จิตตภาวนา พุทโธ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

จิตตภาวนา พุทโธ
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
แสดง ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๘

เราทุกคนมาชุมนุมกันที่นี้ ประชุมทั้งในทั้งนอก เมื่อเข้ามาถึงวัดแล้วให้พากันวัดดูจิตใจของเราว่ามันอยู่นอกวัดหรือในวัด วัดดูเพื่อเหตุใด

นี่แหละเราอาศัยพระพุทธศาสนา ศาสนาเป็นเครื่องแก้ทุกข์ และเป็นเครื่องดับทุกข์
พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติศาสนาในพุทธบริษัททั้งสี่นี่แหละ ท่านไม่ได้บัญญัติที่อื่น บริษัททั้งสี่คืออะไร ภิกษุ ภิกษุณี แต่เวลานี้ภิกษุณีไม่มี มีแต่ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา
ในสี่เหล่านี้แหละ (ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ) พระพุทธศาสนา (คือเป็นศาสนทายาท) ศาสนาจะเจริญได้ก็อาศัยสี่เหล่านี้ ศาสนาจะเสื่อมก็อาศัยสี่เหล่านี้เหมือนกัน

ศาสนาจะเสื่อมเพราะเหตุใด
เพราะเราไม่ประพฤติเราไม่ปฏิบัติ เรื่องเป็นอย่างนี้ ในคุณพระพุทธเจ้าเราก็ไม่มีความเคารพในคุณพระธรรมก็ไม่มีความเคารพ ในคุณพระอริยสงฆ์เราก็ไม่มีความเคารพ นานก็ไม่มีความเคารพ ในศีลก็ไม่มีความเคารพ ในภาวนาก็ไม่มีความเคารพ ในปฏิสันถารการต้อนรับซึ่งกันและกันก็ไม่มีความเคารพ เมื่อเราไม่เคารพใน ๗ สถานนี้แหละ เป็นเหตุให้ศาสนาเสื่อม ถ้าพวกเรายังมีความเคารพอยู่ในสิ่ง ๗ สถานนี้แล้ว ศาสนาก็จะเจริญรุ่งเรืองขึ้นไป

ท่านบัญญัติศาสนา ในพระไตรปิฎกท่านบอกว่า ในพระอภิธรรมท่านไม่ได้บัญญัติอย่างอื่นเราทั้งหลายบ้างก็ว่าบางคนไม่ได้เรียนบัญญัติ เอ้อ ให้รู้จักบัญญัติ ท่านบัญญัติธรรมวินัย ท่านบอกว่า ฉปญฺญตฺติโย ขนฺธปญฺญตฺติ อายตนปญฺญตฺติ ธาตุปญฺญตฺติ อินฺทฺริยปญฺญตฺติ ปุคฺคลปญฺญตฺติ นี่ ท่านบัญญัติศาสนาไว้ตรงนี้ อันนี้ท่านวางไว้ นี่บัญญัติศาสนา ให้พากันพึงรู้พึงเข้าใจนะ

ขนฺธปญฺญตฺติ คือท่านบัญญัติในเบญจขันธ์ เมื่อวานก็ได้อธิบายไปแล้ว คือบัญญัติในรูปบัญญัติในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่ เราก็น้อมดูซี รูปอยู่ที่ไหนเล่า คือนั่งอยู่นี่แหละ เรียกว่ารูปขันธ์ขันธปัญญัตติ นี่ บัญญัติตรงนี้ เพื่อเหตุใด เพื่อให้รู้จักสิ่งเหล่านี้ว่า มันเป็นอยู่อย่างไร มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ มันดีหรือมันชั่ว มันเกิดขึ้นมาจากนี้ เอ้อ เรียกว่า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ล่ะ ความสุขทุกข์ ทุกขา เวทนา สุขา เวทนา อุเบกขา เวทนา เราก็ต้องดูเอาซี ตรงนั้นท่านบัญญัติไว้ สัญญาขันธ์ ความสำคัญมั่นหมาย ความจำโน่นจำนี่ นี่ – ท่านบัญญัติไว้ตรงนี้ สังขารขันธ์ ความปรุงความแต่ง ดูซี เวลาเราปรุงเป็นกุศลหรืออกุศล ให้พึงรู้พึงเห็น ไม่ใช่ฟ้าอากาศปรุงเป็นกุศลอกุศล กุศลเราจะรู้ได้อย่างไรเล่า รวมมาสั้นๆแล้ว คือใจเราดี มีความสุขความสบาย เย็นอกเย็นใจ นี้เรียกว่ากุศลธรรม นำความสุข ความให้ในปัจจุบันและเบื้องหน้าอกุศลธรรม จิตไม่ดีทุกข์ยากวุ่นวายเดือดร้อน ธรรมนี้นำสัตว์ทั้งหลายให้ตกทุกข์ได้ยาก ให้ฉิบหายในปัจจุบันและเบื้องหน้า เป็นอย่างนี้ วิญญาณขันธ์ล่ะ วิญญาณนี้เป็นผู้รู้และจะไปปฏิสนธิในสิ่งที่เราปรุงแต่งไว้ กรรมเหล่านี้แหละนำไปตบแต่ง ไม่มีใครตบแต่งให้เรา ธรรมนำมาเอง นี่ เรื่องมันเป็นอย่างนี้ ธรรมมันอยู่ตรงนี้ จะเรียนธรรมจะรู้ธรรม ให้มาดูตรงนี้ มาดูรูป ดูเวทนา ดูสัญญา ดูสังขาร ดูวิญญาณ นี้ ให้พิจารณารูปนี้แหละเพ่งเพื่อเหตุใด ท่านยังว่ามันหลงรูป หลงรูป รูปอันนี้มันมีอะไรจึงพากันไปหลงอยู่นักหนา พระพุทธเจ้าจึงได้วางไว้ให้พิจารณารูป
นี้

อายตนปญฺญตฺติ นั่น เป็นบ่อเกิดแห่งความดีและความชั่ว อายตนะภายในภายนอก อายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรา ภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์ รวมเข้ามาแล้ว สิ่งนี้ก็อยู่ในรูปนี้ นี่ เป็นอย่างนั้น

ธาตุปญฺญตฺติ บัญญัติธาตุ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ มาประชุมกันเข้า เรียกว่าตัวตนสัตว์ บุคคล เรา เขา เมื่อเป็นอย่างนี้ เราต้องมาพิจารณาในรูปนี้ ตั้งสติเพ่ง ดูรูปอันนี้ ดูเพื่อเหตุใดเพื่อไม่ให้หลง เรื่องมันเป็นอย่างนี้ เมื่อเราเห็นแล้ว ไม่หลงรูปอันนี้ เราก็รู้จัก นะ รู้จัก โม หัวใจ ตัวเราจึงรักษาได้ แต่เวลานี้เราไม่รู้จัก นะ ไม่รู้จัก โม

นโมคืออะไรเล่า นโมคือความน้อมนึก นะคือความน้อม เราน้อมอะไร เป็นอย่างนั้น คือดินและน้ำ ได้อธิบายเรื่องนะแล้วมันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรา

เมื่อวานก็อธิบายคำว่า “โม” แล้ว นะคืออะไรเล่า นะ แปลว่าไม่ใช่ ปิตฺตํ น้ำดี ดูซิน้ำดีอยู่ที่ไหนเล่ามันเป็นคนเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย เรียกว่าน้ำดี เสมฺหํ น้ำเสลด เป็นคนหรือเป็นอะไรอยู่ที่ไหนเล่า ปุพฺโพน้ำเหลือง นี่เป็นคนหรือเป็นอะไร โลหิตํ น้ำเลือด เลือดเรานี่แหละ มันเป็นคนหรือเป็นอะไร มันเป็นผู้หญิงหรือเป็นผู้ชาย เสโท น้ำเหงื่อ อสฺสุ น้ำตา วสา น้ำมันเหลว เขโฬ น้ำลาย สิงฺฆาณิกา น้ำมูก ลสิกา น้ำไขข้อ มุตฺตํ น้ำมูตร สิ่งเหล่านี้ เป็นคนหรือเป็นอะไร เป็นของเอาหรือของทิ้ง นี่แหละจึงเรียกว่า นะ แปลว่าไม่ใช่คน เป็นของทิ้งทั้งหมด หรือใครจะเก็บสิ่งเหล่านี้เอาไว้ อยู่ที่ไหนเล่า นี่ให้พากันพิจารณาสิ่งเหล่านี้แหละ มันจึงจะละซึ่งกามารมณ์ได้ รูปารมณ์ได้ เมื่อเราเห็นเช่นนี้แล้ว หรือให้พากันเพ่งเล็งดูสิ่งเหล่านี้ให้มันรู้มันเห็นโดยไม่ต้องสงสัย สิ่งเหล่านี้ไม่ได้อยู่ที่อื่นอยู่ที่ตัวของเรา เรามาถือเอาสิ่งเหล่านี้แหละว่าเป็นตัวเป็นตน เมื่ออธิบายให้ฟังอย่างนี้แล้ว ให้พากันนั่งเพ่งดู

เอ้า นั่งให้สบายๆ ลงมือทำ ถ้าไม่ทำแล้วก็ไม่เห็น เอ้า นั่งให้สบายๆ นี่แหละให้รู้จักชั้นศาสนาแกนศาสนา ท่านบัญญัติไว้ที่ตรงนี้ ท่านไม่ได้บัญญัติที่อื่น

เมื่อเป็นเช่นนี้ เราท่านทั้งหลายที่มา ณ ที่นี้ในวันนี้ เพื่อประเทศชาติของเรา สมเด็จญาณฯ ท่านดำริให้มีการแผ่พระราชกุศลถวายแด่มหาบพิตร และพวกเราต้องการให้ประเทศชาติของเราอยู่เย็นเป็นสุข และยั่งยืนถาวร และต้องการให้ประเทศของเราให้มีความสุขความเจริญในปัจจุบันและเบื้องหน้า

เราต้องเพ่งดูซิ ประเทศชาติก็เกิดขึ้นจากตัวของพวกเรานี้

ศาสนาจะเสื่อมมันเป็นอย่างไร ศาสนาเจริญเป็นอย่างไร ศาสนาจะเจริญได้คือเรามาทำกันอย่างนี้แหละ เข้าถึงคุณพระพุทธเจ้า เข้าถึงคุณพระธรรม เข้าถึงคุณพระสงฆ์ เข้าถึงคุณพระพุทธเจ้าคือเข้าถึงพุทธะคือความรู้ เราวางกายให้สบายแล้ว เราระลึกถึงความรู้ของเรา ถ้าเราไม่รู้จักที่อยู่ของพุทธะ ความรู้ว่าอยู่ตรงไหนแล้ว (เราก็ไม่สามารถเข้าถึงพุทธะ) ในเบื้องต้นก็ให้นึกถึงคำบริกรรมเสียก่อน

ผู้ที่เคยทำมาแล้ว หรือผู้ที่ยังไม่เคยทำก็ดี ให้ระลึกว่า พระพุทธเจ้าอยู่ในใจ พระธรรมอยู่ในใจ พระอริยสงฆ์สาวกอยู่ในใจ เชื่อมั่นอย่างนั้นแล้ว ให้ระลึกคำบริกรรมภวานาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ สามหนแล้ว รวมเอาแต่พุทโธ พุทโธ คำเดียว หลับตางับปากนะ ให้ระลึกเอาในใจ ลิ้นก็ไม่กระดุกกระดิก ให้ระลึกอยู่ในใจ

พุทโธ ความรู้สึกอยู่ตรงไหนแล้ว ให้ตั้งสติไว้ตรงนั้น

ตาเราเพ่งดูที่ความรู้สึกนั้น หูก็ฟังที่รู้สึกอยู่นั้น นี่แหละ เราจึงรู้จักว่าศานาทำไมจึงเสื่อม ทำไมจึงเจริญ ศาสนาเสื่อมเป็นอย่างไรเล่า คือจิตของเราไม่ได้เจริญอิทธิบาท และไม่เจริญในศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหลักพระพุทธศาสนา นี่เป็นเรื่องอย่างนี้ คือในคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ดังได้อธิบายมาแล้ว

เราทุกคนมาชุมนุมกันที่นี้ ประชุมทั้งในทั้งนอก เมื่อเข้ามาถึงวัดแล้วให้พากันวัดดูจิตใจของเราว่ามันอยู่นอกวัดหรือในวัด วัดดูเพื่อเหตุใด

นี่แหละเราอาศัยพระพุทธศาสนา ศาสนาเป็นเครื่องแก้ทุกข์ และเป็นเครื่องดับทุกข์
พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติศาสนาในพุทธบริษัททั้งสี่นี่แหละ ท่านไม่ได้บัญญัติที่อื่น บริษัททั้งสี่คืออะไร ภิกษุ ภิกษุณี แต่เวลานี้ภิกษุณีไม่มี มีแต่ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา
ในสี่เหล่านี้แหละ (ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ) พระพุทธศาสนา (คือเป็นศาสนทายาท) ศาสนาจะเจริญได้ก็อาศัยสี่เหล่านี้ ศาสนาจะเสื่อมก็อาศัยสี่เหล่านี้เหมือนกัน

ศาสนาจะเสื่อมเพราะเหตุใด
เพราะเราไม่ประพฤติเราไม่ปฏิบัติ เรื่องเป็นอย่างนี้ ในคุณพระพุทธเจ้าเราก็ไม่มีความเคารพในคุณพระธรรมก็ไม่มีความเคารพ ในคุณพระอริยสงฆ์เราก็ไม่มีความเคารพ นานก็ไม่มีความเคารพ ในศีลก็ไม่มีความเคารพ ในภาวนาก็ไม่มีความเคารพ ในปฏิสันถารการต้อนรับซึ่งกันและกันก็ไม่มีความเคารพ เมื่อเราไม่เคารพใน ๗ สถานนี้แหละ เป็นเหตุให้ศาสนาเสื่อม ถ้าพวกเรายังมีความเคารพอยู่ในสิ่ง ๗ สถานนี้แล้ว ศาสนาก็จะเจริญรุ่งเรืองขึ้นไป

ท่านบัญญัติศาสนา ในพระไตรปิฎกท่านบอกว่า ในพระอภิธรรมท่านไม่ได้บัญญัติอย่างอื่นเราทั้งหลายบ้างก็ว่าบางคนไม่ได้เรียนบัญญัติ เอ้อ ให้รู้จักบัญญัติ ท่านบัญญัติธรรมวินัย ท่านบอกว่า ฉปญฺญตฺติโย ขนฺธปญฺญตฺติ อายตนปญฺญตฺติ ธาตุปญฺญตฺติ อินฺทฺริยปญฺญตฺติ ปุคฺคลปญฺญตฺติ นี่ ท่านบัญญัติศาสนาไว้ตรงนี้ อันนี้ท่านวางไว้ นี่บัญญัติศาสนา ให้พากันพึงรู้พึงเข้าใจนะ

ขนฺธปญฺญตฺติ คือท่านบัญญัติในเบญจขันธ์ เมื่อวานก็ได้อธิบายไปแล้ว คือบัญญัติในรูปบัญญัติในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่ เราก็น้อมดูซี รูปอยู่ที่ไหนเล่า คือนั่งอยู่นี่แหละ เรียกว่ารูปขันธ์ขันธปัญญัตติ นี่ บัญญัติตรงนี้ เพื่อเหตุใด เพื่อให้รู้จักสิ่งเหล่านี้ว่า มันเป็นอยู่อย่างไร มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ มันดีหรือมันชั่ว มันเกิดขึ้นมาจากนี้ เอ้อ เรียกว่า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ล่ะ ความสุขทุกข์ ทุกขา เวทนา สุขา เวทนา อุเบกขา เวทนา เราก็ต้องดูเอาซี ตรงนั้นท่านบัญญัติไว้ สัญญาขันธ์ ความสำคัญมั่นหมาย ความจำโน่นจำนี่ นี่ – ท่านบัญญัติไว้ตรงนี้ สังขารขันธ์ ความปรุงความแต่ง ดูซี เวลาเราปรุงเป็นกุศลหรืออกุศล ให้พึงรู้พึงเห็น ไม่ใช่ฟ้าอากาศปรุงเป็นกุศลอกุศล กุศลเราจะรู้ได้อย่างไรเล่า รวมมาสั้นๆแล้ว คือใจเราดี มีความสุขความสบาย เย็นอกเย็นใจ นี้เรียกว่ากุศลธรรม นำความสุข ความให้ในปัจจุบันและเบื้องหน้าอกุศลธรรม จิตไม่ดีทุกข์ยากวุ่นวายเดือดร้อน ธรรมนี้นำสัตว์ทั้งหลายให้ตกทุกข์ได้ยาก ให้ฉิบหายในปัจจุบันและเบื้องหน้า เป็นอย่างนี้ วิญญาณขันธ์ล่ะ วิญญาณนี้เป็นผู้รู้และจะไปปฏิสนธิในสิ่งที่เราปรุงแต่งไว้ กรรมเหล่านี้แหละนำไปตบแต่ง ไม่มีใครตบแต่งให้เรา ธรรมนำมาเอง นี่ เรื่องมันเป็นอย่างนี้ ธรรมมันอยู่ตรงนี้ จะเรียนธรรมจะรู้ธรรม ให้มาดูตรงนี้ มาดูรูป ดูเวทนา ดูสัญญา ดูสังขาร ดูวิญญาณ นี้ ให้พิจารณารูปนี้แหละเพ่งเพื่อเหตุใด ท่านยังว่ามันหลงรูป หลงรูป รูปอันนี้มันมีอะไรจึงพากันไปหลงอยู่นักหนา พระพุทธเจ้าจึงได้วางไว้ให้พิจารณารูปนี้

อายตนปญฺญตฺติ นั่น เป็นบ่อเกิดแห่งความดีและความชั่ว อายตนะภายในภายนอก อายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรา ภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์ รวมเข้ามาแล้ว สิ่งนี้ก็อยู่ในรูปนี้ นี่ เป็นอย่างนั้น

ธาตุปญฺญตฺติ บัญญัติธาตุ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ มาประชุมกันเข้า เรียกว่าตัวตนสัตว์ บุคคล เรา เขา เมื่อเป็นอย่างนี้ เราต้องมาพิจารณาในรูปนี้ ตั้งสติเพ่ง ดูรูปอันนี้ ดูเพื่อเหตุใดเพื่อไม่ให้หลง เรื่องมันเป็นอย่างนี้ เมื่อเราเห็นแล้ว ไม่หลงรูปอันนี้ เราก็รู้จัก นะ รู้จัก โม หัวใจ ตัวเราจึงรักษาได้ แต่เวลานี้เราไม่รู้จัก นะ ไม่รู้จัก โม

นโมคืออะไรเล่า นโมคือความน้อมนึก นะคือความน้อม เราน้อมอะไร เป็นอย่างนั้น คือดินและน้ำ ได้อธิบายเรื่องนะแล้วมันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรา

เมื่อวานก็อธิบายคำว่า “โม” แล้ว นะคืออะไรเล่า นะ แปลว่าไม่ใช่ ปิตฺตํ น้ำดี ดูซิน้ำดีอยู่ที่ไหนเล่ามันเป็นคนเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย เรียกว่าน้ำดี เสมฺหํ น้ำเสลด เป็นคนหรือเป็นอะไรอยู่ที่ไหนเล่า ปุพฺโพน้ำเหลือง นี่เป็นคนหรือเป็นอะไร โลหิตํ น้ำเลือด เลือดเรานี่แหละ มันเป็นคนหรือเป็นอะไร มันเป็นผู้หญิงหรือเป็นผู้ชาย เสโท น้ำเหงื่อ อสฺสุ น้ำตา วสา น้ำมันเหลว เขโฬ น้ำลาย สิงฺฆาณิกา น้ำมูก ลสิกา น้ำไขข้อ มุตฺตํ น้ำมูตร สิ่งเหล่านี้ เป็นคนหรือเป็นอะไร เป็นของเอาหรือของทิ้ง นี่แหละจึงเรียกว่า นะ แปลว่าไม่ใช่คน เป็นของทิ้งทั้งหมด หรือใครจะเก็บสิ่งเหล่านี้เอาไว้ อยู่ที่ไหนเล่า นี่ให้พากันพิจารณาสิ่งเหล่านี้แหละ มันจึงจะละซึ่งกามารมณ์ได้ รูปารมณ์ได้ เมื่อเราเห็นเช่นนี้แล้ว หรือให้พากันเพ่งเล็งดูสิ่งเหล่านี้ให้มันรู้มันเห็นโดยไม่ต้องสงสัย สิ่งเหล่านี้ไม่ได้อยู่ที่อื่นอยู่ที่ตัวของเรา เรามาถือเอาสิ่งเหล่านี้แหละว่าเป็นตัวเป็นตน เมื่ออธิบายให้ฟังอย่างนี้แล้ว ให้พากันนั่งเพ่งดู

เอ้า นั่งให้สบายๆ ลงมือทำ ถ้าไม่ทำแล้วก็ไม่เห็น เอ้า นั่งให้สบายๆ นี่แหละให้รู้จักชั้นศาสนาแกนศาสนา ท่านบัญญัติไว้ที่ตรงนี้ ท่านไม่ได้บัญญัติที่อื่น

เมื่อเป็นเช่นนี้ เราท่านทั้งหลายที่มา ณ ที่นี้ในวันนี้ เพื่อประเทศชาติของเรา สมเด็จญาณฯ ท่านดำริให้มีการแผ่พระราชกุศลถวายแด่มหาบพิตร และพวกเราต้องการให้ประเทศชาติของเราอยู่เย็นเป็นสุข และยั่งยืนถาวร และต้องการให้ประเทศของเราให้มีความสุขความเจริญในปัจจุบันและเบื้องหน้า

เราต้องเพ่งดูซิ ประเทศชาติก็เกิดขึ้นจากตัวของพวกเรานี้

ศาสนาจะเสื่อมมันเป็นอย่างไร ศาสนาเจริญเป็นอย่างไร ศาสนาจะเจริญได้คือเรามาทำกันอย่างนี้แหละ เข้าถึงคุณพระพุทธเจ้า เข้าถึงคุณพระธรรม เข้าถึงคุณพระสงฆ์ เข้าถึงคุณพระพุทธเจ้าคือเข้าถึงพุทธะคือความรู้ เราวางกายให้สบายแล้ว เราระลึกถึงความรู้ของเรา ถ้าเราไม่รู้จักที่อยู่ของพุทธะ ความรู้ว่าอยู่ตรงไหนแล้ว (เราก็ไม่สามารถเข้าถึงพุทธะ) ในเบื้องต้นก็ให้นึกถึงคำบริกรรมเสียก่อน

ผู้ที่เคยทำมาแล้ว หรือผู้ที่ยังไม่เคยทำก็ดี ให้ระลึกว่า พระพุทธเจ้าอยู่ในใจ พระธรรมอยู่ในใจ พระอริยสงฆ์สาวกอยู่ในใจ เชื่อมั่นอย่างนั้นแล้ว ให้ระลึกคำบริกรรมภวานาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ สามหนแล้ว รวมเอาแต่พุทโธ พุทโธ คำเดียว หลับตางับปากนะ ให้ระลึกเอาในใจ ลิ้นก็ไม่กระดุกกระดิก ให้ระลึกอยู่ในใจ

พุทโธ ความรู้สึกอยู่ตรงไหนแล้ว ให้ตั้งสติไว้ตรงนั้น

ตาเราเพ่งดูที่ความรู้สึกนั้น หูก็ฟังที่รู้สึกอยู่นั้น นี่แหละ เราจึงรู้จักว่าศานาทำไมจึงเสื่อม ทำไมจึงเจริญ ศาสนาเสื่อมเป็นอย่างไรเล่า คือจิตของเราไม่ได้เจริญอิทธิบาท และไม่เจริญในศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหลักพระพุทธศาสนา นี่เป็นเรื่องอย่างนี้ คือในคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ดังได้อธิบายมาแล้ว

ศีลนี่เป็นหลักพุทธศาสนา เราดูซิศีลคืออะไร ศีลคือความงามในเบื้องต้น งามท่ามกลาง และงามในที่สุด ในบาลีท่านกล่าวว่า อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ กัลยาณคือความงาม งามเบื้องต้นคืออะไรเล่า เป็นผู้มีศีล อะไรเป็นศีลเล่า ท่านบอกว่าสำรวมกาย วาจา ใจให้เรียบร้อยดูซิกายเราเรียบร้อย วาจาเรียบร้อย ใจเราเรียบร้อย ไม่ได้ทำโทษน้อยใหญ่ทั้งกายทั้งใจแล้ว นี่จึงเรียกว่าเป็นผู้มีศีล

ศีลแปลว่า ความปกติกายปกติใจ เดี๋ยวนี้ ใจเราปกติหรือยังไม่ปกติ มันเป็นอย่างไร ถ้าใจมันปกติ มันไม่พิกลพิการ มันไม่ทะเยอทะยาน เรื่องเป็นเช่นนี้ กายของเราปกติ มันก็ไม่พิกลพิการให้พิจารณาดูซิ ทำจิตให้เป็นปกติ เหมือนกับก้อนหิน ลมพัดมาทุกทิศทั้งสี่ก็ไม่หวั่นไหว นี่เราก็ทำใจเราเหมือนก้อนหิน ใครจะว่าอย่างไรก็ตาม ดีชั่วไม่เป็นเหมือนเขาว่า เมื่อเราไม่ดีแล้วเขาว่าดี มันก็ไม่ดีคือเขาว่า เมื่อเราดีแล้วเขาว่าไม่ดี ก็ไม่เป็นเหมือนเขาว่า เราก็ดูซิ ให้เห็นซิ นี่แหละจิตของเราเป็นศีล เราก็รู้จัก ตามที่ได้อธิบายมาแล้วข้างต้น นี่ให้พากันพึงรู้พึงเข้าใจ

สมาธิ งามท่ามกลาง เราก็ตั้งจิตมั่น ลองดูซิว่าจิตเราตั้งหรือไม่ตั้ง มันเอนเอียงไปทางไหน มันข้องตรงไหน มันคาตรงไหน เราได้แต่ว่าสมาธิ คือจิตตั้งมั่น เราตั้งดูซิมันตั้งหรือไม่ตั้ง ถ้ามันตั้งมันเป็นอย่างไรเล่า มันก็ไม่เอนเอียงไปหาความรักความชัง ไม่หลงในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ทั้งหลายต่างๆ สิ่งใดเกิดขึ้นเราก็ดับ นี่มันจึงเข้าถึงสมาธิ จิตตั้งมั่น เมื่อจิตสงบตั้งมั่นแล้วมันก็ใส นี่แหละสมถกรรมฐาน ให้รู้จักสมถะคือทำจิตให้สงบภายใน

เมื่อจิตของเราสงบภายในแล้วอุปมาเหมือนน้ำสงบ น้ำสงบแล้วก็ใส ใสแล้วก็มองเห็นเหตุ มองเห็นผล มองเห็นบุญกุศล มองเห็นสุข มองเห็นทุกข์ มองเห็นดี มองเห็นชั่ว

เมื่อจิตของเราสงบแล้ว มันจะออกข้างซ้ายข้างขวาข้างหน้าข้างหลังข้างบนข้างล่าง เราก็รู้เรียกว่ามันตั้ง เพ่งเล็งมีสติอยู่ตรงนี้ นี่แหละให้พึงรู้พึงเข้าใจต่อไปในการทำสมาธิ อันนี้เมื่อจิตของเราเห็นแล้วอย่างนั้น เห็นสิ่งที่มันเกิดขึ้นในสังขารทั้งหลาย และปัญญาความรอบรู้ในกองสังขาร มันจะได้เกิดปัญญารอบรู้ในกองสังขารว่าใครเป็นผู้ปรุงแต่งเล่า ไม่ใช่คนอื่นปรุงแต่ง กายสังขาร จิตสังขาร ปรุงขึ้นจากจิตของเรา นี่แหละมันจะได้เกิดเป็นวิปัสสนา บาทของสมถะ

เดี๋ยวนี้คนทั้งหลายเข้าวิปัสสนา เข้าวิปัสสนา ได้แต่ว่าเข้าวิปัสสนา แต่ไม่รู้ว่าวิปัสสนาเป็นอย่างไร

เมื่อสมถะเป็นบาทของวิปัสสนา คือเมื่อจิตเราสงบแล้ว เห็นที่เกิดแห่งสังขาร และเห็นที่ดับแห่งสังขาร นี่เป็นอย่างนี้ ให้พึงรู้พึงเข้าใจ เดี๋ยวนี้เราไม่รู้ว่ามันเกิดมาจากไหน ไม่รู้จักที่เกิดและก็ไม่รู้จักที่ดับ มันจะเป็นวิปัสสนาได้อย่างไรเล่า

วิปัสสนาคือเมื่อจิตมันสงบแล้วก็เห็นที่เกิดแห่งสังขาร โอ้ เกิดจากจิตของเรา และก็ดับที่จิตของเรา

เราจะดับได้เพราะเหตุใด เราเห็นอาทีนวโทษ เห็นโทษแห่งสังขาร เห็นภัยแห่งสังขารทั้งหลาย เห็นทุกข์แห่งสังขารทั้งหลาย นี่มันจะดับได้ตรงนี้ เมื่อเห็นทุกข์เห็นโทษแล้ว มันก็ตัดได้ จึงเป็นวิปัสสนาความรู้แจ้งเห็นจริงสัจธรรม สัจจะของจริงคืออะไรเล่า เมื่อสังขารความปรุงความแต่งขึ้นแล้ว มันก็เกิดมันหลง เมื่อหลงแล้วท่านก็บอกว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา, สงฺขารปจฺจจยา วิญฺญาณํ, วิญฺญาณปจฺจยานามรูปํ, เมื่ออวิชชาความหลงมีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารมีแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณมีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปมีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะ อายตนะมีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ ความกระทบถูกต้อง ผัสสะ มีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนามีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ความทะเยอทะยาน ตัณหามีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน การยึดถือ นี่ให้พิจารณาอันนี้ อุปาทานมีแล้วก้เป็นปัจจัยให้เกิดภพ คือเข้าไปตั้ง ภพมีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดชาติคือความเกิด ชาติมีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดชรา ชรามีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดพยาธิ พยาธิมีแล้วก็เป็นปัจัยให้เกิดมรณะ คือ ความตาย มรณะมีแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์

นี่ พระพุทธเจ้าจึงได้พิจารณาในปฏิจจสมุปทานเป็นเครื่องข้องอยู่ ท่านจึงได้พ้นทุกข์อันนี้

เหตุนั้นท่านจึงว่าทุกข์ควรกำหนด ท่านไม่ให้ละทุกข์ ทุกข์ควรกำหนด ควรพิจารณา ไปละสมุทัยนี่เป็นอย่างนี้ เราก็รู้เรื่องสมุทัย สัตว์ทั้งหลายจมลงในมหาสมุทรเป็นเหยื่อปลาหมด ปาโป ปาปํ จมในมหาสมุทรคือหลงความสมมติ ท่านค้นแล้วว่าทุกข์นี้มันมาจากไหน ท่านทวนกระแส ทีแรกท่านพิจารณาว่าทุกข์มาจากไหน อะไรเป็นเหตุปัจจัยมา มาจากความตาย ความตายมาจากไหนเห็นเหตุปัจจัยมา มาจากความเจ็บไข้ได้พยาธิอาพาธโรคา สิ่งเหล่านี้มาจากไหนเล่า มาจากชรา ความเฒ่าแก่ความชำรุดทรุดโทรม ความชำรุดทรุดโทรมมาจากไหนเล่า มาจากความเกิด ชาติคือความเกิด เกิดมาจากไหน มาจากภพ ภพคือเข้าไปตั้ง ภพมาจากไหนเล่า ท่านพิจารณา มาจากอุปาทาน ความยึดถือถ้าเรายึดถือที่ไหนก็ไปตั้งภพที่นั่น ให้ดูเอาซิภพของเราน้อนๆใหญ่ๆ อุปาทานมาจากไหนเล่า มาจากตัณหา ความทะเยอทะยาน ตัณหามาจากไหน มาจากเวทนา มันมีเวทนา สุขา เวทนา ทุกขา เวทนา ทีนี้เวทนาเหล่านี้มาจากไหนเล่า มาจากผัสสะ ความกระทบถูกต้อง ผัสสะมาจากไหนเล่า มาจากอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรานี้ อายตนะมาจากไหนเล่า มาจากรูป นามรูป รูปมาจากไหนมาจากวิญญาณ ปฏิสนธิวิญญาณ วิญญาณมาจากไหนเล่า มาจากสังขาร สังขารความปรุงความแต่ง สังขารมาจากไหนเล่า มาจากอวิชชา

นี่ ท่านทั้งหลายมาจบตรงนี้จึงว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ, นี่มาจากอวิชชาเราต้องเรียนไปถึงอวิชชา ใครๆก็ไปหลงแต่อวิชชา เราไม่ได้โอปนยิโก ใครเป็นผู้รู้ว่าอวิชชาและไม่ระลึกถึงมันมีผู้รู้อยู่ จึงรู้ว่าอวิชชา
ทำให้มันเห็นแจ้งเห็นจริงในตัวของเรา นี่แหละเป็นข้อปฏิบัติ เพราะฉะนั้น ให้พากันพึงรู้พึงเข้าใจอย่าไปหลง
เรานั่งอยู่เดี๋ยวนี้เราหลงอะไร นี่แหละให้รู้จักพุทธศาสนา ศาสนาจะเจริญขึ้นก็อาศัยเราประพฤติปฏิบัติ เรากระทำอย่างนี้ จึงจะเจริญได้ เมื่อเราไม่ประพฤติปฏิบัติ ศาสนาก็เสื่อม เรื่องเป็นอย่างนี้ เสื่อมเสียไม่ได้เสื่อมไปไหน เสื่อมจากตัวบุคคล คือคนไม่ประพฤติคนไม่กระทำ

เดี๋ยวนี้บางคนว่า พระอรหัตพระอรหันต์ไม่มี พระโสดาสกิทาคาอนาคาก็ไม่มี จะมีได้ยังไงเพราะคนไม่กระทำ เพราะคนไม่ปฏิบัติ เพราะคนไม่ได้ขัดไม่ได้เกลา และของเราไม่ได้ประพฤติเราไม่ได้ดู เรื่องเป็นอย่างนี้ เมื่อเราได้ยินได้ฟังแล้ว โอปนยิโก ดูซิ พระโสดาอยู่ที่ไหนเล่า ตำราบอกไว้สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ก็เท่านี้ รู้อันนี้ เมื่อเรารู้อันนี้แล้ว นั่นแหละเข้ามรรคในเบื้องต้นจะได้เป็นพระโสดา สักกายทิฏฐิ เดี๋ยวนี้เรามาถือตัวตน เมื่อเราพิจารณาดังอธิบายมาเบื้องต้น นะมันไม่เป็นตัวเป็นตนแล้ว มันก็ละทิฏฐิ ละมานะ อหังการ มมังการ ถือว่าเป็นตัวเป็นตน ไม่ถือจิตมันก็ละ มันก็ว่าง วิจิกิจฉา สงสัยว่าจะดีอย่างโน้นอย่างนี้ เราก็เห็นแล้วขี้มูกน้ำลายของเราเลือดของเรา เหมือนที่อธิบายมาแล้วนั่น

จะสงัสยอะไรอีกเล่า มันดีหรือมันชั่วล่ะ ดูซิ เพ่งดูซิ โลหิตํ น้ำเลือด เพ่งกสิณดูซิ กสิณ แปลว่าความเพ่ง สีแดง เพ่งดูซิเลือดอยู่ที่ไหน สีแดงคือเลือด เลือดของตนและของบุคคลอื่นเป็นอย่างไร เพ่งดูซิ มันจะละได้หรือละไม่ได้ เมื่อเห็นว่าเป็นเลือดแล้ว ใครจะเอาล่ะ ใครยังจะต้องการอีกเล่า เพ่งกสิณเรียกอสุภะให้เห็นกสิณ เพ่งให้มันเห็น เห็นแล้วจิตของเราจะได้ไม่มีความสงสัย มันจะถอนสักกายทิฏฐิได้ มันจะไม่เป็นสีลัพพตปรามาส ความลูบคลำว่า ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ที่อื่นที่ไกล ประจำใจของเราอยู่ สุขทุกข์ทั้งหลาย นี่ พระพุทธศาสนา ให้พากันรู้จัก นี่แหละเมื่อเราเห็นแจ้งแล้ว จิตของเราก็หยั่งถึงศีลถึงสมาธิ มันมีปัญญาความรอบรู้ในกองสังขารทั้งหลายมันปรุงแต่งไม่ได้ ให้พึงรู้พึงเห็น นี่แหละศาสนาจึงจะเจริญได้

เดี๋ยวนี้ศาสนาจะเสื่อมก็คือ

ภิกุสามเณรบวชแล้วไม่ประพฤติปฏิบัติศีลของตน สมาธิของตนไม่รักษา ที่เล่าเรียนไปก็เรียนไปเปล่าๆ ประโยชน์ ไม่ประพฤติไม่ปฏิบัติและไม่ฝึกหัด ไม่มีความสำรวมระวัง ปล่อยไปประพฤติไปต่างๆนานา เดี๋ยวนี้พระเณรเดินขบวนก็มี ทำไปเหลวไหล รับประทานอาหารยามวิกาลก็มี จับเงินจับทองก็มี ต่อของซื้อของขายก็มี พูดเกี้ยวสีกาก็มี เที่ยวเล่นตามถนนหนทางก็มี พวกนี้ซิมาย่ำยีพระศาสนา ทำศาสนาให้เสื่อม ไม่มีความสำรวมระวังศีลของตน ไม่ประพฤติปฏิบัติศีลของตน

อุบาสกอุบาสิกา ก็ไม่มีความเคารพในทาน ศีล ภาวนา ของตน นี่ซิมันเสื่อม พระภิกษุสามเณรบวชมาแล้วก็ควรเล่าเรียนศึกษาสำรวมสิกขาวินัยของตนให้เรียบร้อย รู้จักแล้วศีลของเรา ๒๒๗ เณรก็ศีล ๑๐ เป็นข้องดเว้น เราสำรวมระวังอย่างนี้ ศาสนาก็เจริญรุ่งเรือง เดี๋ยวนี้มันไม่เป็นเช่นนั้น ศาสนาจึงเสื่อมเสีย

คนทั้งหลายก็ดูหมิ่นศาสนา ดูถูกศาสนา เพราะเราไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ ไม่มีปัญญา มีแต่ศีรษะโล้นกับผ้าเหลืองว่าเป็นพระเท่านั้น
ข้อวัตรข้อปฏิบัติเป็นอย่างไร ก็ให้ดูเอาซิว่าท่านห้ามอะไร เราทั้งหลายก็บวชแล้วได้ศึกษามาแล้วการที่พระพุทธเจ้าสอนทุกสิ่งทุกอย่างในศีล ๒๒๗ ใหเงดเว้น นุ่งห่มท่านก็สอน นั่งนอนเดินยืนท่านก็สอน ถ่ายอุจจาระปัสสาวะบ้วนเขฬะท่านก็สอน จรดคำข้าวเข้าปากท่านก็สอน นี่แหละความละเอียดของท่านที่ต้องการความสวยความงาม ความสำรวมระวัง นี่เป็นอย่างนี้

อุบาสกอุบาสิกาก็ดี ท่านก็สอนให้เข้าถึงพระไตรสรณคมน์ คือ เอาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่ง ที่ระลึก ที่กราบไหว้ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ที่พึ่งของข้าพเจ้าอื่นไม่มี นอกจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ถ้าเราไม่ถือเช่นนี้แล้ว ไตรสรณคมน์ของเราก็เศร้าหมอง เจ้าของเป็นบาป ขาดจากพระพุทธศาสนาเหตุนี้ให้พึงรู้พึงเข้าใจต่อไป
ผู้ปฏิบัติศาสนาอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ท่านจะไปหามื้อหาวันทำงานทำการต้องการวันดีไม่ใช่วันนั้นไม่ดีวันนี้ไม่ดี วันไม่ได้ทำอะไรแก่คน วันดีทำไมคนจึงตายได้ วันไม่ดีทำไมคนจึงเกิดในเจ็ดวันนี้ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ มีเท่านี้
การหาวันนั้น คือวันอย่างนี้ สมมติว่าเราจะทำงานทำการสิ่งใด เราพร้อมแล้วหรือยัง เมื่อหาวันพร้อมเพรียงกันแล้ว จะเอวันไหนเวลาไหน นัดกันพร้อมกัน ถ้าพร้อมแล้ว วันนั้นแหละเป็นวันดีนี่ให้หาวันอย่างนี้ ถ้าวันใดยังไม่พร้อมก็อย่าเพิ่งทำ จะแต่งงานแต่งการการปลูกบ้านปลูกช่องตึกร้านอาคารก็ตามขึ้นบ้านใหม่ก็ตาม ให้รู้ไว้ ถ้าวันนั้นมันพร้อมแล้วเรียบร้อยแล้วก็ทำได้ขึ้นได้ ถ้ายังไม่พร้อมแล้วก็ยังขัดข้องทำไม่ได้ เรียกว่าวันไม่ดี หาวันอย่างนี้หรอก ให้เข้าใจ

อธิบายมาให้ฟังย่อๆแล้ว
ให้ละเว้นการเลือกวันโน้นนี้เสีย การดูดวงก็เหมือนกัน ดูเอาว่าดวงดี ดวงไม่ดี ผูกดวง ผูกดาว คนโกหกหลอกลวงกันให้วุ่นวายเดือดร้อน ในพระพุทธศาสนา ดวงดีไม่ดีก็ให้ดูเอาซิ ไม่ใช่มาจากฟ้าอากาศ ให้ดูดวงดีเดี๋ยวนี้ซิ ดวงดีเป็นยังไง ดวงดีรวมมาสั้นๆ แล้วคือใจเราดี มีความสุข ความสบาย เมื่อใจเราสุขสบายแล้ว ทำอะไรก็สบาย ประเทศชาติก็สบาย นี่แหละดวงดี

ดวงไม่ดีเป็นยังไง ดวงไม่ดีคือใจเราไม่ดี ใจมีทุกข์ยากวุ่นวายเดือดร้อน นี่แหละดวงไม่ดีทำอะไรก็ไม่ดี หาอะไรก็ไม่ดี นี่เรียกว่าดวงไม่ดี ดูตรงนี้ จะให้ใครดูให้เล่า
ดูเอาซิ ทุกคนที่มานั่งอยู่นี่ทั้งพระทั้งเณร ทั้งอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ดวงดีดวงไม่ดีก็ให้พิจารณาตรงนี้ อย่าไปพิจารณาอื่น และอย่าเข้ารีตพวกเดียรถีย์ นิครนถ์ คนนอกศาสนา ถ้าไปถืออย่างนั้นแล้ว ขาดจากพระพุทธศาสนา นี่แหละผู้จะปฏิบัติศาสนาจะต้องถืออย่างนี้ อุบาสกอุบาสิกาก็ให้ถือศีลห้ารักษาศีลห้าอย่างมัวมารับเอากับพระ ญาติโยมว่าศีลอยู่กับพระ พระว่าศีลอยู่กับพระพุทธเจ้า ศาสนาก็เป็นของพระพุทธเจ้าไม่นึกว่าเป็นของของเรา เมื่อเราไม่นึกว่าเป็นของของเราแล้ว เราก็ท้อถอย ถ้าสิ่งเหล่านี้เป็นของของเราแล้วเราก็เอาใจใส่รักษา ศีลจะไปรับกับใครเล่า

เราเกิดมามีศีลห้าพร้อม ตัวศีลห้าได้มาพร้อมตั้งแต่เราเกิดมา มีขาทั้งสอง แขนทั้งสอง ศีรษะอันหนึ่ง นี่แหละตัวศีลห้า อย่าเอาห้าไปทำโทษห้า โทษห้านั้นคือปาณานั้นก็โทษ อทินนานั้นก็โทษ กาเมนั้นก็โทษ มุสานั้นก็โทษ สุรานั้นก็โทษ แน่ะเป็นโทษทั้งหมด

ที่เรายุ่งทุกวันนี้ก็เพราะห้าอย่างนี้ กลัวคนมาฆ่า กลัวขโมย กลัวคนผิดในกาม กลัวคนมุสาฉ้อโกงหลอกลวง กลัวคนมึนเมาสุราสาโท กัญชายาฝิ่น นี่เป็นโทษ ถ้าเราละเว้นอันนี้แล้ว ท่านว่าสีเลน สุคตึ ยนฺติมีความสุข ก็เพราะศีล สีเลน โภคสมฺปทา มีโภคสมบัติก็เพราะศีล นี่แหละให้พากันพึงเข้าใจ ให้ละเว้นโทษทั้งหลายห้าอย่างนี้

เมื่อเราจะรับศีลหรือไม่รับศีล อยู่ที่ไหนๆตัวของเราก็เป็นศีล แม้กระทั่งอยู่ในรถ ในป่าในดงในบ้านในเมือง ในถนนหนทาง เราไม่ทำผิดห้าอย่างนี้แล้ว มันก็เป็นศีล อันนี้จะมากล่าวว่าไม่ได้รับกับพระแล้ว เราไม่มีศีลนั้น ใช้ไม่ได้ เราก็รู้กันอยู่แล้ว มารับศีลกับพระว่า ปาณาติปาตา เวรมณี พอยุงมากัดตบปั๊บวันยังค่ำ มันจะเป็นศีลหรือ มันก็เป็นศีลไม่ได้น่ะซิ ให้รู้จักซิ อทินนาทานา เห็นของเขาก็ขโมยซะ ถึงจะว่าวันยังค่ำ มันก็ไม่เป็นศีล เราละเว้นโทษห้าอย่างนี้แหละ พากันให้รู้จักได้อธิบายมาทั้งข้างนอกข้างในแล้ว เอ้าน้อมเข้าไป ในเวลานี้สิ่งเหล่านี้มาจากไหน ให้พากันงดเว้น ต่อไปนี้ให้พากันตั้งจิตดู เพ่งดูโทษทั้งหลายอยู่ที่ไหน สุขอยู่ที่ไหน ทุกข์อยู่ที่ไหน ให้พากันพึงรู้พึงเข้าใจ

ประเทศของเรามันยุ่งยากตรงไหน เหมือนเราทำถนนหนทาง มันขัดข้องตรงไหน เราก็แก้ไข จิตใจของเราข้องตรงไหนคาตรงไหนก็ให้แก้ไขเสีย จะมานั่งหลับตาเจ็บเอวเอาเปล่าๆเรามานั่งดูตัวของเรา เวลานี้เราอยู่ในชั้นใดภูมิใดในภพอันใด

นี่ให้รู้จักจิตของเราเป็นกุศล หรือเป็นอกุศลให้รู้จัก จิตของเราสงบหรือไม่สงบ จิตของเราดีหรือไม่ดี ให้รู้จัก นี่แหละ กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ ให้รู้จักจิตของเรา อุปฺปนฺนํ โหติ มันอุบัติขึ้นจากตนของตนนี้ เอ้าต่อไปนี้ต่างคนต่างได้ยินได้ฟัง โอปนยิโก คือพิจารณาน้อมเข้ามาดู นะ อันนี้ พิจารณาเพ่งดูหัวใจของเรา เราข้องอะไรอยู่ จิตของเราเป็นอย่างไร จิตของเราดีเป็นอย่างไร จิตดีเป็นอย่างนี้ จิตสงบดีมีความสุขความสบายเย็นอกเย็นใจ ไม่ทุกข์ไม่ร้อนไม่วุ่นไม่วาย

พุทโธ ใจเบิกบานสบาย นี่และ นำความสุขความเจริญมาให้ในปัจจุบันและเบื้องหน้า

เรามาที่นี้ต้องการความสุขความสบาย ความสุขความเจริญ ถ้าจิตของเราเป็นอย่างนี้แล้ว สันทิฏฐิโก เราก็รู้เองเห็นเอง นี่เป็นอย่างนี้ ถ้าจิตของเราไม่ดีแล้วเป็นอย่างไร จิตไม่สงบจิตวุ่นวายจิตทะเยอทะยานดิ้นรน จิตไม่ดีแล้วทุกข์ยากเดือดร้อนวุ่นวายทุกข์ยากลำบาก ให้หนักหน่วงให้ง่วงเหงาให้มืดให้มัววุ่นวาย นี่นำสัตว์ทั้งหลายตกทุกข์ได้ยากทั้งปัจจุบันและเบื้องหน้า เมื่อจิตเป็นเช่นนี้แล้วประเทศชาติของเราก็วุ่นวาย ไม่ใช่อื่นเป็น ไม่ใช่อื่นวุ่นวาย ดวงใจของเรานี้วุ่นวาย เอ้าวัดดูเอาซิจะกว้างขวางอะไร

บุตรภรรยาสามีรักกัน บิดามารดาญาติพี่น้องรักกัน ถ้าจิตไม่ดีแล้วมันก็ทะเลาะกัน นั่นวัดดูซิถ้าจิตดีแล้วมันก็ไม่ทะเลาะกัน หรือว่าไง เพ่งดูซิจริงหรือไม่จริงเล่า อยากร่ำอยากรวยอยากสวยอยากงาม บางคนทำไมมันไม่รวย บางคนอยากรวย ทำไมเงินเดือนไม่ขึ้น ทำไมยศไม่ขึ้น เพราะเหตุใด มันไม่ขึ้นเพราะจิตเราไม่ดี เราไม่ได้สร้างคุณงามความดีไว้ในปัจจุบันและเบื้องหน้า จิตไม่ดีทุกข์ยากลำบากอดอยาก แน่ะ จิตดวงนี้นำให้เราได้ทุกข์ได้ยาก ทำอะไรมันก็ไม่ขึ้น ทำอะไรมันก็ไม่รวย มันรวยเป็นยังไง จิตดีมีความสุขความสบาย อันนี้นำความสุขความเจริญให้ในปัจจุบันและเบื้องหน้า

ต่อไปนี้จะไม่อธิบายอีกแล้ว อธิบายไปก็ไม่มีที่สิ้นสุด
สรุปหัวข้อแล้วรวมลงที่กายกับใจเท่านี้ เอ้าเพ่งดู อธิบายดีชั่วทั้งภายในภายนอกให้รู้แล้วต่อไปนี้ โอปนยิโก จริงหรือไม่จริง ให้พากันเพ่งดูว่ามันข้องตรงไหน มันคาตรงไหน ไม่ดีตรงไหนให้พากันเพ่งดูอยู่ตรงนั้น อย่าส่งไปข้างหน้ามาข้างหลัง ข้างซ้ายข้างขวา ข้าวบนข้างล่าง ให้ตั้งเฉพาะตรงที่รู้อยู่นั้น มันเป็นยังไง แล้วค่อยแก้ไขตรงนั้น คอยชำระตรงนั้น เล็งดู ไม่ใช่ดูอื่น ดูจิตของเรา ดูภพของเรา ดูที่พึ่งของเรา ไม่ใช่ดูอื่นไกล ให้ดูให้รู้จัก ที่พึ่งดีหรือไม่ดีต้องรู้จักตรงนี้ สันทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติเองรู้เองเห็นเอง ถ้าเราไม่รู้คนอื่นบอกก็ไม่รู้ นี่ข้อปฏิบัติเป็นอย่างนี้ ต่อนี้ไปได้ยินเสียงอะไรก็ตาม ให้สัญญาไว้ว่าสิ่งนั้นไม่มีอันตรายแล้ว เราไม่ต้องเดือดร้อนทำจิตของเรา และก็จะไม่อธิบายต่อไป จะสงบ เอ้าต่างคนต่างสงบ วางให้สบาย เราอยากได้ความสุขความสบาย จะได้เป็นบุญวาสนาของเรา จะได้เป็นนิสัยของเรา มันก็พ้นทุกข์

เราทั้งหลายอยากพ้นทุกข์ ก็ดูเอาซิ มันพ้นทุกข์ คือจิตเราไม่ทุกข์ เมื่อจิตเราไม่ทุกข์ มันก็พ้นทุกข์นี่แหละเราทำบุญทำกุศล เรียกว่า ปฏิบัติบูชา บูชาอย่างเลิศอย่างประเสริฐแท้ เข้าถึงธรรมถึงวินัย เข้าถึงพุทธศาสนา ถึงชั้นศาสนา เมื่อทำอย่างนี้แล้วจะไม่ถึงอย่างไรเล่า บอกแล้วในเบื้องต้นท่านบัญญัติลงที่นี้เรื่องกายกับใจเท่านี้ เอ้าเพ่งดู

(นั่งสมาธิ)

พวกเราได้ทำกุศลสองสามวันมานี้แล้ว เป็นอย่างไร จิตของพวกเรา ทำมาจนถึงระยะนี้ ต่อไปให้พากันรู้จัก ความสงบของประเทสชาติและความสุขความเจริญของพวกเราในปัจจุบันและเบื้องหน้าและที่อยู่ของเราในปัจจุบันและเบื้องหน้าให้พากันนั่งดู เมื่อนั่งดูแล้วเป็นอย่างไรเล่า ที่พึ่งของเราที่อยู่ของเราให้รู้จักไว้ ถ้าจิตของเราสงบ คือตามที่อธิบายให้ฟังแล้ว มีความสุขความสบายเย็นอกเย็นใจไม่ทุกข์ไม่ร้อนไม่วุ่นไม่วาย

พุทโธ นี่เป็นสรณะที่พึ่งของเรา พุทโธ เป็นผู้เบิกบานสว่างไสวแล้ว นำความสุขความเจริญมาให้แก่ประเทศชาติ
สมเด็จญาณฯ ท่านก็ต้องการให้ประเทศชาติเจริญ มนุษย์ทั้งหลายเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งนั้น ต้องการความสุขความเจริญและความพ้นทุกข์ ชักชวนพวกเราให้เป็นบุญเป็นกุศลบุญคือความสุข บุญคือความสบาย นี่เราท่านทั้งหลายมานี้ ก็ต้องการความสุขสบาย มิใช่อื่นไกลนั่งดูแล้วมันสุขไหมมันสบายไหม นี่แหละให้พึงรู้พึงเข้าใจ เมื่อจิตของเรามีความสุขความสบายแล้วการงานของเราทุกสิ่งทุกอย่างมันก็สบายไปหมด ตลอดจนประเทศชาติ เทพบุตร เทวดา พระอินทร์ พระพรหม ดินฟ้าอากาศ ก็ต้องรักษามนุษย์ทั้งหลาย “ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ” สัตว์อาศัยธรรมธรรมอาศัยสัตว์ ถ้าสัตว์ปฏิบัติธรรมดี ท่านก็นำความดีให้แก่พวกเรา มิใช่อื่นไกล ใครจะเอาอะไรแต่งตัวท่านทั้งหมดของพวกเรานี้ ตา หู จมูก เหล่านี้ ใครแต่งได้ แต่งไม่ได้ แล้วแต่พระธรรมท่านแต่งให้ เรื่องเป็นอย่างนั้น

ถ้าปฏิบัติดีประพฤติดีเราทำดี ท่านก็นำคุณงามความดีมาให้ นำความสุขความเจริญมาให้ ถ้าเราปฏิบัติไม่ดีทำไม่ดี ท่านก็นำความไม่ดีมาให้แก่เรา ในปัจจุบันและเบื้องหน้า

นี่แหละบุญวาสนาที่เราได้ทำอย่างนี้เรียกว่า ปฏิบัติบูชา บูชาอย่างเลิศอย่างประเสริฐแท้พระพุทธเจ้าทำบุญกุศลให้ทานมานับอสงไขย ท่านก็ไม่ได้สำเร็จมรรคผล ต่อเมื่อท่านนั่งสมาธิเหมือนกับเรานั่งนี่แหละ ท่านจึงได้สำเร็จมรรคผล เพราะฉะนั้น ท่านจึงวอนไว้ให้พากันหมั่นนั่งทุกวัน ให้เข้าวัดทุกวัน ประพฤติดีทุกวัน มันขัดข้องตรงไหนมันไม่ดีตรงไหน เราต้องแก้ไขตรงนั้น นี่แหละให้พากันพึงรู้พึงเข้าใจ บางคนว่าใจเราไม่อยู่ มันไปอยู่ที่ไหนเล่า แท้ที่จริงใจเราอยู่มาตั้งแต่เกิด ที่ว่าใจเราไม่อยู่นั้น ก็คือความหลงจากอวิชชา เราต้องนั่งดูใจที่มันไม่อยู่นี่แหละว่า มันไปก่อภพไหนเล่า ภวาภเว สมฺภวนฺติ มันเที่ยวก่อภพน้อยๆใหญ่ๆ อยู่นั่น เราต้องนั่งดูมันว่าภพนั้นๆ เป็นกุศลหรืออกุศล เราจะรู้ได้อย่างไร กุศลได้อธิบายมาแล้ว กุศล ก็คือความสุขสบายอกสบายใจ

เราจะไปในภพใดชาติใดก็ตาม ในปัจจุบันก็ตาม เราทำมาทุกวัน ทำการงานทุกชิ้นทุกอย่างอันใดก็ตาม เราต้องการความสุขความสบาย จะได้เป็นนิสัยเป็นวาสนาบารมีของเรา เราต้องตั้งสัจจอธิษฐาน ให้เห็นจริงแจ้งประจักษ์ เชื่อตัวของเรา อันนี้ภพที่ไม่ดี ใจเราไม่ดี ทุกข์ยากวุ่นวายเดือดร้อน นำไปสู่ทุคติในปัจจุบันและเบื้องหน้า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว พวกท่านทั้งหลายได้สดับแล้วในโอวาทานุสาสนี อันเป็นธรรมคำสั่งสอนนี้ ที่นำมาเตือนใจโดยย่นย่อพอเป็นข้อปฏิบัติประดับสติปัญญาบารมีของท่านทั้งหลาย

เมื่อท่านทั้งหลายได้ยินได้ฟังแล้ว โยนิโสมนสิการ พากันกำหนดจดจำไว้แล้ว นำไปประพฤติปฏิบัติฝึกหัดตนของตนไปในธรรมคำสั่งสอน สรุปหัวข้อใจความแล้ว คือ กายกับใจนี้เป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธศาสนา เป็นที่ตั้งแห่งมรรคและผล

เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว พากันอุตสาหพยายามกระทำให้เกิดให้มีให้เป็นขึ้นในตัวของเรา ผลที่สุด อัปปมาทธรรม คือความไม่ประมาท ก็จะเกิดขึ้น เมื่อเราท่านทั้งหลายไม่มีความประมาทแล้ว แต่นี้ต่อไปท่านทั้งหลายจะได้ประสบพบแต่ความสุขความเจริญ ดังได้แสดงมา เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้

http://www.dhammasavana.or.th/article.php?a=207

. . . . . . .