หลักธรรมคำสอน ท่านพุทธทาสภิกขุ

หลักธรรมคำสอน ท่านพุทธทาสภิกขุ

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ) วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลารามเพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ผลงานของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีปรากฏอยู่มากมายทั้งในรูปพระธรรมเทศนา และในงานเขียน โดยท่านตั้งใจทำการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ในฐานะที่เป็นพุทธะศาสนาอย่างแท้จริง นั่นคือเป็นศาสนาแห่งความรู้ ไม่เจือปนไปด้วยความหลงผิดที่เข้าแทรกจนกลายเป็นเนื้อร้ายที่คอยกัดกิน ได้แก่เรื่อง พุทธพาณิชย์, ไสยศาสตร์ และเรื่องความหลงใหลในลาภยศของพระสงฆ์ ฯลฯ อีกทั้งคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้ถูกถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ โดยที่ยังคงเนื้อหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งคำสอนของท่านยังรวมไปถึงเรื่องทั่วๆ ไปด้วย เช่น การทำงาน, การเรียน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตประจำวันปสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ โดยที่ยังคงเนื้อหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งคำสอนของท่านยังรวมไปถึงเรื่องทั่วๆ ไปด้วย เช่น การทำงาน, การเรียน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตประจำวัน

วันนี้เอาคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุมาให้อ่านกันค่ะ

โลกกลมๆ ใบนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ
ของฟรีไม่เคยมี ของดีไม่เคยถูก

อยู่ให้ไว้ใจ ไปให้คิดถึง
คนเราต้องเดินหน้า เวลายังเดินหน้าเลย
ไม่ต้องสนใจว่าแมวจะสีขาวหรือดำ ขอให้จับหนูได้ก็พอ
ยิ่งมีใจศรัทธา ยิ่งต้องมีสายตาที่เยือกเย็น
อ่านเพิ่มเติม

108 คำคม พุทธทาส อินฺทปญฺโญ

108 คำคม พุทธทาส อินฺทปญฺโญ

108 คำคม พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) หรือ พระพุทธทาสภิกขุ เป็นชาว สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ พออายุได้ 20 ปี ท่านก็ได้บวชเรียนที่วัดบ้านเกิด วัดอุบล หลังจากนั้นก็ได้เข้าไปศึกษาพระธรรมที่กรุงเทพ จนได้เปรียญธรรม 3 ประโยค จากนั้นก็ได้กลัับมาปฏิบัติธรรมที่บ้านเกิดอีกครั้ง พร้อมทั้งปวารณาตัวท่านเองว่า พุทธวาส ผู้ถวายชีวิตรับใช้พระพุทธศาสนา หลังจากนั้นก็มีผลงาน ทั้งงานนิพนธ์ งานเขียนมากมาย ผลงานที่โดนเด่นและทำให้ท่านเป็นที่รู้จักคือ นิพนธ์ชุด ”ธรรมโฆษณ์”

ค่ามีที่ตรงไหน
ค่ากระดาษ แผ่นหนึ่ง ไม่ถึงสตางค์
พอวาดวาง ด้วยอักษร ประเสริฐศรี
มีเนื้อหา แห่งพระธรรม คำดี ๆ
มันกลับมี ค่าอนันต์ เหลือพรรณนา
เพียงกระดาษ ลายเซ็น เป็นที่ระลึก
คนโง่ยึก แย่งกัน ซื้อสรรหา
ส่วนผู้ฉลาด มาตร์ใหญ่ ใฝ่ธรรมา
แผ่นกระดาษ สูงค่า มาเพราะธรรม
แม้กระดาษ ห่อของ ตรองดูเถิด
ค่ามันเกิด เพราะอะไร ไยมิขำ
แม้กายเน่า ที่คู่เคล้า เฝ้าลูบคลำ
เมื่อมีธรรม ก็หมดเน่า ไม่เศร้าเอย
พุทธทาสภิกขุ
————————————————————————- อ่านเพิ่มเติม

รวม 309 หัวข้อธรรมคำสอนของท่านพุทธทาส

รวม 309 หัวข้อธรรมคำสอนของท่านพุทธทาส

ที่ลิงค์นี้: http://www.tamdee.net/main/read.php?tid-1506.html

ได้ รวมธรรมคำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ รวม 309 หัวข้อ

ขอเชิญชวนทุกท่านศึกษาครับ

1. พระพุทธเป็นพ่อ พระธรรมเป็นแม่ พระสงฆ์เป็นพี่
2. พุทธะเป็นใครก็ได้ ถ้าเป็นผู้รู้ – ตื่น – เบิกบาน
3. นิพพานในทุกความหมาย ไม่เกี่ยวกับความตาย
4. นิพพานเป็นของได้เปล่า เมื่อสลัดตัวกูออกไปเสีย
5. นิพพานในความหมายของชาวบ้าน (นิพฺพุโต) ก็มีอยู่
6. นิพพานในปัจจุบัน (เมื่อจิตว่าง) เรียกสามายิกนิพพาน เป็นสิ่งควรสนใจ
7. นิพพานหาพบได้ที่วัฏฏสงสาร
8. นิพพานคือ “ตัวกู” ตายเสียก่อนแต่ร่างกายตาย
9. ทำงานและมีชีวิตอยู่ด้วยจิตว่างจากตัวกู
10. ทุกเรื่องและทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับจิตสิ่งเดียว อ่านเพิ่มเติม

๑๐๐ คำคม วาทะธรรม อาจารย์พุทธทาส ภิกขุ

๑๐๐ คำคม วาทะธรรม อาจารย์พุทธทาส ภิกขุ

1. ปณิธาน 3 ประการของท่านพุทธทาส
1. การเข้าถึงหัวใจของศาสนาของตนๆ
2. การทำความเข้าใจระหว่างศาสนา
3. ออกมาเสียจากอำนาจวัตถุนิยม

2. คติพจน์ของสวนโมกข์ 1
• กินข้าวจานแมว (กินง่าย)
• อาบน้ำในคู (ใช้สอยคุ้มค่า)
• นอนกุฏิเล้าหมู (นอนง่าย)
• ฟังยุงร้องเพลง (จิตสงบเย็น)
• อยู่เหมือนตายแล้ว (ตายจากความยึดมั่นถือมั่น)

3. คติพจน์ของสวนโมกข์ 2
• กินข้าวจานแมว (กินง่าย)
• อาบน้ำในคู (ใช้สอยคุ้มค่า)
• เป็นอยู่อย่างทาส (อยู่ง่าย)
• มุ่งมาดความวาง (แบกหนักวางเบา)
• ทำอย่างตายแล้ว (ให้ตัวกูตายกิเลสตาย)
• กุมแก้วในมือ(อริยทรัพย์อันล้ำค่า)
• คือดวงจิตว่าง (นิพพาน)
• คืนหมดทุกอย่าง(คืนสู่ธรรมชาติ)
• แจกของส่องตะเกียง(พระโพธิสัตว์)
อ่านเพิ่มเติม

ความสุข: ท่านพุทธทาสภิกขุ

ความสุข: ท่านพุทธทาสภิกขุ

สุขสำราญคู่กับ ทุกข์ทรมาน
ความสุขสำราญที่ไม่มีธรรมะเป็นรากฐาน ก็คือความทุกข์ทรมานที่กำลังรอเวลาอยู่ !
สุขสงบ – สุขสนุก
สุขแท้ เกิดจากความสงบเท่านั้น ส่วนที่เกิดจากความวุ่นวายนั้น เป็นเพียงความสนุก หาใช่ความสุขไม่ !
สุขแท้ – สุขเทียม
ความสุขที่แท้จริง เป็นสิ่งที่ต้องได้มาเปล่าๆ โดยไม่ต้องเสียสตางค์ เหมือนดั่งที่ตรัสว่า ถอนความรู้สึกว่าตัวตนเสียได้แล้ว ก็ได้นิพพานมาเปล่าๆ ไม่ต้องเสียมูลค่าอะไร
ส่วนความสุขเทียม หรือความเพลิดเพลินที่หลอกลวงนั้น ใช้เงินื้อมาเท่าไรก็ไม่รู้จักพอ จนตัวตาย ก็ไม่พบกับความสุขที่แท้จริง!
ความสุขอันประเสริฐ
อย่ามุ่งหมาย ความสุขอันประเสริฐอะไรๆ ให้มากไปกว่าความปกติของจิต ที่ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขึ้นไม่ลงไปตามออารมณ์ที่กระทบเพราะไม่มีสุขอะไรประเสริฐยิ่งไปกว่าความปกติของจิตนั้น

http://www.dharma.in.th/

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ
๑. กำเนิดแห่งชีวิต
ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช
เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้า
ที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคน
เป็นชายชื่อยี่เก้ย และเป็นหญิงชื่อกิมซ้อย
บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลักคือ
การค้าขายของชำ เฉกเช่น ที่ชาวจีนนิยมทำกันทั่วไป
แต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดา กลับเป็นเรื่องของ
ความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้
ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดา
อ่านเพิ่มเติม

“ยูเนสโก”ยกย่อง”ท่านพุทธทาส” 1ใน63บุคคลสำคัญของโลก

“ยูเนสโก”ยกย่อง”ท่านพุทธทาส” 1ใน63บุคคลสำคัญของโลก

(หมายเหตุ) – การประชุมสมัยสามัญองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา พิจารณาการยกย่องเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญ หรือผู้มีผลงานดีเด่นและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประจำปี 2549-2550 รวม 63 คน/สถาบัน รวมถึงท่านพุทธทาสภิกขุ

บุคคลและสถาบันที่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโก เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบปีต่างๆ ระหว่างปี 2549-2550 จำนวน 63 ท่าน/สถาบัน

1.ไฮน์ริช ไฮน์ (เยอรมนี) เนื่องในวาระครบรอบ 150 ปี ของการถึงแก่อสัญกรรม
2.ดีทริช บอนฮอฟเฟอร์ (เยอรมนี) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
3.แบร์โธลต์ เบรชต์ (เยอรมนี) เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของการถึงแก่อสัญกรรม
4.ยีน คาร์ซู (การ์นิก ซูลูเมียน) (อาร์เมเนีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
5.โนราอีร์ ซีซาเกียน (อาร์เมเนีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
6.โวฟ์ลกัง อมาเดอุส โมซาร์ต (ออสเตรีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 250
7.ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (ออสเตรีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 150
8.เบอร์ธา ฟอน ซุตต์เนอร์ (ออสเตรเลีย) เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ของการรับรางวัลโนเบล อ่านเพิ่มเติม

งานศพของท่านพุทธทาส อินทปัญโญก็ยังแฝงไว้ด้วยการสอนธรรมของตัวท่านใน พินัยกรรม

งานศพของท่านพุทธทาส อินทปัญโญก็ยังแฝงไว้ด้วยการสอนธรรมของตัวท่านใน พินัยกรรม

ด.ต.ปิยะวัฒน์…(ดาบต้น):
งานศพท่านพุทธทาส ยึดแนวทางปฏิบิติ “เป็นอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง”

แม้แต่งานศพของท่านพุทธทาส อินทปัญโญก็ยังแฝงไว้ด้วยการสอนธรรมของตัวท่านใน พินัยกรรม ของท่านที่ทำไว้ก่อนมรณภาพ ท่านเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ให้เผาศพท่านในสามเดือนโดยจัดการอย่างง่ายที่สุด ไม่จัดงานพิธี โดยให้เผาศพในบริเวณเขาพุทธทอง โดยปักเสาสี่มุมและคาดผ้าขาวเป็นเพดานเท่านั้น นี่เป็นเจตนาของท่านที่ต้องการให้งานศพของท่านเป็นแบบอย่างเหมือนสมัยพุทธกาล โดยมุ่งหวังให้สงฆ์รุ่นหลังยึดถือปฏิบัติต่อไปในภายหน้า

งานศพแบบสวนโมกข์ได้ปรากฏขึ้นแก่สายตาของพระ และฆราวาสจำนวนมากที่มาร่วมงานตามจุดประสงค์ของอินทปัญโญทุกประการ นี่เป็นการจัดการ ศพโดยวิธีเผากลางแจ้ง โดยตั้งโลงศพบนกองฟืน แล้วจุดไฟเผาต่อหน้าสายตาของผู้มาร่วมรับการสอนธรรมอย่างไม่มีสิ่งปิดบัง

ในประเทศนี้มีชาวพุทธจำนวนนับไม่ถ้วนที่ได้พยายามด้วยวิธีการต่างๆ ตาม “ความจริง” และ “ความเชื่อ” ของตน เพื่อที่จะเข้าใกล้พระพุทธเจ้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่จะมีใครสักกี่คนกันที่สามารถเป็นผู้อยู่ใกล้พระพุทธองค์อย่างที่สุด เหมือนอย่างท่านผู้ที่กำลังถูกเผาไหม้อยู่เบื้องหน้านี้
/\ /\ /\
อ่านเพิ่มเติม

พินัยกรรม”กลับคืนสู่ธรรมชาติของท่านพุทธทาส”

พินัยกรรม”กลับคืนสู่ธรรมชาติของท่านพุทธทาส”ตามความเข้าใจของผู้เขียน

เนื่องในโอกาส 106 ปี ชาตกาลพุทธทาสภิกขุ และ ผู้เขียนตั้งใจไว้มาตั้งแต่เริ่มทำ เวป เมืองคอน.com ว่าจะย้อนรอยเกี่ยวกับพินัยกรรมของท่านพุทธทาส เมื่อท่านกลับคืนสู่ธรรมชาติ ตามความเข้าใจ ถ้าหากว่าไม่ถูกต้องตรงประเด็น ไม่ตรงจุดมุ่งหมายของท่านพุทธทาส ขอให้ท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะ เพื่อความถูกต้อง ผู้เขียนขอขอบคุณครับ
ตามคำสอน บทความ บทกลอน พระนิพนธ์ รวมทั้งปริศนาธรรมภาพต่างๆ ของท่านพุทธทาสแต่ละ คำสอน บทความ บทกลอน พระนิพนธ์และปริศนาธรรมภาพต่างๆ ปุถุชนเช่นผู้เขียน อาจเข้าใจไม่ลึกซึ่ง-ไม่เห็นแจ้ง ถึงแก่นจริงๆ แต่ก็พยายามที่จะตามรอยแม้นจะห่างไกลและใช้เวลาตลอดไป(ถึงแม้นว่าพระท่านที่เคารพเคยบอกว่าผู้เขียนเป็นได้แค่คนปลูกต้นไผ่และรอฟังเสียงขลุ่ยจากผู้อื่นที่นำต้นไผ่ไปทำขลุย)
ถ้าถามว่า www.gotonakhon.com จุดประสงค์เดิมจะเขียนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเมืองคอนเป็นหลัก ผู้เขียนได้ศึกษาประวัติของท่านพุทธทาสและปรากฎว่า เดิมเครือญาติของท่านพุทธทาส รุ่นปู่ย่า ตาทวด สมัย รัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 3 ครอบครัวท่านย้ายมาจากอำเภอปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช(จากหนังสือ “ธรรมสำหรับแก้ปัญหาเมืองนคร ธรรมะคือหน้าที่ “และสารนครศรีธรรมราช)และได้โยกย้ายไปอยู่ที่อำเภอไชยาและได้บวชในพระพุทธศาสนาที่อำเภอไชยา ดังที่ทราบแล้วครับ “ชาวเมืองคอน”ก็เท่ากับเป็นญาติของท่านพุทธทาสโดยปริยายและเวป”เมืองคอน.com”ก็สามารถที่จะเขียนเรื่องที่เกี่ยวกับท่านได้ทุกกรณีในฐานะ”ชาวเมืองคอน” อ่านเพิ่มเติม

ปณิธานของท่านพุทธทาสภิกขุ

ปณิธานของท่านพุทธทาสภิกขุ

ท่านพุทธทาสภิกขุได้ตั้งปณิธานไว้ 3 ประการคือ
ประการที่ 1 ให้ทุกคนที่นับถือศาสนาของตนได้เข้าถึงธรรมะของศาสนาที่ตนนับถือ
ประการที่ 2 ต้องการทำความเข้าใจระหว่างศาสนา เพื่อไม่ให้เกิดการแตกแยกแตกร้าว
ประการที่ 3 มีความต้องการที่จะพรากจิตของชาวโลกให้ห่างจากวัตถุนิยม

สวนโมกขพลาราม

ท่านเป็นผู้ก่อตั้งสวนโมกขพลาราม แปลว่า สวนเป็นกำลังแห่งความหลุดพ้น เป็นสวนที่ตั้งขึ้นเพื่อการศึกษาค้นคว้าธรรมะ เพื่อปฏิบัติธรรมะให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นต่อไป สวนโมกขพลารามไม่ใช่มีเพียงชาวพุทธที่เป็นคนไทยเท่านั้นที่ไปปฏิบัติธรรม ยังมีชาวต่างประเทศมากมากเข้ามาศึกษาธรรมะกับท่านด้วย ท่านปัญญานันทะเล่าประวัติของท่านไว้ตอนหนึ่งเกี่ยวกับสวนโมกขพลารามว่า “เวลานี้ฝรั่งมาอยู่ที่สวนโมกข์มากมาย บางเดือนถึง 100 ทุกเดือนนี่ท่านต้องพูดกับฝรั่ง 10 วันตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 10 ทุกวันเวลาบ่าย” สวนโมกขพลารามของท่านจึงเป็น “สวนโมกข์นานาชาติ”
อ่านเพิ่มเติม

อารมณ์ขันของท่านพุทธทาส

อารมณ์ขันของท่านพุทธทาส

โดยสันติเทพ ศิลปบรรเลง

พระธรรมโกศาจารย์ หรือในนาม “พุทธทาสภิกขุ” ท่านเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ในวงการพระพุทธศาสนา ผลงานเขียนและการแสดงธรรมของท่านมีมากมายมหาศาล แต่ละเรื่องก็ล้วนแต่เป็นหลักธรรมขั้นสูงที่เรียกว่า “ปรมัตถ์” แทบทั้งสิ้น ท่านเป็นพระภิกษุผู้ประเสริฐเลิศด้วยปัญญาและเมตตา อีกทั้งปฏิปทาการประพฤติปฏิบัติก็เป็นแบบอย่างที่ดีของพระภิกษุที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหรือ “สุปฏิปันโน” อันหาที่ติไม่ได้ บุคลิกภาพ จรรยามารยาทอันงดงาม น้ำเสียงอันอ่อนโยนนุ่มนวลยังคงประทับใจผู้พบเห็นมิรู้วาย ส่วนผลงานของท่านที่พิมพ์ออกมาเป็นเล่มให้เราได้อ่านกันก็เหมือนกับได้ฟังธรรมอันทรงคุณค่าและเป็นอมตะประดับไว้ในบรรณพิภพ แม้ว่าไปไหน เหมือนกับคำกลอนที่ท่านเขียนไว้ให้เป็นปริศนาข้อคิดว่า………
“พุทธทาสจักอยู่ไปไม่มีตาย….”
ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงประวัติของท่านแต่จะกล่าวถึงอารมณ์ขันของท่านพุทธทาสที่แฝงไว้ในบทธรรมคำกลอนบางเรื่อง เพื่อให้เห็นว่าถึงแม้ท่านจะเป็นปราชญ์ระดับอัจฉริยะก็ตาม ท่านก็ยังมีอารมณ์ขันเหมือนกัน แต่ไม่ใช่อารมณ์ขันครื้นเครงตลกคะนองแบบคนทั่วไป กลับเป็นอารมณ์ขันอันแฝงเร้นไว้ซึ่งธรรมะในชั้นลึกเลยทีเดียว
เช่น หัวข้อธรรมคำกลอน เรื่อง “ความสุข” ท่านประพันธ์ไว้ดังนี้
ความเอ๋ย ความสุข ใคร ๆ ทุก คน,ชอบเจ้า เฝ้าวิ่งหา
“แกก็สุข ฉันก็สุข ทุกเวลา แต่ดูหน้า ตาแห้ง ยังแคลงใน” อ่านเพิ่มเติม

มรดกของท่านพุทธทาสภิกขุ

มรดกของท่านพุทธทาสภิกขุ

มรดกของท่านพุทธทาสภิกขุ
พระไพศาล วิสาโล
พฤษภาคม ๒๕๔๙

ด้วยวุฒิการศึกษาเพียงชั้น ม.๓ นักธรรมเอก และเปรียญธรรม ๓ ประโยค พระมหาเงื่อม อินทปัญโญ ภิกษุหนุ่มวัย ๒๖ ปี ได้ริเริ่มทำสิ่งซึ่งต่อมาได้กลายเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของพุทธศาสนาในประเทศไทย ในทางรูปธรรมสิ่งนั้นได้แก่สวนโมกขพลาราม ในทางนามธรรมสิ่งนั้นคือพุทธศาสนาอย่างใหม่ที่สมสมัย แต่มีพื้นฐานมาจากการปฏิบัติอย่างสมัยพุทธกาล

พระมหาเงื่อม อินทปัญโญ หรือที่โลกรู้จักในนามพุทธทาสภิกขุ เป็นบุคคลสำคัญที่สุดผู้หนึ่งซึ่งได้นำพุทธศาสนาไทยออกมาสัมพันธ์เชื่อมโยงกับโลกสมัยใหม่ได้อย่างมีพลัง และสามารถนำปัญญาชนที่ได้รับการศึกษาอย่างใหม่กลับไปหารากเหง้าทางภูมิปัญญาอันมีพระบรมศาสดาเป็นแรงบันดาลใจ แม้ท่านจะมีการศึกษาตามระบบไม่มากนัก แต่ก็รู้ลึกในศาสตร์สมัยใหม่ไม่ว่าวิทยาศาสตร์หรือปรัชญา จนไม่เพียงเห็นจุดอ่อนของศาสตร์เหล่านั้น หากยังสามารถนำศาสตร์เหล่านั้นมาใช้อธิบายพุทธศาสนาได้อย่างจับใจปัญญาชน ในอีกด้านหนึ่งแม้ท่านมิใช่เปรียญเอก (แถมยังสอบตกประโยค ๔ ด้วยซ้ำ) แต่ก็เชี่ยวชาญเจนจัดในพระไตรปิฎก และรู้ซึ้งถึงคัมภีร์อรรถกถา จนสามารถเข้าถึงแก่นพุทธศาสน์ และนำมาอธิบายให้คนร่วมสมัยได้อย่างถึงใจชนิดที่กระเทือนไปถึง “ตัวกู ของกู” อีกทั้งยังสามารถวิพากษ์สังคมร่วมสมัยและเสริมเติมศาสตร์สมัยใหม่ให้มีความลุ่มลึกมากขึ้น
อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาสภิกขุ มรณภาพ

ท่านพุทธทาสภิกขุ มรณภาพ

08 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 : ท่านพุทธทาสภิกขุ มรณภาพ

8 กรกฎาคม 2536 ท่านพุทธทาสภิกขุ (2449-2536) มรณภาพอย่างสงบที่สวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหล อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี

พระธรรมโกษาจารย์ (พุทธทาส ภิกขุ) เดิมชื่อเงื่อม เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรคนแรกของนายเซี้ยงและนางเคลื่อน พานิช มีน้องชายชื่อนายยี่เกย (นายธรรมทาส พานิช) และน้องสาวชื่อนางกิมช้อย เหมะกุล ครอบครัวมีอาชีพค้าขาย บิดาเป็นคนจีน ส่วนนามสกุล “พานิช” นั้นเป็นนามสกุลที่ นายอำเภอตั้งให้ มรณะภาพเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536

เมื่ออายุได้ 8 ปี ท่านได้เรียนหนังสือโดยหัดอ่านจากทางบ้าน ครั้นอายุได้ 9 ปี จึงเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียน โพธิพิทยากร วัดโพธาราม จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนแห่งนี้ แล้วไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนมัธยม ประจำอำเภอไชยา จนจบการศึกษาชั้นต้นในปี พ.ศ.2463 แล้วลาออกมาช่วยบิดาค้าขายและศึกษาด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลาเมื่อบิดา ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2465 ได้เลิกค้าขายที่ไชยาแล้วกลับมาค้าขายที่พุมเรียงตามเดิมโดยทำหน้าที่เป็นผู้จัดการร้านจนกระทั่งอายุได้ 20 ปี บริบูรณ์จึงได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2463 โดยมีพระครูโสภณเจตสิดาราม (คง วิมาโล) เจ้าอาวาสวัดโพธาราม และรองเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า “อินทปัญโญ” จำพรรษาอยู่ที่วัดใหม่
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนท่านพุทธทาสภิกขุ

คำสอนท่านพุทธทาสภิกขุ

รวมคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ

เรือของธรรมลอยลำสบายมา…ท่ามกลางห่าฝนไฟได้เยือกเย็น

ความเอ๋ย ความสุข
ใคร ๆ ทุก คนชอบเจ้า เฝ้าวิ่งหา
แกก็สุข ฉันก็สุข ทุกเวลา
แต่ดูหน้า ตาแห้ง ยังแคลงใจ

ถ้าเราเผา ตัวตัณหา ก็น่าจะสุข
ถ้ามันเผา เราก็ “สุก” หรือเกรียมได้
เขาว่าสุข สุขเน้อ! อย่าเห่อไป
มันสุขเย็น หรือสุกไหม้ ให้แน่เอย

*****************

อยู่ให้ไว้ใจ ไปให้คิดถึง

คนเราต้องเดินหน้า เวลายังเดินหน้าเลย

ไม่ต้องสนใจว่าแมวจะสีขาวหรือดำ
ขอให้จับหนูได้ก็พอ
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระสังฆราช กับ ท่านพุทธทาสภิกขุ

สมเด็จพระสังฆราช กับ ท่านพุทธทาสภิกขุ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
และพระธรรมโกศาจารย์ (ท่านพุทธทาสภิกขุ) สวนโมกขพลาราม

—————————————

คำถาม : เมื่อคราวที่พระอาจารย์พุทธทาสอาพาธหนักนั้น
ฝ่าพระบาทได้เคยไปเยี่ยมท่านอาจารย์พุทธทาสที่ได้ขอละสังขาร
โดยท่านอาจารย์ให้เหตุผลว่า อายุเกินพระพุทธเจ้ามาแล้ว แต่ฝ่าพระบาทได้ขอไว้
หลังจากนั้นอาการของท่านพุทธทาสก็ฟื้นขึ้นมา และมีชีวิตอยู่ต่อมาอีกหลายปี
ขอกราบทูลฝ่าพระบาทเล่าเหตุการณ์ในครั้งนั้น
อ่านเพิ่มเติม

อานาปานสติภาวนา ฉบับสมบูรณ์ โดย พุทธทาสภิกขุ

อานาปานสติภาวนา ฉบับสมบูรณ์

โดย พุทธทาสภิกขุ

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ

พระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ – ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙ เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด ตลอดเวลาที่ดำรงสมณเพศ ท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจศึกษาพระปริยัติอย่างแน่วแน่ พร้อมตั้งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และวัตรเหล่านี้เองที่ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกิจทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระอย่างยากยิ่งที่จะหาพระภิกษุรูปใดเสมอเหมือน
อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสภิกขุ

พุทธทาสภิกขุ

ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นพระภิกษุสงฆ์ชาวไทยผู้มอบคำสอนทางพุทธศาสนาไว้มากมาย โดยคำสอนจำนวนมากเป็นธรรมะระดับโลกุตระ อันมีนิโรธเป็นรส และมีนิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นธรรมะขั้นสูง และไม่เหมาะกับฆราวาสผู้ยังเวียนว่ายอยู่ในวังวนแห่งโลกียะ แต่ท่านพุทธทาสภิกขุตระหนักว่าธรรมะเหล่านี้คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา และพุทธมามกะไม่ว่าจะระดับชั้นใดก็ควรจะได้รับรู้ ได้รับปฏิบัติ และได้รับผลจากธรรมะเหล่านี้ ซึ่งถึงแม้จะเป็นธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้ง แต่ท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้ถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและเข้าใจ โดยยังคงเนื้อหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน คำสอนทั้งหลายของท่านพุทธทาสภิกขุ แท้จริงแล้วก็คือการสกัดพระสูตรให้ออกมาเป็นภาษาพูด และพระอภิธรรมให้ออกมาเป็นภาษาชาวบ้านนั่นเอง โดยข้อธรรมที่ท่านพุทธทาสภิกขุเน้นย้ำมากที่สุดคือเรื่องสุญญตา จนทำให้ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาหลายคนเรียกท่านว่า นักรบเพื่อความว่าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุยังรวมไปถึงเรื่องพื้นฐาน เช่น เรื่องการทำงาน และเรื่องการศึกษา ซึ่งคนทั่วไปสามารถนำธรรมะเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ทันที
นอกจากพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังมีใจเปิดกว้างทำการศึกษาคำสอนของต่างศาสนาและต่างนิกาย ด้วยความคิดว่าศาสนาทั้งหลายล้วนมุ่งหมายในสิ่งเดียวกัน ในสมัยที่ท่านพุทธทาสภิกขุจำพรรษาอยู่ที่สวนโมกขพลาราม นอกจากสาธุชนคนไทยผู้สนใจในธรรมะทั้งหลายจะแวะเวียนมาสนทนา และฟังเทศน์ฟังธรรมจากท่านพุทธทาสภิกขุอย่างไม่ขาดสายแล้ว ยังมีชาวต่างชาติผู้ต้องการเรียนรู้พระพุทธศาสนา นักศึกษาและอาจารย์ทางด้านศาสนศาสตร์จากต่างประเทศ รวมถึงประมุขของศาสนจักรต่างๆ แวะเวียนมาพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติความคิดเห็น รวมทั้งสนทนาธรรมกับท่านเป็นอันมาก ทำให้สวนโมกขพลารามเปรียบเสมือนตักศิลาสำหรับผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทำให้วงการพระพุทธศาสนากลับมาตื่นตัวอีกครั้ง
อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสภิกขุ อัจฉริยะผู้อยู่เหนือกาลเวลา

พุทธทาสภิกขุ อัจฉริยะผู้อยู่เหนือกาลเวลา

ประเทศไทยมีพระสงฆ์ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่หลายรูป ทั้งพระป่าและพระเมือง

แต่เมื่อพระหลายรูปนั้นมรณภาพไป คำสอน แนวทางปฏิบัติของหลายๆ ท่านจะห่างหายลางเลือนไปจากจิตใจของลูกศิษย์ลูกหาด้วย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ “หลวงปู่แหวน” 2 ปี หลังจากท่านละสังขาร วัดดอยแม่ปั๋ง ที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ แทบกลายเป็นวัดร้าง

แต่สำหรับ “ท่านพุทธทาส” แม้วันนี้ท่านจากไปเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่คำสอน แนวปฏิบัติของท่าน กิจกรรมที่สวนโมกข์ ยังคงอยู่เป็นปกติ ทั้งยังมีเผยแพร่ออกมาอย่างกว้างขวาง เหมือนกับวันที่ท่านยังมีชีวิตอยู่

ในวาระชาตกาล 100 ปี (พ.ศ.2449-2549) ของท่านพุทธทาส ศาสนปราชญ์ผู้อยู่เหนือกาลเวลา นิตยสาร “ศิลปวัฒนธรรม” ฉบับเดือนพฤษภาคมนี้ จึงนำเสนอแนวคิดของท่านพุทธทาส ผ่านมุมมองของ ส. ศิวรักษ์, พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) และ พระไพศาลวิสาโล

เส้นทางในบวรพุทธศาสนาของท่านพุทธทาส เริ่มจากการบวชเป็นเณรและพระที่วัดใกล้บ้าน แม้กระนั้น การบวชและเรียนของท่านก็เป็นไปอย่างจริงจังก่อนจะกลับไปลงหลักปักฐาน บุกเบิกพุทธภารกิจ ที่ไม่ยึดติดกับพิธีกรรม รูปเคารพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่มุ่งหาความจริงของศาสนา ซึ่ง ส. ศิวรักษ์ กล่าวถึงเจตนารมณ์ที่แน่วแน่นี้ว่า
อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสภิกขุ

พุทธทาสภิกขุ

บุตรนายเซี้ยง และนางเคลื่อน พานิช

เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๔๙ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ณ หมู่บ้านกลาง ตำบลพุมเรียง (ที่ตั้งเดิมของจังหวัดไชยา ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น “สุราษฎร์ธานี”)

๒๔๕๗ รับการศึกษาเบื้องต้นแบบโบราณด้วยการเป็น “เด็กวัด” ที่วัดพุมเรียงใกล้บ้าน
๒๔๖๐ กลับมาอยู่บ้าน เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดโพธารามจนถึงชั้นมัธยม
๒๔๖๔ ย้ายมาเรียนมัธยมปีที่ ๒ ที่โรงเรียนสารภีอุทิศ ตำบลตลาด อำเภอไชยา
๒๔๖๕ ออกจากการเรียนมาช่วยดำเนินการค้ากับมารดาเนื่องจากบิดาถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบัน
๒๔๖๙ บวชก่อนเข้าพรรษาเมื่อ ๒๙ กรกฎาคม ได้ฉายา “อินฺทปญฺโ”
๒๔๗๑ สอบได้นักธรรมเอก
๒๔๗๒ เป็นครูสอนนักธรรม ที่โรงเรียนนักธรรม วัดพระบรมธาตุไชยา (นายยี่เก้ย “ธรรมทาส” น้องชาย เปิดคณะธรรมทานขั้นต้น โดยเปิดหีบหนังสือธรรมะให้คนยืมอ่าน ที่ร้านไชยาพานิช)
๒๔๗๓ เรียนบาลีที่วัดปทุมคงคา กรุงเทพฯ เขียนบทความชิ้นแรกชื่อ “ประโยชน์แห่งทาน” พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระอุปัชฌาย์ ปลายปีสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค
๒๔๗๕ เดินทางกลับพุมเรียง เข้าอยู่วัดร้างตระพังจิก อันเป็นจุดเริ่มต้นสวนโมกขพลารามเมื่อ ๑๒ พฤษภาคม เดือนกรกฎาคมคณะธรรมทานตั้งขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ
๒๔๗๖ ออกหนังสือพิมพ์พุทธสาสนารายตรีมาส
๒๔๘๖ วางเงินซื้อที่บริเวณวัดธารน้ำไหล เมื่อ ๑๘ มีนาคม
๒๔๘๗ ย้ายมาจำพรรษาที่สวนโมกขพลารามแห่งใหม่ บริเวณธารน้ำไหล เขาพุทธทอง (สวนโมกข์ปัจจุบัน)
๒๕๓๖ มรณภาพ ๘ กรกฎาคม เวลา ๑๑.๒๐ นาฬิกา

http://www.buddhadasa.in.th/html/life-work/bio/bio_short.html

พุทธทาสภิกขุ

พุทธทาสภิกขุ

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ)
วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

“มนุษย์เราจะเป็นมนุษย์อยู่ได้ ก็เพราะกำลังประกอบอยู่ด้วย ธรรม มิฉะนั้นจะต้องสูญเสียความเป็นมนุษย์ หรือต้องตาย ในที่สุด โดยไม่ต้องสงสัย มนุษย์ที่ไม่ประกอบอยู่ด้วยธรรม ก็ต้องประกอบอยู่ด้วยอธรรม เป็นธรรมดา และจะต้องเป็น อมนุษย์ในร่างของมนุษย์ โลกนี้จะเป็นอย่างไร หากเป็นโลก ที่ประกอบอยู่ด้วยอมนุษย์ในร่างของมนุษย์ เต็มไปทั้งโลก ”

นามเดิม เงื่อม พานิช กำเนิด 27 พ.ค. 2449 สถานที่เกิด ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี อุปสมบท อุปสมบท ณ วัดอุบล อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อพ.ศ. 2469 โดยมีพระครูโสภณเจตสิการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ สมณศักดิ์ พระธรรมโกศาจารย์ มรณภาพ 8 ก.ค. 2536 อายุ 87 ปี 67 พรรษา

ท่านพุทธทาส อุปสมบทเมื่ออายุ 20 ปี ได้รับฉายาว่า “อินทปัญโญ” เมื่ออุปสมบทแล้วได้เดินทางมาศึกษาต่อ ที่วัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร สอบได้นักธรรมเอก และเรียนภาษาบาลีได้เปรียญ 3 ประโยค สร้างสำนักปฏิบัติธรรม ที่วัดตระพังจิก ต.พุมเรียง อ.ไชยา สุราษฎร์ธานี เมื่อ 12 พ.ค. 2475 ให้ชื่อว่า “สวนโมกขพลาราม” ซึ่งแปลว่า สวนป่าเป็น กำลังหลุดพ้นจากทุกข์ ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2487 ได้ย้ายสวนโมกขพลาราม จากทมายังสถานที่แห่งใหม่ คือ วัดธารน้ำไหล ในปัจจุบัน ท่านสร้างผลงานทางธรรมไว้มากมายทั้งที่เป็นหนังสือ และเทปบันทึกเสียง รวมทั้งได้ไปแสดงปาฐกถาธรรม ทางสถานีวิทยุ สถานที่ และหน่วยงานหลายแห่ง ท่านได้อุทิศตนเพื่องานพระศาสนา และทำงานช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เพื่อให้ได้พบสันติสุข โลกมีสันติภาพ ตามปณิธานที่ตั้งได้ 3 ประการ ได้แก่

1. พยายามทำให้ทุกคนเข้าถึงหัวใจแห่งศาสนาของตน
2. พยายามทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา
3. พยายามนำโลกออกมาเสียจากอำนาจของวัตถุนิยม

ผลจากการมุ่งมั่นศึกษา ฝึกฝนตนอย่างเข้มงวด และอุทิศชีวิตถวายแด่พระศาสนาของท่าน ทำให้ท่านได้รับการ นับถือยกย่อง จากพุทธศาสนิกชนทั้งในประเทศ และจากต่างประเทศ ผลงานของท่านได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ทั้งที่เป็นภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ กระทั่งได้รับการยอมรับจากชาวโลกว่าเป็น สมณปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้มีบทบาทอย่างสูง ต่อพุทธศาสนา

http://www.dhammathai.org/monk/sangha26.php

. . . . . . .