ตะกรุดก่าสะท้อนตำรับ’ครูบาน้อย’

ตะกรุดก่าสะท้อนตำรับ’ครูบาน้อย’

ตะกรุดก่าสะท้อน ตำรับ ‘ครูบาน้อย เตชปญฺโญ วัดศรีดอนมูล’ : ชั่วโมงเซียน โดยอ.โสภณ

“ตะกรุดก่าสะท้อน” จัดเป็นเครื่องรางสายเหนือ ที่ได้รับความนิยมมานาน เชื่อกันว่า มีอิทธิคุณช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายและไม่ดีต่างๆ ให้สะท้อนกลับออกไป ไม่สามารถส่งผลร้ายแก่ผู้ที่พกบูชาติดตัวได้ ทั้งนี้เรามักจะออกเสียง “ก่า” เป็น “กา” จนกลายเป็น “ตะกรุดกาสะท้อน”

ยันต์ก่าสะท้อนเป็นยันต์ที่ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้นิยมยันต์ล้านนาทั้งหลาย คำว่า “ก่า” เป็นภาษาล้านนา แปลว่า ป้องกัน, ไม่ให้เกิดขึ้น คุณวิเศษของยันต์ก่าสะท้อนนั้น สามารถป้องกันอันตรายต่างๆ ทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็น มนต์ดำ คุณไสย คุณผี คุณคน ที่กระทำย่ำยีมาใส่เรานั้น ตะกรุดนี้จะสะท้อนสิ่งเหล่านั้นกลับไปยังผู้ทำของทำคุณไสยใส่เราได้ตามกฎแห่งกรรม

อย่างไรก็ตาม ยันต์ก่าสะท้อนมีหลายชนิดหลายแบบแตกต่างกันไป เช่น ยันต์ก่าสะท้อนที่ทำจากหนังลูกวัวเกิดแล้วตายคาอวัยวะเพศ ส่วนมากจะหุ้มหรือพอกยันต์ด้วยครั่ง ยันต์ก่าสะท้อนชนิดนี้สามารถป้องกันอันตรายได้หมด เป็นมหาอุด ปืนยิงไม่ออก หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม วัดวังมุย เคยสร้างไว้ ตอนนี้หายากมากแล้ว
อ่านเพิ่มเติม

ครูบาน้อย เตชะปญฺโญ (พระครูสิริศีลสังวร)

ครูบาน้อย เตชะปญฺโญ (พระครูสิริศีลสังวร)

วัดศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๔๑๐
โทร. ๐๕๓-๔๒๐๒๗๗, ๐๕๓-๔๒๑๐๔๐

ครูบาน้อย เตชะปญฺโญ (พระครูสิริศีลสังวร)
วัดศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๕๐๔๑๐
โทร. ๐๕๓-๔๒๐๒๗๗, ๐๕๓-๔๒๑๐๔๐

ครูบาน้อย ท่านเข้านิโรธสมาบัติทุกปี ปีละ ๗ วัน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
ช่วงเวลาที่ท่านครูบาน้อยออกจากนิโรธสมาบัติ จะมีประชาชนนับหมื่นไปรอใส่บาตร

ครูบาน้อยท่านรับแขกทุกวัน เวลา ๑๐ โมงเช้า เพื่อความแน่นอนให้โทรไปสอบถามรายละเอียดกับทางวัดได้

คนดังมากๆ ที่ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาน้อย เช่น พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร, คุณไมตรี บุญสูง เป็นต้น

ประวัติโดยย่อครูบาน้อย เตชะปญฺโญ (พระครูสิริศีลสังวร)

เกิดวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๔ บวชเป็นสามเณรเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๗ ขณะอายุได้ ๑๓ ปี ที่วัดศรีดอนมูล ต่อมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔

ครูบาน้อยได้ศึกษากรรมฐานกับครูบาอาจารย์หลายรูป เช่น ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล, ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน, ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน, ครูบาหล้าตาทิพย์ วัดป่าตึง จ.เชียงใหม่ เป็นอาทิ

http://www.palapanyo.com/files/supatipanno/fcontent.php?f=krubanoi.html

ไหว้สาครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล

ไหว้สาครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล

ท่านพระครูสิริศีลสังวร (ครูบาน้อย เตชปัญโญ)
“มีสติอยู่กับตัวนะ ทำอะไรก็ให้มีสติ” เสียงพระเถระอายุกว่า 60 พรรษา แต่ยังดูท่านยังแข็งแรงมากยังคงแว่วอยู่ในหัวผม

เสียงพระเถระ ที่ชาวบ้านพร้อมใจกันเรียกท่านด้วยความเคารพว่า “ครูบา” นั้นเปี่ยมด้วยความเมตตา ผมเองได้ยินชื่อของ “ครูบา” ครั้งแรกทางหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่าท่านสามารถเข้า นิโรธกรรมตามแบบของครูบาศรีวิชัย ได้ ซึ่งการเข้านิโรธกรรมครั้งแรกนั้นเป็นเข้า เพื่อต่ออายุ ครูบาผัด (พระครูพิศิษฏ์สังฆการ หรือครูบาผัด ผุสฺสิตธมฺโม) อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งในขณะนั้น (ปี พ.ศ. 2537) กำลังป่วยหนัก ถึงขนาดที่แพทย์ที่ทำการรักษาอยู่บอกลูกศิษย์ลูกหาให้ทำใจ การเข้านิโรธกรรมของท่านในครั้งนั้นทำให้อาการป่วยของครูบาผัดดีวันดีคืน หลังจากนั้น”ครูบา” ท่านก็เข้านิโรธกรรม ทุกปีเป็นประเพณีทุกปี อ่านเพิ่มเติม

ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล

ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล

ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล
ศิษย์เอกครูบาผัด ต้นตำรับตะกรุดกาสะท้อนแห่งวัดศรีดอนมูล
เกจิอาจารย์ล้านนายอดกตัญญู

๙ คณาจารย์ของครูบาน้อย ประกอบด้วย
1. ครูบาเจ้าศรีวิไชย ตนบุญแห่งล้านนาไทย ต้นแบบการเข้านิโรธกรรม
2. ครูบาพรหมมา พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า ป่าซาง ลำพูน
ประสิทธิ์ประสาทการวิปัสสนากัมมัฎฐาน
3. ครูบาหล้า(ตาทิพย์) วัดป่าตึง สันกำแพง เชียงใหม่ ได้ศึกษาวิชาธรณีศาสตร์ และเวทย์มนต์คาถาต่าง ๆ เช่น คำประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ฯลฯ
4. ครูบาคำปัน นันทิโย วัดหม้อคำตวง เชียงใหม่ ได้ศึกษาอักขระภาษาล้านนา เรื่องของเมตตามหานิยม ตำรับตำรายาสมุนไพร วัตรปฏิบัติและการครองเพศบรรพชิต
5. ครูบาชัยยะวงศา(ครูบาเหยียบศิลาเป็นรอย) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลี้ ลำพูน ประสิทธิ์ประสาทวิชา เวทมนต์คาถา และวัตรปฎิบัติการฉันอาหารเจ
6. ครูบาอิ่นแก้ว อินทรโส วัดกู่เสือ พระอุปัชฌาย์(สามเณร)
7. ครูบาอุ่นเรือน อินทรโส วัดป่าแคโยง พระอุปัชฌาย์ (ภิกษุ)
8. ครูบาผัด ผุสลิตธสโม วัดศรีดอนมูล ศึกษาเกี่ยวกับตำรับยาสมุนไพร คาถาอาคมในด้านอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม
ตะกรุดกาสะท้อน ตะกรุดประสิทธิเวช ฯลฯ
9. พ่ออาจารย์(ฆราวาส) สล่ากุ่งหม่า บ้านแม่ก๊ะ อ.ดอยสะเก็ด เชียงใหม่ ได้ศึกษาไสยาเวช

http://somphobamulet.tarad.com/

วัดชัยมงคลวังมุย ต.ประตูป่า (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

วัดชัยมงคลวังมุย ต.ประตูป่า

ประวัติวัดชัยมงคลวังมุย
วัดชัยมงคลวังมุย

สร้างขึ้นด้วยความร่วมแรงร่วมใจของชาววังมุย โดยมีครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก เป็นองค์ประธาน มูลเหตุของการดำริสร้างวัด มาจาการที่วัดเก่า คือวัดศรีสองเมืองประจำบ้านวังมุย ประสบอุทกภัยอยู่เนืองนิจ ชาววังมุยจึงได้สร้างวัดใหม่ คือ วัดชัยมงคลขึ้นสถานที่ตั้งของวัดใหม่ อยู่ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดเก่า สิ่งก่อสร้างแรกเริ่มที่สร้าง คือ พระวิหาร ซึ่งยังคงเค้าเดิมอยู่ถึงปัจจุบันชื่อของวัดใหม่ ที่หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่มตั้งให้ คือ วัดชัยมงคล แต่ชาวบ้านและคนทั่วไปมักนิยมเรียกว่าวัดวังมุย ด้วยความที่คนภายนอกรู้จักวัดเล็กๆ ในหมู่บ้านห่างไกลอย่างวัดวังมุยนี้ ในฐานะที่เป็นวัดของครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก พระอริยะเจ้าจากเมืองลำพูน จึงมักจะคุ้นเคย ชินกับนามวัดวังมุยตามชื่อสถานที่มากกว่าดังนั้นกล่าวถึง วัดชัยมงคล จึงต้องมีชื่อ วังมุย ต่อท้ายด้วยเสมอจาก ประวัติทั่วราชอาณาจักรไทย ระบุว่า วัดชัยมงคล (วังมุย) สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2464 โดยมีหลวงปู่ครูบา เจ้าชุ่ม โพธิโก ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2484 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายตั้งอยู่ ณ บ้านวังมุย เลขที่ 85 หมู่ที่ 1 ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูนมีเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา ส.ค. 1 เลขที่ 6 ทิศใต้ กว้างประมาณ 17 วา จรดที่ดินเอกชน

ทิศตะวันออก กว้างประมาณ 46 วา จรดถนนสาธารณะทิศตะวันตก กว้างประมาณ 36 วา จรดที่ดินเอกชน
นอกจากนี้ ยังมีรูปเหมืองขนาดเท่าองค์จริงของครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย ที่ปั้นขึ้นในสมัยที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยยังดำรงขันธ์อยู่ และยังมีพระรูปเหมือนของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ในท่านั่งสมาธิ อีกด้วย

วัดชัยมงคลวังมุย บ้านวังมุย ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน 51000
โทร.0 5350 0131/0 8504 1446
Website www.watchaimongkol.com

อ่านเพิ่มเติม

ประวัติครูบาชุ่ม โพธิโก วัดชัยมงคล ลำพูน

ประวัติครูบาชุ่ม โพธิโก วัดชัยมงคล ลำพูน

ครูบาชุ่ม โพธิโก เป็นชาวลำพูนโดยกำเนิด เกิดในตระกูล นันตละ ณ.บ้านวังมุย ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน เมื่อวันอังคาร เดือน ๕ เหนือ ปีกุน ขึ้น ๗ ค่ำ ปี พ.ศ. ๒๔๔๑ เป็นบุตรคนที่ ๓ ของพี่น้อง ๖ คน โยมบิดาชื่อ นายบุญ โยมมารดาชื่อ นางลุน ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๒ ปี ณ.วัดวังมุยนั้น โดยมีครูบาอินตา วัดพระธาตุขาว เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ตั้งจิตอธิษฐานไม่ฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่นั้น
เมื่อบรรพชาแล้วได้ศึกษาปริยัติธรรม และเดินทางไปศึกษาในสำนักวัดผ้าขาว เชียงใหม่ จากนั้นไปศึกษาต่อที่วัดพระสิงห์ และวัดเจดีย์หลวง ตามลำดับ จนสามารถมีความรู้แปลหนังสือ และพระไตรปิฏกแล้วจึงเดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดวังมุย ลำพูนดังเดิม

เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบท โดยมีครูบาอินตา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หมื่นเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์หลวงอ้าย เป็นพระอนุสาสนาจารย์ ได้ฉายาว่า โพธิโก หลังอุปสมบทแล้วได้ออกศึกษาวิปัสสนาธุระ ในสำนักวัดท้าวศรีบุญเรือง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ มีครูบาสุริยะเป็นพระอาจารย์ ได้ศึกษากับครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่ง ซึ่งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมอันมีชื่อเสียงในสมัยนั้นอีก ๒ ปี จากนั้นไปศึกษาต่อกับครูบาแสน วัดหนองหมู อีก ๒ ปี จนมีความสามารถครบถ้วน จึงเริ่มออกสู่ธุดงควัตรเลาะริมน้ำปิงลงสู่ดินแดนภูเขาทางอำเภอลี้ อ.ฮอด ทำการบูรณะพระธาตุดอยเกิ้ง อันเป็นพระธาตุที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระพุทธเจ้า จากนั้นเดินทางไปศึกษาวิชาเพิ่มจาก พระมหาเมธังกร จ.แพร่ พระผู้ทรงวิทยาคุณอีกรุปหนึ่ง
อ่านเพิ่มเติม

ดำเนินตามรอยบาท แผ่บารมีเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

ดำเนินตามรอยบาท แผ่บารมีเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์

หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม ได้เจริญตามรอยบาทของพระอาจารย์ที่เคารพอย่างครูบาเจ้าศรีวิชัย โดยการแผ่บารมี ช่วยเหลืองานสาธารณประโยชน์ไว้มากมายหลายแห่ง เท่าที่มีบันทึกไว้เพียงบางแห่ง มีรายละเอียดมากน้อยต่างกัน คือ

– ร่วมสร้างทางขึ้นพระบรมธาตุดอยสุเทพ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘

– ร่วมสร้างสะพานศรีวิชัย สานต่อภารกิจของครูบาเจ้าศรีวิชัย ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑

– สร้างทางขึ้นพระธาตุดอยตุง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

– สร้างสะพาน แม่น้ำขาน ที่หนองห้า อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่

– ร่วมสร้างวัดร่มหลวง ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

– สร้างสะพานบ้านเหมืองฟู ต.ยุหว่า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สะพานยาว ๒๕ วา ๒ ศอก กว้าง ๘ ศอก ใช้เวลาก่อสร้าง ๓ เดือน จึงแล้วเสร็จ สิ้นเงิน ๘๐,๖๓๐ บาท
อ่านเพิ่มเติม

วาจาสุดท้าย ณ บ้านวังมุย (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

วาจาสุดท้าย ณ บ้านวังมุย

พ่อเลื่อน กันธิโน ศิษย์ใกล้ชิดของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม เล่าถึงช่วงเวลาก่อนที่ท่านจะมรณภาพว่า ตอนที่ท่านจะตัดสินใจมากรุงเทพฯ นั้น ชาวบ้านวังมุยหลายคนขอร้องไม่ให้ท่านมา เพราะเห็นว่าท่านอาพาธอยู่

แต่ดูเหมือนหลวงปู่ท่านจะรู้วาระของท่านจึงได้เอ่ยวาจาว่า

“เฮาจะไม่ตายที่นี่ เฮาจะไปตายที่เมืองกรุงบางกอก”

นับได้ว่าเป็นวาจาประโยคสุดท้ายของท่านที่บ้านวังมุย

พ่อเลื่อนเป็นผู้พาหลวงปู่นั่งเครื่องบินเดินทางไปกรุงเทพฯ โดยท่านเจ้ากรมเสริม (พล.อ.ท. ม.ร.ว. เสริม ศุขสวัสดิ์) กับคุณอ๋อย (คุณเฉิดศรี ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา มารอรับที่สนามบินดอนเมือง เพื่อพาหลวงปู่ชุ่มไปรักษาที่โรงพยาบาลพร้อมมิตร คณะแพทย์ได้ตรวจรักษาโดยใช้แสงเลเซอร์ผ่าตัดบริเวณต่อมลูกหมาก หลวงปู่ท่านกะว่าจะนอนพักผ่อนแค่ 2 วันแล้วจะกลับวัดวังมุย แต่แพทย์ได้ห้ามไว้ เพราะหลวงปู่เพิ่งผ่าตัด ควรจะนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลต่อสัก 4-5 วัน พร้อมกันนี้ แพทย์ได้ขอร้องหลวงปู่ไม่ให้เดินเพราะเพิ่งจะผ่าตัด อ่านเพิ่มเติม

ปัจฉิมวัยของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก

ปัจฉิมวัยของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก

หลวงตาวัชรชัย หรือ พระครูภาวนาพิลาศ เป็นศิษย์ใกล้ชิดอีกท่านของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ผู้ได้เคยมีโอกาสใกล้ชิดและอุปัฏฐากหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม ในช่วง พ.ศ. 2518 และได้เขียนหนังสือระลึกถึง “พระสุปฏิปันโน” ทั้งหลายที่เป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อฤๅษีลิงดำไว้ในหนังสือชื่อ “บนเส้นทางพระโยคาวจร” นามปากกา “สายฟ้า” เป็นหนังสือที่เขียนถึงพระอริยเจ้าหลายท่านได้อย่างซาบซึ้ง และก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะต่อท่านเหล่านั้นได้ในทันที

จึงขออนุญาตนำความบางตอนจากเนื้อหาเกี่ยวกับ “หลวงปู่ชุ่ม” มาเสนอ ณ โอกาสนี้

“หลวงปู่ชุ่ม…หรือครูบาชุ่มของชาวหริภุญชัย เป็นศิษย์เอกขนานแท้ของของพระคุณหลวงปู่ครูบาศรีวิชัย พระมหาโพธิสัตว์สงฆ์ผู้เป็นประดุจเทพเจ้าของชาวลานนาทั้งผอง ที่ว่าเป็นศิษย์เอกขนานแท้ ก็เพราะครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ประทานกำเนิดบวชเป็นสมณะให้ ครั้นตอนครูบาศรีวิชัยมรณภาพลงไป หลวงปู่ชุ่มองค์นี้แหละ…ที่เป็นทายาทผู้รับมรดกครอบครองไม้เท้าและพัดหางนกยูงอันเป็นตราสัญลักษณ์ ประจำองค์ครูบาศรีวิชัย แสดงถึงคุณธรรมที่ท่านปฏิบัติได้ถึงขนาดนั้นแหละ และที่สำคัญท่านมาเกี่ยวข้องกับพ่อเรา (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง) ตั้งแต่อดีตชาติ คือเป็นพี่ชายพ่อเรา คู่กับหลวงปู่คำแสนเล็ก สามองค์นี้แหละลูกหลานเอย… ที่เป็นต้นกำเนิดการสถาปนาแผ่นดินไทยสมัยเชียงแสน นานนักหนามาแล้วโน่น… อ่านเพิ่มเติม

เรื่องการเข้านิโรธสมาบัติ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

เรื่องการเข้านิโรธสมาบัติ

หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่มท่านเป็นพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้มาจากครูบาอาจารย์ต่างๆ หลายองค์ และได้นำมาปฏิบัติตั้งแต่เมื่อเป็นสามเณร สมัยอยู่กับ ครูบาอินตา วัดเจดีย์ขาว

ครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นผู้ที่วางขนบจารีตเกี่ยวกับการ “เข้านิโรธ” ไว้ ทำให้ครูบาอาจารย์และพระภิกษุทางภาคเหนือยึดถือปฏิบัติสืบๆ กันมา รวมถึงหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม ท่านมักหาวาระและโอกาสเข้านิโรธอยู่เนืองๆ เท่าที่ทราบกันเป็นวงกว้าง และมีหลักฐานบันทึกไว้ระบุว่า ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก เข้านิโรธสมาบัติมาแล้ว 8 ครั้งครั้งหลังสุด เข้าเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2518 และออกจากนิโรธสมาบัติในตอนย่ำรุ่ง วันที่ 21 มิถุนายน คือ 7 วันต่อมา

การเข้านิโรธสมาบัติของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ครั้งนี้ เป็นพิเศษยากยิ่งกว่าทุกครั้ง เพราะท่านเข้าด้วยอิริยาบถ 4 โดยทรงอารมณ์อยู่ในจตุตถฌานตลอดเวลา นับว่ากำลังจิตท่านแข็งแกร่ง มีบุญบารมีสูงยิ่ง และการเข้านิโรธสมาบัติในครั้งนี้นี่เอง ที่มีประชาชนทราบกันแพร่หลายมากที่สุด อ่านเพิ่มเติม

เรื่องฤทธิ์ และอภิญญา (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

เรื่องฤทธิ์ และอภิญญา

หนังสือ “ลูกศิษย์บันทึก” ของวัดท่าซุง ซึ่งมีอยู่หลายเล่ม ได้รวบรวมข้อเขียนจากลูกศิษย์ของหลวงพ่อพระราชพรหมยานไว้หลายท่าน เป็นพยานอย่างดีในความอัศจรรย์ข้อหนึ่ง ดังปรากฏอยู่ในบันทึกของ หลวงพ่อบุญรัตน์ กันตจาโร เจ้าอาวาสวัดโขงขาวในฐานะที่ท่านนับถือครูบาเจ้าชุ่มเป็นอาจารย์องค์หนึ่ง ก่อนที่ครูบาเจ้าชุ่มนี่เองจะเป็นผู้แนะนำให้ท่าน มากราบฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

“ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ หลวงปู่ชุ่ม โพธิโก หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร กำลังสนทนาธรรมกันที่วัดป่าดอนมุล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้เขียนกำลังรับฟังธรรม จากพระเดชพระคุณท่านฯทั้งสองอยู่ หลวงปู่ชุ่มก็หันหน้ามาบอกผู้เขียนว่า

“ท่านบุญรัตน์ ให้ไปกราบหลวงพ่อใหญ่ วัดท่าซุงหน่อย ท่านเป็นพระทอง หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว ท่านเปี่ยมด้วยเมตตาบารมี ใครได้กราบไหว้ก็เป็นบุญกุศลใหญ่นัก”

หลวงปู่คำแสนซึ่งนั่งอยู่ใกล้ ๆ ก็กล่าวเสริมขึ้นว่า

“เออดีมาก หลวงพ่อวัดท่าซุงเป็นผู้ประกอบไปด้วยเมตตาธรรมอันสูงส่ง เหมือนกับครูบาศรีวิชัย หาที่ไหนไม่ได้แล้ว”

นอกจากนั้นหลวงปู่ชุ่มท่านเมตตาเล่าให้ผู้เขียนฟังอีกว่า

อ่านเพิ่มเติม

การบูรณะวัดพระธาตุจอมกิจจิ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

การบูรณะวัดพระธาตุจอมกิจจิ* อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

*วัดพระธาตุจอมกิจจิ จ.เชียงใหม่ – ปัจจุบันเรียกว่า วัดพระธาตุจอมกิตติ พ้องกับที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม มีวัย 77 ปี แล้ว ในตอนที่มานั่งหนักเป็นประธาน บูรณะวัดพระธาตุจอมกิจจิ ในปี พ.ศ. 2518 แม้ท่านจะชราภาพแล้ว แต่ดูเหมือนจะมีเหตุให้ต้องมาทำภารกิจนี้ในที่สุด อาจจะเนื่องเพราะวาจาสิทธิ์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย ผู้เป็นพระอาจารย์ของท่าน ซึ่งกล่าวกับผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ ตอนเขาเหล่านั้นมาอาราธนาท่านให้บูรณะวัดพระธาตุจอมกิจจิ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้

“สถานที่นี้ต้องรอเจ้าของเขามาสร้าง ซึ่งจะเป็นศิษย์ของเราเอง โดยจะเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2518”

และในปี พ.ศ. 2518 นี้เอง ที่หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่มได้พบกันด้วย “กายเนื้อ” กับหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดท่าซุง เป็นครั้งแรก

หลวงพ่อพระราชพรหมยานท่่านเป็นพระอริยะเจ้าผู้มีชื่อเสียงเกียรติคุณขจรไกล มีศิษยานุศิษย์มากมายทั่วประเทศ ในราวปี พ.ศ. 2518 ท่านพาคณะศิษย์เดินทางมากราบพระอริยเจ้า “สายเหนือ” ที่ท่านเรียกว่า “พระสุปฏิปันโน” หลายรูป รวมทั้งหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ด้วย มูลเหตุดังนี้จึงทำให้คนเมืองหลวง และภาคอื่น ๆ ได้รู้จักพระ “อริยเจ้า” อีกหลายรูป ซึ่งหลบเร้นอยู่ในดินแดนแห่งป่าเขาทางภาคเหนือ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน

อ่านเพิ่มเติม

พระรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย ปั้นขณะท่านยังมีชีวิตอยู่ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

พระรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย ปั้นขณะท่านยังมีชีวิตอยู่

ตอนนั้นครูบาเจ้าชุ่มได้ให้ช่างมีฝีมือคนหนึ่ง คือ “หนานทอง” ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านเอง มาปั้นรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัยขนาดเท่าองค์จริงในท่านั่งสมาธิ หนานทองได้ใช้เวลาทำงานอยู่หลายวัน ด้วยความที่ครูบาศรีวิชัยอาพาธอยู่ หนานทองจึงต้องเทียวเดินเข้า-ออกจากห้องที่ท่านครูบาเจ้าพักอยู่ วันหนึ่งหลายครั้ง โดยเข้ามาดูหน้าท่าน แล้วก็เดินกลับไปปั้นรูป หากติดขัด ไม่แน่ใจบริเวณส่วนไหน ก็เดินมาดูหน้าองค์ท่านอีก ทำแบบนี้อยู่หลายครั้ง จนในที่สุดก็ปั้นเสร็จ จึงได้ตกแต่งทาสีเรียบร้อยสมบูรณ์

จากนั้น ครูบาเจ้าชุ่มได้ให้ยกพระรูปเหมือนนั้นมาตั้งไว้ตรงปลายเท้าครูบาเจ้าศรีวิชัยในขณะที่ท่านยังหลับอยู่ รอจนท่านตื่นขึ้น ครูบาเจ้าชุ่ม กับครูบาธรรมชัยได้ช่วยกันประคองท่านให้ลุกขึ้นนั่ง พอท่านได้เห็นพระรูปเหมือนขนาดเท่าจริงของตน ก็ตื้นตันจนหลั่งน้ำตาออกมา ท่านได้ใช้มือลูบคลำรูปเหมือนของตน จากนั้นได้ละมือจากรูปเหมือน มาถอดประคำที่ท่านคล้องคออยู่ เพื่อนำประคำไปคล้องที่คอของรูปเหมือนแทน และยังได้มอบไม้เท้าพร้อมทั้งพัดหางนกยูงให้อีก 1 คู่ จากนั้นท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยได้กล่าวขึ้นว่า

“รูปเหมือนนี้จะเป็นตัวแทนเราต่อไปในภายภาคหน้า”

และได้สั่งเสียให้เก็บรักษาไว้ ถือปฏิบัติแทนตัวท่าน ต่อมาอีกไม่นาน ครูบาเจ้าศรีวิชัยก็ได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ณ วัดบ้านปาง ขณะอายุได้ 60 ปี 8 เดือน 10 วัน

ในภายหลัง ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ได้อัญเชิญพระรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย จากวัดจามเทวี มาประดิษฐานยังวัดชัยมงคล (วังมุย) จึงนับเป็นพระรูปเหมือนเพียงองค์เดียวที่ได้ปั้นขึ้นในสมัยที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย-ตนบุญแห่งล้านนายังมีชีวิตอยู่ ซึ่งพระรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัยนี้ขึ้นชื่อลือเลื่องในความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ชาวบ้านวังมุยและประชาชนทั่วไปได้ยึดเป็นที่พึ่งที่ระลึกมาจนปัจจุบัน

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

ศิษย์ผู้ได้รับมอบไม้เท้า และพัดหางนกยูง จากครูบาเจ้าศรีวิชัย (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

ศิษย์ผู้ได้รับมอบไม้เท้า และพัดหางนกยูง จากครูบาเจ้าศรีวิชัย

ครูบาเจ้าศรีวิชัย-ตนบุญแห่งล้านนา ได้ริเริ่มดำเนินการก่อสร้างทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ จึงได้เรียกหาครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ผู้เป็นศิษย์ให้เข้ามาช่วยเหลือ​การก่อสร้างด้วย ตอนนั้นครูบาเจ้าชุ่มมีอายุเพียง ๓๗ ปี ท่านได้มาอยู่รับใช้ช่วยเหลืองานของครูบาเจ้าชุ่มเจ้าชุ่มเจ้าศรีวิชัยอย่างใกล้ชิด โดยครูบาเจ้าชุ่มทำงานในแผนก “สูทกรรม” เวลาต่อมา พระภิกษุหนุ่มวัยยี่สิบเศษนาม “ตุ๊วงศ์” หรือ หลวงปู่ครูบาวงศ์ ก็มาปวารณาตัวช่วยงานครูบาเจ้าศรีวิชัยด้วยเช่นกัน โดยตุ๊วงศ์ทำงานในแผนก “ดินระเบิด” ท่านครูบาศรีวิชัยได้แบ่งหน้าที่การงานต่างๆ มอบหมายให้พระลูกศิษย์แต่ละท่านอย่างชัดเจน

จากการที่ได้อยู่ใกล้ชิดช่วยเหลือกิจการงานดังกล่าว ครูบาเจ้าชุ่มจึงมีโอกาสได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติจากครูบาเจ้าศรีวิชัยอย่างเต็มที่ ท่านได้นำไปฝึกฝนปฏิบัติต่อหลังจากเสร็จงานทุกวัน จนเกิดความชำนาญแตกฉานขึ้นตามลำดับ

อ่านเพิ่มเติม

พบรอยเท้าเสือใหญ่ และผจญช้างตกมัน (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

พบรอยเท้าเสือใหญ่ และผจญช้างตกมัน

ตะวันสีหมากสุกได้ลับหายไปจากแนวไม้แล้ว อากาศในแนวป่ากลางดงลึก เย็นลงอีก สรรพสำเนียงไพรยามค่ำเริ่มต้นแล้ว เสียงเสือคำราม สลับกับเสียงเก้งร้องเรียกหากันให้ระวังภัย ดังแว่วมาแต่ไกล นี่เพียงโพล้เพล้แต่เสียงเสือใหญ่ก็คำรามข่มขวัญสัตว์ป่าในพงไพรเสียแล้ว

ขณะที่ธุดงค์ผ่านป่าทึบในอำเภอเวียงป่าเป้า ตะวันเริ่มจะลับทิวไม้แล้ว ขณะที่ผ่านดอยนางแก้ว ได้พบรอยเท้าเสือขนาดใหญ่เท่าฝ่ามือกางออก เป็นรอยเท้าที่เพิ่งเหยียบย่ำผ่านไปใหม่ๆ น้ำที่ขังในรอยเท้ายังขุ่นอยู่ ครูบาเจ้าชุ่มเจ้าชุ่มหาได้เกรงกลัวไม่ ได้เจริญพรหมวิหารสี่ แล้วแผ่เมตตาให้ โดยอธิษฐานว่า

“หากมีกรรมเก่าติดค้างกันมา ก็ขอยอมสละชีวิตเพื่อเป็นพุทธบูชาหากไม่มีกรรมเก่าต่อกันแล้วไซ้ ขออย่าได้ทำร้ายกันเลย จะเกิดกรรมติดตัวไปไม่รู้จบไม่รู้สิ้น”

แล้วท่านและผู้ติดตามจึงเดินทางเข้าป่าใหญ่ ในทิศทางเดียวกับที่เสือใหญ่เดินผ่าน ไม่กี่อึดใจก็ทะลุออกป่าโปร่ง แต่ก็ไม่พบเสือใหญ่ตัวนั้นเลย

เข้านิโรธสมาบัติใน “ถ้ำปุ่ม* ถ้ำปลา”
*ภาษาเหนือแปลว่า ปู

อ่านเพิ่มเติม

พบพระบรมสารีริกธาตุ และสมบัติของพระนางเจ้าจามเทวี (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

พบพระบรมสารีริกธาตุ และสมบัติของพระนางเจ้าจามเทวี

วีรกษัตรีย์แห่งนครหริภุญชัย

เมื่อครูบาเจ้าชุ่ม ได้จัดที่พำนักเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มงานบูรณะองค์พระเจดีย์ทันที โดยมีศรัทธาชาวบ้านมาร่วมด้วยเต็มกำลัง ในขณะที่ดำเนินการขุดวางฐานรากขององค์พระเจดีย์ใหม่ ท่านได้พบศิลาจารึกมีใจความว่า “องค์พระเจดีย์นี้พระนางจามเทวีเป็นผู้สร้าง และจะมีพระสงฆ์ 3 รูป มาบูรณะต่อเติม” ครูบาเจ้าชุ่มได้สอบถามชาวบ้านดูได้ความว่า ในอดีตได้มีพระมาบูรณะพระเจดีย์นี้แล้ว 2 องค์ ท่านครูบาเจ้าชุ่มเป็นองค์ที่ 3

หลังจากนั้น ชาวบ้านจึงได้ทำการขุดลงไปใต้ฐานพระเจดีย์ ได้พบไหซองใบใหญ่หนึ่งใบ ปิดปากอย่างแน่นหนา ครูบาเจ้าชุ่มจึงสั่งให้ชาวบ้านนำขึ้นมาเก็บไว้ก่อน แล้วจึงเชิญกำนันผู้ใหญ่บ้านหนองหล่มมาร่วมเป็นสักขีพยานในการเปิดออกดู ปรากฏว่าภายในมีแต่เบี้ย (เงินโบราณ) ทั้งนั้น ครูบาชุ่มจึงได้สั่งให้ปิดปากไหตามเดิม อ่านเพิ่มเติม

อธิษฐานเรียกน้ำ สร้างบูรณะวัดที่ อ. ห้างฉัตร จ.ลำปาง (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

อธิษฐานเรียกน้ำ สร้างบูรณะวัดที่ อ. ห้างฉัตร จ.ลำปาง

ต่อมาครูบาเจ้าชุ่มท่านได้พิจารณาถึงหลักการปฏิบัติธุดงค์ว่า “เป็นธรรมดาของการธุดงค์ การอยู่ในสถานที่ใดนาน ๆ นั้น จะทำให้พระธุดงค์ติดถิ่นที่อยู่ อันอาจส่งผลให้เกิดการย่อหย่อนในการปฏิบัติธุดงควัตร และส่งผลให้การปฏิบัติธรรมขัดเกลากิเลสไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร” ดังนั้นท่านจึงลาศรัทธาญาติโยมออกธุดงค์ต่อไป ในครั้งนี้มีพระขอติดตามท่านออกธุดงค์ด้วย

สองข้างทางที่ธุดงค์ไป ทั้งผ่านป่าดงดิบ มีต้นไม้ยืนต้นสูงใหญ่ ใบไม้ปกคลุมหนาทึบ แสงแดดแทบไม่มีเล็ดลอดลงมาให้เห็น ทั้งมีลำต้นใหญ่โต ขนาดหลายคนโอบ บางครั้งก็ผ่านป่าโปร่ง มีต้นไม้ขึ้นแซมไม่ทึบนัก สลับกับทุ่งหญ้าบ้างในบางครั้ง ป่าทางภาคเหนือสมัยครูบาชุ่มเดินธุดงค์นั้น บางแห่งแทบจะไม่เคยมีพระธุดงค์รูปใดย่างกรายเข้ามาเลย สัตว์ป่าต่างๆ ยังคงมีอยู่อย่างชุกชุม โดยเฉพาะ เก้ง กวาง กระจง รวมไปถึง นกยูง ไก่ฟ้า ไก่ป่า รวมถึงสัตว์ประเภทอื่นๆ ล้วนมีอยู่อย่างดาษดื่น ซึ่งการเดินธุดงค์ในป่าดงพงไพรที่สัปปายะเช่นนี้ จิตของครูบาชุ่มรู้สึกแช่มชื่น และสุขใจเป็นอันมาก ท่านได้เดินธุดงค์ พร้อมเจริญพรหมวิหารสี่ พร้อมคำภาวนา “พุทโธ” ไปตลอดการเดินทาง อ่านเพิ่มเติม

แรงบุญหนุนนำจากทุกสารทิศ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

แรงบุญหนุนนำจากทุกสารทิศ

การที่ครูบาเจ้าชุ่มมีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลประตูป่าอยู่ด้วย ทำให้ท่านมีภารกิจการปกครองคณะสงฆ์ในความรับผิดชอบ อีกประการหนึ่ง ท่านได้รับการแต่งตั้งจากทางการคณะสงฆ์จังหวัดลำพูน ให้เป็นพระอุปัชฌาย์ในการบรรพชาพระภิกษุ-สามเณรด้วย

ด้วยภาระหน้าที่ที่มีมาก ท่านจึงต้องกลับวัดวังมุย เพื่อตรวจดูความเรียบร้อย และการงานของวัดเป็นระยะๆ การกลับวัดวังมุยครั้งหนึ่งๆ ท่านจะพักอยู่ประมาณเดือนเศษ หลังจากนั้น ท่านก็จะนำภิกษุสามเณรศิษยานุศิษย์ของท่านออกธุดงค์ เพื่อสอนธรรมะภาคปฏิบัติ และบำเพ็ญบารมีต่อไป

ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก นับได้ว่า เป็นพระภิกษุที่มีเมตตาธรรมสูงส่ง ท่านเสียสละโดยประการต่างๆ เพื่อเกื้อกูลเหล่าชาวบ้านให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แล้วยังบำเพ็ญประโยชน์ให้บังเกิดแก่สาธารณะชนส่วนรวมอย่างแท้จริง เมื่อท่านจาริกไปถึงที่ใด จะปรากฏมีชาวบ้านมากราบสักการะน้อมรับธรรมะ และร่วมบริจาคทรัพย์ ทำบุญกับท่านเป็นจำนวนมาก ด้วยศรัทธาในปฏิปทาของครูบาเจ้าองค์นี้

ทุกครั้งครูบาเจ้าชุ่มก็ได้มอบทรัพย์เหล่านั้นกลับคืน เพื่อสร้างสิ่งอันเป็นสาธารณะประโยชน์ในชุมชน บางแห่งท่านก็เป็นประธานในการสร้างเหล่านั้นด้วยตนเอง ท่านปฏิบัติอยู่เช่นนั้นตลอดมาตั้งแต่ยังเป็นพระภิกษุหนุ่ม จนล่วงเลยเข้าสู่ความเป็นพระมหาเถระผู้มีอายุ

ช่วงปัจฉิมวัย ครูบาเจ้าชุ่มไดกลับมายังวัดวังมุย และได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งต่างๆ ทุกตำแหน่ง เหลือเพียงตำแหน่งเจ้าอาวาส คล้ายเป็นการปลดระวางภารกิจบางประการลงบ้าง ครั้นทุกอย่างเรียบร้อยดีแล้ว ท่านก็ได้ธุดงค์ต่อไป โดยตั้งใจว่าจะขึ้นไปเหนือสุดของประเทศ โดยเริ่มออกเดินธุดงค์เข้าปักกลดในป่าช้าบ้านแม่ยิ่ง ต.หนองหล่ม อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง อีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้ ท่านได้เห็นซากพระเจดีย์ปรักหักพัง ท่านรู้สึกสลดใจเป็นอย่างยิ่ง จึงได้พักอยู่ และดำริจะบูรณะซ่อมแซมพระเจดีย์ให้กลับมาดีดังเดิมให้จงได้

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

ชีปะขาวปรากฏในนิมิต นำมงกุฎใส่พานมาถวาย (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

ชีปะขาวปรากฏในนิมิต นำมงกุฎใส่พานมาถวาย

ค่ำคืนหนึ่ง ในบรรยากาศอันวิเวกของป่าช้าวัดหนองบัวคำ ลมพัดเอื่อยๆ เย็นสบาย หลังจากที่ครูบาเจ้าชุ่มได้ทำกิจวัตรส่วนตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านก็ได้เข้าสู่กลด เพื่อนั่งสวดมนต์ไหว้พระทำจิตเข้าถึงพระไตรสรณคมน์ รำลึกถึงแก้วสามดวงอันประเสริฐเป็นสรณะ และจากนั้นจึงได้เจริญสมาธิภาวนาตามแนวที่ได้ศึกษามาจากครูบาอาจารย์ ท่านรู้สึกจิตสงบดิ่งดีมาก ขณะที่ครูบาเจ้าชุ่มกำลังนั่งสมาธิ ฉับพลันนั้น ก็ได้ปรากฏนิมิตเห็นชีปะขาว 5 ตน นำมงกุฎใส่พานมาถวายท่าน ในนิมิตท่านก็ได้ให้ศีลให้พร และแผ่เมตตาให้ หลังจากนั้น ชีปะขาวทั้ง 5 ตน ก็ได้กราบลาจากไป เมื่อครูบาเจ้าชุ่ม ถอนจิตออกจากสมาธิ รู้สึกจิตชุ่มชื่นดี สังเกตว่าเป็นเวลาตี 4 พอดี

ท่านครุ่นคิดถึงนิมิตเมื่อคืน รู้สึกว่าจะเป็นนิมิตที่มีความหมายดี ในคืนต่อมา ครูบาเจ้าชุ่มก็ได้เข้าสมาธิเจริญพระกรรมฐานอีกตามปกติ ก็เห็นนิมิตเช่นเดียวกับคืนก่อน โดยมีชีปะขาวนำมงกุฎใส่พานมาถวายท่านอีก แต่คราวนี้มาเพียง 4 ตนเท่านั้น ครูบาเจ้าชุ่มท่านก็ได้ให้ศีลให้พรไปเช่นเดิม และถอนจิตออกจากสมาธิ เป็นเวลาตี 4 เช่นคืนก่อน

อ่านเพิ่มเติม

บูรณะพระบรมธาตุดอยเกิ้ง (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

บูรณะพระบรมธาตุดอยเกิ้ง รับสัมผัสปาฏิหาริย์ขององค์พระบรมสารีริกธาตุ

พระธาตุดอยเกิ้ง

ต่อมาครูบาเจ้าชุ่มได้เดินธุดงค์จาก ต.บ้านก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน ตัดป่าเขาลำเนาไพรขึ้นไปทางทิศตะวันตก มุ่งหน้าสู่ อ.ฮอด ล่วงจนถึงพระบรมธาตุดอยเกิ้ง ปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคเหนือของไทย พระบรมธาตุดอยเกิ้งนั้น มีความเก่าแก่ และศักดิ์สิทธิ์ เป็นเจดีย์ขนาดพอๆ กับพระบรมธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ในขณะที่ครูบาเจ้าชุ่มได้ธุดงค์ไปพบนั้น พระบรมธาตุมีสภาพแตกร้าวและชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก ท่านรู้สึกสลดใจที่ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ ขาดการบูรณปฏิสังขรณ์ แต่ท่านก็ได้น้อมนำคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้ามาพิจารณา คือกฎไตรลักษณ์ ไม่ว่าสิ่งมีชีวิตหรือวัตถุสิ่งของใดในโลก ต่างก็หลีกไม่พ้นกฎ 3 ข้อนี้ อันได้แก่ “อนิจจัง” ความไม่เที่ยง “ทุกขัง” เมื่อทรงตัวอยู่ก็เป็นทุกข์ และ “อนัตตา” มีความเสื่อมสลายส้นไปเป็นธรรมดา

ครูบาเจ้าชุ่มตั้งใจว่า จะพักอยู่ ณ ที่แห่งนี้ และคิดหาวิธีการที่บูรณะองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อธำรงรักษาพุทธสถานแห่งนี้ไว้ให้เป็นที่สักการบูชาสืบต่อไป

เมื่อท่านได้สำรวจรอบบริเวณองค์พระบรมธาตุ คำนวณวางแผนการบูรณะได้อย่างละเอียดแน่ชัดแล้ว จึงได้ไปพบนายอำเภอ แจ้งความประสงค์ว่า ท่านปรารถนาจะบูรณะองค์พระบรมธาตุ และจะสร้างทางขึ้นพระบรมธาตุ นายอำเภอตอบตกลง และยินดีให้ความร่วมมือ

ครั้งนี้ ครูบาชุ่มได้พำนักอยู่ที่ป่าช้าวัดหนองบัวคำ ขณะที่พำนักอยู่ในป่าช้า ท่านก็ได้ปฏิบัติกิจของสงฆ์ตามปกติ คือการทำวัตร สวดมนต์ เจริญพระกรรมฐานเป็นปฏิบัติบูชา เสร็จแล้วจึงแผ่เมตตาไปในจักรวาลทั้งปวง ให้แก่สัตว์โลกที่เวียนว่ายตายเกิดเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด

คืนหนึ่งมีชาวบ้านในละแวกนั้น ได้เห็นองค์พระบรมธาตุ สำแดงปาฏิหาริย์ โดยปรากฏรัศมีเรืองรองสว่างไสวไปทั่วบริเวณ ทำให้ชาวบ้านเหล่านั้นต่างปลื้มปีติยินดียิ่งนัก ด้วยว่าไม่เคยพบเห็นปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อนในชีวิต

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

. . . . . . .