ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๑๐

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๑๐

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษาที่ ๓๙ พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้อุบายธรรมจากกัลยาณมิตร

จำพรรษา ณ ถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี

ออกพรรษา ปี ๒๕๐๕ ในเดือนตุลาคม ท่านก็ออกจากเขาสวนกวางขอนแก่น กลับไปบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำมโหฬารอีกครั้งหนึ่ง ด้วยรสชาติอันดูดดื่มแห่งการภาวนา ณ ที่นั้นยังเป็นที่ระลึกถึงอยู่

ท่านเดินทางแบกบาตร แบกกลดไปแต่เพียงองค์เดียว ท่านบันทึกไว้ในปลายปี ๒๕๐๕ ว่า

“มาอยู่ถ้ำมโหฬาร มาตั้งแต่เดือน ๑๑ ตุลาคม จนถึงเดือนอ้าย ๐๕ (ธันวา ๒๕๐๕…ผู้เขียน) อยู่ที่นี่สงัดดี วิเวกดีเหลือที่สุด เป็นสัปปายะทุกอย่าง อากาศดี เสนาสนะดี อาหารค่ำแต่บุคคลไม่ค่อยดี ภาวนาได้ทั้งกลางวันและกลางคืน”

ท่านหลบอยู่ในถ้ำ หลีกเร้นตัว เร่งทำความเพียรอย่างหนัก ไม่ติดต่อกับญาติโยม หรือสำนวนของท่านที่ว่า “อาตมาไม่ รับต้อน แขกรับต้อน คือ “ต้อนรับ” นั่นเอง

ทำให้ท่านได้รับความสงบกว่าทุกแห่ง ที่พอมีข่าวรั่วไปว่ามีพระธุดงค์หรือโดยเฉพาะ “หลวงปู่” ไปอยู่ใกล้ ๆ ก็จะมีผู้มารบกวน ขอโน่นขอนี่ ซึ่งคราวนี้ท่านบันทึกไว้ว่า

“ดี…บัตรเบอร์ไม่มีคนมารบกวน เพ่งไตรลักษณ์ดีนัก”

พักจากการนั่งภาวนาหรือเดินจงกรม หลวงปู่ก็ใช้การเปลี่ยนอิริยาบถด้วยการพิจารณาธรรมชาติบ้าง การอ่านพระไตรปิฎกบ้าง

ดังที่เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ว่าในการออกเดินธุดงค์ของท่านทุกครั้ง นอกจากบริขารจำเป็นสำหรับสมณะแล้ว ที่จะขาดไม่ได้สำหรับท่านก็คือ หนังสือ ๒ หรือ ๓ เล่ม ซึ่งท่านจะต้องนำติดองค์ไป ขนาดพอใส่ย่าม…จำนวนไม่มากเพื่อประหยัดน้ำหนักในการต้องสะพายขึ้นเขาลงห้วยไปด้วยกัน โดยมากจะเป็นหนังสือพระไตรปิฎกเล่มหนึ่ง อีกเล่มหนึ่งก็เป็นพวกบุพพสิกขาวรรณนา หรืออะไรทำนองนั้นและที่สำคัญที่สุด…เป็นสมุดเล่มเล็กที่ท่านจะบันทึกข้อธรรมะต่าง ๆ อันอาจจะเป็นหัวข้อธรรมที่ท่านเห็นว่าสำคัญหลังจากอ่านหนังสือใด ๆ มาแล้ว หรืออาจจะเป็นเรื่องที่ประหวัดคิดถึงเหตุการณ์ หรือธรรมะที่ท่านได้รับการอบรมมาจากบูรพาจารย์องค์ใดองค์หนึ่งของท่านแต่ก่อนเก่า… หรือเป็นธรรมะที่ผุดพรายขึ้นมาหลังการภาวนา…สิ่งเหล่านี้ท่านจะบันทึกลงไปโดยสิ้นเชิง

อยู่ถ้ำมโหฬาร ท่านได้อ่านพระไตรปิฎกซ้ำแล้วซ้ำอีก ได้บันทึกความที่เห็นว่าสำคัญลงไปมากมายหลายประการ ถ้ำมโหฬารนี้ ท่านเคยมาวิเวกหลายครั้งและครั้งสุดท้ายได้มาจำพรรษาอยู่เมื่อปี ๒๕๐๓ เห็นว่าเป็นที่สัปปายะแก่การบำเพ็ญเพียร ท่านจึงหวนกลับมาอยู่ และการบำเพ็ญเพียรคงได้ผลดีมาก ท่านจึงอยู่ถึง ๓ เดือน

เมื่อล่วงขึ้นปีใหม่ ปี ๒๕๐๖ อันเป็นฤดูกาลที่หมดฝนแล้ว ตามวัดต่าง ๆก็เริ่มมีงานบุญกัน การมาอยู่ในละแวกถิ่นบ้านเกิด หลวงปู่ในฐานะที่เป็น “ลูก” ของจังหวัดเลย และหมู่เพื่อนยกย่องว่ามีวาทะโวหารดี สามารถพูดจาโน้มน้าวจิตใจญาติโยมพุทธบริษัทให้เลื่อมใสศรัทธาในการบุญทานการกุศลได้ดีกว่าหมู่พวก จึงได้รับนิมนต์ให้เป็นผู้เทศนาในการเริ่มงานบุญบ้าง เขียนใบเชิญชวนบอกกำหนดการบุญในนามของเจ้าอาวาสบ้าง เผอิญท่านเป็นคนละเอียดลออ เทศน์ไปให้แล้ว เขียนใบเชิญชวนให้ไปแล้ว…ท่านก็บันทึกข้อความไว้ในสมุดส่วนตัวของท่าน พร้อมทั้งมีวันที่กำกับ ทำให้ติดตามประวัติท่านได้ ว่า ขณะนั้นท่านอยู่ ณ จุดใด ที่ใดในประเทศไทย
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๙

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๙

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษาที่ ๓๖ พ.ศ. ๒๕๐๓ ในถ้ำเขตจังหวัดเลย

จำพรรษา ณ ถ้ำมโหฬาร ต.หนองหิน อ.ภูกระดึง

พอออกพรรษา ปี ๒๕๐๒ แล้ว หลวงปู่ก็แยกจากกัลยาณมิตรของท่านออกจากวัดถ้ำกลองเพล ท่องเที่ยววิเวกมุ่งกลับไปทางจังหวัดเลย ซึ่งขณะนั้นยังสมบูรณ์ด้วยป่าด้วยเขา มองเห็นภูเขาลูกแล้วลูกเล่า ต่อเนื่องเนืองนันต์กันไปเป็นสีเขียวอ่อนแก่สลับซับซ้อนกัน

แม้บริเวณแถวถ้ำกลองเพลเอง ก็ยังเป็นป่าดงพงทึบอยู่ มีเสือมีช้างเข้ามาเยี่ยมกรายในบริเวณวัดอยู่เสมอ ฉะนั้นเมื่อพ้นเขตที่วัด ก็ไม่ต้องสงสัยว่า ต่อไปจากนั้นบริเวณป่าเขาลำเนาไพร ก็จะยังคงสภาพ “ป่าดงพงทึบ” จริง ๆ เพียงใด ต้นไม้แต่ละต้นใหญ่มาก สำนวนท่านเรียกว่า “กอดไม่หุ้ม” หมายความว่า ใหญ่จนคนโอบไม่รอบ สัตว์ป่ายังคงอุดมสมบูรณ์ บ้านเรือนผู้คนห่างกัน เล่าว่า จากอุดรไปเลยนั้น เป็นภูเขามาก ที่เห็นเป็นถนนลาดยางคดเคี้ยวไปตามไหล่เขานั้น เพิ่งจะมาทำกันในสมัยหลัง ๆ นี้ดอก การเดินทางสมัยหลัง ๆ นั้นจึงกลายเป็นของสะดวกง่ายดาย พระธุดงคกัมมัฏฐานสมัยหลังจึงอาศัยความเจริญก้าวหน้าของการคมนาคม เดินทางไปมาอย่างสะดวกสบาย

“หลวงปู่เคยเทศนาไว้ในภายหลัง วิจารณ์กัมมัฏฐานสมัยใหม่ไว้ว่า

“…..ทกวันนี้ กัมมัฏฐานขุนนาง !…เป็นยังไงขุนนาง…? หรูหรามากเหลือเกิน ขุนนางหมายความว่ายังไง… เดินธุดงค์ขึ้นรถแล้ว…นั่น….เดินธุดงค์ขึ้นเรือบินแล้ว…นั่น…. แต่ก่อนน่ะ ไม่ได้ทีเดียว…แบกกลดขึ้นภูเขา ลงภูเขา แหม….เหนื่อยยากเหลือเกินนะ แต่ก่อนนะ อาหารการกินก็ไม่บริบูรณ์เหมือนทุกวันนี้นะ กินพริกกินเกลือไป แล้วมื้อแล้ววันไป หิวมาก….หิวมากเทียวเวลาเย็นนะ…นั่น”

“เดี๋ยวนี้อะไร ป้อนอาหารใหญ่โต หรูหรามาก เลี้ยงกิเลสนะ มันจะมีความรู้ความฉลาดอะไรได้นะ แล้วขึ้นเรือบินด้วย แล้วขึ้นรถขึ้นราด้วย…!”

“กัมมัฏฐานขุนนาง ทุกวันนี้น่ะ “ลาภเกิดก่อนธรรม” ลาภมันเกิดก่อนนะ เมื่อเกิดก่อนซะแล้ว มันยกจิตไม่ขึ้นทีเดียว…ลาภมันเกิดขึ้นก่อนมัน ถ่วงหัวทุบหาง มันยกจิตไม่ขึ้น มันติดลาภติดยศอยู่….. ”
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๘

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๘

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษาที่ ๓๒ พ.ศ.๒๔๙๙ อยู่บ้านกกกอก

และผจญพญานาค ที่ภูบักบิด

จำพรรษาที่บ้านกกกอก ต.หนองงิ้ว อ.วังสะพุง จ.เลย

สถานที่ซึ่งหลวงปู่จำพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ นั้น อยู่ที่เชิงภูหลวงเป็นป่าเขาอันสงัดวิเวก มีต้นไม้ใหญ่ แผ่ร่มเงากิ่งก้านประสานกันแทบไม่เห็นแสงตะวันเป็นป่าสูง….สุดหนาทึบ ที่เป็นคล้ายบันไดขั้นแรกที่จะนำขึ้นไปสู่ยอดภูซึ่งสูงราวกับจะชูยอดไม้ขึ้นไประแผ่นฟ้า ต้นไม้แต่ละต้น ใหญ่ขนาด….(สำนวนของท่าน หมายความว่าใหญ่มาก) เอามือ “กอดไม่หุ้ม” ….(สำนวนของท่านอีกเช่นกัน แปลว่าโอบไม่รอบ) ดูมืดครึ้มอยู่เรื่อย

ศาลาโรงครัวที่บ้านกกกอก ด้านหลังเป็นที่มีน้ำซับ ไหลตลอดปี ถือเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์

มี น้ำซำ…หรือ น้ำซับ อยู่ใกล้บริเวณที่เป็นที่ทำความเพียร เรียกกันว่าเป็น ซำเงิน ซำทอง ….หรือ น้ำซับเงิน น้ำซับทอง…น้ำไม่มีแห้ง ไหลออกมาตลอดปี บริเวณน้ำซำนี้ ชาวบ้านถือกันว่า เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ เทพยดาอารักษ์รักษา ตัดต้นไม้ไม่ได้จะมีโทษ มีลักษณะคล้าย น้ำซำ ที่ หนองบง ที่เคยกล่าวมาแล้ว ในบทที่ว่าด้วยหนองบง ในปีจำพรรษาที่ ๑๕ พ.ศ. ๒๔๘๒ เหตุนั้น บริเวณใกล้น้ำซำ ซึ่งมีน้ำซึมซับมาหล่อเลี้ยงต้นไม้ให้เขียวขจีอยู่ตลอดแล้ว ผู้คนยังเกรงกลัว ไม่กล้าตัดฟันไม้อีก จึงยิ่งทำให้สภาพป่าบริเวณนั้น ร่มครึ้ม อากาศเยือกเย็นตลอดคืนตลอดวัน

ท่านว่า ไม่ว่าจะไปภาวนาใต้ต้นไม้ต้นใด จิตจะ “แจบจม” ดี เสมอ

เคยมีพระกัมมัฏฐานมาทำความเพียรและบรรลุธรรม ณ ที่บ้านกกกอกมาก่อนแล้ว ชื่อ หลวงปู่เอีย ชาวบ้านนับถือกันมาก ว่าท่านได้หูทิพย์ด้วย ใครอยู่ที่ไหนในบ้าน ในช่อง จะพูดอะไรไว้ ไปถึงท่าน ไปกราบท่าน ท่านจะเอ่ยทักถึงข้อความที่พูดจากันนั้นได้เสมอ ทำให้ชาวบ้านทั้งรักทั้งกลัวท่านมาก ท่านอ่านหนังสือไม่ออก แต่กล้าในทางความเพียรมาก ท่านภาวนาไป…ภาวนาไป วันหนึ่ง ตัวหนังสือก็ผุดออกมา

ท่านว่า มันเหมือนฉายหนังในจอ เป็นแถวเป็นแนวไป และรู้ขึ้นมาเองว่านั่นคือ พระปาฏิโมกข์ ท่านบอกว่า พระธรรมสอนท่านให้อ่าน ให้ท่อง และรู้ความหมายของตัวบาลีเหล่านั้นหมด ท่านหัดท่องพระปาฏิโมกข์ทางภาวนา รวมทั้งบทสวดมนต์ต่าง ๆ ในเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ก็สวดได้คล่องแคล่ว ให้พระเณรอื่นถือหนังสือปาฏิโมกข์ หนังสือเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน คอยสอบท่านเวลาที่ท่านท่อง ไม่มีผิดเลยสักคำเดียว

ท่านสวดมนต์ได้ อ่านหนังสือได้ โดยเรียนจากสมาธิภาวนานั้น หากสำหรับการเขียนนั้น ท่านยังทำไม่ได้…ด้วยบอกว่า ไม่คิดจะเรียนเขียนด้วยเลย แค่การอ่านได้ สวดมนต์ได้ ท่านก็คิดว่า เพียงพอสำหรับนักปฏิบัติกัมมัฏฐานซึ่งพูดกันด้วยใจแล้ว อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๗

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๗

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษาที่ ๒๐ – ๒๕ พ.ศ. ๒๔๘๗ – ๒๔๙๒

ดุจนายทวารบาลแห่งบ้านหนองผือ

พ.ศ. ๒๔๘๗- ๒๔๘๘ พรรษา ณ บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ. สกลนคร

พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๐ พรรษา ณ บ้านอุ่นดง จ. สกลนคร

พ.ศ. ๒๔๙๑ พรรษา ณ บ้านโคกมะนาว จ. สกลนคร

พ.ศ. ๒๔๙๒ พรรษา ณ บ้านห้วยบุ่น ต. นาใน อ. พรรณานิคม จ. สกลนคร

ในปี ๒๔๘๗ นั้นท่านพระอาจารย์มั่นจำพรรษาอยู่ที่บ้านโคก ซึ่งไม่ใช่สำนักเดิมที่เคยจำมาแล้ว เป็นสำนักใหม่ที่พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ สร้างถวาย ในปีเดียวกันนี้ ขณะนั้นหลวงปู่หลุยจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ต. นาใน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านโคกนัก ระยะนั้นท่านกำลังมีความคิดว่าควรจะให้ชาวบ้านหนองผือได้มีโอกาสได้บุญกุศลอย่างมหาศาล โดยการอาราธนานิมนต์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ให้มาจำพรรษาโปรดพวกเขาบ้าง ที่บ้านหนองผือ นาใน นี้บ้าง

ความจริงในระยะเวลานั้น ครูบาอาจารย์หลายองค์ก็มีความปรารถนาอยากให้ท่านพระอาจารย์มั่นมาจำพรรษาที่สำนักสงฆ์หรือวัดที่ท่านกำลังปฏิบัติอยู่ ระหว่างที่ท่านพระอาจารย์มั่นจำพรรษาอยู่ที่สำนักป่าบ้านโคกก็ดี บ้านนามนก็ดี หรือย้อนกลับมาที่บ้านโคก แต่ว่าเป็นคนละแห่งกับบ้านโคกที่ท่านพักจำพรรษาเมื่อปี ๒๔๘๕ หลายต่อหลายองค์ก็คิดว่าควรจะหาทางอาราธนานิมนต์ท่านพระอาจารย์มั่นให้ไปโปรดญาติโยมที่สำนักสงฆ์ หรือวัดป่าที่ท่านเคยคุ้นเคยกับญาติโยมเหล่านั้น

ขณะนั้นหลวงปู่หลุยได้มาที่บ้านหนองผืออีกครั้งหนึ่ง นอกจากการที่ท่านจะได้ไปฟังธรรมจากครูบาอาจารย์แล้ว ท่านก็ยังได้สอนอบรมพวกชาวบ้านในเขตหนองผือ ในเรื่องการฟังธรรมอีกครั้งหนึ่งด้วย ตามแบบฉบับที่ท่านเคยได้สอนไว้แต่ครั้งแรกที่ท่านมาพักจำพรรษาแต่ในปี ๒๔๗๘ ก่อนโน้น ก็เป็นเวลาเกือบ ๙ ปีที่แล้ว

ในระยะนี้เผอิญเป็นระยะที่กำลังสงคราม พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นเวลาที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ยุโรปกำลังเริ่มจะแตกหัก ส่วนทางมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นก็กำลังรบรุกอย่างหนัก สภาพการขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคมีอย่างมากที่สุด เสื้อผ้าแพรพรรณอาศัยของนอกไม่ได้ต้องใช้การทออยู่ภายใน ระหว่างนั้นการขาดแคลนเรื่องผ้าเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ รวมทั้งพระเณรก็ขาดแคลนสบง จีวร จนกระทั่งว่าวัดที่ท่านพระอาจารย์มั่นจำพรรษาอยู่ที่บ้านนามนนั้น ออกพรรษาแล้วก็ไม่มีผ้าจะเปลี่ยนผ้าสบงจีวร

เมื่อหลวงปู่ท่านมาอยู่บ้านหนองผือ ครั้งที่ ๒ มาอยู่จำพรรษา ออกพรรษาแล้วท่านก็พาชาวบ้านที่ท่านฝึกไว้ตั้งแต่เมื่อตอนต้นปีนี้ ทอผ้าว่าทออย่างไร ออกพรรษาแล้วก็พาเขาไปถวายผ้า แล้วพร้อมกับแนะให้เขาอาราธนานิมนต์ท่านพระอาจารย์มั่นให้ขึ้นมาพักอยู่ที่บ้านหนองผือ แสดงความเคารพนอบน้อม
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๖

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๖

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

ได้โสรจสรงอมฤตธรรม

วันปวารณาออกพรรษาอันเป็นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ นั้น ในปี ๒๔๘๓ นี้ ตรงกับวันที่ ๑๗ ตุลาคม ถึงแม้ท่านจะยังอาลัยถ้ำโพนงามอยู่มาก ด้วยสถานที่ทุกแห่งในบริเวณถิ่นนั้น ดูจะเป็นที่เอื้ออำนวยต่อการบำเพ็ญเพียรภาวนาของท่านอย่างเหลือล้น…จะเป็นเงื้อมหินตรงไหน ก้อนใด ใต้ร่มรุกขมูลต้นไม้ต้นไหน ถิ่นถ้ำน้อยใหญ่แห่งใด นั่งลงภาวนา จิตจะรวม “แจบจม” ดีอยู่ทุกแห่ง

ปกติ นักปฏิบัติจะสังเกตกันว่า ที่ใด ภาวนาแล้ว จิตรวมง่าย ไม่มีถีนมิทธะ ไม่ซบเซาง่วงเหงา มีสติตื่นอยู่ พิจารณาธรรมเพลิดเพลินอยู่…ที่นั้น จะเป็น แท่นหินแท่นนั้น… เงื้อมหินเพิงผาจุดนั้น… ใต้โคนไม้ต้นนั้น… นักปฏิบัติผู้นั้นจะสังเกตได้ และพยายามไปนั่งภาวนาอยู่ ณ สถานที่นั้นเป็นอาจิณ ถือเป็นที่สัปปายะแก่การภาวนา สำหรับที่ถ้ำโพนงามนี้ ท่านว่า ทุกแห่ง ทุกจุด เป็นที่สัปปายะ เข้าจิตง่ายทัดเทียมกันเกือบจะทุกแห่ง ฉะนั้น จึงออกพรรษาแล้ว ท่านก็ควรจะรั้งรออยู่ต่อไป มิหนำซ้ำ ชาวบ้านโดยรอบ เช่นที่บ้านโพนงาม บ้านโพนเชียงหวาง บ้านหนองสะไน บ้านนาอ้อ…ต่างล้วนมีศรัทธาต่อท่าน พากันอุปัฏฐากด้วยความเคารพนอบน้อม ควรแก่การอยู่เมตตาโปรดพวกเขาต่อไปอีกนานเท่านาน

แต่เหตุผลสำคัญที่ทำให้ท่านรีบแบกกลดลงเขามาทันที ละอาวาสอันสัปปายะ อากาศอันสัปปายะ บุคคลอันสัปปายะ มาโดยพลันอย่างไม่อาลัยไยดี… ท่านเล่าว่า เปรียบเสมือนบุคคลซึ่งถูกจำกัดออยู่ในท้องที่กันดารน้ำ เพียงได้แต่อาศัยน้ำโคลน น้ำตม น้ำตามแอ่งรอยเท้าเสือ ช้าง กรองดื่มพอแก้กระหายไปเพียงวัน ๆ หลุดจากข้อจำกัด (ออกพรรษา) ได้ยินข่าวว่า ณ บ้านนั้น ป่านั้น มีบ่อน้ำทิพย์ น้ำอมฤตอันใสสะอาดรออยู่ จะไม่โลดแล่นไปสู่ที่นั้นอย่างไรได้… เพื่อดื่มกิน โสรจสรง น้ำทิพย์น้ำอมฤตนั้นให้สมกับที่กระหายรอคอยมาช้านาน….

บุคคลผู้นั้นฉันใด ท่านก็ฉันนั้น

ท่านได้ข่าวว่า ท่านพระอาจารย์มั่นจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าโนนนิเวศน์ อุดรธานี….!

ก่อนหน้านั้นท่านพระอาจารย์มั่นได้ออกธุดงค์ไปทางจังหวัดภาคเหนือมีเชียงใหม่ เพียงราย เป็นอาทิ ท่านจากหมู่ศิษย์ไปแต่ปี ๒๔๗๕ ไปตามลำพังองค์เดียวไม่ให้มีผู้ติดตามเลย บรรดาศิษย์พยายามตามหาท่าน จนได้พบ และได้ปฏิบัติธรรมกับท่านบ้าง เช่น ท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ท่านพระอาจารย์ขาว อนาลโย ท่านพระอาจารย์แหวน สุจิณโณ ท่านพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ท่านพระอาจารย์ชอบ ฐานสโม แต่ละท่านต่างซอกซอนตามไปด้วยความลำบาก และเมื่อได้พบ ได้อยู่ปฏิบัติด้วย ต่างก็ได้รับอุบายธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่นอย่างคุ้มค่า ท่านเที่ยววิเวกอยู่ทางภาคเหนือเกือบสิบปี นอกจากบรรดาท่านที่ธุดงค์ติดตามไปแล้ว หมู่ศิษย์ที่เหลือทางภาคอีสานต่างรู้สึกอ้างว้าง ว้าเหว่ยิ่งนัก ด้วยขาดครูบาอาจารย์จะสั่งสอนอบรม ต่างรอคอย…ท่านพระอาจารย์มั่นจะกลับมาโปรด เหมือนข้าวในฤดูแล้งน้ำ รอคอยน้ำฝนจากฟากฟ้าจะโปรยปรายลงมา
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๕

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๕

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษาที่ ๑๕ พ.ศ. ๒๔๘๒

คงอยู่ในเขตเถื่อนถ้ำจังหวัดเลย

จำพรรษา ณ ถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย

ในเขตจังหวัดเลยนั้น เดือนธันวาคม มกราคม เป็นเดือนที่อากาศหนาวที่สุด บางปีถึงกับมี “แม่คะนิ้ง”หรือน้ำค้างแข็งจับตามใบไม้ ปี ๒๔๘๑ นั้นวันขึ้นปีใหม่ยังเป็นวันที่ ๑ เดือนเมษายน และวันสิ้นปีคือ วันที่ ๓๑ มีนาคม ฤดูหนาวปลายปี ๒๔๘๑ ซึ่งคือปลายธันวาคม มกราคม ท่านก็หลบอากาศชื้นของถ้ำผาบิ้งออกวิเวกต่อไปทางพื้นที่ราบ ท่านแวะพักบ้านม่วง แล้วเลยไปทางท่าลี่ ข้ามแม่น้ำโขงไปเมืองแก่นท้าว ฝั่งลาว เพื่อโปรดญาติฝ่ายโยมบิดา พักอยู่เดือนเศษ แล้วกลับมาทางเพชรบูรณ์ ไปหล่มสัก โปรดญาติฝ่ายโยมมารดาด้วย วิเวกไปด้วย

อันที่จริงการวกมาทางเพชรบูรณ์นั้น ก็มิได้เป็นการหลบความหนาวของอากาศภูเขาเท่าใดนัก เพราะเขาทางเพชรบูรณ์ก็สูงลิ่ว และหนาวเช่นกัน หากเป็นตอนปลายฤดูหนาวแล้ว จึงค่อยยังชั่วมาก ท่านบอกว่า การเที่ยวธุดงค์สมัยนั้นธรรมชาติจะมีความสงัดวังเวงมาก ต้นไม้สูงใหญ่แหงนคอตั้งบ่า พวกไม้มีค่า เนื้อแข็งเช่น ตะเคียนทอง มะค่า ไม้แดง ไม้ประดู่ ยังเกลื่อนป่า เวลาอยู่บนยอดภู ไม่ว่าจะเป็นที่จังหวัดเลย หรือเพชรบูรณ์ เช่น ภูเรือ ภูหลวง หรือภูหอ มองเห็นภูเขาลูกแล้วลูกเล่าสลับซับซ้อนกันดุจละลอกคลื่นในทะเลลึก ภูเขาเหล่านั้นยังปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่ขึ้นเบียดเสียดกัน ไม่กลายเป็นภูเขาหัวโล้นไปมากมายแล้วเช่นในทุกวันนี้

ท่านจะสรรเสริญการธุดงค์และเสนาสนะป่าอยู่เสมอ ท่านบันทึกไว้ว่า

“เห็นไม้ ภูเขา ป่าใหญ่ จิตใจตื่นเต้นด้วยสติทุกอิริยาบถ ทั้งวิเวกสงัดด้วยไตรทวารประกอบด้วยภัยอันตรายต่าง ๆ สะดวกแก่การภาวนา จิตใจถึงมรรคผลได้เร็วไม่มีนิวรณ์ตามรบกวน”
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๔

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๔

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษา ๑๒ พ.ศ. ๒๔๗๙ อยู่ด้วยท่านพระอาจารย์เสาร์

จำพรรษา ณ วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร

เสร็จธุระจากการอบรมชาวบ้านทางบ้านหนองผือแล้ว หลวงปู่ก็ลาจากญาติโยมที่นั่นมา ท่านรับว่า การลาจากพวกชาวบ้านบ้านหนองผือ ทำให้ท่านบังเกิดความอาลัยอาวรณ์ คล้ายกับจะต้องจากญาติมิตรสนิทไปแสนไกลเช่นนั้น เป็นความรู้สึกที่ท่านไม่เคยเกิดกับศรัทธาในหมู่ใด ถิ่นใดมาก่อน ทั้ง ๆ ที่ครูบาอาจารย์เคยสั่งสอนอบรมมาว่า พระธุดงคกัมมัฏฐานไม่ควรจะติดตระกูล ติดที่อยู่ ควรทำตนให้เหมือนนกที่เมื่อเกาะกิ่งไม้ใด ถึงคราจะต้องบินจากไป ก็จะโผไปจากกิ่งไม้นั้นได้โดยพลันไม่มีห่วงหาอาลัย หรือร่องรอยที่จะแสดงให้เห็นได้ว่า เท้าของเจ้านกน้อยนั้นเคยเกาะพำนักอยู่กับไม้ต้นนั้น กิ่งนั้น

แต่สำหรับชาวบ้านหนองผือนั้น ท่านมีความสนิทใจด้วยอย่างมาก ด้วยเป็นคนว่านอนสอนง่าย อบรมเช่นไรก็เชื่อฟัง พยายามปฏิบัติตาม ส่วนฝ่ายชาวบ้านก็เคารพท่าน รักบูชาท่านอย่างเทิดทูน เห็นท่านดุจเทวดามาโปรด ตั้งแต่การที่ได้ยา “วิเศษ” ของท่านมารักษาโรคกันทั้งหมู่บ้าน ดังกล่าวมาแล้ว และยังช่วยเมตตาสั่งสอนให้รู้จักทางสวรรค์ทางนิพพานอีก ดังนั้น พอทราบข่าวว่า ท่านจะลาจากไปจึงพากันร้องไห้อาลัย อันทำให้ท่านสารภาพในภายหลังว่า ทำให้ท่านใจคอไม่ค่อยปกติไปเหมือนกัน ท่านกล่าวว่า คงจะเป็นกุศลวาสนาที่เคยเกี่ยวข้อง อบรมทรมานกันมาในชาติก่อน ๆ ก็เป็นได้ ที่ทำให้เกิดความคุ้นเคยกันเช่นนี้

ต่อมา ในอนาคตอีกเกือบ ๑๐ ปีต่อมา ท่านก็ได้กลับมา ณ ที่ละแวกบ้านหนองผือนี้อีก ได้มาจำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ และแนะนำสั่งสอนให้อุบายชาวบ้านคณะนี้ให้ได้มีโอกาสอันยิ่งใหญ่ สามารถอาราธนานิมนต์ท่านพระอาจารย์มั่น พระบิดาของพระธุดงคกัมมัฏฐานภาคอีสานได้มาอยู่จำพรรษาเป็นประทีปส่องทางธรรมอยู่ติดต่อกันถึง ๕ พรรษา นับเป็นสถานที่ซึ่งท่านพระอาจารย์มั่นจำพรรษาอยู่นานที่สุด และเป็นเวลาช่วงสุดท้ายแห่งปัจฉิมสมัยของท่านด้วย ทำให้ “บ้านหนองผือ” เป็นนามที่โลกทางธรรมต้องรู้จักและจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ตลอดไป
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๓

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๓

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษาที่ ๗-๘ พ.ศ. ๒๔๗๔- ๒๔๗๕ ในกองทัพธรรม

พ.ศ. ๒๔๗๔ จำพรรษา วัดป่าบ้านเหล่างา ต.บ้านเหล่างา จ.ขอนแก่น

พ.ศ. ๒๔๗๕ จำพรรษา วัดป่าศรัทธารวม ต.หัวทะเล อ.เมือง จ.นครราชสีมา

หลวงปู่กล่าวว่า เป็นการเคราะห์ดีอย่างยิ่งที่บังเอิญเจ้าภาพที่หล่มสักนั้นได้นิมนต์ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ไปร่วมในงานศพในครั้งนั้นด้วย หากไม่มีพระเถระช่วยให้สติปรับปรุงแถมยังคอยควบคุมตัว ท่านว่า ไม่ทราบว่าจะรอดพ้นปากเหยี่ยวปากกามาได้หรือไม่ ท่านได้เห็นจริงในตอนนั้นว่า มาตุคามเป็นภัยแก่ตนอย่างยิ่ง เมื่อพระอานนท์กราบทูลถามสมเด็จพระพุทธองค์ว่า ควรปฏิบัติต่อมาตุคามเช่นใด พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า “ไม่ควรมอง ถ้าจำเป็นจะต้องมอง ก็ไม่ควรพูดด้วย ถ้าจำเป็นจะต้องพูดด้วย ก็ให้ตั้งสติ” ท่านตรัสบอกขั้นตอนปฏิบัติต่อมาตุคามเป็นลำดับ ๆ ไป แต่นี่หลวงปู่เพียงโดนขั้นแรก มอง ก็ถูกเปรี้ยงเสียแล้ว ถ้าเป็นนักมวยก็ขึ้นเวทียังไม่ทันจะเริ่มต่อย ก็ถูกน็อค

ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม นี้เป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของท่านพระอาจารย์มั่นต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็น ที่ พระญาณวิศิษฏ์ ท่านได้เห็นพระรุ่นน้องแสดงกิริยาดูน่ากลัวว่าจะพ่ายแพ้อำนาจของกิเลส ถ้าเป็นนักสู้ ก็เป็นนักสู้ที่ยินยอมจะให้เขายกกรีธาพาเข้าสู่ที่ประหารชีวิตแต่โดยดี ไม่พยายามฝืนต่อสู้แต่อย่างใด

ท่านจึงควบคุมนักโทษ “ซึ่งเป็นนักโทษหัวใจ” ผู้นั้น รีบหนีออกจากหล่มสักโดยเร็ว ออกมาจากสถานที่เกิดเหตุคือเมืองหล่มสักโดยเร็วที่สุด เที่ยววิเวกลงมาตามป่าตามเขา และเร่งทำตบะความเพียรอย่างหนัก

ท่านพระอาจารย์สิงห์สนับสนุนให้หลวงปู่อดนอน อดอาหาร เพื่อผ่อนคลายความนึกคิดถึงมาตุคาม ให้เร่งภาวนาพุทโธ…พุทโธถี่ยิบ และนั่งข่มขันธ์ แต่ความกลับกลายเป็นโทษ เคราะห์ดีท่านไม่ตามนิมิต ซึ่งแทนที่จะยอมสิโรราบตามเคราะห์กรรมที่มีอยู่เช่นนั้น เพราะเคยมีกรรมต่อกันมาเช่นนั้น ทำให้พอเห็นก็มืออ่อนเท้าอ่อน ยอมตายง่าย ๆ ท่านกลับเข้าหาครู เชื่อครู เล่านิมิตถวาย ท่านพระอาจารย์สิงห์ท่านได้โอกาส จึงได้อบรมกระหน่ำเฆี่ยนตีทันควัน

ท่านกล่าวว่า ตัวท่านผ่านเหตุการณ์อันน่าสยดสยองมาได้แล้ว ท่านหลวงปู่มองย้อนกลับไป จึงได้คิดว่า ผู้ที่มีญาณซึ่งสามารถหยั่งรู้เหตุการณ์ในอดีตก็ดี หรือภาพอนาคตก็ดี หากผู้ล่วงรู้อดีต อนาคตนั้น ไม่มีคุณธรรมมั่นคงแข็งแรงก็อาจจะเป็นผลเสียได้ อยู่ดี ๆ เกิดไปรู้ว่า เคยชอบเคยรักกับใครก็จะลำเอียงไปตามนั้น ถ้าไปพบว่ามีเรื่องผูกพันกัน โกรธกัน ไปรู้เข้า ก็จะยุ่งแน่ ดังเช่นเกิดญาณรู้อยู่ คนนั้นเคยมาข่มเหงเรา ฆ่าเรา พอรู้เข้าในชาตินี้ กลับอยากจะอาฆาตเตรียมตัวที่จะไปข่มเหงเขา ฆ่าเขาตอบแทนเรื่อย ๆ นี่แหละท่านถึงไม่ให้ปุถุชนคนกิเลสหนาปัญญาหยาบได้ล่วงรู้ถึงอดีต รู้ถึงอนาคต ด้วยจิตยังมีริษยาอาฆาตโกรธแค้นต่อกันอยู่

ช่วงระยะเวลาเหล่านั้น ระหว่างท่านพระอาจารย์มั่นกำลังหลบจากเขตอีสานขึ้นไปวิเวกอยู่ทางภาคเหนือในเขตจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้จัดตั้งกองทัพธรรมสั่งสอนประชาชนทางภาคอีสานให้รู้จักหลักพระพุทธศาสนาที่แท้จริง เพื่อให้เลิกถือผีไท้ ผีฟ้า ผีปู่ตา กลับมารับพระไตรสรณาคมน์ให้มากขึ้น พระกัมมัฏฐานท่านมาชุมนุมกันที่วัดป่าบ้านเหล่างานั้นมาก

ในปี ๒๔๗๔ มีพระเถระมาจำพรรษาอยู่ด้วยกันหลายท่านหลายองค์ นอกจากองค์ท่านแล้ว ยังมีหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ด้วย

พระมหาปิ่น ปัญญาพโล

ครั้นต่อมาในปี ๒๔๗๕ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน ป.ธ. ๕) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง พระเทพเวที เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ได้มีบัญชาเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ให้พระกัมมัฏฐานที่มีอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น เดินทางไปที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อสั่งสอนประชาชนร่วมกับข้าราชการ ดังนั้น ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล ป.ธ. ๕ ซึ่งเป็นน้องชายท่านพระอาจารย์สิงห์ จึงได้นำพระจรไปด้วยหลายรูป มี หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เดินทางร่วมไปด้วย

ในปี ๒๔๗๕ นั้นเอง พันตำรวจตรีหลวงชาญนิยมเขต กองเมือง ๒ ได้ถวายที่ดินยกกรรมสิทธิ์ให้พระกัมมัฏฐานสร้างวัดมีเนื้อที่ ๘๐ ไร่ จึงได้ลงมือสร้างวัดขึ้นในที่แปลงนี้ ตั้งชื่อว่า “วัดป่าสาลวัน” จนถึงทุกวันนี้

ได้มีการอบรมศีลธรรมให้แก่ประชาชน จนประชาชนเกิดความเลื่อมใสและตั้งตนอยู่ในพระไตรสรณาคมน์ ถือวัดป่าสาลวันเป็นจุดศูนย์กลางปฏิบัติกัมมัฏฐานและเป็นสถานที่ชุมนุมประจำ ครั้นเมื่อจะเข้าพรรษาก็ให้แยกย้ายพระไปวิเวกจำพรรษาในวัดต่าง ๆ ที่ไปตั้งขึ้น ตัวท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ไปจำอยู่ที่ศูนย์กลางคือ วัดป่าสาลวันนี้ แต่ท่านได้มอบหมายให้ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโลไปตั้งวัดกัมมัฏฐานอีกวัดหนึ่ง ที่ข้างกรมทหาร ต. หัวทะเล อ. เมือง จ. นครราชสีมาให้ชื่อว่า วัดป่าศรัทธารวม

ณ ที่นี้ หลวงปู่ก็ได้ไปจำพรรษาร่วมอยู่ที่วัดป่าศรัทธารวมด้วย พรรษานี้พระกัมมัฏฐานในสายของท่านพระอาจารย์มั่นก็มาอยู่ด้วยกันมากเป็นพิเศษ เช่น หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านพระอาจารย์ภูมี ฐิตธัมโม ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ เป็นอาทิ มีท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นหัวหน้าที่จะเทศน์อบรม โดยมีท่านองค์อื่น ๆ เป็นผู้ช่วยเหลือในการเทศน์อบรมประชาชนด้วย

แม้กับหมู่พวกพระเณร หลวงปู่หลุยท่านจะไม่ค่อยพูด ชอบอยู่องค์เดียวโดยหากระต๊อบเล็ก ๆ ทำแคร่พักอยู่ที่ชายป่าห่างจากหมู่เพื่อน แต่เวลาท่านพูดคุยกับญาติโยม ญาติโยมมักจะชอบใจสำนวนโวหารของท่านมาก ด้วยท่านเป็นกันเอง

ท่านได้เขียนบันทึกไว้หลายแห่งที่แสดงกุศโลบายของท่านในการเอาใจประชาชนว่าเพื่อจะให้ญาติโยมเข้าใจ หรือมีน้ำใจที่จะชอบฟังธรรมโดยง่าย จะทำพูดคุยธรรมดาให้เขารู้จักคุ้นเคยเป็นกันเองก่อนแล้วจึงจะเทศน์ เมื่อคุ้นเคยเป็นกันเองแล้ว เขาก็จะตั้งอกตั้งใจฟังเทศน์การอบรมเป็นอย่างดี

วิธีการของท่านนี้ ทำให้ท่านเป็นกำลังสำคัญองค์หนึ่ง ที่ช่วยในการเทศนาอบรมประชาชน ท่านได้อยู่จำพรรษาอยู่กับท่านพระอาจารย์สิงห์ และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ในปี ๒๔๗๔- ๒๔๗๕ นี้

ต่อมาท่านเห็นว่า กองทัพธรรมมีกำลังแน่นหนาเพียงพอแล้ว โดยได้มีครูบาอาจารย์แต่ละองค์ได้ไปสร้างวัดอยู่โดยรอบในจังหวัดนครราชสีมานี้ เช่น พระอาจารย์คำดี ปภาโส หรือ พระครูญาณทัสสี ไปสร้างวัดป่าสะแกราช ที่ อ.ปักธงชัย หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ไปสร้างวัดป่าบ้านใหม่สำโรง ที่ อ. สีคิ้ว ตั้งชื่อว่า วัดป่าสว่างอารมณ์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ไปสร้างวัดป่าบ้านมะรุม อ.โนนสูง เป็นการตั้งวัดเรียงรายกันอยู่โดยรอบ

ออกพรรษาปี ๒๔๗๕ ท่านหลวงปู่ก็ออกธุดงค์ต่อไป แยกจากหมู่เตรียมจะไปทางท่าอุเทน มุกดาหาร และนครพนม ด้วยเห็นว่า กองทัพธรรมมีกำลังเป็นปึกแผ่นแน่นหนาเพียงพอแล้ว หลวงปู่เป็นคนละเอียดลออ เวลาอยู่กับครูบาอาจารย์องค์ใด ท่านจะมีบันทึกกล่าวถึงครูบาอาจารย์องค์นั้น ๆ อยู่เสมอ ในบันทึกปี ๒๔๗๕ ท่านได้บันทึกเกี่ยวกับท่านพระอาจารย์สิงห์ไว้ว่า

“ท่านพระอาจารย์สิงห์ เกิดปีฉลู วันจันทร์ เดือน ๓ อายุ ๔๔ พรรษา ๒๓ ออกบวชอายุ ๒๑ นับในครรภ์ ๑๐ เดือน

“อาจารย์มหาปิ่นเกิดปีมะโรง เดือน ๔ วันพฤหัสบดี อายุ ๔๑ พรรษา ๑๘ ป.ธ. ๕

สำหรับนิสัย ท่านก็บันทึกไว้เช่นกัน คงจะได้เห็นต่อไปในภายหลังท่านจะบันทึกนิสัยครูบาอาจารย์แต่ละองค์ไว้ด้วย ท่านกล่าวไว้ว่า

“ท่านสิงห์นิสัยเทศน์อธิบายธรรมดี ใจคอกว้างขวางดี เป็นคนสุขุม รักษาความสงบ เยือกเย็นดี เป็นคนหวังดีในศาสนาดี ชอบสันโดษ จิตอุทิศดีในศาสนา จิตอุทิศเฉพาะข้อปฏิบัติ น้ำใจเด็ดเดี่ยว ยกธรรมาธิษฐานล้วน”

อีกแห่งหนึ่ง ท่านได้บันทึกไว้เป็นเชิงวิจารณ์ว่า

“ท่านอาจารย์สิงห์ กาย วาจา ใจ เป็นอาชาไนย ลักษณะเป็นคนที่ว่องไว ไหวพริบดี น้ำใจเด็ดเดี่ยว ทรมาน คนได้ทุก ๆ ชั้น ทั้งอุบายละเอียด เป็นคนราคจริต เป็นนักพูด ชอบคิดอุบายธรรมต่างๆ ชอบมีหมู่เพื่อนมาก นิสัยพระโมคคัลลาน์ มีความรู้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ข้อวัตรดีทั้งภายในและภายนอก ชอบโอ่โถง อดิเรกลาภมาก ไม่เอาแง่เอางอนแก่พุทธบริษัท ปัญญาเป็นคนทรมาน คน เพ่งประโยชน์ใหญ่ในศาสนา กาย วาจา ใจ ปลาบปลื้มมาก มักพูดตามความรู้ความเห็นของตน มักทรมานคนหนุ่ม ๆ น้อย ๆ บริษัทของท่านเป็นคนแก่นสารในท่ามกลางบริษัท รู้สึกชาติของคนที่จะดีหรือชั่ว ไม่กลัวต่อความตาย รู้จักเหตุผล อดีตอนาคต ปัจจุบัน เป็นคนมั่นในสัมมาปฏิบัติ ฉลาดพูด ฉลาดพลิกจิตสมถวิปัสนา

พรรษาที่ ๙-๑๐ พ.ศ.๒๔๗๖-๒๔๗๗

เดินธุดงค์กับท่านพระอาจารย์เสาร์ และได้วิชาม้างกาย

จำพรรษา ณ ถ้ำบ้านโพนงาม ต. ผักคำภู อ. กุดบาก จ. สกลนคร

เมื่อออกพรรษาปี ๒๔๗๕ แล้ว หลวงปู่เห็นว่า กองทัพธรรมมีกำลังแน่นหนาเพียงพอแล้ว หมู่เพื่อนสหธรรมิกที่อยู่ช่วยท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโมและท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล ก็มีอยู่อย่างอุ่นหนาฝาคั่ง แต่ละท่านแต่ละองค์ต่างมีอุบายธรรมช่วยตนเอง และอบรมญาติโยมได้อย่างมั่นคง ส่วนองค์ท่านเองนั้น แม้พวกญาติโยมจะพอใจในการมาฟังธรรม หรือปรับทุกข์ปรับร้อนในปัญหาการครองตนกับท่าน แต่ก็เป็นไปแบบทางโลกอยู่มาก ท่านเล่าว่า เมื่อหวนระลึกถึงตนแล้วก็คิดว่า ยังไม่มีภูมิธรรมที่จะทันหน้าทันตาหมู่เพื่อนได้ ด้วยความเพียรและอุบายยังอ่อนอยู่มาก ท่านจึงคิดจะไปปรารภความเพียรให้ยิ่งขึ้นต่อไป

ท่านออกธุดงค์ต่อไป ทางท่าอุเทน มุกดาหาร และนครพนม ไปพบท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ที่จังหวัดอุบลราชธานี เห็นเป็นโอกาสที่จะได้อยู่ศึกษาอุบายธรรมจากท่าน จึงอยู่ปรนนิบัติรับใช้ ขณะนั้น ท่านรู้สึกว่าตนยังขาดที่พึ่งอยู่มาก ตั้งแต่ท่านพระอาจารย์บุญ อาจารย์องค์แรกของท่านมรณภาพไป ก็คิดจะหาครูบาอาจารย์องค์ใหม่ อย่างท่านพระอาจารย์มั่น ให้ท่านเมตตาสั่งสอนอบรม กระหน่ำฟาดฟันกิเลสให้ แต่ท่านก็เดินธุดงค์หลบหลีกเร้นหมู่ศิษย์ไปทางภาคเหนือโน้นแล้ว ได้อยู่ใกล้ชิดรับการอบรมจากท่านพระอาจารย์สิงห์ แต่ก็ยังไม่จุใจ… มาได้โอกาสพบอาจารย์วิเศษอีกองค์หนึ่ง ท่านจึงยินดียิ่ง

ท่านพระอาจารย์เสาร์ พาท่านเดินธุดงค์รอนแรมมาจากอุบลฯ และมาพักอยู่ที่แบบเขตจังหวัดสกลนคร แล้วจัดให้ท่านแจกไปทำความเพียรที่ถ้ำแห่งหนึ่งในเขตอำเภอกุดบาก

ท่านเล่าถึงถ้ำนั้นว่า ชาวบ้านเรียกว่า ถ้ำโพนงาม อยู่บนภูเขาตั้งอยู่ระหว่างหมู่บ้าน ๓-๔ หมู่บ้าน คือ บ้านโพนงาม บ้านหนองสะไน และบ้านโพนสวาง อยู่ในเขตตำบลผักคำภู ห่างจากหมู่บ้านไม่กี่กิโลเมตร แต่ในสมัยนั้นยังเป็นป่าเป็นดงพงทึบอยู่ ทางไม่กี่กิโลเมตรก็ดูแสนไกล ท่านพระอาจารย์เสาร์บอกท่านว่า ให้ไปภาวนาที่ในถ้ำบนเขาโน้น ท่านก็แบกกลดขึ้นภูเขาไป

ลานหินบริเวณถ้ำโพนงาม

ท่านเล่าว่า ขณะนั้น ท่านผ่านพรรษา ๘ มาแล้ว และถ้าหากจะนับทั้งพรรษาที่บวชมหานิกาย ๑ พรรษา และที่บวชธรรมยุตคราวแรก ๑ พรรษา โดยไม่มีความเชื่อมั่นว่าเป็นการบวชที่ถูกต้อง จึงขอบวชธรรมยุตซ้ำอีก ก็จะกลายเป็นบวชถึง ๑๐ พรรษาแล้ว ได้ออกธุดงค์ทุกปี แต่ก็เป็นการไปอย่างที่เรียกว่า อยู่ในรัศมีใบบุญของครูอาจารย์ เช่น ๖ พรรษาแรกนั้น ท่านอาจารย์บุญจะนำไปเกือบตลอด มาธุดงค์กับท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านก็ดูแลเช่นกัน ที่ได้ธุดงค์องค์เดียวก็เป็นป่าเขาใกล้ ๆ กับรัศมีครูบาอาจารย์ หรือเป็นป่าโปร่ง ไม่ลึกลับซับซ้อนน่ากลัวเท่าใดนัก

การถูกส่งมาถ้ำโพนงามครั้งนั้นจึงเท่ากับเป็นการสอบไล่ใหญ่ทีเดียว

ท่านมองเห็นยอดเขา แล้วก็หมายตาไว้…ว่าจะต้องขึ้นไปบนโน้น เขาชี้ให้ดูว่า ถ้ำอยู่ตรงนั้น หมู่ไม้นั้น ลิบ ๆ โน้น…ยอดยาวนั้น…เห็นแต่ยอดไม้สูงแผ่กิ่งก้านต่อเนื่องกันราวกับทะเลสีเขียว ดูไม่ไกลเท่าไร แต่เดินไป…เดินไป พบภูเขาเป็นแท่งหินใหญ่ข้างหน้าอยู่ ไม่มีทางไป ก็ต้องย้อนกลับมาตั้งหลักใหม่ สมัยนั้น ป่ายังเป็น “ป่า” รกชัฏ ต้นไม้สูงใหญ่ มืดครึ้ม ทางเดินในป่าก็แทบไม่มี ฝนเพิ่งตกใหม่ ๆ ไม้อ่อนระบัดกลบทางเดินของพรานป่าหมด เคราะห์ดีที่ยังพอมีชาวบ้านช่วยถือมีดพร้าไปด้วย จึงพอตัดฟันกิ่งไม้ แหวกเป็นช่องทางให้เดินขึ้นไปได้

ท่านเล่าว่า ออกเดินทางแต่ฉันจึงหันเสร็จในตอนเช้า กว่าจะขึ้นไปได้ถึงบนถ้ำ ก็ตกบ่าย สภาพภูเขาส่วนใหญ่เป็นหินผาแท่งทึบ บางแห่งก็ดูราวกับเป็นหินเนื้อเดียวกัน แต่เมื่อสังเกตให้ดี จะเห็นว่า เบื้องหลังต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นเบียดเสียดกันนั้นมีชะเงื้อมหินเป็นแผ่นผาวางซ้อนกันอยู่ ระหว่างรอยต่อพลาญหินด้านล่างและเงื้อมผาที่เป็นแผ่นเรียบแผ่ชะโงกอยู่ด้านบนนั้น มีจอมปลวกและเถาวัลย์ต้นไม้เล็ก ๆ ขึ้นอยู่เต็ม แต่ถ้าหากรื้อเถาวัลย์และต้นไม้เล็กพร้อมจอมปลวกออก ตกแต่งพื้นหินให้สะอาดแล้วก็คงพออาศัยเป็นที่ภาวนาทรมานกายได้เป็นอย่างดี

ที่เรียกว่า ที่ภาวนาทรมานกาย ก็ด้วยเล็งเห็นว่า ความสูงของเพดาน (ซึ่งถ้าจะรื้อต้นไม้เปิดออกเป็นถ้ำ) นั้น คงเพียงแค่สามารถนอนและนั่งเท่านั้น เวลานั่งศีรษะคงจะพอครือ ๆ กับเพดานถ้ำพอดี เป็นการบังคับให้สติอยู่กับจิต ขืนเผลอขยับตัวแรงไป ศีรษะจะต้องกระแทกกับเพดานหินแน่นอน

บริเวณถ้ำโพนงาม

เฉพาะส่วนที่ชาวบ้านผู้นำทางบอกว่า เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า ชื่อ “ถ้ำโพนงาม” และเป็นถ้ำที่หลวงปู่เสาร์สั่งให้ท่านมาอยู่ภาวนานั้น เป็นถ้ำใหญ่ยาวต่อเนื่องกันไปไกล แต่พื้นถ้ำซึ่งคงเคยราบเรียบเมื่อมีผู้ธุดงค์ผ่านมาทำความเพียรนั้น บัดนี้เมื่อกาลเวลาล่วงไป และผ่านพ้นมาเพียงฤดูหนึ่งหรือสองฤดู ใบไม้แห้งที่ร่วงทับถมลงมาซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็กลายเป็นปุ๋ยให้เกิดไม้ใบสีเขียวขจีเกาะกอดอยู่บนพลาญหิน

ท่านจึงให้ชาวบ้านช่วยรื้อพืชสีเขียวออก ส่วนใบไม้แห้งเหล่านั้น ก็ได้อาศัยกิ่งไผ่แขนงไม้บริเวณนั้นที่ชาวบ้านช่วยหักมาให้ รวบเป็นกำใช้แทนไม้กวาด ปัดกวาดออก ไม่นานก็พอเห็นเป็นรูปเป็นร่างว่าพอจะใช้อาศัยเป็นที่สำหรับอยู่ทำความเพียรได้ เขาช่วยตัดไม้ไผ่มาทุบแผ่ออกเป็นฟาก และหาเถาวัลย์บริเวณนั้นมาผูกมัดไม้ฟากให้ติดกัน แล้วจัดทำเป็นแคร่เล็ก ๆ ขนาดพอเป็นที่พักของร่างกายที่กว้างศอกยาววาหนาคืบได้ ยกสูงขึ้นจากพื้นเล็กน้อย ให้ได้พ้นจากมดตัวแดงแมงตัวน้อยที่มักจะอาศัยพลาญหินเป็นทางสัญจร

ชาวบ้านช่วยจัดทำเสร็จแล้ว ก็รีบลากลับไป บอกว่าเกรงจะไปมืดกลางทางเดี๋ยวจะลำบาก

ท่านถามว่า ลำบากเรื่องอะไร

เขาตอบว่า ลำบากเพราะแถวนี้เจ้าป่าชุมมาก การเดินทางในเวลากลางคืนอันตรายมาก (เจ้าป่า—–เขาพยายามเลี่ยงไม่อยากใช้คาว่า “เสือ” ตรง ๆ —–) เคยคาบชาวบ้านป่าที่ออกมาหาหน่อไม้ หน่อหวายบนเขา เอาไปกินสองสามรายแล้ว “เจ้าป่า” พวกนี้ชะล่าใจมาก บางทีถึงกับไปล่าเหยื่อถึงที่ชายป่าทีเดียว เคยมาเอาวัวเอาควายจากในบ้านไปกินก็หลายครั้ง

ท่านว่า ฟังแล้วก็ออกเสียว ๆ อยู่มาก แต่ก็ยังทำใจดีสู้… ชาวบ้านลากลับไปแล้ว ท่านก็รีบจัดบริขารเข้าที่เพื่อเตรียมภาวนา ความจริงบริขารก็มิได้มีมากมายอะไร ผ้าอาบนั้นใช้ได้สารพัดประโยชน์ นอกจากเพื่อการอาบน้ำตามชื่อแล้ว ยังเผื่อเหตุอื่นด้วย ทั้งเช็ดตัว เช็ดบาตร เช็ดฝาบาตร ปัดกวาดแคร่ ปูแคร่ หรือห่อผ้าสังฆาฏิแทนปลอกหมอน

บริเวณถ้ำโพนงาม

ชาวบ้านสัญญาว่า รุ่งขึ้นจะช่วยกันหาบน้ำขึ้นมาให้สัก ๒-๓ ครุ แต่ก็ยังไม่แน่นอนอะไร ฉะนั้นท่านจึงต้องระวังกาน้ำเป็นพิเศษ เพราะเป็นภาชนะอันเดียวที่ใส่น้ำขึ้นเขามา จะต้องใช้ทั้งฉันและล้างหน้า ล้างตัวและล้างเท้า ถ้าปล่อยให้น้ำหกจากกาไปได้จะลำบาก ท่านยังไม่ได้ออกเดินสำรวจหาแหล่งน้ำบนเขา อาจจะมีน้ำฝนหลงเหลืออยู่บนแอ่งหินใดแอ่งหินหนึ่งก็ได้

สมัยนั้น พระธุดงคกัมมัฏฐานแทบจะไม่รู้จักไฟฉาย แม้แต่ไม้ขีด เทียนไข ก็หายาก ท่านว่า พระธุดงคกัมมัฏฐานพึ่งพาแต่แสงไฟธรรมชาติ กลางวันก็อาศัยแสงอาทิตย์ กลางคืนก็แล้วแต่เดือนดาวจะให้ความเมตตาให้แสงสว่างเพียงไร เดือนหงายก็ยังพอเห็นอะไรบ้าง แต่ถ้าเป็นเดือนแรม ก็เรียกว่า มืดสนิท

คืนแรกนั้น ท่านว่า แต่แรกก็ยังดีอยู่ มองธรรมชาติรอบตัวดูมีความสงบสงัด งามอยู่ ต้นไม้ก็สวย ฟ้าก็งาม แต่ไป ๆ ชักสลัวลง…มืดลง คำชาวบ้านที่ว่า เสือชุม ก็ดูจะมากระซิบซ้ำซากอยู่ที่ข้างหู…ต้นไม้ดูทะมึนตะคุ่ม ๆ ฟ้าก็มืด ดูสงัดวังเวงอย่างบอกไม่ถูก ได้ยินเสียงเสือคำรามอยู่แต่ไกล ท่านเคยได้ยินครั้งอยู่วัดป่าหนองวัวซอ แต่เสียงนั้นก็ห่างอยู่ และกุฏิก็อยู่ในเขตวัด ไม่ฟังวังเวงเหมือนครั้งนี้ เผอิญคืนนั้นเป็นคืนข้างแรมแก่ ตะวันลับขอบฟ้าเพียงไม่นาน ก็มืดจนมองไม่เห็นอะไร เพียงยื่นมือออกไปข้างหน้า ก็มองไม่เห็นแม้แต่แขนหรือปลายมือของเราเอง ท่านว่า…เข้าใจในครั้งนั้นเลย…คำวลีที่ว่า “มืดเหมือนเข้าถ้ำ..”

ท่านบันทึกไว้ว่า

“ภาวนาที่ถ้ำโพนงามนั้นดีเหลือที่สุด” …..ภาวนา….กายเปลี่ยว จิตเปลี่ยว กายวิเวก จิตวิเวก เป็นอย่างไร แทบจะไม่ต้องมีใครมาอธิบายให้ฟัง

กายเปลี่ยว จิตเปลี่ยว..จริงๆ

กายวิเวก จิตวิเวก..จริง ๆ

เสียงสัตว์ป่าร้องในเวลาค่ำคืน ดังแหวกความสงัดขึ้นมาเป็นระยะ ๆ ยิ่งนึกถึงคำของชาวบ้านที่ว่า เสือชุม งูชุม ทำให้ยิ่งรู้สึกถึงความสงัดวังเวงมากยิ่งขึ้น

ท่านเล่าว่า เวลาอยู่ในถ้ำ บนเขา ในป่า อย่าว่าแต่เสียงเสือ เสียงช้าง…เลย แม้แต่เสียงเก้งที่ร้อง เป๊บ เป๊บ ลั่นขึ้นในความสงัดของราวป่า ก็ทำให้สะดุ้งตกใจได้โดยง่าย จิตสะดุ้ง จิตหดเข้า…หดเข้า…แนบแน่นอยู่กับพุทโธที่อาศัยเป็นสรณะที่พึ่ง…รวมลงสู่สมาธิ

ท่านว่า เคราะห์ดีที่อยู่ถ้ำโพนงามรอบแรก ในปี ๒๔๗๖ และ ๒๔๗๗ นั้นไม่เคยพบเสืออย่างจัง ๆ สักที ทั้ง ๆ ที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ส่งท่านมาอยู่ที่นี่ ก็เพื่อให้พบเสือ อาจจะเป็นเพราะระยะนั้นยังนึก “กลัว ๆ” อยู่ ภาวนาไม่อยากให้พบเสือ ถึงจะมาอยู่แดนเสือ จึงไม่ได้พบเสือเลย…กระทั่งต่อมาอีกหลายปีภายหลัง จึงได้พบเสืออย่างจังหน้า…ซึ่งก็แถวถ้ำบริเวณใกล้ ๆ กับถ้ำโพนงามนี้เอง หลังจากที่ได้ธุดงค์วิเวกไปไหนต่อไหนเสีย ๕ – ๖ ปี ทำให้ได้ธรรมอันน่าอัศจรรย์ใจ

ท่านกล่าวภายหลังว่า ความจริงที่กล่าวว่า เคราะห์ดี ที่ไม่ได้เจอเสือในครั้งแรกที่ถ้ำโพนงามนั้น ควรจะเรียกว่า เคราะห์ร้าย มากกว่า เพราะถ้าหากทราบว่าเจอเสือแล้ว…จะเป็นเช่นไร ความกลัวจนถึงที่สุด ทำให้จิตกลับแกล้วกล้าขึ้นจนถึงที่สุดเช่นกัน ใคร ๆ ก็ต้องอยากพบเสือกันทั้งนั้น การไม่ได้พบเสือ จึงกลายเป็น เคราะห์ร้ายของพระกัมมัฏฐานด้วยเหตุนี้

ท่านว่า ออกไปเดินเล่น เห็นรอยเท้าเสือหมาด ๆ เต็มไปหมด จะว่ากลัวหรือจะว่าไม่กลัว ก็บอกไม่ถูก แต่ก็ต้องเอาเท้าไปเกลี่ยรอยเท้าเสือทิ้งเสีย…ไม่อยากเห็นแม้แต่รอยเท้าของมัน. .!

มีงูตัวโต ๆ แต่ก็ต่างคนต่างอยู่ แผ่เมตตาไปโดยรอบ แผ่เมตตาไปโดยไม่มีประมาณ ให้ทั้งเทพยดา อารักษ์ อมนุษย์ ส่ำสัตว์ทั้งหลายโดยรอบ ความสงัดวิเวกบริบูรณ์ จิตรวมง่าย บางวันถึง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง

เมื่อท่านลงจากเขามา ได้ข่าวว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์กลับไปทางนครพนมแล้ว ท่านพอใจความวิเวกที่นั้น จึงกลับขึ้นไปจำพรรษาอยู่ ณ ถ้ำโพนงามนั้นเอง…เป็นพรรษาแรก ณ ที่นั้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๖

วันหนึ่งไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ได้ยินข่าวว่า มีแม่ชีอภิญญาณสูงอยู่ที่วัดป่าบ้านสองคร ภาวนาเก่งมาก รู้วาระจิตคนอื่น มีหูทิพย์ ตาทิพย์ อย่างเช่นไปฟังพระเทศน์…องค์ไหนไปติดที่ธรรมขั้นไหน ๆ แม่ชีจะรู้หมด บอกได้ถูกหมด ได้ยินว่าชื่อ แม่ชีจันทร์ และ แม่ชียอ เฉพาะ แม่ชียอ นั้นตาบอด แต่ทางธรรมะนั้นเลิศมาก และไม่ต้องอาศัยสายตาก็รู้เห็นทุกอย่างหมด ตาเนื้อ เสีย ก็ไม่ต้องใช้ —ใช้แต่ ตาใน แม่ชีทั้งสองเป็นคนบ้านโพนสวาง ใกล้บ้านหนองบัว ในเขตอำเภอสว่างแดนดิน หลวงปู่ได้ยินเรื่องราวแม่ชีทั้งสองก็สนใจ

พอดีออกพรรษา มีงานฉลองศพที่วัดนั้น หลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปด้วย งานนั้น หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ก็ไปด้วย เมื่อทั้งสององค์ผลัดกันขึ้นเทศน์ แม่ชีไปฟังด้วย หลวงปู่จึงไปลองซักถามดู ถามว่า ท่านที่ขึ้นเทศน์นี้เป็นอย่างไร

แม่ชีก็บอกให้ฟัง

ท่านแปลกใจว่า แม่ชีทำอย่างไร รู้ได้อย่างไร

แม่ชีก็กราบเรียนวิธีการภาวนาของตนให้ท่านทราบโดยละเอียด ทำให้หลวงปู่ได้อุบายวิธีในทางปฏิบัติจากแม่ชีทั้งสองเป็นหนทางดำเนินในการปฏิบัติธรรมของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐานแบบที่หลวงปู่เทศนาสอนในภายหลัง เรียกวิธีการ “ม้างกาย” นี่เอง

“ม้าง” เป็นภาษาอีสาน แปลว่า แยกออกเป็นส่วน ๆ หรือรื้อออก—–แยกออก เช่น ม้างบ้าน ก็คือ รื้อบ้าน แยกบ้าน ม้างกาย ก็คือ รื้อกาย แยกกายออกเป็นส่วน ทำให้มาก…ทำให้ยิ่ง…จนเป็นอุคคหนิมิต เป็นปฏิภาคนิมิต แล้วดำเนินวิปัสสนา ใช้ปัญญาพิจารณากายต่อไป ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา

หลวงปู่เล่าว่า พอท่านได้ฟังอุบายวิธี ท่านก็แบกกลดกลับขึ้นเขาไปทันที ไม่ได้รอแม้แต่จะอยู่ต่อไปจนกระทั่งให้งานที่เขานิมนต์มานั้นเสร็จเรียบร้อยเสียก่อน

ท่านบันทึกเล่าไว้ ขณะเมื่ออยู่จำพรรษาที่ถ้ำเจ้าผู้ข้า ในปี ๒๕๒๕ เป็นเวลาเกือบ ๕๐ ปีต่อมาในภายหลังเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า

“เอาเข้าป่า หัดม้างกายอย่างเต็มที่ จนร่างกายเกิดวิบัติ จนกระดูกคล้าย ๆ ออกจากกัน แม้เราเดินเสียงกรอบแกรบ แต่นานไปหาย มีกำลังทางจิต”

ท่านเล่าว่า การทำความเพียรช่วงนั้น ท่านปฏิบัติไปอย่าง ลืมมืดลืมแจ้ง ลืมวันลืมคืน เลยทีเดียว คิดว่า ผู้หญิงเขาทำได้ ทำไมเราจึงจะทำไม่ได้ จะแพ้ผู้หญิงเขาหรือไร ยิ่งคิดก็ยิ่งเกิดมุมานะ เจริญอิทธิบาท ๔ หัดม้างกายอย่างเต็มสติปัญญาความสามารถ

คล้ายกับกระดูกจะแยกออกจากกัน จะหลุดออกจากกันจริง ๆ เวลาเดินได้ยินเสียงกระดูกภายในกายลั่นดังกรอบแกรบตลอดเวลา บางโอกาสก็นึกสนุก ม้างต้นไม้…แยกออกเป็นส่วน ๆ จนต้นไม้แตก ลั่นดังเปรี๊ยะ…เปรี๊ยะทีเดียว ม้างก้อนหิน ภูเขา…..

ดูจะสนุกที่สุด “ม้าง” สิ่งใด สิ่งนั้นก็แทบจะแตกแยกละเอียดลงเป็นภัสม์ธุลี กำหนดใหม่ ให้กายนั้น สิ่งนั้น กลับรวมรูปขึ้นมาใหม่…กำหนดให้ ทำลายลงเป็นผุยผง รวมพึ่บลง ขยายให้ใหญ่ปานภูเขา ย่อให้เล็กลงเหลือแทบเท่าหัวไม้ขีด

สิ่งของ..! บุคคล…! ทำได้คล่องแคล่ว ว่องไว

มันช่างน่าสนุกจริง ๆ ท่านเล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดผู้มาฝึกเรียน “ม้างกาย” ว่า เมื่อ “ม้างกาย” ได้ใหม่ ๆ ก็เกิดอาการ “ร้อนวิชา” ลองม้างกายคนที่พบเห็นพบใครก็ลอง “ม้างกาย” ดู…ผลพลอยได้ที่ทราบในภายหลังและท่านบันทึกไว้ คือหลังจากม้างกายบุคคลใดแล้ว ท่านจะรู้วาระจิตบุคคลนั้นด้วย….! คิดในใจอย่างไร เคยทำอะไรมา และจะทำอะไรต่อไป…..

จะมีของแถมเป็น ปรจิตวิชชา…อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ…เหล่านี้ตามมา ด้วย

ระหว่างที่ท่านมาอยู่ถ้ำโพนงามระยะแรก ได้ยินเสียงเทวดาพระอรหันต์สวดมนต์ เผอิญตอนนั้นมีพระและเณรตามมาอยู่ด้วยอีก ๒ องค์ ท่านว่า ได้ยินเสียงสวดมนต์กันทั้ง ๓ องค์ ต่อมาท่านได้กราบเรียนถามท่านพระอาจารย์มั่น เล่าถวายให้ท่านฟัง ท่านก็รับรองตามที่หลวงปู่ประสบ

การมาอยู่ที่ถ้ำโพนงามนี้ ทำให้ท่านได้เห็นพญานาคเป็นครั้งแรกในชีวิตด้วย ท่านเล่าว่า เป็นเวลาระหว่างที่ท่านกำลังพักผ่อนหลังจากทำความเพียรมาอย่างหนัก จึงออกมาเดินเล่นตามป่าเขา และเล่นพิจารณาการม้างกายไปด้วย ขณะที่ท่านเล่น “ม้าง” ต้นไม้ให้แตกเปรี๊ยะปร๊ะ ก็เห็นพญานาคมาเล่นกัน เอาดินตม ดินโคลนมาปาใส่กัน ดินบางก้อนขึ้นไปติดบนยอดยางทีเดียว

รูปร่างพญานาคก็คล้ายกับที่เห็นที่หน้ากลักไม้ขีดไฟ หรือที่เขาปั้นไว้ตามหน้าโบสถ์ บันไดนาค…อะไรเหล่านั้น ท่านว่า ในเวลาที่เขาไม่ได้เนรมิตกายให้เป็นอย่างอื่น เสียดายไม่ได้เรียนถามรายละเอียดอื่นอีก มัวแต่ตื่นเต้นเรียนซักถามเรื่องอื่น จึงไม่ได้เรียนถามให้แน่ใจว่า ระหว่างนั้น…ที่ท่านมองเห็นพญานาคนั้น จิตท่านคงจะละเอียดมาก ควรแก่การเห็นผู้ที่อยู่ในภพภูมิอันละเอียดระดับเดียวกับจิตในขณะนั้นของท่าน

พรรษาที่ ๑๑ พ.ศ.๒๔๗๘ สร้างวัดป่าบ้านหนองผือ

จำพรรษา ณ วัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ. สกลนคร

กุฏิที่ชาวบ้านสร้างถวายพระอาจารย์มั่น

ในปี ๒๔๗๘ หลวงปู่ได้มาพบสถานที่อันเป็นมงคลแห่งหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น วัดภูริทัตตถิราวาส หรือ วัดป่าบ้านหนองผือ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังสำหรับผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐานไปทั่วประเทศ ในฐานะที่พระคุณเจ้า ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ บิดาแห่งพระกัมมัฏฐาน ได้จำพรรษาอยู่ ณ ที่แห่งนั้นเป็นเวลาถึง ๕ พรรษาติดต่อกันโดยท่านไม่เคยจำพรรษาอยู่ ณ ที่ใดนานเช่นนั้นมาก่อน

หลวงปู่หลุย ท่านเป็นผู้ที่พบสถานที่แห่งนั้น และก็เป็นที่น่าประหลาดว่า การที่ท่านจะไปอยู่ที่นั่นนั้น มีเหตุมาจากเรื่องเล็ก ๆ เรื่องหนึ่ง กล่าวคือ ในระยะนั้นหลวงปู่กำลังวิเวกอยู่ในแถวอำเภอกุดบาก และพรรณานิคม ปรากฏว่า ชาวบ้านเกิดเป็นโรคเหน็บชา เป็นโรคอัมพฤกษ์กันมาก คือ ไม่เชิงถึงกับเป็นไข้ แต่ต่างคนต่างไม่มีแรง จะทำอะไรก็อ่อนเปลี้ยกันไปทั้งหมู่บ้าน พวกผู้หญิงก็ปานนั้น พวกผู้ชายก็ปานนั้น ไม่สามารถจะทำไร่ทำนากันได้

ด้วยความเมตตาที่เห็นชาวบ้านป่วยไข้ ทั้งขาดแคลนไม่มีเงินจะซื้อจะหายามารักษาพยาบาล หรือบำรุงตนให้หายจากโรคได้ เผอิญท่านระลึกได้ถึงยาตำรับที่เคยมีกล่าวอยู่ในบุพพสิกขา เป็นยาที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ให้ภิกษุอาพาธใช้ ท่านก็เลยทดลองจัดทำขึ้นตามตำรับที่ท่าน เห็น กล่าวไว้ในหนังสือบุพพสิกขาฯ นั้น เรียกกันว่า ยาน้ำมูตรเน่า

หลังจากทำแล้ว ก็ปรากฏว่าโด่งดังไปทั่วทั้งอำเภอกุดบาก อำเภอพรรณานิคม อำเภอเมือง เล่าลือกันต่อ ๆ ไปว่า มีพระกัมมัฏฐานมาปักกลดโปรดสัตว์อยู่ ท่านมียารักษาโรคเหน็บชา โรคอัมพฤกษ์ได้ ในระหว่างนั้น ใครมาขอท่านก็แจกกันให้ไปครอบครัวละ ๑ ขวดใหญ่ ใครกินแล้วก็หายจากโรคร้ายกันทั้งนั้น ต่างมีแรงได้ทำไร่ทำนากันเป็นปกติ แถมยังขยันขันแข็ง มีเรี่ยวแรงดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ เลื่องลือกันไปจนถึงบ้านหนองผือ นาใน เพราะที่นั่นมีคนเป็นโรคอัมพาต เหน็บชา กันหลายคนอยู่ จึงพากันชวนกันไปอาราธนานิมนต์ให้ท่านมาโปรดพวกชาวบ้านหนองผือบ้าง

เล่ากันว่า เมื่อตอนที่ยกขบวนกันไปรับท่านมานั้น ปีนเขากันมาจนถึงหมู่บ้านหนองผือ รับมาพร้อมกับหาบหม้อยามาด้วยกับท่านเลย เพราะบ้านหนองผือเป็นหมู่บ้านใหญ่ มีผู้คนหนาแน่น ได้ยินข่าวเรื่องพระธุดงค์มียาวิเศษ ก็ดั้นด้นไปถึงแล้วก็ไปขอยามา ได้มาทีละน้อย มาถึงมากินแล้วก็หาย จะไปเอามาแจกกันก็ไม่ทันอกทันใจ เลยคิดว่าไปนิมนต์ท่านมาจะดีกว่า สถานที่ซึ่งท่านพักอยู่ก่อนทางเขาด้านโน้นทางกุดบากนั้นอยู่ไกล มีอันตรายมาก สมัยนั้นเสือสางค่างแดงมันก็มีมาก ทั้งมีข่าวเรื่องเสือมากินวัวกินควายอยู่ตลอดเวลา ก็เลยไปรับหลวงปู่มา ให้ท่านมาพักอยู่ตรงข้าง ๆ ที่สร้างวัดทุกวันนี้ ฝั่งทุ่งนาที่เรียกว่า วัดภูริทัตตถิราวาส คิดกันว่า แทนที่จะไปเอายามา ก็ไปรับองค์ท่านมาเลย แล้วก็มาทำยาที่บ้านหนองผือนี้เลย การณ์ปรากฏว่าพวกที่เป็นโรคเหน็บชาทั้งหลายพากันหายจากโรคกันหมด การที่ท่านช่วยให้เขาหายจากโรคภัยไข้เจ็บนี้ ทำให้พวกชาวบ้านเริ่มมีศรัทธานับถือท่าน เคารพท่านมากขึ้นถือว่าท่านมาโปรดพวกเขาโดยแท้

ยาหม้อใหญ่นี้เป็นต้นเหตุให้ท่านได้อุบายฝึกทรมานคน กล่าวคือ เมื่อศรัทธาความเชื่อของคนได้บังเกิดขึ้นแล้ว ท่านก็เริ่มอบรมสั่งสอนชาวบ้าน ในเบื้องต้นเริ่มจากการให้ทาน การรักษาศีล การภาวนา….ตามลำดับไป ท่านทุ่มเทช่วยในการรักษาพยาบาลชาวบ้านจนหายจากโรคภัยไข้เจ็บ แล้วก็ยังมาทุ่มเทรักษาชาวบ้านด้วยวิธีการทางดานจิตใจอก ชาวบานหนองผือจึงเกิดความเชื่อมั่นในองค์ท่านอย่างมาก

เมื่อถึงเวลาที่เรากำลังจะจัดทำชีวประวัติของท่านในครั้งนี้ ได้กลับไปสัมภาษณ์พูดคุยกับพวกชาวบ้านหนองผือ ซึ่งเคยเป็นคนหนุ่มคนสาวสมัยที่หลวงปู่ยังไปบ้านหนองผือใหม่ ๆ เคยช่วยท่าน “เฮ็ด” แคร่ “เฮ็ด” กุฏิ และหัดทอผ้าจากท่าน เคยฝึกหัดสวดมนต์ไหว้พระ หัดภาวนาจากท่าน เคยกราบเคยไหว้หลวงปู่ใหญ่มั่น มาแต่ครั้งกระโน้น ปัจจุบันนี้ล้วนเป็นพ่อเฒ่าแม่แก่ ต่างมีอายุมากไปตาม ๆ กัน

พวกเขาคุยให้ฟังว่า

ชาวบ้านหนองผือนี่ ตั้งแต่ตัวเล็กเด็กแดง ผู้เฒ่าผู้ใหญ่ คนทุกรุ่นทุกวัย ท่านได้สอนหมด ต่างก็เชื่อฟังท่าน โดยครั้งแรกท่านสอนการให้ทานก่อน ให้รู้จักการทำบุญสุนทานตามโอกาส ตามเวลาที่มี โอกาสที่มี นั่นคือว่า ถ้านึ่งข้าวสุกทัน….ก็ใส่บาตร ตำพริกทันก็ให้ใส่พริก ถ้าไม่มีก็ตำกับเกลือ ถ้าตำบ่ทันก็ให้เอาลูกมันใส่ เพิ่นสอนไปหมด…. คำให้สัมภาษณ์นี้ก็มาจาก หลวงตาบู่ ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นคนหนุ่ม ยังไม่ได้บวชเรียนแต่อย่างใด แต่จากการที่ได้ใกล้ชิด รับใช้ท่าน ก็เกิดเลื่อมใสศรัทธา บัดนี้ได้บวชแล้ว อยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ นี่เอง หลวงตาบู่ท่านเล่าว่า หลวงปู่หลุยท่านสอนตั้งแต่ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย จนถึงหลาน ถึง เหลน ถึง โหลน

ข้อนี้คงจะจริง เพราะท่านจะ นึกถึง ประชาชนทุกเพศทุกวัย ในคำที่ท่านเทศนาสำหรับวัดต่าง ๆ ในโอกาสงานบุญต่าง ๆ ท่านจะพูดถึง บุตรหลาน บุตรเหลน บุตรโหลน อยู่ตลอด

หลวงตาบู่บอกว่า เพิ่นมีวิธีการสอน เมื่อเพิ่นทุ่มเทให้ชาวบ้านหนองผือนี่อย่างมาก ชาวบ้านก็มีความเคารพท่าน เชื่อฟังท่านด้วย แทบทุกคนก็ได้หายมาจากโรคแล้ว ท่านจะให้ทำอะไร ปฏิบัติตัวเช่นไร ก็เชื่อฟังเป็นอันดี ถือเสมือนว่าท่านเป็นพระมาลัยมาโปรดให้หายเจ็บหายไข้ การงานใดในวัดที่อยากทำ จะสร้างกุฏิศาลา ชาวบ้านก็มาช่วย

เมื่อเราพูดถึงคำว่า กุฏิ กับ ศาลา นั้น ไม่ได้หมายถึงถาวรวัตถุมากมายอะไร ก็เพียงแต่การที่เอาไม้ไผ่มาตัด ทุบทำเป็นฟากแล้วก็ยกแคร่ขึ้น เอาใบไม้ใหญ่ ๆ มาใส่ ประกับ เข้า โดยใช้ไม้ไผ่มาผ่าเป็นซีกเล็ก ๆ ยาว ๆ แล้วก็เอาใบไม้ไว้ตรงกลาง ประกับหน้า ประกับหลัง ก็สามารถใช้เป็นฝาได้ ส่วนหลังคาก็เกี่ยวหญ้ามามุง อยู่กันเพียงแบบนั้น แต่ก็สามารถเป็นที่เจริญภาวนาได้เป็นอย่างดี

พูดถึงตำรายาหม้อใหญ่ของหลวงปู่นั้น คงจะมีผู้ที่สงสัยว่าจะประกอบด้วยอะไรบ้าง ความจริงในภายหลังในปีหลัง ๆ ท่านก็ได้บันทึกไว้เหมือนกัน จึงจะขอนำมาลงพิมพ์เป็นประวัติไว้โดยรักษาถ้อยคำสำนวนของท่านโดยตลอด ดังนี้

ท่านบันทึกไว้เมื่อ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ที่หัวหิน จังหวัดประจวบดีรีขันธ์

“ยาดองอย่างดี” เยี่ยววัวดำ น้ำมูตรเน่า ของพระพุทธเจ้ามีอยู่ในบุพพสิกขาเป็นอนุศาสน์ พระอุปัชฌาย์ให้แก่กุลบุตรที่บวชใหม่ เป็นยาที่สำคัญ มีชื่อเสียงอย่างดี โดยไม่แพ้กับยารัฐบาลตามร้านต่างๆ ”

หมากขามป้อม ๑

สมอ ๑

กระชาย ๑

กระเทียม ๑

เขาฮอ ๑ (บอระเพ็ด)

พริกไทย ๑

ตะไคร้ ๑

เกลือ ๑

น้ำผึ้ง ๑

ว่านไพร ๑

ใบมะกรูด ๑

ใบมะนาว ๑

ผักหนอก ๑

ผักอีเลิศ ๑

ดีปลี ๑

ใบมะขาม ๑

เยี่ยววัวดำต้มเสียก่อน

ใบสะเดา ใส่บ้างนิดหน่อย

ใบส่องฟ้า ทั้งราก ใบ

ใบแมงลัก

ใบกะเพรา

พริกใหญ่ธรรมดา เอาพริกไทยล้วนยิ่งดี

“เยี่ยววัวดำเป็นอันขาดไม่ได้ เป็นโอสถสำคัญมากทีเดียว แก้โรคเบาหวาน ทำที่จังหวัดจันทบุรี ผ่านมาครั้งหนึ่ง บ้านผือ ตำบลนาใน ถ้ำโพนงาม ทำคราวนั้นมีชื่อเสียงดังมาก วัดป่าจังหวัดปทุมธานีก็ทำเหมือนกัน กินข้าวเอร็ดอร่อยมาก เมื่อกินแล้วใคร ๆ ก็ติดใจ อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายได้ดำเนินมาแล้ว ได้ผ่านมาแล้วตั้งหลายปี ดังนี้ เห็นอานิสงส์ทุกครั้ง เป็นยาปรมัตถ์ของพระพุทธเจ้าโดยแท้ เป็นยาในพระพุทธองค์ศาสนาโดยตรง จนได้สั่งสอนสืบ ๆ มาจนทุกวันนี้”

นี่คือ ตำรับยาหม้อใหญ่ หรือที่ถูกคือ ยาปรมัตถ์ ของพระพุทธเจ้า ตอนหลังมาอยู่ที่หัวหิน ท่านก็ได้จัดทำขึ้นเหมือนกัน แจกจ่ายกันไป

ท่านพักอยู่ที่บ้านหนองผือ นาใน นี้ในปี ๒๔๗๘ และปี ๒๔๗๙ แต่เฉพาะที่จำพรรษานั้นอยู่เพียงปีเดียว คือปี ๒๔๗๘ ออกจากถ้ำโพนงาม ท่านก็วิเวกไปแถวอำเภอ กุดบาก พรรณานิคม เรื่อยมาจนได้กลับมาอยู่ที่บ้านหนองผือดังกล่าว

กล่าวได้ว่าการจัดทำยาหม้อใหญ่นั้นเป็นอุบายนำครั้งแรก ที่ทำให้ท่านสามารถอบรมสั่งสอนชาวบ้านหนองผือได้ ท่านใช้คำว่า สามารถ ทรมาน เขาได้ ชาวบ้านรักท่านมากเมื่อท่านพูดบอกว่า ท่านจะออกจากที่นี่ไป เพื่อจะธุดงค์วิเวกไปตามวิสัยพระธุดงค์กัมมัฏฐาน ต่างก็ไม่ยอม ร้องห่มร้องไห้อ้อนวอน ท่านไม่ทราบจะทำประการใด สงสารชาวบ้านก็สงสาร สุดท้ายจึงต้องใช้วิธีหนีออกไป

จนกระทั่งได้กลับมาอีกทีหนึ่งในปี ๒๔๘๗ เป็นการมาจำพรรษาและเตรียมจัดเสนาสนะรับ ท่านพระอาจารย์มั่นโดยหลวงปู่ได้ออกอุบายแนะให้ชาวบ้านหนองผือ อาราธนานิมนต์ท่านพระอาจารย์มั่นมาจำพรรษา ณ ที่นี้ จนเป็นผลสำเร็จ

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-louis/lp-louis-hist-04-03.htm

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๒

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๐๒

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พรรษาที่ ๑-๖ พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๓

จำพรรษาอยู่กับท่านพระอาจารย์บุญ ปัญญาวุโธ

พ.ศ. ๒๔๖๘ จำพรรษา ณ วัดพระบาทบัวบก อ. บ้านผือ จ. อุดรธานี

พ.ศ. ๒๔๖๙ – ๒๔๗๓ จำพรรษา ณ วัดป่าหนองวัวซอ อ.หนองวัวซอ จ. อุดรธานี

เสร็จจากการทำพิธีญัตติจตุตถกรรมใหม่แล้ว ท่านก็กลับมาจำพรรษาร่วมกับท่านพระอาจารย์บุญ ที่วัดพระบาทบัวบก อ.บ้านผือ จ. อุดรธานี ในพรรษาแรกปี พ.ศ. ๒๔๖๘ และต่อมาพรรษาหลัง ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๙ ก็ได้มาอยู่ที่วัดป่าหนองวัวซอตลอดเวลา ๕ พรรษา

พระอุโบสถวัดป่าหนองวัวซอ

สำหรับวัดป่าหนองวัวซอนั้น หลวงปู่เล่าว่า เป็นวัดที่ท่านพระอาจารย์บุญได้พาชาวบ้านมาจากจังหวัดอุบลราชธานี อพยพโยกย้ายมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนที่อำเภอหนองวัวซอ แล้วก็จัดตั้งวัดขึ้นที่บ้านนาเหล่า ปัจจุบันมีชื่อว่า “วัดบุญญานุสรณ์” เป็นชื่อที่ตั้งเป็นอนุสรณ์สำหรับท่านพระอาจารย์บุญ ในสมัยนั้น บริเวณวัดป่าหนองวัวซอ อุดมด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ทั้งสัตว์เล็กอย่างกระต่าย ไก่ป่า นก ลิง ค่าง บ่าง ชะนีและทั้งสัตว์ใหญ่อย่างเสือ กระทิง เม่น หมี และหมูป่า โดยเฉพาะจ้าวป่าใหญ่อย่างช้างป่า จะผ่านมาในเขตวัดเป็นประจำ สำหรับเสือนั้นมีมากมาย ได้ยินเสียงมันร้อง”อ่าว…อือ อ่า…ววว อือ” แต่ไกลแทบทุกคืน สงัดวิเวกมาก บริเวณวัดก็มีสภาพเป็นป่าจริง ๆ บริบูรณ์ด้วยต้นไม้ใหญ่สูงเสียดฟ้ามืดครึ้ม มีเถาวัลย์รกเลี้ยวคลุมหนาแน่น หนามไผ่หนามหวายปกคลุมแน่นไปหมด เป็นที่เหมาะแก่การเจริญสมณธรรมบำเพ็ญเพียรภาวนาอย่างยิ่ง

ท่านเล่าว่า หนองวัวซอสมัยนั้นบริบูรณ์ด้วยช้างป่ามากมายเหลือเกิน ใกล้วัดมีต้นมะขามป้อมป่ามาก พระเณรได้ฉันเป็นยาปนมัตถ์ แต่ขณะเดียวกัน พวกสัตว์ป่าก็เยี่ยมกรายเข้ามาเพื่อจะอาศัยลูกมะขามป้อมเป็นอาหารมากเหมือนกัน จึงมีหลายครั้งที่ขณะซึ่งบรรดาเณรกำลังเก็บมะขามป้อมร่วงตามโคนต้น มักจะมีพวกเก้ง กวาง โผล่หน้าเยี่ยมเข้ามาหาอาหารบ้าง ต่างฝ่ายต่างก็จะผงะถอยหลัง ฝ่ายเณรก็ตกใจ ฝ่ายกวางก็ตกใจ กระโดดหนีไป มีแม้กระทั่ง กระทิง หมูป่า เม่น ทั้งมนุษย์และสัตว์ต่างก็อาศัยผืนแผ่นดินในโลกเป็นที่อยู่อาศัยเช่นเดียวกัน ไม่มีการปักป้ายกั้นเขตแดนไปเลยว่า นั่นเป็นเขตของมนุษย์ นี่คือเขตของสัตว์ บริเวณแถบนั้นยังเป็นป่า ไม่มีที่จะสำแดงว่าเป็นเมือง มีแต่พระธุดงคกัมมัฏฐานที่ไปพำนักอยู่ตามแคร่ตามกุฏิเล็ก ๆหรือใต้รุกขมูลร่มไม้เท่านั้น กลางคืนจะได้ยินเสียงนกหรือลิงร้องกรีดในเวลากลางคืน พระ ป่า ก็อยู่ในป่า สัตว์ป่าก็เป็นของ ป่า กลมกลืนกันไป
อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร

ชีวประวัดิ พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร

จากหนังสือ จันทสาโรบูชา

โดยคุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร เป็นศิษย์สำคัญองค์หนึ่งของพระคุณเจ้า ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ผู้สมควรจะได้รับการถวายสมัญญา เป็นบูรพาจารย์ เป็นบิดาแห่งวงศ์พระกัมมัฏฐานในสมัยปัจจุบัน ศิษย์สำคัญที่เป็นพระเถระผู้ใหญ่ มีชื่อเสียงขจรขจายเป็นที่เคารพนับถือของมหาชนทั่วประเทศตามรอยบาทแห่งบูรพาจารย์ของท่าน ถือเป็นรุ่นใกล้เดียงกันกับหลวงปู่หลุย จันทสาโร ก็มีเช่น พระคุณเจ้า หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์) หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่ขาว อนาลโย และ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นอาทิ

หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่อ่อน หลวงปู่ชอบ ต่างมีอายุอ่อนกว่าหลวงปู่หลุย โดยหลวงปู่เทสก์และหลวงปู่อ่อน เกิดในปีขาล พ.ศ. ๒๔๔๕ ในวันที่ ๒๖ เมษายน และ วันที่ ๓ มิถุนายน ตามลำดับ ส่วนหลวงปู่ชอบ เกิดปีฉลู พ.ศ. ๒๔๔๔ เช่นเดียวกับหลวงปู่หลุย แต่เกิดภายหลังท่าน ๑ วัน กล่าวคือ หลวงปู่หลุยเกิดวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ และหลวงปู่ชอบเกิดวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์

สำหรับวันอุปสมบทหรือญัตติเป็นธรรมยุตนั้น พอเรียงลำดับได้ดังนี้

หลวงปู่เทสก์ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖

หลวงปู่อ่อน วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗

หลวงปู่ชอบ วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗

หลวงปู่หลุย วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๘

นอกจากหลวงปู่เทสก์ ซึ่งเห็นได้ชัดว่า อุปสมบทก่อนท่าน ๒ พรรษาแล้วหลวงปู่อ่อนและหลวงปู่ชอบจะอุปสมบทก่อนท่านเพียง ๒- ๓ เดือนเท่านั้น และมีพรรษาเท่ากัน เพราะท่านทั้งสามจะต้องเริ่มพรรษาหนึ่งในปี ๒๔๖๘ ด้วยกันทั้งนั้นด้วยแม้จะเป็นการอุปสมบทในปี ๒๔๖๗ สำหรับหลวงปู่อ่อนและหลวงปู่ชอบ แต่โดยที่ระยะนั้นวันขึ้นปีใหม่ คือ วันที่ ๑ เมษายน พรรษาของปี ๒๔๖๗ ได้ผ่านพ้นมาแล้วเมื่อท่านทั้งสองอุปสมบท เช่นในกรณีของหลวงปู่ชอบ ท่านอุปสมบทเมื่อ ๒๑ มีนาคม เท่ากับเหลือเวลาอีกเพียง ๑๐ วันก็จะสิ้นปี ๒๔๖๗ พรรษาของท่านจึงต้องไปตั้งต้นที่ปี ๒๔๖๘ เช่นหลวงปู่หลุย ในกรณีของหลวงปู่อ่อนก็เช่นเดียวกัน
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่หลุย พบเนื้อคู่ในอดีต ถึงกับซวดเซลงแทบจะล้มลงทั้งยืน

หลวงปู่หลุย พบเนื้อคู่ในอดีต ถึงกับซวดเซลงแทบจะล้มลงทั้งยืน

ศาสนาพุทธมหาสติปัฏฐาน 4ปฏิบัติธรรมทำบุญวัด
จากชีวประวัติ – พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร
จากหนังสือ จันทสาโรบูชา โดย คุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต
…………………………………………………………………

อดีตที่ฝังรอยมาจากบุพชาติ

“…หลวงปู่ท่านแวะมาที่หล่มสัก ด้วยโยมมารดาของท่านมีพื้นเพภูมิลำเนาอยู่ที่นั้น จึงยังมีบ้านญาติบ้านพี่บ้านน้อง
คนคุ้นเคยอยู่มาก ท่านมาถึงได้ทราบว่า บ้านญาติคนหนึ่งมีงานศพ นิมนต์พระไปสวดมนต์ ท่านก็ได้รับนิมนต์ไปใน
งานสวดมนต์นั้นด้วย

หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า ท่านไม่เคยคิดเลยว่า การแวะไปเยี่ยมญาติและสวดมนต์ในครั้งนั้น
จะทำให้ท่านถึงกับซวดเซลงแทบจะล้มลงทั้งยืน

ล้ม…ล้มอย่างไม่มีสติสตังเลยทีเดียว

ท่านเล่าให้เฉพาะผู้ใกล้ชิดฟังว่า วันนั้นท่านกำลังสวดมนต์เพลินอยู่ ระหว่างหยุดพักการสวด
เจ้าบ้านก็นำน้ำปานะมาถวายพระแก้คอแห้ง บังเอิญตาท่านชำเลืองมองไปในหมู่แขก
ที่กำลังนั่งฟังสวดมนต์อยู่เพียงตาสบตา ท่านก็รู้สึกแปล๊บเข้าไปในหัวใจ

เหมือนสายฟ้าฟาด แทบจะไม่เป็นสติสมประดี

ท่านกล่าวว่า เพียงตาพบแว้บเดียว ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ท่านก็เซแทบจะล้ม
เผอิญขณะนั้นท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้รับนิมนต์ไปด้วย
ท่านคงสังเกตถึงอาการ หรือว่าท่านอาจจะกำหนดจิตทราบเหตุการณ์ก็ได้
ท่านจึงเข้ามาประคองไว้ เพราะมิฉะนั้นหลวงปู่คงจะล้มลงจริง ๆ
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่หลุย จันทสาโร (หลุย จันทสาโร)

หลวงปู่หลุย จันทสาโร. (หลุย จันทสาโร)

หลวงปู่หลุย

เกิด 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444
อุปสมบท พ.ศ. 2466
มรณภาพ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2532
พรรษา 66
อายุ 88
วัด วัดถ้ำผาบิ้ง
จังหวัด เลย
ตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์ เจ้าอาวาสวัดถ้ำผาบิ้ง
หลวงปู่หลุย (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 – 25 ธันวาคม พ.ศ. 2532) พรเถระสายอีสานสายหลวงปู่มั่น สายธรรมยุติ เป็นพระอริยสงฆ์ผู้มีศีลวัตรปฏิบัติอันงดงาม

ประวัติ

หลวงปู่หลุย จันทสาโร ท่านเกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายคำฝอย วรบุตร ลูกชายเจ้าเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี ประเทศลาว และนางกวย (สุวรรณภา) วรบุตร ในช่วงวัยเด็กท่านศึกษาจบระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และได้ทำงานเป็นเสมียน กับพี่เขยที่เป็นสมุห์บัญชีสรรพากร อ.เชียงคาน และเมื่อปี 2464 ได้ย้ายไปทำงานที่อำเภอแซงบาดาล (ธวัชบุรี) และที่ห้องอัยการภาค จ.ร้อยเอ็ด ด้วยการอุปถัมภ์ของอัยการภาคร้อยเอ็ด ท่านได้นับถือศาสนาคริสต์ อยู่ 5 ปี จนลุงของท่าน เรียกท่านว่า เซนต์หลุยส์ หรือ หลุย ท่านจึงถูกเรียกชื่อว่า หลุย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และต่อมาท่านได้กลับใจเปลี่ยนศาสนามานับถือศาสนาพุทธแทน และได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2466 เป็นพระมหานิกาย ณ อ.แซงบาดาล จ.ร้อยเอ็ด ในช่วงพรรษาที่ 1 ท่านได้พยายามศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งปริยัติธรรมและปฏิบัติ ครั้นถึงคราวออกพรรษา ท่านได้ลาพระอุปัชฌาย์ไปเข้าร่วมการคัดเลือกเกณฑ์ทหารที่จังหวัดเลย และได้เดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม ที่จังหวัดนครพนม อ่านเพิ่มเติม

สุดยอดแห่งพุทธคุณ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน(วังตะโก)

สุดยอดแห่งพุทธคุณ หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน(วังตะโก)

พระเครื่องหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน (วังตะโก) นั้น ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใดรุ่นใด สามารถเชื่อถือได้อย่างสนิทใจในทุกๆด้านไม่ว่า แคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุตม์ นับเป็นหนึ่งในสุดยอดพระเครื่องที่บรรดาเหล่าเซียนพระทั้งหลายเป็นที่หมายปอง หวังที่จะได้มาซึ่งการบูชาครอบครอง เพื่อเสริมบุญบารมี เป็นศิริมงคลแก่ตัวเอง เนื่องจากผู้ที่มีหลวงพ่อเงิน บูชาติดตัวเป็นประจำต่างได้รับรับประสบการณ์อภินิหาร ความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวอย่างถ้วนหน้า นอกจากนี้ในด้านลาภผลเงินทอง ก็ไม่ด้อยไปกว่ากันเท่าใดนัก สมกับนามของท่าน คือ เงินโดยแท้ ปัจจัยเหล่านี้เองที่ทำให้พระเครื่องหลวงพ่อเงินจึงเป็นที่ใฝ่ฝันของนักอนุรักษ์สะสมทุกคน ที่จะได้เป็นเจ้าของในพระที่มีสภาพสวยๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปหล่อหรือเหรียญราคาทะลุหลักล้านทุกองค์เลยครับ ส่วนสภาพที่ผ่านการใช้ก็อยู่ในช่วงราคาหลักแสนบาท ขึ้นอยู่ความสมบูรณ์ขององค์พระ สำหรับพระเก๊ ที่สร้างออกมาลอกเลียนแบบไม่ต้องกล่าวถึงเพราะมีกันมานมนานกาเลแล้ว แต่ละเหรียญที่สร้างกันออกมานั้นก็พยายามพัฒนาฝีมือให้ใกล้เคียงกับของจริงมากที่สุด ซึ่งการดูพระหลวงพ่อเงินท่าที่นี้แนะนำให้ปรึกษาผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญพระทางด้านสายของหลวงพ่อเงินจะดีกว่า (แต่ต้องเป็นผู้ที่เราไว้ใจได้และมีจริยธรรมอย่างแท้จริง ไม่งั้นโดนตีเป็นพระเก๊ซะอีก)

พระเครื่องหลวงพ่อเงินที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการของเหล่าเซียนพระทั้งหลาย

สำหรับวัตถุมงคลประเภทพระเครื่องของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน(วังตะโก) ที่ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานและการเช่าหาสะสมในแวดวงเหล่าเซียนพระต่างนั้น ได้แก่ ประเภทรูปหล่อและเหรียญหล่อ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
1.รูปหล่อลอยองค์หลวงพ่อเงิน มี 2 พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์นิยม และ พิมพ์ขี้ตา
2.เหรียญหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์จอบใหญ๋ข้างเม็ด
3.เหรียญหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์จอบเล็ก

– See more at: http://www.gejisiam.com/

รูปหล่อจำลองสัมฤทธิ์วัดเก่าหลวงพ่อเงิน

รูปหล่อจำลองสัมฤทธิ์วัดเก่าหลวงพ่อเงิน

เมื่อราวเดือนใดปีใดไม่ปรากฏได้มี ท่านปลัดชุ่ม ปทุมโม อดีตเจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำได้ปรึกษาหารือกับบรรดาทายก แบะคณะกรรมการวัดว่า หลวงพ่อเงินขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้มาอยู่ที่วัดท้ายน้ำเป็นนิตย์ คืออยู่มากพอ ๆ กับวัดวังตะโก ท่านยังเคยปรารภกับญาติโยมแถบนั้นว่า วัดท้ายน้ำนี้มันดี คำพูดนี้ท่านยังเคยกล่าวอยู่เสมอ ๆ และท่านยังเคยก่อสร้างเสนาสนะไว้หลายอย่าง อาทิเช่น ช่อฟ้าพระอุโบสถ ท่านก็เป็นผู้แกะเอง และหอระฆังที่พังไปแล้วท่านก็เป็นผู้เขียนลวดลายเอง บางครั้งขณะที่ท่านกำลังแกะวัตถุดังกล่าวอยู่นั้น ท่านเคยถามบรรดาญาติโยม และทายกทายิกาเหล่านั้นว่า ของของข้าสวยไหม บรรดาบุคคลใกล้ชิดเหล่านั้นก็ต้องตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า สวยมาก ท่านหัวเราะชอบใจ และกุฏิหอสวดมนต์นั้น หลวงพ่อท่านก็ไปมามิได้ขาดเลย และสิ่งของที่หลวงพ่อโปรดปรานมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ ช้างที่ข้างหอระฆังหลังเก่านั้น ยังมีตะลุงช้างปรากฏอยู่ถึงเวลานี้ ช้างที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่าชื่อช้างนบ ช้างแหนบ เท่าที่กล่าวมานี้ก็แสดงว่า หลวงพ่อท่านได้สร้างวัดท้ายน้ำด้วย เมื่อคณะกรรมการเห็นเหตุการณ์ดังที่กล่าวมานี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลวงพ่อเงินอยู่มาก จึงได้ปรึกษาหารือกันขึ้น เมื่อคณะกรรมการตกลงกันแล้ว ได้ไปจ้างช่างทองสุข เป็นนายช่างใหญ่และตกลงราคากันเป็นเงิน๕๐๐ บาท ช่างทองสุขจึงเดินทางไปวัดวังตะโก พอไปถึงก็ลงมือปั้นหุ่นหลวงพ่อเงินกันทันที โดยไม่ได้บอกเล่าอะไรต่าง ๆ กับหลวงพ่อ ปรากฏว่า การปั้นหุ่นครั้งที่ ๑ ไม่เหมือนรูปเดิม ช่างเลยลบรูเดิมใหม่แล้วลงมือปั้นครั้งที่ ๒ ก็ยังไม่เหมือนอี พอดีคูนโยมผึ่ง (ไม่ทราบนามสกุล) ได้แนะนำนายช่างว่าควรทำอย่างนี้ คือต้องใช้หัวหมู ๓ หัว เครื่องกระยาบวช ๓ สำรับ บายศรีซ้ายและชวา บอกเล่าให้เรียบร้อยเสียก่อน นายช่างทองสุขก็ทำตามที่โยมผึ่งแนะนำทุกประการ การปั้นหุ่นหลวงพ่อเงินครั้งที่๓ นี้จึงสำเร็จตามความประสงค์ คือเหมือนรูปเดิมอย่างกับพิมพ์เดียวกัน ให้คณะกรรมการที่วัดดูก็เห็นพ้องต้องกันว่าเหมือนแน่ แล้วจึงนำหุ่นหลวงพ่อลงเรือมาปากน้ำ จานนั้นจึงจัดกระบวนแห่เป็นการใหญ่ ทั้งประชาชนชาวบ้านท้ายน้ำตลอดทั้งเด็กและผู้ใหญ่พอมาถึงที่วัดท้ายน้ำก็กำหนดการหล่อ นายช่างได้นำเศษทองที่เหลือจากการหล่อที่วัดวังตะโกเพราะเศษทองยังมีเหลืออยู่มากจึงได้นำมาผสมหล่อรูปหลวงพ่อเงินวัดท้ายน้ำ (วัดเก่าหลวงพ่อเงิน) อภินิหารของหลวงพ่อเงินที่จำลองไว้ที่วัดท้ายน้ำ หรือความศักดิ์สิทธิ์ของรูจำลองของหลวงพ่อเงินนั้นทุก ๆ วันจะมีประชาชนทั้งใกล้และไกลมานมัสการ หรือมาปิดทองโดยทั่วกันไม่เว้นแต่ละวัน พอถึงเทศกาลไหว้พระ หรือมีงานประจำปีทุกครั้งสามารถทำรายได้ไว้บำรุงวัดท้ายน้ำเป็นจำนวนมาก เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนได้ดี

http://www.109wat.com/bk01.php?id=291

การก่อสร้างของหลวงพ่อเงินวัดท้ายน้ำ

การก่อสร้างของหลวงพ่อเงินวัดท้ายน้ำ

ท่านได้ก่อสร้างถาวรวัตถุหลายอย่าง อาทิเช่น
(๑) อุโบสถหลังเก่า ทั้งช่อฟ้าใบระกาหลวงพ่อท่านเป็นผู้เขียนลวดลายเองเดี๋ยวนี้ก็ยังปรากฏอยู่
(๒) หอระฆังแบบทรงไทย ช่อฟ้าใบระกานั้น หลวงพ่อท่านลงมือทำเองพร้อมกับทายกในสมัยนั้น
(๓) หอสวดมนต์หรืกุฏิ และที่ต้อนรับแขกอยู่มาสมัยปี ๒๔๙๐ (เดี๋ยวนี้รื้อไปเสียแล้ว)
(๔) กุฏิเรือนแพจอดอยู่ที่ใต้ต้นโพธิ์หน้าวัดท้ายน้ำ ในสมัยนั้นหน้าแล้งช้างจะข้ามฟากมา น้ำจะมิดหลังช้าง
(๕) ศาลาการเปรียญหลังเก่า ท่านก็ได้สร้างไว้ (เดี๋ยวนี้รื้อไปเลียแล้ว)
(๖) ศาลาปรก หรือฌาปนสถาน
(๗) ตะลุงช้างของหลวงพ่อเงิน ทางวัดเก็บไว้เป็นอนุสรณ์ ตามหลักฐานปรากฏว่าหลวงพ่อเงินท่านมีช้างถึง ๔ เชือก ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของหลวงพ่อเงินมาก เพระใช้สำหรับเป็นพาหนะไปบวชนาคทั่วไปในอำเภอ เป็นที่รู้จักในปัจฉิมวัยของท่านว่า ได้ใช้ช้างเป็นพาหนะเดินทางมาโดยตลอด

http://www.109wat.com/bk01.php?id=291

หลวงพ่อเงินกับสมเด็จพุฒาจารย์โต

หลวงพ่อเงินกับสมเด็จพุฒาจารย์โต

พระเถระนามอุโฆษ ๒ องค์นี้ ได้ไปร่ำเรียนหาความรู้จากวัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) ด้วยกันทั้งคู่ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมีอายุแก่กว่าหลวงพ่อเงิน ๒๐ ปี คือ ท่านชาตะเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๑ หลวงพ่อเงินชะตะเมือ พ.ศ.๒๓๕๑ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตสิ้นชีพตักษัยเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๑๕ นั้นหลวงพ่อเงินอายุได้ ๖๕ ปีพอดี
ที่แน่นอนก็คือ หลวงพ่อเงินเป็นศิษย์ผู้น้อง แต่จะเป็นศิษย์โดยตรงของสมเด็จโตหรือไม่ไม่มีหลักฐานใดระบุไว้ ชาวบางคลานก็ไม่เคยได้ยินหลวงพ่อเงินพูดถึง
วัดตอบปุ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจำพรรษาอยู่มากในยุคนั้น ส่วนใหญ่เป็นพระมอญ และวัดนี้ก็มีชื่อเป็นภาษามอญมาแต่เดิมตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา และชาวบ้านทั่ว ๆ ไป ไปเรียกว่า วัดกลางนา มาตั้งดั้งเดิมอยู่แล้ว

http://www.109wat.com/bk01.php?id=291

พระเครื่องของหลวงพ่อเงินกันปักเป้ากัดได้

พระเครื่องของหลวงพ่อเงินกันปักเป้ากัดได้

แถบลำน้ำยมในสมัยก่อนมีปลาปักเป้าชุมมาก เป็นที่หวั่นเกรงของชาวบ้านที่ลงไปอาบน้ำแถบนั้นมาก เมื่อมีศิษย์สร้างพระเครื่องเป็นรูปตัวท่านมาถวาย เวลาท่านแจกชาวบ้านท่านจะกำชับว่า เอาไปไว้ใช้กันปักเป้ากัดได้ ถ้าของท่านไม่มีดีคงไม่กล้าพูดอย่างนี้กับชาวบ้านเป็นแน่
เครื่องรางของขลังของหลวงพ่อเงิน
ข้าพเจ้าได้ถามลุงเลียบว่า ในสมัยก่อนนั้น หลวงพ่อเงินสร้างเครื่องรางของขลังอะไรไว้บ้างที่เป็นที่นิยมของลูกศิษย์ ลุงเลียบบอกว่า มีตะกรุดกับน้ำมนต์เสก ของสองอย่างนี้เชื่อถือได้แน่นอน นอกจากนี้ก็ยังมีน้ำมนต์ที่ขลังมาก คนนิยมมารดกันเป็นร้อยทีเดียว สำหรับพระเครื่องรูปหล่อกลมและแบบนั้น มาสร้างกันภายหลังแล้ว ทำบุญ ๑ บาทก็จะได้ ๑ องค์

http://www.109wat.com/bk01.php?id=291

กระดูกหลวงพ่อเงินกลายเป็นพระธาตุ

กระดูกหลวงพ่อเงินกลายเป็นพระธาตุ

ข้าพเจ้าได้มีโอกาสรู้จักกับคุณสะท้าน นาคเมือง คนพิจิตรโดยกำเนิด ปัจจุบันไปประกอบอาชีพทางภาคเหนือ เมื่อได้ทราบว่า ข้าพเจ้าอยากทราบประวัติและประสบการณ์เกี่ยวกับมรดกวัตถุของหลวงพ่อเงิน คุณสะท้านก็ยินดีนำออกมาให้ชม สิ่งที่คุณสะท้านได้รับมอบจำคุณแม่ ก็คือ พระธาตุของหลวงพ่อเงิน คุณแม่มาตอนเผาหลวงพ่อ เห็นชาวบ้านกำลังรุมแย่งอัฐิกันอยู่จึงเก็บมาได้ ๑ ชิ้น ตอนแรกเขาเข้าใจว่าเป็นฟันของหลวงพ่อ ได้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี เพราะสิ่งเหล่านี้ได้เคยช่วยชีวิตเขามาหลายครั้งแล้ว
พระธาตุมีด้วยกัน ๒ ชิ้น ถูกแบ่งไปให้ญาติ ๑ ชิ้น ปัจจุบันตกอยู่กับคุณพายพ ผอบเหล็ก ทนายความในจังหวัดพิจิตร เกี่ยวกับอภินิหารของพระธาตุนั้นมีมาก เขาเคยถูกยิงจนรถปิกอัพพรุนไปทั้งคัน กระสุนปืนยังปรากฏเป็นรอยช้ำที่บริเวณหน้าอกถึง ๒ รอย แต่ไม่เข้า นอกจากนี้ยังมีเศษไม้เท้าของหลวงพ่อเงิน ซึ่งตัดแบ่งกันมาหลายทอดแล้ว เขามีอยู่เพียง ๑ แว่นเท่านั้น ดูจะเป็นไม้เท้าที่ทำมาจากเถาวัลย์ขนาดเชื่อง ๆ ไม้เท้านี้ได้ขอแบ่งจากกำนันปุ้น พิงไชย เศษไม้เท้านี้ก็มีความขลังไม่น้อย เคยมีผู้ฉีกแล่งเอามาผูกกับหางไก่ชนเอาเข้าไปตีคู่ต่อสู้จะยิงแทงไม่เข้าเลยสักแผล เป็นที่อัศจรรย์ ทัศนะส่วนตัวของผู้เขียนและคณะค้นคว้า ปรับปรุง เรียบเรียง เกี่ยวกับวัดหลวงพ่อเงิน หลวงพ่อเงินเป็นเถราจารย์ที่มีชื่อเสียงมาก และเป็นผู้ที่รู้จักของคนทั่วประเทศ ข้าพเจ้าเองก็คุ้นกับชื่อเสียงของท่านมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และได้ให้ความเคารพต่อท่านตลอดมา จนกระทั่งเมื่อประมาณปี ๒๕๑๘ จึงได้เริ่มศึกษาค้นคว้าประวัติของท่านอย่างละเอียด อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัติที่คลุมเครือหลวงพ่อเงิน

ชีวประวัติที่คลุมเครือหลวงพ่อเงิน

เมื่อท่านกลับไปอำเภอบางคลานแล้ว ขณะนั้นก็คงมีอายุราว ๒๕-๒๖ ปี ท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดคงคารามเป็นเวลาประมาณ ๑ ปี ซึ่งอุปนิสัยของทานเข้ากับอาจารย์โห้ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดคงคามในขณะนั้นไม่ได้ เพราะอาจารย์โห้เป็นพระที่พูดเสียงดัง เอะอะโวยวายไม่เหมือนกับท่านเป็นพระสันโดษ ใฝ่วิปัสสนา จึงแยกตัวออกไปตากวัดคงคาราม ตอนนี้หลักฐานได้จากการสอบถามผู้สูงอายุที่ยังมีชีวิตอยู่ที่บ้านท้ายน้ำหลายท่านในขณะนี้เช่น ลุงเลียบ พูลชัยนาท อายุ๘๗ ปี และ ลุงโพธิ์ สุจริต อายุ ๘๗ ปี ท่านยืนยันว่าหลวงพ่อเงินท่านมาอยู่ที่วัดท้ายน้ำก่อนไปอยู่ที่วัดบางคลานแน่นอน ท่านมาอยู่ที่วัดท้ายน้ำเป็นเวลานานมาก ก่อนที่จะย้ายไปวัดวังตะโกหรือวัดบางคลานในปัจจุบัน ขณะที่จำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำ ได้อยู่ร่วมกับหลวงพ่อเขียว ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำในขณะนั้น หลวงพ่อเขียวเป็นคนแถบอยุธยา เป็นผู้ที่เรืองวิชาอาคมเช่นเดียวกับหลวงพ่อเงินเดิมทานอาศัยอยู่ที่แพริมน้ำใต้ต้นโพธิ์หน้าวัด เมื่อหลวงพ่อเงินมาอยู่ด้วยใหม่ ๆ ก็ลงไปอยู่ที่แพแต่อยู่กันคนละห้อง ต่อมาเมื่ออาคารถาวรของวัดท้ายน้ำเสร็จ ท่านจึงได้ขึ้นมาอยู่ในบริเวณวัด หลวงพ่อเงินได้สร้างถาวรวัตถุไว้ในบริเวณวัดท้ายน้ำมากมาย เช่น ศาลา โบสถ์ หอระฆัง สิ่งก่อสร้างของท่านทำด้วยไม้ แต่กาลเวลาทำให้ชำรุดทรุดโทรมลงไป ตอนสร้างโบสถ์มีหลวงพ่อองค์อื่นที่มีชื่อเสียงมาร่วมด้วยมากมาย เช่น หลวงพ่ออินทร์ วัดพังน้อย หลวงพ่อเทียน วัดหนองดง หลวงพ่อเทียนนี้เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์กับหลวงพ่อเงิน คือไปเรียนวิชามาจากหลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่าด้วยกัน หลวงพ่อโพธิ์เป็นพระมอญเดิมอยู่ที่บ้านเนินมะขวิด จังหวัดปทุมธานี หลวงพ่อเงินขณะอยู่ที่วัดท้ายน้ำ ท่านไม่ต้องการตำแหน่งใด ๆ ทั้งสิ้น คือ เพียงมาอาศัยอยู่ในฐานะลูกวัด แต่ก็มีผู้เลื่อมใสท่านากกว่าพระองค์อื่น ๆ ในวัด ท่านสนิทสนมกับกลวงพ่อเขียวมากผู้เฒ่าในหมู่บ้านท้ายน้ำหลายท่านซึ่งมีชีวิตอยู่ในขณะนี้สามารถยืนยันเกตุการณ์ในอดีตได้เป็นอย่างดี ที่ว่าประวัติคลุมเครือก็เพราะหลวงพ่อเงินมีอายุยืนยาวมาก ถ้าท่านออกจากวัดคงคารามเมื่ออายุก่อน๓๐ ปี แล้วท่านจะไปอยู่ที่ใดจึงมาอยู่ที่วัดท้ายน้ำเอาเมื่ออายุเกือบ ๘ ปี ลุงเลียบ พูลชัยนาท บอกว่า หลวงพ่อเงินมาอยู่วัดท้ายน้ำเมื่อท่านยังเป็นเด็ก และจากไปอยู่วัดบางคลานเมื่อท่านอายุได้ประมาณ ๑๕ ปี ปัจจุบันท่านอายุ ๘๗ ปี แสดงว่าหลวงพ่อเงินจากวัดท้ายน้ำไปเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๗ นั่นเอง และไปอยู่วัดบางคลานอีกไม่กี่ปีก็สิ้นบุญ ท่านยืนยันอย่างนั้น มีทัศนะเดียวที่เป็นไปได้ก็คือ เมือท่านจากวัดคงคาราม นำต้นโพธิ์มาปลูกแล้ว อาจจะ จำพรรษาอยู่ที่นี่สักระยะหนึ่ง พ.ศ.๒๓๗๗ ออกจากวัดคงคาราม พ.ศ.๒๓๗๕-๒๓๗๗ อยู่วัดท้ายน้ำร่วมกับหลวงพ่อเขียว พ.ศ.๒๓๗๗-๒๔๒๗ แล้วจึงออกธุดงค์ไปที่อื่นนานถึง ๕๐ ปี แล้วจังกลับไปอยู่วัดบางคลานที่ท่านริเริ่มสร้างไว้ ที่ท่านอยู่วัดบางคลานไม่กี่ปีเพราะเนื่องจากถาวรวัตถุที่วัดบางคลานที่ท่านสร้างไว้มีน้อยมากเปรียบเทียบแล้วสู่วัดท้ายน้ำไม่ได้ข้าวของเครื่องใช้ของท่านก็มีหลงเหลืออยู่ที่วัดท้ายน้ำมากวัดบางคลานถูกทิ้งร้างมานาน พ.ศ.๒๓๗๕-๒๓๗๗ อยู่วัดท้ายน้ำร่วมกับหลวงพ่อเขียว พ.ศ.๒๓๗๗ ออกจากวัด เมื่อหลวงพ่อเงินย้ายกลับไปอยู่วัดบางคลานในระยะสุดท้ายของชีวิต ท่านไม่ได้ทอดทิ้งวัดท้ายน้ำและวัดคงคาราม ท่านยังกลับมาช่วยบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่าง ๆ ด้วย เมื่ออาจารย์โห้ให้เจ้าอาวาสวัดคงคารามสิ้นแล้ว ท่านก็ยังกลับไปสร้างศาลาให้วัดคงคารามอีก นอกจากนี้ท่านยังเดินทางไปวัดท้ายน้ำบ่อย ๆ สมัยก่อนไม่มีถนนหนทางสะดวกอย่างทุกวันนี้ มีข่างเล่ากันว่า บางครั้งหลวงพ่อเงินเดินทางจากวัดท้ายน้ำกลับไปวัดบางคลาน ท่านยังหลงอยู่ในป่าเป็นเงลานาน เพราะสมัยก่อนเป็นป่าดงดิบจริง ๆ ไม่ใช่ทุ่งนาอย่างในสมัยนี้ ระยะทางระหว่าง ๒ วัดนี้ ถ้าหากวัดระยะทางเป็นเส้นตรง ก็จะได้ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร

http://www.109wat.com/bk01.php?id=291

วัดท้ายน้ำ ตำบลท้ายน้ำ อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

วัดท้ายน้ำ ตำบลท้ายน้ำ อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

หลวงพ่อเงิน เกิดที่บ้านบางคลาน หมู่ที่ ๑ ตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตรตรงกับสมัยรัชกาลที่๑ แห่งรัตนโกสินทร์ สำหรับวันเกิดของท่านนั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดยืนยันได้แต่จากการสอบถามกับปีที่ท่านอุปสมบทแล้ว น่าเชื่อได้ว่า ท่านเกิดในปี พ.ศ. ๒๓๕๑ ค่อนข้างจะแน่นอน คุณลุงแปลก สุขนวล ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่ทันรับใช้หลวงพ่อบอกว่า ท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๐ ปีมะโรง พ.ศ.๒๓๕๑ และมรณภาพเมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๐ แรม ๑๑ค่ำปีมะแม เวลา ๐๕.๐๐ น. ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๖๒ รวมอายุได้๑๑๑ ปี ๙๐ พรรษา (ถ้าหากเกิดในปีฉลู จะมีอายุเพิ่มขึ้นอีก ๓ ปี เป็น ๑๔๔) สำหรับวันเกิดของท่าน หากมีหลักฐานอื่นใดที่เป็นลายลักษณ์อักษรยืนยันได้แน่นอนก็จะทำให้ทราบอายุของท่านที่แท้จริงได้ถูกต้อง
หมายเหตุ หลวงพ่อเงิน วัดคงคาราม หลวงพ่อเงิน วัดท้ายน้ำ และ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน (วัดหิรัญญาราม) คือองค์เดียวกัน

ชาติภูมิ
บิดาของหลวงพ่อเงินเป็นชาวบางคลาน มารดาเป็นคนบ้านแสนตอ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร มีพี่น้องทั้งสิ้นรวม ๖ คน ดังนี้
(๑) ตาพรหม เป็นพี่ชายคนโต
(๒) ยายทับ (ไม่ทราบนามสกุล)
(๓) ตาทอง หรือ ตาภุมรา
(๔) หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ
(๕) ตาหลำ (ไม่ทราบนามสกุล)
(๖) ยายรอด (ไม่ทราบนามสกุล)
เมื่อหลวงพ่อเงินอายุได้ ๓ ขวบ ตาช้างซึ่งเป็นลุงของหลวงพ่อเงินได้นำเอาหลวงพ่อไปเลี้ยงไว้ที่กรุงเทพฯ ด้วย ต่อมาเป็นวันเดือนปีใดไม่ทราบ หลวงพ่อเงินได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดตองปุ (ปัจจุบันคือวัดชนะสงคราม จังหวัดพระนคร) เมื่ออายุ๑๒ ขวบ แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นอุปัชฌาย์ พออายุได้ ๒๐ ปี บิดา มารดา และบรรดาญาติพี่น้องมีความประสงค์จะให้หลวงพ่ออุปสมบท แต่หลวงพ่อไม่ยอมบวช เพราะเกรงว่าอายุของท่านจะไม่ครบบริบูรณ์จริงบรรดาญาติก็อนุโลมตาม จนกระทั่งหลวงพ่ออายุได้ ๒๒ ปี ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๓ และได้กำหนดวันอุปสมบทในปีนี้
จากปีที่อุปสมบทดังกล่าวนี้เอง ทำให้ค่อนข้างแน่ใจว่าท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๑ ซึ่งเชื่อถือได้มากกว่าปีอื่น ๆ
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .