ธรรมบรรยาย ประโยชน์ของชีวิตในโลกทั้งสาม

ธรรมบรรยาย ประโยชน์ของชีวิตในโลกทั้งสาม

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

(ธรรมชาติของมวลมนุษย์ทุกคนกลัวจน แต่อยากรวย)
ต้องขยันในการกระทำกิจการงานทั้งหลายทั้งปวง
อารักขสัมปทา หมั่นรักษาในทรัพย์ที่ตนหามาได้ไว้
(มิให้น้ำท่วม ไฟไหม้ ผีหลอก ทรัพย์ได้)
รู้จักเลือกคบคนดี มีศีล มีธรรมะ มีคุณธรรม เป็นเพื่อนเป็นมิตรเป็นสหาย
(อเสวนา จ พาลานัง)
รู้จักแบ่งปันทรัพย์ที่ตนหามาได้ โดยทางที่ชอบ
(ใช้หนี้เก่า ให้เขายืม ใส่ปากงูเห่าจรเข้ ทิ้งเหว ฝังดิน)
ประโยชน์ในโลกเบื้องหน้า

อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย ประโยชน์ของการบริหารจิต

ธรรมบรรยาย ประโยชน์ของการบริหารจิต

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

คำว่า ประโยชน์ หมายถึงสิ่งที่ดีที่ถูกและที่ควร สิ่งใดก็ตามเป็นสิ่งที่ดีที่ถูกที่ควร สิ่งนั้นเรียกว่าสิ่งมีประโยชน์ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามเป็นการกระทำที่ดีที่ถูกที่ควร การกระทำสิ่งนั้นเป็นการกระทำเป็นประโยชน์ คำพูดใดเป็นคำพูดที่ดีที่ถูกที่ควร คำพูดนั้นเป็นคำพูดมีประโยชน์ ความคิดใดเป็นความคิดไม่ดีไม่ถูกไม่ควร ความคิดนั้นเป็นความคิดไม่เป็นประโยชน์ ในทางตรงกันข้าม สิ่งใดก็ตาม การกระทำใดก็ตาม การพูดใดก็ตาม ความคิดใดก็ตาม เป็นไปในทางไม่ดี ไม่ถูกไม่ควร สิ่งนั้นเป็นต้น เรียกว่าไร้ประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ สิ่งของบางอย่างมีประโยชน์มากเมื่อนำไปใช้ในทางที่ดีที่ถูกที่ควร แต่ถ้านำไปใช้ในทางไม่ดีไม่ถูกไม่ควรก็มีโทษมหาศาล พอจะเข้าใจคำว่า ประโยชน์กันแล้วซึ่งได้กล่าวในวงกว้างๆ

อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย ประโยชน์ของโลกเบื้องหน้า

ธรรมบรรยาย ประโยชน์ของโลกเบื้องหน้า

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

(ธรรมชาติของมวลมนุษย์ทุกคนกลัวจน แต่อยากรวย)
ต้องขยันในการกระทำกิจการงานทั้งหลายทั้งปวง
อารักขสัมปทา หมั่นรักษาในทรัพย์ที่ตนหามาได้ไว้
(มิให้น้ำท่วม ไฟไหม้ ผีหลอก ทรัพย์ได้)
รู้จักเลือกคบคนดี มีศีล มีธรรมะ มีคุณธรรม เป็นเพื่อนเป็นมิตรเป็นสหาย
(อเสวนา จ พาลานัง)
รู้จักแบ่งปันทรัพย์ที่ตนหามาได้ โดยทางที่ชอบ
(ใช้หนี้เก่า ให้เขายืม ใส่ปากงูเห่าจรเข้ ทิ้งเหว ฝังดิน)
ประโยชน์ในโลกเบื้องหน้า
ถึงพร้อมด้วยศรัทธาในพระรัตนตรัย เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เชื่อปัญญาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ถึงพร้อมด้วยศีล จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล ปาริสุทธิศีล อริยกันตศีล
ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ถึงพร้อมด้วยบุญญเจตนา บุญญเขต บุญญสถาน บุญญวัตถุ อามิสทาน ธรรมทาน อภัยทาน สุญญตาทาน ให้ชีวิตเลือดเนื้อเป็นทาน
ถึงพร้อมด้วยปัญญา ทั้งโลกิยปัญญา และโลุกตรปัญญา ที่รอบรู้ในกองสังขาร ตามความเป็นจริง
ประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย บาปบันดาล บุญบันดาล

ธรรมบรรยาย บาปบันดาล บุญบันดาล

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

บาปบันดาล ให้เกิดเป็นผู้หญิง เพราะผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร
ให้เกิดเป็นกะเทยบัณเฑาะก์ เพราะผิดศีลข้อกาเมฯ
ให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เพราะความหลง
ให้เกิดเป็นเปรต อสูรกาย เพราะความโลภ
ให้เกิดเป็นสัตว์นรก เพราะความโกรธ
ให้เกิดเป็นมนุษย์ ง่อย-บ้าใบ้-หูหนวก-ตาบอด-พิการต่างๆ เพราะผิดศีลข้อปาณาติบาต
ให้โง่เขลา เพราะดูถูกสติปัญญาผู้อื่น
ให้เกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ เพราะดูถูกพระธรรม
ให้มีบุตรธิดาเป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะกรรมที่ทำลายพระศาสนา อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย บรรยายธรรม ญาติของผู้ป่วย

ธรรมบรรยาย บรรยายธรรม ญาติของผู้ป่วย
คุณโยมชาญ กรศรีทิพา

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

วันพุธที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๓
ตรงกับวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเมีย

เมื่อกาลครั้งหนึ่ง อาตมาได้มาเยี่ยมโยมชาญ กรศรีทิพา ขณะอยู่ที่บ้านและกำลังป่วยอยู่ โยมพวงรัตน์ พร้อมบุตรธิดา ได้พร้อมใจกันถวายสังฆทาน เป็นการทำบุญแทนโยมชาญ กรศรีทิพา ที่ท่านป่วย โดยมีความระลึกถึงท่าน มีจิตใจรักและมีความผูกพันต่อท่าน หวังจะให้ท่านได้หายจากความเจ็บป่วยนี้ ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน สิ่งที่จะเป็นเครื่องบำรุงจิตใจที่สำคัญก็คือการทำบุญ การที่ได้มาใกล้ชิดพระรัตนตรัย ได้อาศัยอานุภาพบุญกุศล และอาศัยพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ เป็นเครื่องอภิบาลรักษาในยามเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งเป็นเวลาที่สำคัญนี้ เรื่องของจิตใจก็สำคัญมาก ทั้งจิตใจของผู้ป่วย และจิตใจของญาติ ตลอดจนท่านที่มีความเคารพนับถือ ซึ่งพากันห่วงใย อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย บทบาทของพระสงฆ์ กับ สังคมไทย

ธรรมบรรยาย บทบาทของพระสงฆ์ กับ สังคมไทย
เรื่องกิจกรรมของพระสงฆ์ กับ สังคมไทย

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

กิจกรรมของสงฆ์
1. สิ่งที่จะต้องศึกษาแสวงหาความรู้ทั้งทางโลก และทางธรรม
2. สิ่งที่จะต้องละความไม่ดีไม่งามทั้งหมด
3. สิ่งที่จะทำให้แจ้งถึงจิตถึงใจ
4. สิ่งที่ควรจะพัฒนา – ทำความเจริญทั้งรูปธรรม – นามธรรม
วัดจะต้องมีกิจกรรมอยู่ ๕ ประการ
1. วัดเป็นที่อาศัยพำนักของภิกษุสามเณร
2. วัดเป็นที่บวชเรียนของลูกหลานชาวบ้าน
3. วัดเป็นที่ทำบุญบำเพ็ญกุศลของชาวบ้านรอบวัด
4. วัดและพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน
5. วัดเป็นศูนย์กลางทางกิจกรรมของสังคมและประชาชน อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย นิพพานคืออะไร

ธรรมบรรยาย นิพพานคืออะไร

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

นิพพาน ๒ (ดับกิเลสมีเบญจขันธ์ และดับเบญจขันธ์แตกดับ)
นิพพาน ๓ (ดับกิเลสมีเบญจขันธ์ และดับเบญจขันธ์เหลือแต่ธาตุดับธาตุสิ้นสลายหมดสิ้นไปด้วย)
นิพพาน ๔ (ความดับกิเลสของพระอริยะตามลำดับชั้น พระโสดาบัน-สกิทาคามี-อนาคามี-อรหันต์)
นิพพาน คือความเย็นทางวิญญาณ เย็นทางอารมณ์
นิพพาน คือความไม่ร้อน (เพราะถูกไฟราคัคคิ-โทสัคคิ-โมหัคคิเผา)
นิพพาน คือความสะอาดในภายใน นิพพาน คือความสว่างทางปัญญา
นิพพาน คือความสงบทางอารมณ์ นิพพาน คือความอิ่ม ไม่หิวด้วยตัณหา อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภาติ

ธรรมบรรยาย นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภาติ

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

วันนี้จะได้แสดงพระธรรมเทศนา เรื่อง ปัญญาคาถา พรรณนาถึงปัญญา เพื่อประดับความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมแก่พุทธบริษัทสืบไป
คำว่าปัญญานั้น แปลว่า ความรู้แบ่งออกเป็นสองอย่าง คือ ๑.ปัญญาทางโลก ๒.ปัญญาทางธรรม ปัญญาทางโลก นั้นเป็นปัญญาสร้างโลก กับปัญญาทำลายโลก เช่น สร้างรถยนต์ รถไฟ เรือยนต์ เครื่องบิน สร้างของใช้สอยต่างๆ สร้างบ้านสร้างอาคาร ปรุงยาแก้โรค สร้างวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ตัว ครอบครัว ประเทศชาติ ศาสนา และสร้างศาสตราวุธต่างๆ ตลอดจนสร้างระเบิดปรมาณู จรวด ดาวเทียม เป็นต้น เพื่อป้องกัน เพื่อทำลายกันโดยมุ่งหมายจะหาความสุขสวัสดีให้แก่ตัว ครอบครัว ประเทศชาติ ดังกล่าวมานั้น แต่ก็ต้องเบียดเบียนกันประหัตประหารกัน ตามปัญญาที่ตนได้ศึกษาเล่าเรียนมา ปัญญาอย่างนี้ทำให้คนมัวเมาประมาทหลงติดอยู่ในภพชาติไม่รู้จักสิ้นสุดยุติได้ จึงได้ชื่อว่าโลกิยปัญญา แปลว่าปัญญาที่ทำคนให้วนอยู่ในโลก อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย เทศนาเรื่องกฐิน

ธรรมบรรยาย เทศนาเรื่องกฐิน

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

คำว่า กฐิน แปลและหมายความว่าอย่างไร? แปลและหมายความอย่างนี้
๑. กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง หมายความว่าเป็นชื่อของไม้สะดึง ที่ใช้ขึงผ้าให้ตึงในเวลาเย็บ ในสมัยก่อน เวลาพระภิกษุทั้งหลายจะเย็บจีวร ต้องอาศัยไม่สะดึงเป็นหลัก จึงจะสามารถเย็บจีวรให้สำเร็จเรียบร้อยได้ ดังนั้นจึงได้เอาไม้สะดึงนั้นมาตั้งชื่อผ้า สมมติเรียกต่อๆ กันมาว่า ผ้ากฐิน
๒. กฐิน แปลว่า สุก หมายความว่าผู้ที่จะรับกฐินได้ต้องบ่มตัวให้สุกเสียก่อน แต่โปรดอย่าเข้าใจไปว่า ต้องเอาไฟไปอบ ดุจบ่มกล้วย บ่มมะม่วง ฉะนั้นคำว่าบ่มในที่นี้ได้แก่ เมื่อถึงเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษา คือเดือน ๘ แรม ๑ ค่ำ พระภิกษุทั้งหลายจะต้องลงไปประชุมพร้อมเพรียงกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ แล้วทำพิธีอธิษฐานพรรษา ว่าข้าพเจ้าเข้าจำพรรษาตลอดไตรมาศ ๓ เดือน ในอาวาสหรือกุฎีหลังนี้ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย ทำไมชาวพุทธจึงมีความเครียดหนัก ?

ธรรมบรรยาย ทำไมชาวพุทธจึงมีความเครียดหนัก ?

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๐ สื่อมวลชนฉบับหนึ่งได้เสนอข่าวชวนให้คิด เชิงจริยธรรม ความว่า บริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเมือง และเศรษฐกิจที่ใช้อักษรย่อว่า เพิร์ด แห่งประเทศฮ่องกง ได้จัดอันดับความเครียดของพลเมืองประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเซีย ด้วยมาตราวัดความเครียดได้สถิติความเครียด ๖ อันดับดังนี้ : –
มีความเครียดระดับ ๑ ได้แก่ พลเมืองประเทศเวียดนาม สถิติ ๘.๕
มีความเครียดอันดับ ๒ ได้แก่ พลเมืองประเทศเกาหลี สถิติ ๘.๒
มีความเครียดสูงอันดับ ๓ ได้แก่ พลเมืองประเทศไทย สถิติ ๗.๘
มีความเครียดสูงอันดับ ๔ ได้แก่ พลเมืองประเทศจีน, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย ไตรสรณาคมน์

ธรรมบรรยาย ไตรสรณาคมน์

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

โดยพยัญชนะ คำ ๆ นี้แยกได้เป็น ๓ บท คือ ไตร + สรณะ + คมนะ (หรือ อาคมนะ สำหรับภาษาไทย แปลว่า การถึงสรณะ ๓ อย่าง คำว่า อาคมนะ แปลว่า ถึงทั่ว หรือจะแปลว่า มาถึงความก็อย่างเดียวกัน)
โดยอรรถ คือความหมายนั้น หมายความว่า การถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะของตน คำว่าสรณะ แปลว่า ที่ระลึกถึง หมายความว่าเป็นที่จดจ่อของจิตทั้งในยามปกติและยามมีอันตราย ท่านเอาความหมายกันโดยทั่วๆ ไปว่าเป็นที่พึ่ง
โดยประวัติ การถึงสรณะ ๓ อย่างนี้ มีขึ้นเมื่อมีพระอรหันตสาวกเกิดขึ้นแล้วในศาสนานี้ ก่อนหน้าที่มีสรณะแต่เพียง ๒ คือ พระพุทธกับพระธรรม แต่ชั่วเวลาอันไม่นาน ก็เกิดพระอรหันตสาวกขึ้นในศาสนา หลังจากการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียง ๒-๓ เดือน ในครั้งแรกๆ การถึงสรณะนี้ เป็นการถึงของบุคคลผู้เลื่อมใสแล้วประกาศการถึงของตนออกมาเอง หาใช่เป็นการขอแล้วให้โดยไม่รู้ความหมาย หรือสักว่าเป็นพิธีไม่เลย แม้การบวชของภิกษุพระองค์ก็มิได้ทรงให้รับสรณะทั้ง ๓ นี้ เพราะเป็นสิ่งที่เขาถึงแล้วด้วยตนเอง แล้วจึงมาขอบวช พระองค์ทรงประทานการยินยอมให้บวชด้วยคำว่า มาเป็นภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ ทำที่สุดแห่งทุกโดยชอบเถิด.

ขอบคุณข้อมูล : http://palipage.com/watam/piyapan4/K00050.htm

ธรรมบรรยาย ติอาวุธกถา

ธรรมบรรยาย ติอาวุธกถา

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

บัดนี้จักแสดงพระธรรมเทศนา ในติอาวุธกถา พรรณนาถึงธรรมเป็นอาวุธ ๓ ประการ โดยสมควรแก่กาลเวลา ดำเนินความว่า อันประชาสัตว์ผู้เกิดมาทุกรูปทุกนาม ย่อมตกอยู่ในวงแห่งสงครามทุกตัวคน ไม่มีใครจะหลีกพ้นไปได้ สงครามที่กล่าวถึงในกถามรรคนี้ คือกิเลสสงคราม คนผู้ปราชัยต่อกิเลส ก็เที่ยงแท้ว่า จักต้องประสบทุกข์ เวียนเกิดเวียนตายอยู่เสมอไป ส่วนผู้มีชัย ก็ย่อมประสบสุขสวัสดี
สมเด็จพระมหามุนี ผู้บรมครูของเราทั้งหลาย พระองค์ทรงอุบัติขึ้นในโลก ก็ทรงตกอยู่ในวงสงครามดังได้กล่าวมาเช่นเดียวกัน แต่อาศัยพระปรีชาญาณเลิศล้น ล่วงวิสัยแห่งสามัญสัตว์ ทรงพิจารณาเห็นโลกประวัติ โดยประจักษ์พระหฤทัยว่าเต็มด้วยสรรพทุกข์สรรพกิเลสและกองทุกข์ ซึ่งเป็นดังหนึ่งศัตรู วันคอยจะจู่โจมเข้าทำร้าย ด้วยพระอุตสาหะอันยิ่งใหญ่ ในที่สุดก็ทรงประสบความมีชัยอย่างเยี่ยมยอด นำพระองค์ให้ปลอดจากหมู่ข้าศึกไปได้บรรลุถึงภูมิชัยโลกอุดร แต่เพราะอาศัยพระมหากรุณาในประชากรพุทธเวไนย หวังจะให้ประสบชัยเช่นเดียวกับพระองค์ จึงทรงประทานพระอนุสาสนีให้เป็นอาวุธคู่มือ สำหรับชิงชัยในกิเลสสงคราม เพื่อปราบปรามเหล่าศัตรู ซึ่งมีประเภทต่างๆ ให้พินาศ ด้วยพระโอวาทธรรมภาษิตว่า ตีณิ อาวุธานิ อาวุธ ๓ เล่ม สุตาวุธํ อาวุธคือสุตะ ๑, ปวิเวกาวุธํ อาวุธคือปวิเวก ๑, ปญฺญาวุธํ อาวุธคือปัญญา ๑ ดังนี้ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย ชีวิตและความตาย

ธรรมบรรยาย ชีวิตและความตาย

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

ธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย เกิดขึ้น ดำรงอยู่ชั่วคราว แล้วดับไป ความดับไป ความแตกสลายของรูปแห่งสิ่งมีชีวิตนั่นเอง เรียกในภาษาสามัญว่า “ตาย” ในขณะที่ดำรงอยู่ก็อยู่ด้วยความยุ่งยากลำบากนานาประการ ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด เพื่อประคองชีวิตไว้ ทั้งมนุษย์ พืช และสัตว์ ต้องมีภาระหนักในการประคับประคองรักษาชีวิตทั้งสิ้น
กล่าวเฉพาะมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานก่อน ความเดือดร้อนของชีวิตเริ่มต้นตั้งแต่วาระแรกที่คลอดจากครรภ์ของแม่มาสู่ภพใหม่ เรียกได้ว่าเริ่มก้าวเข้าสู่ยุคแห่งทุกข์ต่าง ๆ ตั้งแต่การเสี่ยงอันตรายในการคลอด เมื่อคลอดแล้วก็ต้องเผชิญหน้ากับความทุกข์ใหม่ ๆ ที่ตนไม่เคยประสบ หรือมิฉะนั้นก็ความทุกข์ซ้ำซากไปตลอดชีวิต ความตายเป็นทางออกจากทุกข์ชั่วระยะหนึ่ง หรืออาจเปลี่ยนจากทุกข์อย่างหนึ่งไปสู่ทุกข์อื่นที่แปลกและใหม่อีกอย่างหนึ่ง ในรายที่คลอดยากทั้งเด็กและมารดาได้รับความทุกข์ทรมานเหลือเกิน ตายเสียขณะคลอดก็มี ตายเสียในครรภ์ก็มี ออกจากครรภ์พร้อมด้วยความพิการ และมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมานไปตลอดจนตายก็มี ชีวิต – ความทุกข์ และความตาย ช่างสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเสียจริง ๆ เมื่อออกจากครรภ์มารดามาสู่โลกนี้แล้ว แม้ไม่พิการอยู่ในสภาพปกติธรรมดา ก็ต้องถูกความทุกข์ต่าง ๆ บีบคั้นไม่เว้นใครไว้เลย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ชายหรือหญิง ยากจนหรือมั่งมี สวยหรือขี้เหร่ ล้วนตกอยู่ภายใต้อำนาจครอบงำของความทุกข์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และความต้องพลัดพรากจากบุคคลและสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย เจาะพระไตรปิฎก

ธรรมบรรยาย เจาะพระไตรปิฎก

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

เจาะพระไตรปิฎกฉบับนี้ เวียงการณ์จะพาท่านผู้ฟังมาสัมผัสกับเรื่องราวใน อาฬวกสูตร ซึ่งมีหลักธรรมที่น่าสนใจ ในตอนท้ายจะสรุปหลักธรรม เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติในยุควิกฤตทางด้านเศรษฐกิจ หลักธรรมเหล่านี้ ผู้สนใจนำไปปฏิบัติแล้ว น่าจะเกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและสังคม ประเทศชาติต่อไป
อาฬวกสูตรนี้ มีปรากฏในพระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ข้อ ๓๑๐ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ในสมัยที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ใกล้เมืองอาฬวี ครั้งนั้นอาฬวยักษ์ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ ณ ที่ประทับ
ได้กราบทูลพระพุทธองค์ (เชิงขับไล่) ว่า “จงออกไปเถิดสมณะ”
พระพุทธองค์ตรัสว่า “ดีละท่าน” แล้วก็ได้เสด็จออกไป
อาฬวกยักษ์ได้กราบทูลว่า “ขอจงเข้ามาเถิดสมณะ”
พระพุทธองค์ตรัสว่า “ดีแล้วท่าน” แล้วก็ได้เสด็จเข้ามา
อาฬวกยักษ์ได้กราบทูลอีกว่า “จงออกไปเถิดสมณะ”
พระพุทธองค์ตรัสว่า “ดีละท่าน” แล้วก็ได้เสด็จออกไป
อาฬวกยักษ์ได้กราบทูลว่า “ขอจงเข้ามาเถิดสมณะ”
พระพุทธองค์ตรัสว่า “ดีละท่าน” แล้วก็ได้เสด็จเข้ามา อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย จุดยืนของชีวิต

ธรรมบรรยาย จุดยืนของชีวิต

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต
จุดยืนของพ่อแม่ คือ ลูก
จุดยืนของครูอาจารย์ คือ ศิษย์-นักเรียน
จุดยืนของจราจร คือ รถทั้งหลาย
จุดยืนของพ่อค้า-แม่ค้า คือ ลูกค้า ผู้ซื้อทั้งหลาย
จุดยืนของหมอ คือ คนป่วย ผู้ป่วยทั้งหลาย
จุดยืนของผู้แทน คือ ประชาชนทั้งหลาย
จุดยืนของผู้ปกครองผู้นำ คือ ผู้ตามทั้งหลาย
จุดยืนของกรรมการ คือ นักกีฬาทั้งหลาย
จุดยืนของผู้คุมผู้พิพากษา คือ ผู้ต้องขังต้องโทษฯ
จุดยืนของนายจ้าง คือ ลูกจ้าง
จุดยืนของประมุขของชาติ คือ ประชาชนทั้งหลาย
จุดยืนของรถ คือ ผู้โดยสาร
จุดยืนของข้าราชการ คือ ประชาชน

——————————

ขอบคุณข้อมูล : http://palipage.com/watam/piyapan4/K00046.htm

ธรรมบรรยาย จริยศึกษากถา

ธรรมบรรยาย จริยศึกษากถา

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

บัดนี้จะแสดงพระธรรมเทศนา บรรยายคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งทรงพยายามสอนประชาชนให้มีความขวนขวายในการกระทำความดีตามความเหมาะสมแก่การงานและหน้าที่ของตนๆ เพื่อช่วยส่งเสริมการศึกษาของนักเรียนทุกคนให้ได้รับผลจริงๆ
การศึกษาเล่าเรียนจะได้รับผลจริงๆ นั้น นักเรียนจะต้องได้รับส่วนสำคัญ ๒ อย่างคือ ๑. ความรู้ ๒. ความดี ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ที่จะกระจายออกไปเป็นส่วนย่อยๆ ได้อีกหลายส่วนด้วยกัน ถ้าผู้ใดศึกษาเล่าเรียนแล้วได้รับความรู้ด้วยมีความดีด้วย ผู้นั้นชื่อว่าได้รับผลจากการศึกษาเล่าเรียนจริงๆ แต่ถ้าผู้ใดไม่ได้รับผลทั้ง ๒ ส่วนนั้น ผู้นั้นได้ชื่อว่า ไม่ได้รับผลจากการศึกษาเล่าเรียนจริงๆ ถ้าเปรียบผู้นั้นเป็นแม่ค้าก็ได้ชื่อว่าดำเนินการค้าขายขาดทุน อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย คุณมารดา บิดา

ธรรมบรรยาย คุณมารดา บิดา

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

มารดา บิดา เป็นบุคคลที่รู้จักกันทั่วโลก คนเราเกิดมาเห็นโลกอันกว้างใหญ่นี้ได้ เพราะมารดาบิดาเป็นผู้ให้กำเนิด เป็นผู้ให้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายแก่ลูก ซ้ำมารดาบิดายังบำเพ็ญตนเป็นยอดนักบุญ สำหรับชีวิตของลูกอีกด้วย เป็นผู้เสียสละความสุขของตนเองทุกๆ อย่าง เฝ้าทะนุถนอมเอาใจใส่ลูกทุกเวลา ทำทุกอย่าง เพื่อความผาสุขของลูก ลูกต้องการปรารถนาสิ่งใด อันเป็นสิ่งที่ไม่เหลือวิสัย ก็พยายามจัดหาให้ทุกอย่าง เป็นผู้ใกล้ชิดลูกยิ่งกว่าใครๆ ทุกคนจึงรู้จักมารดาบิดาดี
ส่วนลูกส่วนมาก หารู้จักและซึ้งถึงพระคุณของผู้เป็นมารดาบิดาไม่ คงรู้จักแต่เพียงว่าชายผู้ให้กำเนิดแก่คนเรียกว่า บิดา หญิงผู้ให้กำเนิดแก่ตนเรียกว่า มารดา เท่านั้น แท้จริงแล้ว ท่านผู้ให้กำเนิดทั้งสองนั้น เป็นผู้มีพระคุณมากมาย สุดที่ลูกผู้กตัญญูรู้คุณ จะทดแทนพระคุณให้สิ้นสุดได้ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย คุณธรรมสามัคคี ๔ ข้อ

ธรรมบรรยาย คุณธรรมสามัคคี ๔ ข้อ

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

1. ทานัง ความเป็นผู้อัธยาศัย อารีอารอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เจือจานแก่กัน ตามกำลังของตน อันนี้เป็นทางให้เกิดความสามัคคีประการหนึ่ง ความเป็นคนใจจืดเหนียวแน่น เห็นแต่ประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว เป็นเหตุทำลายความสามัคคี
2. เปยฺยวชฺชํ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน นุ่มนวลชวนดื่มไว้ในใจ ถึงแม้ว่าวาจาจะหยาบคาย แต่เป็นเครื่องเตือนใจให้ประพฤติดี วาจาเช่นนี้ ก็ควรดื่มไว้ในใจ อันนี้เป็นทางให้เกิดความสามัคคีประการหนึ่ง การพูดเสียดสีกระทบกระทั่ง บริภาษให้บาดใจ เป็นเหตุทำลายความสามัคคี
3. อตฺถจริยา ความประพฤติกิจ ที่เป็นประโยชน์ต่อกัน คือความเป็นผู้โอบอ้อม เห็นเขาได้ทุกข์ยากก็เอาใจช่วยและคอยถามข่าวคราวทุกข์สุขแห่งกันและกัน สิ่งใดที่ควรแก่กำลังก็ช่วยเหลือไม่ดูดาย เห็นสิ่งใดผิดก็ช่วยตักเตือน ถ้าความเสื่อมเสียจะมีมาถึงก็ช่วยแก้ไขป้องกัน โดยเต็มกำลัง อันนี้เป็นทางให้เกิดความสามัคคีประการหนึ่ง ความดูดายเพิกเฉย ต่อผู้ตกอับหรือกลับซ้ำเติมส่งเสริมโทษภัย เป็นเหตุทำลายความสามัคคี
4. สมานตฺตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอ คือเป็นคนมีมารยาทเรียบร้อย ไม่หยาบคาย แม้จะมีโภคสมบัติ และอำนาจคุณวุฒิ วิทยาความรู้อย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ก็ไม่ดูหมิ่นผู้อื่นว่าเลวทรามกว่าตนเกินไป ประพฤติพอเหมาะแก่คุณสมบัติแห่งตน เป็นผู้คงที่ไม่เอียงเพราะอคติ ผู้ใดประพฤติดีก็ชมตามความดี ผู้ใดประพฤติทุจริตผิดจากครองธรรมก็ว่ากล่าวสั่งสอนตามความผิดของผู้นั้น อันนี้เป็นทางให้เกิดความสามัคคีประการหนึ่ง ความเป็นผู้ถือตัวดูหมิ่นผู้อื่นเกินไปและประพฤติตนเอนเอียง ไม่เที่ยงธรรม เป็นเหตุทำลายความสามัคคี

ขอบคุณข้อมูล : http://palipage.com/watam/piyapan4/K00042.htm

ธรรมบรรยาย คุณประโยชน์ของธรรม

ธรรมบรรยาย คุณประโยชน์ของธรรม

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

ทุกวันนี้คนกลับนำเอากิเลสมาเป็นสติ นำเอามาเป็นพื้นฐานของชีวิต มาเป็นกาลีบ้านกาลีเมือง เป็นอกุศลกรรม คนบ้านนั้นจึงวุ่นวายอยู่ไม่ได้ แต่ถ้าบ้านใดมีพื้นฐานด้วยกุศลกรรม บ้านนั้นจะเจริญรุ่งเรืองด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา คนบ้านนั้นจะมีสติปัญญาแก้ไขปัญหาได้อย่างแน่นอน
เมื่อสมัยที่พระพุทธองค์ประทับที่เมืองอาฬาวี อาฬวกยักษ์ได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลพระพุทธองค์เชิงขับไล่ว่า “จงออกไปเถิดสมณะ”
พระพุทธองค์ตรัสว่า “ดีละท่าน” แล้วก็ได้เสด็จออกไป อาฬวกยักษ์ได้กราบทูลว่า “ขอจงเข้ามาเถิดสมณะ” พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “ดีแล้วท่าน” แล้วก็ได้เสด็จเข้ามา เรียกว่าเชิญเข้ามาก็มา เชิญออกไปก็ออก ทำอย่างนี้ถึง ๓-๔ ครั้ง แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงย่อท้อ อดทนและในครั้งที่ ๔ พระพุทธองค์ตรัสว่า “ดูกรท่าน เราตถาคตจักไม่ออกไปละ ท่านจงกระทำกิจที่ท่านจะพึงกระทำเถิด”
อาฬวกยักษ์กราบทูลว่า “ดูกรสมณะ ข้าพเจ้าจะถามปัญหากับท่าน ถ้าว่าท่านจะไม่พยากรณ์แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะควักดวงจิตของท่านออกโยนทิ้งเสีย จักฉีกหัวใจของท่าน หรือจักจับที่เท้าทั้งสองของท่านแล้วขว้างไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคงให้จงได้” อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย ความอัศจรรย์ของพระธรรมคำสอน

ธรรมบรรยาย ความอัศจรรย์ของพระธรรมคำสอน

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

ทำคนโง่ ให้ฉลาด สามารถ อาจหาญ
ทำคนหลง ให้หายหลงมัวเมา
ทำคนโกรธ ให้หายโกรธ
ทำโจรผู้ร้าย ให้เป็นพระอรหันต์
ทำคนโลภ ให้หายโลภ
ทำคนเห็นแก่ตัว ให้เสียสละ
ทำคนยากจน ให้เป็นคนร่ำรวย
ทำคนขี้เหร่ ให้สวย
ทำคนตระกูลต่ำ ให้ไปเกิดในตระกูลสูง
ทำคนมีโรค ให้หายโรค อายุยืนยาวนาน อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .