายสุด เพราะมีผู้คนมามากแล้ว คราวนี้ท่านไม่หยุดดังคราวก่อนได้เดินผ่านประตูทางออกไปเลย ตอนหลังเจ้าภาพตกลงกันได้จึงวิ่งไปนิมนต์ท่านกลับมาใหม่ หลวงปู่บุดดา ก็เลยกลับมานั่งยังอาสนะเดิมเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข – ประวัติหลวงปู่บุดดา หน้า 1

ประวัติ หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข – ประวัติหลวงปู่บุดดา หน้า 1

ประวัติ หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข

ชาติกำเนิด – ภูมิลำเนา

เกิดเมื่อวันเสาร์ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ ที่ตำบลพุคา อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ท่านเคยชี้ตำบลเกิดของท่านขณะขึ้นรถไฟผ่าน อยู่เหนือสถานีโคกกระเทียมเล็กน้อย เป็นหมู่บ้านเล็กห่างจากทางรถไฟไปทางทิศตะวันตกราว ๒ กม. ท่านบอกว่า หมู่บ้านหนองเต่า คงเป็นชื่อหมู่บ้านเดิม บิดาของท่านชื่อ น้อย มงคลทอง มารดาของท่านชื่อ อึ่ง มงคลทอง มีพี่น้องทั้งหมด ๗ คน ยังเหลือน้องชายคนเล็กชื่อ เหลือ มงคลทอง นอกนั้นถึง แก่กรรมไปหมดแล้ว

อุปสมบท

วันเสาร์ที่ ๑๕ เมษายน ๒๔๖๕ ที่วัดเนินยาว ต.โพนทอง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี มีพระครูธรรมขันธสุนทร (ม.ร.ว. เอี่ยม บ้านเดิมท่านอยู่ กทม.) เป็นอุปัชฌาย์ และมีคณะสงฆ์ ๒๕ รูป เป็นพระอันดับ ซึ่งหลวงปู่บุดดา ถาวโร นับถือว่าเป็นอาจารย์ท่าน

ประวัติทั่ว ๆ ไป

ชีวิตตอนเยาว์ ชีวิตตอนต้นของหลวงปู่บุดดา ก็เหมือนกับชีวิตเด็กลูกชาวนาบ้านนอกทั่วไป ในสมัยนั้นที่ไม่มีโรงเรียนใกล้เคียง จึงไม่มีโอกาสได้เล่าเรียนหนังสือ มีแต่ทุนเดิมที่ได้ฝึกฝนอบรมมาดีในอดีตชาติ จึงเป็นผู้ระลึกชาติได้แต่เด็ก ท่าได้ไปพบเห็นสิ่งที่ปรากฏตามภาพนิมิต ของอดีตได้ถูกต้อง และได้มีบุคคลที่เกี่ยวข้อง จนท่านต้องขุดกระดูกของท่านที่ถูกฝังไว้ในอดีต

การเห็นภาพในอดีตนั้นท่านเห็นได้หลายภพ ในกรณีหลวงปู่บุดดา อดีตชาติท่านเกิดเป็นชายทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตัวหนังสือที่ใช้เป็นตัวหนังสือแบบเดียวกับสมัยพ่อขุนรามคำแหง มิใช่ตัวหนังสือเดียวกับเมื่อหลวงปู่บุดดา เป็นเด็ก ท่านจึงอ่านหนังสือไม่ออก แต่พอเป็นทหารท่านได้เรียนหนังสือ ท่านก็สามารถเรียนได้เป็นอย่างดี ทั้งที่หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในการรับราชการเป็นทหารเกณฑ์นั้นหนักมาก ทั้งนี้น่าจะเนื่องมากจากสาเหตุสองประการ ที่ทำให้สามารถรู้หนังสือได้ดีเพราะท่านรู้หลักของหนังสือเดิมดีอยู่แล้ว พอเทียบตัวถูกท่านก็อ่านได้ และสมาธิจิตของท่านเข้าอันดับญาณจึงสามารถทำอะไรได้ง่าย อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่บุดดาพยากรณ์หลวงปู่ดู่

หลวงปู่บุดดาพยากรณ์หลวงปู่ดู่

ครั้งหนึ่งเมื่อหลวงปู่บุดดาท่านไปเยี่ยมอาการอาพาธของหลวงปู่ดู่
หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข จ.สิงห์บุรีได้กล่าวกับท่านไว้ว่า

“วันนี้ผมนำมงกุฎพระพุทธเจ้ามามอบให้คุณ นิมนต์อยู่ต่อเถิด ถ้าไม่อยู่ก็ไม่เป็นไร ที่คุณปรารถนานั้นน่ะ สำเร็จแน่ ต่อไปคุณจะได้เป็นพระพุทธเจ้า”

ปกติหลวงปู่บุดดาท่านมักจะพกกระป๋องแป้งติดตัวอยู่เสมอเพื่อประทานให้แก่ญาติโยมที่ไปกราบนมัสการ เมื่อหลวงปู่บุดดาและหลวงพ่อต่างกราบกันและกันเสร็จเรียบร้อยแล้วหลวงปู่บุดดาท่านได้ประทานแป้งใส่มือหลวงปู่ดู่ หลวงปู่ดู่ท่านรับมาแล้วนำมาทาบนศรีษะ

มีญาติโยมที่นั่งอยู่ด้วยเรียนถามหลวงปู่ดู่ว่า ทำไมจึงนำแป้งไปทาบนศรีษะ

ท่านตอบว่า

“ของพระอรหันต์ให้ แกจะให้เอาไปทาที่ไหนละจึงจะสมควร เดี๋ยวจะกลายเป็นความไม่เคารพ นอกจากบนหัวของเรา”

เมื่อตอนประมาณปี พ.ศ. 2523-2525 ผู้เขียนก็ได้ข่าวว่าหลวงปู่บุดดาท่านจะละสังขาร ขณะนั้นหลวงปู่อายุได้ 88 ปี ผู้เขียนจึงพาคณะไปกราบแล้วก็ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะขออารธนาให้ท่านอยู่ต่อ แต่เมื่อไปถึง พอไปกราบท่านแล้วยังไม่ทันพูดอะไร ท่านก็บอกวา “จะขออยู่ต่ออีก 12 ปี เพื่อช่วยเหลือศาสนา” ทำให้ผู้เขียนรู้สึกทึ่งในญาณอันแจ่มใสของท่าน แล้วก้เป็นจริงดังนั้น เมื่อหลวงปู่อายุครอบ 101 ปี เกินมา 1 ปี ท่านก็นิพพานไป หลวงพ่อดู่เคยบอกว่า “หลวงปู่บุดดาก็คือพระอรหันต์องค์หนึ่ง” อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

หลวงปู่บุดดา ถาวโร มีนามเดิมว่า บุดดา นามสกุล มงคลทอง เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2437 สถานที่เกิด หมู่บ้านหนองเต่า ต.พุคา อ.โคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ได้บรรพชาและอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดเนินยาว ต.โพนทอง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ในปีพ.ศ. 2465 โดยมีพระครูธรรมขันธ์สุนทร(หม่อมราชวงศ์เอี่ยม)เป็นพระอุปัชฌาย์ มรณภาพ 12 มกราคม พ.ศ. 2537 สิริรวมอายุ 101 ปี 7 วัน 73 พรรษา ตรงกับวันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ปีจอ

หลวงปู่บุดดา มีโยมบิดาชื่อ นายน้อย มงคลทอง โยมมารดาชื่อ นางอึ่ง มงคลทอง มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน ในช่วงวัยเด็กท่านได้เกิดมีสัญญาความจำระลึกย้อนอดีตชาติได้ว่า บิดาของท่านในอดีตชาติเคยเป็นพี่ชายของท่าน
พอเข้าสู่วัยฉกรรจ์อายุได้ 21 ปีบริบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2458 ได้ถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารสังกัดกองทัพบก ทหารบกปืน 3 ในสมัยรัชกาลที่ 6 รับราชกาลทหารอยู่ 2 ปี ในกองทัพที่ 3 ลพบุรี สมัยเมื่อเป็นพลทหารหนุ่มรูปงาม มีผู้หญิงมาชอบ เข้ามาพูดจาทำนองเกี้ยว แต่ท่านพูดกลับไปว่า “กลับไปเสียเถิด ฉันเป็นทหารตัวเมีย ไม่ชอบผู้หญิง ถ้าไปเจอทหารตัวผู้คนอื่นเข้าก็จะลำบาก”
ในปี พ.ศ. 2460 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น ทางการได้มีการรับสมัครคัดเลือกทหารอาสาไปราชการรบในสงคราม ณ ทวีปยุโรป หลวงปู่บุดดาได้เข้าสมัครอาสาด้วยเหมือนกัน แต่ท่านกินเหล้าไม่เป็น เขาจึงไม่รับโดยได้อธิบายเหตุผลว่า ในทวีปยุโรปนั้นอากาศหนาวเย็นมาก ทหารทุกคนจำเป็นต้องดื่มเหล้าเพื่อช่วยให้คลายหนาว ดังนั้นท่านจึงไม่ได้เข้าร่วมในสงครามคราวนั้น อ่านเพิ่มเติม

อนาลโยวาทะ หลวงปู่ขาว อนาลโย

อนาลโยวาทะ หลวงปู่ขาว อนาลโย

อนาลโยวาทะ

จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน โดย อวย-ส่งศรี เกตุสิงห์
เพื่อความสุขปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๘

คำนำ

พระ อาจารย์ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู
เป็นผู้ที่ได้รับความยกย่องทั่วไปว่าเป็นเอกผู้หนึ่งในกระบวนพระกรรมฐานสมัย
นี้ โดยเฉพาะเทศน์ของท่านเป็นที่จับใจของคนหมู่มากในด้านเนื้อหาสาระทางธรรม
สำนวนโวหารและความเด็ดเดี่ยวเฉียบขาด ข้อนี้ปรากฏจากความนิยมในหนังสือ
“อนาลโยวาท” ซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมและได้จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในงานพระราชทานเพลิง
เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗ ด้วยความร่วมมือของผู้ศรัทธาร่วมกัน
หนังสือหลายหมื่นเล่มยังเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย

ในโอกาสขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้เขียนและ ม.ร.ว. ส่งศรี เกตุสิงห์
มีความศรัทธาอยากจะเผยแพร่ธรรมะของท่านอาจารย์ขาวให้กระจายออกไปอีกในหมู่
เพื่อนพุทธศาสนิก
แต่จะพิมพ์ตามฉบับที่แจกในงานพระราชทานเพลิงศพก็ไม่มีกำลังพอ
จึงแยกเอาแต่บางตอนที่เป็นข้อสั้น ๆ ออกมาพิมพ์ได้ ๔๒
ตอนเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ที่สนใจ

ถ้าหากคณะศรัทธาคณะใดประสงค์จะพิมพ์หนังสือนี้อีกเพื่อเผยแพร่ธรรมะ
ผู้เขียนก็อนุโมทนาด้วย และเต็มใจอนุญาต
ขอเพียงแจ้งให้ทราบความประสงค์ก่อนเท่านั้น อ่านเพิ่มเติม

ควบคุมใจ หลวงปู่ขาว อนาลโย

ควบคุมใจ หลวงปู่ขาว อนาลโย

พระ พุทธเจ้าว่า เรา ตถาคต เป็นผู้แนะนำสั่งสอนทาง ทางออกจากโลก ทางไปสวรรค์ก็ดี ทางไปนิพพานก็ดี เรา ตถาคต เป็นผู้แนะนำสั่งสอนให้เท่านั้น ตนนั่นแหละ พวกอุบาสก-อุบาสิกาทั้งหลายต้องทำเอาเอง แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระสาวกทั้งหลาย ก็ทำเอาเองทั้งนั้น ตนแหละทำให้ตน ตนจะออกจากโลกก็แม่นตนตั้งอกตั้งใจทำใส่ตน ตนจะติดอยู่ในโลกก็แม่นใจของตนไม่อยากไป เพราะหลงตนหลงตัว ทางปฏิบัติน่ะ เราก็ได้ยินได้ฟังมาแล้ว แล้วก็ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติเอา

พระพุทธเจ้าแนะนำสั่งสอน หรือครูบาอาจารย์แนะนำสั่งสอน ก็ไม่หนีจากกายคตา คือปัญจกรรมฐาน นี่แหละ ต้องพิจารณา เราจะพิจารณานอกมันไป ก็เป็นนอกไปเสีย ไกลไปเสีย เพื่อให้จิตให้ใจนั่นแหละรู้จักสกนธ์กายอันนี้ รู้จักก้อนอันนี้ว่ามันเป็นอย่างหนึ่ง มันเป็นของกลาง ไม่ใช่ของใครสักคน เรานี้ได้สมบัติอย่างดี คือสกนธ์กายนี้ มีตา หู จมูก ลิ้น กายดี มีใจดี ได้สมบัติอันดีมาใช้ เราจะใช้สอยมัน เราจะเดินทางไปสวรรค์ก็ดี จะเดินทางไปนิพพานก็ดี ต้องอาศัยอันนี้ จะมีแต่ดวงจิตอย่างเดียว ก็ไม่สำเร็จอะไรหมดทั้งสิ้น

พระพุทธเจ้าได้เทศน์ไว้ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลาย จะทำดีทำกุศลดี ก็ใจนี่แหละ เป็นผู้ถึงก่อน เป็นผู้ถึงพร้อม จะทำบาปอกุศล ก็ใจนี่แหละ จะผ่องแผ้วแจ่มใสเบิกบาน ก็ใจนี่แหละ จะเศร้าหมองขุ่นมัว ก็ใจนี่แหละ ใจเศร้าหมองขุ่นมัวแล้วก็ไม่มีความสุขอยู่ในโลก จะอยู่ที่ไหนก็ไม่มีความสุข ครั้นใจผ่องแผ้วละก็ พระพุทธเจ้าท่านว่า มนสา เจ ปสนฺเนน บุคคลผู้มีใจผ่องแผ้วดีแล้ว แม้นจะพูดอยู่ก็มีความสุข แม้นจะทำอยู่ก็มีความสุข ตโต นํ สุขมเนฺวติ อยู่ที่ไหนๆ ก็มีความสุข มีความสุขเหมือนกะเงาเทียมตนไป ฉายาว อนุปายินี เหมือนเงาเทียมตนไป ไปสวรรค์ก็ดี มามนุษย์ก็ดี อ่านเพิ่มเติม

ปธาน (หลวงปู่ขาว อนาลโย)

ปธาน (หลวงปู่ขาว อนาลโย)

ปธาน
โดย หลวงปู่ขาว อนาลโย

วัดถ้ำกองเพล ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๒
ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

อันนี้เป็นวาสนาของเราแท้ๆ จะได้บรรลุขั้นใดขั้นหนึ่งหรือขั้นที่สุดก็ไม่รู้ สมบัติของเราก็มีหมดแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง จะทำก็ได้อยู่ วาสนาบารมีเป็นกรรม เราได้สร้างมา คือมูลเก่อาอันนี้ มันเป็นยังไง คืออาศัยมูลเก่า ได้อัตภาพมาก็ได้บุญ ได้อวิชชา ได้ศีลมาในบุญด้วย ทรัพย์ภายในบริบูรณ์หมด เรื่องของเก่ามันเป็นอย่างนี้ บุญของเก่ามาถึง เหมือนกันกับพวกเศรษฐีเขาแสวงหาเงินทองของเขา ว่าจะเพิ่มทยอยขึ้นล้านหนึ่ง สองล้าน สามสิบล้าน ร้อยล้านขึ้นไป นี่มันหาเอาใหม่ ไปทำเอาใหม่ แม้นเป็นของเรา คืออัตภาพของเรานี่ อาศัยทรัพย์ของเก่า คืออัตภาพของเก่านี้บริบูรณ์แล้ว มันจะทำเอาใหม่ก็ได้อยู่ จะทำเอาใหม่ สร้างเอาใหม่ก็ได้ ให้มันเต็มรอบก็ได้

ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี เราก็ออกอยู่เป็นบางครั้งบางคราว ถึงวันอุโบสถศีลเราก็ออก เราก็เนกขัมมะออกจากเครื่องมืดมน ปัญญาบารมี เราก็สดับรับฟัง ตัวเราก็ใช้โยนิโส ค้นคว้าในเหตุในผลอยู่ วิริยบารมีเราก็อุตส่าห์ทำบุญแจกทาน ขันติ ความอดกลั้นต่อสิ่งทั้งปวงนี่ เราก็ทำหมด บารมี ๑๐ เราจะทำหมด บารมี ๑๐ ประการนี้ ที่พระพุทธเจ้ามาแจกจ่ายให้พวกเรา เราได้เป็นผู้รับแจกแล้ว แต่จะเอามาใช้ เอามาทำให้เกิดให้มี สัจจบารมี ให้มันมีความสัจจ์ความจริง เราจะทำ ก็ทำจริงๆ นั่นแหละ

ความสัจจ์ความจริง อธิษฐานความตั้งไว้ว่าจะทำ ต้องทำจริงๆ ได้มากก็ไม่ว่า ได้น้อยก็ไม่ว่า อย่าให้มันขาดสัจจะ ความจริงใจ อธิษฐานความตั้งมั่นในใจ ๓๐ นาทีก็ตาม ๔๐ นาทีก็ตาม ๕๐ ร้อยหนึ่ง ดี นั่นเป็นบางครั้งบางคราว เอาอยู่อย่างนั้น อย่าให้มันขาดความตั้งมั่นในใจไว้ สัจจะความจริงใจว่าจะทำ ก็ทำทันที พูดๆ จริง อธิษฐานความตั้งไว้ รู้หลักรู้ฐานไว้ เราก็ไม่เผลอ ต้องมีสติ ระลึกเอาไว้ เราอธิษฐานเอาไว้แล้ว ไม่ให้ขาด ๒๐ นาทีก็เอา นั่งทำความเพียรของเราไม่ให้ขาด เมตตาบารมีให้เต็ม การสงเคราะห์คนทั่วโลกมีอยู่แล้ว อุเบกขา การวางเฉยต่ออารมณ์ ชอบใจก็ตาม ไม่ชอบใจก็ตาม วางเฉยต่ออารมณ์ทั้งหลายทั้งปวง การภาวนาของเราก็เพื่อว่าจะอบรมจิตใจของเรานั่นแหละ ไม่ให้มันหลงมันข้องไปนับภพนับชาติ หลงไปตามอารมณ์อยู่ในภพชาติหรืออดีตอนาคต แล้วน้อมเอาเข้ามาในจิต ทำให้จิตเศร้าหมอง ทำให้จิตเดือดร้อน
อ่านเพิ่มเติม

พระหลวงปู่ขาว อนาลโย – พุทธสถานครองราชย์ ๖๐ ปี

พระหลวงปู่ขาว อนาลโย – พุทธสถานครองราชย์ ๖๐ ปี

พระหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานีนามเดิมท่านชื่อ ขาว โคระถา เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ตรงกับวันอาทิตย์ ปีชวด ณ บ้านบ่อชะเนง ต.หนองแก้ว อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี บิดาชื่อ พั่ว มารดาชื่อ รอด โคระถา

ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๗ คน ตามลำดับดังนี้

๑. นางวัน โคระถา ๒. นายบุญจันทร์ โคระถา ๓. นางหนูแดง โคระถา ๔. หลวงปู่ขาว โคระถา ๕. นายกาเหว่า โคระถา ๖. นางหลอด โคระถา ๗. นางใหล โคระถา พี่และน้องได้ถึงแก่อนิจกรรมไปหมดแล้ว

การอาชีพเมื่อเป็นฆราวาสของหลวงปู่ท่านทำนาค้าขาย เป็นคนขยันหมั่นเพียรมาก มีนิสัยซื่อสัตย์ สุจริต โอบอ้อมอารีกับญาติมิตรเพื่อนฝูงและผู้เกี่ยวข้องดีมาก ใครๆ ก็รักและชอบคบค้าสมาคม มีเพื่อนฝูงมาก แต่เป็นเพื่อนที่ดี มิใช่แบบมีเพื่อนฝูงมาก เหล้ายาปลาปิ้งมาก ลากกันลงนรกทั้งเป็นและล่มจมไปเป็นแถวๆ ดังที่รู้ๆ เห็นๆ กันอยู่ในสมัยจรวดรวดเร็วทันใจ คนสมัยนั้นมักมีแต่คนดี การคบกันจึงเป็นสง่าราศีแก่วงศ์สกุลมากกว่าจะพาให้เสียหายล่มจม

เมื่ออายุ ๒๐ ปี บิดามารดาก็จัดให้มีครอบครัว ภรรยาชื่อ นางมี มีบุตรธิดาด้วยกัน ๗ คน คนหัวปีเป็นชายชื่อ คำมี ได้ออกบวชตามพ่อคือหลวงปู่ เวลาท่านออกบวชแล้ว จนสิ้นอายุในเพศนักบวชเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ นี่เองที่วัดถ้ำกลองเพล เมื่อบวชแล้วก็ติดสอยห้อยตามหลวงปู่ และมาอยู่ที่วัดถ้ำกลองเพลด้วยจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต คนที่สองชื่อ นายลี โคระถา เป็นผู้มีศรัทธา อุตส่าห์ติดตามมาปฏิบัติและถวายอาหารบิณฑบาตหลวงปู่เป็นประจำ ลูกที่มีนิสัยทางศาสนาอย่างเด่นชัดมีอยู่ ๒ คน นอกนั้นก็ธรรมดาเหมือนโลกทั่วๆ ไป แต่จะไม่ออกนามลูกๆ ท่าน อ่านเพิ่มเติม

ประวัติและปฏิปทาของ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

ประวัติและปฏิปทาของ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

หลวงปู่ขาว อนาลโย นามเดิมชื่อ ขาว โคระถา เกิดวันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2431 ปีชวด ที่บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับตำบลหนองแก้ว อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ) บิดาชื่อ พั่ว โคระถา มารดาชื่อ รอด โคระถา มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 7 คน ท่านเป็นคนที่ 4 ทำอาชีพหลักของครอบครัว คือ ทำนาและค้าขาย ต่อมาท่านได้สมรสกับนางมี โคระถา เมื่อ พ.ศ. 2452 ขณะอายุได้ 20 ปี มีบุตรด้วยกัน 3 คน ใช้ชีวิตคู่ได้ 11 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา นอกจากหลวงปู่ขาวแล้วยังมีผลผลิตทางธรรมจากบ้านบ่อชะเนงและเป็นญาติกับหลวง ปู่ขาว อีก ๒ รูป คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เจ้าอาวาสวัดวัดสัมพันธวงศาราม พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร กรุงเทพมหานคร และพระราชปรีชาญาณมุนี (หลอม มหาวิริโย ป.ธ.๗) เจ้าอาวาสวัดบ่อชะเนง และเจ้าคณะจังหวัดอำนาจเจริญ (รูปปัจจุบัน)

อุปสมบท

ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 ที่วัดโพธิ์ศรี (ปัจจุบันคือวัดบ่อชะเนง) บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ สังกัดคณะมหานิกาย มีท่านพระครูพุฒิศักดิ์ฯ เจ้าคณะอำเภออำนาจเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์บุญจันทร์ฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และจำพรรษาที่วัดโพธิ์ศรี 6 พรรษา

ต่อมาหลวงปู่ขาวเกิดความศรัทธาในปฏิปทาของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จึงได้ญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุติกนิกายเมื่อ พ.ศ. 2468 ขณะมีอายุได้ 37 ปี ณ พัทธสีมาวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี มีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นประธานพิธี พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระชิโนวาทธำรง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์บุญ ปญฺญาวุฑโฒ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ อ่านเพิ่มเติม

วิหารหลวงปู่ขาว อนาลโย

วิหารหลวงปู่ขาว อนาลโย
ตั้งอยู่ที่วัดบ่อชะเนง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

วิหารหลวงปู่ขาว อนาลโย ตั้งอยู่ที่วัดบ่อชะเนง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ หลวงปู่ขาว อนาลโย ได้ศึกษาอบรมปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตลอดชีวิตในเพศบรรพชิต ท่านได้อุทิศชีวิตไปในการศึกษาและปฏิบัตธรรมอย่างมุ่งมั่น เดินธุดงค์จำพรรษาตามป่าเขา เผชิญกับอุปสรรคมากมายอย่างไม่สะทกสะท้าน จนภูมิธรรมเต็มจิตใจหมดความสงสัยในธรรมอย่างสิ้นเชิง ชาวบ้านในเขตอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ได้ร่วมกันก่อสร้างวิหารและรูปเหมือนของหลวงปู่ เพื่อเป็นอุเทสิกเจดีย์ แห่งความดีงามให้ชนรุ่นหลังได้กราบไหว้และศึกษาถึงวัตรปฏิบัติที่งดงาม
ความเชื่อและความศรัทธา : เชื่อกันว่าใครที่ได้มากราบไหว้รูปเหมือน หลวงปู่ขาว อนาลโย จะทำให้สิ้นทุกข์ สิ้นภัย จิตใจผ่องใส สติปัญญาเฉียบแหลม

ลิงก์ http://www.amnat.info/board/index.php/topic,22.msg24.html#msg24

http://www.amnat.info/board/index.php?topic=22.0

ประวัติการสร้างเหรียญ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล

ประวัติการสร้างเหรียญ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล

รุ่นแรก
สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นลักษณะรูปไข่หน้าตรงครึ่งตัว ด้านหน้าจารึกชื่อ
“หลวงปู่ขาววัดถ้ำกลองเพลอุดรธานี” ด้านหลังลงอักขระยันต์บอก พ.ศ. ๒๕๐๙ ไว้ด้วยรุ่นนี้ร้านไทยสามัคคี อุดรธานี ผู้ซึ่งเป็นหลานชายของท่านสร้างถวาย จำนวน ๔,๐๐๐ เหรียญ

รุ่นสอง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื่องในงานสมโภชเจดีย์วัดถ้ำกลองเพล ครูชาลี ตุละวรรณ สร้างถวายจำนวน ๑๕,๐๐๐ เหรียญ ลักษณะเป็นเหรียญกลมเท่าเหรียญเงินบาท รูปเอียงครึ่งตัว
มีรูปเจดีย์อยู่ด้านหลัง และในปีเดียวกันนั้นเองคุณกิมก่าย เอียสกุล คฤหบดีหนองคาย ก็ได้สร้างเหรียญหลวงปู่ขึ้นอีกชุดหนึ่งถวายท่านเนื่องในงานฉลองอายุครบ ๘๑ ปี เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๑๑
ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่หน้าตรงครึ่งตัว เหรียญที่ส้รางในปี ๒๕๑๑ ปลายปีนี้ถือว่าเป็นรุ่นสองด้วยกัน เพราะสร้างในระยะไล่เลี่ยกัน อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่ขาว อนาลโย

หลวงปู่ขาว อนาลโย

สติ

สตินี่ ทำให้มันมีกำลังดีแล้วจิตมันจึงจะล่วง เพราะสติคุ้มครองจิต ตัวสติก็คือจิตนั่นแหละ แต่ว่าลุ่มลึกกว่า

สตินั่นอบรมจิต ครั้นอบรมจนขั้นจิตรู้เท่าตามความเป็นจริงแล้ว มันจึงหายความหลง พบความสว่าง ความหลงนั้นก็คือไม่มีสติ ครั้งมีสติคุ้มครองหัดไปจนแน่วแน่แล้ว ให้มันแม่นยำ ให้มันสำเหนียกแล้ว มันจะรู้แจ้งทุกสิ่งทุกอย่าง

สติแก่กล้าจิตย่อมทนไม่ได้ เมื่อทนไม่ได้ก็สงบลง ครั้งสงบลงแล้วมันก็รู้ เดี๋ยวนี้มันไม่มีปัญญา มันก็ส่ายไปมาเพราะมันไปหลายทาง จิตไปหลายทางเพราะเป็นอาการของมัน

เมื่อผู้วางภาระ คือว่าง ไม่ยึดถือว่าขันธ์ห้านี้เป็นตัวเป็นตนแล้ว ไม่ยึดถือแล้วปลงเป็นผู้วางภาระก็มีความสุข จะยืน เดิน นั่ง ก็มีความสุข ไม่ยึดถือเพราะรู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว ไม่ถือเอา ไม่ยึดเอา ได้ชื่อว่าเป็นผู้ขุดตัณหาขึ้นได้ทั้งราก เป็นผู้เที่ยงแล้ว เที่ยงว่าจะเขาสู่ความสุข ตามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เที่ยงแล้ว เมื่อจิตมันรวมมันก็รู้ตามความเป็นจริง มันจะวางขันธ์นี้ เมื่อมันรวมนั้นแหละ ถ้าจิตรวมแล้วมันก็วาง วางแล้วก็มีแต่ว่าง ๆ แล้วค้นหาตัวก็ไม่มี เมื่อค้นหาตัวไม่มีแล้ว ก็อันนั้นแหละ จิตพอสงบลงแล้วปัญญาก็เกิดขึ้นเองน่ะแหละ ถึงตอนนั้น แม้จิตมันฟุ้งขึ้นมาแล้วมันก็ไป มันไม่มีอันใด แม้แสงสว่างหมดทั้งโลกก็ตาม มันไม่ไปยึด

(คัดมาจาก หนังสือรวมคำสอนจากพระป่า)
(จากหนังสือรวมคำสอนพระสุปฏิปันโน เล่ม 1)

http://kaskaew.com/index.asp?contentID=10000004&title=%CB%C5%C7%A7%BB%D9%E8%A2%D2%C7++%CD%B9%D2%C5%E2%C2&getarticle=21&keyword=&catid=2

กรรมกับจิต โดยหลวงปู่ขาว อนาลโย

กรรมกับจิต โดยหลวงปู่ขาว อนาลโย

อย่าให้มีความประมาท จงพากันสร้างคุณงามความดี มีการให้ทาน มีการรักษาศีลของฆราวาส พวกฆราวาสก็ดี ให้ถือศีลห้า ศีลแปด วันเจ็ดค่ำ แปดค่ำ สิบสี่ค่ำ สิบห้าค่ำ เดือนหนึ่งมีสี่หน อย่าให้ขาด ให้มีความตั้งใจ เรื่องเข้าวัดฟังธรรม รักษาศีล ภาวนา อันนี้เป็นทรัพย์ภายในของเรา การรักษาศีลเป็นสมบัติภายในของเรา ควรใช้ปัญญาพิจารณาค้นคว้าร่างกาย ให้มันเห็นว่า ความจริงของมันตกอยู่ในไตรลักษณ์ ตกอยู่ในทุกขัง ตกอยู่ในอนิจจัง ตกอยู่ในอนัตตา มีความเกิดอยู่ในเบื้องต้น มีความแปรไปในท่ามกลาง มีความแตกสลายไปในที่สุด อย่างนี้แหละ อย่าให้เรานอนใจ ให้สร้างแต่คุณงามความดี อย่าไปสร้างบาปอกุศล อย่าไปก่อกรรมก่อเวรใส่ตน ผู้อื่นไม่ได้สร้างให้เรา

คุณงามความดีเราสร้างของเราเอง ตนสร้างใส่ตนเอง ผู้อื่นบ่ได้ทำดอก เมื่อเราเป็นบาป ก็เราเป็นผู้สร้างบาปใส่เราเอง ความดีก็แม่น เราใส่เราเอง จึงได้เรียกกุศลกรรม อกุศลกรรม สัตว์ทั้งหลายจะ หรือจะร้ายก็ดี จะเป็นคนมั่งคั่งสมบูรณ์ หรือยากจนค่นแค้นก็ดี เป็นเพราะกรรมดอก พระพุทธเจ้าว่านั่นแหละ สัตว์ทั้งหลายเป็นแต่กรรม สัตว์มีกรรมของตน เป็นเพราะกรรมดอก กรรมเป็นผู้จำแนกแจกสัตว์ให้ได้ดีได้ชั่วต่างๆ กัน ครั้นเป็นผู้ทำกรรมดี มันก็ได้ความสุข ไปชาติหน้าชาติใหม่ก็จะได้ความสุข ผู้ทำความชั่ว มันก็มีความทุกข์ มีอบายเป็นที่ไป มีนรกเป็นที่ไป อ่านเพิ่มเติม

คำสอนของหลวงปู่ขาว อนาลโย

คำสอนของหลวงปู่ขาว อนาลโย

ทำไมเกิดมาไม่เหมือนกันล่ะ ไม่เหมือนกันคือความประพฤติ

ผู้นี้เขาประพฤติดี เขามีการรักษาศีล มีการให้ทาน มีการสดับรับฟัง เขาจึงมีปัญญาดี

มีการศึกษาเล่าเรียนดี อยู่ไหนก็มีแต่กรรมดี

สติเป็นแก่นของธรรม แก่นของธรรมแท้อยู่ที่สติให้พากันหัดทําให้ดี

ครั้นมีสติแก่กล้าดีแล้วทําก็ไม่พลาดคิดก็ไม่พลาด กุศลธรรมทั้งหลายจะเกิดขึ้น

“….เมื่อบุคคลอยู่กับสติแล้ว

สติเป็นใหญ่สติมีกําลังดีแล้ว

จิตมันจึงรวมเพราะสติคุ้มครองจิต…”

ขึ้นชื่อว่า…กิเลส…แล้ว มันจะไม่ไว้หน้าใคร มันทำลายทั้งสิ้น

แก่นแท้ของธรรมอยู่ที่…สติ

เราเองเป็นผู้ทำจิตของตนให้เศร้าหมอง

ผู้อื่นช่วยไม่ได้ แม้พระพุทธเจ้าก็ช่วยไม่ได้ ทำเอง…รู้เอง…ได้เอง

ที่มา :http://www.thaijustice.com/webboard.asp?sub=0&id=1418375

http://www.jetovimut.com/forum/index.php/topic,1220.0.html?PHPSESSID=465e739ea8b3c6650e3a13e6c67dc59f

กุศล-อกุศล โดย หลวงปู่ขาว อนาลโย

กุศล-อกุศล โดย หลวงปู่ขาว อนาลโย

กุศล-อกุศล
โดย หลวงปู่ขาว อนาลโย

วัดถ้ำกองเพล
ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

ธรรมทั้งหลายก็อยู่ที่นี่แหละ อยู่ที่สกนธ์กายของเรา ไม่ต้องไปหาเอาที่อื่นดอก มีครบบริบูรณ์หมด สติปัฏฐานทั้ง ๔ ก็มีก็แม่น เราควรทำเอา ท่านให้พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต ให้พิจารณาธรรม ๔ อย่าง แล้วพิจารณาอันใดอันหนึ่งเท่านั้นแหละ ไม่เอาหมดทุกอย่างดอก สัมมัปปธาน ๔ ก็มี เพียรละบาป ให้เพียรบำเพ็ญบุญ สัมมัปปธาน ๔ มีว่า ปหานปธาน ประหารบาป ละบาป บาปปรากฏขึ้นที่จิตนี่แหละ ไม่เกิดขึ้นจากที่อื่น เพราะจิตไปรวบรวมเอาอารมณ์ภายนอก

อารมณ์ภายนอกก็หมายเอา ๕ อย่าง รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส มันไปรวบรวมเอามาปรุงมาคิด พิจารณากาย มันก็ไปถูกเวทนาน่ะแหละ ครั้นจะพิจารณาเอาจิต มันก็ไปถูกธรรม จิตมันเกิดขึ้นกับใจ เรียกว่าธรรมารมณ์ สี่อย่างนี้ ธรรมารมณ์ก็ไม่ใช่อื่น คืออดีตที่ล่วงมาแล้วไปนึกเอามา ดีชั่วอย่างไรก็นึกเอามา อารมณ์ที่ชอบใจก็นึกเอามา มาหมักหมมที่ใจนี้ อนาคตยังไม่มาถึงก็เหนี่ยวเอามา เอามาเต็มอยู่ในปัจจุบันนี้ เรียกว่าธรรมารมณ์ นี่เรียกว่า สติปัฏฐาน ๔

สัมมัปปธาน ๔ ปหานปธาน เพียรละบาป ไม่ให้มันเกิด ที่เกิดขึ้นแล้วจะประหาร เพียรทำกุศลให้เกิดให้มี เรียกว่า ภาวนาปธาน อนุรักขนาปธาน เมื่อบุญกุศลเกิดขึ้นแล้ว รักษาไว้ไม่ให้เสื่อมสูญไป ภาวนาปธาน ทำให้เกิดให้มีมากๆ อเสวิตาย ให้เสพมากๆ เสพเพื่อตั้งอกตั้งใจ มีสติประจำใจ ตั้งอกตั้งใจไม่ปล่อยใจให้มันลอยไปตามอารมณ์ คุมจิตใจให้มันอยู่กับที่ เอาสติควยคุมแล้ว เราบำรุงกำลังหรือพละของจิต ศรัทธาพละ วิริยพละ สติพละ ก็มีอยู่นั้นแล้ว แม่นเราจะทำเอง อ่านเพิ่มเติม

ความเพียรและการบรรลุธรรม : หลวงปู่ขาว อนาลโย

ความเพียรและการบรรลุธรรม : หลวงปู่ขาว อนาลโย

โอวาทธรรมของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต
แสดงเพื่ออบรมพระอาจารย์ขาว อนาลโย
เมื่อสมัยจำพรรษาร่วมกัน
คัดลอกเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ อนาลโยคุโณ หน้า ๑๓๑-๑๓๔

สมัยพุทธกาลทำไมจึงบรรลุธรรมได้ง่าย

ความสงสัยที่หลวงปู่ขาวเรียนถามหลวงปู่มั่นนั้นมีว่า

“ในครั้งพุทธกาล ตามประวัติว่ามีผู้สำเร็จมรรคผลนิพพานมาก
และรวดเร็สกว่าสมัยนี้ซึ่งไม่ค่อยมีผู้ใดสำเร็จกัน
แม้ไม่มากเหมือนครั้งโน้น หากมีการสำเร็จได้ก็รู้สึกว่าจะช้ากว่ากันมาก”

หลวงปู่มั่นย้อนถามทันทีว่า

“ท่านทราบได้อย่างไร สมัยนี้ไม่ค่อยมีผู้สำเร็จมรรคผลนั้น
แม้สำเร็จได้ก็ช้ากว่ากันมาก ดังนี้”

หลวงปู่ขาวตอบว่า

“ก็ไม่ค่อยได้ยินว่าใครสำเร็จเหมือนครั้งโน้น
ซึ่งเขียนไว้ในตำราว่าสำเร็จกันครั้งละมากๆ
แต่ละครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรด
ตลอดการบำเพ็ญในสถานที่ต่างๆ
ก็ทราบว่าท่านสำเร็จรวดเร็วและง่ายดายจริงๆ
น่าเพลินใจด้วยผลที่ท่านได้รับ
แต่สมัยทุกวันนี้ ทำแทบล้มแทบตาย
ก็ไม่ค่อยปรากฏผลเท่าที่ควรแก่เหตุบ้างเลย
อันเป็นสาเหตุให้ผู้บำเพ็ญท้อใจและอ่อนแอต่อความเพียร” อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .