สุบินนิมิตของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

300px-AjahnMun-Disciples

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม (ซ้ายสุด) และศิษย์พระภิกษุสายวัดป่า (จากซ้าย: หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร และหลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต) เป็นรูปที่คนทั่วไปเข้าใจผิดว่าองค์แรกคือ หลวงปู่มั่น และองค์สุดท้ายคือหลวงตามหาบัว
เป็นเรื่องเล่าของหลวงปู่มั่นเกี่ยวกับสุบินและนิมิตต่างๆ ในสมาธิที่ท่านเห็น ซึ่งได้ความเพลิดเพลินที่แฝงธรรมอยู่ด้วย

ณ ที่วัดเลียบเมืองอุบล หลวงปู่มั่นได้เพียรปฏิบัติภาวนามาอย่างไม่ลดละ การดำเนินจิตของท่านมีความก้าวหน้ามาโดยลำดับ มีนิมิตที่น่าสนใจสองครั้ง ครั้งแรก หลวงปู่เล่าว่าคืนหนึ่ง เราได้หลับไปแล้วแต่การหลับของเราขณะนั้นเหมือนจะตื่น เพราะเราต้องกำหนดจิตให้มีสติไว้เสมอ ท่านรู้สึกว่าฝันไปว่าเดินออกจากบ้านเข้าสู่ป่าที่รกชัฏ พบต้นไม้ใหญ่ชื่อต้นชาด ถูกโค่นล้มอยู่กับพื้น กิ่งก้านผุพังแล้ว ท่านขึ้นไปยืนบนขอนต้นชาด มองไปข้างหน้าเห็นทุ่งกว้าง ทันใดมีม้าขาวมาหยุดอยู่ใกล้ๆ ท่านขึ้นไปนั่งบนหลังม้า แล้วม้าก็วิ่งผ่านทุ่งไปจนสุดพบตู้พระไตรปิฎกตั้งตระหง่านอยู่ ท่านไม่ได้เปิดตู้ดูแล้วรู้สึกตัวตื่น

ท่านได้ทบทวนเรื่องที่ฝัน เกิดความรู้สึกมั่นใจในการปฏิบัติภาวนาของท่าน ภายหลังท่านได้ทำนายเหตุการณ์ที่ฝันให้ฟังว่า ที่ออกจากบ้านก็คือออกจากเพศฆราวาส ไปพบป่าชัฏแสดงว่ายังไปไม่ถูกทางจริงจึงต้องลำบากหนัก ที่ท่านได้ขึ้นไปบนขอนไม้ชาดที่ผุแล้วแสดงว่าชาตินี้อาจเป็นชาติสุดท้ายของท่าน เหมือนต้นชาดนั้นย่อมไม่สามารถงอกได้อีกแล้วท่านต้องแสวงหาต่อไป ทุ่งโล่งหมายถึงแนวทางที่ถูกต้องเป็นทางที่ไม่ลำบากนัก การได้ขี่ม้าขาวหมายถึงการเดินทางไปสู่ความบริสุทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว การพบตู้พระไตรปิฎกแต่ไม่ได้เปิดดูก็คือท่านคงไม่ถึงปฏิสัมภิทาญาณถ้าได้เปิดดูก็คงแตกฉานกว่านี้ เพียงได้ความรู้ถึงปฏิสัมภิทานุศาสน์สามารถสอนผู้อื่นได้เพียงบางส่วนเท่านั้น

หลวงปู่ได้เร่งความเพียรหนักขึ้นได้เปลี่ยนวิธีการคือพอจิตดำเนินถึงขั้นสงบนิ่งแล้วแต่ไม่หยุดที่ความสงบนิ่งเหมือนแต่ก่อน ยกกายขึ้นพิจารณาเรียกว่ากายคตาสติ โดยกำหนดจิตเข้าสู่กายทุกส่วนทั้งยืน เดิน นั่ง นอน ให้จิตจดจ่อที่กายตลอดเวลาพิจารณาให้เป็นอสุภะจนเกิดความเบื่อหน่าย (นิพพิทาญาณ) บางครั้ง ขณะเดินจงกรมอยู่ปรากฏเดินลุยอยู่ข้างศพก็มี เหตุการณ์เช่นนี้ปรากฏขึ้นเป็นเดือน ท่านว่าปรากฏปัญญาขึ้นมาบ้าง ไม่เหมือนทำจิตให้สงบอยู่อย่างเดียวเหมือนที่ผ่านมาซึ่งได้แต่ความสุข ความอิ่มใจเฉยๆ ยิ่งกว่านั้นยังเกิดความหวั่นไหวไปตามกิเลสอยู่ แต่การปฏิบัติในคราวหลังนี้ความรู้สึกหวั่นไหวได้ชะงักลง จึงปลงใจว่าน่าจะไปถูกทาง

นิมิตครั้งที่สอง เกิดขึ้นจากการปฏิบัติในช่วงต่อมา ได้เกิดนิมิตในสมาธิติดต่อกันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 3 เดือน วันหนึ่งหลวงปู่เกิดนิมิตในสมาธิว่า เห็นคนตายนอนอยู่ห่างจากตัวท่านราวหนึ่งศอก มีสุนัขกำลังกัดทึ้งซากศพ ดึงไส้ออกมาเคี้ยวกินอยู่ ท่านจึงกำหนดพิจารณาดูซากศพทุกส่วน กำหนดขยายส่วนต่างๆ ขึ้นพิจารณาจนเห็นเด่นชัด สามารถกำหนดขยายหรือย่อส่วนได้ตามต้องการ (เรียกว่าปฏิภาคนิมิต) ยิ่งพิจารณาไปจิตก็ยิ่งสว่างไสวปรากฏดวงแก้วขึ้นมา แล้วทิ้งการกำหนดอสุภะ มากำหนดเอาเฉพาะดวงแก้วเป็นอารมณ์

วาระต่อไปได้ปรากฏนิมิตเป็นภูเขาอยู่ข้างหน้า ท่านกำหนดจิตขึ้นไปดูเห็นมีห้าชั้น เดินขึ้นไปจนถึงชั้นที่ 5 พบบันไดแก้วแล้วหยุดอยู่ที่นั่น ไปต่อไม่ได้จึงเดินทางกลับ ท่านได้พบว่าท่านได้สะพายดาบและใส่รองเท้าวิเศษไปด้วยในทุกครั้งที่เกิดนิมิต ในครั้งต่อไปเมื่อทำสมาธิ ก็เกิดนิมิตและดำเนินไปเหมือนเดิม เดินไปถึงที่เดิมเห็นกำแพงแก้วเปิดประตูเดินเข้าไป พบพระนั่งสมาธิอยู่ 2 – 3 องค์ ท่านเดินต่อไปจนถึงหน้าผาสูงชัน เดินต่อไปไม่ได้จึงกลับทางเดิม

ในครั้งต่อๆ ไป การทำสมาธิก็ดำเนินไปในแนวเดิมไปพบเห็นสิ่งต่างๆต่อไปเรื่อยๆ ครั้งหนึ่งได้สวนทางกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ) ท่านเจ้าคุณกล่าวเป็นภาษาบาลีว่า “อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค” แล้วก็เดินไป นิมิตในสมาธิเกิดต่อเนื่องกันไปนานถึง 3 เดือน จนไปถึงที่สุดไม่มีนิมิตอะไรต่อไปอีกแล้ว มีแต่ความสุขสงบเหลือที่จะประมาณได้จนท่านเองสำคัญว่า “ตนของตนถึงความบริสุทธิ์แน่จริง หมดจากกิเลสแล้ว”

หลวงปู่ได้ยกประสบการณ์ในครั้งนั้นมาเป็นตัวอย่างสั่งสอนศิษย์ว่า “ระวังอย่าได้ไปหลงนิมิตเช่นนี้เพราะมันวิเศษจริงๆ ผู้ปฏิบัติทางจิตชอบจะมาติดอยู่เพียงแค่นี้ แล้วสำคัญตนผิด….เราเองก็เป็นมาแล้วและมันก็น่าจะหลงใหล เพราะเป็นสิ่งอัศจรรย์มาก ที่เรียกว่าวิปัสสนูปกิเลส ก็คือความเป็นเช่นนี้”

หลังจากที่หลวงปู่รู้ตัวว่าหลงไปตามนิมิตต่างๆแล้ว ท่านกับมากำหนดกายคตา จิตได้เข้าฐาน ปรากฏว่าได้เลิกหนังของตนออกหมดแล้วแหวะในกายพิจารณาทบทวนในร่างกายอย่างละเอียดแล้วพักจิต (มิใช่พิจารณากายไปโดยไม่หยุดพัก) ขณะที่พักก็รู้ว่าปัญญาได้เกิดขึ้นพอควร มีอาการไม่ตื่นเต้น ไม่หวั่นไหว จึงได้เปล่งอุทานว่า “นี่แหละจึงจัดว่ารวมถูก เพราะไม่ใช่จิตรวมสงบแล้วก็อยู่เฉยที่สงบนั้น ต้องสงบแล้วพิจารณาอยู่ในกัมมัฏฐาน คืออยู่ในการพิจารณาดูตัวทุกข์คือกายนี้เป็นตัวทุกข์และให้เห็นทุกข์อยู่ จึงจะได้ชื่อว่าดำเนินจิตอยู่ในองค์มรรค ฯลฯ เราจะต้องตรวจค้นให้รู้จริงเห็นจริงอยู่ที่กายกับจิตเท่านั้น จึงจะถูกอริยมรรคปฏิปทา”

มีครั้งหนึ่ง ปรากฏในนิมิตว่าร่างกายของท่านแตกออกเป็นสองภาค ท่านกำหนดจิตให้นิ่งจนเกิดความสังเวชสลดใจเห็นทุกข์ของการเวียนว่ายตายเกิด จึงถือเอาหลักที่ทำมาเป็นการเริ่มต้นเพราะมั่นใจว่าปฏิบัติถูกต้อง เป็นทางดำเนินจิตของท่านต่อไป อ่านเพิ่มเติม

พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต)

หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต

“หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต” หรือชื่อที่บันทึกในทางฐานานุกรมว่า พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต)  (20 มกราคม พ.ศ. 2413—11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) เป็นพระภิกษุชาวไทยสายธรรมยุตชื่อดังในประวัติศาสตร์พระกรรมฐานไทย หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้ปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนพระศาสดาอย่างเคร่งครัด และยึดถือธุดงควัตรด้วยจริยวัตรปฏิปทางดงาม จนได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธาทั้งหลายว่าเป็นพระผู้เลิศทางธุดงควัตร ท่านวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าให้แก่ สมณะประชาชนอย่างกว้างขวาง จนมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีว่า คำสอนพระป่า (สายพระอาจารย์มั่น) หลังจากท่านมรณภาพลง ในปี พ.ศ. 2492 ยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนวปฏิบัติของท่านสืบมา โดยลูกศิษย์เรียกว่า พระกรรมฐานสายวัดป่า หรือ พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านได้รับยกย่องจากผู้ศรัทธาให้เป็น พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า สืบมาจนปัจจุบัน

ภูมิหลัง
ชื่อเดิมคือ “มั่น แก่นแก้ว” ท่านเกิดที่บ้านคำบง ตำบลสงยาง อำเภอโขงเจียม (ปัจจุบันคือ อำเภอศรีเมืองใหม่) จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายด้วง และนางจันทร์ แก่นแก้ว และได้อุปสมบทในธรรมยุติกนิกายเมื่ออายุ 22 ปี ในปี พ.ศ. 2436 ณ วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 โดยมีพระอริยกวีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณเป็นพระอนุสาวนาจารย์

ก่อนหน้านี้หลวงปู่มั่นได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 15 ปี ณ วัดบ้านคำบง เมื่อบวชได้ 2 ปี บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน จิตท่านยังหวนคิดถึงร่มผ้ากาสาวพัสตร์อยู่เนืองนิจ เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า “เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายากนัก” ครั้นอายุได้ 22 ปีจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ แรกบวชได้เข้าฝึกปฏิบัติธรรม ในสำนักวิปัสสนาหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ณ วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี ภายหลังท่านได้ออกจาริกเดินธุดงค์ตามสถานที่ต่างๆ และไปศึกษาธรรมะจากพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) แห่งวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร ผู้เป็นสหธรรมิกของท่าน จึงออกจาริกไปอีกหลายที่หลายแห่ง จนกระทั่งถึงที่ถ้ำไผ่ขวาง น้ำตกเขาสาริกา จ.นครนายก เป็นต้น

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

วิหารสร้างอุทิศถวายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดเจดีย์หลวง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ประมาณปี 2450 – 2453 ท่านได้จาริกไปทางจังหวัดลพบุรี ไปพักอยู่ที่เขาพระงามบ้าง ถ้ำสิงโตบ้าง ต่อมา ท่านได้ไปพักอยู่ที่ถ้ำสาริกา จ.นครนายกนี่เอง ท่านได้ประสบเหตุการณ์ต่าง หลายประการ และเป็นที่ติดใจท่านมาตลอด คือ ขณะที่ท่านไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้กับถ้ำมากกว่าหมู่บ้านอื่น ๆ ท่านวานให้ชาวบ้านพาไปส่งที่ถ้ำดังกล่าว เพราะไม่รู้จักทาง ชาวบ้านเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับถ้ำนั้นให้ฟัง พร้อมกับนิมนต์ให้เลิกล้มความต้งใจที่จะไปถ้ำนั้นเสีย แต่ท่านบอกว่า ท่านไม่กลัว ท่านทดลองพักดู

ขณะที่พักที่ถ้ำสาริกาแห่งนี้ในระยะเดือนแรกๆ ท่านรู้สึกปรกติดี จิตใจสงบ ไม่มีอะไรพลุกพล่าน พอดีคืนต่อๆมา ท่านรู้สึกว่าโรคเจ็บท้องที่เคยเป็นประจำชักกำเริบ และมีอาการรุนแรงขึ้นตามลำดับ แต่ด้วยอาศัยด้วยเหตุว่าท่านได้บำเพ็ญบารมี (กำลังใจในการปฏิบัติที่สั่งสม) ไว้มากในพระบวรพุทธศาสนา ท่านจึงตัดสินใจออกไปนั่งสมาธิ พิจารณาธรรม แยกธาตุขันธ์ เจริญอสุภะกรรมฐาน จนกระทั่งจิตเกิดความอ้ศจรรย์ สามวันสามคืน แม้กระทั่งเม็ดทราย พอจิตของท่านอิ่มตัวจากการประพฤติปฏิบัติ ได้เกิดนิมิตลูกสุนัขปรี่เข้าไปดูดนมแม่สุนัข ท่านจึงได้เกิดความสงสัยว่า “ในการพิจารณาขั้นนี้ที่จิตรวมในการพิจารณาแล้ว ไม่น่าจะมีนิมิตแล้ว” เพราะนิมิตจะเกิดจากการปฏิบัติสมาธิที่ยังไม่เป็นวสี (ยังไม่ชำนิชำนาญ) เมื่อท่านเกิดความสงสัย จึงได้พิจารณาจนได้ความว่า ลูกสุนัขที่ได้กระทำการดูดนมแม่หาใช่ใครที่ไหน แต่เป็นตัวท่านเองที่เสวยอัตภาพมาตลอด 500 ชาตินั้นเองจึงได้เกิดความสลดสังเวชใจ จึงนำสิ่งที่ได้พบได้เห็นมาพิจารณาธรรมในข้อที่ว่า “กายะ ทุกขัง อริยสัจจัง”คือว่าพิจารณาว่ากายเป็นทุกข์ ไม่ทำให้เกิดความสุขให้เรา แต่ต่อมาท่าเกิดความรู้สึกกังวล จึงใช้ญาณตรวจดูเกิดพบว่าท่านเคยปรารถนาพุทธภูมิ (ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า) จึงค้นลงไปอีกว่าปรารถนาตอนไหน พอเห็นว่าปรารถนาเมื่อสมัยสมัยพระศาสนาของพระพุทธโคดม จึงเห็นว่าเป็นการเนิ่นช้า ท่านเล่าอีกว่าจึงถอนความปรารถนานั้น มุ่งมั่นความพ้นทุกข์ในปัจจุบันชาติ จนเกิดเหตุในนิมิตว่ามียักษ์ตนหนึ่งจะเข้ามาทำร้าย แต่ไม่สามารถทำร้ายท่านได้ จนยักษ์ได้ยอมแพ้และได้เนรมิตรกายกลับเป็นเทพบุตรกล่าวอ้างพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ในกาลเวลาต่อมาจิตท่านจึงรวม เห็นโลกทั้งโลกราบเรียบเตียนลงว่างเปล่าในจิตท่าน

ต่อมาท่านขึ้นไปที่ภาคเหนือจำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวง 1 พรรษาได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง เป็นพระครูวินัยธร และพระอุปัชฌาย์ ขณะนั้นท่านจึงจำใจรับตำแหน่ง เพราะเห็นแก่ท่านเจ้าคุณอุบาลีผู้นิมนต์ ขณะที่กำลังอาพาธเป็นโรคมะเร็งที่กระดูกตรงขา แต่ต่อมาท่านจึงล้มเลิกความตั้งใจที่จะเป็นเจ้าอาวาส โดยท่านรำพึงในใจว่า”หากเรายังรับตำแหน่งอยู่ต่อไป ลาภสักการะอาจจะฆ่าการปฏิบัติของเรา อันเป็นเหตุแห่งการฆ่าการประพฤติปฏิบัติก็เป็นได้” ท่านจึงได้สละตำแหน่ง หนีธุดงค์เข้าป่า อาศัยอยู่ตามดอยมูเซอ ถ้ำเชียงดาว ถ้ำพวง ฯลฯ แล้วออกไปพำนักตามที่วิเวกต่างๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้นๆ นานถึง11ปี อ่านเพิ่มเติม

ใต้ร่มโพธิธรรม–ครูบาอริยชาติตอนที่ 5

ภายหลังจากละเพศฆราวาสเข้าสู่เพศบรรพชิตสมความปรารถนา สามเณรอริยชาติก็ตั้งใจศึกษาปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอโดยเคร่งครัดทั้งปริยัติและปฏิบัติ โดยตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะมุ่งดำเนินแนวทางตามรอยพระบูรพาจารย์ในอดีต และหมั่นฝึกฝนตนเองอย่างหนักเพื่อให้จิตเกิดสมาธิแก่กล้าจนบรรลุซึ่งความสงบให้ได้

ครั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดชัยมงคลได้ระยะหนึ่ง สามเณรอริยชาติจึงตัดสินใจเด็ดขาดที่จะออกธุดงค์ โดยตั้งใจจะแสวงหาครูบาอาจารย์เพื่อกราบขอเป็นศิษย์และศึกษาธรรมะตลอดจนวิชาคาถาอาคมต่างๆ รวมทั้งมุ่งที่จะฝึกจิตเพื่อค้นหาหนทางสู่สัจธรรม ดังนั้น ไม่นานต่อมาสามเณรอริยชาติจึงเดินทางออกจากวัดชัยมงคลโดยมิได้บอกกล่าวร่ำลาผู้ใด แม้แต่โยมแม่ของท่านเอง

ด้วยวัยเพียง ๑๗ ปี ทั้งยังเพิ่งเข้าสู่เพศนักบวชในระดับ “สามเณรใหม่” ทำให้การปลีกวิเวกครั้งแรกในชีวิตของสามเณรอริยชาติมิใช่เรื่องง่ายเลย แต่ด้วยความมุ่งมั่นแรงกล้า สามเณรหนุ่มจึงมิได้ย่อท้อและพยายามต่อสู้กับความกลัว ความว้าเหว่ และความรู้สึกด้านลบที่เกิดขึ้นในจิตตนอย่างหนัก ดังนั้น แม้สถานที่พักปักกลดจะเป็นบริเวณข้างถนน ตามป่าเขา หรือแม้แต่ในป่าช้า สามเณรอริยชาติก็สามารถควบคุมจิตใจตนเองให้อยู่กับสภาวะนั้นๆ ได้เป็นผลสำเร็จ

เส้นทางธุดงค์ของสามเณรอริยชาติเริ่มจากวัดวังมุย จังหวัดลำพูน เข้าสู่เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ โดยในระหว่างการธุดงค์นี้เอง เมื่อทราบว่ามีครูบาอาจารย์ดีอยู่ที่แห่งใด สามเณรอริยชาติเป็นต้องเสาะหาและกราบขอฝากตัวเป็นศิษย์ท่านเหล่านั้นเสมอไป จนกระทั่งเมื่อธุดงค์เข้าถึงเขตจังหวัดน่าน สามเณรหนุ่มก็ได้พบกับ พระอาจารย์มานิตย์ (ปัจจุบันลาสิกขาแล้ว) แห่งวัดบ้านตึ๊ด ตำบลพระพุทธบาท อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ซึ่งนับเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับนับถือในฐานะพระอาจารย์ขมังเวทย์อีกท่านหนึ่งในถิ่นนั้น

หลังจากสามเณรอริยชาติได้ช่วยพระอาจารย์มานิตย์ในการสร้างวัดแล้ว จึงได้ติดตามพระอาจารย์มานิตย์ออกธุดงค์ โดยใช้ชีวิตตามรอยพระธุดงค์ผู้ทรงภูมิแก่กล้าทั่วไป นั่นคือปักกลดจำวัดอยู่ตามป่าช้าเป็นวัตร

ครูบาอริยชาติเล่าถึงความรู้สึกตอนออกธุดงค์เมื่อยังเป็นสามเณรว่า…เริ่มแรกท่านยังรู้สึกหวาดกลัวอยู่ไม่น้อย ยิ่งในตอนกลางคืนด้วยแล้ว ทั้งเสียงสัตว์กลางคืนและสรรพเสียงต่างๆ ในป่าทำให้หูแว่วและจิตไหวอยู่บ่อยครั้ง บางครั้งก็จินตนาการไปเองถึงเสียงต่างๆ ในลักษณะ “หลอกตัวเอง” ในที่สุดจึงต้องใช้วิธี “อธิษฐานจิต” มาข่มความกลัว โดยท่านได้อธิษฐานต่อเทวดาฟ้าดินว่า “หากชีวิตนี้จะสิ้นลง ก็ขอสิ้นในธงชัยของพระพุทธเจ้า” เมื่ออธิษฐานดังนี้แล้วความขลาดกลัวจึงหายไป ทำให้จิตเริ่มนิ่ง เริ่มมีสติและเข้าสู่ภวังค์แห่งความสงบมั่นคงได้ในที่สุด…

หลังจากติดตามพระอาจารย์มานิตย์ออกธุดงค์ได้ระยะหนึ่ง จนกระทั่งพระอาจารย์มานิตย์เห็นว่าสามเณรหนุ่มมีจิตอันมั่นคงและสามารถจะแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเองแล้ว ท่านจึงได้แยกทางจากไป ซึ่งขณะนั้นเส้นทางการธุดงค์ของสามเณรอริยชาติอยู่ที่ภูผาม่าน จังหวัดน่าน

ยิ่งต้องอยู่โดยลำพัง การปฏิบัติตนของสามเณรอริยชาติก็ยิ่งเคร่งครัดมากขึ้น ถึงขั้นไม่ฉันภัตตาหารใดๆ นอกจากน้ำเปล่าเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้เข้าใจสภาวะอันเป็นทุกข์ที่สุดแห่งสังขาร เพื่อให้เกิดสติระลึกอยู่เสมอว่าสิ่งที่เป็นภาระที่สุดของชีวิตก็คือสังขาร และสังขารก็คือสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ที่สุด จึงไม่พึงยึดมั่นถือมั่นในสังขารที่ไม่เที่ยงแท้นี้ ดังนั้น การฝึกตนในครั้งนี้ จึงนอกจากจะเพื่อพิจารณาสภาวจิตของตนโดยใช้สติเป็นเครื่องนำทางแล้ว ยังเป็นไปเพื่อมุ่งเอาชนะกิเลสมาร เอาชนะอำนาจฝ่ายต่ำของจิตให้ได้อีกด้วย

สามเณรหนุ่มกระทำทุกรกิริยาด้วยวิธีการอดข้าวอยู่ได้ถึง ๑๒ วันสังขารก็เกิดเวทนาถึงขีดสุด ตรงกันข้ามกับสภาวจิตที่ยิ่งแจ่มใสและเข้มแข็งขึ้นโดยลำดับ อย่างไรก็ตาม ความไม่เที่ยงแห่งสังขารก็เป็นผลให้สามเณรอริยชาติเกิดอาพาธหนัก จนกระทั่งชาวบ้านมาพบเข้าจึงนำตัวท่านไปรักษาพยาบาลจนอาการดีขึ้น และสามเณรอริยชาติเมื่อได้รับการช่วยเหลือจากชาวบ้านเช่นนี้ ก็รู้สึกสำนึกถึงบุญคุณว่าตนไม่มีสิ่งใดตอบแทนชาวบ้าน ดังนั้น ท่านจึงนำเอาวิชาความรู้ที่เคยได้เล่าเรียนจากครูบาอาจารย์ของท่าน ทั้งเรื่องสมุนไพรรักษาโรค คาถาอาคม และเครื่องรางต่างๆ มาสงเคราะห์ชาวบ้านเท่าที่จะทำได้ อ่านเพิ่มเติม

ความหวังของแม่–ครูบาอริยชาติตอนที่ 4

024
นายสุข และนางจำนงค์ อุ่นต๊ะ ก็เหมือนกับชาวบ้านปิงน้อยส่วนใหญ่ ที่ยึดอาชีพทำไร่ทำสวนสืบทอดจากบรรพบุรุษ และครอบครัวนี้ซึ่งประกอบด้วยพ่อ แม่ และลูกชายสามคน ก็มีฐานะไม่สู้จะดีนัก

นับตั้งแต่ “เก่ง” หรือ เด็กชายสุชาติ อุ่นต๊ะ ถือกำเนิด นายสุข และนางจำนงค์ อุ่นต๊ะ สองสามีภรรยาชาวบ้านปิงน้อย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ก็ต้องทำงานหนักมากขึ้น เนื่องจากลูกทั้ง ๓ คนยังเล็กนัก ทำให้มีเพียงนายสุขผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวที่เป็นแรงงานหลัก โดยในปีที่เด็กชายเก่งเกิดนั้น นิเวศน์ อุ่นต๊ะ บุตรชายคนโตมีอายุเพียง ๙ ขวบ หนำซ้ำยังพิการมาตั้งแต่อายุเพียง ๑ เดือน เนื่องจากป่วยด้วยไข้เลือดออกและเกิดความผิดพลาดในการรักษาทำให้ขาพิการเดินไม่ได้มาตั้งแต่บัดนั้น ส่วน นิรันดร อุ่นต๊ะ บุตรชายคนรองก็มีอายุเพียง ๔ ขวบเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ลูกชายทั้งสามคนของนายสุขและนางจำนงค์เติบโตขึ้น ต่างก็ได้ช่วยงานบิดามารดาเท่าที่กำลังความสามารถจะทำได้ โดยเฉพาะ “เด็กชายเก่ง” ลูกคนสุดท้องด้วยแล้ว แม้ขณะยังเป็นทารกก็มิได้งอแงเอาแต่ใจให้มารดาต้องลำบาก และยิ่งเมื่อเติบโตรู้ความก็ยิ่งว่านอนสอนง่าย ขยันขันแข็งช่วยงานครอบครัวตั้งแต่งานในบ้านไปจนถึงงานไร่งานสวน นอกจากนี้เด็กชายเก่งยังรักเรียน รักการศึกษาหาความรู้ ทั้งยังมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและมีความจำเป็นเลิศกว่าเด็กวัยเดียวกันอย่างเห็นได้ชัด นำความปลาบปลื้มและภาคภูมิใจมาสู่นายสุขและนางจำนงค์ยิ่งนัก

อาจด้วยคำพูดจริงจังของคุณหมอผู้ทำคลอด ประกอบกับความฝันอันแปลกประหลาดทั้งสองครั้ง เมื่อรวมกับลักษณะอันงามของลูกชายคนสุดท้อง และความโดดเด่นด้านสติปัญญาของเด็กชาย ล้วนเป็นเหตุให้นางจำนงค์ผู้เป็นมารดาแอบหวังอยู่ลึกๆ ว่า…ถ้อยคำที่คุณหมอทำนายเอาไว้เมื่อแรกคลอดบุตรชายคนสุดท้อง อาจเป็นความจริงขึ้นมาสักวันหนึ่ง และความหวังที่จะเห็นลูกได้เป็น “เจ้าคนนายคน” ก็เรืองรองอยู่ในใจของนางจำนงค์ตลอดมา…

ขอขอบคุณ http://www.watsangkaew.com

 

 

นักบุญน้อย–ครูบาอริยชาติตอนที่ 3

016

ครูบาอริยชาติเล่าว่า ชีวิตเมื่อวัยเด็กเป็นช่วงเวลาที่ท่านลำบาก (กาย) ที่สุด เนื่องจากฐานะทางบ้านไม่สู้ดีนัก ดังนั้น ท่านและพี่ชายจึงต้องทำงานหนักเพื่อแบ่งเบาภาระของพ่อแม่มาตั้งแต่ยังเป็นเด็กชายตัวเล็กๆ ท่านเล่าว่า

“ครูบาไม่ได้เกิดมาใช้ชีวิตสบาย พ่อแม่มีลูก ๓ คน อาชีพหลักคือทำสวน ฐานะทางบ้านเรียกว่าเข้าขั้นยากจน ครูบาช่วยงานแม่ทุกอย่างในวัยเด็ก ทั้งงานบ้าน งานสวน ทำสวนแทบจะทุกวัน ตั้งแต่สวนผัก ผักกาด ผักชี หอม แตงกวา สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปแต่ละปีๆ โรงเรียนเลิกกลับมาบ้านก็ต้องไปรดน้ำผักให้แม่ บางทีกลับบ้านมาก่อนก็ต้องมาทำกับข้าวรอแม่ บางวันต้องตื่นแต่เช้า บางทีตี ๒ ไปเก็บผักเพราะคนซื้อเขาต้องการผักจำนวนมาก เช่น สั่ง ๕๐๐ กิโล จะเอาตอนเช้า ก็ต้องไป บางทีตี ๔ เก็บผักจากสวน ๗ โมงไปโรงเรียน เสาร์อาทิตย์แทบไม่มีเวลาเล่น คนอื่นเขาดูการ์ตูน ดูหนัง แต่ครูบาไม่ได้เล่นนะ เสาร์อาทิตย์ก็ต้องช่วยแม่ทำงาน เก็บพริก เก็บมะเขือ ช่วยแม่ทุกอย่าง”

นอกจากจะว่านอนสอนง่าย ขยันขันแข็งทั้งงานบ้าน งานสวน และการศึกษาเล่าเรียนแล้ว อุปนิสัยอย่างหนึ่งของเด็กชายเก่ง ซึ่งแสดงให้เห็นเด่นชัดมาตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเยาว์ก็คือ…ความมีเมตตา รักสงบ ไม่ชอบเบียดเบียนผู้ใดไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์

หลายครั้งหลายคราวที่เด็กชายเก่งได้ให้ความเมตตาช่วยเหลือสรรพชีวิตอื่นๆ และมักกระทำสิ่งที่บ่งชี้ถึงจิตใจที่โน้มไปในทางธรรมให้เห็นอยู่เนืองๆ เช่น

ปล่อยปลา…สมัยที่เด็กชายเก่งอายุประมาณ ๗-๘ ขวบ ได้เห็นปลาติดอยู่ในอุปกรณ์ดักปลาของชาวบ้าน ก็เกิดความสงสาร จึงคิดจะปล่อยปลาคืนสู่แหล่งน้ำ เป็นเหตุให้พลัดตกน้ำ โชคดีที่พี่ชายมาเห็นเหตุการณ์จึงเข้าช่วยเหลือได้ทัน

ปล่อยกบ…หลายต่อหลายครั้งที่นายสุขผู้เป็นพ่อตื่นขึ้นมาตอนเช้า พบว่ากบที่ไปจับมาได้และขังเอาไว้สำหรับทำกับข้าว ได้ถูกปล่อยไปจนหมด…ด้วยฝีมือของลูกชายคนเล็ก!

สนใจเรื่อง “พระ”…ในยามว่างเว้นจากการทำงานและมีโอกาสได้เล่นตามประสาเด็ก การเล่นที่เด็กชายเก่งชื่นชอบคือ…นำดินเหนียวมาปั้นเป็นพระพุทธรูป แล้วนำไปวางไว้ตามกำแพงหรือร่มไม้ จนถูกเพื่อนๆ ล้อว่า ‘อยากเป็นตุ๊เจ้าหรือ?’ ซึ่งนอกจากจะไม่เคยโกรธเคืองที่ถูกล้อแล้ว เด็กชายเก่งยังมิได้ปฏิเสธแต่อย่างใด!

ชอบเข้าวัด…เนื่องจากความจำเป็นที่ต้องดิ้นรนทำงานหาเช้ากินค่ำในแต่ละวัน ทำให้นายสุขและนางจำนงค์ไม่ค่อยมีเวลาเข้าวัดฟังธรรมเท่าใดนัก ดังนั้น เมื่อนางจำนงค์จัดสำรับให้เสร็จสรรพ ผู้มีหน้าที่นำ “ขันดอก” หรือดอกไม้ธูปเทียน ตลอดจนข้าวปลาอาหารไปถวายพระที่วัดก็คือเด็กชายเก่ง วัย ๙-๑๐ ปี ซึ่งเด็กชายก็หอบหิ้วตะกร้าติดตาม “พ่ออุ้ยอิ่น” ผู้เป็นปู่ (ซึ่งเด็กชายเรียกจนติดปากว่า “ตาอิ่น”) ไปวัดด้วยความเต็มอกเต็มใจและกระตือรือร้นยิ่ง ด้วยเหตุนี้ เด็กชายเก่งจึงเป็นเด็กคนเดียวในหมู่บ้านที่รอบรู้และชำนาญใน “การวัด” ตั้งแต่ยังเด็ก และสามารถสวดมนต์ไหว้พระได้อย่างช่ำชองตั้งแต่อายุเพียง ๑๒ ปี

สำหรับผู้เป็นพ่อแม่แล้ว ความสุขสบายใจใดเล่าจะมากเท่าการได้เห็นลูกเติบโตเป็นคนดีและประสบความสำเร็จในชีวิต และการที่ลูกชายคนสุดท้องซึ่งเป็นความหวังของครอบครัว ได้แสดงออกชัดเจนว่ามีจิตโน้มเอียงไปในคุณงามความดีมาตั้งแต่ยังเล็กนี้ ทำให้นายสุขและนางจำนงค์รู้สึกภาคภูมิใจและปลื้มปีติอยู่ไม่น้อย
ลูกชายคนนี้มี “ความดี” เป็นเกราะประจำกายจนหายห่วงแล้ว ความหวังต่อไปที่พ่อแม่อยากจะเห็นก็คือ การที่ลูกชายได้รับราชการ ได้เป็น “เจ้าคนนายคน” ซึ่งด้วยสติปัญญาและความมานะพากเพียรสมชื่อ “เก่ง” ทำให้นางจำนงค์แอบตั้งความหวังอยู่ในใจว่า…อย่างไรเสีย ความสำเร็จของลูกชายก็ไม่น่าจะไกลเกินเอื้อม…

ขอขอบคุณ http://www.watsangkaew.com

เรียนศาสตร์ทางโลก…เริ่มศาสตร์ทางธรรม–ครูบาอริยชาติตอนที่ 2

1479540_10201131606040787_2138090438_n

เด็กชายเก่งเริ่มเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนวัดชัยชนะ ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (บ้านปิงน้อย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ บ้านเกิดของครูบาอริยชาติ เป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับอาณาเขตของจังหวัดลำพูนเพียงชั่วสะพานกั้น จึงสามารถไปมาระหว่างกันได้สะดวก)

ด้วยความขยันเอาใจใส่ประกอบกับสติปัญญาที่ฉลาดเฉลียว ทำให้เด็กชายเก่งสอบได้เป็นที่ ๑ ของชั้นมาโดยตลอด กระทั่งแม้เมื่อเรียนจบชั้น ป.๖ และเข้าเรียนต่อระดับมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนสารภีพิทยาคม ผลการเรียนของเด็กชายเก่งก็ยังคงโดดเด่น ประกอบกับความโอบอ้อมมีน้ำใจอันเป็นอุปนิสัยส่วนตัว ก็ทำให้เขาเป็นที่รักของครูและเพื่อนพ้องเสมอมา

การตักบาตรเข้าวัดมาตั้งแต่ยังเล็กทำให้เด็กชายเก่งมีความคุ้นเคยกับวัดเป็นอย่างดี ประกอบกับขณะอายุได้ ๑๒ ปี ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อระหว่าง ป.๖ และ ม.๑ เด็กชายมักติดตามพี่ชายซึ่งเป็นขโยมวัด (เด็กวัด) ไปที่วัดชัยชนะ จังหวัดลำพูนอยู่เสมอ ซึ่งที่วัดชัยชนะแห่งนี้เอง ที่ทำให้เด็กชายเก่งมีโอกาสได้กราบ “ครู” คนสำคัญ และเป็นครูในทางธรรมท่านแรก นั่นคือ ครูบาจันทร์ติ๊บ ญาณวิลาโส เจ้าอาวาสวัดชัยชนะในขณะนั้น

ครูบาจันทร์ติ๊บ นับเป็นพระสงฆ์ผู้เรืองวิทยาคุณอย่างยิ่งผู้หนึ่งในยุคนั้น เนื่องจากท่านเป็นสหธรรมิกกับ “ครูบาชุ่ม โพธิโก” อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล (วัดวังมุย) และครูบาชุ่มผู้นี้ นอกจากจะเป็นผู้ทรงภูมิธรรมสูงส่งแล้ว ท่านยังได้รับความศรัทธานับถือจากญาติโยมในยุคนั้น ว่าเป็นพระสงฆ์ผู้เจริญด้วยศีลาจารวัตร อีกทั้งยังได้รับการยกย่องในฐานะเกจิผู้เข้มขลังด้วยสรรพวิชาสารพัดแขนง จากการที่ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับอาจารย์ผู้เลิศในศาสตร์แห่งวิทยาคุณมากมายหลายท่านนั่นเอง

ด้วยหัวใจของความเป็นครู บวกกับเจตนาที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้ของท่านให้สืบทอดสู่เด็กรุ่นลูกหลานต่อๆ ไป ครูบาจันทร์ติ๊บจึงไม่เพียงปลูกฝังสั่งสอนศีลธรรมจรรยาต่างๆ ให้กับเด็กๆ เท่านั้น แต่ท่านยังถ่ายทอดความรู้เรื่องอักขระพื้นเมือง หรือที่เรียกว่า “ตั๋วเมือง” ให้กับบรรดาลูกศิษย์ที่มาเรียนกับท่านอีกด้วย

ในบรรดาเด็กๆ ที่มาเรียนกับครูบาจันทร์ติ๊บนั้น ผู้ที่ทำให้ครูบาผู้เฒ่าบังเกิดความสนใจแกมปีติยินดีอย่างยิ่งก็คือ…เด็กชายเก่ง ด้วยไม่เพียงเด็กชายผู้นี้จะเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนและพากเพียรเรียนรู้ในสิ่งที่ครูบาถ่ายทอดให้ด้วยความใส่ใจเท่านั้น แต่เด็กชายเก่งยังสามารถเรียนรู้ในศาสตร์วิชาที่ท่านสั่งสอนได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถอ่านและเขียนตั๋วเมืองที่ว่ายากนักยากหนาได้ภายในเวลาเพียงชั่วข้ามคืนเป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง!

เรื่องราวดังกล่าวได้รับการกล่าวขานเป็นที่รับรู้ทั่วไปในกลุ่มผู้ใหญ่ที่สนใจในช่วงเวลานั้น กระทั่งได้ยินไปถึง “ครูบาตั๋น” หรือ “ตุ๊ลุงตั๋น” ซึ่งในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าคณะอำเภอสารภีรูปที่ ๔ และเป็นประธานศูนย์เผยแผ่พุทธศาสนาวัดหวลก๋าน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ตุ๊ลุงตั๋นไม่เชื่อว่าจะมีเด็กที่สามารถเรียนตั๋วเมืองจนอ่านออกเขียนได้ในเวลาเพียงข้ามคืนดังที่บอกเล่ากัน ท่านจึงเดินทางมาพิสูจน์ข่าวนี้ด้วยตัวเอง กระทั่งได้ประจักษ์ความจริงนี้ด้วยสายตาของท่านเอง ทำให้ตุ๊ลุงตั๋นรู้สึกชื่นชมในตัวเด็กชายเก่งอย่างมาก จึงได้มอบรางวัลให้เป็นกำลังใจแก่เด็กชายจำนวน ๑ พันบาท อ่านเพิ่มเติม

กำเนิด “ครูบาน้อย” –ครูบาอริยชาติตอนที่ 1

019

โรงพยาบาลสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ วันศุกร์ที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๔…

“พี่…เด็กคนนี้เลี้ยงให้ดีนะ โตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ผมทำคลอดมาหลายคน ยังไม่เคยเห็นเหมือนเด็กคนนี้เลย…”

“คุณหมอสุชาติ” แพทย์ผู้ทำคลอดให้กับ นางจำนงค์ อุ่นต๊ะ บอกกับนางจำนงเมื่อวันที่บุตรชายคนที่ ๓ ของนางลืมตาดูโลกเป็นวันแรก แล้วคุณหมอผู้ทำคลอดก็ขออนุญาตตั้งชื่อให้ทารกแรกเกิดผู้นี้ว่า “เก่ง”

ณ วันนั้น การได้เห็นลูกน้อยซึ่งตนอุ้มท้องมานานถึง ๙ เดือน เป็นความปีติยินดีของนางจำนงค์ยิ่งกว่าสิ่งใด อีกทั้งลักษณะของบุตรชายที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้น ก็ทำให้นางจำนงค์รู้สึกภูมิใจไม่น้อย ด้วย “เด็กชายเก่ง” ผู้นี้ มีลักษณะอัน “งาม” ยิ่ง กล่าวคือ…ผิวพรรณผุดผ่อง ตาโต ใบหูยาวใหญ่ นิ้วมือนิ้วเท้าเรียวยาว…ซึ่งรูปลักษณ์เช่นนี้ตามคำทำนายของคนเฒ่าคนแก่แต่โบร่ำโบราณว่ากันว่า…นี่คือลักษณะของ “ผู้มีบุญ”

ทารกน้อยผู้เป็นลูกชาย ทำให้นางจำนงค์นึกถึงความฝันอันประหลาดซึ่งเกิดขึ้นถึง ๒ ครั้ง ๒ ครา ก่อนจะตั้งท้องลูกคนนี้ ครั้งแรกนางฝันไปว่า…ได้รับผ้าผืนใหญ่สีขาวนวลตา เมื่อพิจารณาดูก็รู้สึกชอบใจยิ่งนัก เพราะผ้าผืนนั้นขาวสะอาดไร้รอยเปื้อนใดๆ

และครั้งที่สอง… “แม่ฝันว่าผลักประตูเข้าไปในห้องนอน เห็นแต่สีเหลืองทองเต็มห้องไปหมด…”
ไม่ว่าจะเป็นความฝันที่น่าจะเป็นนิมิตหมายอันดี หรือรูปลักษณ์อันงามของบุตรชายคนสุดท้องก็ตาม วันที่ “เด็กชายเก่ง” หรือ สุชาติ อุ่นต๊ะ ถือกำเนิดขึ้น ก็นับเป็นวันแห่งความสุขและความปลื้มปีติของนายสุขและนางจำนงค์ผู้เป็นบิดาและมารดาอย่างที่สุด

ถึงอย่างนั้น ใครเล่าจะคาดคิด ว่าในกาลข้างหน้า เด็กชายผู้ลืมตาดูโลกในวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ผู้นี้ จะเติบโตขึ้นและเจริญในวิถีแห่งธรรมจนโด่งดังเป็นที่รู้จักในนาม “ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต” … “ตนบุญ” ผู้มีชื่อเสียงนับตั้งแต่ดินแดนเหนือสุดของประเทศจรดแผ่นดินบริเวณด้ามขวานของไทย ตลอดรวมถึงต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำยกย่องว่า “ครูบา” หรือ “ตนบุญ” นี้ ถูกเรียกขานมาตั้งแต่นักบวชหนุ่มผู้นี้ก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ได้เพียงไม่กี่ปี

เป็น “ครูบาน้อย” ตั้งแต่อายุยังน้อย และตั้งแต่ยังเป็นเพียงสามเณรเท่านั้น!

ขอขอบคุณ http://www.watsangkaew.com/

พระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ตนบุญแห่งล้านนา : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

9k86bbeib96ah6bg99b5c

“ครูบาคิดว่าความสวยงามในวัตถุทำให้เกิดกุศลขึ้นในจิตใจ เรามาวัดอย่างน้อยได้เห็นความร่มรื่น ได้เห็นความสงบ ได้เห็นสิ่งสวยงาม ได้เห็นพระพุทธรูป ได้เห็นความเป็นไทย จิตเราจะเกิดความเบิกบาน นี่คือคำว่า บุญ”

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นปณิธานในการสร้างวัดของพระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย โดยท่านได้สร้างมีรูปหล่อเหมือนพระครูเจ้าศรีวิชัยหน้าตัก ๙ เมตร เนื้อโลหะองค์ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งเด่นตระการตา เป็นที่เคารพสักการะของผู้ที่มาเยือน มีเทพทันใจให้ผู้คนได้เสี่ยงทายขอโชคลาภ มีแม่นางกวักตุ้ยนุ้ยให้ได้บูชาเป็นที่เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์

ครูบาอริยชาติ ถือวัตรปฏิบัติเช่นเดียวกับครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ลูกศิษย์จึงตั้งสมญานามว่า “ครูบาอริยชาติ ตนบุญแห่งล้านนา” โดยในแต่ละวันจะมีลูกศิษย์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เดินทางไปกราบไหว้ขอพรเป็นจำนวนมาก

ครูบาอริยชาติ บอกว่า คำถามยอดฮิตที่มาหาครูบา คือ “เมื่อไรจะรวย เมื่อไรจะดี เมื่อไรจะขายที่ได้” เท่าที่มีคนมาหายังไม่เคยเห็นคนรวยเลย เจ้าของโรงงานมีคนงานเป็นพัน ก็มาถามครูบาว่า “เมื่อไรจะรวย?” เจ้าของโรงแรมขนาด ๕๐ ห้อง ก็มาถามว่า “เมื่อไรจะรวย?” เจ้าของที่เป็นพันไร่ก็มาถามว่า “เมื่อไรจะรวย?” นั่งรถเบนซ์มาก็ถามว่า “เมื่อไรจะรวย?” ใครต่อใครที่ก้าวเข้ามาในวัด แต่งตัวดีใส่นาฬิกาโรเล็กซ์ ใส่เพชรใส่พลอยเต็มตัวสุดท้ายก็มาถามว่า “เมื่อไรจะรวย?”

ตั้งแต่บวชเป็นพระมาครูบายังไม่เคยเห็นคนรวยเข้ามาที่นี่เลย คนเราเวลาขอพร มักบอกขอให้รวยมีเงินมีทอง ครูบาว่า คนเราถึงจะมีเงินมากก็ตาม แต่เงินก็ไม่สามารถให้ความสุขแก่เราได้ มีเงินก็ต้องมีความสามารถ ในการบริหารเงิน มีเงินแล้วบริหารไม่ดีก็หมด ติดเหล้า ติดยา ติดเพื่อน ติดการพนัน นำความเดือดร้อนมาให้ครอบครัว มีเงินเป็นร้อยล้านพันล้านก็ไม่มีความสุขถ้าไม่รู้จักพอ คนเราถ้ารูจักพอมันก็รวยแล้ว

พร้อมกันนี้ ครูบาอริยชาติ ยังบอกด้วยว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ ให้สนใจศึกษาเรื่องภายใน เรื่องของตนเอง ไม่ต้องไปไกลถึงนอกโลก บางคนมาคุยกับครูบา รู้ทุกเรื่องที่เป็นเรื่องภายนอก รู้เหตุการณ์บ้านเมือง รู้ความเป็นไปของโลก คนไปโลกพระจันทร์ชื่ออะไร นิลอาร์มสตรอง รู้ถึงนอกโลกโน้นแน่ะ พอถามว่า “แล้ววันนี้กินข้ากี่คำ?” กลับตอบว่า “ไม่รู้” ไม่รู้เพราะอะไร เพราะไม่สนใจศึกษาเรื่องของตนเอง รู้จักคนอื่น รู้จักโลกอื่น แต่ไม่รู้จักตนเองก็ไม่มีประโยชน์อะไร อ่านเพิ่มเติม

ครูบาอริยชาติ

ครูบาอริยชาติ หรือ “ครูบาน้อย” เจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายอายุ 32 ปี 12 พรรษา เกิดที่อำเภอสารภี เชียงใหม่ ถือว่าเป็น นักบุญล้านนายุคใหม่ โดยได้รับการศรัทธายกย่องให้เป็น “ครูบา” หมายถึง อาจารย์ผู้มีความเข้มขลัง ตั้งแต่อายุยังน้อย

ครูบาน้อย….เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์บรรพชาเป็นสามเณรกับ ครูบาเทือง นาถสีโล วัดเด่นสลีเมืองแกน เชียงใหม่ เมื่ออายุ 17 ปี ได้ศึกษาอักขระเวทมนตร์ต่างๆจนล้ำลึกสุดยอดในวิชาเมตตามหานิยม จนได้รับการขนานนามว่า…หลวงพ่อเณรน้อย (ยังไม่ถึงระดับหลวงปู่…)

พออายุครบ 20 ปี อุปสมบท ณ วัดชัยมงคล (วังมุย) ลำพูน ได้อุทิศตนทุ่มเทการพัฒนาศาสนสถานหลายแห่ง จนได้รับความศรัทธาเลื่อมใสขจรไกล ไปทั่ว …..ทั้งในและต่างประเทศ

อาจารย์แห้ว….หรือ ซินแสณรงค์ศักดิ์ คูกิติรัตน์ เป็นชาวจันเสน อำเภอตาคลี นครสวรรค์โดยกำเนิด ชีวิตในวัยเด็กก็เฉกเช่นลูกชาวนาธรรมดาๆ

คนหนึ่ง มามี อาการที่ผกผันเมื่อตอนอายุ 8 ขวบ ด้วยเกิดความรู้สึกที่ผิดปกติ มีสัญชาตญาณอันเร้นลับในสัมผัสที่ 6 เพียงเอานิ้วมือสัมผัสก็สามารถหยั่งรู้ถึงอนาคต บอกเหตุและทายทักชะตาชีวิตของมนุษย์โดยทั่วๆไปได้ยังกับเทวดาบอก แต่ก็มิกล้าแสดงออกด้วยเกรงจะถูกกล่าวหาว่า “อุตริมนุส”

แต่ก็หาได้รอดพ้นไม่ ด้วย เกิดนิมิตมีชาวจีนชรามาบอกหลายครั้ง ให้เป็นหัวแรงในการบูรณะศาลเจ้าพ่อนาคราช (ศาลนี้มีอายุ 4 ชั่วชีวิตคน) เมื่อรับปาก จึงได้นำเอาสัมผัสกับความเร้นลับที่เกิดขึ้นมาสงเคราะห์มวลชนจนได้รับแรงศรัทธาร่วม ทั้งคนไทยในประเทศ และชาวต่างชาติจากแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย และอื่นๆ เพียง 5 ปีก็สามารถพลิกศาลไม้ผุๆเป็น…..อาคารถาวรคอนกรีตเสริมเหล็ก

กิจกรรม “สะเดาะเคราะห์ สืบชะตา” ครั้งนี้ อาจารย์แห้ว เดินทางล่วงหน้า ครูบาอริยชาติ ปูพรมด้วยการ ดูฮวงจุ้ย ทายทักชะตาชีวิต สะเดาะ-เคราะห์ให้กับชาวมาเลเซียที่ศรัทธา ซึ่งเข้าคิวกันยาวเหยียดในแต่ละวันตั้งแต่เช้าจดค่ำ

ณ…..วันจัดพิธีกรรมในประมณฑลขนัดด้วยศรัทธา (จัตุรัสนั่นกางเต็นท์ขนาดจัมโบ้ 40 หลัง หลังหนึ่งตั้งเก้าอี้ 54 ตัว และมียืนอีกส่วนหนึ่ง) ช่วงเช้าประเดิมด้วย อาจารย์แห้วทำพิธีบวงสรวงเทพยดาและเหล่าเซียนในแต่ละระดับชั้นสวรรค์

แล้วเสร็จ….ครูบาอริยชาติประกอบพิธีกรรมทางพุทธฯ ด้วยการสลายสรรพทุกข์ โศก โรคภัย ด้วยสวดพระปริต ธรรมจักร ชัยยะน้อย ฯลฯ ผู้เข้าพิธีกรรมเอาสายสิญจน์มัดหัวเพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไหลเข้ากายสลายความเลวร้าย ทั้งปวง….แล้ว ประพรมน้ำมนต์เสริมมงคลพลัง

เพื่อเพิ่มพูนความขลัง…พระครูวิธานธรรมวิสุทธิ์ พระครูสุธรรมโฆสิต พระครูวีระปุญญาธร พระครูปลัดพรเทพ และ พระอธิการมนตรี วัดเชิงท่า คณะสงฆ์จากลพบุรีสวด เจริญชัยมงคลคาถา แล้ว อาจารย์แห้วอัญเชิญ “พญานาคราช” เข้าสิงร่าง เขียนฮู้ เจิมหน้า เจิมหัว ให้กับผู้ศรัทธา อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ

1
“หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ” หรือ “พระครูวิชิตพัชราจารย์” วัดช้างเผือก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ พระเกจิชื่อดังและเป็นพระนักพัฒนาที่มีคุณูปการต่อคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบูรณ์

หลังมรณภาพเมื่อ 35 ปีที่ผ่านมา คณะศิษยานุศิษย์นำศพหลวงพ่อไปบรรจุไว้ในโลงแก้ว ตามคำสั่งสุดท้ายก่อนมรณภาพที่สั่งไว้ว่า “ห้ามนำร่างกายกูไปเผา ต่อไปในวันข้างหน้า ร่างกายนี้จะมีคุณประโยชน์ ต่อวัด”

เกิดในสกุล ม่วงดี ที่บ้านยางหัวลม ต.นายม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2424 บิดา-มารดา ชื่อ นายเผือก และ นางอินทร์ ม่วงดี อายุ 16 ปี ครอบครัวนำไปฝากพระอาจารย์สี วัดช้างเผือก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ให้บวชเป็นสามเณร ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและวิทยาคม

พ.ศ.2445 เมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดศิลาโมง ต.นายม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ มีพระครูเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ปาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ธัมมปัญโญ หมายถึง ผู้มีความรู้ในพระธรรม
หลังอุปสมบท ท่านย้ายไปจำพรรษาที่วัดช้างเผือก เพื่อศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิทยาคมจากพระอาจารย์ปาน จนมีความเชี่ยวชาญ จากนั้นได้ออกเดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ บำเพ็ญภาวนา แสวงหาสถานที่สัปปายะทำกัมมัฏฐาน ขณะเดียวกันได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้านวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ต่างๆ อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
๑๗ เมษายน ๒๓๓๑ – ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕
วัดระฆังโฆสิตาราม แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
——————–
ชาตะ
วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี)

บวชเป็นสามเณร
เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทร พระ บรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ

บวชเป็นพระภิกษุ
พอถึง พ.ศ. 2351 อายุ 21 ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไป
อ่านเพิ่มเติม

ประมวลภาพพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

ประมวลภาพพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

พิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 9 มี.ค.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโณ)

พิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 9 มี.ค.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโณ) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และอดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ โดยเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งถึงยังเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ได้เสด็จขึ้นพลับพลาอิศริยาภรณ์ และประทับพระเก้าอี้ที่หน้าอาสนสงฆ์ เจ้าพนักงานลาดผ้าภูษาโยง จากนั้นเสด็จฯ ไปทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ 10 รูปบังสุกุล ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก แล้วเสด็จลงจากพลับพลา
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) พระมหาเถระผู้เป็นประวัติศาสตร์ความทรงจำพระพุทธศาสนาโลก

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
พระมหาเถระผู้เป็นประวัติศาสตร์ความทรงจำพระพุทธศาสนาโลก

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) หรือสมเด็จเกี่ยว

หากเอ่ยนามพระสงฆ์ “ผู้เป็นต้นแบบแห่งสงฆ์ ” ที่พุทธบริษัทปรารถนาจะได้พบเห็น อันเป็นหนึ่งในทัสนานุตริยะ ที่เป็นมงคลยิ่ง เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นพระมหาเถระที่ได้รับการกล่าวนามถึงมากที่สุดรูปหนึ่ง ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา บนผืนแผ่นดินไทย ด้วยใบหน้าที่เปิดยิ้ม ฉายแววแห่งความเมตตา ทักทายผู้คนทุกชนชั้นที่พบเห็น

เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ริเริ่มวางรากฐานแนวคิดนำพระพุทธศาสนาก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ และนำพระพุทธศาสนาขจรขจายไปก้องโลก

ชีวิตของพระสงฆ์รูปหนึ่ง เมื่อแรกตั้งใจบรรพชาเป็นสามเณรเพียง 7 วัน แต่กลับดำรงตนอยู่ในสมณเพศตลอดมาตราบเข้าสู่วัยชรา และสามารถสร้างคุณูปการแก่พระพุทธศาสนาได้อย่างอัศจรรย์
อ่านเพิ่มเติม

กำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.๙)

กำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.๙)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุเคราะห์ ในการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.๙) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์
ในการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.๙)
อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และ
เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์
วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
กรุงเทพมหานคร โดยมีกำหนดการดังนี้
อ่านเพิ่มเติม

คาถาชินบัญชร

คาถาชินบัญชร

ในการสวด คาถาชินบัญชร เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งๆ ขึ้น ก่อนจะเจริญภาวนา
จึงขอให้ตั้งนะโม 3 จบ และน้อมจิตระลึกถึงคุณพระคุณสมเด็จโต ด้วยคำบูชาดังนี้

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง
อัตถิกาเยกายะ ญายะ
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต
ธะนะกาโมละเภธะนัง
เทวานังปิยะตังสุตตะวา
ท้าวเวสสุวัณโณ
นะโมพุทธายะ
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

สมเด็จพระพุฒาจารย์
(เกี่ยว อุปเสโณ)
สมเด็จเกี่ยว

เกิด 11 มกราคม พ.ศ. 2471
มรณภาพ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556
อายุ 85
อุปสมบท 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2492
พรรษา 64
วัด วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
ท้องที่ กรุงเทพมหานคร
สังกัด มหานิกาย
วุฒิการศึกษา ป.ธ.9 น.ธ.เอก
ตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
อดีตประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
อดีตเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก
อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) (นามเดิม: เกี่ยว โชคชัย) (11 มกราคม พ.ศ. 2471 – 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556) เป็นพระสงฆ์มหานิกาย และอดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เคยเป็นผู้รักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราช อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดของมหาเถรสมาคม[1][2][3][4]ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ เมื่อปี พ.ศ. 2533 มีนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ภาวนากิจวิธานปรีชา ญาโณทยวรางกูร วิบูลวิสุทธิจริยา อรัญญิกมหาปริณายก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี อ่านเพิ่มเติม

คติธรรมคำสอน สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

คติธรรมคำสอน สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ… ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้

อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกจากกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิน

อ่านเพิ่มเติม

ธรรมะของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

ธรรมะของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
ท่านเป็นอมตมหาเถระ ที่มีเกียรติคุณเป็นที่ปรากฏอย่าน่าอัศจรรย์ มีปัญญาเฉียบแหลมแตกฉานในทางธรรม
เป็นเลิศทั้งด้านสมถะและวิปัสสนา พระคาถาที่ทรงอานุภาพยิ่งของท่าน คือ คาถาชินบัญชร

ชาติกาล 17 เมษายน พ.ศ. 2331
ชาติภูมิ บ้านบางขุนพรหม ฝั่งตะวันออก กรุงธนบุรี
บรรพชา เมื่ออายุได้ 13 ปี
อุปสมบท เมื่ออายุได้ 20 ปี
ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2408
มรณภาพ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415
สิริรวมชนมายุได้ 84 ปี

อ่านเพิ่มเติม

คำเทศนา ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

คำเทศนา ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

“บุญ” ถ้าเจ้าไม่เคยสร้างไว้ ใครที่ไหนเล่าจะมาช่วยได้ลูกเอ๋ย ก่อนที่เจ้าจะเที่ยวไปอ้อนวอนขอพึ่งบารมีหลวงพ่อองค์ใดองค์หนึ่ง เจ้าจะต้องมีทุน (บุญ) ของตัวเอง เป็นทุนเดิมติดตัวไปบ้างก่อน ต่อเมื่อบารมีของตัวเจ้าเองยังไม่พอ จึงขอร้อง ยืมบารมีของผู้อื่นมาช่วยเหลือ ถ้ามิฉะนั้นแล้วเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะเจ้าจะต้องเป็นหนี้บุญบารมีที่เจ้าร้องขอ หรือยืมคนเขามาจนล้นพ้นตัว

ครั้นเวลาใดที่เจ้ามีโอกาสทำบุญทำกุศลบ้าง เรียกว่า พอจะมีบุญบารมีเป็นของตัวเองบ้าง เจ้าก็จะต้องไปผ่อนใช้หนี้ที่เจ้าเคยขอร้องยืมเขามาจนหมดสิ้นแทบไม่เหลือสำหรับตัวเอง แล้วเจ้าจะมีบุญกุศลใดติดตัวไว้จุนเจือตัวเองในภพหน้าที่ยังจะต้องเวียนว่ายตายเกิด อันเป็นวัฏฏทุกข์ที่เราพุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะต้องรับรู้ รับทราบ ถ้าเรามั่นใจในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้น เจ้าจงหมั่นสะสมบุญทั้ง ทาน ศีล ภาวนา ไว้อย่างสม่ำเสมอ เทพยดา ฟ้าดินจะเอ็นดูช่วยเหลือเจ้าเอง
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกี่ยว อุปเสโณ

ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกี่ยว อุปเสโณ

10 สิงหาคม 2556 ทั่วทั้งสังฆมณฑลได้รับทราบข่าวมรณภาพของ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ หรือ “สมเด็จเกี่ยว” อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริอายุ 85 ปี 6 เดือน
สมเด็จเกี่ยว มีนามและสกุลเดิมว่า เกี่ยว โชคชัย เป็นบุตรคนที่ 5 ของ นายอุ้ย เลี้ยน แซ่โหย่ หรือ เลื่อน โชคชัย และนางยี โชคชัย เกิดเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2471 ณ บ้านเฉวง อ.เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี เริ่มศึกษาระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนประจำหมู่บ้าน จนจบ ป.4 /// เมื่ออายุได้ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดภูเขาทอง อ.เกาะสมุย และโยมมารดานำไปฝากไว้กับ หลวงพ่อพริ้ง พระครูอรุณกิจโกศล วัดแจ้ง ใน อ.เกาะสมุย ก่อนที่ หลวงพ่อพริ้ง จะนำไปฝากไว้กับสมเด็จพระสังฆราช อยู่ ญาโณทยมหาเถร วัดสระเกศ และได้อุปสมบท ในปี 2492 มีนามฉายาว่า “อุปเสโณ”
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .