ด้านการสั่งสอนเผยแผ่ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ด้านการสั่งสอนเผยแผ่ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

การสั่งสอนเผยแผ่ นับเป็นหน้าที่หลักประการหนึ่งของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นหน้าที่ที่พระพุทธเจ้าทรงมอบหมายแก่พระสงฆ์สาวกให้ช่วยกันปฏิบัติ ตั้งแต่เริ่มแรกก่อตั้งพระพุทธศาสนา เพราะเป็นหน้าที่ที่จะสร้างประโยชน์สุขให้แก่ชาวโลก หรือกล่าวอย่างรวม ๆ ก็คือ เป็นหน้าที่เพื่อการอนุเคราะห์โลก ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อ เกิดมีพระสงฆ์สาวกที่เป็นพระอรหันต์ชุดแรกขึ้น ๖๐ รูป หลังจากพระพุทธเจ้าเริ่ม ประกาศพระศาสนาเพียง ๕ เดือน พระพุทธองค์ก็ทรงส่งพระสงฆ์สาวกชุดแรกนั้นออก ไปประกาศพระศาสนาหรือสั่งสอนเผยแผ่พระศาสนาทันที โดยตรัสบอกถึงวัตถุประสงค์ ของการออกไปสั่งสอนเผยแผ่แก่พระสงฆ์สาวกเหล่านั้นว่า “เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”

ลักษณะการสั่งสอนของพระพุทธศาสนานั้นเป็น การเผยแผ่ คือนำความจริงมาเปิดมา แสดงให้ผู้ฟังเห็นตามที่เป็นจริง ฉะนั้น การสั่งสอนของพระพุทธศาสนาตาม หลักการที่พระพุทธองค์ ได้ทรงวางไว้ จึงมิได้มุ่งให้ผู้ฟังเชื่อตาม แต่มุ่งให้ผู้ฟังเกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่สอนอย่างถูก ต้องตามเป็นจริง ส่วนผู้ฟังจะเชื่อหรือไม่เชื่อนั้น ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของเขาเอง หากเขาพิจารณาไตร่ตรองจนเห็นจริง เห็นคุณค่าและประโยชน์ของสิ่งที่สอน เขาก็ย่อมจะเชื่อเองและนำไปใช้นำไปปฏิบัติเอง โดยที่ผู้สอนไม่จำต้องบังคับขู่เข็ญ บูรพาจารย์ทางพระพุทธศาสนาของไทย ซึ่งเข้าใจในหลักการสั่งสอนของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี เมื่อพูดถึงการสั่งสอนพระพุทธศาสนา หรือการประกาศพระพุทธศาสนา ท่านจึงใช้คำว่า เผยแผ่พระพุทธศาสนา เช่น องค์การเผยแผ่ นักเผยแผ่ เป็นต้น ท่านไม่ใช้คำว่าเผยแพร่ ซึ่งมีความหมายเหมือนกับการแพร่ระบาดของโรค ฉะนั้น เรื่องนี้จึงน่าทำความเข้าใจไว้ก่อนแต่เบื้องต้น

เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงทำหน้าที่ด้านการสั่งสอนเผยแผ่อย่างกว้างขวาง การสั่งสอน เผยแผ่ที่นับว่าเป็นภารกิจประจำ ก็คือการอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณรในฐานะที่ทรงเป็นพระอุปัชณาย์อาจารย์ อันเป็นส่วนหนึ่งของการให้การศึกษาดังกล่าวมาแล้วในตอนต้น การเทศนาสั่งสอนอุบาสกอุบาสิกาและพุทธศาสนิกชน ในวันธรรมสวนะหรือวันพระและในโอกาสต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วเช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม

ด้านการปกครอง (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ด้านการปกครอง (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงเริ่มมีหน้าที่ทางการปกครองคณะสงฆ์ นับแต่ พ.ศ.๒๕๐๓ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวราภรณ์ เป็นต้นมา และทรงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ทางการปกครองคณะสงฆ์เพิ่มขึ้นเป็นลำดับมา กล่าวคือ

พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ ซึ่งมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺฐายี ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จ พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช) เป็นสังฆนายก มีหน้าที่บริหารปกครองคณะสงฆ์ ฝ่ายธรรมยุตทั่วราชอาณาจักร

พ.ศ.๒๕๐๔ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตทุกภาคทั่วราชอาณาจักร

พ.ศ.๒๕๐๕ มีการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ คือเลิกพระราชบัญญัติคณสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ ใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แทนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ มหาเถรสมาคมมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน บริหารปกครองคณะสงฆ์ เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ชุดแรกตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับนี้ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ มหาเถรสมาคมตลอดมาทุกสมัย อ่านเพิ่มเติม

ภาระงานในด้านต่าง ๆ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ภาระงานในด้านต่าง ๆ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

สมณศักดิ์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

พ.ศ.๒๔๙๐ พระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญที่ พระโศภนคณาภรณ์ (มีความหมายว่าผู้เป็นอาภรณ์ หรือเครื่องประดับของหมู่คณะอันงาม) ซึ่งเป็นราชทินนามา ที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทาน แก่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นรูปแรก

พ.ศ.๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม

พ.ศ.๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม

พ.ศ.๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมในราชทินนามที่ พระธรรมวราภรณ์ (มีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นอาภรณ์คือเครื่องประดับอันประเสริฐ) ซึ่งเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทาน แก่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นรูปแรกเช่นกัน

พ.ศ.๒๕๐๔ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง (คือรองเจ้าคณะใหญ่ หรือรองสมเด็จพระราชาคณะ) ที่ พระสาสนโสภณ (มีความหมายว่า ผู้งามในพระศาสนา หรือผู้ยัง พระศาสนาให้งาม)

พ.ศ.๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร (มีความหมายว่า ผู้สำรวมในญาณคือความรู้) ซึ่งเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงโปรดให้ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานสถาปนา พระญาณสังวร (สุก) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาเป็นสมเด็จพระราชา คณะเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๙ ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร จึงเป็นตำแหน่งพิเศษ ที่โปรดพระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระเท่านั้น ฉะนั้น นับแต่สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๓ แล้วตำแหน่งที่สมเด็จพระญาณสังวรก็ไม่ทรงโปรด พระราชทานสถาปนาแก่พระเถระรูปใดอีกเลย กระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๕ นับเป็นเวลา ๑๕๒ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน จึงทรงโปรดให้สถาปนาเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ในตำแหน่งที่สมเด็จพระญาณสังวร เป็นรูปที่ ๒ อันเป็นการแสดงให้เป็นที่ปรากฏว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงเป็นพระเถระผู้ทรงคุณทาง วิปัสสนาธุระที่สมควรแก่ราชทินนามตำแหน่งนี้
อ่านเพิ่มเติม

สมณศักดิ์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

สมณศักดิ์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

พ.ศ.๒๔๙๐ พระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญที่ พระโศภนคณาภรณ์ (มีความหมายว่าผู้เป็นอาภรณ์ หรือเครื่องประดับของหมู่คณะอันงาม) ซึ่งเป็นราชทินนามา ที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทาน แก่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นรูปแรก

พ.ศ.๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม

พ.ศ.๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม

พ.ศ.๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมในราชทินนามที่ พระธรรมวราภรณ์ (มีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นอาภรณ์คือเครื่องประดับอันประเสริฐ) ซึ่งเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทาน แก่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นรูปแรกเช่นกัน

พ.ศ.๒๕๐๔ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง (คือรองเจ้าคณะใหญ่ หรือรองสมเด็จพระราชาคณะ) ที่ พระสาสนโสภณ (มีความหมายว่า ผู้งามในพระศาสนา หรือผู้ยัง พระศาสนาให้งาม)
อ่านเพิ่มเติม

งานด้านคณะสงฆ์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

งานด้านคณะสงฆ์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ส่วนภารหน้าที่หรือการทำงานทางคณะสงฆ์นั้น ก็ทรงเริ่มด้วยการเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกธรรม หรือนักธรรม และแผนกบาลี ตั้งแต่ทรงสอบได้เป็นเปรียญธรรม ๕ ประโยค และหลังจากสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยคแล้ว ก็เริ่มมีภาระหน้าที่ทางการคณะสงฆ์ด้านต่าง ๆ มากขึ้นตามลำดับ กล่าวคือ

พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง ในฐานะเป็นพระเปรียญ ๙ ประโยคตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔

เป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร มีหน้าที่ที่จัดการศึกษาของภิกษุสามเณร ทั้งแผนกธรรม และแผนกบาลี

พ.ศ.๒๔๘๘ เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ เป็นกรรมการสภาการศึกษาของมหามกุฎราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา แห่งประเทศไทยแห่งแรก ซึ่งตั้งขึ้นในศกนั้น (ปัจจุบันเรียกว่า มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย) และเป็นอาจารย์บรรยายวิชาพระสูตรหรือพระสุตตันปิฎก ในมหาวิทยาลัยดังกล่าวด้วย

พ.ศ.๒๔๘๙ เป็นเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช

การเป็นเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ นั้น นับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ในชีวิตมัชฌิมวัยของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เพราะเป็นช่วงเวลาที่ได้ทรงเรียนรู้งานด้านต่าง ๆ ทั้งงาน คณะสงฆ์ งานวิชาการ และงานสั่งสอนเผยแผ่ รวมทั้งการปฏิบัติฝ่ายวิปัสสนาธุระหรือการ ปฏิบัติสมาธิกรรมฐานด้วย
อ่านเพิ่มเติม

บรรพชาอุปสมบท (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

บรรพชาอุปสมบท (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ในปีรุ่งขึ้นคือ พ.ศ. ๒๔๖๙ น้าชาย ๒ คนจะบวชเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆาราม พระชนนีและป้าจึงชักชวน เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ซึ่งขณะนั้นพระชนมายุย่าง ๑๔ พรรษา ให้บวช เป็นสามเณรแก้บนที่ค้างมาหลายปีแล้วให้เสร็จเสียที เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ จึงตกลงพระทัย บวชเป็นสามเณรที่วัด เทวสังฆารามในปีนั้น โดยพระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม ซึ่งเรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดเหนือ” เป็นพระอุปัชณาย์ (สุดท้าย ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมงคลรังษี) พระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลาราม ซึ่งเรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดหนองบัว” เป็นพระอาจารย์ ให้สรณะและศีล

ก่อนที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณร เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ไม่เคยอยู่วัดมาก่อน เพียงแต่ไปเรียนหนังสือที่วัด จึงไม่ทรงคุ้นเคยกับพระรูปใดในวัด แม้หลวงพ่อวัดเหนือผู้เป็น พระอุปัชณาย์ของพระองค์ก็ไม่ทรงคุ้นเคยมาก่อน ความรู้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องวัด ก็ไม่เคยมีมาก่อนเช่นกัน นอกจากการไปวัดในงานเทศกาล การไปทำบุญที่วัดกับป้า และเป็น เพื่อนป้าไปฟังเทศน์เวลากลางคืนในเทศกาลเข้าพรรษาซึ่งที่วัดเหนือมีเทศน์ทุกคืนตลอด พรรษา ทรงเล่าว่า ถ้าพระเทศน์เรื่องชาดก ก็รู้สึกฟังสนุก เมื่อถึงเวลาเทศน์ก็มักจะเร่งป้าให้รีบไปฟัง แต่ถ้าพระเทศน์ธรรมะก็ทรงรู้สึกว่าไม่รู้เรื่อง และเร่งป้าให้กลับบ้าน กล่าวได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เมื่อทรงพระเยาว์นั้นแทบจะไม่เคยห่างจากอกของป้าเลย ยกเว้นการไปแรมคืนในเวลา เป็นลูกเสือบ้างเท่านั้น ในคืนวันสุดท้ายก่อนที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณรนั้น ป้าพูดว่า “คืนนี้เป็นคืนสุดท้ายที่จะอยู่ด้วยกัน” ซึ่งก็เป็นความจริง เพราะหลังจากทรงบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็ไม่ทรงมีโอกาส กลับไปอยู่ในอ้อมอกของป้าอีกเลยจนกระทั่งป้าเฮง ถึงแก่ กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗
กล่าวได้ว่า ชีวิตพรหมจรรย์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้นเริ่มต้นจากการบวชแก้บน เมื่อทรงบรรพชาแล้ว ก็ทรง อยู่ในความปกครองของหลวงพ่อวัดเหนือ และทรงเริ่มคุ้นเคย กับหลวงพ่อมากขึ้นเป็นลำดับ อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระประวัติเบื้องต้น

เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวฑฺฒนมหาเถร) เป็นชาวจังหวัดกาญจนบุรี มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ เวลาประมาณ ๐๔.๐๐ น. เศษ (นับอย่างปัจจุบันเป็นวันที่ ๔ ตุลาคม) ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู ณ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พระชนกชื่อ นายน้อย คชวัตร พระชนนีชื่อ นางกิมน้อย คชวัตร

บรรพชนของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ เพราะมาจาก ๔ ทิศทาง กล่าวคือ พระชนกมีเชื้อสายมาจากกรุงเก่าทางหนึ่ง จากปักษ์ใต้ทางหนึ่ง ส่วนพระชนนีมี เชื้อสายมาจากญวนทางหนึ่ง จากจีนทางหนึ่ง

นายน้อย คชวัตร เป็นบุตรนายเล็กและนางแดงอิ่ม เป็นหลานปู่หลานย่าของหลวงพิพิธภักดีและนางจีน หลวงพิพิธภักดีนั้นเป็นชาวกรุงเก่าเข้ามารับราชการในกรุงเทพ ฯ ได้ออกไปเป็นผู้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองไชยาคราวหนึ่ง และเป็นผู้หนึ่ง ที่พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ไปคุมเชลยศึก ที่เมืองพระตะบอง คราวหนึ่ง หลวงพิพิธภักดีได้ภรรยาเป็นชาวไชยา ๒ คนชื่อทับคนหนึ่ง ชื่อนุ่นคนหนึ่ง และได้ภรรยาเป็นชาวพุมเรียงอีกคนหนึ่งชื่อแต้ม ต่อมา เมื่อครั้งพวกแขกยกเข้าตีเมืองตรัง เมืองสงขลาของไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์ (ทัด ซึ่งต่อมาได้เป็นที่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ในรัชกาลที่ ๔) เป็นแม่ทัพยกออกไปปราบปราม หลวงพิพิธภักดีได้ไปในราชการทัพครั้งนั้นด้วย และไปได้ภรรยาอีกหนึ่งชื่อจีน ซึ่งเป็นธิดาของพระปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง (สน) เป็นหลานสาว ของพระตะกั่วทุ่ง หรือพระยาโลหภูมิพิสัย (ขุนดำ ชาวเมืองนครศรีธรรมราช) ต่อมา หลวงพิพิธภักดี ได้พาภรรยาชื่อจีนมาตั้งครอบครัวอยู่ในกรุงเทพ ฯ และได้รับภรรยาเดิมชื่อแต้ม จากพุมเรียงมาอยู่ด้วย (ส่วนภรรยาอีก ๒ คนได้ถึงแก่กรรมไปก่อน)
อ่านเพิ่มเติม

พระเกียรติยศ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

พระเกียรติยศ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ลำดับสมณศักดิ์

ตราประจำพระองค์
พ.ศ. 2490 พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระโศภณคณาภรณ์[15]
พ.ศ. 2495 พระราชาคณะชั้นราช ในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. 2498 พระราชาคณะชั้นเทพ ในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. 2499 พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์ บรมนริศรธรรมนีติสาธก ตรีปิฎกคุณวิภูสิต ธรรมวิทิตคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[16]
พ.ศ. 2504 พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ มีราชทินนามตามจารึกในหิรัญบัฏว่า พระสาสนโสภณ วิมลญาณสุนทร บรมนริศรธรรมนีติสาธก ตรีปิฎกธรรมาลังการวิภูสิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[17]
พ.ศ. 2515 สมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริศรธรรมนีติสาธก ตรีปิฎกปริยัตติธาดา สัปตวิสุทธิจริยาสมบัติ อุดมศีลจารวัตรสุนทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี [18]
พ.ศ. 2532 สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริศรธรรมนีติภิบาล อริยวงศาคตญาณวิมล สกลมหาสังฆปริณายก ตรีปิฎกปริยัตติธาดา วิสุทธจริยาธิสมบัติ สุวัฑฒนภิธานสงฆวิสุต ปาวจนุตตมพิสาร สุขุมธรรมวิธานธำรง วชิรญาณวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ วิบุลสีลาจารวัตรสุนทร บวรธรรมบพิตร สรรพคณิศรมหาปธานาธิบดี คามวาสี อรัณยวาสี สมเด็จพระสังฆราช[19]
อ่านเพิ่มเติม

พระนิพนธ์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

พระนิพนธ์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ทรงนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก ทั้งที่เป็นตำรา พระธรรมเทศนา และทั่วไป พอประมวลได้ดังนี้

ประเภทตำรา
ทรงเรียบเรียงวากยสัมพันธ์ ภาค 1-2 สำหรับใช้เป็นหนังสือประกอบ การศึกษาของนักเรียนบาลี และทรงอำนวยการจัดทำ ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทรบุรีนฤนาถ

ประเภทพระธรรมเทศนา
มีอยู่เป็นจำนวนมาก เท่าที่พิมพ์เป็นเล่มแล้วเช่น ปัญจคุณ 5 กัณฑ์, ทศพลญาณ 10 กัณฑ์, มงคลเทศนา, โอวาทปาฏิโมกข์ 3 กัณฑ์, สังฆคุณ 9 กัณฑ์ เป็นต้น
ประเภทงานแปลเป็นภาษาต่างประเทศ
ทรงริเริ่มและดำเนินการให้แปลตำราทางพุทธศาสนา จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการศึกษาพระพุทธศาสนา เช่น นวโกวาท, วินัยมุข, พุทธประวัติ, ภิกขุปาติโมกข์, อุปสมบทวิธี, และทำวัตรสวดมนต์ เป็นต้น

ประเภททั่วไป
มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การนับถือพระพุทธศาสนา, หลักพระพุทธศาสนา, พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านล้ำเลิศ, 45 พรรษาพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าสั่งสอนอะไร (ไทย-อังกฤษ), วิธีปฏิบัติตนให้ถูกต้องทางธรรมะ, พระพุทธศาสนากับสังคมไทย, เรื่องกรรม ศีล (ไทย-อังกฤษ), แนวปฏิบัติในสติปัฎฐาน, อาหุเณยโย, อวิชชา, สันโดษ, หลักธรรมสำหรับการปฏิบัติอบรมจิต, การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่, บัณฑิตกับโลกธรรม, แนวความเชื่อ, บวชดี, บุพการี-กตัญญูกตเวที, คำกลอนนิราศสังขาร, และตำนานวัดบวรนิเวศ เป็นต้น

http://th.wikipedia.org/

พระภารกิจ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

พระภารกิจ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

พ.ศ. 2484 เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย และเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. 2489 เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ และเป็นกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2493 เป็นกรรมการเถรสมาคม คณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว
พ.ศ. 2494 เป็นกรรมการอำนวยการมหามงกุฎราชวิทยาลัย และเป็นกรรมการแผนกตำราของมหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2496 เป็นกรรมการตรวจชำระ คัมภีร์ฎีกา
พ.ศ. 2497 เป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุตประเภทถาวร
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
พ.ศ. 2499 เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างที่ผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมวราภรณ์ และรักษาการวินัยธรชั้นฎีกา
พ.ศ. 2501 เป็นกรรมการคณะธรรมยุติ และเป็นกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระศาสนา และมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.)
พ.ศ. 2503 เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครองสั่งการองค์การปกครองฝ่ายธรรมยุติ
พ.ศ. 2504 เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้อำนวยการมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นประธานกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นผู้รักษาการณ์เจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาค และเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2506 เป็นกรรมการเถรสมาคม ซึ่งเป็นกรรมการชุดแรก ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ และได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ “สมเด็จพระญาณสังวร” สมเด็จพระราชาคณะในพระราชทินนามนี้ มีขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระอาจารย์สุก วัดท่าหอย พระนครศรีอยุธยา ได้รับพระราชทานสมศักดิ์นี้เป็นองค์แรก และต่อมาก็มิได้พระราชทานสมณศักดิ์นี้แก่พระเถระรูปใดอีกเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2363 ถึงปี พ.ศ. 2515 เป็นเวลาถึง 152 ปี
พ.ศ. 2517 เป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุต
พ.ศ. 2528 เป็นรองประธานกรรมการสังคีติการสงฆ์ ในการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก และเป็นสังฆปาโมกข์ปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎก เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. 2531 รักษาการเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เป็นนายกกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย และเป็นนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

http://th.wikipedia.org/

ด้านสาธารณูปการ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ด้านสาธารณูปการ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ได้ทรงบูรณะซ่อมสร้างเสนาสนะ และถาวรวัตถุอันเป็นสาธารณประโยชน์เป็นจำนวนมาก กล่าวคือ
ปูชนียสถาน
ได้แก่ มณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง พระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร พระบรมธาตุ เจดีย์ศรีนครินทรมหาสันติคีรี ดอยแม่สลอง
พระอาราม ได้แก่ วัดสันติคีรี ดอยแม่สลอง เชียงราย วัดรัชดาภิเศก อำเภอบ่อพลอย กาญจนบุรี วัดล้านนาสังวราราม อำเภอจอมทอง เชียงใหม่ วัดพุมุด อำเภอไทรโยค กาญจนบุรี วัดญาณสังวราราม อำเภอบางละมุง ชลบุรี นอกจากนั้นยังทรงอุปถัมภ์วัดไทยในต่างประเทศอีกหลายแห่งคือ วัดพุทธรังสี นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย วัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย กรุงจาการ์ตาอินโดนีเซีย วัดนครมณฑปศรีกีรติวิหาร เมืองกิรติปูร เนปาล
โรงเรียน
ได้แก่ โรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร ยโสธร โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต กาญจนบุรี
โรงพยาบาล
ได้แก่ การสร้างตึกวชิรญาณวงศ์ ตึกวชิรญาณสามัคคีพยาบาร และตึก ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จังหวัดกาญจนบุรี, โรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี, และโรงพยาบาลสกลมหาสังฆปรินายก เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์ แด่สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทุกพระองค์ รวม 19 แห่ง ได้เริ่มก่อสร้างไปแล้วหลายแห่ง

http://th.wikipedia.org/

สิ้นพระชนม์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

สิ้นพระชนม์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

แถลงการณ์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ถึงการสิ้นพระชนม์
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19:30 นาฬิกา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต [1]

พระกรณียกิจ[แก้]

พระกรณียกิจของพระองค์ตลอดห้วงระยะเวลาที่ผ่านมามีอยู่เป็นอเนกอนันต์ พอจะสรุปได้ดังนี้
ด้านการพระศาสนาในต่างประเทศ[แก้]
พระองค์ได้เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินการมาโดยลำดับ ดังนี้
พ.ศ. 2509 ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตในต่างประเทศ ได้เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ ในพิธีเปิดวัดพุทธประทีป ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และดูกิจการพระธรรมทูตในประเทศอังกฤษและอิตาลี
พ.ศ. 2511 เสด็จไปดูการพระศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษาในประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ อันเป็นผลให้ต่อมาได้มีการวางแผนร่วมกับชาวพุทธอินโดนีเซีย ในอันที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น และได้ส่งพระธรรมทูตชุดแรกไปยังอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้ส่งพระภิกษุจากวัดบวรนิเวศ ออกไปปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2516, และตั้งสำนักสงฆ์ในปี พ.ศ. 2518
พ.ศ. 2514 เสด็จไปดูการพระศาสนา และการศึกษาในประเทศเนปาล และอินเดีย ปากีสถาน ตะวันออก (บังคลาเทศ) ทำให้เกิดงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเนปาล ในขั้นแรก ได้ให้ทุนภิกษุ สามเณรเนปาลมาศึกษาพระพุทธศาสนาในไทย ที่วัดบวรนิเวศฯ
พ.ศ. 2520 เสด็จไปบรรพชาชาวอินโดนีเซีย จำนวน 43 คน ที่เมืองสมารัง ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์เถรวาทอินโดนีเซีย
พ.ศ. 2528 ทรงเป็นประธานคณะสงฆ์ ไปประกอบพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถ วัดจาการ์ต้าธรรมจักรชัย ณ ประเทศอินโดนีเซีย นับเป็นการผูกพันธสีมาอุโบสถวัดพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นครั้งแรกของประเทศอินโดนีเซีย และในปีเดียวกันนี้ ได้เสด็จไปเป็นประธานบรรพชากุลบุตรศากย แห่งเนปาล จำนวน 73 คน ณ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
พ.ศ. 2536 เสด็จไปเจริญศาสนาสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน เป็นครั้งแรก ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลจีน
พ.ศ. 2538 เสด็จไปเป็นประธาน วางศิลาฤกษ์วัดไทย ณ ลุมพินี ประเทศเนปาล ซึ่งรัฐบาลไทยจัดสร้างถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

http://th.wikipedia.org/

ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

หนังสือ “ขอรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช” ที่ พศ 0006/3 วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2547
ในช่วงที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชมีศาสนกิจที่จะต้องเสด็จไปต่างประเทศ พระองค์จะมีพระบัญชาแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช โดยเมื่อครั้งพระองค์เสด็จประเทศจีนอย่างเป็นทางการ ตามคำกราบทูลอาราธนาของทบวงศาสนกิจ ประเทศจีน และเสด็จปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศเนปาล พระองค์มีพระบัญชาแต่งตั้งให้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช[8][9] นอกจากนี้ เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศอินเดีย พระองค์มีพระบัญชาแต่งตั้ง สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช[10][11]
ช่วงปี พ.ศ. 2547 หลังจากที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ประชวร และประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เข้าร่วมงานพระศาสนาไม่สะดวก มหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรปกครองคณะสงฆ์ ได้แต่งตั้งให้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[12] ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้มีพระบัญชาว่า “ทราบและเห็นชอบ” เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2547 ต่อมา การแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด มหาเถรสมาคมจึงได้แต่งตั้ง คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช โดยประกอบด้วยพระราชาคณะ รวม 7 รูป จากพระอาราม 7 วัด โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ทำหน้าที่ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[13][14]

http://th.wikipedia.org/

สมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

สมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

พ.ศ. 2515 พระองค์ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานสถาปนาสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2359 ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร จึงเป็นตำแหน่งพิเศษที่โปรดพระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระเท่านั้น[6]
เมื่อสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2531 ทำให้ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งราชทินนามดังกล่าวนับเป็นราชทินนามพิเศษ กล่าวคือ สมเด็จพระสังฆราชที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์นั้น โดยปกติจะใช้ราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ บางพระองค์ ครั้งนี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งครั้งมีการใช้ราชทินนาม สมเด็จพระญาณสังวร สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเพื่อเป็นพระเกียรติคุณทางวิปัสสนาธุระของพระองค์[6] นับเป็นสมเด็จพระญาณสังวรสังฆราชพระองค์แรกของประเทศไทย

http://th.wikipedia.org/

การปฏิบัติหน้าที่ด้านคณะสงฆ์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

การปฏิบัติหน้าที่ด้านคณะสงฆ์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงฉายภาพหมู่ร่วมกับคณะพระภิกษุสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อคราวผนวชหลังจากที่พระองค์สอบได้เปรียญธรรม 9 แล้ว พระองค์ทรงเริ่มงานอันเกี่ยวเนื่องกับคณะสงฆ์อีกมากมาย ซึ่งนอกเหนือจากเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแล้ว พระองค์ยังเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษาของภิกษุสามเณรทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี รวมทั้งทรงเป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่งในฐานะเป็นพระเปรียญ 9 ประโยค ต่อมา เมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงรับหน้าที่เป็นกรรมการสภาการศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้ง เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์และรักษาการพระวินัยธรชั้นฎีกาในกาลต่อมา นอกจากนี้ ยังทรงเป็นเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์อีกด้วย[5]เมื่อมีพระชันษาได้ 34 ปี พระองค์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ พระโศภนคณาภรณ์ โดยพระองค์ได้รับเลือกจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ให้เป็นพระอภิบาลของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในระหว่างที่ผนวชเป็นพระภิกษุและเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2499 ต่อมา ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์ โดยราชทินนามทั้ง 2 ข้างต้นนั้นเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานแก่พระองค์เป็นรูปแรก[6]ในปี พ.ศ. 2504 พระองค์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาคและเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ในปีเดียวกันนี้เองพระองค์ได้รับการสถาปนาที่ พระสาสนโสภณ[6] พระองค์เข้ารับตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 และยังคงดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังได้ทรงนิพนธ์ผลงานทางวิชาการ เอกสาร และตำราด้านพุทธศาสนาไว้มากมาย[7]

http://th.wikipedia.org/

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(เจริญ สุวฑฺฒโน)

เกิด 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456
อุปสมบท พ.ศ. 2476
มรณภาพ สิ้นพระชนม์ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556
พรรษา 80 ปี 329 วัน
อายุ 100 ปี 21 วัน
วัด วัดบวรนิเวศวิหาร
จังหวัด กรุงเทพมหานคร
สังกัด ธรรยุติกนิกาย
วุฒิการศึกษา น.ธ.เอก, ป.ธ.9
ตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์ สกลมหาสังฆปริณายก
ลิขิต

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา 100 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต[1]

พระประวัติ

ขณะทรงพระเยาว์

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 เป็นบุตรคนโตของนายน้อย คชวัตร และนางกิมน้อย คชวัตร ชาวกาญจนบุรี พระองค์มีน้องชาย 2 คน ได้แก่ นายจำเนียร คชวัตร และนายสมุทร คชวัตร บิดาของพระองค์ป่วยเป็นโรคเนื้องอกและเสียชีวิตไปตั้งแต่พระองค์ยังเล็ก หลังจากนั้น พระองค์ได้มาอยู่ในความดูแลของป้าเฮงซึ่งเป็นพี่สาวของนางกิมน้อยที่ได้ขอพระองค์มาเลี้ยงดู[2]
เมื่อพระชันษาได้ 8 ปี ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จนจบชั้นประถม 5 (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. 2468 ในขณะที่มีพระชันษา 12 ปี หลังจากนั้น ทรงไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและไม่รู้ว่าจะเรียนที่ไหน ทรงเล่าว่า “เมื่อเยาว์วัยมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาด กลัวต่อคนแปลกหน้า และค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่เคยแยกจากกันเลย” จึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสินพระทัยไปเรียนต่อที่อื่น[2]
อ่านเพิ่มเติม

บูชาของดี ครูบาอริยชาติ

บูชาของดี ครูบาอริยชาติ วัดแสงแก้วโพธิญาณเสริมบารมีร่ำรวย

อิ่มบุญวันพระใหญ่ ‘อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา’ บูชาของดีวัดแสงแก้วโพธิญาณเสริมบารมีร่ำรวย ทุกวันนี้ชื่อเสียงของ วัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย กระฉ่อนไปทั่วสารทิศ พุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวต่างชาติต่างรู้จักคุ้นเคย แวะเวียนไปกราบไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และนมัสการขอพรจาก ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต หรือครูบาน้อย เจ้าอาวาสวัดแห่งนี้กันไม่ขาดสาย

ครูบาอริยชาติ จัดได้ว่าเป็น “นักบุญล้านนา” ยุคใหม่ ที่สืบสานสรรพวิชาและอาคมขลังจากอดีตพระเกจิชื่อดังหลายรูป ซึ่งท่านถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๙ มกราคม ๒๕๒๔ ที่บ้านปิงน้อย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ฉายแววนักบุญตั้งแต่วัยเยาว์ มีผิวพรรณผุดผ่องและมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดล้ำเลิศกว่าเด็กทั้งปวง อุปนิสัยรักสันโดษและไม่ชอบเบียดเบียนผู้อื่น ชอบปั้น “พระพุทธรูป” จากดินเหนียว จนเพื่อน ๆ ล้อเลียนว่าเป็น “ตุ๊เจ้า”

ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ต่าง ๆ จาก ครูบาจันทร์ติ๊บ ญาณวิลาโส อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยชนะ ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน ครูบาชุ่ม โพธิโก อดีตพระเกจิชื่อดังและอดีตเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล (วัง มุย) ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน และยังขึ้นชื่อว่าเป็น ผู้สืบสานพุทธธรรมแห่ง “นักบุญแห่งล้านนา” ครูบาเจ้าศรีวิชัย
อ่านเพิ่มเติม

ตะกรุดกาสะท้อน ครูบาอริยชาติ อริจิตฺโต

ตะกรุดกาสะท้อน ครูบาอริยชาติ อริจิตฺโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย

ตะกรุดกาสะท้อน จัดเป็นเครื่องราง สายเหนือ ที่ได้รับความนิยมมานาน เชื่อกันว่า มีอิทธิคุณช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายและไม่ดีต่างๆ ให้สะท้อนกลับออกไป ไม่สามารถส่งผลร้ายแก่ผู้ที่พกบูชาติดตัวได้
ครูบาอริยชาติ มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ ในเหตุที่ท่านอยู่กรรม เข้านิโรธสมาบัติเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน การเข้านิโรธสมาบัตินี้ ตามคัมภีร์ของพุทธศาสนาฝ่ายล้านนา เชื่อว่า พระอริยบุคคลระดับพระอนาคามี ขึ้นไปเท่านั้น ที่ทำได้ เพราะถ้าเข้านิโรธเต็มกำลัง ไม่ฉันไม่ถ่าย ไม่พูดไม่จา นั่งภาวนาตลอดเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน เหนือเวทนาทั่วไปที่มนุษย์ธรรมดาจะทำได้ แต่สำหรับครูบาอริยชาติ ท่านเรียกการเข้านิโรธของท่านว่า “การอยู่กรรม” ซึ่งจะกระทำในวันเข้าพรรษา โดยให้ปลูกกระโจมมุงด้วยหญ้าแฝก บริเวณด้านนอกโดยรอบกระโจม ทั้ง 4 ทิศ ปักไม้มงคล เป็นเขตสังฆาวาส เพื่อป้องกันสัตว์ร้าย ภูมิผี ปีศาจทั้งหลาย อมนุษย์ทั้งหลาย มิให้เข้ามาในบริเวณกระโจมนิโรธได้ ภายในกระโจม ให้ขุดหลุมลึก 50 ซม. ปูรองด้วยหญ้าคาแห้ง เพื่อให้ครูบาเข้าไปนั่งภาวนาอยู่กรรม โดยท่านจะนั่งภาวนาในกระโจมนี้ นาน 7 วัน 7 คืน ไม่พูด ไม่คุย ไม่ฉันอาหารหนัก ฉันแต่เพียงน้ำสะอาด ที่กรองผ้าขาวบางเนื้อละเอียด 7 ชั้นเท่านั้น อ่านเพิ่มเติม

บูชาของดี-ของขลังวัดแสงแก้วโพธิญาณ

บูชาของดี-ของขลังวัดแสงแก้วโพธิญาณ

วันนี้พุทธศาสนิกชนทั่วทุกสารทิศ ต่างหลั่งไหลเดินทางไป วัดแสงแก้วโพธิญาณ เลขที่ ๑๙๑ บ้านป่าตึง หมู่ ๑๑ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ด้วยแรงศรัทธาอันเปี่ยมล้นใน ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เจ้าอาวาสหนุ่มน้อยรูปงาม ด้วยบุญญาบารมีเป็นที่ประจักษ์ชัดในแนวประพฤติปฏิบัติตามรอย “นักบุญแห่งล้านนา” ครูบาเจ้าศรีวิชัย และเป็นศูนย์รวมใจแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ทุกชนชั้น ไม่ว่ายากดีมีจนล้วนสามารถเข้าพบและกราบสักการะได้อย่างเท่าเทียมกัน

อัตโนประวัติโดยสังเขป ครูบาอริยชาติ เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูรและผู้สืบสานปณิธานของครูบาศรีวิชัย “นักบุญแห่งล้านนา” ตั้งแต่ วัยเยาว์ท่านมีสติปัญญา เฉลียวฉลาดกว่าเด็กในวัยเดียวกัน ผลการเรียนอยู่ในระดับดีเด่น มีนิสัยรักสงบสันโดษ ไม่เบียดเบียนสัตว์หรือสิ่งมีชีวิต ชอบนำดินเหนียวมาปั้นพระพุทธรูปเล่นเป็นประจำจนถูกเพื่อน ๆ ล้อเลียนว่าเป็น “ตุ๊เจ้า” ที่สำคัญท่านชอบไปวัดฟังเทศน์ฟังธรรม จนเป็นสาเหตุให้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาจันทร์ติ๊บ ญาณวิลาโส อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยชนะ ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ต่าง ๆ ให้ท่านเรียนรู้รวดเร็วทั้งอักขระล้านนาและท่องเรียนอ่านเขียนจนชำนาญ ถึงขั้นทำวัตถุมงคลแทนอาจารย์ได้ดีเยี่ยมไม่แพ้กัน
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต โดยสังเขป

ประวัติครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต โดยสังเขป

ชาตกาล

ครูบาถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2524 ที่บ้านปิงน้อย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรของ โยมพ่อสุข โยมแม่จำนง อุ่นต๊ะ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกัน 3 คน เป็นผู้ชายทั้งหมดคือ

1. นายนิเวศน์ อุ่นต๊ะ
2. นายนิรันดร์ อุ่นต๊ะ
3. ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต

เมื่อแรกที่ครูบาจะถือกำเนิดนั้น ขณะที่โยมแม่ตั้งครรภ์อุ้มท้องได้ฝันประหลาดไปว่า ได้รับผ้าขาวผืนใหญ่สีขาวนวลตา เมื่อพิจารณาก็รู้สึกชอบใจยิ่งนัก เพราะผ้าผืนนั้นขาวสะอาดไร้รอยเปื้อนใด ๆ จากนั้นโยมแม่ก็สะดุ้งตื่น แล้วได้นำความฝันนี้ไปเล่าให้ผู้เฒ่าผู้แก่ฟัง ซึ่งล้วนมีแต่คนบอกว่าน่าจะเป็นนิมิตหมายที่ดี ทั้ง ๆ ที่ในตอนนั้นฐานะทางบ้านของโยมพ่อโยมแม่ก็ไม่สู้จะดีนัก เป็นชาวสวนเกษตรกร ปลูกผัก ปลูกไม้ เลี้ยงดูลูก ๆ ไปวัน ๆ

และเมื่อบุตรชายคนสุดท้องของท่านได้ถือกำเนิด ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าแปลกที่เด็กชายผู้นี้เป็นเด็กที่มีผิวพรรณผุดผ่อง มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าเด็กในวัยเดียวกัน ซึ่งโยมพ่อโยมแม่ได้ตั้งชื่อในวัยเด็กของครูบาว่า เด็กชายเก่ง ซึ่งครูบาก็เก่งสมชื่อ เพราะนอกจากมีความจำเป็นเลิศและเรียนเก่งแล้ว ยังมีอุปนิสัยเป็นผู้ที่ชอบความสงบไม่ชอบเบียดเบียนผู้ใด จนครั้งหนึ่งอายุได้ราว 7- 8 ปีเกือบต้องเสียชีวิตเนื่องจากจิตใจอันประกอบไปด้วยความเมตาต่อสรรพสัตว์คือ ในครั้งนั้นครูบาได้เห็นชาวบ้านไปดักปลาก็เกิดความสงสารจึงคิดจะไปปล่อยปลาเป็นเหตุให้พัดตกน้ำโชคดีที่พี่ชายมาเห็นเหตุการณ์จึงเข้าช่วยเหลือได้ทัน และอุปนิสัยอีกประการในช่วงวัยเด็กของครูบาก็คือ ครูบามักจะนำดินเหนียวมาปั้นเป็นพระพุทธรูปอยู่เสมอ บางครั้งก็นำไปวางไว้ตามกำแพง ร่มไม้ จนเพื่อนๆ ชอบล้อว่าอยากเป็น ตุ๊เจ้า หรือ ซึ่งครูบาก็ไม่เคยปฏิเสธหรือโกรธเพื่อน ๆ เลย
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .