ขอบคุณขอมูลจาก : http://www.openbase.in.th/files/Document2.pdf
คลังเก็บหมวดหมู่: ธรรมะจากหลวงพ่อ
หลวงปู่มั่น อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเกส
หลวงปู่มั่น อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเกส
หลวงปู่มั่น อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเกส
หลวงปู่มั่น อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเกส
หลวงปู่มั่น อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเกส
หลวงปู่มั่น อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเกส
หลวงปู่มั่น อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเกส
หลวงปู่มั่น สติปัฏฐาน เป็น ชัยภูมิ คือสนามฝึกฝนตน
หลวงปู่มั่น จิตเดิมเป็นธรรมชาติใสสว่าง
หลวงปู่มั่น มูลการของสังสารวัฏฏ์
หลวงปู่มั่น มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ
หลวงปู่มั่น มูลฐานสำหรับทำการปฎิบัติ
ประวัติ การงาน หลักธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (๘)
ประวัติ การงาน หลักธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (๘)
อย่าดังเกินไป
พ.ศ.๒๔๘๗ ท่านอาจารย์มั่นไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโคก อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านอีกครั้งหนึ่ง ตามความปรารถนาของท่านอาจารย์กงมา จิรปุญโญ
หมู่บ้านนี้เป็นเหมือนบ้านป่า การคมนาคมยังไม่ดี ที่ว่างเปล่าซึ่งไม่มีผู้ใดจับจองจึงมีมาก มีป่าไม้มาก ส่วนใหญ่เป็นพวกไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้ยาง ไม้ตะบาก ไม้ตะแบก ที่มีร่มเงาเหมาะแก่การสร้างวัดปฏิบัติกัมมัฏฐาน ทั้งอยู่ไม่ไกลเกินไปพออาศัยบิณฑบาตเลี้ยงชีพได้
การอยู่จำพรรษาที่บ้านโคกในครั้งที่ ๒ ปรากฏว่าได้มีพระเถระผู้เป็นศิษย์ของท่านมารวมตัวกันที่บ้านโคกนี้มาก ซึ่งก็พอดีกับที่ท่านอาจารย์มั่นอยากจะพบศิษย์อยู่ด้วยเหมือนกัน เพื่อจะได้แนะนำการปฏิบัติในขั้นสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป
อ่านเพิ่มเติม
พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต)
พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต)
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต [1] หรือที่นิยมเรียกด้วยความเคารพว่า “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต”[2][3][4][5] (20 มกราคม พ.ศ. 2413—11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) เป็นพระภิกษุชาวไทยสายธรรมยุตชื่อดังในประวัติศาสตร์พระกรรมฐานไทย เมื่อท่านเป็นพระภิกษุ ได้ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า แก่ประชาชน ทำให้ท่านมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก จึงทำให้แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นคำสอนพระวัดป่า (สายพระอาจารย์มั่น) หลังจากท่านมรณภาพลง ในปี พ.ศ. 2492 ยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนวปฏิบัติของท่านสืบมา โดยลูกศิษย์ของท่านเรียกว่า พระกรรมฐานสายวัดป่า หรือ พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านได้รับยกย่องจากผู้ศรัทธาให้เป็น พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า สืบมาจนปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
ปัจฉิมบท ในวัยชรานบแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา ท่านหลวงปู่มั่นมาอยู่ที่จังหวัดสกลนครเปลี่ยนอิริยาบทไปตามสถานที่วิเวกผาสุขวิหารหลายแห่ง คือ ณ เสนาสนะป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง (ปัจจุบันเป็นอำเภอโคกศรี สุพรรณ) บ้าง ที่ใกล้ๆ แถวนั้นบ้าง
ครั้นพ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยุ่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึงปีสุดท้ายแห่งชีวิต ตลอดเวลา ๘ ปี ในวัยชรานี้ท่านได้เอาธุระอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ทางสมถวิปัสสนาเป็นอันมาก ได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์เป็นประจำวัน ศิษย์ผู้ใกล้ชิดได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านไว้และได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเผยแพร่แล้วให้ชื่อว่า “มุตโตทัย” ครั้นมาถึงปี ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านมีอายุย่างขึ้น ๘๐ ปี ท่านเริ่มอาพาธเป็นไข้ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิดก็ได้เอาธุระรักษาพยาบาลไปตามกำลังความสามารถอาพาธก็สงบไปบ้างเป็นครั้งคราว แต่แล้วก็กำเริบขึ้นอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนจวนออกพรรษา อาพาธก็กำเริบมากขึ้น ข่าวนี้ได้กระจายไปโดยรวดเร็ว พอออกพรรษา ศิษยานุศิษย์ผู้อยู่ไกลต่างก็ทะยอยกันเข้ามาปรนนิบัติพยาบาล ได้เชิญหมอแผนปัจจุบันมาตรวจ และรักษาแล้วนำมาพักที่เสนาสนะป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคมเพื่อสะดวกแก่ผู้รักษา และศิษยานุศิษย์ที่จะมาเยี่ยมพยาบาล อาการอาพาธมีแต่ทรงกับทรุดลงโดยลำดับ
อ่านเพิ่มเติม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
สมุทัยของจิตที่ปิดธรรม แก้ว่าสมุทัยกว้างใหญ่นัก
ย่อลงคือความรักบีบใจทำลายขันธ์ ถ้าธรรมมีกับจิตเป็นนิจนิรันดร์
เป็นเลิศกันสมุทัยมิได้มี จงจำไว้อย่างนี้วิถีจิต
ไม่ต้องคิดเวียนวนจนป่นปี้ ธรรมไม่มีอยู่เป็นนิจติดยินดี
ใจจากที่สมุทัยอาลัยตัว ว่าอย่างย่อทุกข์กับธรรมประจำจิต
จิตคิดรู้เห็นจริงจึงเย็นทั่ว จะสุขทุกข์เท่าไรมิได้กลัว
สร่างจากเครื่องมัวคือสมุทัยไปที่ดี รู้เท่านี้ก็จะคลายหายความร้อน
พอดักผ่อนสืบแสวงหาทางดี จิตรู้ธรรมลืมจิตที่ติดธุลี
ใจรู้ธรรมที่เป็นสุข ขันธ์ทุกขันธ์แน่ประจำ
ธรรมคงเป็นธรรม ขันธ์คงเป็นขันธ์เท่านั้นแล อ่านเพิ่มเติม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงโอวาทธรรมให้ปรากฏไว้ เมื่อครั้งท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดสระปทุม (ปัจจุบันคือ วัด ประทุมวนาราม) กทม. ซึ่งปัจจุบันอาจค้นคว้าหาอ่านได้ไม่ง่ายนัก มีดังนี้ นมัตถุ สุคตัสสะ ปัญจธัมมักขันธานิ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมซึ่งพระสุคต บรมศาสดาศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ และพระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้านั้น บัดนี้ข้าพเจ้าจักกล่าวซึ่งธรรมขันธ์โดยสังเขปตามสติปัญญาฯ
ยังมีท่านคนหนึ่งรักตัวคิดกลัวทุกข์ อยากได้สุขพ้นภัยเที่ยวผายผัน
เขาบอกว่าสุขมีที่ไหนก็อยากไป แต่เที่ยวหมั่นไปมาอยู่ช้านาน
นิสัยท่านนั้นรักตัวกลัวตายมาก อยากจะพ้นแท้ๆ เรื่องแก่ตาย
วันหนึ่งท่านรู้จริงซึ่งสมุทัยพวกสังขาร ท่านก็ปะถ้ำสนุกสุขไม่หาย
เปรียบเหมือนดังกายนี้เอง ชะโงกดูถ้ำสนุกทุกข์คลาย
แสนสบายรู้ตัวเรื่องกลัวนั้นเบา ดำเนินไปเมินมาอยู่หน้าเขา
จะกลับไปป่าวร้องพวกพ้องเล่า ก็กลัวเขาเหมาว่าเป็นบ้า
เป็นอันจบเรื่องคิดไม่ติดต่อ ดีกว่าเที่ยวรุ่มร่ามทำสอพลอ อ่านเพิ่มเติม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
แก้ให้ตกเด้อ แก้บ่ตกคาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้นคาก้นย่างยาย คาย่างยายเวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิด ในภพทั้งสามภพทั้งสามเป็นเฮือนเจ้าอยู่
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อจันทร์ เพียแก่นท้าวเป็นปู่ นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดีเดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวขาวแดง แข็งแรงว่องไวสติปัญญาดีมาตั้งแต่กำเนิด ฉลาด เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักขรสมัยในสำนักของอา คือเรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะมีความทรงจำดี และมีความขยันหมั่นเพียรชอบการเล่าเรียนศึกษา
อ่านเพิ่มเติม
คติธรรม คำสอน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
คติธรรม คำสอน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
“การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์”
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า “ธรรมะของพระตถาคต เมื่อไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมเป็นของปลอมทั้งสิ้น แต่เมื่อไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยะเจ้าแล้วไซร้ ย่อมบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย”
เพราะเหตุใดหนอ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวเช่นนี้ พระอาจารย์ใหญ่ได้อธิบายไว้ว่า หากมีความพากเพียร แต่ยังเรียนในพระปริยัติธรรมอย่างเดียว นั้นยังใช้การไม่ได้ดี ก็ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติขัดเกลาจิตใจให้กิเลสนั้นหมดไป จึงจะถูกต้อง อ่านเพิ่มเติม