ชีวิตคืออะไร โดย ท่าน พุทธทาส

ชีวิตคืออะไร โดย ท่าน พุทธทาส

หน้าที่ 1 – การคบหาสมาคมคืออะไร
เมื่อพูดถึงเรื่องการคบหาสมาคมคืออะไร ก็เป็นการพูดให้เห็นถึงสิ่งที่เราต้องกระทำอย่างที่จะเว้นเสียไม่ได้ ไม่ได้เพียงว่าติดต่อกันเพื่อประโยชน์ของตนและเมื่อพูดถึงสิ่งที่เรียกว่าศาสนาก็พูดถึงสิ่งที่เรียกว่าอาจจะตั้งอยู่ในหัวใจของคนเรา ไม่ใช่เป็นเพียงวัดวาอารามหรือคำสั่งสอนหรือพระคัมภีร์ เมื่อพูดถึงการทำบุญสุนทานก็หมายถึงการกระทำชนิดที่มีความงดงามสำหรับความเป็นมนุษย์ไม่ใช่เป็นการค้ากำไรเกินควร วันนี้อาตมาก็จะพูดถึงสิ่งที่เรียกว่าชีวิต ท่านทั้งหลายทุกคนรู้สึกว่าตัวเราก็มีชีวิตและเราก็รู้จักว่าชีวิตนั้นคืออะไรทำไมจึงต้องมาพูดกันถึงเรื่องชีวิตกันอีกเร้า ขอให้ตั้งใจทำความเข้าใจสิ่งต่างๆที่จะพูดกันในภาษาธรรมเรื่องภาษาคนกับภาษาธรรมนั่นแหล่ะสำคัญมาก ถ้าเราพูดถึงเรื่องของชีวิตในภาษาคนก็ไปทางนึง ถ้าพูดถึงชีวิตในภาษาธรรมก็ไปทางนึง เช่นถ้าเราพูดกันในภาษาคนพระพุทธเจ้าก็นิพพานแล้ว อย่างที่เด็กๆเค้าเรียกว่าตายแล้ว ไม่อยู่กับเราแล้วแต่ถ้าเราพูดกันในภาษาธรรม พระพุทธเจ้ายังอยู่อยู่ในหัวใจของคนที่รู้จักพระพุทธเจ้าก็ยังอยู่ในที่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง คนโง่เท่านั้นที่จะพูดว่าพระพุทธเจ้าตายแล้ว นิพพานแล้วไม่อยู่กับเราแล้ว นั่นเป็นความโง่ที่ทำลายพุทธศาสนาด้วย คอยมองเห็นเป็นอันตรายถึงขนาดนี้ ถ้าเราพูดว่าพระพุทธเจ้าตายแล้ว นิพพานแล้ว นั่นมันเสียหายอย่างไร มันเสียหายตรงที่ว่ามันสู้ ลัทธิอื่น ศาสนาอื่นๆ บางศาสนาไม่ได้ ที่เขาพูดว่าพระเจ้ายังอยู่พระเจ้าอยู่ในที่ทั่วไปคอยคุ้มครองเราอยู่ทุกหนทุกแห่ง
อ่านเพิ่มเติม

ชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา(2) โดย พุทธทาสภิกขุ

ชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา(2) โดย พุทธทาสภิกขุ

หน้าที่ 1 – พัฒนาไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ
ท่านนักเรียน นักศึกษา ครูบาอาจารย์ และท่านผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย การบรรยายครั้งนี้ คิดว่าจะพูดเรื่องที่เนื่องกันกับปีใหม่ เพราะว่าอีก2-3วันก็จะถึงปีใหม่ เราควรจะได้พูดกันถึงเรื่องที่เกี่ยวกับปีใหม่ ดังนั้นก็จะให้หัวข้อในการพูดวันนี้ว่า ชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา ชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา ถ้ารู้จักในสิ่งที่เรียกว่าชีวิตคืออะไร เราก็จะเข้าใจยิ่งขึ้นว่ามันเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างไร คำว่าชีวิตนี้เป็นของแปลกที่สุดอย่างหนึ่ง คือว่า ตัวเจ้าของนั้นเองแหละไม่รู้จัก เพราะฉะนั้นคำตอบคำแรกคือ สิ่งที่มนุษย์ไม่รู้จัก เพราะว่ายังงง ยังจับต้นชนปลายไม่ค่อยจะถูก ได้แต่เล่าเรียนจากโรงเรียนมาเล็กๆน้อยๆว่า ชีวิต คือ สิ่งที่เป็นอยู่ ก็ยังไม่ตายเท่านั้นเอง แต่ตัวชีวิตจริงๆนั้นได้แก่อะไรนั้นยังเป็นปัญหาอยู่ ถึงแม้ข้อความที่จะพูดต่อไปนี้ มันยากที่จะทำ เหมือนกับว่า หยิบเอาตัวชีวิตมาดูได้ในฝ่ามือ เหมือนกับก้อนดินก้อนกรวด หยิบมาดูได้ในฝ่ามือได้ว่ามันคืออะไร โดยเหตุที่ว่า ชีวิตมันไม่ได้เป็นวัตถุอย่างนั้น ถ้าจะหมายถึงตัวร่างกาย จิตใจ ตัวร่างกาย เนื้อตัวที่ยังเป็นอยู่ ว่าชีวิตนี้มันก็ยังไม่รู้ว่าตรงไหนเป็นชีวิต มันก็ยังเป็นร่างกาย ความหมายคือว่ามันยังเป็นอยู่ มันยังไม่ตาย และเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา สิ่งที่ยังไม่ตายมันต้องพัฒนา เพราะว่าเรามีชีวิต คือ เรามีสิ่งที่ต้องพัฒนา นี่คำว่าต้องพัฒนานี้ยังแยกเป็น 2 ความหมาย อ่านเพิ่มเติม

ชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา(1) โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

ชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา(1) โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – ชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา
ท่านนักเรียนนักศึกษาครูบาอาจารย์และท่านที่สนใจในธรรมทั้งหลาย การบรรยายครั้งนี้คิดว่า จะพูดเรื่องที่เนื่องกันกับปีใหม่ เพราะว่าอีกสองสามวันก็จะถึงปีใหม่แล้ว เราควรได้พูดเรื่องที่เกี่ยวกับปีใหม่ ดังนั้นก็จะให้หัวข้อในการพูดวันนี้ว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา ถ้ารู้จักว่าชีวิตคืออะไร เราก็จะเข้าใจได้ยิ่งขึ้นว่า มันเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างไร เพราะชีวิตนี้เป็นของแปลกที่สุดอยู่อย่างหนึ่ง คือว่าในตัวเจ้าของมันเองแหละไม่รู้จัก

เพราะฉะนั้นคำตอบคำแรกที่จะตอบคือว่า ชีวิตคือสิ่งที่เจ้าของไม่รู้จักใครว่ามันยังงงจับต้นชนปลายไม่ค่อยจะถูก ได้แต่เล่าเรียนมาเล็ก ๆน้อย ๆในโรงเรียนว่าชีวิตเป็นสิ่งที่เป็นอยู่ ที่ยังไม่ตายเท่านั้นเอง แต่ตัวชีวิตจริง ๆ ได้แก่อะไรนี้มันเป็นอยู่ ถึงแม้ข้อความที่จะพูดต่อไปนี้มันก็ยากที่จะทำเหมือนกับว่าเอาชีวิตมาดูได้ในฝ่ามือ เหมือนกับก้อนดินก้อนกรวดหยิบมาดูได้ในฝ่ามือ ดูได้ว่ามันคืออะไร โดยเหตุที่ว่าชีวิตมันไม่ได้เป็นวัตถุอย่างนั้น ถ้าว่าด้วยร่างกายจิตใจยึด ก็คงยังไม่รู่ว่าอะไรคือชีวิตมันก็ยังเป็นร่างกาย อันหมายความว่ามันยังเป็นอยู่คือมันยังไม่ตาย มันต้องพัฒนา แปลว่าเรามีชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา สิ่งที่ยังไม่ตาย เราต้องพัฒนา แปลว่าเรามีชีวิตที่ต้องพัฒนา คำว่าต้องพัฒนานี้ มันยังแยกเป็น 2 ความหมาย คือตัวมันเอง ก็พัฒนามันคงที่อยู่ไม่ได้ อ่านเพิ่มเติม

ทรัพย์สมบัติคืออะไร โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

ทรัพย์สมบัติคืออะไร โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – ทัศนะของพุทธบริษัท
สิ่งนั้นว่าอะไรเป็นอะไรแต่ตามทัศนะของพุทธบริษัทหมายความว่า คนอื่นจะเข้าใจอย่างอื่นก็ได้ แต่ในฐานะที่เราเป็นพุทธบริษัท เราควรจะมีวิธีมองแล้วเห็นเข้าใจและรู้จักตามทัศนะของเรา อย่างครั้งแรกพูดถึงการศึกษา เรามองเห็นการศึกษา ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความถูกต้องแก่การที่มนุษย์จะก้าวหน้าไปสู่สิ่งสูงสุดของขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการของเขา ไม่ว่าจะอยู่ในระดับไหนอย่างไร ถ้าไม่อย่างนั้นเราไม่ถือ ว่าเป็นการศึกษาในทัศนะของพุทธบริษัท ในครั้งถัดมาเราพูดถึงการทำงาน ว่าการทำการงานนั้น คือสิ่งสุดท้ายที่ผ่อนผันไม่ได้ต่อไปว่าเป็นสิ่งที่ไม่ต้องทำในเหล่าบันดาสิ่งที่ผ่อนผันไม่ได้ว่าไม่ต้องทำนั้น การงานคือสิ่งสุดท้าย
อ่านเพิ่มเติม

บุตรที่ประเสริฐที่สุด โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

บุตรที่ประเสริฐที่สุด โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – บุตรที่เชื่อฟังเป็นบุตรที่ประเสริฐที่สุดเราก็เลยได้บุตรเป็น4จำพวกด้วยกัน
ท่านนักเรียนทั้งหลายบัดนี้เป็นการพูดกับนักเรียนโดยหัวข้อว่า บุตรที่ประเสริฐที่สุดไม่ทราบว่าบุตรที่ประเสริฐที่สุดเข้าใจว่าคงเป็นที่เข้าใจกันแล้วว่าหมายความว่าอะไรแล้วยังเชื่อว่าจะเป็นที่ปรารถนาของทุกฝ่ายคือฝ่ายบิดามารดาก็ปรารถนาให้บุตรเป็นบุตรที่ดีที่สุดก็อยากจะมีบุตรชนิดที่ดีที่สุดแล้วฝ่ายบุตรทั้งหลายก็คงอยากจะเป็นบุตรที่ดีที่สุดของบิดามารดาทีนี้ประชาชนทั้งหลายแม้จะไม่เกี่ยวข้องเป็นบุตรบิดามารดาก็ยังมีความคิดว่าขอให้เด็กๆทั้งหลายทุกคนเป็นบุตรที่ดีของบิดามารดาเธอนี่คือความรู้สืกรู้สืกอย่างนี้
อ่านเพิ่มเติม

ประมวลเรื่องที่เป็นประโยชน์สำหรับฆราวาส โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

ประมวลเรื่องที่เป็นประโยชน์สำหรับฆราวาส โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – ถ้าทำได้ถึงที่สุดมันก็ถึงที่สุดแห่งการดับทุกข์
ได้ทราบว่าท่านทั้งหลายต้องการจะไปฟังเรื่องสำหรับผู้ที่จะลาสิกขาผมก็จะพูดโดยอนุวัฒน์คือเรื่องนั้นคือเราจะประมวลในเรื่องต่างๆตามที่ได้ศึกษามาตลอดเวลาที่บวชนี่เข้าด้วยกันหาดูหลักสำคัญว่าเรื่องนั้นจะไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรสำหรับผู้ที่จะครองชีวิตอย่างฆารวาสในธรรมมะนั้นมันเป็นเรื่องของความดับทุกข์โดยตรงและก็ไม่ได้แยกเป็นเรื่องฆารวาสหรือเรื่องบรรพชิตพระพุทธเจ้าท่านวางแนวไว้แนวเดียวเท่านั้นอย่างเดียวเท่านั้นแต่ว่าระเบียบนั้นมันสะดวกสำหรับผู้ที่จะเป็นบรรพชิตในบรรพชิตจะปฎิบัติโดยง่ายโดยสะดวกโดยเร็วฆารวาสนั้นจะต้องลำบากบ้างและก็ช้าบ้างแต่ก็ปฎิบัติโดยหลักเดียวกันนั้นแหละคือว่าความยึดถือเป็นเหตุให้ดับทุกข์ความไม่ยึดถือก็ไม่ทุกข์เท่านั้นคำศัพท์ของพระองค์ที่ทรงยืนยันเป็นหลักเขาว่าเราพูดเราบัญญัติแต่เรื่องความทุกข์ความดับทุกข์เท่านั้นและตั้งคำถามอย่างอื่นไม่รู้จะไม่ตักตอบจะพลัดเพี้ยนอะไรก่อนมาพูดเรื่องนี้กันดีกว่ามาพูดเรื่องทุกข์เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์เรื่องดับทุกข์เรื่องทางแห่งการดับทุกข์
อ่านเพิ่มเติม

ส่วนประกอบและโครงสร้างของชีวิต(2) โดย พุทธทาสภิกขุ

ส่วนประกอบและโครงสร้างของชีวิต(2) โดย พุทธทาสภิกขุ

หน้าที่ 1 – ธาตุทั้งหก
ท่านสาธุชนที่มีความสนใจในการพัฒนาชีวิตทั้งหลาย การบรรยายในครั้งนี้จะกล่าวถึงส่วนประกอบและโครงสร้างของชีวิต สิ่งที่เรียกว่าสิ่งมีชีวิตนี้ มีส่วนประกอบและรูปโครงว่าจะสร้างขึ้นมาได้อย่างไร ก็เหมือนชีวิตอื่นๆด้วยเหมือนกัน ถ้าเรารู้เรื่องนี้ดี ก็จะรู้จักสิ่งมีชีวิตดี มีความจำเป็นที่ต้องศึกษาส่วนประกอบและโครงสร้างของชีวิต เพราะชีวิตนี้ประกอบด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งเดียวล้วนๆ ที่สร้างขึ้นง่ายๆ เหมือนตุ๊กตาที่สร้างด้วยดินเหนียวกับน้ำ เราจึงควรสนใจเรื่องนี้ ให้รู้ทั้งฝ่ายรูปธรรม และนามธรรม จงพิจารณาถึงส่วนประกอบและส่วนผสมที่จะมาประกอบกันเป็นชีวิต หลักในพุทธศาสนาหรืออีกหลายศาสนาในอินเดีย กล่าวตรงกันอย่างหนึ่งว่า สิ่งต่างๆทั้งมีและไม่มีชีวิต ล้วนประกอบขึ้นด้วยโดยสิ่งที่เรียกว่า ธาตุ
อ่านเพิ่มเติม

ส่วนประกอบและโครงสร้างของชีวิต โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

ส่วนประกอบและโครงสร้างของชีวิต โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – รูปธรรม-นามธรรม
ท่านสาธุชนที่มีความสนใจมีการพัฒนาชีวิตทั้งหลาย การบรรยายครั้งนี้จะกล่าวโดยหัวข้อว่า ส่วนประกอบและโครงสร้างของชีวิต สิ่งที่เรียกว่าชีวิตมันต้องมีส่วนประกอบเป็นเครื่องประกอบมันก็มีรูปโครงมีจุดสร้างมาอย่างไร เหมือนกับสั่งทั้งหลายด้วยเหมือนกัน ถ้าเรารู้เรื่องนี้ดีก็รู้จักใช้สิ่งที่เรียกว่ามนุษย์นั้นดี มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาส่วนปรกอบและโครงสร้างของชีวิตเพราะว่าชีวิตไม่ได้ประกอบด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวล้วนๆในลักษณะง่าย ๆ เหมือนตุ๊กตาที่ปั้นขึ้นด้วยดินเหนียวกับน้ำนี่เรา จึงต้องยังสนใจ ยังต้องอดทนหรือศึกษาในเรื่องนี้ยังมีส่วนซับซ้อนทั้งฝ่ายรูปธรรม-นามธรรม และอย่างหน้าประหลาดมหัศจรรย์ด้วยคือการที่จะรู้เรื่องชีวิต และส่วนประกอบของชีวิต
อ่านเพิ่มเติม

จิตวิทยากับพุทธศาสตร์ โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

จิตวิทยากับพุทธศาสตร์ โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – จิตวิทยา
ได้มีการกำหนดหัวข้อให้บรรยายไว้ว่า จิตวิทยากับพุทธศาสตร์ มีสองชื่อ หรือสองเรื่อง พูดเพียงเท่านี้มันก็ดูงง หรือชอบกลอยู่เหมือนกัน ปัญหามันเกิดขึ้นเพราะว่าเรามีคำพูด หรือใช้คำพูดคำเดียวกันซึ่งมีความหมายไม่เหมือนกัน คำพูดคำเดียวกันคนหนึ่งหรือพวกนึงมีความหมายอย่างนึง พวกนึงอีกอย่างนึง บางทีถึงกับเป็นความหมายที่เพี้ยนไปก็มี ตรงกันข้าม เป็นความหมายที่ผิดจากความเป็นจริงก็มี

ขอได้ให้โอกาสพิจารณาใคร่ครวญกันให้ดีๆ ว่าคำพูดบัญญัติที่ใช้กันอยู่นี่ทำให้เกิดปัญหามาก ไม่รู้จะเป็นกันทุกชาติทุกภาษา ที่คำบัญญัติขึ้นโดยคนบางคน ซึ่งหลายคนจะไม่เห็นด้วยก็ได้ บัญญัติขึ้นโดยบางคนเท่าที่เขารู้จัก เขารู้อย่างไรเท่าไรเขาก็บัญญัติเท่านั้น แต่แล้วมันมีความไม่ถูกต้อง หรือไม่ตรงตามความเป็นจริง มันก็มีอยู่มาก โดยเฉพาะในภาษาไทยเรา มีคำอยู่คำนึงที่ทำให้เกิดปัญหายุ่งยากมากที่สุด คือคำว่า ปรัชญา กับคำว่า Philosophy คำว่า Philosophy ของฝรั่งนั้นไม่ใช่คำว่าปรัชญาของอินเดีย คำว่าปรัชญาของอินเดียนั้นคือความรู้หรือปัญญาที่ถึงที่สุดเด็ดขาดไปแล้ว ส่วนคำว่า Philosophy นั้นยังไม่เด็ดขาด ยังค้นคว้าหาอยู่ ยังคลำอยู่ ยังไม่มีจุดจบ หรือจุดสุดท้าย มันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน พวกนักภาษาในอินเดีย อ่านเพิ่มเติม

การทำความเข้าใจระหว่างศาสนา โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

การทำความเข้าใจระหว่างศาสนา โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – อิฐทัพปัสญาตา
การทำความเข้าใจระหว่างศาสนา

อัตตามารู้สึกมีความยินดีมากที่เราจะได้พูดกันโดยหัวข้อว่าการทำความเข้าใจระหว่างศาสนาเรื่องนี้กำลังเป็นเรื่องสำคัญของโลกคือว่ามันเป็นเรื่องที่มีเหตุผลที่จะต้องทำความเข้าใจระหว่างศาสนาหมายความว่าทำความเข้าใจว่าจะร่วมมือกันช่วยโลกได้อย่างไร

โดยทุกๆศาสนาไม่เฉพาะศาสนามันเป็นการกระทำด้วยเหตุผลที่ว่ามันมีความจำเป็นหรือสมควรอย่างน้อยที่จะทำให้โลกนี้ก็อยู่ได้เพราะมีศาสนาเป็นหลักจะมีกี่ศาสนาก็สุดแท้ศาสนามันเป็นเครื่องพยุงจิตใจเป็นที่ตั้งของจิตใจของคนในโลกและด้วยกันทุกศาสนา

ถ้ามีหลายศาสนามันต้องมีการทำความเข้าใจกันและกันเราไม่ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบอย่างที่เขาทำกันเขาทำกันโดยที่เรียกว่า การศึกษาเปรียบเทียบศาสนาทำไปในทางให้คิดความแตกต่างกันมุ่งจะค้นหาความแตกต่างกัน แต่เราต้องการจะใช้ความแตกต่างกันเอามาร่วมมือกันเพื่อทำให้มันเข้ากันได้เพื่อจะไม่มีอะไรต่างกันที่จริงมันก็ต่างกันที่เปลือกนอกเนื้อแท้มันเหมือนกันจะให้เหมือนกันทุกศาสนาก็ว่าได้หรือศาสนาต่ำด้อยไสยาศาสตร์จะลดความดับทุกข์ลดความแก่ตัวควบคุมความคิดแก่ตัวกันทั้งนั้น ไม่ใช่เจตนารมณ์ของศาสนาทำหน้าที่ของกันเพื่อลดความคิดแก่ตัวของมนุษย์ให้ร่วมมือกันแล้วก็ใช้พิธีการของตนตนตามสัดส่วนแล้วมันก็จะช่วยได้เพราะมันมีหลาบศาสนาและจึงจะต้องทำความเข้าใจแก่กันเพื่อให้ร่วมมือกันได้เพื่อเห็นแก่มนุษย์ในโลกหัวใจสำคัญที่สุดก็คือความไม่เห็นแก่ตัวเดี๋ยวนี้ความไม่เห็นแก่ตัวนี่เกือบจะหาได้ยากคนไม่ค่อยพูดถึงคำนี้กันแล้ว
อ่านเพิ่มเติม

เค้าโครงของพระพุทธศาสนา� โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

เค้าโครงของพระพุทธศาสนา� โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – บัญญัติเฉพาะ
อาจจะศึกษาได้เองค้นคว้าได้เองจากหนังสือต่างๆเรื่องเค้าโครงนั้นสำคัญมากมันเหมือนกับการทำบ้านเรือนไม่ว่าเราจะมีไม้มากพอแต่ถ้าเราไม่มีความรู้ที่จะเอามาชนทำให้เป็นบ้านเป็นเรือนได้ก็ไม่สำเร็จประโยชน์การที่ท่านทั้งหลายตั้งใจมาจะหาความรู้ทางพุทธศาสนาในวันนี้เห็นว่าเราควรจะพูดกันถึงเรื่องเค้าโครงพระพุทธเจ้าท่านทรงได้ตรัสว่าแต่ก่อนจะดี

เดี๋ยวนี้ก็ดีบัญญัติเฉพาะเรื่องทุกข์กับความดับทุกข์เท่านั้นคำว่าบัญญัติในที่นี้หมายถึงเรื่องที่ทรงเอามาพูดมากล่าวมาทำให้มันเป็นเรื่องหรือเปิดเผยให้เป็นที่เข้าใจแก่คนทั่วไปก็หมายความว่าเอามาสอนนั้นเองท่านทรงยืนยันว่าอาจจะพูดกันแต่เรื่องทุกข์กับความดับทุกข์เราจงถือเป็นหลักว่าถ้าเรื่องอื่นๆนอกจากนี้ยังไม่ต้องพูดก็ได้จะต้องจำเรื่องความทุกข์กับความดับทุกข์ให้ได้นี้อะไรเป็นเบื้องต้นของเรื่องความทุกข์จะต้องเข้าใจกันซะก่อนแล้วจึงทำในทางที่ตรงกันข้ามมันก็จะดับทุกข์ถ้าจะถามกันว่าเราจะตั้งต้นเรียนเรื่องความทุกข์รวมถึงเรื่องถึงความดับทุกข์ด้วยนี่กันที่ไหนท่านทั้งหลายจงรู้ไว้มีความเข้าใจหรือเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่าเราจะต้องตั้งต้นกันที่เรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถืออย่างนี้ถือว่าเป็น ก ข ค กา ของพระพุทธศาสนาที่เร่าจะเรียนก่อนสิ่งใดๆหรือเราจะเรียนภาษาอังกฤษเราก็ต้องคิดให้ดีๆเรียนภาษาไทยเริ่มต้นด้วย ก ข ค กา
อ่านเพิ่มเติม

อัฏฐังคิกมรรคยอดศิลปะแห่งการดำเนินชีวิต โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

อัฏฐังคิกมรรคยอดศิลปะแห่งการดำเนินชีวิต โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – อัฏฐังคิกมรรค
ท่านทั้งหลายควรทบทวนความหมายของคำว่า ศิลปะ ให้ปรากฎอยู่ในใจเสมอ แล้วก็จะเข้าใจได้ว่าทำไมธรรมะจึงเป็นศิลปะ หรือบางที่ก็เป็นยอดของศิลปะด้วยซ้ำไป ความหมายของศิลปะนั้นโดยส่วนใหญ่มันหมายถึงงาม และสำเร็จประโยชน์และก็เป็นงานฝีมือ คือ ทำยาก มันงาม มันสำเร็จประโยชน์ตามที่ต้องการ ก็เป็นงานฝีมืออันละเอียด ศิลปะแห่งการมีชีวิต ในที่นี้หมายถึงต้องการให้มันมีชีวิตที่งดงาม และก็สำเร็จประโยชน์ตามคำมุ่งหมายของคำว่าชีวิต แล้วก็เป็นงานที่ละเอียดปราณีต น่าดูน่าเลื่อมใส เพราะว่ามันยาก สำหรับคำว่างามนั้นเป็นความหมายสำคัญของคำๆ นี้
อ่านเพิ่มเติม

อาณาปานสติสำหรับนักศึกษา ตอนที่ 2 โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

อาณาปานสติสำหรับนักศึกษา ตอนที่ 2 โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – จิตละเอียด
รู้จักที่นี้เมื่อท่านที่ทำอย่างที่วิ่งตามลมหายใจอยู่ก็จะได้รู้เช่นว่าถ้าลมหายใจมันยาวหรือมันนานถ้าลมหายใจมันสั้นก็จะได้รู้ว่ามันสั้น ในระยะสั้นที่นี้ถ้าเมื่อรู้ว่าลมหายใจมันยาวก็รู้ว่ามันยาวถ้าลมหายระเอียดก็รู้ว่าลมหายใจละเอียดเมื่อกำหนดพิกัดความยาวความสั้นความหยาบความละเอียดอย่างดีที่สุดเมื่อวิ่งตามที่นี้ละเอียดไปกว่านั้นดูให้ละเอียดไปกว่านั้นอีกก็คือว่าเมื่อลมหายในมันยาวและมันนานเรารู้สึกอย่างไรเมื่อลมหายใจมันสั้นๆมันรู้สึกอย่างไร สติหรือจิตใจเป็นอย่างไรอารมณ์เป็นอย่างไร จนกระทั้งรู้ว่าเมื่อลมหายใจยาวและละเอียดด้วยร่างกายของเราสบายหรือสงบลงมากลงคงรู้จักความสงบนี้ด้วยเมื่อลมหายมันสั้นหยาบคงรู้สึกว่าร่างกายไม่สงบเรียกว่ามันเป็นโรคหรือไม่สบายก็เลยรู้ได้โดยไม่ต้องมีใครบอกไม่ใช่รู้โดยคนบอกหรืออ่านหนังสือมาก็รู้ได้ว่าลมหายใจมันเนื่องกันอยู่กับร่างกายบางครั้งใจหยาบกายหยาบบาครั้งใจละเอียดกายละเอียดบางครั้งใจกำเริบร่างกายกำเริบลมหายใจสงบระงับร่างกายสงบระงับยิ่งเราสามารถทำให้ร่างกายสงบระงับเยือกเย็นได้อีกด้วยการทำให้ลมหายใจนั่นแหละสงบระงับเราจึงมีวิธีทำด้วยใช้จิตมากำหนดสิ่งที่มันละเอียดยิ่งขึ้นไปก่อนนี้หรือเวลานี้กำหนดที่ลมหายใจโดยตรงตัวลมหายใจ
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมะที่ควรรู้จักเพื่อทำงานให้สนุก โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

ธรรมะที่ควรรู้จักเพื่อทำงานให้สนุก โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – คนจิตทราม
เรามาพูดกันถึงตอนหัวรุ่งที่มีความหมายบางอย่างที่อาตมาคือว่าเป็นเวลาที่ค่อนข้างจะมีเรี่ยวแรงและอีกอย่างหนึ่งโดยธรรมชาติเวลาหัวรุ่งอย่างนี้ก็เป็นเวลาที่น้ำชาในถ้วยของท่านทั้งหลายก็ลดลงมากน้ำชาไม่ค่อยจะล้นถ้วยก็คือพร้อมที่จะฟังพร้อมที่จะคิดนี้มันก็เป็นธรรมชาติพอที่จะกล่าวได้ว่าทำไมพระพุทธเจ้าจึงตรัสรู้เวลาหัวรุ่งคือพูดได้ว่ามันเป็นเวลาที่พร้อมกว่าเวลาอื่นนั่นเองเป็นจุดตั้งต้นของวันใหม่ระบบประสาทอะไรต่างๆก็ยังใหม่ยังพร้อมที่จะรับฟัง ดังนั้นจึงเห็นว่าเวลาหัวรุ่งนี้เป็นเวลาที่ควรจะรู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์หัวข้อเรื่องที่จะบรรยายในวันนี้ก็มีว่าทำงานให้สนุกเป็นสุขตลอดเวลาที่ทำงานเขาจะยกให้เป็นหนึ่งคำพูดประจำสำหรับอาตมาไปแล้วแต่ว่าวันนี้เราก็จะใช้ธรรมมะที่ควรรู้จักธรรมะที่ควรรู้จักเพื่อทำงานให้สนุกและมันเป็นสุขได้ตลอดเวลาที่ทำงานที่จะเป็นได้อย่างนั้นก็คือว่า เรามีธรรมะอะไรบางอย่างช่วยให้ทำได้ขอให้สนใจฟังว่าธรรมะมันคืออะไรทำงานให้สนุกเป็นสุขเมื่อเวลาทำงาน คนจิตทรามมันก็คิดไปทำนองสาระพาเฮโรสวนเสเฮฮาบางคนก็ว่าไปเป็นโสเภณีไปเป็นเกเป็นอะไรอย่างนั้นไปอีก มันจึงจะทำงานสนุกนั่นมันเป็นความคิดของคนจิตทรามจิตทรามมากๆอย่าไปสนใจดีกว่าทำงานให้สนุกมันสนุกด้วยธรรมะธรรมะเป็นเหตุให้สนุกแล้วก็คิดอย่างที่ว่ามีธรรมะนั่นเองใจความส่วนใหญ่มันก็อยู่ตรงธรรมะนั่นคืออะไร จะมาใช้เพื่องานให้สนุกได้อย่างไรหรือบางที่จะยิ่งไปกว่านั้นก็คือมันเป็นความสนุกอยู่ในตัวธรรมะแล้วเราไม่ต้องทำอะไรมากเพียงแต่เอาตัวธรรมะมาใช้ได้ก็เพียงพอดังนั้นเรามาเสียเวลาวินิจฉัยคำพูดเพียงคำเดียวว่าธรรมะๆพอสมควร คำว่าธรรมะๆนี้จึงถูกเข้าใจผิดอยู่มากคือได้รับการต้อนรับอย่างไม่เป็นธรรมและก็ได้รับความอักกะกันอยู่มากทีเดียวคือให้ผลมากกว่าที่คนสนใจเคารพนับถือเล่าลือกันอย่างนี้ก็เพื่อจะเข้าใจได้ง่ายๆเองนั่นก็ว่าธรรมะ
อ่านเพิ่มเติม

รอยของพระธรรม โดย ท่าน พุทธทาส ภิกขุ

รอยของพระธรรม โดย ท่าน พุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – สันติสุข
โลกนี้ก็มีสันติสุขทีนี้ยังจะเป็นประโยชน์แก่พระศาสนาเอง คือพระศาสนาไม่สาบสูญไปเสีย ยังมีชีวิตอยู่ นี่แหละประโยชน์ที่พึงจะได้ ที่อยู่อย่างนี้ก็นับว่ามากหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายทำให้สำเร็จประโยชน์ เรามานั่งกันกลางดินนี่ก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องกำหนดไว้ในใจ ข้อแรกก็ว่า ธรรมะนี่เกิดกลางดิน เพราะพระพุทธเจ้าท่านประสูติกลางดิน ท่านตรัสรู้กลางดิน ท่านสอนกลางดิน ท่านอยู่กลางดิน ท่านนิพพานคือตายก็กลางดิน นั่นมันเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ท่านสอนกลางดินโดยส่วนใหญ่พระไตรปิฎก นั้นเป็นสูตรที่กลับกันมันนั่งกันกลางดิน เพราะว่าธรรมะศาลาก็กลางดิน ก็จัดได้ทุกหนทุกแห่งไม่ว่าที่ไหน แผ่นดินจึงเป็นที่เกิดของธรรมะ เรามานั่งกันกลางดินก็ควรจะพอใจเป็นพิเศษกว่าการนั่งเรียนศึกษากันบนตึกราคาแพง อย่างที่มหาวิทยาลัย เป็นต้น เมื่อนั่งกลางดินมีจิตใจอย่างไรขอให้กำหนดไว้ให้ดีๆ ถ้าไปนั่งบนตึกเรียนมีจิตใจอย่างไรก็จะได้กำหนดเพื่อเปรียบเทียบกันดูและจิตใจชนิดไหนที่เหมาะจะศึกษาและปฏิบัติธรรมะข้อนี้ก็จะรู้ได้เอง การมีจิตใจต่ำ การมีความเป็นอยู่ต่ำ จิตใจมันก็ใฝ่สูง ถ้าจิตใจมันอยู่สูง จิตใจมันก็ไปต่ำ นี่ควรจะกำหนดข้อนี้ไว้ด้วย จะได้พยายามเป็นอยู่อย่างต่ำ อย่างง่าย อย่างถูกที่สุด ถ้าเป็นอย่างพระสาวกแล้วก็เป็นอยู่อย่างไม่ต้องใช้เงินเลย อย่างนี้เป็นต้น นั่นขอให้ตั้งสังเกต ตั้งแต่เรื่องเหล่านี้เป็นต้นไป ทีนี้เรื่องที่จะพูดกันวันนี้ เท่าที่ได้รับทราบมาเป็นความประสงค์จะให้พูดเรื่อง แนวการปฏิบัติเพื่อความเป็นอยู่ของพุทธบริษัท สำหรับจะได้ดำเนินตาม
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .