ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๕)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๕)

ทุกขเวทนา

ระยะ 2 – 3 คืนแรก ที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักบำเพ็ญเพียรอยู่ถ้ำนี้ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ท่านรู้สึกปลอดโปร่งเย็นกายเย็นใจมีความสำราญอาจ

หาญร่าเริงในธรรมะ จะพิจารณาอะไรก็ลุล่วงแตกฉานไปด้วยธรรมปัญญาน่าพิศวง ทำให้ท่านพึงใจคิดที่จะอยู่ถ้ำนี้ต่อไปนานๆ

แต่พอคืนที่ 4 ต่อมา เหตุผิดปกติก็ปรากฏขึ้นนั่นคือโรคเก่าของท่านได้กำเริบ

ขึ้นมาเฉยๆ เป็นโรคเจ็บท้องเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ที่เคยเป็นมาประจำขันธ์เดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหายเอาแน่ไม่ได้? ทั้งนี้เพราะสืบเนื่องมาจาก

การขบฉันอาหารไม่สม่ำเสมอ

บางวันก็ได้ฉันอาหาร บางครั้ง 4 – 5 วันถึงได้ฉันก็มีอยู่บ่อยๆ ทำให้กระเพาะอาหารพิการไปตามเรื่องตามราวของมัน อาการเจ็บปวดเสียด
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๔)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๔)

?

ถ้ำสาริกา

ท่านพระอาจารย์มั่นได้ธุดงค์ไปยังเขาใหญ่นครนายก เมื่อไปถึงบ้านกล้วย ใกล้ทิวเขาใหญ่กว่าหมู่บ้านอื่น ท่านได้ขอร้องให้ชาวบ้าน

พาไปส่งยังถ้ำสาริกาเพราะไม่เคยไปไม่รู้หนทาง ชาวบ้านได้ฟังดังนั้นก็พากันตกใจหน้าซีดไปตามๆ กัน ได้ขอร้องห้ามปรามท่านไว้ไม่ให้

ไปอยู่ที่ถ้ำนี้

เพราะถ้ำนี้มี ผีหลวง รูปร่างใหญ่มีฤทธิ์มากเฝ้ารักษาอยู่ พระไม่ดีจริงๆ ไปอยู่ไม่ได้ ต้องมีอันเกิดเจ็บป่วยล้มตายมาแล้วหลายองค์

พระธุดงค์หลายองค์ที่ขึ้นไปอยู่ถ้ำนี้ไม่มีใครกับลงมาเลย พอชาวบ้านตามขึ้นไปดูก็พบแต่กองกระดูก? ผีหลวงตนนี้ดุร้ายมาก

ไม่มีสัมมาทิฏฐิ ทำร้ายไม่เลือกพระเลือกเจ้า ยิ่งพระธุดงค์องค์ใดอวดดี อ้างว่ามีวิชชาอาคมขลังเก่งๆ เคยปราบผีมาแล้วไม่กลัวผีละ
อ่านเพิ่มเติม

เมื่อหลวงปู่ฉลวย สุธมฺโม พบ หลวงปู่มั่น? ภูริทตฺโต

เมื่อหลวงปู่ฉลวย สุธมฺโม พบ หลวงปู่มั่น? ภูริทตฺโต

เพียงย่างก้าวแรกที่เข้าเขตของวัดหนองผือ (อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร) เท่านั้น จิตใจของหลวงปู่ที่เคยเข้มแข็ง องอาจ ไม่กลัวใคร ก็อ่อนลง สงบราบคาบอย่างน่าประหลาด

และเป็นไปตลอดระยะเวลาที่อยู่ในวัดหนองผือนั้น? เมื่อเข้าไปถึงกุฏิของหลวงปู่มั่นแล้ว หลวงปู่ทำธุระอยู่ข้างล่าง หลวงตาแย้มจึงขึ้นไปกราบก่อน

หลวงปู่มั่นได้ถามถึงการปฏิบัติของหลวงตาแย้มว่าปฏิบัติมาอย่างไร หลวงตาแย้มก็เล่าเป็นปริยัติที่ตนได้เรียนมา พอดีหลวงปู่ขึ้นไปกราบ หลวงปู่มั่นจึงถามว่า

“เอ้า แล้วท่านล่ะ ปฏิบัติมาอย่างไร” หลวงปู่จึงเล่าให้ฟังว่า
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๓)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๓)

?

ป่าเปลี่ยวฆ่ากิเลส

?

การอยู่ป่าเป็นวัตรธุดงค์นี้ท่านพระอาจารย์มั่น เห็นว่ามีคุณประโยชน์เอื้ออำนวยให้แก่การบำเพ็ญสมณธรรมอย่างวิเศษ เพราะป่า

เป็นสถานสงัดวิเวก ไม่ว่าจะมองไปทางใดก็ล้วนแต่ภูมิภาพอันเย็นตาเย็นใจปลุกประสาทให้ตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาทนอนใจ

นั่งอยู่ก็มีสติ ยืนอยู่ก็มีสติ เดินอยู่ก็มีสติ นอนอยู่ก็มีสติ

กำหนดธรรมะทั้งหลายที่มีอยู่รอบตัว เว้นแต่เวลาหลับเท่านั้น ในอิริยาบถทั้งสี่เต็มไปด้วยความปลอดโปร่งโล่งใจ ไม่มีพันธะใด ๆ

มาผูกพัน มองเห็นแต่ทางมุ่งหวังพ้นทุกข์

ที่เตรียมพร้อมอยู่ภายในใจไม่มีวันจืดจางและอิ่มพอ จิตใจเตรียมพร้อมอยู่ทุกขณะที่จะโลดโดดทยานขึ้นจากหล่มลึกคือตัวกิเลส
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๒)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๒)

ป่าหลวงพระบาง

พระอาจารย์มั่นจาริกธุดงค์ไปยังหลวงพระบาง รอนแรมบุกป่าฝ่าดงอันหนาแน่นไปด้วยต้นไม้และขวากหนามเส้นทางทุรกันดารยาก

ลำบาก วกไปเวียนมา มองไปทางไหนมีแต่ป่าแต่เขาสูงใหญ่จนอ่อนล้าเพราะหลงทิศทาง เดินไปทั้งวันก็วกกลับมาที่เดิมไม่น่าเชื่อ

สัตว์ตัวกระจ้อยร่อยประเภทดูดเลือด เช่น ฝูงทากก็มากมาย

คอยรบกวนให้ได้รับความรำคาญอยู่ตลอดเวลา ตะวันยอแสงฉาบสีทองเอิบอาบขุนเขาสูงใหญ่เบื้องหน้าเป็นภาพสวยงามตระการตารวม

กับสีมณีวิเศษอันมีสีต่าง ๆ ท่านรู้สึกชื่นชมกับธรรมชาติในยามใกล้สนธยาเบื้องหน้า จึงรีบรุดตรงไปยังเชิงเขาเพื่อจะยึดเอาเขาลูกนี้เป็นที่
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๑)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๑)

เจโตวิมุตติ

คืนวันหนึ่ง พระอาจารย์มั่นปักกลดเจริญสมณธรรมบำเพ็ญเพียรอยู่ที่? หุบเขาแห่งหนึ่งในแขวงสาละวันประเทศลาว คืนนั้นเดือนหงายกระจ่างนวลใย แผ่ซ่านไปทั่วหุบเขาลำเนาไพร ฟ้าเบื้องบนปราศจากกลุ่มเมฆ มองเห็นทิวเขาสูงตระหง่านโอบล้อมและเงาต้นไม้กระดำกระด่างที่โน่นที่นี่คล้ายลายฉลุอันไพศาล ประกอบกับมีลมพัดโบกเย็นสบายรื่นรมย์

ทำให้ท่านรู้สึกปลอดโปร่ง โสมนัสอินทรีย์ในภูมิภาพยิ่งนัก หลังจากได้อาบน้ำในลำธารใสไหลเย็นในหุบเขาแล้วท่านก็บำเพ็ญเพียรด้วยการเดินจงกรมท่ามกลางแสงเดือน เดินจงกรมนานพอสมควรแล้ว ก็นั่งภาวนาสมาธิ การบำเพ็ญเพียรในอิริยาบถต่าง ๆ ไม่ว่าท่านจะพักอยู่ที่ใด ไม่มีการลดละทั้งกลางวันกลางคืน ถือเป็นงานสำคัญยิ่งกว่าชีวิต
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๐)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๐)

หนทางถูก

ปรากฏว่า จากการพิจารณาด้วยอุบายวิธีนี้ จิตได้รวมสงบลงอย่างรวดเร็วและง่ายดายผิดปกติ ขณะที่จิตสงบตัวลง ปรากฏว่าร่างกายได้แตกออกเป็นสองภาค และรู้ขึ้นมาในขณะนั้นว่า นี่เป็นวิธีที่ถูกต้องแน่นอนแล้วไม่สงสัย เพราะขณะที่จิตรวมลงไปมีสติประจำตัวอยู่กับที่ไม่ปล่อยให้จิตไร้สติเหลวไหลเที่ยวเร่ร่อน

ไปในที่ต่างๆ ดังที่เคยเป็นมาในครั้งก่อน นี่คืออุบายที่แน่ใจว่าเป็นความถูกต้องในขั้นแรกของการเจริญวิปัสสนา และในวาระต่อมาพระอาจารย์มั่น ก็ยึดถืออุบายนี้เป็นเครื่องดำเนินวิปัสสนากรรมฐานอย่างไม่ลดละ จนสามารถทำความสงบใจได้ตามต้องการ มีความชำนิชำนาญมากขึ้นไปด้วยกำลังความเพียร
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๙)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๙)

ต้นชาติ

แรกเริ่มปฏิบัติวิปัสสนาใหม่ ๆ ในสำนักพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล วัดเลียบ อุบลราชธานี พระอาจารย์มั่นได้สุบินนิมิตในคืนวันหนึ่งว่า ท่านได้เดินทางเข้าไปในป่าใหญ่ อันรกชัฏเต็มไปด้วยขวากหนาม จนจะหาที่ดั้นด้นไปแทบไม่ได้ แต่ท่านก็พยายามซอกแซกฝ่าไปจนได้ พอพ้นป่าใหญ่ก็พบทุ่งกว้างใหญ่ไพศาล ได้พบต้นชาติล้มจมดินอยู่กลางทุ่ง เปลือกและกระพี้ผุพัง

ต้นชาตินี้ใหญ่โตมาก ท่านได้ปีนขึ้นไปบนขอนไม้ใหญ่นี้แล้วพิจารณาด้วยปัญญา?

พลันธรรมปัญญาก็ผุดขึ้นในใจว่าต้นไม้ใหญ่นี้ล้ม? แล้วเริ่มผุพังแล้ว ไม่มีทางจะงอกเงยขึ้นมาอีกได้ ชื่อต้นชาติก็เปรียบได้กับชาติภพของท่าน ต่อไปนี้ถ้าท่านไม่ลดละความเพียรเสียจักต้องตัดชาติภาพตัวเองให้สิ้นสุดลง ไม่มีการเกิดในสังสารวัฏ หรือกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกอีกต่อไป
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๘)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๘)

ร่างสมมติ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามพระอาจารย์มั่นว่า นี่เธอเห็นเราพระตถาคตอย่างแท้จริงแล้วมิใช่หรือ

พระตถาคตแท้คืออะไร คือความบริสุทธิ์แห่งใจที่เธอเห็นแล้วนั่นแล

ที่พระตถาคตมาหาเธอนี้ มาในร่างสมมติต่างหาก เพราะพระตถาคตและพระอรหันต์อันแท้จริงมิใช่ร่างแบบที่มากันนี้ นี่เป็นเพียงเรือนร่างของตถาคตโดยทางสมมติต่างหาก ท่านพระอาจารย์มั่นกราบทูลว่า ข้าพระองค์ทราบพระตถาคตและพระสาวกอรหันต์อันแท้จริงไม่สงสัย แต่ที่สงสัยก็คือ พระองค์กับพระสาวกทั้งหลายได้เสด็จไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานไปแล้ว ไม่มีส่วนสมมติยังเหลืออยู่เลย แล้วพากันเสด็จมาในร่างนี้ได้อย่างไร

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งแม้มีความบริสุทธิ์ทางใจด้วยดีแล้ว แต่ยังครองร่างอันเป็นส่วนสมมติอยู่ ฝ่ายอนุปาทิเสสนิพพานก็ต้องแสดงสมมติตอบรับกัน คือต้องมาในร่างสมมติ ซึ่งเป็นเครื่องใช้ชั่วคราวได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างเป็นอนุปาทิเสสนิพพานด้วยกันแล้ว ไม่มีส่วนสมมติยังเหลืออยู่ ตถาคตก็ไม่มีสมมติอันใดจะมาแสดงเพื่ออะไรอีก
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๗)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๗)

นิพพานไม่สูญ

?

การแปลความความแบบนี้ ก็เพื่อจะยืนยันความคิดนึกเดาเอาตามมติของตนเองว่า นิพพานคือภาวะดับสูญอย่างเด็ดขาด ซึ่งมีค่าเท่ากับที่ลัทธิศูนยวาท ว่าไว้ว่าไม่มีอะไร ๆ ก็หายสาปสูญไปหมด เรียกไม่รู้ กู่ไม่กลับ กู่ไม่กลับนั่นเอง

นิพพานไม่ใช่แดนสูญอย่างที่เข้าใจกันเลย ! นิพพานเป็นแนทิพย์คล้ายพรหมโลก แต่สวยงามวิจิตรพิสดารยิ่งกว่าพรหมโลก ผู้สำเร็จพระอรหันต์เข้าสู่แดนพระนิพพานนั้น มีร่างทิพย์ที่ละเอียดที่นฤมิต ไม่ใช่กายทิพย์ธรรมดาเหมือนโอปปาติกะทั้งหลาย

กายทิพย์ หรือ ธรรมกาย ของพระอรหันต์ในแดนนิพพาน เป็นกายทิพย์ที่นฤมิตขึ้นด้วยธรรม ไม่ได้เกิดขึ้นเองเป็นเองโดยธรรมชาติของโลกวิญาณ ร่างธรรมกายของพระอรหันต์ เป็นทิพย์ละเอียดใสสะอาด ใสเป็นประกายคล้ายแก้วประกายพรึก มีรัศมีสว่างไสวมากกว่าพระพรหมอย่างเทียบกันไม่ได้เลย มีความสุขที่สุดอย่างไม่มีอะไรเปรียบเทียบ เพราะความรู้สึกอื่นไม่มี
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๖)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๖)

?

ม้าขาวช่วย

?

ขณะท่านมั่นกำลังขับลำเหงื่อแตก ตอบโต้กับหญิงสาวไปแกน ๆ อย่างฝืนใจนี้ พอดีก็มีพระเอกขี่ม้าขาวมาช่วยไว้ได้ทัน

ท่วงทีเหมือนเทวดาโปรด นั่นคือเพื่อนฝูงที่อยู่ข้างเวที ก็เห็นท่านมั่นกำลังถูกหญิงสาวต้อนเอา ๆ ด้วยเชิงกลอนต่าง ๆ ย่ำแย่

ไปเลย ขืนปล่อยให้ท่านมั่นขับกลอนลำสู้ตกดึกไปกว่านี้ ท่านมั่นมีหวังหมดภูมิ ต้องกระโดดวิ่งหนี เอาหน้าไปซุกพื้นดิน ด้วย

ความอับอายขายหน้า เป็นแน่ ๆ อย่างไม่ต้องสงสัยดังนั้น เพื่อน ๆ จึงรีบพากันไปตามหาตัวชายหนุ่มรุ่นพี่คนหนึ่งชื่อจันทร์ สุภสร

ซึ่งเป็นเพื่อนคนสำคัญที่ใคร ๆ นับถือเกรงใจ อันว่าหนุ่มจันทร์ สุภสรนี้ผู้นี้ต่อมาได้บวชเรียนมีชื่อเสียงบารมีโด่งดังได้นามว่า

“ท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์” วัดบรมนิวาส พระนคร
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๕)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๕)

ตอน สามเณรมั่น ,หนุ่มวัยคะนอง ,หาญสู้แม่เสือสาว

?

พระอาจารย์มั่นได้เข้าอยู่วัดเมื่ออายุได้ 15 ปี และบวชเป็นสามเณรที่วัดคำบง เล่าเรียนอักษรไทย อักษรธรรมและอักษรขอม

เนื่องจากท่านมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมาก สนใจใคร่รู้ธรรมะประจำนิสัยทำให้สามารถเรียนรู้สูตรต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เป็นที่ยกย่องชมเชยของครูบาอาจารย์

ประกอบกับนิสัยความประพฤติเรียบร้อย ใจคอเยือกเย็น ไม่โกรธใครง่าย ๆ ให้อภัยคนอื่น มองคนอื่นในแง่ดีงามอยู่เสมอ ท่านจึงเป็นที่รักใคร่ของหมู่คณะและครูบาอาจารย์เป็นพิเศษ

บวชเป็นสามเณรอยู่ 2 ปีอายุได้ 17 นายคำด้วงบิดาจึงขอร้องให้สึก เพื่อมาช่วยเลี้ยงวัวเลี้ยงควายทำไร่ไถนาเป็นการแบ่งเบาภาระของบิดามารดาของน้อง ๆ ทีแรกพระอาจารย์มั่นจะไม่ยอมสึก เพราะมีจิตใจดื่มด่ำรักในพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ้ง ใคร่รู้ใคร่เห็นธรรมอยากจะเล่าเรียนต่อไป แต่ทนอ้อนวอนของบิดาไม่ไหวจึงจำใจสึกออกมาช่วยทำนา
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๔)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์

ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๔)

เจโตต่อพระอุบาลี , ประวัติ

คำสอนพระเณร

ท่านพระอาจารย์มั่นมักจะเทศนาธรรมสั่งสอนพระเณรสานุศิษย์อยู่เสมอว่า ผู้ก้าวหน้าเข้ามาบวชพระพุทธศาสนา ก็คือผู้ก้าวเข้ามาหาความรู้ความฉลาด เพื่อคุณงามความดีทั้งหลาย มิใช่ว่าเข้ามาเพื่อสั่งสมความโง่เขลาเบาปัญญาต่อเล่ห์เหลี่ยมของกิเลสตัวหลอกลวง แต่เพื่อบวชเข้ามาเพื่อแสวงหาอุบายปัญญาพลิกแพลงให้ทัน เรื่องของกิเลสต่างหาก เพราะคนเราอยู่และไปโดยไม่มีเครื่องป้อวกันตัวย่อมไม่ปลอดภัยอันตรายทั้งภายนอกและภายใน

เครื่องป้องกันตัวของนักบวชคือหลักธรรมวินัย มีสติปัญญาเป็นอาวุธสำคัญ เป็นผู้มั่นคงต่อสิ่งทั้งหลายไม่สะทกสะท้าน จึงควรเป็นผู้มีสติปัญญาแฝงอยู่กับตัวทุกอริยาบท จะคิดจะพูด จะทำอะไร ๆ ก็ตาม ไม่มีการยกเว้น สติปัญญาที่จะไม่เข้ามาสอดแทรกอยู่ อยู่ในวงงานที่ ที่ทำทั้งภายนอกและภายใน จะเป็นที่แน่นอนต่อคติของคนทุก ๆ ระยะไป
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๓)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๓)

เจโตปริยญาณ

มีอีกเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับอำนาจทิพยจักษุและเจโตปริยญาณของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ที่น่าพิจารณาว่า น่ามหัศจรรย์เพียงไร….สมัยเมื่อพระอาจารย์มั่นไปพักบำเพ็ญเพียรกรรมฐานอยู่ที่ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ท่านเล่าว่า ที่ชายเขาทางขึ้นไปถ้ำสาลิกาที่ท่านพักอยู่นั้น มีสำนักบำเพ็ญวิปัสสนาอยู่แห่งหนึ่ง มีขรัวตาองค์หนึ่งพักอยู่บำเพ็ญสมณธรรม คืนวันหนึ่งพระอาจารย์มั่นคิดถึงขรัวตาองค์นี้ว่า ขรัวตากำลังทำอะไรอยู่หนอเวลานี้

แล้วพระอาจารย์มั่นก็กำหนดจิตส่งกระแสจิตลงมาดู ขณะนั้นพอดีเป็นเวลาที่ขรัวตากำลังคิดวุ่นวายไปกับกิจการบ้านเมืองครอบครัวของตนให้ยุ่งไปหมด?

เรื่องที่ขรัวตาคิดเกี่ยวกับอดีตของตัวเอง พอตกดึกพระอาจารย์มั่นก็ส่งกระแสจิตลงมาดูขรัวตาอีกก็พบว่า ขรัวตากำลังคิดห่วงลูกคนนั้นหลานคนนี้อยู่ร่ำไป จวนสว่างท่านส่งกระแสจิตลงมาดูอีก ขรัวตาก็ยังไม่หลับไม่นอนกระสับกระส่ายคิดห่วงหน้าพะวงหลังห่วงลูกห่วงหลานให้วุ่นวายไปหมด
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๒)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๒)

ตาทิพย์

ยังมีเรื่องเกี่ยวกับ อำนาจมหัศจรรย์ทางจิต ของท่านพระอาจารย์ มั่น ภูริทัตตเถระ อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องลี้ลับน่าพิจารณาและน่าสงสัยอยู่มากสำหรับเราท่านปุถุชน ผู้ยังคิดข้องอยู่ในข่ายแห่งความสงสัยไม่เชื่ออะไรที่พิสดารเอาง่าย ๆ ท่านพระอาจารย์ มหาบัว ญาณสัมปันโน เล่าว่าสมัยเมื่อพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

พักอยู่วัดบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณนานิคม สกลนคร บ้านหนองผือนี้ตั้งอยู่ในหุบเขาทั้งสี่ด้าน มีป่ามีเขามากไปจรดแดนกาฬสินธุ์ เป็นจุดศูนย์กลางแห่งพระธุดงค์กรรมฐาน ในสมัยบั้นปลายชีวิตของท่านพระอาจารย์มั่น มีอุบาสิกานุ่งขาวห่มขาวคนหนึ่งมีความเคารพเลื่อมใสในพระอาจารย์มั่นมาก มาเล่าเรื่องของตัวเองถวายท่านว่า
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

25570310-233718.jpg
ท่านเป็นพระมหาบูรพาจารย์ของพระกรรมฐานสายภาคอีสาน
มีข้อวัตรปฏิปทาเคร่งครัดในธุดงค์วัตร
มีลูกศิษย์ผู้ปฏิบัติตามและมีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก
หลังจากท่านมรณภาพแล้วอัฐิธาตุส่วนต่าง ๆ
ในร่างกายของท่านได้แปรสภาพเป็นพระธาตุ
มีลักษณะหลากหลายและงดงามยิ่งนัก

อ่านเพิ่มเติม

รวมคติธรรม คำสอนหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง

รวมคติธรรม คำสอนหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ เป็นพระอริยสงฆ์ที่น่าเคารพสักการะเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระที่มีเมตตา ปฏิปทาสัมมาปฎิบัติ จริยาวัตรที่งดงาม ท่านเป็รพระอริยสาวก ที่สมบูรณ์บริบูรณ์ด้วย ศีล จริยวัตร ปฎิปทา คุณธรรม ปรากฏแก่ประชาชนทั่วไป ก่อให้เกิดแรงศรัทธาปสาทะ ผู้คนมากมายเดินทางเข้าไปกราบขอศีลขอพร ถึงแม้ หลวงปู่จะได้ลาขันธ์ไป ตั้งแต่คืนวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๒๘ แล้ว ท่านก็ยังละคำสั่งสอนทางธรรม คติธรรม ไว้ให้เราได้ตระหนัก ให้เราได้พิจรณา ให้เราได้รู้

“บารมีต้องสร้างเอา เหมือนอยากให้มะม่วงของตน มีผลดก ก็ต้องหมั่น บำรุงรักษาเอา
ไม่ใช่แก่ไปชื่นชมต้นมะม่วงของคนอื่น ต้องไปปลูก ไปบำรุงต้นมะม่วงของตนเอง”
การสร้างบารมีก็เช่นกัน ต้องสร้าง ต้องทำเอาเอง
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่

อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑)

เรื่องราวของท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมานานแล้ว แต่ก็ยังมีท่านผู้อ่านอีกเป็นจำนวนมาก? ที่ยังไม่ได้ทราบ เรื่องราวชีวประวัติการปฏิบัติธรรมะขั้นสูงของท่านอย่างแจ่มแจ้งเท่าที่ควร จึงใคร่ขอนำเรื่องราวจริยธรรมของท่านมาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อเป็นคติธรรมสำหรับท่านที่ใคร่สนในใจธรรมะ

ยอดอริยะแห่งยุค

เหตุไฉน พระอาจารย์มั่นถึงได้รับการยกย่องสรรเสริญยิ่งนักว่า เป็นนักปฏิบัติธรรมกรรมฐานผู้เยี่ยมยอดในยุคนี้ คุณสมบัติอันประเสริฐเลิศมนุษย์ของท่านก็คือ มีนิสัยพูดจริงทำจริง ไม่เหลาะแหละ มีความพากเพียรอย่างยอดยิ่งไม่ลดละท้อถอย ตลอดชีวิตการเป็นนักบวชอันยาวนาน 58 พรรษา
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ

๑. ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบกระทั่งถึงวัยชรา จึงได้ผ่อนใช้คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
๒. ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารวัตรเที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธไปในละแวกบ้านไม่ได้ ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั่งอาพาธลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัย จึงงดบิณฑบาต
๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาตร ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยจึงงด
๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ตลอดมา แม้ถึงอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยก็มิได้เลิกละ
ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว ที่นับว่าปฏิบัติได้มากก็คือ อรัญญิกังคธุดงค์ ถืออยู่เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัย เมื่อถึงวัยชราจึงอยู่ในเสนาสนะป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลังที่จะภิกขาจารบิณฑบาต เป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนเคารพยำเกรงไม่รบกวน
นัยว่า ในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยวแสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่น ในคราวไปอยู่ทางภาคเหนือ เป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูงอันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอ ยังฯาวมูเซอซึ่งพูดไม่รู้เรื่องกันให้บังเกิดศรัทธาในพระศาสนาได้
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จ.สกลนคร

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จ.สกลนคร

ประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง ฯ จ.สกลนคร

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อ จันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่ นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดี มาแต่กำเนิด ฉลาด เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอม อ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะมีความทรงจำดี และขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .