ประวัติหลวงพ่อจรัญ

ชาติภูมิ ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้
พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) มีนามเดิมว่า จรัญ จรรยารักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2471 ที่บ้านบางม่วงหมู่ ตำบลม่วงหมู่ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นบุตรคนสุดท้อง ในจำนวนทั้งหมด 11 คนของนายแพ จรรยารักษ์ และนางเจิม (สุขประเสริฐ) จรรยารักษ์

อุปสมบท ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้
พระอาจารย์จรัญอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2491 ที่วัดพรหมบุรี โดยมีพระพรหมนคราจารย์ เจ้าอาวาสวัดแจ้งพรหมนครเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูถาวรวิริยคุณ วัดพุทธารามเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านได้รับฉายาว่า”ฐิตธมฺโม”

การศึกษา หลวงพ่อจรัญได้ธุดงค์ไปตามป่าเขา ลำเนาไพร และที่ต่างๆ เพื่อแสวงหาความรู้ และประสบการณ์ทั้งทาง สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน และได้ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชากับพระอาจารย์หลายท่าน อาทิ ศึกษาคชศาสตร์กับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทฺธสโร) ตำบลหนองโพ อำเภอพยุหคีรี(ในขณะนั้น) ปัจจุบันอยู่ในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาเรียนกับพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี ธมมฺธโร) และพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) จังหวัดขอนแก่น และได้ศึกษาการทำเครื่องรางของขลัง น้ำมันมนต์ กับหลวงพ่อจง พุทฺธสโร วัดหน้าต่าง จังหวัดอยุธยา และหลวงพ่อสนั่น วัดเสาธงทอง จังหวัดอ่างทอง และ หลวงพ่อจาด วัดบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี และได้ศึกษา สมถกรรมฐาน กับพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ที่วัดปากน้ำ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ศึกษาและปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน กับท่านเจ้าคุณอาจารย์พระราชสิทธิมุนี วัดมหาธาตุ จังหวัดกรุงเทพฯ และได้ศึกษาพระอภิธรรมกับอาจารย์เตชิน (ชาวพม่า) ที่วัดระฆัง จังหวัดธนบุรี และศึกษาการพยากรณ์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศ จังหวัดกรุงเทพฯ และศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้วิทยาศาสตร์ทางจิตกับ อาจารย์ พ.อ. ชม สุคันธรัต

แนวทางการทำงานสืบทอดพระพุทธศาสนา
จะใช้หนี้โลกมนุษย์ ด้วยการเผยแพร่พระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจะไม่ขอสร้างวัตถุอีก

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org

หลวงพ่อจรัญ –ตำแหน่งและสมณศักดิ์

พ.ศ. 2500 – รักษาการเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
พ.ศ. 2501 – ได้รับสมณศักดิ์ เป็น พระครูปลัดจรัญ ฐิตธมฺโม ฐานานุกรมของพระสุนทรธรรมประพุทธ (หล้า สีลวํโส) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด
พ.ศ. 2511 – ได้รับสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ “พระครูภาวนาวิสุทธิ์” เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี[1]
พ.ศ. 2516 – เลื่อนเป็นพระครู เทียบผู้ช่วยพระอารามหลวงชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน
พ.ศ. 2517 – รักษาการตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี
พ.ศ. 2518 – ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี
พ.ศ. 2519 – ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2525 – เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก
พ.ศ. 2531 – เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ “พระภาวนาวิสุทธิคุณ”
พ.ศ. 2535 – เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ “พระราชสุทธิญาณมงคล ศรีพหลนราทร ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”
พ.ศ. 2541 – ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี
พ.ศ. 2542 – ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี
พ.ศ. 2544 – เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ “พระเทพสิงหบุราจารย์ ภาวนาวิธานโกศล วิมลธรรมานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”
พ.ศ. 2547 – เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ “พระธรรมสิงหบุราจารย์ ภาวนาปฏิภาณโกศล โสภณธรรมานุสิฐ พิพัฒน์กิจสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”
พ.ศ. 2552 – ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี
ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org

พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)

200px-Phra_Dharmasinghapuracarya_(Jarun_Thitadhammo)

พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) เป็นพระภิกษุชาวไทยในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท คณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี ท่านมีชื่อเสียงในระดับประเทศจากการเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์ แนวทางการสืบทอดพระพุทธศาสนาของท่านเน้นหนักที่การสั่งสอนเรื่องกฎแห่งกรรม โดยยกเหตุการณ์ที่ท่านประสบและนับเป็นกฎแห่งกรรมขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์อยู่เสมอ และเน้นการพัฒนาจิตใจคนด้วยการทำวิปัสสนากรรมฐานด้วยหลักสติปัฏฐาน 4 แบบพองหนอ-ยุบหนอ นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ที่ส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนหมั่นสวดมนต์ด้วยพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา) เพื่อเป็นเครื่องเจริญสติอย่างแพร่หลายอีกด้วย

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org

ประวัติหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

Luangta_mahabua

ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ณ ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ในสกุล “โลหิตดี” โยมบิดาและโยมมารดาได้ตั้งชื่อเป็นมงคลนามว่า “บัว” โยมบิดาและโยมมารดาของท่านชื่อ “นายทองดี” และ “นางแพง” มีอาชีพเป็นชาวนาผู้มีอันจะกิน มีพี่น้อง ทั้งหมด 16 คน เมื่อท่านอายุได้ 21 ปี ได้ออกบวชสนองคุณบิดามารดาตามความปรารถนาของท่านทั้งสอง ท่านได้อุปสมบท ณ วัดโยธานิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2477
อุปนิสัยของท่านอาจารย์พระมหาบัวนั้น จริงจังมากตั้งแต่เป็นฆราวาส ท่านเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการงาน เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของโยมบิดามารดา เพราะฉะนั้น เมื่อท่านได้ออกบวช ท่านก็ตั้งใจพากเพียรเรียนรู้ทั้ง ปริยัติปฏิบัติ มิใช่บวชตามประเพณีเท่านั้น ดังที่ท่านเคยเล่าไว้ว่า
“แต่ว่าเรามันนิสัยจริงจังแต่เป็นฆราวาสแล้ว เวลาบวชก็ตั้งใจบวชเอาบุญเอากุศลจริงๆ และพร่ำสอนตัวเองว่า บัดนี้เราบวชแล้ว พ่อแม่ไม่ได้มาคอยติดสอยห้อยตามคอยตักเตือนเราอีกเหมือนแต่ก่อนแล้วนะ แม้เวลานอนหลับก็ไม่มีใครมาปลุกนะ แต่บัดนั้นมาก็ทำความเข้าใจกับตัวเองราวกับ
ว่า อัตตาหิ อัตตโน นาโถ นะ อย่างนั้นแหละ” อ่านเพิ่มเติม

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

เมื่อ นายบัว โลหิตดี มีอายุได้ 21 ปี บิดามารดาได้ขอร้องให้เขาได้บวชเรียน เพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณตามประเพณี ในที่สุดท่านก็ตัดสินใจบวช เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 ณ วัดโยธานิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระราชเทวี (จูม พนฺธุโล ต่อมาเป็นพระธรรมเจดีย์) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ญาณสมฺปนฺโน” ท่านตั้งใจไว้ว่าจะบวชพอเป็นประเพณีเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจว่าจะบวชนานเท่านี้

ครั้นบวชแล้ว พระภิกษุบัว ญาณสมฺปนฺโน ก็ได้ศึกษาพุทธประวัติและประวัติพระอรหันตสาวก จนเกิดความเลื่อมในศรัทธาในพระศาสนาอย่างจริงจัง ท่านจึงตั้งใจว่าจะศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรมเสียก่อน เพราะถ้าไม่ศึกษาแล้วจะไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติ โดยตั้งความหวังไว้ว่าจะเรียนปริยัติธรรมทั้งแผนกนักธรรมและแผนกบาลี สำหรับแผนกบาลีนั้น ท่านตั้งใจว่าจะสอบให้ได้เพียงแค่เปรียญธรรม 3 ประโยคก็พอ ทั้งนี้เพื่อเป็นกุญแจเปิดตู้พระไตรปิฎก และเป็นอุบายเข้าถึงการปฏิบัติธรรมได้อย่างถูกต้อง แต่จะไม่ให้เกินเลยเปรียญธรรม 3 ประโยคไป เพราะจะทำให้เหลิงและลืมตัว อ่านเพิ่มเติม

พระราชญาณวิสุทธิโสภณ หรือ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

พระราชญาณวิสุทธิโสภณ หรือ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี เกิดเมื่อวันอังคารที่ 12 ส.ค.2456 ชื่อบัว โลหิตดี บิดาชื่อนายทองดี มารดาชื่อนางแพง โลหิตดี อยู่ที่บ้านตาด โดยหลวงตาบัวเป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 16 คน ที่เกิดมาในตระกูลชาวนาผู้มีฐานะดี ในสมัยที่ยังเป็นเด็กอยู่นั้น หลวงตาบัวได้เคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ร่วมทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ เมื่ออายุครบ 20 ปี พ่อแม่จึงอยากจะให้บวชตามประเพณี แต่หลวงตามีท่าทีเฉยๆ ทำให้พ่อแม่ถึงกับน้ำตาร่วง จนหลวงตารู้สึกสะเทือนใจ และเห็นใจพ่อแม่เป็นอย่างมาก จึงตัดสินใจจะยอมบวชตามที่พ่อแม่ต้องการ และให้เป็นไปตามประเพณี เพื่อตอบแทนพระคุณพ่อแม่ โดยตั้งใจในตอนแรกว่าจะบวชให้เพียงระยะสั้นเท่านั้น

เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2477 เป็นวันที่หลวงตามหาบัวได้บวช ณ วัดโยธานิมิตร บ้านหนองขอนกว้าง ต.หนองบัว อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากได้บวชเพื่อทดแทนพระคุณบิดรและมารดาแล้ว หลวงตาบัวได้ตั้งใจเอาบุญเอากุศลอย่างจริงจัง เมื่อก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ โดยใฝ่ภาวนา และตั้งจุดมุ่งหมายของชีวิต อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

ประวัติ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน กำเนิดในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะกิน ณ บ้านตาด จ.อุดรธานี เกิดเมื่อ 12 สิงหาคม พ.ศ.2456 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 9 ปีฉลู ณ บ้านตาด อ.หมากแข้ง จ.อุดรธานี บิดานายทองดี โลหิตดี มารดานางแพงศรี โลหิตดี พี่น้องทั้งหมด 16 คน

สมัยเด็กหลวงตา มีศรัทธาเคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ ขณะที่ในวัยหนุ่มเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำงานอะไรทำจริงจังเป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวง

สมัยเด็ก หลวงตา มีศรัทธาเคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยได้ร่วมทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ วัยหนุ่ม เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำงานอะไรทำจริงๆ จังๆ เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวง เดิมไม่เคยคิดจะบวช เพราะอยากมีครอบครัว แต่มักมีอุปสรรคให้แคล้วคลาดทุกทีไป อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

paragraph__1_418

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสัมปันโน) หรือ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (12 สิงหาคม พ.ศ. 2456 – 30 มกราคม พ.ศ. 2554) เป็นพระภิกษุนักวิปัสสนากรรมฐานในพุทธศาสนานิกายเถรวาท คณะธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดอุดรธานี และเป็นอดีตเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดเกษรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) ท่านเป็นหนึ่งในศิษย์ของพระครูวินัยธร (มั่น ภูริทัตโต) ซึ่งได้มีโอกาสอุปฐากรับใช้หลวงปู่มั่นในช่วงปัจฉิมวัยและเป็นผู้หนึ่งที่ได้บันทึกประวัติของหลวงปู่มั่นโดยละเอียดในเวลาต่อมาหลวงตามหาบัวเป็นที่รู้จักในฐานะพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานผู้มี ปฏิปทาที่มั่นคง แน่วแน่ เด็ดขาด และจริงจัง บรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่มั่นต่างนับถือกันว่าท่านเป็นลูกศิษย์องค์หนึ่ง ที่มีปฏิปทาที่คล้ายคลึงกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต การกล่าวขวัญถึงท่านในหมู่ผู้ศรัทธามีหลายเรื่องค่อนไปในเชิงอภินิหาร เช่น การล่วงรู้วาระจิตของบุคคลอื่น การที่เศษผม เศษเล็บ และชานหมากของท่านกลายเป็นพระธาตุไปตั้งแต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงตา

กำเนิด ในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะกิน ณ บ้านตาด อุดรธานี

วันเกิด ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖

นาม บัว โลหิตดี

พี่น้องทั้งหมด ๑๖ คน

สมัยเด็ก เคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยได้ร่วมทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ

วัยหนุ่ม เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำงานอะไรทำจริงๆ จังๆ เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวง อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงตามหาบัว

ประวัติ
ชาติกำเนิด
พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสัมปันโน) หรือ หลวงตามหาบัว เดิมมีชื่อว่า “บัว โลหิตดี” ท่านเกิดวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ณ ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ท่านมีพี่น้องทั้งหมด 16 คน ในวัยเด็กท่านเป็นคนที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยได้ทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ

อุปสมบท
เมื่อท่านอายุครบอุปสมบทแล้ว บิดาและมารดาของท่านปรารถนาที่จะให้ท่านบวชด้วยหวังพึ่งใบบุญจากการบวชของท่าน แต่ท่านก็ไม่ตอบรับแต่ประการใด ซึ่งทำให้บิดาและมารดาของท่านถึงกับน้ำตาไหล ด้วยเหตุนี้ทำให้ท่านกลับมาพิจารณาถึงการออกบวชอีกครั้ง ในที่สุดจึงได้ตัดสินใจที่จะออกบวชโดยท่านได้กล่าวกับมารดาว่า “เรื่องการบวชจะบวชให้ แต่ว่าใครจะมาบังคับไม่ให้สึกไม่ได้นะ บวชแล้วจะสึกเมื่อไหร่ก็สึก ใครจะมาบังคับว่าต้องเท่านั้นปีเท่านี้เดือนไม่ได้นะ” ซึ่งมารดาของท่านก็ตกลงตามที่ท่านขอ อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)

200px-AjahnMahaBua

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) หรือที่มักรู้จักในนามหลวงตามหาบัว (12 สิงหาคม พ.ศ. 2456 – 30 มกราคม พ.ศ. 2554) เป็นพระภิกษุชาวจังหวัดอุดรธานี สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ฝ่ายวิปัสสนาธุระ อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดป่าบ้านตาด ท่านเป็นศิษย์ของพระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต)) ซึ่งได้มีโอกาสอุปฐากรับใช้หลวงปู่มั่นในช่วงปัจฉิมวัยและเป็นผู้หนึ่งที่ได้บันทึกประวัติของหลวงปู่มั่นโดยละเอียดในเวลาต่อมา

หลวงตามหาบัวเป็นที่รู้จักในฐานะพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานผู้มีปฏิปทาที่มั่นคง แน่วแน่ เด็ดขาด และจริงจัง บรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่มั่นต่างนับถือกันว่าท่านเป็นลูกศิษย์องค์หนึ่งที่มีปฏิปทาที่คล้ายคลึงกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต การกล่าวขวัญถึงท่านในหมู่ผู้ศรัทธามีหลายเรื่องค่อนไปในเชิงอภินิหาร เช่น การล่วงรู้วาระจิตของบุคคลอื่น การที่เศษผม เศษเล็บ และชานหมากของท่านกลายเป็นพระธาตุไปตั้งแต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสภิกขุ หรือ พระธรรมโกศาจารย์

buddhadasa280

พุทธทาสภิกขุ หรือ พระธรรมโกศาจารย์ 
นามเดิม เงื่อม พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๙ ณ บ้านกลาง ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๗ สำเร็จการศึกษาชั้น น.ธ.เอก, ป.ธ.๓ เริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลาราม ที่ อ.ไชยา เมื่อวันที่ ๑๒ พ.ค. ๒๔๗๕ และหันมาใช้นามปากกา“พุทธทาส” แทนนามเดิมนับแต่นั้นมา ท่านพุทธทาสภิกขุอุทิศตนเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนกระทั่งถึงแก่มรภาพอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ ๘ ก.ค. ๒๕๓๖

คำสอนอันโดดเด่นของท่านคือเรื่อง “การปล่อยวาง” ผลงานอันยิ่งใหญ่ของท่านคืองานนิพนธ์ชุด “ธรรมโฆษณ์” และงานนิพนธ์อีกไม่น้อยกว่า ๓๕๐ เล่ม ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับการสดุดีว่าเป็นมหาปราชญ์แห่งพุทธธรรมทางบูรพาทิศ ที่มีเกีตรติคุณไม่น้อยไปกว่าท่านนาคารชุน ปราชญ์ใหญ่ฝ่ายมหายานในอดีต ปัญญาชนทั้งไทยและต่างประเทศถือว่า ท่านเป็นนักปฏิรูปพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งของเมืองไทย

ขอขอบคุณ http://www.dhammathai.org

พุทธทาส ผลงานแห่งชีวิต

ตลอดชีวิต ของ ท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านย้ำอยู่เสมอว่า “ธรรมะ คือ หน้าที่”
เป็นการทำหน้าที่ เพื่อความอยู่รอด ทั้งทางฝ่ายกาย และฝ่ายวิญญาณ ของมนุษย์
และ ท่าน ได้ทำหน้าที่ ในฐานะ ทาสผู้ซื่อสัตย์ ของพระพุทธเจ้า ทุกอณูแห่งลม
หายใจ เข้าออก จนแม้วาระสุดท้าย แห่งชีวิต จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า ผลงาน ที่ท่าน
สร้างสรรค์ ไว้ เพื่อ เป็น มรดก ทางธรรมนั้น จะมีมากมาย สักปานใด ซึ่งจะขอ
นำมากล่าวเฉพาะ ผลงานหลักๆ ดังนี้ คือ

๑. การจัดตั้ง สถานปฏิบัติธรรม สวนโมกขพลาราม และ สวนโมกข์นานาชาติ

๒. การร่วมกับ คณะธรรมทาน ในการออกหนังสือพิมพ์ “พุทธสาสนา”
ราย ๓ เดือน นับเป็นหนังสือพิมพ์ ทาง พระพุทธศาสนา เล่มแรก ของไทย
เริ่มตีพิมพ์ เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๖ และ ต่อเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน
เป็นเวลารวม ๖๑ ปี นับเป็นหนังสือพิมพ์ ทาง พระพุทธศาสนา ที่มีอายุยืนยาว
ที่สุดของไทย

๓. การพิมพ์หนังสือ ชุด “ธรรมโฆษณ์” ซึ่งเป็นหนังสือที่ รวบรวม พิมพ์จาก
ปาฐกถาธรรม ที่ท่านแสดงไว้ในวาระต่างๆ และ งานหนังสือเล่ม เล่มอื่นๆ
ของท่าน โดยแบ่งออก เป็น ๕ หมวด คือ อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาส ปณิธานแห่งชีวิต

อุดมคติ ที่หยั่งรากลึกลงแล้วนี้ ทำให้ท่านสนใจใฝ่หา
ความรู้ทางธรรมะตลอดเวลา ไม่เฉพาะแต่พระ
พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท หรือหินยาน แต่ครอบคลุม
ไปถึงพระพุทธศาสนา แบบมหายาน และศาสนาอื่น
เช่น คริสต์ อิสลาม ฮินดู สิกข์ เป็นต้น จากความรอบรู้
ที่กว้างขวาง และลึกซึ้ง นี้เอง ทำให้ท่านสามารถ
ประยุกต์ วิธีการสอน และปฏิบัติธรรมะได้อย่าง
หลากหลาย ให้คนได้เลือกปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับ
พื้นความรู้และอุปนิสัยของตนได้ โดยไม่จำกัดชนชั้น
เชื้อชาติ และศาสนา เพราะท่านเชื่อว่า มนุษย์ทุกคน
ก็คือ เพื่อน ร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น
และหัวใจของทุกศาสนาก็เหมือนกันหมด คือ ต้องการ ให้คน พ้นจากความทุกข์

ท่านจึง ได้ตั้ง ปณิธานในชีวิตไว้ ๓ ข้อ คือ

๑. ให้พุทธศาสนิกชน หรือ ศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตาม
เข้าถึง ความหมายอันลึกซึ้ง ที่สุดแห่งศาสนาของตน
๒. ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา
๓. ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกมาเสียจากวัตถุนิยม อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาส อุดทคติแห่งชีวิต

ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช
เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้า
ที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคน
พระเงื่อมได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อ ที่กรุงเทพฯ สอบได้
นักธรรมเอกแล้วเรียนภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญ๓ ประโยค
ระหว่างที่เรียน เปรียญธรรม๔ อยู่นั้น ด้วยความที่ท่านเป็นคน
รักการศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และศึกษาค้นคว้าออก
ไปจากตำรา ถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศ
ศรีลังกา อินเดีย และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในโลก
ตะวันตก ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือ
รูปแบบตามระเบียบแบบแผนมากเกินไป ความย่อหย่อนใน
พระวินัยของสงฆ์ ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของ
พุทธศาสนิกชน ในเวลานั้น ทำให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่า พระพุทธศาสนาที่สอน
ที่ปฏิบัติกัน ในเวลานั้นคลาดเคลื่อน ไปมาก จากที่ พระพุทธองค์ ทรงชี้แนะ อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาส กำเนิดแห่งชีวิต

ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช
เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้า
ที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคน
เป็นชายชื่อยี่เก้ย และเป็นหญิงชื่อกิมซ้อย
บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลักคือ
การค้าขายของชำ เฉกเช่น ที่ชาวจีนนิยมทำกันทั่วไป
แต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดา กลับเป็นเรื่องของ
ความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้
ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดา อ่านเพิ่มเติม

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–มรณภาพ

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุ 87 ปี 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่านรับมรดกความเป็น “พุทธทาส” เพื่อพุทธทาสจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนาดังบทประพันธ์ของท่านที่ว่า

พุทธทาส จักอยู่ไป ไม่มีตาย แม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง
ร่างกายเป็น ร่างกายไป ไม่ลำเอียง นั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลา
พุทธทาส คงอยู่ไป ไม่มีตาย ถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา
สมกับมอบ กายใจ รับใช้มา ตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลย
พุทธทาส ยังอยู่ไป ไม่มีตาย อยู่รับใช้ เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย
ด้วยธรรมโฆษณ์ตามที่วางไว้อย่างเคย โอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตายฯ
แม้ฉันตาย กายลับ ไปหมดแล้ว แต่เสียงสั่ง ยังแจ้ว แว่วหูสหาย
ว่าเคยพลอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลาย ก็เหมือนฉันไม่ตาย กายธรรมยัง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน นั้นไม่ตาย ยังอยู่กับ ท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง
มีอะไรมาเขี่ยไค้ ให้กันฟัง เหมือนฉันนั่ง ร่วมด้วย ช่วยชี้แจง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน ไม่ตายเถิด ย่อมจะเกิด ผลสนอง หลายแขนง
ทุกวันนัด สนทนา อย่าเลิกแล้ง ทำให้แจ้ง ที่สุดได้ เลิกตายกันฯ
ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–สู่กรุงเทพฯ อีกครั้ง

เมื่อหมดหน้าที่สอนนักธรรมแล้ว อาเสี้ยงก็เร่งเร้าให้ท่านพุทธทาสภิกขุเข้ากรุงเทพฯ อีกครั้ง โดยหวังให้หยิบพัดยศมหาเปรียญมาไว้เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล ท่านพุทธทาสภิกขุจึงเข้ากรุงเทพฯ อีกคราวหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2473 เมื่ออยู่กรุงเทพฯ ในครั้งนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุคิดเพียงแต่จะมุ่งเรียนภาษาบาลีเท่านั้น และทิ้งเรื่องการลาสิกขาเอาไว้ก่อน แต่ท่านพุทธทาสภิกขุไม่ได้เข้าเรียนในช่วงกลางวัน เนื่องจากเห็นว่าเป็นการสอนที่อืดอาด ไม่ทันใจ จึงให้พระครูชยาภิวัฒน์ (กลั่น) สอนพิเศษในช่วงกลางคืน นอกจากการเรียนภาษาบาลีแล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังสนใจในเรื่อง การท่องเที่ยว การถ่ายภาพ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องเล่นวิทยุ เครื่องเล่นแผ่นเสียง ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ข่าวสารบ้านเมือง ทั้งยังติดตามงานเขียนของปัญญาชนทั้งหลายในสมั้ยนั้น ไม่ว่าจะเป็น ครูเทพ น.ม.ส. พระองค์วรรณฯ เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป และหลวงวิจิตรวาทการ อ่านเพิ่มเติม

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–พรรษาที่สามและสี่

ในพรรษาที่สาม ท่านพุทธทาสภิกขุสอบนักธรรมเอกได้ เมื่อออกพรรษา คุณนายหง้วน เศรษฐภักดี ซึ่งเป็นผู้บริจาคเงินสร้างโรงเรียนนักธรรมที่วัดพระบรมธาตุไชยา และเป็นญาติของท่านพุทธทาสภิกขุ รวมทั้งพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) รองเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยาในสมัยนั้น ได้ชักชวนให้ท่านพุทธทาสภิกขุมาเป็นอาจารย์สอนนักธรรมอยู่ที่วัดพระบรมธาตุไชยาแห่งนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุจึงได้เลื่อนกำหนดการลาสิกขาไว้ก่อน และมาเป็นอาจารย์สอนนักธรรมอยู่หนึ่งปี กลวิธีการสอนของท่านพุทธทาสภิกขุชวนติดตาม ทำให้นักเรียนของท่านสอบได้หมดยกชั้น เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุได้เล่าเอาไว้ว่า

สอนนักธรรมนี่ก็สนุก สอนคนเดียว 2 ชั้น มันคุยได้ว่าสอบได้หมด แต่ตามหลักฐานที่ปรากฏตกไปองค์หนึ่ง เพราะใบตอบหาย ก็กลายเป็นครูที่มีชื่อเสียงขึ้นมาทันที มันสนุก เพราะเป็นของใหม่ และมันชักจะอวด ๆ อยู่ว่าเราพอทำอะไรได้ หาวิธียักย้ายสอนให้มันสนุก ไม่เหมือนกับที่เขาสอนๆ กันอยู่ เช่นผมมีวิธีเล่า วิธีพูดให้ชวนติดตาม หรือให้ประกวดกันตอบปัญหา ทำนองชิงรางวัล นักเรียนก็เรียนกันสนุก ก็สอบได้กัน อ่านเพิ่มเติม

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–พรรษาที่สอง

แม้แต่เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียนตามประเพณีเพียง 3 เดือน แต่เมื่อได้ใช้ชีวิตเป็นพระแล้ว ความยินดีในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการเอาอกเอาใจจากพุทธบริษัทรอบข้าง ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุไม่มีความคิดที่จะลาสิกขา อีกทั้งพระภิกษุในวัดหลายรูปเห็นว่าท่านพุทธทาสภิกขุเรียนหนังสือเก่งและเทศนาดี จึงหนุนให้ท่านพุทธทาสภิกขุอยู่ที่วัดต่อไปเพื่อเป็นกำลังในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เล่ากันว่าเจ้าคณะอำเภอเคยถามท่านพุทธทาสภิกขุในพรรษานี้ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรในการใช้ชีวิต ท่านพุทธทาสภิกขุตอบว่า

ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ให้มากที่สุด… แต่ถ้ายี่เกยจะบวชผมก็ต้องสึกออกไปอยู่บ้านค้าขาย
ท่านเจ้าคณะอำเภอจึงไปคุยกับโยมแม่ของท่านพุทธทาสภิกขุว่าท่านพุทธทาสภิกขุควรจะอยู่เป็นพระต่อไป ส่วนน้องชายของท่านนั้นไม่ต้องบวชก็ได้ เพราะมีชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว คือ เป็นคนมักน้อย สันโดษ การกินอยู่เรียบง่าย และตัดผมสั้นเกรียนตลอดเวลา ในการนี้ ทำให้นายธรรมทาส น้องชายของท่านพุทธทาสภิกขุ ไม่ได้บวช และยอมละทิ้งการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มารับผิดชอบหน้าที่ทางบ้าน เพื่อให้ท่านพุทธทาสภิกขุเจริญสมณธรรมต่อไป อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .