อภัยทาน (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

อภัยทาน (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

อภัยทาน คืออย่างไร ?

อภัยทาน ก็คือการยกโทษให้

คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ

อภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน
คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้น
จากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ

อันใจที่แจ่มใส กับใจที่มืดมัว ไม่อธิบายก็น่าจะทราบกันอยู่ทุกคนว่าใจแบบไหนที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นแก่เจ้าของ ใจแบบไหนที่ยังความทุกข์ให้เกิดขึ้น และใจแบบไหนที่เป็นที่ต้องการ ใจแบบไหนที่ไม่เป็นที่ต้องการเลย
อ่านเพิ่มเติม

แสงส่องใจ (สมเด็จพระญาณสังวร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

แสงส่องใจ

(สมเด็จพระญาณสังวร)
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ขอเจริญพร ทุกท่านผู้เป็นไทยในทุกจังหวัดภาคใต้
ในโอกาสมงคลขึ้นปีใหม่ตามธรรมเนียมไทย

ความไม่สงบที่สุดกำลังเกิดขึ้นทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่บ้านเมืองไทยที่รักของเราทั้งหลายและรุนแรงเป็นพิเศษในจังหวัดภาคใต้ ทำให้อาตมาภาพและคณะสงฆ์ไทยมีความวิตกกังวลอย่างยิ่ง ด้วยความห่วงใยพวกท่านที่อยู่ทางใต้คนไทยทั้งหลายก็แสดงความเป็นห่วงพวกท่านเป็นอันมาก ทำอะไรได้เพื่อช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา ก็เห็นพยายามทำกันอยู่ มิได้นิ่งนอนใจ ไม่ว่าจะนับถือศาสดาใด ก็ปรากฏว่าได้รวมใจกันขอพระเมตตาให้คุ้มครองไทย ให้กลับสู่ความสงบสุขโดยเร็ววัน

อาตมาภาพ และคณะสงฆ์ไทย และคนไทยพุทธทุกคน รวมทั้งบรรดาญาติโยมที่อยู่ในภาคใต้ทุกคน ไม่ว่าจะนับถือพระศาสนาของพระพุทธองค์ หรือของศาสดาก็ตาม มีสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นพระร่มโพธิ์ทองป้องปกอยู่ด้วยพระคุณอันเลิศ

บัดนี้พระร่มโพธิ์ทองของไทยต้องทรงหม่นหมองไปมิใช่น้อย เหตุจากความไม่สงบสุขของพสกนิกรของพระองค์ท่าน เพื่อได้มีทางปฏิบัติสนองพระมหากรุณาธิคุณ ตามวิสัยของคนดี ที่มีกตัญญูกตเวที คือรู้พระคุณที่ได้รับแล้ว และตอบแทนพระคุณนั้น ขอบอกวิธีที่ควรได้ด้วยกันทุกคน ไม่ยาก และเป็นคุณยิ่ง นั่นก็คือขอให้ทุกคนทำความดีให้สุดความสามารถ ทุกวันเวลา ผลอันเลิศจะเกิดแน่นอนแก่ชีวิตตนเอง ของทุกคนที่ทำ และเมื่อทั้งบ้านทั้งเมืองช่วยกันทำ ผลอันเป็นที่ต้องการของผู้คนทั่วหน้าจะเกิดแน่นอน คือความสงบสุขทั่วภาคใต้ และทั่วบ้านเมืองไทย

ความดีที่ขอให้พร้อมเพรียงกันทำ ตั้งแต่บัดนี้ คือให้ใจของทุกคนมีพระพุทธเจ้า นึกถึงพระองค์ท่านไว้ให้เป็นนิตย์ พร้อมกับภาวนา พระพุทโธ พระพุทโธ พระพุทโธ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชีวิตจิตใจ แม้ขาดสติลืมไปบ้างพอนึกถึงได้ ให้นึกถึงพระพุทโธทันที โดยต้องไม่ลืมว่าพระพุทโธที่กำลังนึกถึงนั้น คือพระพุทธเจ้าพระผู้ทรงมีความประเสริฐสูงสุด ทรงเป็นมหามงคล หาที่เปรียบมิได้ ความปรารถนาที่หวังให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมืองเรา ก็ย่อมสมปรารถนาอย่างไม่ยากเย็น จึงขออำนวยพรให้ทุกท่านเชื่อมั่นปฏิบัติ ท่องพระพุทโธ พระพุทโธ พระพุทโธ ไว้ให้เสมอ จะสามารถนำประเทศชาติไทยของเรา ภาคใต้ของเรา ให้ร่มเย็นเป็นสุขได้อย่างยิ่ง

ขออำนวยพร
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐

http://www.watnonggai.com/forum/forum.php?mod=viewthread&tid=19251

ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

การปฏิบัติกรรมฐาน ก็คือการปฏิบัติอบรมสมาธิ และอบรมปัญญา อันสูงขึ้นมาจากศีล ซึ่งพึงปฏิบัติให้เป็นภาคพื้น เพราะศีลนั้นจะต้องปฏิบัติให้เป็นภาคพื้น ของการปฏิบัติทางสมาธิและปัญญา เป็นศีลที่สมาทาน จะเป็นศีล ๕ ก็ตามศีล ๘ ก็ตาม หรือเป็นศีลที่ได้จากการบรรพชาอุปสมบท คือศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ของสามเณร ของภิกษุ

ทั้งในขณะที่จะปฏิบัติกรรมฐาน ก็ให้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อันเป็นศีลสำหรับการปฏิบัติทางสมาธิและทางปัญญา แม้ว่าก่อนแต่มาปฏิบัติจะมิได้สมาทานศีล เช่นศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้น มาก่อน ก็ให้ทำความสำรวมกายวาจาใจในขณะที่จะปฏิบัตินี้ ความสำรวมดังกล่าวนี้ก็ชื่อว่าเป็นศีล เป็นพื้นฐานของสมาธิ และปัญญาได้

อนึ่ง การปฏิบัติสมาธินั้น แม้ในการฟังคำบรรยายอบรมกรรมฐานนี้ ก็ให้ตั้งใจฟัง คือฟังด้วยหูตามหน้าที่ของการฟัง และใจก็ต้องตั้งใจฟัง ความตั้งใจฟังนี้ เป็นสมาธิในการฟัง หูฟังใจฟังไปพร้อมกัน จึงจะฟังได้ยินและรู้เรื่อง ความรู้เรื่องนั้นก็กล่าวได้ว่าเป็นตัวปัญญา ตามภูมิตามชั้น เพราะฉะนั้น เมื่อมีสมาธิในการฟัง ก็ได้ปัญญาจากการฟังนั้นไปพร้อมกัน ตั้งต้นแต่ฟังรู้เรื่อง เข้าใจ เป็นตัวปัญญา
อ่านเพิ่มเติม

เรื่องจิต.จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เรื่องจิต.จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

:เรื่องจิต.จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เรื่องจิตนี้

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์

อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุก ๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

จะแสดงพระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องจิต

ตามที่ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ โดยชื่อว่าจิตบ้าง วิญญาณบ้าง เพราะว่าการปฏิบัติอบรมจิตอันเรียกว่าจิตภาวนานั้น พระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดาก็ได้ตรัสสอนไว้ ซึ่งมีคำแปลว่า ภิกษุทั้งหลายจิตนี้ปภัสสร คือผุดผ่อง จิตนี้นี่แหละเศร้าหมองไป เพราะอุปกิเลสคือเครื่องที่เข้าไป หรือเข้ามา ทำให้จิตเศร้าหมองทั้งหลาย ที่เป็นอาคันตุกะคือที่จรมา บุถุชนผู้มิได้สดับแล้วย่อมไม่รู้จักจิตนั้น

พระองค์จึงตรัสว่าจิตภาวนา การอบรมจิตย่อมไม่มีแก่บุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว

อริยสาวกคือศิษย์ของพระอริยะผู้ประเสริฐผู้เจริญ ได้สดับแล้ว ย่อมรู้จักจิตนั้น พระองค์ตรัสว่าจิตภาวนา การอบรมจิตย่อมมีแก่อริยสาวกผู้สดับแล้ว ดั่งนี้ และได้มีพระพุทธภาษิตตรัสถึงจิตไว้อีกเป็นอันมาก เป็นต้นว่า จิตที่มิได้อบรมแล้ว มิได้รักษาคุ้มครองแล้ว เป็นจิตที่ไม่ควรแก่การงาน ย่อมเป็นไปเพื่อโทษ มิใช่ประโยชน์ใหญ่ ส่วนจิตที่อบรมแล้ว รักษาคุ้มครองแล้ว เป็นจิตที่ควรแก่การงาน ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่ ดั่งนี้เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม

วิมุตติจิต สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร

วิมุตติจิต

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
จิตนี้เป็นศูนย์กลางแห่งกรรม คือการงานที่กระทำทุกอย่าง และแห่งสุขและทุกข์ กับทั้งเป็นที่ตั้งแห่งทั้งส่วนดีอันเรียกว่า บารมี ทั้งส่วนชั่วอันเรียกว่า อาสวะ เป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งในบุคคลทุกๆ คน เป็นที่เก็บแห่งสิ่งที่ประสบพบพานมาในอดีตทั้งหมด เพราะฉะนั้นจิตตภาวนาการอบรมจิตจึงเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นสิ่งสำคัญจะทำให้ปรากฏคุณค่าของจิตยิ่งขึ้นๆ สมาธิของพระพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าขณะที่ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อความตรัสรู้ ก็ได้ทรงทำ จิตตภาวนา อบรมจิตนี้ให้เป็นสมาธิอันบริสุทธิ์ และวิธีที่ทรงได้สมาธิอันบริสุทธิ์นั้น ก็มิใช่ทรงได้จากคณาจารย์ที่ได้ทรงศึกษาโดยเฉพาะ
คือมิใช่ทรงได้จากท่านอาฬารดาบสกาลามโคตร ท่านอุทกดาบสรามบุตร แม้ว่าขั้นของสมาธิที่ทรงศึกษาได้ในสำนักของท่านอาจารย์ทั้งสองนั้น จะเป็นขั้นฌานสมาบัติก็ตาม
แต่ว่ามิใช่ฌานสมาบัติสำหรับที่จะให้ตรัสรู้พระโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า แต่ว่าเป็นฌานสมาบัติเพื่อที่จะไปเกิดในพรหมโลกชั้นรูปพรหม อรูปพรหม แต่ว่าทรงได้หลักการปฏิบัติสมาธิอันบริสุทธิ์ เพื่อพระโพธิญาณนั้นจากเด็กๆ นั้นเอง และเด็กที่ได้สมาธิอันเป็นแบบให้ทรงถือเอามาปฏิบัติต่อนั้นก็มิใช่เด็กอื่นไกล แต่ว่าเป็นเด็กคือว่าพระองค์เองเมื่อเป็น
พระกุมาร ตามเสด็จพระราชบิดาไปในพิธีแรกนาขวัญ ในขณะที่พระบิดาทรงประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญนั้น พระองค์เองซึ่งเป็นพระราชกุมารเด็กก็ได้ประทับนั่ง ณ ภายใต้ร่มหว้า จิตของพระองค์รวมเข้ามากำหนดลมหายใจเข้าออก ก็ทรงได้สมาธิที่บริสุทธิ์อันนับว่าเป็นขั้นปฐมฌาน
ที่ว่าเป็นสมาธิที่บริสุทธิ์นั้นก็เพราะว่ารวมเข้ามาโดยที่มิได้มุ่งหวังอะไร อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ประทานพระวรธรรมคติ เนื่องในวันอาสาฬหบูชา พ.ศ. 2556

วันนี้(18 ก.ค.)สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ประทานพระวรธรรมคติ เนื่องในวันอาสาฬหบูชา พ.ศ. 2556

ความว่า วันอาสาฬหบูชา เป็นอภิลักขิตกาล คือ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง
เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ คำสอนที่เป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนาครั้งแรก
เรียกว่า ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร และเป็นวันที่เกิดพระสงฆ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย
อันเป็นที่เคารพสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นเหตุให้พระรัตนตรัยบังเกิดขึ้นในโลกครบบริบูรณ์
ซึ่งจะถือว่าเป็นวันบังเกิดขึ้นของพระรัตนตรัยก็ได้
เมื่ออภิลักขิตกาลเช่นนี้เวียนมาถึง ควรที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จักได้น้อมใจรำลึกถึงพระรัตนตรัย
พร้อมทั้งสำรวจตรวจสอบดูใจของตนเองว่า ได้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งแท้จริงแค่ไหนเพียงไร
อันการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งตามนัยแห่งพระพุทธศาสนานั้น มิใช่ถึงโดยการกราบไหว้อ้อนวอน
หรือ ถึงโดยการอธิษฐานขอพรให้พระรัตนตรัยมาช่วยปกป้องรักษา เพื่อที่ตนจะได้มีชีวิตอย่างปลอดภัยเป็นสุข
แต่การถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะอย่างแท้จริงนั้น คือ การศึกษาเรียนรู้พระรัตนตรัยให้เข้าใจแจ่มชัด
แล้วน้อมนำเอาความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนและพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์
ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นแบบอย่าง มาเป็นหลักเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมถูกต้อง
อันจะทำให้ได้ชื่อว่านับถือและบูชาพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง ด้วยทั้งพระรัตนตรัยก็จะปกป้องคุ้มครอง
มิให้ตกไปสู่ความชั่ว โดยไม่ต้องอธิษฐานอ้อนวอน

ขออำนวยพรให้ท่านทั้งหลายเจริญในธรรม ประสบสันติสุขทั่วกัน ขออำนวยพร

ที่มา http://www.dailynews.co.th/education/220002

http://www.luangputo.com/forum/index.php?topic=525.0

พระธรรมคำสอน….สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระธรรมคำสอน….สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

คนเราทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ต้องทำต้องพูดอยู่ทุกๆ วัน เด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีสติ เมื่อทำอะไรพูดอะไรไปแล้ว ก็ระลึกได้ว่าได้ทำอะไรหรือพูดอะไรผิดหรือถูกเรียบร้อยหรือไม่เรียบร้อย เป็นต้น จะทำจะพูดอะไรก็มีความระลึกนึกคิดก่อนว่าดีหรือไม่ดี อย่างโบราณสอนให้นับสิบก่อน คือ ให้นึกให้รอบคอบก่อนนั่นเอง ในขณะที่กำลังทำกำลังพูดก็รู้ตัวอยู่เสมอ ไม่หลงลืมตัวไม่เผลอตัว บางคนมีปัญญาความรู้ดีแต่ขาดสติ ทำพูดอะไรผิดพลาดได้ อย่างที่พูดกันฉลาดแต่ไม่เฉลียว จึงสมควรหัดให้มี สติรอบคอบ

http://onknow.blogspot.com/2013/09/blog-post_6558.html

องค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

องค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สมเด็จพระสังฆราชสมเด็จ พระสังฆราช (เจริญ สุวัฑฒโน) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

พระองค์มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติที่อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงศึกษาที่โรงเรียนวัดเทวสังฆาราม เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา และบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเทวสังฆาราม เมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้ไปเรียนภาษาบาลีที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ. ๑๔๗๒ ได้มาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ศึกษาพระปริยัติธรรม ได้ตามลำดับดังนี้
พ.ศ. ๒๔๗๒ สอบได้นักธรรมชั้นตรี
พ.ศ. ๒๔๗๓ สอบได้นักธรรมชั้นโท และเปรียญธรรม ๓ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๗๕ สอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม ๔ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๗๖ อุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม จำพรรษาที่วัดนี้ ๑ พรรษา แล้วกลับมาวัดบวรนิเวศวิหาร อุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุติ และสอบไล่เปรียญธรรม ๕ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๗๗, ๒๔๗๘, ๒๔๘๑ และ ๒๔๘๔ สอบได้เปรียญธรรม ๖,๗,๘ และ ๙ ประโยคตามลำดับ
พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย และเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ และเป็นกรรมการสภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับพระทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระโศภณคณาภรณ์ และเป็นกรรมมหามงกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นกรรมการเถรสมาคม คณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว
พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นกรรมการอำนวยการมหามงกุฎราชวิทยาลัย และเป็นกรรมการแผนกตำราของมหามงกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นกรรมการตรวจชำระ คัมภีร์ฎีกา อ่านเพิ่มเติม

ทาน….โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ทาน….โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ทาน

การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ ๓ ประการ ถ้าประกอบถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ

องค์ประกอบข้อที่ ๑. “วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์”
วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนเองได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยยักยอก ทุจริต ลักทรัพย์ ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ

ตัวอย่าง ๑ ได้มาโดยการเบียดเบียนชีวิตและเลือดเนื้อสัตว์ เช่นฆ่าสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้นว่า ปลา โค กระบือ สุกร โดยประสงค์จะเอาเลือดเนื้อของเขามาทำอาหารถวายพระเพื่อเอาบุญ ย่อมเป็นการสร้างบาปเอามาทำบุญ วัตถุทานคือเนื้อสัตว์นั้นเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ แม้ทำบุญให้ทานไป ก็ย่อมได้บุญน้อย จนเกือบไม่ได้อะไรเลย ทั้งอาจจะได้บาปเสียอีก หากว่าทำทานด้วยจิตที่เศร้าหมอง แต่การที่จะได้เนื้อสัตว์มาโดยการซื้อหามาจากผู้อื่นที่ฆ่าสัตว์นั้น โดยที่ตนมิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจในการฆ่าสัตว์นั้นก็ดี เนื้อสัตว์นั้นตายเองก็ดี เนื้อสัตว์นั้นย่อมเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ เมื่อนำมาทำทานย่อมได้บุญมากหากถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบข้ออื่น ๆ ด้วย
อ่านเพิ่มเติม

บางมุมของ “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” ที่ชาวพุทธยังไม่รู้

บางมุมของ “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก”
ที่ชาวพุทธยังไม่รู้

3 ตุลาคม เป็นวันที่เหล่าพุทธศาสนิกชนชาวไทย ล้วนปลาบปลื้มปีติเป็นล้นพ้น เนื่องด้วยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเจริญพระชันษา 100 ปี พระองค์ทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2532 นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ด้วยพระองค์ทรงมีพระเมตตาต่อพุทธศาสนิกชนไทยเป็นล้นพ้น ทรงประกอบศาสนกิจเป็นคุณประโยชน์อเนกอนันต์ มิเพียงแต่ชาวพุทธในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังทรงแผ่พระเมตตาบารมีไปทั่วโลก พระองค์ท่านจึงได้รับการยกย่องจากทั้งชาวพุทธในประเทศไทยและในต่างประเทศ

พระ ดร.อนิลมาน ศากยะ ผู้ช่วยเลขานุการ สมเด็จพระสังฆราช ได้เมตตาเล่าถึงพระประวัติส่วนพระองค์ ที่สะท้อนถึงพระจริยวัตรอันงดงาม มีคุณค่าแก่ชาวพุทธ ให้ได้ยึดถือเป็นแบบอย่างสืบเนื่องต่อไป พระ ดร.อนิลมาน ศากยะ เป็นชาวเนปาล สมเด็จพระสังฆราชทรงรับอุปถัมภ์ตั้งแต่เป็นสามเณรอายุ 14 ปี ทรงสั่งสอนหลักธรรม และส่งเสริมให้เรียนรู้จนจบปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ด้วยพระ ดร.อนิลมาน รับใช้สมเด็จพระสังฆราชมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กจนเจริญวัยในปัจจุบัน จึงเป็นท่านหนึ่งที่ทราบถึงพระประวัติส่วนพระองค์ทุกเรื่องได้เป็นอย่างดี
อ่านเพิ่มเติม

พระองค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวัฑฒโน)

พระองค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวัฑฒโน)

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวัฑฒโน)

วัดบวรนิเวศวิหาร

ภูมิลำเนาเดิม : ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรนายน้อย นางกิมน้อย คชวัตร

วันประสูติ : ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๖ ในรัชกาลที่ ๖

วันสถาปนา : ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระชนมายุ : ๘๙ พรรษา

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า เจริญ นามสกุล คชวัตร นามฉายาว่า สุวัฑฒโน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ลำดับที่ ๖ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นต้นมา

พระประวัติ
สมเด็จฯ มีชาติภูมิอยู่ ณ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนที่ ๑ ในจำนวนบุตร ๓ คน ของนายน้อย คชวัตร และนางกิมน้อย คชวัตร ชาติกาล ณ บ้านวัดเหนือ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ เวลา ๐๔.๐๐ น. เศษ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
อายุได้ ๘ ขวบ ได้เข้าศึกษาชั้นต้น ณ โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม และโรงเรียนในสมัยนั้นก็คือ ศาลาวัดนั่นเอง จบชั้นประถม ๓ ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ มีอายุย่างเข้าปีที่ ๑๔ ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเทวสังฆาราม มีพระครูอดุลสมณกิจ (ดี พุทธโชติ) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อออกพรรษาแล้วได้ไปเรียนบาลีไวยากรณ์ที่วัดเสนหา จังหวัดนครปฐม ในพรรษานั้น เพื่อกลับมาสอนที่วัดเทวสังฆาราม ในพรรษาต่อมาคือ พ.ศ. ๒๔๗๒ พระครูอดุลสมณกิจได้พาสมเด็จฯ มาถวายตัวต่อเจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (พระยศในขณะนั้นของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่ออยู่ศึกษาต่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ประทานนามฉายาว่า สุวัฑฒโน อ่านเพิ่มเติม

พระเจดีย์ ๘๔ พรรษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระเจดีย์ ๘๔ พรรษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระเจดีย์ ๘๔ พรรษาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกหลวงพ่ออุตตะมะเป็นประธานวางศิลาฤกษ์เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๖ในสมัยพระอธิการสมเด็จ วราสโย สร้างเพื่อถวายกุศลในวโรกาสเจริญพระชนมายุ ๗ รอบ ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งมีชาติภูมิเป็นคนจังหวัดกาญจนบุรี

สถานที่ตั้ง

ชื่อสถานที่ตั้ง วัดท่าขนุน เลขที่ ๒๓๕ หมู่ที่ ๑ บ้านท่าขนุน ถนนกาญจนบุรี –สังขละบุรี ตำบลท่าขนุนอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

http://m-culture.in.th/moc_new/album/

น้อมถวายอาลัยแด่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราชองค์ที่ 19

น้อมถวายอาลัยแด่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราชองค์ที่ 19

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่ง เมื่อปี 2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และยังเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์แรกของไทยที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 100 พรรษา เมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าทรงมีพระชนมายุมากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 9 ซึ่งมีพระมหาเถระได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จสังฆราชทั้งหมด 19 พระองค์ ที่สำคัญทรงดำรงสมณศักดิ์สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก รวม 24 ปี ถือว่ายาวนานที่สุดเมื่อเทียบกับสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตที่ผ่านมา

ทั้งยังทรงได้ยกย่องให้เป็น “ผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา” เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 ในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธโลกจาก 32 ประเทศ ที่ได้ทูลถวายตำแหน่งพระเกียรติยศอันสูงสุด แสดงให้เห็นถึงพระเกียรติคุณที่ได้รับการแซ่ซ้องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลก

ขอบคุณที่มา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 ตุลาคม 2556 22:35 น.
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000133348
ประมวลภาพ : พระจริยวัตร พระกรณียกิจ “สมเด็จพระสังฆราช” ในดวงใจชาวไทยกว่า 24 ปี
แก้ไขเมื่อ 25-10-2013 14:06:57

“สองธรรมราชา”

ในหลวง กับ สมเด็จพระสังฆราช

สองพระองค์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่แห่ง “อาณาจักร” และ “ศาสนจักร” ของประเทศไทย
ผู้ทรงเปี่ยมด้วยคุณธรรมและเมตตาธรรมอันสุดประมาณ
อ่านเพิ่มเติม

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วิธีสร้างบุญบารมี หน้า 4

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วิธีสร้างบุญบารมี>>หน้า 4

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วิธีสร้างบุญบารมี(4)

ต่อไปนี้เป็นการเจริญสมถะและวิปัสสนาอย่างง่ายๆประจำวัน ซึ่งควรจะได้ทำให้บ่อยๆ ทำเนืองๆ ทำให้มากๆ ทำจนจิตเป็นอารมณ์แนบแน่น ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใด คือไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ก็คิดและใคร่ครวญถึงความเป็นจริง 4 ประการ ดังต่อไปนี้ หากทำแล้วพระพุทธองค์ตรัสว่า “จิตของผู้นั้นไม่ห่างจากวิปัสสนา และเป็นผู้ที่ไม่ห่างจากมรรค ผล นิพพาน” คือ

(1) มีจิตใคร่ครวญถึงมรณัสสติกรรมฐาน
หรือมรณานุสสติกรรมฐาน ซึ่งก็คือการใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ อันความมรณะนั้นเป็นธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครสามารถที่จะเอาชนะได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงบรรลุถึงพระธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ตาย แต่ก็ยังต้องทรงทอดทิ้งพระสรีระร่างกายไว้ในโลก การระลึกถึงความตายจึงเป็นการเตือนสติให้ตื่น รีบพากเพียรชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ก่อนที่ความตายจะมาถึง พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญมรณัสสติว่า “มรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย) อันบุคคลทำให้มากแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่พระนิพพานเป็นที่สุด ฯลฯ” อันมรณัสสติกรรมฐานนั้น แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ซึ่งแม้จะได้บรรลุมรรคผลแล้ว ก็ยังไม่ยอมละ เพราะยังทรงอารมณ์มรณัสสตินี้ควบคู่ไปกับวิปัสสนา เพื่อความอยู่เป็นสุข ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ตถาคถนึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าและออก ฯลฯ”

มรณัสสติกรรมฐานนั้น โดยปกติเป็นกรรมฐานของผู้ที่มีพุทธิจริต คือคนที่ฉลาด การใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ ก็คือการพิจารณาถึงความเป็นจริงที่ว่า ไม่ว่าคนและสัตว์ทั้งหลาย เมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว เฒ่าแก่ สูง ต่ำ เหลื่อมล้ำกันด้วยฐานันดรศักดิ์อย่างใด ในที่สุดก็ทันกันและเสมอกันด้วยความตาย ผู้ที่คิดถึงความตายนั้น เป็นผู้ที่ไม่ประมาทในชีวิต ไม่มัวเมาในชีวิต เพราะเมื่อคิดถึงแล้วย่อมเร่งกระทำความดีและบุญกุศล เกรงกลัวต่อบาปกรรมที่จะติดตามไปในภพชาติหน้า ผู้ที่ประมาทมัวเมาต่อทรัพย์สมบัติยศศักดิ์ตำแน่งหน้าที่นั้นเป็นผู้ที่หลง เหมือนกับคนที่หูหนวกและตาบอด ซึ่งโบราณกล่าวตำหนิไว้ว่า “หลงลำเนาเขาป่ากู่หาพอได้ยิน หลงยศอำนาจย่อมหูหนวกและตาบอด” และกล่าวไว้อีกว่า “หลงยศลืมตาย หลงกายลืมแก่” และความจริงก็มีให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ที่บางท่านใกล้จะเข้าโลงแล้ว ก็ยังหลงและมัวเมาในอำนาจ วาสนา ตำแหน่งหน้าที่ จนลืมไปว่าอีกไม่นานตนก็จะต้องทิ้ง ต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนได้หลงมัวเมาเฝ้าแสวงหาหวงแหนเกาะแน่นอยู่นั้น ก็จะต้องสลายไปพร้อมกับความตายของตน สูญเปล่าไม่ได้ตามติดกับตนไปด้วยเลย แล้วไม่นานผู้คนที่อยู่เบื้องหลังก็ลืมเลือนตนไปเสียสิ้น ดูเหมือนกับวันเวลาทั้งหลายที่ตนได้ต่อสู้เหนื่อยยากขวนขวายจนได้สิ่งดังกล่าวมานั้น ต้องโมฆะสูญเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้เลย

อ่านเพิ่มเติม

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วิธีสร้างบุญบารมี หน้า 3

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วิธีสร้างบุญบารมี หน้า 3

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วิธีสร้างบุญบารมี(3)

3. การภาวนา

การเจริญภาวนานั้น เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น มี 2 อย่าง คือ (1) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) และ (2) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) แยกอธิบายดังนี้ คือ

(1) สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
สมถภาวนา ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาน ซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่นๆ วิธีภาวนานั้น มีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ 40 ประการ เรียกกันว่า “กรรมฐาน 40” ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างสมอบรมมาแต่ในอดีตชาติ เมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใด จิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่นๆ และการเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อน คือหากเป็นฆราวาสก็จะต้องรักษาศีล 5 เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณรก็จะต้องรักษาศีล 10 หากเป็นพระก็จะต้องรักษาศีลปาฏิโมกข์ 227 ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาดและด่างพร้อย จึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้ หากศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน (เป็นกำลัง) ให้เกิดสมาธิขึ้น อานิสงส์ของสมาธินั้น มีมากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า “แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล 227 ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง 100 ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู” คำว่า “จิตสงบ” ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” คือสมาธิเล็กๆ น้อยๆ สมาธิแบบเด็กๆ ที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลง แล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่ ซึ่งเป็นอารมณ์จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น สงบวูบลงเล็กน้อยแล้วก็รักษาไว้ไม่ได้ ซึ่งยังห่างไกลต่อการที่จิตถึงขั้นเป็นอุปจารสมาธิและฌาน แม้กระนั้นก็ยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้ โดยหากผู้ใดจิตทรงอารมณ์อยู่ในขั้นขณิกสมาธิแล้วบังเอิญตายลงในขณะนั้น อานิสงส์นี้จะส่งผลให้ได้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่ 1 คือชั้นจาตุมหาราชิกา หากจิตยึดไตรสรณคมน์ (มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันสูงสุดด้วย ก็เป็นเทวดาชั้น 2 คือ ดาวดึงส์)

สมาธินั้น มีหลายขั้นตอน ระยะก่อนที่จะเป็นฌาน (อัปปนาสมาธิ) ก็คือขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิ ซึ่งอานิสงส์ส่งให้ไปบังเกิดในเทวโลก 6 ชั้น แต่ยังไม่ถึงชั้นพรหมโลก สมาธิในระดับอัปปนาสมาธิหรือฌานนั้น มีรูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4 ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้ไปบังเกิดในพรหมโลกรวม 20 ชั้น แต่จะเป็นชั้นใดย่อมสุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌานที่ได้ (เว้นแต่พรหมโลกชั้นสุทธาวาสคือ ชั้นที่ 12 ถึง 16 ซึ่งเป็นที่เกิดของพระอนาคามีบุคคลโดยเฉพาะ) รูปฌาน 1 ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้น 1 ถึงชั้น 3 สุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌาน 1 ส่วนอรูปฌานที่เรียกว่า “เนวสัญญา นาสัญญายตนะ” นั้น ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือชั้นที่ 20 ซึ่งมีอายุยืนยาวถึง 84,000 มหากัป เรียกกันว่านิพพานพรหม คือนานเสียจนเกือบหาเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดมิได้ จนเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นนิพพาน

อ่านเพิ่มเติม

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วิธีสร้างบุญบารมี หน้า 2

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วิธีสร้างบุญบารมีหน้า 2

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วิธีสร้างบุญบารมี(2)

3. ร่ำรวยปัจฉิมวัย คือร่ำรวยในบั้นปลายชีวิตนั้น สืบเนื่องมาจากผลทานที่ผู้กระทำมีเจตนางามไม่บริสุทธิ์ในระยะแรกและระยะที่ 2 แต่งามบริสุทธิ์เฉพาะในระยะที่ 3 กล่าวคือ ก่อนและในขณะที่ลงมือทำทานอยู่นั้น ก็มิได้มีจิตโสมนัสยินดีในการทำทานนั้นแต่อย่างใด แต่ได้ทำลงไปโดยบังเอิญ เช่นทำตามๆพวกพ้องไปอย่างเสียไม่ได้ แต่เมื่อได้ทำไปแล้ว ต่อมาหวนคิดถึงผลทานนั้น ก็เกิดจิตโสมนัสร่าเริงยินดีเบิกบาน หากผลทานชนิดนี้จะน้อมนำให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลที่ยากจนคับแค้น ต้องต่อสู้ดิ้นรนศึกษาเล่าเรียนและขวนขวายสร้างตนเองมากตั้งแต่วัยต้นจนล่วงวัยกลางคนไปแล้ว กิจการงานหรือธุรกิจนั้นก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ เช่นต้องล้มลุกคลุกคลานตลอดมา แต่ครั้นถึงบั้นปลายชีวิตก็ประสบช่องทางเหมาะ ทำให้กิจการงานนั้นเจริญรุ่งเรืองทำมาค้าขึ้นและร่ำรวยอย่างไม่คาดหมาย ซึ่งชีวิตจริงๆของคนประเภทนี้ก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่มาก

องค์ประกอบข้อ 3. “เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์”
คำว่า “เนื้อนาบุญ” ในที่นี้ได้แก่บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานนั้นเอง นับว่าเป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด แม้ว่าองค์ประกอบในการทำทานข้อ 1 และ 2 จะงามบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้ว กล่าวคือวัตถุที่ทำทานนั้นเป็นของที่แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เจตนาในการทำทานก็งามบริสุทธิ์พร้อมทั้งสามระยะ แต่ตัวผู้รับการทำทานเป็นคนที่ไม่ดี ไม่ใช่ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญที่เลว ทานที่ทำไปนั้นก็ไม่ผลิดอกออกผล เปรียบเหมือนกับการหว่านเมล็ดข้าวเปลือกลงในพื้นนา 1 กำมือ แม้เมล็ดข้าวนั้นจะเป็นพันธุ์ดีที่พร้อมจะงอกงาม (วัตถุทานบริสุทธิ์) และผู้หว่านคือกสิกรที่มีเจตนาจะหว่านเพื่อทำนาให้เกิดผลิตผลเป็นอาชีพ (เจตนาบริสุทธิ์) แต่หากที่นานั้นเป็นที่ที่ไม่สม่ำเสมอกัน เมล็ดข้าวที่หว่านลงไปก็งอกเงยไม่เสมอกัน โดยเมล็ดที่ไปตกในที่เป็นดินดี ปุ๋ยดี มีน้ำอุดมดีก็จะงอกเงยมีผลิตผลที่สมบูรณ์ ส่วนเมล็ดที่ไปตกบนพื้นนาที่แห้งแล้ง มีแต่กรวดกับทรายและขาดน้ำ ก็จะแห้งเหี่ยวหรือเฉาตายไป หรือไม่งอกเงยเสียเลย

อ่านเพิ่มเติม

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

รวมธรรมบรรยายของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วิธีสร้างบุญบารมี

บุญ ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) กล่าวว่า บุญ คือ เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฑติชอบทางกาย วาจา และใจ กุศลธรรม
บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง

วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ 3 ขั้นตอน คือการให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา ที่นิยมเรียกกันว่า “ทาน ศีล ภาวนา” ซึ่งการให้ทานหรือการทำทานนั้น เป็นการสร้างบุญที่ต่ำที่สุด ได้บุญน้อยที่สุด ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าการถือศีลไปได้ การถือศีลนั้นแม้จะมากอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด ได้มากที่สุด ในทุกวันนี้เรารู้จักกันแต่การให้ทานอย่างเดียว เช่นการทำบุญตักบาตร ทอดกฐินผ้าป่า สละทรัพย์สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ส่วนการถือศีล แม้จะได้บุญมากกว่าการทำทาน ก็ยังมีการทำกันเป็นส่วนน้อย เพื่อความเข้าใจอันดี จึงขอชี้แจงการสร้างบุญบารมี อย่างไรจึงจะเป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้บุญบารมีมากที่สุดดังนี้คือ

1. การทำทาน

การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้นจะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ 3 ประการ ถ้าประกอบหรือถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบ 3 ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ

องค์ประกอบข้อ 1. “วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์”
วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยทุจริต ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ

อ่านเพิ่มเติม

อัศจรรย์บารมี สมเด็จพระสังฆราช “เรียกฝนดับไฟ”

อัศจรรย์บารมี สมเด็จพระสังฆราช “เรียกฝนดับไฟ”

เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๔ เวลาประมาณ ๐๒.๐๐ น. ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ใหญ่ที่ชุมชนตรอกบวรรังษี หลังวัดบวรนิเวศวิหาร ต้นเหตุเกิดจากบ้านของแขกขายถั่วซึ่งติดอยู่กับ ตึก สว.ธรรมนิเวศ ที่เตรียมทอดถั่วสำหรับขายในวันต่อไป ไฟได้ลุกลามแผ่ขยายออกไปเรื่อยๆ อย่างใหญ่โตมโหฬารไม่อาจยับยั้งได้ อีกทั้งถนนเข้าชุมชนนั้นก็คับแคบมาก และมีสิ่งกีดขวางมากมาย ยากที่รถดับเพลิงจะเข้าไปทำการสกัดไฟใดๆ ได้

ศิษย์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก บางท่านได้ทุบประตู “พระตำหนักคอยท่าปราโมช” ชั้นบนอันเป็นที่ประทับอย่างแรง เพื่อปลุกเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ให้หนีไฟ ซึ่งตอนนั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯ กำลังทรงนั่งสมาธิอยู่ จึงทรงมีรับสั่งสั้นๆ อย่างพระทัยเย็นแต่เพียงว่า

“ไฟไหม้รึ…??”

ครั้นแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ทรงครองจีวรเสด็จลงจากพระตำหนัก ตอนนั้น พระสัทธิวิหาริกต้องการนำเสด็จไปที่ศาลา ๑๕๐ ปีอันตั้งอยู่กลางวัด ซึ่งน่าจะเป็นที่น่าจะปลอดภัยกว่า ทว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มิโปรดที่จะกระทำเช่นนั้น แต่กลับเสด็จเข้าไปที่ใกล้ที่เกิดเหตุ ที่เพลิงกำลังโหมไหม้อย่างหนักหน่วงอยู่ โดยเสด็จขึ้นไปยังบนชั้น ๕ ของตึก สว.ธรรมนิเวศ ซึ่งอยู่ติดๆ กับเขตเพลิงไหม้อย่างน่ากลัวที่สุดโดยมิทรงหวั่นเกรงต่อภยันตรายใดๆ เมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เสด็จขึ้นถึงชั้นที่ ๕ ของตึก สว.ธรรมนิเวศ ก็มีรับสั่งให้ศิษย์เปิดหน้าต่างออก ทำให้แลเห็นพระเพลิงกำลังโชนไหม้ชุมชนแออัดอย่างรุนแรง เสียงไฟที่กำลังโหมกระหน่ำ เสียงผู้คนที่ขนของหนีไฟเอาชีวิตรอดดังอึงคะนึงสับสนอลหม่านระงมไปหมด เป็นที่น่าหวาดหวั่นปนน่าสังเวชเวทนาเป็นที่ยิ่ง
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมะ – พระจริยาของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ธรรมะ – พระจริยาของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

หากจะถามว่าในบรรดาสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทั้งหมด 19 พระองค์ สมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษาถึง 100 ปี มีกี่พระองค์ คำตอบ มีเพียง “หนึ่งพระองค์” เท่านั้น คือ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน คชวัตร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราช องค์ที่ 19

พระจริยวัตรของพระองค์โสภณะงดงามและน่าเลื่อมใสยิ่ง พระเกียรติคุณทั้งก่อนจะได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช และตลอด 25 ปีในตำแหน่งประมุขสงฆ์ไทยได้ผรณาการแผ่ไพศาลทั้งในและต่างประเทศ ทว่าพระจริยาและพระเกียรติคุณมีอเนกอนันต์ มิอาจพรรณนาหมดสิ้น หลายเรื่องเป็นที่ปรากฏ แต่ก็มีหลายเรื่องที่ชาวไทยและพุทธศาสนิกชนอาจไม่เคยได้ยินที่ไหนมาก่อน และเพื่อเทิดพระเกียรติ จึงขอถ่ายทอดพระจริยาและพระเกียรติคุณจากปากของผู้ที่ถวายงานและเคยถวายงานใกล้ชิด

แม้สุขภาพกายไม่ดี…แต่ทรงอายุยืน

หากใครที่เคยอ่านพระประวัติของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช จะทราบว่าพระองค์มีพระสุขภาพไม่ค่อยดีตั้งแต่ทรงพระเยาว์ด้วยมีโรคประจำตัว แต่ใครจะคิดว่าพระองค์จะทรงปฏิบัติศาสนกิจโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและยังเจริญด้วยอายุถึง 100 ปี ทรงมีเคล็ดลับหรือทรงปฏิบัติพระองค์อย่างไร

พระ ดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย หนึ่งในผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช และผู้ถวายการปรนนิบัติสมเด็จพระสังฆราชตั้งแต่ตัวเองยังเป็นสามเณรอายุ 14 ปี เล่าว่า จริงอยู่ในแง่พระสุขภาพนั้นไม่ดีมาตั้งแต่เด็ก เพราะมีโรคประจำตัว แต่พระองค์ไม่เคยคิดว่าพระวรกายเป็นปัญหา ไม่ย่อท้อต่อโรค ทรงมีพระทัยมุ่งมั่นกอปรด้วยพระวิริยอุตสาหะในการฟันฝ่าอุปสรรคนับครั้งไม่ถ้วน ที่สำคัญทรงใช้สมาธิในการดูแลพระวรกายไปพร้อมกับการรักษาของหมอ
อ่านเพิ่มเติม

ถึงวัดบวรฯแล้ว! พระศพสมเด็จพระสังฆราช ชาวพุทธน้อมอาลัย

ถึงวัดบวรฯแล้ว! พระศพสมเด็จพระสังฆราช ชาวพุทธน้อมอาลัย

เคลื่อนขบวนพระศพสมเด็จพระสังฆราชจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ถึงวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ชาวพุทธเฝ้าส่งพระศพตลอดเส้นทาง ทางวัดเปิดให้ถวายสักการะ สรงน้ำพระศพ ถึง 16.00 น. วันนี้
วันนี้ บรรยากาศที่วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กทม. ได้มีการจัดเตรียมสถานที่หลังทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
โดยมี สมเด็จพระวันรัต เป็นผู้ควบคุมดูแลการจัดเตรียมสถานที่ให้พร้อมก่อนจะเคลื่อนพระศพมาประดิษฐาน ณ ตำหนักเพ็ชร ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ท่ามกลางประชาชนที่ทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ ได้เริ่มทยอยเดินทางมาบริเวณวัดเพื่อติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด
ในเวลา 12.15 น. ที่ผ่านมา สำนักพระราชวังได้เคลื่อนขบวนพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ออกจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อไปประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลพระศพที่วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว
โดยมีคณะแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก พร้อมใจกันมายืนตั้งแถวเพื่อส่งพระศพตลอดเส้นทาง ท่ามกลางบรรยากาศอันโศกเศร้า
กระทั่งในเวลา 12.55 น. ขบวนอัญเชิญพระศพได้เดินทางถึงพระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีข้าราชการทหาร ประชาชน มาเฝ้ารอรับพระศพอย่างเนืองแน่น ซึ่งประชาชนที่มานั้นต่างแต่งกายด้วยชุดขาวดำ บางรายร่ำไห้ด้วยความอาลัย
นอกจากนี้ มีพุทธศาสนิกชนบางส่วนร่วมกันสวดมนต์ถวายพรแด่สมเด็จพระสังฆราช ขอให้พระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัย
ทั้งนี้ ทางวัดบวรนิเวศวิหารจะเปิดให้ประชาชนร่วมถวายสักการะและสรงน้ำพระศพ ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป จนถึงเวลาประมาณ 16.00 น. ที่อาคารมนุษยนาควิทยาทาน
ก่อนจะเคลื่อนพระศพมายังพระตำหนักเพ็ชร เพื่อประกอบพระราชพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ โดย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์ เป็นประธานในพิธี ในเวลา 17.00 น.

http://www.talkystory.com/?p=67364

. . . . . . .