มาร ๕› สมเด็จพระญาณสังวร

มาร ๕›
สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

พระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดาที่เราทั้งหลายได้สวดสรรเสริญพระคุณ หรือกำหนดใจสรรเสริญพระคุณ ด้วยบทว่า พุทโธ อยู่เป็นประจำ และแม้ในการทำสมาธิก็กำหนดจิตว่า พุทโธ ไปพร้อมกับลมหายใจเข้าออกเป็นต้น พุทโธ พระผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จึงเป็นบทพระพุทธคุณที่เราทั้งหลายได้กล่าวเรียกถึง หรือกำหนดใจถึงพระพุทธเจ้า ก็คือพุทโธนี้เอง จึงเป็นคำที่เราทั้งหลายรู้จัก และเข้าใจว่าหมายถึงองค์สมเด็จพระบรมศาสดา

แต่ว่าความเข้าใจนั้นย่อมมีต่างๆ กัน เข้าใจด้วยความรู้ทางตาทางหู คือได้อ่านได้ฟังเรื่องพระพุทธเจ้าพระพุทธศาสนา อันนับว่าเป็นปริยัติ และได้รู้จักเข้าใจด้วยการปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอน โดยย่อก็คือปฏิบัติในศีลสมาธิปัญญา และรู้จักเข้าใจด้วยผลของการปฏิบัติ

จนถึงขั้นที่ตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา หรือผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม ดั่งนี้ อันเป็นความรู้ความเห็นขั้นผลของการปฏิบัติ อันกล่าวได้ว่าเป็นขั้นธรรมจักษุดวงตาเห็นธรรม
อ่านเพิ่มเติม

อหิราชสูตรบรรยาย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

อหิราชสูตรบรรยาย
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๒ ฉบับที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
จะแสดงบทสวดมนต์ในเจ็ดตำนาน ได้แสดงมาแล้ว ๓ ตำนาน ถึงตำนานที่ ๔ บทสวดเป็นนิคมคาถา คือคาถาที่สุดท้ายของอหิราชสูตร ให้ราชสูตรนี้ได้แสดงว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวัน อันเป็นอารามของอนาถปิณฑิกคหบดีสร้างถวายในกรุงสาวัตถี โดยสมัยนั้นภิกษุรูปหนึ่งได้ถูกงูขบกัดถึงแก่มรณภาพ ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมากจึงได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าภิกษุรูปหนึ่งแห่งกรุงสาวัตถีถูกงูกัดตาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นมิได้แผ่จิตมีเมตตาไปยังตระกูลแห่งพญางูทั้ง ๔ เป็นแน่ ก็ถ้าภิกษุนั้นพึงแผ่จิตมีเมตตาไปยังพญางูทั้ง ๔ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาลกิริยา ตระกูลพญางูทั้ง ๔ ก็คือ
อ่านเพิ่มเติม

แสวงหาตน พระนิพนธ์.สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

แสวงหาตน
พระนิพนธ์.สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ในครั้งพุทธกาล เมื่อพระเจ้ามหากัปปินะทรงสละราชสมบัติ เสด็จออกจากรัฐของพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรง
ขออุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบทให้เป็นภิกษุแล้วฝ่ายพระเทวีของ
พระองค์มีพระนามว่าอโนชา ได้เสด็จติดตามไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงสอดส่ายพระเนตรหาพระราชาว่าจะประทับอยู่
ไหน ในหมู่พระพุทธสาวกที่นั่งแวดล้อมพระพุทธองค์อยู่นั้น เมื่อไม่ทรงเห็น ก็กาบทูลถามพระพุทธองค์ว่า ได้
ทรงเห็นพระราชาบ้างหรือ พระพุทธองค์ได้ตรัสถามว่า ทรงแสวงหาพระราชาประเสริฐ หรือว่าแสวงหาพระองค์
เอง (ตน) ประเสริฐพระนางจึงทรงได้สติกราบทูลว่าแสวงหาตนประเสริฐ ทรงสงบพระทัยฟังธรรมได้ อ่านเพิ่มเติม

นิทานสุภาษิต : คุณศีล สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

นิทานสุภาษิต : คุณศีล
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

ทรงเรียบเรียง

นานมาแล้ว เมื่อพระเจ้าพรหมทัตต์ครองราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี ปุโรหิตของพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นผู้มีนิสัยน้อมไปในทาน มีอัธยาศัยมั่นคงอยู่ในศีล รักษาเบญจศีลให้บริสุทธิ์ ไม่ขาดวิ่นเป็นพากพื้น
พระราชาทรงทำความยกย่องนับถือราชปุโรหิตนั้นใหญ่ยิ่งกว่าพราหมณ์อื่นๆ ราชปุโรหิต นั้นคิดว่า พระราชานี้ ทรงทำความยกย่องนับถือเราใหญ่ยิ่งกว่าพราหมณ์อื่นๆ ทรงเห็นเราเป็นครูที่ควรสักการะเคารพมากเกินที่จะเปรียบ
พระองค์ทรงทำความยกย่องนับถือฉะนี้ เพราะเราถึงพร้อมด้วยโคตร สกุลประเทศ และศิลปะ กระมังหนอ? หรือเพราะเราถึงพร้อมด้วยศีล เราจักทดลองดุให้รู้แน่จึงวันหนึ่ง ราชปุโรหิตนั้นไปสู่ที่เฝ้าพระราชาแล้ว เมื่อจะกลับไปเรือน ไม่บอกเหรัญญิก (คนรักษาเงิน)คนใดคนหนึ่งให้ทราบ หยิบเงินกหาปณะหนึ่งจากที่เก็บเอาไปเฉยๆ
เหรัญญิกไม่พูดว่ากระไร นั่งนิ่งอั้นอยู่ เพราะมีความเคารพในพราหมณ์ วันรุ่งขึ้น ราชปุโรหิตนั้นหยิบเอาสองกหาปณะ เหรัญญิกก็อดกลั้นเอาไว้ ยังไม่พูดกระไรเหมือนวันแรกวันที่ ๓ ราชปุโรหิตนั้น เอามือกอบกหาปณะเต็มกำ ทีนี้เหรัญญิกเหลือทน พูดโพล่งออกไปว่า ท่านปล้นราชทรัพย์ ครบ ๓ วันเข้าวันนี้แล้ว จึงร้องตะโกนขึ้น ๓ ครั้งว่า จับโจรปล้นราชทรัพย์ได้แล้ว
อ่านเพิ่มเติม

เกร็ด คำสอนสมเด็จพระสังฆราช

เกร็ด คำสอนสมเด็จพระสังฆราช

ภัยที่เกิดแก่พระพุทธศาสนา 1

อันตรายที่จะเกิดกับ พระพุทธศาสนานั้นไม่เกิดจากผู้ใดอื่น เกิด จา

กผู้นับถือพระพุทธศาสนาเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจักเกิดจากพระภิกษุ สามเณร ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการรักษาเทิดทูนพระพุทธ

ศาสนาให้คุณอันล้ำเลิศดำรงอยู่ ปรากฏเด่นชัดแก่โลก รูปใดไม่ทำหน้าที่ เทิดทูนคุณของพระพุทธศาสนาให้ปรากฏ แต่กลับทำให้เกิด

ความรู้สึกตรงกันข้าม รูปนั้นเป็นผู้ทำลายพระพุทธศาสนาซึ่งบาปหนักนักหนา ยิ่งกว่าบาปใดทั้งนั้น ชีวิตนี้น้อยนัก อีกไม่นานก็จะพากัน

ทิ้งชาตินี้ไปสู่ชีวิตหน้า ที่ยาวนาน พ้นจะประมาณได้ นับภพชาติไม่ถ้วน ชีวิต หน้าจะสูงจะต่ำจะดีจะชั่วเพียงใดอยู่ที่การทำชีวิตนี้

เป็นพระก็ให้เป็นพระดี ทำหน้าที่สืบพระทุทธศาสนาให้มั่นคงสูงส่งปรากฏแก่โลกยั่งยืนนาน สอนเขาด้วยกาย คือด้วยการปฏิบัติตนดีงาม

ตามพระพุทธบัญญติ สอนเขาด้วยวาจา คือด้วยการพูดที่เป็นธัมมะจริง สอนเขาด้วยใจคือด้วยการอบรมเมตตาให้มีในใจจนแผ่ออกไป

ช่วยเขาได้ เป็นที่พึ่งของเขาได้
อ่านเพิ่มเติม

พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร สมเด็จพระญาณสังวร

พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร
สมเด็จพระญาณสังวร
[?What Did Buddha Teach ?]

คำนำ
สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ทรงมีพระปรารภว่านักเรียนนักศึกษา ตลอดถึงข้าราชการผู้ที่ไปศึกษาต่อหรือไปรับราชการ ณ ต่างประเทศ ควรจะมีหนังสือแนะแนวคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาเป็นคู่มือ สำหรับอ่านเพื่อให้เกิดความรู้เป็นแนวทางสำหรับปฏิบัติตนเอง และเพื่ออธิบายให้บรรดามิตรชาวต่างประเทศ ผู้ต้องการจะทราบเข้าใจได้ถึงหลักธรรมบางประการในพระพุทธศาสนา จึงอาราธนา พระสาสนโสภณ (สุวฑฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร ให้เรียบเรียงเรื่อง “พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร” ในแนวความโดยพระประสงค์ในพากษ์ภาษาไทย และทรงอาราธนาให้พระขนติปาโล (Laurence C.R.Mills)?วัดบวรนิเวศวิหาร กับพระนาคเสโน วัดเบญจมบพิตร แปลเป็นภาษาอังกฤษขึ้นก่อน และโปรดให้พระยาศรีวิสารวาจา พันตำรวจโท เอ็จ ณ ป้อมเพ็ชร์ และนายจอห์น โบลแฟลด์ ตรวจแปลเรียบเรียงขึ้นอีกโดยตลอด จนเป็นที่พอพระหฤทัยในพากษ์ภาษาอังกฤษแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดพิมพ์ขึ้น เนื่องในวาระดิถีวันคล้ายวันประสูติ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๐
วังสระปทุม
๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๐
อ่านเพิ่มเติม

มาร ๕?(๒) ›››››สมเด็จพระญาณสังวร

มาร ๕?(๒)
›››››สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
การปฏิบัติพระพุทธศาสนา กล่าวโดยย่อก็เพื่อประโยชน์ ๓ ประการ คือประโยชน์ปัจจุบันอันเรียกว่า?ทิฏฐธัมมิกัตถะ?ประโยชน์ที่บังเกิดขึ้นในธรรมะคือข้อที่เห็นได้ อันหมายถึงว่าเห็นได้ในปัจจุบัน?สัมปรายิกัตถะ?ประโยชน์ภายหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง อันเรียกว่า?ปรมัตถะ?อันหมายถึงมรรคผลนิพพาน คือธรรมะที่ตัดกิเลสและกองทุกข์ ได้บางส่วนจนถึงสิ้นเชิง

ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภายหน้า

พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน อันเรียกว่าฆราวาส ให้ปฏิบัติในประโยชน์ปัจจุบัน และประโยชน์ภายหน้า ทรงสั่งสอนบรรพชิตคือผู้บวชในพุทธศาสนา ตลอดจนถึงฆราวาส คฤหัสถ์
ผู้มุ่งประโยชน์ที่สูงขึ้นไป ให้ปฏิบัติในธรรมะอันเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างยิ่ง คือมรรคผลนิพพาน อันเรียกว่า?ปรมัตถประโยชน์?นั้น
อ่านเพิ่มเติม

ปัญญาเห็นธรรม?ความเวียนเกิดเวียนตาย ›››››สมเด็จพระญาณสังวร

ปัญญาเห็นธรรม?ความเวียนเกิดเวียนตาย
›››››สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์

อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

?บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

การได้ปัญญาในธรรมนั้นก็เป็นการได้ปัญญาในธรรมตามพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าแสดงตามพุทธประวัติ พระองค์ทรงได้ปัญญาในธรรมด้วยพระองค์เอง ดั่งที่เรียกว่าได้ตรัสรู้พระธรรม จึงได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้า ดังที่มีแสดงไว้ในพุทธประวัติว่า ในราตรีที่พระโพธิสัตว์ คือพระสิทธัตถะราชกุมาร ซึ่งได้เสด็จออกทรงผนวช และจะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้านั้น ได้ทรงชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร ตั้งแต่ในเวลาก่อนพระอาทิตย์ตกหรืออัสดง

ดังที่เราทั้งหลายคงจะได้เคยเห็นภาพพระพุทธเจ้าผจญมาร ที่เขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้า ประทับอยู่บนที่ประทับตรงกลาง และเป็นภาพ

มารบนช้าง?คิริเมขละ?พร้อมทั้งเสนามาร ยกเข้ามาผจญพระพุทธเจ้า ด้วยศัตราวุธเป็นอันมากด้านหนึ่ง และเป็นภาพแม่ธรณีบิดมวยผมน้ำท่วมพระยามารและเสนา ต้องจมน้ำพ่ายแพ้ไปอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นภาพแสดงพระพุทธเจ้าผจญมารเป็นรูปธรรม
อ่านเพิ่มเติม

นิวรณ์ข้อพยาบาท ››››› สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

นิวรณ์ข้อพยาบาท
›››››
สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์

อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

?บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

อันตรายแห่งการปฏิบัติสมาธิก็คือนิวรณ์ ที่แปลว่ากิเลสเป็นเครื่องกั้นจิตไว้ ทำไม่ให้ได้สมาธิ ไม่ให้ได้ปัญญา และนิวรณ์ข้อที่ ๑ คือกามฉันท์ความพอใจรักใคร่ในกามได้แสดงแล้ว ในวันนี้จะแสดงข้อที่ ๒ คือพยาบาท

คำว่าพยาบาทนั้นในที่นี้มีความหมายถึง ทั้ง?ปฏิฆะ?ความกระทบกระทั่งใจ ความขัดใจ?โกธะ?ความโกรธ?โทสะ?ความประทุษร้ายใจ และพยาบาท?คือความปองร้าย ความมุ่งร้ายหมายล้างผลาญ คือหมายรวมถึงกิเลสกองโทสะทั้งหมด

แต่ว่าชื่อของกิเลสกองโทสะดังที่กล่าวมานี้มีลักษณะที่ต่างกัน ตั้งแต่อย่างอ่อน จนถึงอย่างหยาบช้ากล้าแข็ง ที่เป็นอย่างอ่อนเป็นเบื้องต้น ก็ได้แก่ปฏิฆะคือความกระทบกระทั่งใจ ความขัดใจ อันเนื่องมาจากความประสบกับอนิษฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาทั้งหลาย เช่นว่า

?ทราบว่าคนนั้นคนนี้นินทาว่าร้าย ได้ยินคนนั้นคนนี้ด่าว่า ได้ถูกคนนั้นคนนี้ประหัตประหาร ประทุษร้ายร่างกาย ได้ถูกคนนั้นคนนี้เอาชนะ ได้ถูกคนนั้นคนนี้ลักขโมยสิ่งของ ดั่งนี้เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม

อังคุลิมาลปริตรบรรยาย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

อังคุลิมาลปริตรบรรยาย

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๒ ฉบับที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑

จะเล่าตำนานที่ ๗ ประกอบด้วยอังคลิมาลปริตร และโพชฌังคปริตร ๒ พระปริตร และอันที่จริงก็ ๒ ตำนาน แต่ว่าเพราะบท

สวดเป็นบทสวดสั้นไม่ยาว จึงใช้สวดรวมกันคือต่อกันไป และก็นับเป็นตำนานเดียว เพื่อให้ตัวเลขเป็นเลข ๗ หรือ ๗ ตำนาน

สำหรับอังคุลิมาลปริตร คือพระปริตรชื่อว่าอังคุลิมาล หรือ องคุลิมาล ได้มาจากอังคุลิมาลสูตร พระสูตรเกี่ยวแก่เรื่องพระองคุลิ

มาล อันมีมาในพระสุตตันตปิฎกในพระไตรปิฎกมัชฌิมนิกาย คือเป็นพระสูตรขนาดปานกลาง มีความว่า

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในอารามของอนาถปิณฑิกคหบดี อันชื่อว่าเชตวัน ในกรุงสาวัตถี สมัยนั้นได้มีโจรชื่อว่าองคุ

ลิมาล ในแว่นแคว้นโกศลของพระเจ้าโกศล เป็นโจรที่ดุร้าย มือเปื้อนเลือดฆ่าฟันประหัตประหารมนุษย์ทั้งหลาย โดยที่ไม่มีความ

เอ็นดูในหมูมนุษย์ทั้งหลาย เป็นเหตุให้ชาวบ้าน ชาวอำเภอ ชาวชนบทต้องพากันอพยพทิ้งถิ่นที่อยู่ ไปอาศัยอยู่ในที่อื่น องคุลิมาล

โจรนั้นฆ่ามนุษย์ทั้งหลาย แล้วก็ตัดเอานิ้วมาร้อยเป็นพวง เรียกว่าพวงแห่งนิ้วมือ สวมคอ จึงเรียกว่าองคุลิมาล ผู้แปลว่ามีพวงของ

นิ้วมือ ยังไม่มีใครปราบได้
อ่านเพิ่มเติม

สติรู้ลมหายใจ สมเด็จพระญาณสังวร ?สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สติรู้ลมหายใจ

สมเด็จพระญาณสังวร ?สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ?วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอร

หันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำ

สมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม ?จิตนี้ย่อมดิ้นรนกวัดแกว่งกระสับกระส่าย รักษายากห้ามยาก แต่บุคคลผู้ทรงปัญญา

ย่อมทำจิตให้ตรงได้ เหมือนอย่างช่างศรดัดลูกศร เพราะฉะนั้น ทุกคนจึงสมควรเป็นผู้ทรงปัญญา และมีสติคอยดัดจิตของตนให้ตรง

เพราะว่าจิตที่ดิ้นรนกวัดแกว่งกระสับกระส่ายนี้ ก็คือดิ้นรนไปในอารมณ์ คือเรื่องทั้งหลาย ที่เข้ามาทางตาทางหูเป็นต้น ตลอด

จนถึงคิดนึกทางใจอยู่ตลอดเวลา บรรดาเรื่องทั้งปวงเหล่านี้ บางอย่างก็เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี
อ่านเพิ่มเติม

พระโอวาทวันวิสาขบูชา สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระโอวาทวันวิสาขบูชา

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกประทานพระโอวาท

เนื่องในวันวิสาขบูชาทรงแนะยึดพระรัตนไตรเป็นแนวทางดำเนินชีวิต

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระโอวาทเนื่องในวันวิสาขบูชา

ประจำปีพุทธศักราช 2553 ความว่า

วันวิสาขบูชา เป็นวันที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และ

ปรินิพพาน พระองค์ทรงเป็นพระบรมศาสดาผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระคุณอันประเสริฐ 3 ประการ คือ

พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ต่อทวยเทพ มวลมนุษย์และสรรพสัตว์

เนื่องด้วยพระพุทธศาสนามีคุณูปการอันใหญ่หลวง ซึ่งอำนวยประโยชน์เกื้อกูลความเจริญรุ่งเรือง และความสงบร่มเย็นแก่นานา

อารยชนมาตลอดระยะเวลากว่า 2,500 ปี ฉะนั้น เมื่อวันวิสาขบูชา พุทธศักราช 2553 มาถึง ควรที่เราทั้งหลายจะได้ทำการบูชา และ

น้อมรำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระธรรม และพระอริยสงฆ์ เพื่อน้อมนำมาเป็นที่พึ่งของตน เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

ดำเนินชีวิต เพื่อความสวัสดีและความสงบร่มเย็นแก่เพื่อนร่วมโลกสืบไป

ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและบุญกุศล อำนวยให้ทุกท่านเจริญด้วยสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒนชัยมงคงตลอดไปโดยทั่วกัน

ขอบคุณที่มา : www.posttoday.com

http://www.watpanonvivek.com/index.php/section-table/2012-07-14-12-23-28/2279-2010-05-27-21-02-56

มูล กรรมฐาน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

มูล กรรมฐาน

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระ

ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์ พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจ

สำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม สติปัฏฐานเป็นหลักปฏิบัติทั้งเพื่อสติ และทั้งเพื่อญาณคือความหยั่งรู้ หรือปัญญาความรู้ทั่วถึง และนำให้ตั้งอยู่ใน

ศีลได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อจิตตั้งไว้ดีแล้ว อาการทางกายวาจาตลอดถึงใจก็ย่อมจะเป็นไปดี และก็ชื่อว่าเป็นผู้อัน

ธรรมะรักษา? ธรรมะนั้นก็แปลว่าทรงไว้ ดำรงไว้ โดยตรงก็คือทรงดำรงจิตใจนี้เองให้ตั้งอยู่โดยชอบ ถ้าไม่มีธรรมะ

รักษาให้ตั้งอยู่โดยชอบ จิตใจนี้ก็ย่อมจะตกต่ำลงได้โดยง่าย ถ้าเทียบเหมือนอย่างร่างกาย ก็ทรงร่างกายอยู่ไม่ได้

เหมือนคนที่เป็นลมล้มลง ทรงร่างกายไว้ไม่ได้ หรือไม่เป็นลมล้มลง บางทีก็หกล้มหกคะเมน ทรงตัวอยู่ไม่ได้ ฉะนั้น

แม้ร่างกายเองจะทรงหรือดำรงอยู่ได้ก็ต้องมีกำลังสำหรับที่จะทรงกาย โดยมีชีวิตเป็นเครื่องดำรงอยู่เป็นหลักแกน

เมื่อมีชีวิตดำรงอยู่เป็นหลักแกนกับมีกำลังสำหรับที่จะดำรงกาย จึงดำรงกายอยู่ได้ เดินได้ ยืนได้ นั่งได้ นอนได้ ลุก

ขึ้นอีกได้ โดยเสรีคือตามประสงค์
อ่านเพิ่มเติม

ทุกขสัจจะ สมุทัยสัจจะ สรุปมรรค ๘ จาก แนวปฏิบัติทางจิต เทศน์ ของ สมเด็จพระญาณสังวร

ทุกขสัจจะ สมุทัยสัจจะ สรุปมรรค ๘

จาก แนวปฏิบัติทางจิต

เทศน์ ของ สมเด็จพระญาณสังวร

วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๕

(ทุกขสัจจะ)

การปฏิบัติอบรมทางปัญญานั้น โดยปริยาย คือ ทางอันหนึ่ง ก็คือ การพิจารณาในสัจจะทั้งสี่ อันเป็นหลักใหญ่ที่พระพุทธเจ้าได้

ตรัสรู้ และได้ทรงแสดงสั่งสอนไว้ คือ ทุกขสัจจะ? สภาพที่แท้จริงคือทุกข์ เป็นต้น และในทุกขสัจจะนั้น ก็ให้พิจารณาไปตาม

พระพุทธาธิบายโดยลำดับก่อนว่า

ชา ติปิ ทุกฺขา? ความ เกิดเป็นทุกข์

ชรา ปิ ทุกฺขา? ความแก่ เป็นทุกข์

มรณ มฺปิ ทุกฺขํ? ความ ตายเป็นทุกข์

โสก ปริเทวทุกฺขโทมนสฺ สุปายาสาปิ ทุกฺขา

ความไม่สบาย กาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์

อปฺปิ เยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข

ความ ประจวบกับสิ่งที่ ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์

ปิ เยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข
อ่านเพิ่มเติม

ตน อันเป็นที่รักยิ่งของตน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ตน อันเป็นที่รักยิ่งของตน

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

1. จิตของบัณฑิต ย่อมไม่หวั่นไหว บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญ

พุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้แปลความว่า “ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและ

สรรเสริญ ฉันนั้น” พระพุทธองค์ทรงเปรียบบัณฑิตดังภูเขาหินแท่งทึบ เหตุด้วยบัณฑิตไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ นั่นคือ

ทรงแสดงว่าบัณฑิตมีคุณลักษณะของภูเขา คือ มีความหนักแน่น ความแข็งแกร่ง ความผนึกติดกับพื้นฐานใหญ่มั่นคง คือ ความดี

ความมีสติปัญญา“บัณฑิต” ในพระพุทธศาสนา หายถึง คนดีมีปัญญา ผู้เป็นคนดี มีปัญญาเพียงพอย่อมรู้ธรรม ย่อมเชื่อมั่นใน

กรรม ย่อมไม่หวั่นไหว เมื่อมีผู้เจรจาส่งเสริมเพื่อให้สูงขึ้นย่อมรู้ว่า “กรรม” คือ “การกระทำ” ความประพฤติปฏิบัติของตนเองเท่า

นั้นที่จะเหยียบย่ำตนให้ต่ำลงได้ หรือส่งเสริมตนให้สูงขึ้นได้ ผู้ใดอื่นหาทำได้ไม่ นินทาก็ตาม สรรเสริญก็ตาม ไม่อาจทำได้ ทั้งเพื่อ

ให้คนต่ำลงหรือสูงขึ้น สำหรับบัณฑิต นินทาและสรรเสริญจึงย่อมทำให้เกิดเมตตาในผู้นินทา และกตัญญูรู้น้ำใจผู้สรรเสริญเพียงเท่า

นั้น มิได้ทำให้หวั่นไหวแต่อย่างใด บัณฑิตเป็นผู้ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม จิตใดที่เป็นจิตของบัณฑิต คือ ผู้มีปัญญาในธรรม
อ่านเพิ่มเติม

การสวดมนต์ พระนิพนธ์.สมเด็จพระญาณ สังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

การสวดมนต์

พระนิพนธ์.สมเด็จพระญาณ สังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ธรรมจักษุ ปีที่ ๘๐ ฉบับที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๙

คำว่า “มนต์” นั้น ถ้าแปลตามศัพท์ที่ใช้เป็นภาษาพูดทั่วไป แปลว่าปรึกษาหารือ แต่ว่านำมาใช้เป็นบทสวด ก็หมายความว่า เป็นบทสวดที่บริสุทธิ์หรือที่ศักดิ์สิทธิ์ เราใช้กันในภาษาไทยเป็นที่เข้าใจกัน ธรรมเนียมสวดมนต์ของพระสงฆ์ได้มีธรรมเนียมสวดในเวลาเช้า กับในเวลาเย็นหรือ ค่ำ บทสวดนั้นที่เป็นบทสวดประจำก็เรียกว่าทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น หรือทำวัตรค่ำ สำหรับสวดมนต์ตอนเช้าหรือทำวัตรเช้านั้น ก็กำหนดเวลาต่าง ๆ กัน โบราณพระตื่นสวดมนต์กันตั้งแต่ตีสี่ และในบัดนี้ยังใช้สวดกันเช้ามืดตีสี่ก็มีแต่มีน้อย สวดเช้าก่อนออกบิณฑบาตก็มี บิณฑบาตกลับมาแล้วสวดมนต์ก่อนแล้วจึงฉันก็มี ฉันแล้วสวด เช่นว่าเวลาสองโมงเช้าอย่างวัดนี้ (วัดบวรนิเวศฯ) ก็มี สวดมนต์ตอนเย็นหรือตอนค่ำนั้นใช้สวดกันเวลาห้าโมงเย็นก็มี หกโมงเย็นก็มี ทุ่มหนึ่งก็มี สองทุ่มก็มีอย่างวัดนี้ แม้ว่าจะกำหนดเวลาต่างกัน ก็คงใช้ประชุมกันสวดมนต์เวลาเช้าเวลาหนึ่ง เวลาเย็นหรือค่ำอีกเวลาหนึ่ง? บทสวดมนต์ประจำทุกวันที่เรียกว่าทำวัตรคือทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำนั้น ก็เป็นธรรมเนียมที่สืบเนื่องมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ พระสงฆ์สาวกก็เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในเวลาเช้าก็ทำวัตร ทำวัตรก็คือทำการปฏิบัติ เช่น ถวายน้ำสำหรับที่จะบ้วนพระโอษฐ์ สรงพระพักตร์ อย่างที่ทุกคนก็ต้องมีการแปรงฟัน ล้างหน้า บ้วนปากและกิจอื่น ๆ ทำวัตรก็คือการปฏิบัติอย่างสัทธิวิหาริก ก็ทำอุปัชฌายวัตร อันเตวาสิก ก็ทำอาจาริยวัตร คือ ศิษย์ทำการปฏิบัติอุปัชฌาย์อาจารย์ ดังที่วัดนี้มีธรรมเนียมทำสักแต่ว่าเป็นประเพณี คือเมื่อพระภิกษุบวชใหม่แล้วก็นำเอาน้ำ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระอุปัชฌาย์หรืออาจารย์ ก็เป็นการไปแสดงทำอุปัชฌายวัตรคือทำการปฏิบัติพระอุปัชฌาย์ หรือว่าอาจาริยวัตรทำการปฏิบัติพระอาจารย์ อันที่จริงนั้นก็ไปทำกันทุกวัน แต่ว่าในวัดนี้เป็นธรรมเนียมที่ให้ทำเพียงครั้งเดียว แล้วอนุญาตว่าไม่ต้องไปทำอีก เพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียนกัน ?ในครั้งพุทธกาลนั้นพระภิกษุสงฆ์ก็มีธรรมเนียมเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทำวัตรคือ ทำการปฏิบัติพระองค์ในเวลาเช้า แต่ว่าก็ปรากฏว่าได้มีพระภิกษุที่เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำพระองค์ มักจะองค์หนึ่ง แต่ว่าในตอนแรกนั้นก็คงจะมีการผลัดเปลี่ยนกัน ไม่มีองค์ไหนอยู่ประจำตลอดเวลานาน จนถึงท่านพระอานนท์เถระได้รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐาก คือพระภิกษุผู้บำรุงพระพุทธเจ้า พระอานนท์ท่านก็ได้ทำหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำพระองค์มาจนถึงเสด็จดับ ขันธปรินิพพานท่านก็ได้ทำการปฏิบัติบำรุงพระพุทธเจ้าเป็นพุทธอุปัฏฐากประจำ พระองค์ตลอดมา
อ่านเพิ่มเติม

อวิชชา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

อวิชชา
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระสาสนโสภณ?(สุวฑฺฒโน)

บัดนี้ความรู้วิชาการต่าง ๆ ในโลกเจริญขึ้นมาก มนุษย์เราสามารถสร้างพาหนะนำตนไปถึงดวงจันทร์ได้?(เมื่อศกที่แล้วพ.ศ.?๒๕๑๒) ?

วิชาเหล่านี้เป็นวิชาทางโลก หรือวิชาภายนอก

ส่วนวิชาภายในหรือวิชชา คือความรู้สัจจะ?(ความจริง)?ภายในตนเองจะยังบกพร่องอยู่ทั่ว ๆ ไป จึงปรากฏว่า คนโดยมากแม้มีความรู้

ทางศิลปวิทยาต่าง ๆ มาก แต่ก็ยังขาดความรู้ในตนเอง ดังจะเรียกว่ายังมีอวิชชาที่แปลตามศัพท์ว่า?”ความไม่รู้”

“อวิชชา” ?ที่แปลว่าไม่รู้นี้ มิได้หมายความว่าไม่รู้อะไรเลย เหมือนอย่างก้อนดินก้อนหิน แต่หมายถึงรู้ อะไร ๆ เหมือนกัน แต่รู้ผิดจาก

ความจริง หรือรู้ไม่จริง ก็เท่ากับไม่รู้

เพราะที่เรียกว่า?”รู้ ๆ”?นั้น ควรเป็นรู้จริง?(รู้?+?จริง)?จึงจะชื่อว่ารู้ และเพื่อให้ชัดขึ้น จึงแปลแบบอธิบายว่า??ความไม่รู้ในสัจจะ คือความ

จริง หรือสภาพที่จริง กล่าวสั้นว่า ความไม่รู้จริง
อ่านเพิ่มเติม

พระ สูตรที่ว่าด้วยสุญญตา (๓) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระ สูตรที่ว่าด้วยสุญญตา (๓)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิตในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆท่าน ตั้งใจนอบน้อมนมัสการพระผู้

มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจ

สำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟังเพื่อให้ได้ปัญญาในธรรมได้แสดง สุญญตาคือความว่าง ที่พระบรม

ศาสดาได้ตรัสถึงพระองค์เองว่าทรงอยู่โดยมากด้วยสุญญตาวิหาร ธรรมะเครื่องอยู่คือสุญญตาความว่างทั้งเมื่อก่อน

แต่นี้ และทั้งในเวลานี้คือเวลาที่ตรัสเล่าเรื่องนี้และพระองค์ก็ได้ทรงแสดงถึงวิธี ปฏิบัติสุญญตา คือความว่าง ตั้งแต่

เบื้องต้นขึ้นไปโดยลำดับ ก็โดยที่บุคคลสามัญทั่วไปนั้นในขณะที่อยู่เฉยๆ มิได้ทำอะไรในบางคราว ก็รู้สึกว่าว่างอัน
เป็นที่รำคาญ ไม่ผาสุกแต่หากให้ทำอะไรต่างๆรู้สึกว่าไม่ว่าง ก็ทำให้เพลินไปในการงานต่างๆ ที่ทำนั้นแต่อันที่จริง
อ่านเพิ่มเติม

พระสูตรที่ว่าด้วยสุญญตา ๒ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณานายก

พระ สูตรที่ว่าด้วยสุญญตา ๒

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณานายก

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้

มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจ

สำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม ได้แสดงสติปัฏฐานทั้ง ๔ กาย เวทนา จิต

ธรรม ก็กายเวทนาจิตธรรมนี้เองเมื่อยังมีความยึดถือว่าเป็นเราเป็นของเรา ก็เท่ากับว่าเป็นบ้าน เป็นหมู่คนชายหญิง

เป็นกามคุณ หรือวัตถุกามที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย แต่เมื่อได้ใส่ใจกำหนดว่าเป็นสักแต่ว่ากาย สักแต่ว่า

เป็นเวทนา สักแต่ว่าเป็นจิต สักแต่ว่าเป็นธรรม ระงับความใส่ใจกำหนดยึดถือต่างๆ ดังกล่าว กายเวทนาจิตธรรมนี้ก็เท่า

กับว่าเป็นป่า ป่ากาย ป่าเวทนา ป่าจิต ป่า ธรรม กายเวทนาจิตธรรมสักแต่ว่าเป็นธาตุ และเมื่อได้กำหนดละลายกาย
อ่านเพิ่มเติม

การภาวนา? พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

การภาวนา?

พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

การเจริญภาวนานั้น เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด และยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีล
มากนัก การเจริญภาวนานั้น มี ๒ อย่าง คือ (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) และ (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) แยก
อธิบายดังนี้ คือ

(๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
สมถภาวนา ได้แก่ การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาณ ซึ่งก็คือ การทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยัง
อารมณ์อื่น ๆ วิธีภาวนานั้น มีมากมายหลายร้อยชนิดซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า “กรรมฐาน

๔๐” ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างสมอบรมมาแต่ใน

อดีตชาติ เมื่อสร้างสม อบรมมาในกรรมฐานกองใดจิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่น ๆ และการเจริญภาวนาก็ก้าว

หน้าเร็วและง่าย แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อน คือ

หากเป็นฆราวาสก็จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณรก็จะต้องรักษาศีล ๑๐ หากเป็นพระก็จะต้องรักษาศีลปาฏิโมกข์

๒๒๗ ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาดและด่างพร้อย จึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .