ส้วมเคลื่อนที่ โดย หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

ส้วมเคลื่อนที่ โดย หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

ภายใต้หนังกำพร้าของคนเรามีแต่ความโสโครก น่าเกลียดน่าสะอิดสะเอียน
มีอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ไส้น้อย ไส้ใหญ่ กระเพาะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำดี อุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อไคล ขังอยู่ภายในร่างกายโดยมีหนังกำพร่าห่อหุ้มอยู่ ถ้าลอกหนังออกจะเห็นร่างมีเลือดไหลโซมกาย เนื้อที่ปราศจากผิวหนังห่อหุ้มจะมองไม่เห็นความสวยสดงดงามเลย มองแล้วอยากจะอาเจียนมากกว่าน่ารัก ที่พอจะมองเห็นว่าสวยงามก็ตรงผิวหนังห่อหุ้มเท่านั้น ผิวหนังนี้ก็ใช่ว่าจะเกลี้ยงเกลาเสมอไปไม่ คนเราต้องคอยอาบน้ำชำระล้างทุกวันเพราะสิ่งโสโครกเหงื่อไคลภายในหลั่งไหลออกมาลบเลือนความผุดผ่องของผิวกายอยู่ตลอดวันถ้าไม่คอยชำระล้างก็จะสกปรกเหม็นสาบน่ารังเกียจ ทางช่องทวารขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะก็หลั่งไหลออกมาตามกำหนดเวลาของมันทุกวัน น่ารังเกียจ เลอะเทอะโสมม ซึ่งเจ้าของไม่ปรารถนาจะแตะต้องทั้งๆ ที่เป็นของในกายของตัวเองยิ่งพิจารณาไปคนเราก็คือส้วมเคลื่อนที่ หรือป่าช้าที่บรรจุซากศพเคลื่อนที่ และเป็นผีเน่าที่เดินได้ดีๆ นี่เอง

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://muangput.com

ตั้งหลักไว้ โดย หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

ตั้งหลักไว้ โดย หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

25570313-235521.jpg

ตั้งหลักไว้ อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา…ปัจจุบันเป็นธรรมโม
ระลึกไว้เสมอว่า ดับ ละ วาง ในปัจจุบัน…จึงเป็นธรรมโม
เมื่อจิตอยู่ในปัจจุบันธรรม
แต่ถ้าหากอดีต-อนาคตเกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับลงไป…

ต้องหมั่นต้องพยายามเข้าหาจดของจริง
อดีต-อนาคต-ปัจจุบัน สามอย่างนี้แหละเป็นทางเดินของจิต
ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ราคะ กิเลส ตัณหา ก็เกิดขึ้นในใจนี้แหละ
แสดงออกจากใจนี้ ให้น้อมเข้ามา ๆ
ถึงอย่างนั้นกิเลสทั้งหลายก็ยังทำลายคุณความดีได้เหมือนกัน
แต่ถ้ามีสติความชั่วเหล่านั้นก็ดับไป…

:: หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://muangput.com

พระครูอาทรธรรทวินัย “หลวงปู่จอม นาคเสโน”

หลวงปู่จอม นาคเสโน
อายุ 90 ปี

เกิดเมื่อ7 ตุลาคม 2462
ที่จังหวัดอำนาจเจริญ

พระครูอาทรธรรทวินัย “หลวงปู่จอม นาคเสโน”
วัดป่าบ้านดอนดู่ ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
เจ้าของพระคาถาอายุวัฒนะศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

พระครูอาทรธรรมวินัย “หลวงปู่จอม นาคเสโน” เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2462 ในตระกูลชาวนา ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
ศรัทธาเลื่อมใสพระปฏิบัติสายพระธรรมยุติ คือ สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นอย่างมาก จึงได้อุปสมบทในสายพระธรรมยุติ เมื่ออายุ 37 ปี หลังจากสำเร็จนักธรรมเอกแล้วพิจารณาเห็นว่า การปฏิบัติธรรม การนั่งสมาธิ การเดินธุดงควัตร เป็นหนทางแห่งความสงบ ความสำเร็จ จึงได้เดินทางไปกราบนมัสการ ครูบาอาจารย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และตระเวรธุดงค์ไปกราบนมัสการ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่แหวน สุจิณโน ได้ทราบข่าวว่า พระองค์ไหนมีชื่อเสียงก็เดินทางไปพบเพื่อศึกษาเวทย์วิทยาและได้รับพระคาถาอายุยืน “อายุวัฒนะ” จากหลวงปู่พลเอกหลวงศรี ที่ จังหวัดสกลนคร โดยได้ปฏิบัติตามที่ครูบาอาจารย์สั่งสอนมาอย่างเคร่งครัดกระทั่งปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สอนเรื่องการกินเจ…

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สอนเรื่องการกินเจ…

“คนเรามันไม่ได้วิเศษเพราะการกินผักกินเนื้อนะ
แต่มันวิเศษด้วยการกินเพราะการพินิจพิจารณาโดยแยบคาย อันผักหญ้าเนื้อนั้นมันไม่ได้รู้เรื่องดี เรื่องชั่ว เหมือนคนเรา จิตเราดอก

พระธรรมคำสอนแง่หนักเบาต่างหาก ที่เรานำมาพินิจพิจารณา แล้วนำมาสอนตนจะทำให้เราดีขึ้นได้ เรื่องกิน อยู่หลับนอน อะไรๆ พระพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงบัญญัติไว้หมดแล้ว ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไรกับกินเจ ไม่กินเจ กินเนื้อ ไม่กินผัก กินแต่ผักไม่กินเนื้อ อันไหนกินได้ ฉันได้ ท่านก็บัญญัติไว้หมดแล้ว

ถ้าท่านคิดว่าการกินแต่ผักทำให้ท่านเลิศเลอเป็นผู้วิเศษขึ้นมาได้ อันนี้ผมก็สุดปัญญาที่จะสอนท่าน ถ้าการกินแต่ผักอย่างท่านว่า เป็นผู้บริสุทธิ์สิ้นกิเลสจบพรหมจรรย์ได้ มนุษย์ไม่ได้สิ้นกิเลสหรอกวัวควายเป็นต้นนั่นแหละมันจะสิ้นก่อน เพราะมันไม่ได้กินเนื้อ มันกินแต่ผักแต่หญ้า เต็มปากเต็มพุงมันกินแต่ผักแต่หญ้า ทำไมลูกมันถึงเต็มท้องไร่ทุ่งนา
อ่านเพิ่มเติม

ในวันที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตบรรลุธรรมขั้นสูงสุด

ในวันที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตบรรลุธรรมขั้นสูงสุด
คัดจากโครงการหนังสือบูรพาจารย์
ท่านหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้เขียนบรรยายตามที่ท่านได้ฟังมาจากหลวงปู่มั่นโดยตรงดังนี้

ในเวลาไม่นานนักนับแต่ท่าน(หลวงปู่มั่น) ออกรีบเร่งตักตวงความเพียรด้านมหาสติมหาปัญญา ซึ่งเป็นสติปัญญาธรรมจักรหมุนรอบตัวและรอบสิ่งที่เกี่ยวข้องไม่มีประมาณตลอดเวลา
ในคืนวันหนึ่งเวลาดึกสงัด ท่านนั่งสมาธิภาวนาอยู่ชายภูเขาที่มีหินพลาญกว้างขวางและเตียนโล่ง อากาศก็ปลอดโปร่งดี ท่านว่าท่านนั่งอยู่ใต้ร่มไม้ซึ่งตั้งอยู่โดดเดี่ยวเพียงต้นเดียวมีใบดกหนาร่มเย็นดี ซึ่งในตอนกลางวันท่านก็เคยอาศัยนั่งภาวนาที่นั้นบ้างในบางวัน…นับแต่ตอนเย็นไปตลอดจนถึงยามดึกสงัดของคืนวันนั้น ท่านว่าใจมีความสัมผัสรับรู้กับปัจจยาการคือ อวิชชาปัจจยาสังขาร เป็นต้นเพียงอย่างเดียว ทั้งเวลานั่งเข้าที่ภาวนาจึงทำให้ท่านสนใจจุดนั้น โดยมิได้สนใจกับธรรมหมวดอื่นใด ตั้งหน้าพิจารณาอวิชชาอย่างเดียวแต่แรกเริ่มนั่งสมาธิภาวนา โดยอนุโลมกลับไปกลับมาอยู่ภายใน อันเป็นที่รวมแห่งภพชาติ กิเลสตัณหา มีอวิชชาเป็นตัวการ
อ่านเพิ่มเติม

ฝนมหัศจรรย์ ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๗) ตอนจบ

ฝนมหัศจรรย์

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๗) ตอนจบ

?

พอจวนถึงวันงานฌาปนกิจท่าน พระเณรและประชาชนต่างก็หลั่งไหลมาจากทุกทิศทุกทาง

ทั้งใกล้และไกลจนเจ้าหน้าที่คอยต้อนรับแทบเป็นลมรับไม่หวาดไม่ไหว หาที่พักให้ไม่พอ

กับจำนวนคนและจำนวนพระเณรที่มาวัดต่าง ๆ ในตัวจังหวัดเต็มหมด ส่วนประชาชนนั้นพัก

แน่นโรงแรมทุกแห่ง ที่พักอยู่ตามทุ่งนาก็มีเป็นหมื่น เป็นกองเกวียนคาราวานมาจากถิ่นต่าง ๆ

เหมือนงานนมัสการพระธาตุพนมไม่มีผิด พระธุดงค์ที่มาจากป่าจากเขาจำนวนพัน ๆ

รูปนั้นกางกลดอยู่ในป่ารอบ ๆ วัดมองเห็นกลดขาวเปรี๊ยะไปทั้งป่า
อ่านเพิ่มเติม

ดับขันธ์ ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๖)

ดับขันธ์

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๖)

ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 หน้าแล้งตกประมาณเดือนมีนาคม ปี 2492 พระอาจารย์มั่นเริ่มป่วยและเริ่มลาวัฏฏสังสาร อาการเริ่มแรกมีไข้และไอผสมกันเล็กน้อย ต่อมาอาการไข้ก็กำเริบไปทั้งวันทั้งคืน บรรดาศิษย์ทั้งหลายก็ถวายหยูกยาให้ฉัน แต่พระอาจารย์มั่นไม่ยอมฉัน และยังแสดงความรำคาญเวลาสาธุชนหลั่งไหลนำหยูกยาต่าง ๆ มาถวาย

ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวว่า เวลานี้อาตมาอายุจะเต็ม 80 ปีแล้ว อาการป่วยไข้ครั้งนี้เป็นไข้คนแก่เฒ่าชะแรแก่ชราธรรมดาของโลก ถึงเวลาที่สังขารร่างกายของอาตมาจะหมดสิ้นการสืบต่อใด ๆ แล้วเมื่อสามปีก่อนอาตมาเคยบอกไว้ว่า อายุ 80 จะลาสังขารจากโลกนี้ไป บัดนี้ก็ถึงเวลาที่จะไปแล้วขอให้ทุกคนอย่าได้เศร้าโศกเสียใจอาลัยเลย หยูกยาขนานใดจะมารักษาอาตมาก็ไม่มีทางหายหรอก มีแต่ฟืนสำหรับเผาเท่านั้นจะเข้ากันได้สนิทกับสังขารอาตมา
อ่านเพิ่มเติม

พุทโธ คือ หัวใจ ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต ?(ตอนที่ ๓๕)

พุทโธ คือ หัวใจ

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต ?(ตอนที่ ๓๕)

พุทโธ เป็นเพียงบาทฐานยานพาหนะของจิต คือทำให้จิตเกิดพลังงานตามหลักกรรมฐาน เพื่อที่จะก้าวไปสู่วิปัสสนา

คือการจัดระบบจิตให้บริสุทธิ์โดยถาวร เพื่อแยกความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกิเลศให้ขาดจากกันเพื่อทำให้เกิดการสุดสิ้น การเกิด

การดับ การสืบต่อ นั่นคือ มรรคผล นิพพาน

สมถะกับวิปัสสนาต่างกันที่ตัวหนังสืออย่างหนึ่ง ต่างกันที่อารมณ์อย่างหนึ่ง

** สมถะเขียนอย่างหนึ่งและมีอารมณ์ 40 อย่าง

** ส่วนวิปัสสนาเขียนอีกอย่างหนึ่งและมีปรมัตถ์คือรูปนามเป็นอารมณ์

ท่านที่เข้าใจไปว่า พระอาจารย์มั่นบริกรรมแต่พุทโธตามแนวสมถกรรมฐาน หาใช่เป็นพระวิปัสสนากรรมฐานแต่อย่างใด อ่านเพิ่มเติม

ทุกขสัจจะ ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๔)

ทุกขสัจจะ
ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๓๔)

สุขภาพของพระอาจารย์มั่น นับวันยิ่งทรุดโทรมลง ถิ่นที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่ชุกชุมไปด้วยไข้ป่ามาลาเรีย พระเณรและ
ประชาชนที่หลั่งไหลไปกราบเยี่ยม ?ท่านตั้งสั่งให้รีบกลับถ้าจวนเข้าหน้าฝน แต่ถ้าเป็นหน้าแล้งก็อยู่ได้นานหน่อย
พระเณรเป็นไข้ป่ากันมาก ใครเป็นเข้าแล้วก็ลำบากต้องใช้ความอดทนต่อสู้กับโรค เพราะยาแก้ไขไม่มีใช้กันเลยใน
วัดเนื่องจากยาหายาก ไม่เหมือนสมัยทุกวันนี้ ถ้าใครเป็นไข้ป่าเข้า พระอารย์มั่นจะสั่งให้ใช้ธรรมโอสถรักษาแทนยา
คือ ให้พิจารณาทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นด้วยสติปัญญาตามแนววิปัสสนาอย่างเข้มแข็งและแหลมคม
ไม่เช่นนั้นก็แก้ทุกขเวทนาไม่ได้ ไข้ไม่สร่างไม่หายได้
ก็ปรากฏว่าด้วยวิธีนี้พระเณรลูกศิษย์ของท่านที่ป่วยไข้ก็มักจะหายไข้ในเวลารวดเร็วแทบทุกรูป
อ่านเพิ่มเติม

วัดป่าสาลวัน ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๓)

วัดป่าสาลวัน

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๓๓)

พระอาจารย์มั่นได้เดินทางออกจากกรุงเทพฯ ขณะที่พักอยู่วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา มีคณะศรัทธายาติโยมเป็นจำนวน

มากมาถามปัญหาธรรมพระอาจารย์มั่นได้ตอบไปเป็นที่ทราบซึ้งถึงใจทุกรายมีคำตอบอยู่ข้อหนึ่งที่น่าสนใจใคร่นำ

มาลงไว้ ณ ที่นี้?

ท่านตอบว่า”อาตมาบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าในเขาคนเดียวแทบตาย สลบไปสามหนและรอดตายมาได้ ไม่เห็นมีใครเอา

มาร่ำลือเลย ครั้นพออาตมาลืมหูลืมตาธรรมะมาบ้างจึงมีคนหลั่งไหลไปหา ร่ำลือกันว่าอาตมาเป็นผู้วิเศษอย่างนั้นอย่าง

นี้ อาตมาไม่ใช่ผู้วิเศษอะไร ใครอยากได้ของดีอาตมาจะบอกให้เอาบุญ ของดีมีอยู่กับตัวเราทุกคนจงพากันปฏิบัติเอา
อ่านเพิ่มเติม

ที่พึ่งแห่งตน ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๒)

ที่พึ่งแห่งตน

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๓๒)

วันหนึ่ง พระมหาเถระผู้ใหญ่ชั้นสมเด็จได้สั่งพระให้มาอาราธนานิมนต์พระอาจารย์มั่นให้ไปเฝ้าเพื่อที่จะสัมโมทนียกถา

โดยเฉพาะ โดยปราศจากพระเณรเข้าไปเกี่ยวข้อง

พระมหาเถระผู้ปราชญ์เปรื่องถามพระอาจารย์มั่นเป็นประโยคแรกว่า

“ท่านอาจารย์มั่นชอบอยู่แต่ผู้เดียวในป่าในเขาไม่ชอบเกี่ยวข้องกังวลกับพระเณรตลอดจนฆราวาส เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา

ท่านไปศึกษากับใครจึงจะผ่านปัญหานั้น ๆ ไปได้ แม้ผมเองอยู่ในกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยนักปราชญ์เจ้าตำรับตำราพอ

ช่วยปัดเป่าข้อข้องใจได้ แต่ในบางครั้งบางคราวยังเกิดความงงงันอั้นตู้ไปได้ ไม่มีใครสามารถช่วยแก้ให้ตกไปได้เลย

ยิ่งท่านอาจารย์มั่นอยู่เฉพาะองค์เดียวในป่าในเขาเป็นส่วนมากตามที่ผมได้ทราบมา เวลาเกิดปัญหาทางธรรมะขึ้นมา

ท่านไปปรึกษาปรารถกับใคร หรือท่านจัดการกับปัญหานั้น ๆ ด้วยวิธีใด นิมนต์อธิบายให้ผมฟังด้วย”
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๑)

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๓๑)

อย่าแยกศีล

“ศีลมีสภาพเช่นไร พระคุณเจ้า” เขาถามอีก “…..อะไรเป็นศีลอย่างแท้จริง”

“ความคิดในแง่ต่าง ๆ อันเป็นไปด้วยความมีสติ รู้สิ่งที่ควรคิดหรือไม่ควร ระวังการระบายออกทางทวารทั้งสาม

คอยบังคับ กาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในขอบเขตของศีลที่เป็นสภาพปกติ ศีลที่เกิดจากการรักษาในลักษณะดังกล่าวมา

ชื่อว่ามีสภาพปกติ ไม่คะนองทางกาย วาจา ใจ ให้เป็นกิริยาน่าเกลียด

นอกจากความปกติดีงามทางกาย วาจา ใจ ของผู้มีศีลถือว่าเป็นศีลเป็นธรรมแล้ว ก็อยากจะเรียกให้ถูกว่า

อะไรเป็นศีลเป็นธรรมที่แท้จริง เพราะศีลกับผู้รักษาศีลแยกกันได้ยาก

ไม่เหมือนตัวบ้านเรือนกับเจ้าของบ้านเรือนซึ่งเป็นคนละอย่างที่พอจะแยกกันออกได้ไม่ยากนักว่า นั่นคือตัวบ้านเรือน
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๐)

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๓๐)

ปัญหานานา

ปัญหาที่คนนำมาถามนั้นมีแปลก ๆ และพิสดาร บางคนคุยว่า เคยถามปัญหาธรรมเอาจนพระมหาเถระเปรียญ 9 หงาย

หลังจนมุมมาแล้ว พระอาจารย์มั่นได้ตอบปัญหาธรรมเป็นที่น่าอัศจรรย์สร้างความพออกพอใจให้ทุกคนโดยทั่วหน้ากัน

บางคนแก่เปรียญเป็นจอมปราชญ์เจ้าตำราถือทิฏฐิมานะหวังจะตั้งปัญหาให้พระอาจารย์มั่นจนมุม ด้วยเห็นว่า

พระอาจารย์มั่นเป็นพระป่าพระบ้านนอกไม่รู้ภูมิรู้เหมือนตน

แต่ก็ถูกพระอาจารย์มั่นตอกเอาจนหน้าม้านไปเหงื่อไหลซิก ๆ เพราะนอกจากจะสามารถโต้ตอบปัญญาธรรม

ได้อย่างรวดเร็ว คล่องแคล่ว อาจหาญ ในธรรมจนแทบฟังไม่ทันแล้ว ท่านยังใช้เจโตปริยญาณพูดดักใจ

สามารถล่วงรู้ได้หมดว่าผู้ถามปัญหากำลังคิดอะไรอยู่และในอดีตเคยคิดอะไรบ้าง เคยทำอะไรมาบ้างในด้าน

ปฏิบัติธรรม?พอเจอคนจริงเข้าแบบนี้ คนถามปัญหาก็หมดสิ้นทิฏฐิมานะนั่งตัวสั่นขอขมาโทษท่านด้วยความ

ละอาย และเกรงกลัวบารมีธรรมของท่านแทบว่าจะเป็นลมสลบไปต่อหน้าท่านเสียให้ได้

? อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๙)

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๙)

?ออกจากป่า

ประมาณเดือนพฤษภาคม 2482 ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ซึ่งเป็นลูกศิษย์มาตั้งแต่เล็ก

ได้เดินทางไปเชียงใหม่ เข้าพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง เพื่อรอพบพระอาจารย์มั่นที่จะออกมาจากบำเพ็ญธุดงควัตรในป่าตาม

ที่ได้นัดหมายไว้ล่วงหน้าทางจดหมายหลายฉบับแล้ว

เพื่ออาราธนาพระอาจารย์มั่นกลับคืนสู่แดนอีสานบ้านเกิดเมืองนอนเสียที เพราะพระอาจารย์มั่นจากมา

หลายปีเต็มที ทำให้พระเณรและญาติโยมพุทธบริษัทคณะศรัทธาลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลายคิดถึงขาดที่พึ่งทางใจ

เมื่อพระอาจารย์มั่นออกจากป่ามาถึงวัดเดีย์หลวงแล้วก็พักอยู่ 6 – 7 คืน

?วัดเจดีย์หลวง

ขณะที่พระอาจารย์มั่นพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงเตรียมจะเดินทางกลับอีสานนี้ คณะศรัทธาชาวเชียงใหม่ที่มีความเลื่อมใสใน

ท่าน ได้พร้อมกันอาราธนานิมนต์ให้ท่านพักจำพรรษาอยู่นาน ๆ เพื่อโปรดชาวเชียงใหม่ แต่ท่านรับนิมนต์ไม่ได้ เพราะ

ได้รับนิมนต์ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ไว้เรียบร้อยแล้วที่จะกลับคืนสู่อีสาน
อ่านเพิ่มเติม

พบพุทโธวิเศษ ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๘)

พบพุทโธวิเศษ

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๘)

ทีนี้นับตั้งแต่ชาวป่าคนนั้นได้เห็นพุทโธหรือธรรมกายในใจตนเองแล้ว เรื่องก็กระจายไปทั่วหมู่บ้านในไม่ช้า ทำให้ชาวบ้าน

ต่างก็พากันเร่งภาวนาพุทโธไปตาม ๆ กันเพราะอยากจะได้ดวงแก้วพุทโธบ้าง เพราะเกิดความเชื่อถือเลื่อมใส?

พระอาจารย์มั่นมาก เรื่องที่สงสัยว่าท่านจะเป็นเสือเย็นหรือเสือสมิงก็หายไป ไม่มีใครกล้ากล่าวถึงอีกเลย

นับแต่นั้นมา เวลาท่านออกบิณฑบาตพวกชาวบ้านต่างก็พากันใส่บาตรเป็นแถวและติดตามส่งบาตรรพากันขอศึกษาธรรม

เพิ่มเติมกับท่านทุกวัน อาหารการขบฉันที่เคยขาดแคลนก็กลายเป็นความสมบูรณ์ขึ้น ชาวป่ายังช่วยกันสร้างกระท่อม

มุงหลังคาใบไม้ให้เป็นกุฏิที่พักถากถางป่ารกรุงรังให้เป็นที่เดินจงกรม
อ่านเพิ่มเติม

พุทโธหาย ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๗)

พุทโธหาย

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๗)

พอได้เวลาบ่ายวันนั้น ชาวบ้านก็พากันมาจริง ๆ พวกเขาถามว่า ตุ๊เจ้านั่งหลับตานิ่ง ๆ และเดินกลับไปกลับมาทั้งกลางวัน

กลางคืนมาเป็นเวลาหลายวันแล้ว ตุ๊เจ้านั่งและเดินหาอะไร พระอาจารย์มั่นตอบว่า

“พุทโธหาย เรานั่งและเดินหาพุทโธ”

“พุทโธ เป็นตัวยังไง รูปร่างสูงต่ำดำขาวยังไงจะให้ชาวบ้านช่วยหาให้ได้ไหม” หัวหน้าหมู่บ้านถามด้วยความสงสัย

พระอาจารย์มั่นตอบว่า “ พุทโธ ที่ว่านี้ เป็น ดวงแก้วอันวิเศษ สุดประเสริฐ ใครได้ไว้แล้วจะโชคดี ถ้าพวกสูจะช่วยเราหาให้

พบก็ยิ่งดีใหญ่ จะได้เห็นพุทโธเร็ว ๆ”

“พุทโธ ของตุ๊เจ้าหายมานานแล้วหรือ” ผู้เฒ่าอาวุโสของหมู่บ้านถามบ้าง
อ่านเพิ่มเติม

กลายเป็นเสือเย็น ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๖)

กลายเป็นเสือเย็น

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๖)

ครั้งหนึ่ง พระอาจารย์มั่นกับพระลูกศิษย์หนึ่ง ได้เดินธุดงค์ข้ามเขาหลายลูก และไปพักอยู่ชายเขาแห่งหนึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านชาวเขา

ราวสองกิโลเมตร โดยพักอยู่ใต้ร่มไม้ เวลาฝนตกลงมาก็เปียกโชกแต่ก็ทนเอาไม่เดือนร้อนไม่สนใจเพราะทนได้

ตอนเช้าพากันเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านชาวเขา พวกชาวเขาเห็นท่านเข้าไปบิณฑบาตก็ถามว่า ตุ๊เจ้ามาธุระอะไร? ท่านบอกว่ามา

บิณฑบาต เขาถามว่า มาบิณฑบาตคืออย่างไร? พวกเขาไม่เขาใจ เขาเคยรู้จักพระเหมือนกัน แต่ไม่รู้จักขนบธรรมเนียมของพระ ท่าน

บอกว่าบิณฑบาตก็คือพระมาขอแบ่งข้าวจากชาวบ้านไปกิน เขาถามว่าจะเอาข้าวสารหรือข้าวสุก? ท่านตอบว่าข้าวสุก

เขาก็บอกกันต่อ ๆ ไปให้เอาข้าวสุกมาใส่บาตรท่าน เมื่อได้ข้าวแล้วท่านก็พาพระลูกศิษย์กลับมายังร่มไม้ที่พัก และฉันข้าวเปล่า ๆ อยู่
อ่านเพิ่มเติม

จิตอิทธิฤทธิ์ ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๕)

จิตอิทธิฤทธิ์

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๕)

พระอาจารย์มั่นมีนิสัยจิตผาดโผดมาตั้งแต่ดั้งเดิม นับตั้งแต่เริ่มออกปฏิบัติกรรมฐานใหม่ ๆ แล้ว จิตผาดโผนของท่านที่ว่านี้คือ เป็นจิต

อยากรู้อยากเห็นช่างคิดช่างค้นคว้า มีความอาจหาญยอมตายถึงไหนถึงกัน ขอให้ได้แสวงหาเพื่อที่จะรู้ สิ่งที่อยากรู้ให้รู้แจ้งเห็นจริง

จนถึงที่สุด จิตผาดโผนอยากรู้อยากเห็นของท่านเป็นนิสัยนี้เอง ทำให้ท่านเป็นพระอริยเจ้าฝ่าย “เจโตวิมุติ” มีฤทธิ์มาก

ทรงอภิญญา 6 คือ สำเร็จอรหันต์โดยการปฏิบัติทางสมถะกรรมฐานจนได้ “ฌาน”

แล้วใช้อำนาจฌานสมาบัติเป็นบาทฐานปฏิบัติวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์ผล

พระอรหันต์ฝ่ายเจโตวิมุตินี้มีฤทธิ์มากกว่าพระอรหันต์ฝ่าย “ปัญญาวิมุติ” ที่หลุดพ้นโลกบรรลุธรรมด้วยดวงปัญญาล้วน ๆ
อ่านเพิ่มเติม

พระอรหันต์ ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๔)

พระอรหันต์

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๔)

ครั้นแล้ววันคืนอันสำคัญก็มาถึง ในคืนวันหนึ่งดึกสงัด พระอาจารย์มั่นนั่งสมาธิภาวนาอยู่ชายภูเขาที่มีหินพลาญกว้างขวางเตียนโล่ง

อากาศหลอดโปร่งเยือกเย็นสบาย มีต้นไม้ใหญ่ร่มครื้มตั้งอยู่โดดเดี่ยวต่างกลดกันน้ำค้างและฝน

พระอาจารย์มั่นนั่งสมาธิอยู่ ณ ที่นี้มาตั้งแต่ตอนเย็นแล้ว จิตของท่านสัมผัสรับรู้อยู่กับปัจจยาการคืออวิชชาปัจจยาสังขารา

เป็นต้นเพียงอย่างเดียว ทั้งในเวลาเดินจงกรมตอนหัวค่ำทั้งเวลานั่งเข้าที่ภาวนา ท่านสนใจพิจารณาในจุดนั้น โดยมิได้สนใจกับ

หมวดธรรมอื่นใด ตั้งหน้าพิจารณาอวิชชาอย่างเดียวแต่แรกเริ่มนั่งสมาธิภาวนา โดยอนุโลมปฏิโลมกลับไปกลับมาอยู่ภายในอันเป็น

ที่รวมแห่งภพชาติ กิเลสตัณหา มีอวิชชาเป็นตัวการ

เริ่มแต่สองทุ่มที่ออกจากทางจงกรมแล้วเป็นต้นไป ตอนนี้ท่านว่าเป็นตอนสำคัญมาก ในการรบของท่านระหว่างมหาสติมหา
อ่านเพิ่มเติม

สัญญาพาหลง ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๓)

สัญญาพาหลง

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๓)

ความเห็นด้วยสัญญาพาให้ผู้เห็นมีอารมณ์มาก มักเสกสรรค์ตัวว่า มีความรู้มากทั้งที่กำลังหลงมาก จึงมีทิฏฐิมานะมากไม่ยอมลงใครง่าย

ๆ เราพอทราบได้เวลาสนทนาธรรมกันในวงนักศึกษา ที่ต่างรู้ด้วยความจดจำจากตำราด้วยกัน สภาธรรมมักจะกลายเป็นสภามวยฝึปาก

ทุ่มเถียงกันหน้าดำหน้าแดงกันอยู่เสมอ โดยไม่จำกัดชาติชั้นวรรณะและเพศวัยเลย เพราะความสำคัญตนพาให้เป็นไป

ปัญญา พาเห็น

ส่วนความเห็นด้วยปัญญาเป็นความเห็นซึ่งพร้อมที่จะถอดถอนความสำคัญมั่นหมายต่าง ๆ อันเป็นตัวกิเลสทิฏฐิมานะน้อยใหญ่ออกไป
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .