เทศน์โปรดชาวลัวะ ชาวยาง (กะเหรี่ยง) (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

เทศน์โปรดชาวลัวะ ชาวยาง (กะเหรี่ยง)

ท่านได้ออกเดินธุดงค์ไปยังอำเภอลี้ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวลัวะ ชาวยาง (กะเหรี่ยง) ท่านได้อยู่อบรมธรรมเทศนาสั่งสอน โปรดพวกเขาเหล่านั้นจนมีผู้ศรัทธามากมาย ศิษยานุศิษย์ได้ร่วมใจกันปลูกกุฏิให้ครูบาเจ้าชุ่มอยู่ประจำ และจัดจังหัน (ภัตตาหาร) ถวายทุกวันมิได้ขาด ด้วยศรัทธาอันแรงกล้า พวกเขาจึงจัดเวรยามอยู่ปรนนิบัติครูบาชุ่ม ด้วยความเกรงกลัวว่าท่านจะหนีไปที่อื่น บางครั้ง ครูบาเจ้าชุ่มมีกิจธุระ ต้องกลับวัดวังมุย พวกเขาจะพากันมาส่งถึงวัด และรอรับครูบาเจ้าชุ่มกลับไปด้วย เมื่อเสร็จธุระแล้ว ท่านจึงต้องกลับไปกับพวกเขา เป็นอย่างนี้ถึง 3 ครั้ง 3 ครา โดยศรัทธาชาวเขาอ้างว่า หากครูบาเจ้าชุ่มไม่กลับไปกับพวกเขา จะพากันเผากุฏิครูบาให้ไหม้หมด เลิกกันเสียที

ครูบาเจ้าชุ่มต้องปลอบใจพวกเขา และต่อมาท่านจึงได้บวชชาวลัวะ และชาวกะเหรี่ยงผู้เป็นลูกศิษย์รวม 2 รูป ให้อยู่กับพวกเขา ในขณะที่ท่านต้องเดินทางไปยังสถานที่แห่งอื่นๆ เหตุการณ์ที่จะเผาที่พักจึงล่วงพ้นไปได้

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

ธุดงควัตร (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

ธุดงควัตร

ทางภาคเหนือนั้น มักนิยมเรียกพระภิกษุที่ตนเองเคารพนับถือว่า “ครูบาเจ้า” พระภิกษุชุ่ม โพธิโก ก็เช่นเดียวกัน ชาวบ้านทั่วไป และชาวบ้านวังมุย นิยมเรียกท่านด้วยความเคารพอย่างสูงว่า “ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก”

ต่อมา ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ได้เกิดเบื่อหน่ายในการคลุกคลีของหมู่คณะ ท่านปรารภถึงความสงบวิเวก การปฏิบัติภาวนาอันจักเป็นหนทางนำไปสู่การหลุดพ้น และเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดในสมณเพศ จึงได้ตัดสินใจที่จะออกธุดงค์จาริกไปเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ท่านจึงกราบลาพระอุปัชฌาย์ เพื่อขออนุญาตออกเดินธุดงค์ พระอุปัชฌาย์ คือ ครูบาอินตา ก็ได้อนุโมทนา ในความตั้งใจครั้งนี้ จากนั้น ท่านก็ได้เดินทางไปล่ำลาบิตามารดาและญาติโยม เพื่ออกเดินทางสู่ราวป่าอันเงียบสงบ วิเวก เหมาะแก่การเจริญสมณธรรมต่อไป

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

ไม้เท้าของครูบาศรีวิชัย (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

ไม้เท้าของครูบาศรีวิชัย

คราวหนึ่ง ครูบาชุ่มจาริกหลีกเร้นไปแสวงหาที่วิเวกเจริญพระกรรมฐาน และนั่งภาวนาอยู่ที่กระท่อมในบริเวณป่าช้า พอเริ่มมืดลง มีคนเมาสุราคนหนึ่ง เห็นท่านนั่งอยู่ในกระท่อมเพียงผู้เดียวในระยะไกล จึงได้เดินตรงเข้ามาหาด้วยเจตนาที่ไม่ดี ครูบาชุ่มท่านรู้ ท่านจึงหยิบไม้เท้าของครูบาศรีวิชัยขึ้นมาบริกรรมคาถา พร้อมกับขีดเป็นวงรอบตัว เมื่อชายผู้นั้นเดินเข้ามาใกล้กระท่อม ก็ต้องพบกับความแปลกใจ เพราะมองไม่เห็นใครอยู่ในกระท่อมเลย

ลูกศิษย์ทั่วไปต่างเชื่อว่าท่านเป็นพระที่ทรงอภิญญา สามารถแสดงฤทธิ์ได้ แต่ครูบาชุ่มท่านไม่เคยอวดตัว ยังคงทำตนเหมือนพระธรรมดาๆ ทั่วไปรูปหนึ่ง เสมือนช้างเผือกที่หลีกเร้นอยู่ในป่าลึก

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

บุญญาภินิหาร (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

บุญญาภินิหาร

ครูบาชุ่มมีเมตตาธรรมประจำใจ ไม่ค่อยขัดต่อผู้ใดที่มาขอร้องให้ท่านช่วยเหลือ ถ้าไม่เกินขอบเขตแห่งพระธรรมวินัย โดยเฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยด้วยคุณไสยแล้ว เชือกและน้ำมนต์ของท่านขลังยิ่งนัก

มีอยู่ครั้งหนึ่งครูบาชุ่มได้ธุดงค์ไปถึงอำเภอฮอด เข้าพักแรมในป่าช้าบ้านบ่ง ชาวบ้านเหล่านั้นมีด้วยกันหลายเผ่าหลายภาษา เช่น ลั๊วะ, ยาง (กระเหรี่ยง) ได้เอาเนื้อสด ๆ มาถวายโดยบอกว่า เป็นส่วนของวัดหนึ่งหุ้นที่ล่าสัตว์มาได้ ครูบาชุ่มไม่ยอมรับและบอกว่า หากจะนำมาถวายพระหรือสามเณร ควรจัดทำให้สุกเป็นอาหารมา จึงจะรับได้

และขอบิณฑบาตว่า อย่าได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเขาเลย พอตกค่ำ ครูบาชุ่มได้ทำวัตร สวดมนต์ นั่งสมาธิ แผ่เมตตาจิตให้สรรพสัตว์ทั้งปวง จนใกล้สว่างจึงออกไปบิณฑบาต พวกชาวบ้านมาใส่บาตร แต่ได้ขอร้องครูบาชุ่มไม่ให้สวดมนต์อีกต่อไป โดยกล่าวหาว่าเป็นเพราะท่านสวดมนต์ พวกตนจึงเข้าป่าล่าสัตว์ไม่ได้สัตว์มาหลายวันแล้ว

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

โดนลองของ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

โดนลองของ

ครั้งหนึ่ง ครูบาชุ่มโดน “ลองของ” โดยพระรูปหนึ่งในจังหวัดลำพูนนั่นเอง พระผู้นั้นได้ปล่อยของทางไสยศาสตร์มายังกุฏิของท่าน ขณะนั้นครูบาชุ่มกำลังจำวัดอยู่ และทราบเหตุร้ายด้วยญาณ ท่านจึงลุกขึ้น และได้เรียกบอกพระเณรให้มานั่งอยู่ในกุฏิท่าน พร้องทั้งสั่งให้ทุกรูปสวดมนต์ ของที่ส่งมานั้นปรากฏเป็นตัวแมลงขนาดใหญ่ พวกมันได้แต่บินวนเวียนอยู่ด้านนอกกุฏิ เสียงชนฝาผนังดังปึงปังอยู่ตลอดเวลา และแล้วครูบาชุ่มก็ได้หยิบหมากขึ้นมาเคี้ยวพร้อมทั้งบริกรรมคาถา จากนั้นก็คายชานหมากลงในกระโถน สักพักต่อมา เหล่าแมลงได้บินฝ่าเข้ามาถึงด้านในกุฏิ พุ่งตรงเข้ามาหาท่านทันที

ท่านจึงบริกรรมคาถาจนหมู่แมลงอ่อนกำลังลง จากนั้นได้นำกระโถนที่คายชานหมากไว้มาครอบแมลงเหล่านั้น เมื่อเปิดกระโถนออกดู ปรากฏว่าแมลงได้กลับกลายเป็นตะปูไปจนหมด

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

ผลของการปฏิบัติ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

ผลของการปฏิบัติ

ครูบาชุ่มท่านเป็นพระผู้ทรงศีลาจารวัตร และมุ่งมั่นในการปฏิบัติอย่างแรงกล้า ครั้งหนึ่งท่านนั่งสมาธิอยู่ในพระวิหารที่วัดวังมุย ได้เกิดมีเปลวไฟฉายโชนออกจากร่างกายของท่าน แลดูสว่างไสว มีผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นเห็นเหตุการณ์หลายคน “พ่อหนานปัน” ก็เป็นหนึ่งในนั้น ได้เห็นไฟลุกโพลนขึ้นท่วมร่างของครูบาชุ่ม จากนั้นเปลวไปได้เคลื่อนออกจากกาย ตรงขึ้นไปที่ปล่องด้านข้างของพระวิหาร พอครูบาชุ่มคลายออกจากสมาธิ ลูกศิษย์ที่เป็นห่วงได้รีบเข้าไปถามว่า “ครูบาเจ้าเป็นอะไรไปหรือเปล่า ทำไมไฟลุกขึ้นมา” ท่านได้เมตตาบอกว่า “เป็นเพราะผลของการปฏิบัติ”

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-choom-photigo/kb-choom-hist-01-01.htm

สายสัมพันธ์ศิษย์ – อาจารย์ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

สายสัมพันธ์ศิษย์ – อาจารย์

ลูกศิษย์สายตรงของครูบาชุ่ม ในปัจจุบันพอจะกล่าวถึงได้ดังนี้

1. หลวงพ่อทองใบ โชติปัญโญ เจ้าอาวาสวัดพรหมวนารามหรืออดีต ครูทองใบ สายพรหมมา เป็นศิษย์ผู้ได้รับอนุญาตให้สร้างเหรียญครูบาเจ้าชุ่มรุ่นแรกปี พ.ศ. 2517

2. พระอาจารย์หมื่น ญาณเมธี วัดพรหมวนาราม นอกจากเป็นศิษย์แล้วท่านยังเป็นหลานแท้ ๆ ของครูบาเจ้าชุ่ม คือ ตุ๊ลุงหมื่น เป็นบุตรของแม่อุ้ยแก้ว พี่สาวร่วมอุทรของครูบาเจ้าชุ่ม ตุ๊หมื่นได้เก็บรักษาเครื่องระลึกถึงครูบาเจ้าชุ่มไว้หลายอย่าง เช่นภาพถ่ายเก่าๆ, ดาบ, เล็บ และอัฐิ

3. พ่อหนานปัน จินา เป็นศิษย์ที่มีความสนใจในด้านวิชาอาคมขลังและพิธีกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะศาสตร์ในเรื่องตะกรุด ซึ่งท่านได้รับการถ่ายทอดจากครูบาเจ้าชุ่มมาพอสมควร ปัจจุบันท่านเป็นผู้อาวุโสของหมู่บ้าน

4. พ่ออุ้ยตุ่น หน่อใจ เป็นศิษย์ที่ได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่สองอย่าง คือปลงเกศาให้ครูบาเจ้าชุ่ม และช่วยสร้างพระผงให้ท่าน

อ่านเพิ่มเติม

พระเดชลือชา (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

พระเดชลือชา

ช่วงเย็น 18.00 น. พระเณรที่วัดวังมุยจะทำวัตรเย็นพร้อมกัน ต่อจากนั้นนั่งสมาธิอีกประมาณ 30 นาที แล้วจึงแยกย้ายกันไปทำกิจธุระส่วนตัวได้ จนใกล้เวลาจำวัด คือราว 20.10 น. ครูบาชุ่มท่านจะเรียกให้พระเณรทุกองค์มาสวดมนต์ร่วมกันก่อนจำวัดอีกครั้ง โดยท่านจะนั่งอยู่ด้านหน้า นำสวดบท นะโมฯ 3 จบ แล้วท่านจะเงียบ คอยฟังเสียงของพระเณร ว่าตั้งใจสวดมนต์กันหรือไม่ หากพบว่าองค์ไหนเงียบเสียงไป ท่านจะเมตตาตักเตือนให้ อย่างเบา คือโยนดินสอ หรือหนังสือไปสะกิด และก็มีบ้างที่ท่านต้อง “เมตตา” หนักเป็นกรณีพิเศษ คือสะกิดด้วยกระโถนบิน พระเณรที่ย่อหย่อนจากความเพียร อุตสาหะ วิริยะ ต่างหัวปูด หัวโน ไปตามกัน

แม้แต่ชาวบ้านที่พ้นวัยเด็กมานาน หากมาส่งเสียงดังในบริเวณวัด อย่างเบา ครูบาชุ่มท่านจะแค่ตวาด และอย่างหนักหน่อยอาจจะโดนท่านยิงด้วยหนังสติ้ก แล้วท่านก็ยิงได้แม่นยำอย่างยิ่ง โดยเล็งที่ขาหรือหลัง พอให้รู้ตัว

อ่านเพิ่มเติม

เสาะหาครูบาอาจารย์ (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

เสาะหาครูบาอาจารย์

ตั้งแต่ช่วงแรกที่บวชเป็นพระภิกษุ พระภิกษุชุ่มก็ได้พากเพียรฝึกกายฝึกจิตตามแนวทางสายเอกของพระพุทธศาสนา แล้วยังออกเดินทางแสวงหาครูบาอาจารย์เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ เอาเยี่ยงอย่างภูมิธรรมชั้นเลิศจากคณาจารย์หลายท่านคือ

ครูบาอริยะ ที่วัดท้าวบุญเรือง ต.หนองหอย อ.หางดง จ.เชียงใหม่

ศึกษาศาสตรสนธิทั้งแปดมรรค แปดบท อันเป็น อรรถคาถา บาลีมูล กัจจายน์ จนจบ สามารถแปลและผูกพระคาถาต่าง ๆ ได้

พระครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่ง อ.หางดง จ.เชียงใหม่

เป็นพระอาจารย์ พระปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ตอนที่ครูบาชุ่มไปฝากตัวเป็นศิษย์ พระครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่ง มีอายุประมาณ 70 ปีแล้ว แต่ก็ยังแข็งแรงดี ครูบาชุ่มได้อยู่ศึกษาปฏิบัติกับพระครูบาศรีวิชัยวัดร้องแหย่ง เป็นเวลา 2 พรรษา

อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงปู่ ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก

ประวัติหลวงปู่ ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก

พระอริยเจ้าแห่งหริภุญชัย

วัดชัยมงคล (วังมุย) ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน

จากหนังสือ วังมุย แห่งหริภุญชัย

จัดทำโดย สมาชิกฯ อินทราพงษ์

หลวงปู่ ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก แห่ง วัดชัยมงคล (วังมุย) ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน

นามเดิมชื่อ ชุ่ม ปลาวิน ถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2442 เมื่อวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 เหนือ ปีกุน ณ บ้านวังมุย จ.ลำพูน บิดาชื่อ นายมูล ปลาวิน มารดาชื่อ นางลุน ปลาวิน มีพี่น้องสืบสายโลหิตเดียวกัน 6 คน เป็นผู้หญิง 3 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5

บุตรคนหัวปี ชื่อ พี่เอ้ย (หญิง) บุตรคนรองชื่อ พี่เป็ง (หญิง) บุตรคนที่สามชื่อ พี่โต (ชาย) บุตรคนที่สี่ ชื่อพี่แก้ว (หญิง) บุตรคนที่ห้า คือ ครูบาชุ่ม และบุตรคนสุดท้องชื่อ นายเปา (ชาย)

บิดาของท่านเป็นคนบ้านวังมุยโดยกำเนิด ส่วนมารดาเป็นคนบ้านขุนคง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (ระยะทางระหว่างบ้านวังมุยกับบ้านขุนคงอยู่ห่างกันประมาณ 10 กิโลเมตร) บุพการีทั้ง 2 ท่าน เป็นคนเชื้อสาย ละ บางคนออกเสียง วะ หรือ ลัวะ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก

เมื่อเด็กชายชุ่ม ปลาวิน เจริญวัยขึ้นก็พอจะทำงานช่วยเหลือบิดา มารดา เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการงานได้บ้าง เช่น ช่วยทำงานในทุ่งนา เท่าที่สามารถจะทำได้ทุกอย่าง เลิกงานก็ทำสวนทำไร่ ถางหญ้าพรวนดิน และงานบ้าน อย่างการปัดกวาดเช็ดถูบ้านเรือน เพื่อเป็นการทดแทนพระคุณของบิดา มารดาเท่าที่กำลังความสามารถของตนจะทำได้ อ่านเพิ่มเติม

คำสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

คำสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

รวมคำสอนธรรมปฎิบัติ เล่ม 1 ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรเกินธรรมดา ท่านสอนให้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาวางทุกข์เสีย ให้รู้ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม ดา อะไรก็ตามเถอะ ถ้ามันเกิดขึ้นกับเรา มันเป็นธรรมดาของโลกทั้งนั้นในเมื่อร่างกาย เรามีอยู่ในโลกเท่านี้เอง หลักสูตร ในพระพุทธศาสนานี้ ไม่มีอะไร เบื้องสูงลงมา ท่านสอนตั้งแต่ ปลายผมลงมาถึงฝ่าเท้าเบื้องต่ำขึ้นไป ท่านสอนตั้ง แต่ปลายเท้าถึงปลายผม มีแค่นี้ ถ้าเราไปเพ่งเล็งคนอื่นว่า คนนั้นชั่วคนนี้ดีแสดงว่า เราเลวมาก เราควรจะดูใจของเราต่าง หากว่าเรามันดี หรือเรามันเลว ถ้าเราดีเสียอย่างเดียว ใครเขาจะเลวร้อยแปด พันเก้า ก็เรื่องของเขา ถ้าเราดีแล้ว ก็หาคน เลวไม่ได้ เพราะ เรารู้เรื่องของคน คนมาจากอบายภูมิก็มี คนมาจากสัตว์เดรัจฉานก็มี คนมาจากมนุษย์ก็มี มาจากเทวดา ก็มี มาจากพรหมก็ มีมันจะเสมอกันไม่ได้ ถ้าพวกมาจากอบายภูมิ สอนยากป่วยการสอน คนใดก็ตามที่ประกาศตนเป็นอาจารย์พระพุทธเจ้า รู้ดีเกินพระพุทธเจ้า ที่บอกของพระพุทธเจ้าไม่ดีไม่ทันสมัย เอาอย่างโน้นดีกว่า อย่างนี้ดีกว่า ผมไม่คบด้วย พวกจัญไรนี่ไม่คบ คบยังไง มันจะไปไหน ไอ้พวกนี้ โน่น อเวจีมหานรก เพราะทำคนทั้งหลายที่มีเจตนาดี ให้มีมิจฉาทิฎฐิ ปฎิบัติผิด ฟังความเห็นผิด กรรมมันมาก ของสงฆ์ที่ตากแดดตากฝนอยู่ ถ้าจะเกิดความเสียหาย ถ้าพระองค์ใดหรือว่าหลายองค์เดินหลีกไป ไม่เก็บของที่ควรจะเก็บ ปรับอาบัติ ทุกเที่ยวที่ผ่าน อาบัติที่ปรับนี่ ไม่ต้องรอพิพากษานะ มันล่อเลย ผ่านไปแบบไม่แยแส ไม่สนใจ เป็นโทษทันที นี่ไม่ใช่ว่าพระอรหันต์ เห็นของอะไรก็โยนทิ้งๆ ไม่ใช่ ท่านรักษากำลังใจของคนอื่น ที่มีศรัทธา ยิ่งกว่ากำลังใจของท่าน เพราะวัตถุทุกอย่างจะพึงมีได้ ก็ต้องอาศัยชาวบ้าน ชาวบ้านกว่าจะได้มาแต่ละชิ้น ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ อ่านเพิ่มเติม

อริยสัจ 4 โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

อริยสัจ 4 โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

อริยสัจ 4 มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4

1. ทุกข์ คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์

2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง

3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน

4. มรรค คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้
อ่านเพิ่มเติม

วิธีการปฏิบัติพระกรรมฐาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

วิธีการปฏิบัติพระกรรมฐาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

วิธีการปฏิบัติพระกรรมฐาน

คำสอน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

จาก หนังสือ ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน

สำหรับ การที่จะศึกษาต่อก็ขอทบทวนต้น เป็นการแนะนำตามวิธีการปฏิบัติที่แท้จริง เพราะการปฏิบัติพระกรรมฐานจริง ๆ เขาทำกันได้เมื่อเริ่มใหม่ ๆ เขาจะทวนจากของเก่าไปก่อน พยายามทรงอารมณ์ของเดิที่ได้แล้วตามลำดับไปถึงที่สุดที่เราพึงได้แล้วจึงจะ ทำต่อ

ขอเตือนให้ท่านทั้งหลายตามนึกถึง สติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นอันดับแรกที่เราพึงปฏิบัติในเบื้องต้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า “จงกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก หายใจออก” นี่หมายถึงว่า ทรงสั่งสอนให้เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ สติ แปลว่า การระลึกนึกได้ ว่าเวลานี้เรามีภาวะเป็นอะไร นึกว่าเราจะทำอะไร สัมปชัญญะ ทราบดีว่ากิจนั้นเราทำแล้วหรือยัง เมื่ออารมณ์จิตคิดว่าเราจะทำอะไร การนั้นที่เราทำมันควรไม่ควร เราจะรู้ได้ด้วยสติสัมปชัญญะจะบอกได้เลยว่า ไอ้นี่เป็นกรรมที่เป็น กุศล หรือเป็นกรรมที่เป็นอกุศล หรือเป็นความดีหรือความชั่ว ทำตนให้ไม่ลืมสติสัมปะชัญยะ นึกไว้ในด้านของความดี ระมัดระวังความชั่วไม่ให้เกิด พยายามรักษาอารมณ์ไม่ให้บกพร่องในด้านความดี พยายามริดรอนความชั่วไม่ให้เกิดขึ้นกับจิต หรือว่าจริยาทั้งหมด ทั้งอารมณ์ของจิต ทั้งวาจาและกาย เราจะต้องระมัดระวัง คือ ใช้สติสัมปชัญญะ ควบคุมอยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตทรงอยู่อย่างนี้ขึ้นชื่อว่าอารมณ์เป็นสมาธิ อันนี้เรามีแล้วหรือยัง พวกเราระมัดระวังกันหรือเปล่า

ประการที่สอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำว่า “เราจงเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์” ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงให้บุคคลอื่นทำลายศีล และไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อฤาษีลิงดำอธิบายเรื่องเจ้ากรรมนายเวร

หลวงพ่อฤาษีลิงดำอธิบายเรื่องเจ้ากรรมนายเวร

“..เจ้ากรรมนายเวรหมายถึงบาปที่เป็นอกุศลที่เราได้ทำไว้กับคนและสัตว์ใน อดีตชาติก็ดีในชาติปัจจุบันก็ดี อย่างบางคนที่เราฆ่าเขาบ้าง เราทำร้ายเขาบ้างเขาอาจจะไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมแล้ว ถ้าเป็นเทวดาเขาไม่สนใจแล้วแต่ไอ้ตัวบาปที่เราทำไว้ อย่างคนที่ไปขโมยของเขาเจ้าของเขาไม่ติดใจแต่ตำรวจมีหน้าที่ตามไม่ใช่อยาก ตาม แต่กฎหมายให้ตาม

ฉะนั้น กรรมหรือเวรตัวนี้คือกฎหมาย ถ้าหากปฏิบัติในขั้น สุกขวิปัสสโก ก็จะบอกว่าไม่มีตัวตนเพราะไม่เคยเห็น แต่ว่าตั้งแต่ เตวิชโช (วิชา๓) ขึ้นไปเขาเห็นดังเรื่องที่อาตมาเล่าให้ฟังประกอบเรื่องนี้

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗คืนหนึ่งอาตมาเจริญพระกรรมฐานเสร็จ ก็อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรขณะที่อุทิศส่วนกุศลก็มายืนกันมากแต่ไม่ ใช่เจ้ากรรมนายเวร เป็นคนมาโมทนาบุญพอเขาโมทนากันเสร็จ ก็มีชายคนหนึ่งคลานเข้ามา ถือขวานเล่มใหญ่
อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อสอนต่ออายุแบบง่ายๆ (พระราชพรหมญาณเถระ หรือ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)

หลวงพ่อสอนต่ออายุแบบง่ายๆ (พระราชพรหมญาณเถระ หรือ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)

หลวงพ่อสอนต่ออายุแบบง่ายๆ
(พระราชพรหมญาณเถระ หรือ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)

การต่ออายุก็ต้องทำให้มันถูก ถ้าทำไม่ถูกแล้วก็เสียเงินเปล่า ถ้าบังเอิญเป็นอายุขัยต่อเท่าไรไม่สำเร็จผล เพราะเชื้อไฟเดิมดับ หมดบุญบารมีที่ทำมา

การหมดบุญบารมีนั้นแม้อายุขัยก็ไม่แน่ บางคนเป็นเด็กก็หมดอายุขัย บางคนก็เป็นหนุ่มเป็นสาว บางคนวัยกลางคน บางคนก็ถึงวัยแก่ อายุขัยนี่ไม่แน่นอนนัก

คำว่า อายุขัย นี่หมายความว่าก่อนที่จะเกิดกฎของกรรมดีหรือกรรมชั่วกำหนดชีวิตให้มาเท่าไรถ้ากำหนดชีวิตมา ๒๐ ปี ก็ต้องแค่ ๒๐ ปี ๑๐ ปีก็ต้อง ๑๐ ปี ๓ วัน ก็ต้องแค่ ๓ วัน นี่เป็นอายุขัยต่อไม่ได้

ถ้าตายก่อนนั้นเขาเรียกว่า อุปฆาตกกรรม หรือว่า อกาลมรณะ อย่างนี้ต่อได้

และถ้าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายจะต่ออายุแบบนี้ ก็ต่อเสียทุกวันก็หมดเรื่องกัน วิธีต่อทุกวันก็หมายความว่า ให้ทุกท่านมีความเคารพในพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระอริยสงฆ์อย่างจริงจัง และก็ต้องเว้นจากกรรมที่ เป็น ปาณาติบาต และถ้ามีเวลาเดินผ่านไป มีใครเขาหาปลาหาเต่า ที่เขาจะฆ่ามันให้ตายก็ออกสตางค์ซื้อพอกำลังที่เราจะซื้อได้ แล้วก็นำไปปล่อยในที่ปลอดภัย ไม่ใช่ปล่อยในหม้อข้าวหม้อแกงของเรานะไปปล่อยในสถานที่ ๆ เธอจะมีความสุขในแม่น้ำก็ได้ หนอง คลอง บึงก็ได้ปล่อยให้เธอรอดชีวิต
อ่านเพิ่มเติม

คาถาปัดเป่า ทุกข์ (จากหลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

คาถาปัดเป่า ทุกข์ (จากหลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

หลวงพ่อวัดท่าซุง ท่านเรียนคาถาบทหนึ่งมาจากหลวงปู่จง วัดหน้าต่างนอก ท่านบอกว่าเอาไว้สำหรับคนที่กำลังกลัดกลุ้ม มีแต่ความทุกข์ มีแต่ความเศร้าในชีวิต ท่านบอกว่าให้ภาวนาคาถานี้ แล้วจะทำให้สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นค่อย ๆ ลดน้อยถอยลงและหายไปจากชีวิตของเรา ตัวคาถาว่า “ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน โหตุ สัพพะทา”

คาถาค่อนข้างจะยาว แต่ถ้าใครเคยสวดมนต์ทำวัตรเป็นประจำ จะรู้ว่าบทนี้แหละที่เวลาเจริญพุทธมนต์ พระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นบทส่งเทวดากลับ เพียงแต่ต่อท้ายด้วย โหตุ สัพพะทา เท่านั้น ท่านให้ภาวนาไปเรื่อย ท่านบอกว่าความทุกข์ ความเศร้าหมองต่าง ๆ จะค่อยหมดไปจากใจของเราเอง

คำสอนหลวงพ่อเล็ก เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

http://www.ponboon.com/board/index.php?topic=6668.0

คาถาเงินล้าน ฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

คาถาเงินล้าน ฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

คาถาเงินล้าน (เป็นคาถาของพระราชพรหมยาน หรือ ฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ) หลวง พ่อได้คาถาบทเหล่านี้โดยตรงจากองค์สมเด็จฯ(องค์ปฐม)ตั้งแต่ปี 2517 เป็นเวลา 4 ปี จึงจะได้ครบถ้วน ท่านบอกว่า คาถาที่ได้จากกรรมฐาน เขาจะไม่บอกใคร เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2527 เวลา 23.59 น. องค์สมเด็จฯ ได้อนุญาตให้ลูกหลาน และพุทธบริษัทใช้ได้เป็นสาธารณะ เพื่อช่วยบรรเทาสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ อีกทั้งการก่อสร้างของวัดท่าซุง จะต้องเร่งรัดให้เสร็จทันฉลองวัดในปี 2532 จึงจำเป็นที่จะต้องใช้คาถาเหล่านี้ช่วย เพื่อพุทธบริษัท และลูกหลานของหลวงพ่อ มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น

ตั้ง นะโม ๓ จบ
นาสังสิโม
พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)
พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม (คาถาเงินแสน )
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันต ุเม (คาถาลาภไม่ขาดสาย)
มิเตภาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)
พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา
วิระทาสี วิระทาสา วิระอิทถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม (คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า)
สัมปะติจฉามิ (คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)
เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ
อ่านเพิ่มเติม

…. หลวงพ่อฤาษีลิงดำ +++ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

…. หลวงพ่อฤาษีลิงดำ +++ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

เดิมท่านชื่อ สังเวียน เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2460 เป็นบุตรของนายควง และ นางสมบุญ สังข์สุวรรณ เกิดที่ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีพี่น้อง 5 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3เมื่ออายุ 6 ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ 4 เมื่ออายุ 15 ปี เข้ามาอยู่กับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ในสมัยนั้น และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ อายุ 19 ปี เข้าเป็นเภสัชกรทหารเรือ สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ อุปสมบท เมื่อวันที่16 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 เวลา 13.00 น. ณ วัดบางนมโค โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิหารกิจจานุการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อายุ 21 ปี สอบได้นักธรรมตรี อายุ 22ปี สอบได้นักธรรมโท อายุ 23ปี สอบได้ นักธรรมเอก
ระหว่างปี พ.ศ. 2480-2481 ได้ศึกษาพระกรรมฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิเช่นหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค, พระครูรัตนาภิรมย์ วัดบ้านแพน, พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า, หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย, หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ
อ่านเพิ่มเติม

ดวงจิตจริงมันดวงเดียว (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

ดวงจิตจริงมันดวงเดียว (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

ดวงจิตจริงมันดวงเดียว
หลวงพ่อพระราชพรหมยานตอบปัญหา

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เอกะจะรัง จิตตัง…จิตดวงเดียวเที่ยวไป” ไอ้ที่บอกเป็นหลายดวง คืออารมณ์เข้ามาสิงจิตอยู่ใช่ไหม.. อย่างจิตมีความโกรธ จิตมีความโลภ จิตมีความหลง ใช่ไหม.. จิตมีความรัก อารมณ์ของจิตก็ต่างกันไป นั่นมันเป็นอารมณ์ไม่ใช่ดวงจิต ดวงจิตจริงมันดวงเดียว.

ดวงจิตจริงมันดวงเดียว
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

ผู้ถาม:- “ล่อจิตตั้ง ๑๒๗ ดวง ๘๒ ดวง”

หลวงพ่อ:- “ใช่…ฉันก็เคยเล่นมาก่อนเหมือนกัน”

ผู้ถาม:- “หลวงพ่อน่ะหรือครับ”

หลวงพ่อ:- “อ้าว…ถ้าไม่โง่เสียก่อนจะรู้เรื่องได้ยังไง”

ผู้ถาม:- “นึกว่าแจ่มแจ๋ว…ตั้งแต่เล็กจนโต”

หลวงพ่อ:- “แจ๋วมาก! ตอนนั้นแจ๋วมากจำได้ทุกดวง… (หัวเราะ) แต่ว่าพอไปเทศน์เข้าจริง ๆ เหลือ ดวงเดียว”

ผู้ถาม:- “ตอนนี้พระที่เทศน์ด้วยกัน ไม่ค้านหูดับตับไหม้เลยหรือครับ ?”

หลวงพ่อ:- “ใครจะค้านใคร เขาก็ค้าน แค่ ๓ ธรรมาสน์นี่น่ะ ทีแรก ๒ องค์ก็ล่อจิตกี่ดวง ตอบ ๘๐ ดวงบ้าง ๑๒๐ ดวงบ้างน่ะ ล่อกันอีรุงตุงนัง ฉันก็ล่อกินหมาก บุหรี่ไม่สูบเป่ายานัตถุ์บ้าง อะไรใช่ไหม.. นั่งหลับตาเสียบ้าง เดี๋ยวเขาหันมาว่า ไงธรรมาสน์โน้น ถามอะไร แกเทศน์อะไรกันนี่ ถามทำไม บอกข้ากินหมากบ้าง เป่ายานัตถุ์บ้าง…เพลินไป
อ่านเพิ่มเติม

คำสั่งของพ่อ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

คำสั่งของพ่อ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

คำสั่งของพ่อ
“ลูกรัก… พี่น้องของลูกที่ยังอยู่อนุบาลยังมีอยู่ พ่อขอสั่งลูก
หน้าที่ของลูกในชีวิตที่เหลืออยู่ “คือตามพี่น้องกลับบ้าน”
มันเป็นหน้าที่เดียวที่พ่อจะมอบให้ลูก
เราจะกลับบ้านกันทุกคนเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
แม้แต่คนเดียว เพราะเราคือพี่น้องกัน จำให้ดีนะลูกใครเขาจะว่าอย่างไร
จะว่าผิดทางหรือถูกทาง ไม่ใช่หน้าที่ของลูกที่จะไปตอบโต้กับใคร
หน้าที่ของลูกทุกคนคือตามพี่น้องเรากลับบ้านให้หมด
ส่วนคนอื่นหากเขายอมรับการสงเคราะห์ก็ช่วยถ้าเขามา
เพื่อทิฐิมานะ จงอย่าสนใจ ตามพี่น้องเรากลับบ้านเท่านั้นคือภาระของลูก”

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ (พระมหาวีระ ถาวโร)

www.bloggang.com

. . . . . . .