ขรก.-ปชช.ยะลาร่วมไว้อาลัยสมเด็จพระญาณสังวร

ขรก.-ปชช.ยะลาร่วมไว้อาลัยสมเด็จพระญาณสังวร

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 25 ตุลาคม 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศ หลังสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สิ้นพระชนม์ โดยที่ศาลากลางจังหวัดยะลา เหล่าข้าราชการ ประชาชนในพื้นที่ จ.ยะลา ได้ร่วมแต่งกายในชุดสีดำ เพื่อเป็นการไว้อาลัยในการสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก รวมทั้งส่วนราชการต่างๆในพื้นที่ ก็ได้ลดธงชาติลงครึ่งเสา เพื่อเป็นการถวายความอาลัยด้วย

ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 24 ต.ค. 56 รัฐบาลโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้รับทราบด้วยความโทมนัสอย่างยิ่ง และได้พิจารณาเห็นว่า โดยที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้บำเพ็ญสรรพกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ยิ่งแก่บวรพระพุทธศาสนา และการปกครองคณะสงฆ์ในสังฆมณฑล ตลอดจนพุทธศาสนิกชนชาวไทย จึงให้สถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถานศึกษาทุกแห่ง ลดธงครึ่งเสา เป็นเวลา 3 วันตั้งแต่วันที่ 25-27 ต.ค. 56 และให้ข้าราชการ ลูกจ้างพนักงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ไว้ทุกข์ 15 วัน นับตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2556 ถึงวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2556 นี้

http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=699717

ปชช.แน่นรพ.จุฬาฯน้อมอาลัยสมเด็จพระสังฆราช

ปชช.แน่นรพ.จุฬาฯน้อมอาลัยสมเด็จพระสังฆราช

พุทธศาสนิกชน เฝ้ารอกราบพระศพ สมเด็จพระสังฆราช เพื่อน้อมอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ขณะที่ บรรยากาศเป็นไปอย่างโศกเศร้า ขณะที่ 12.00 น. จะมีการเคลื่อนขบวนพระศพ เพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลพระศพที่ วัดบวรนิเวศวิหาร

บรรยากาศที่ บริเวณตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร ร.พ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นอาคารที่ประทับใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ขณะนี้ เหล่าพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก รวมทั้ง คณะแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ เดินทางมาร่วมเฝ้ารอ เข้ากราบส่งเสด็จ สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทางโรงพยาบาล ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนและบุคคลทั่วไปสามารถเข้ากราบถวายสักการะ เพื่อน้อมอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ที่บริเวณ ชั้น 6 ด้านหน้าห้องที่วางพระศพ ก่อนที่ ในเวลา 12.00 น. สำนักพระราชวัง จะมีการเคลื่อนขบวนพระศพ ออกจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลพระศพที่ วัดบวรนิเวศวิหาร ต่อไป

ซึ่งบรรยากาศกาศโดยทั่วไปในขณะนี้เป็นไปอย่างโศกเศร้า ประชาชนต่างแต่งกายด้วยชุดขาว ดำ เข้าไว้อาลัย จำนวนมาก โดยมีการเข้าแถวยาวไปถึง ริมถนนราชดำริ ด้านหน้าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ขณะเดียวกัน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมาก คอยดูแลรักษาความปลอดภัย

นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย เกี่ยวกับกำหนดพระราชพิธีของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ว่า เบื้องต้นในเวลาประมาณ 12.00 น. วันนี้ จะเชิญพระศพจาก ร.พ.จุฬาลงกรณ์ ไปประดิษฐานที่ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศ โดยประชาชนสามารถเฝ้ารับเสด็จได้ ตามเส้นทางขบวนเสด็จ จากนั้นเมื่อเชิญพระศพไปประดิษฐานแล้ว จะเปิดให้มีพิธีสรงพระศพ หน้าพระรูป อาคารมนุษยนาควิทยาทาน ภายในวัดบวรนิเวศ ส่วนพระราชพิธี ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นผู้แทนพระองค์ ในเวลา 17.00 น.

ด้านบรรยากาศที่วัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าหน้าที่กรมโยธาธิการและผังเมือง เตรียมสถานที่ประดิษฐานพระศพ สมเด็จพระสังฆราช ที่ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร ทั้งนี้ได้ห้ามสื่อมวลชนเข้าพื้นที่ และขอความร่วมมือประชาชนงดถ่ายภาพพระศพเด็ดขาด

http://news.voicetv.co.th/thailand/83857.html

พุทธศาสนิกชนร่วมตักบาตรฉลองพระชันษา100 ปี’พระสังฆราช’

พุทธศาสนิกชนร่วมตักบาตรฉลองพระชันษา100 ปี’พระสังฆราช’

ประชาชนทั่วประเทศร่วมประกอบพิธีทำบุญตักบาตรเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระสังฆราชฯ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ เจริญพระชันษา 100 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วันนี้(3ต.ค.56)บรรยากาศโดยรอบอาคารวชิรญาณ สามัคคีพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก มีพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก เดินทางมาร่วมกิจกรรม เนื่องในโอกาสมหามงคล สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเจริญพระชนมายุ 100 พรรษา 3 ตุลาคม 2556 โดยเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเสด็จออกรับบาตรจากศิษยานุศิษย์ และประชาชนทั่วไป ที่ชั้น 6 อาคารวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร โดยมีศิลปิน ดารา นักร้อง ร่วมรณรงค์รับบริจาคเงินผ้าป่าสามัคคี 84,000 กอง ที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงมีพระกรุณาธิคุณเป็นประธานจัด เพื่อโดยเสด็จพระกุศลให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับพระภิกษุ สามเณรอาพาธ และผู้ป่วยทั่วไป ให้อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์
อ่านเพิ่มเติม

‘สมเด็จพระสังฆราช’ สิ้นพระชนม์แล้ว

‘สมเด็จพระสังฆราช’ สิ้นพระชนม์แล้ว

รพ.จุฬาลงกรณ์แถลงสมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์เมือเวลา 19.30 น.พระชันษา 100 ปี เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต โดยจะมีการเคลื่อนพระศพไปประดิษฐานพระศพตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหารในวันที่ 25 ต.ค.นี้ เวลา 12.00 น. ส่วนเวลา 08.00 น.จะเปิดให้พุทธศาสนิกชนเข้าแสดงความอาลัยต่อสมเด็จพระสังฆราชฯ ที่รพ.จุฬาฯ

ด้านนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเข้าสักการะพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ภายหลังจากคำแถลงการณ์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก พระอาการทรุดลง และได้สิ้นพระชนม์ลงแล้ว เมื่อเวลา 19.30 น. สาเหตุเนื่องจากการติดเชื้อในพระกระแสพระโลหิต

โดยวันพรุ่งนี้ (25 ต.ค.) จะเปิดให้ประชาชนกราบสักการะพระศพเป็นครั้งสุดท้าย. ที่ตึกวชิรณาณ สามัคคีพยาบาร ตั้งแต่เวลา 9.00-12.00 น. จากนั้นจะเคลื่อนพระศพไปยังอาคารมนุษยนาควิทยาทาน วัดบวรนิเวศวิหาร เวลา 13.00 น. ในชั้นนี้ประชาชนสามารถเข้าสักการะพระศพได้ นอกจากนี้ยังประกาศไว้ทุกข์ 15 วัน และลดธงครึ่งเสา เป็นเวลา 3 วัน

แถลงการณ์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เรื่องพระอาการประชวร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ขณะประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ฉบับที่ 9

วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษารายงานว่า สมสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระอาการโดยรวมทรุดลง ได้สิ้นพระชนม์ลงแล้ว เมื่อเวลา 19.30 น.ของวันนี้ สาเหตุเนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต

จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

24 ตุลาคม พุทธศักราช 2556

http://news.voicetv.co.th/thailand/86084.html

พระประวัติสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระประวัติสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

Pipat วันพฤหัสที่ 24 ตุลาคม 2556
ข่าวทั่วไป, ข่าวเด่นประจำวัน

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 เป็นบุตรคนโตของนายน้อย คชวัตร และนางกิมน้อย คชวัตร ชาวกาญจนบุรี พระองค์มีน้องชาย 2 คน ได้แก่ นายจำเนียร คชวัตร และนายสมุทร คชวัตร บิดาของพระองค์ป่วยเป็นโรคเนื้องอกและเสียชีวิตไปตั้งแต่พระองค์ยังเล็ก หลังจากนั้น พระองค์ได้มาอยู่ในความดูแลของป้าเฮงซึ่งเป็นพี่สาวของนางกิมน้อยที่ได้ขอพระองค์มาเลี้ยงดู

เมื่อพระชันษาได้ 8 ปี ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จนจบชั้นประถม 5 (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. 2468 ในขณะที่มีพระชันษา 12 ปี หลังจากนั้น ทรงไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและไม่รู้ว่าจะเรียนที่ไหน ทรงเล่าว่า “เมื่อเยาว์วัยมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาด กลัวต่อคนแปลกหน้า และค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่เคยแยกจากกันเลย” จึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสินพระทัยไปเรียนต่อที่อื่น

บรรพชาและอุปสมบท

เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์นั้นทรงเจ็บป่วยออดแอดอยู่เสมอ โดยมีอยู่คราวหนึ่งที่ทรงป่วยหนักจนญาติ ๆ ต่างพากันคิดว่าคงไม่รอดแล้วและได้บนไว้ว่า ถ้าหายป่วยจะให้บวชเพื่อแก้บน แต่เมื่อหายป่วยแล้ว พระองค์ก็ยังไม่ได้บวช จนกระทั่งเรียนจบชั้นประถม 5 แล้ว พระองค์จึงได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อแก้บนในปี พ.ศ. 2469 ขณะมีพระชันษาได้ 14 ปี ที่วัดเทวสังฆาราม โดยมีพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามเป็นพระอุปัชฌาย์และพระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลารามเป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล
อ่านเพิ่มเติม

แถลงฉ.9สมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์

แถลงฉ.9สมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์เวลา19.30น.
ข่าวราชสำนัก วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2556 20:58น.

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 9 สมเด็จพระสังฆราช ได้สิ้นพระชนม์ลงแล้ว เมื่อเวลา 19:30 นาฬิกา ของวันนี้ สาเหตุเนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 9 เรื่อง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ขณะประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ความว่า

วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษา รายงานว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระอาการโดยรวมทรุดลง ได้สิ้นพระชนม์ลงแล้ว เมื่อเวลา 19:30 นาฬิกา ของวันนี้ สาเหตุเนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต

จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
24 ตุลาคม 2556

อ่านเพิ่มเติม

พระญาณสังวร สมเด็จญาณสังวร สังฆราช ทรงสิ้นพระชนม์!

พระญาณสังวร สมเด็จญาณสังวร สังฆราช ทรงสิ้นพระชนม์!

พระอาการโดยสงบ19.30 น .ติดเชื้อในกระแสพระโลหิต

สิ้นสุดพระสังฆราชองค์ที่19 ไว้ทุกข์-ลดธงครึ่งเสา15วัน

แถลงการณ์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยฉบับที่ 8 เรื่องพระอาการประชวรของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ขณะประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษา เผยพระอาการสมเด็จพระสังฆราชล่าสุดโดยรวมทรุดลงและความดันโลหิตต่ำ แพทย์ถวายยาต่อเนื่อง โดยคณะแพทย์ฯ และพยาบาลได้เฝ้าถวายการตรวจและติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนพุทธศาสนิกชนยังคงทยอยกันเดินทางมาลงนามถวายพระพร สมเด็จพระสังฆราชอย่างต่อเนื่อง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 24 ต.ค. ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาได้ออกแถลงการณ์เรื่อง“พระอาการประชวรของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ขณะประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ฉบับที่ 8” มีใจความดังนี้ วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษารายงานว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระอาการโดยรวมทรุดลง ระดับความดันพระโลหิตอยู่ในเกณฑ์ต่ำลง คณะแพทย์ฯ และพยาบาล ยังคงถวายพระโอสถ และเฝ้าถวายการตรวจและติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่บริเวณโถงชั้นล่าง ตึกอานันทมหิดล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตั้งแต่เวลา 08.00 เป็นต้นมาได้มีประชาชน ตลอดจนคณะบุคคล รวมถึงเจ้าหน้าที่ ทยอยเดินทางมาร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับที่บริเวณชั้น 6 ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ซึ่งเป็นสถานที่ประทับรักษาพระอาการประชวรของสมเด็จพระสังฆราช เมื่อเวลา 07.00 น. ได้มีประชาชนมาถวายภัตตาหารพระสงฆ์ผู้ดูแลสมเด็จพระสังฆราช พร้อมร่วมสักการะพระพุทธรูป และลงนามถวายพระพรให้พระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวร โดยผู้ที่มาลงนามถวายพระพรจะได้รับแจกพระรูปสมเด็จพระสังฆราช พร้อมกับหนังสือพระนิพนธ์ชีวิตนี้น้อยนัก แต่ชีวิตนี้สำคัญนัก เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 100 พรรษา และล็อกเกตด้วย โดยทุกคนที่มีโอกาสมาต่างพร้อมใจกันอธิษฐานจิตขอพรให้พระองค์มีพระพลานามัยแข็งแรง อย่างไรก็ตามประชาชนยังสามารถเดินทางมาร่วมลงนามถวายพระพรได้จนถึงเวลา 17.00 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศช่วงเที่ยงที่บริเวณโถงชั้นล่าง ตึกอานันทมหิดล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตลอดช่วงเช้าที่ผ่านมาได้มีประชาชน ตลอดจนคณะบุคคล อาทิ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ .ทบ.) นำแจกันดอกไม้มาถวาย และ น.พ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายกิตตินันท์ ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ กทม. นายสรจักร เกษมสุวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทการบินไทย และคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์การแพทย์และอนามัยในพระองค์ 904 โครงการรักสายใยครอบครัว มาลงนามถวายพระพรสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกอย่างต่อเนื่อง

ส่วนบรรยากาศที่บริเวณตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ซึ่งเป็นสถานที่ประทับรักษาพระอาการประชวรของสมเด็จพระสังฆราชก็ยังมีประชาชนมาลงนามอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

นางวิภาศิริ มะกรสาร รองประธานสภาสตรีแห่งชาติ กล่าวว่า ตั้งใจเดินทางมาสวดมนต์และอธิษฐานจิตขอพรให้พระองค์หายจากพระอาการประชวร ส่วนตัวได้น้อมนำหลักพรหมวิหาร 4 และคำสอนของพระองค์มาใช้เป็นแบบแผนในการทำงานและดำเนินชีวิตเสมอมา

ต่อมาเมื่อเวลา 21.00 วันเดียวกันนี้ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 9 ระบุว่า วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษารายงานว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระอาการโดยรวมทรุดลง ระดับความดันพระโลหิตอยู่ในเกณฑ์ต่ำลง และสิ้นพระชนม์ลงเมื่อเวลา 19.30 น.ด้วยพระอาการติดเชื้อในพระกระแสโลหิต

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456—ปัจจุบัน) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ปัจจุบันทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา 100 ปี

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 เป็นบุตรคนโตของนายน้อย คชวัตร และนางกิมน้อย คชวัตร ชาวกาญจนบุรี พระองค์มีน้องชาย 2 คน ได้แก่ นายจำเนียร คชวัตร และนายสมุทร คชวัตร บิดาของพระองค์ป่วยเป็นโรคเนื้องอกและเสียชีวิตไปตั้งแต่พระองค์ยังเล็ก หลังจากนั้น พระองค์ได้มาอยู่ในความดูแลของป้าเฮงซึ่งเป็นพี่สาวของนางกิมน้อยที่ได้ขอพระองค์มาเลี้ยงดู

เมื่อพระชันษาได้ 8 ปี ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จนจบชั้นประถม 5 (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. 2468 ในขณะที่มีพระชันษา 12 ปี หลังจากนั้น ทรงไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและไม่รู้ว่าจะเรียนที่ไหน ทรงเล่าว่า “เมื่อเยาว์วัยมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาด กลัวต่อคนแปลกหน้า และค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่เคยแยกจากกันเลย” จึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสินพระทัยไปเรียนต่อที่อื่น

เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์นั้นทรงเจ็บป่วยออดแอดอยู่เสมอ โดยมีอยู่คราวหนึ่งที่ทรงป่วยหนักจนญาติ ๆ ต่างพากันคิดว่าคงไม่รอดแล้วและได้บนไว้ว่า ถ้าหายป่วยจะให้บวชเพื่อแก้บน แต่เมื่อหายป่วยแล้ว พระองค์ก็ยังไม่ได้บวช จนกระทั่งเรียนจบชั้นประถม 5 แล้ว พระองค์จึงได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อแก้บนในปี พ.ศ. 2469 ขณะมีพระชันษาได้ 14 ปี ที่วัดเทวสังฆาราม โดยมีพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามเป็นพระอุปัชฌาย์และพระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลารามเป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล ภายหลังบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม 1 พรรษาและได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม หลังจากนั้น พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ได้พาพระองค์ไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร และนำพระองค์ขึ้นเฝ้าถวายตัวต่อสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ต่อมา คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร พระงอค์ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี”[2] จนกระทั่ง พระชันษาครบอุปสมบทจึงทรงเดินทางกลับไปอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามเมื่อ พ.ศ. 2476 ภายหลังจึงได้เดินทางเข้ามาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อทรงศึกษาพระธรรมวินัยและที่วัดบวรนิเวศวิหารนี่เอง พระองค์ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุติกนิกาย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

ช่วงปี พ.ศ. 2547 หลังจากที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ประชวร และประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เข้าร่วมงานพระศาสนาไม่สะดวก มหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรปกครองคณะสงฆ์ ได้แต่งตั้งให้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[11] ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้มีพระบัญชาว่า “ทราบและเห็นชอบ” เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2547 ต่อมา การแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด มหาเถรสมาคมจึงได้แต่งตั้ง คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช โดยประกอบด้วยพระราชาคณะ รวม 7 รูป จากพระอาราม 7 วัด โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ทำหน้าที่ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2556 ที่ผ่านมาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ และประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้มรณภาพลงที่โรงพยาบาลสมิติเวช เมื่อเวลา 08.41 น. เนื่องจากติดเชื้อในกระแสเลือด สิริรวมอายุ 85 ปี 64 พรรษา

ต่อมาเมื่อวันที่ 20 ส.ค.เวลา 14.00 น. ที่อาคารสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) จ.นครปฐม มีการประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ซึ่งมีวาระการพิจารณาคัดเลือกประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อดำรงตำแหน่งแทนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งมรณภาพเมื่อวันที่ 10 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยใช้เวลาการประชุม ประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที

โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปฺญโญ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ เนื่องจากมีความอาวุโสทางสมณศักดิ์สูงที่สุดทุกด้าน และมีความพร้อมทางด้านร่างกายพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้รายงานเรื่องดังกล่าวให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รับทราบเพื่อให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำหนังสือกราบบังคมทูลฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ต่อไป.

มีรายงานว่า เบื้องต้นสำนักพระราชวัง มีคำสั่งให้ ข้าราชการทุกหน่วยราชการ กระทรวง ทบวง กรม ให้ลดธงครึ่งเสาเป็นเวลา 3 วัน ส่วนข้าราชการให้ไว้ทุกข์แต่งชุดดำ 15 วัน ส่วนพระราชพิธีเกี่ยวกับการปลงพระศพและบำเพ็ญพระราชกุศล ต้องรอคำสั่งจากสำนักพระราชวังอย่างเป็นทางการต่อไป.

http://www.banmuang.co.th/

พระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวัฑฒนมหาเถระ) มีพระนามเดิมว่า เจริญ นามสกุล คชวัตร ทรงมีพระชาติภูมิ ณ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ณ วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี แล้วเข้ามาอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนพระชนมายุครบอุปสมบท และทรงอุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๖ โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง วชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ประทับอยู่ศึกษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดมาจนกระทั่งสอบได้เป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๘๔
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงสมณศักดิ์มาโดยลำดับดังนี้ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ พระราชาคณะชั้นราช และพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระโศภณคณาภรณ์ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวราภรณ์ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร และทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๒ นับเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ทรงมีพระอัธยาศัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนมาตั้งแต่ทรงเป็นพระเปรียญ โดยเฉพาะในด้านภาษา ทรงศึกษาภาษาต่าง ๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และ สันสกฤต จนสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี กระทั่งเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระอุปัชฌาย์ของพระองค์ทรงเห็นว่า จะเพลินในการศึกษามากไป วันหนึ่งทรงเตือนว่า ควรทำกรรมฐานเสียบ้าง เป็นเหตุให้พระองค์ทรงเริ่มทำกรรมฐานมาแต่บัดนั้น และทำตลอดมาอย่างต่อเนื่อง จึงทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงภูมิธรรมทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมะ พระจริยาของสมเด็จพระสังฆราช

ธรรมะ พระจริยาของสมเด็จพระสังฆราช

หากจะถามว่าในบรรดาสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทั้งหมด 19 พระองค์ สมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษาถึง 100 ปี มีกี่พระองค์ คำตอบ มีเพียง “หนึ่งพระองค์” เท่านั้น คือ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน คชวัตร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราช องค์ที่ 19

พระจริยวัตรของพระองค์โสภณะงดงามและน่าเลื่อมใสยิ่ง พระเกียรติคุณทั้งก่อนจะได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช และตลอด 25 ปีในตำแหน่งประมุขสงฆ์ไทยได้ผรณาการแผ่ไพศาลทั้งในและต่างประเทศ ทว่าพระจริยาและพระเกียรติคุณมีอเนกอนันต์ มิอาจพรรณนาหมดสิ้น หลายเรื่องเป็นที่ปรากฏ แต่ก็มีหลายเรื่องที่ชาวไทยและพุทธศาสนิกชนอาจไม่เคยได้ยินที่ไหนมาก่อน และเพื่อเทิดพระเกียรติ จึงขอถ่ายทอดพระจริยาและพระเกียรติคุณจากปากของผู้ที่ถวายงานและเคยถวายงาน ใกล้ชิด

แม้สุขภาพกายไม่ดี…แต่ทรงอายุยืน

หากใครที่เคยอ่านพระประวัติของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช จะทราบว่าพระองค์มีพระสุขภาพไม่ค่อยดีตั้งแต่ทรงพระเยาว์ด้วยมีโรคประจำตัว แต่ใครจะคิดว่าพระองค์จะทรงปฏิบัติศาสนกิจโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและยัง เจริญด้วยอายุถึง 100 ปี ทรงมีเคล็ดลับหรือทรงปฏิบัติพระองค์อย่างไร
อ่านเพิ่มเติม

คุณค่าของชีวิตที่ให้ไว้แก่แผ่นดิน (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

คุณค่าของชีวิตที่ให้ไว้แก่แผ่นดิน (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

แม้ว่าเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ จะทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ในสมณเพศมาโดยตลอด แต่ความเป็นไปในพระชนมชีพของพระองค์สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตที่ดีได้สำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ เพราะแก่นแท้ของชีวิตหรือว่าส่วนที่เป็นความดีของชีวิต ที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างในการสร้างความดีให้แก่ตนเองและสังคมนั้นก็คือคุณธรรม และคุณธรรมนั้นไม่ว่าจะเป็นคุณธรรมของบรรพชิตหรือคุณธรรมของคฤหัสถ์ก็คือคุณธรรมอันเดียวกัน เช่น เมตตา กรุณา ไม่ว่าจะเป็นเมตตา กรุณา ที่มีอยู่ในจิตใจของพระหรือมีอยู่ในจิตใจของชาวบ้าน ก็เป็นเมตตา กรุณา อันเดียวกัน

พระประวัติชีวิตและผลงานของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ให้สิ่งที่มีคุณค่าควรแก่การยึดถือเป็นแบบ อย่างของคนทั่วไป อย่างน้อย ๒ ประการคือ ชีวิตแบบอย่าง และปฏิปทาแบบอย่าง

ชีวิตแบบอย่าง

ชีวิตของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ นั้นก็ไม่แตกต่างไปจากชีวิตของคนทั่ว ๆ ไป คือมีทั้งผิด หวังและสมหวัง มีทั้งสำเร็จและล้มเหลว มีทั้งดีใจและเสียใจ แต่โดยที่ทรงมีคุณธรรม หลายประการที่โดดเด่นเป็นแกนหรือเป็นแก่นของชีวิต ชีวิตของพระองค์จึงมีความสมหวัง มากกว่าผิดหวัง มีความสำเร็จมากกว่าความล้มเหลว และมีความดีใจมากกว่าเสียใจกล่าวโดยรวมก็คือ ด้วยคุณธรรมอันเป็นแกนของชีวิตดังกล่าวพระองค์จึงทรงประสบความสำเร็จ หรือทรง เจริญก้าวหน้าไปตามครรลองของชีวิตจนถึงที่สุด ดังเป็นที่ปรากฏอยู่ในบัดนี้ หากวิเคราะห์ ตามที่ปรากฏในพระประวัติ ก็จะเห็นได้ว่า พระคุณธรรมที่โดดเด่นในชีวิตของพระองค์ ก็คือ
อ่านเพิ่มเติม

พระเกียรติคุณ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

พระเกียรติคุณ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

คุณค่าของงาน

งานของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ดังที่ได้นำเสนอมาแต่ต้นนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในหลายด้าน กล่าวคือ

– ในด้านวิชาการ

– ในด้านการศึกษา

– ในด้านการปฏิบัติ

คุณค่าในด้านวิชาการ บทพระนิพนธ์ทางพระพุทธศาสนาของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทุกเรื่อง ล้วนทรงคุณค่าในเชิงวิชาการ เพราะการอธิบายคำสอนของพระพุทธศาสนาใน แต่ละเรื่องแต่ละประเด็นนั้น เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงใช้การวิเคราะห์วิจารณ์อย่างน่าสนใจยิ่ง เช่น ทรงวิเคราะห์คำว่า สัจจะ ธรรม ศาสนา ปัญญา เป็นต้น ทั้งในเชิงพยัญชนะและในเชิงความหมาย ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจคำสอนของพระพุทธศาสนาได้ละเอียดและกว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งการวิเคราะห์ในหลาย ๆ เรื่องของพระองค์ แสดงให้เห็นถึงพระทรรศนะและมุมมองของพระองค์ที่แตกต่างไปจากคนอื่น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลจากการทรงศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างทั่วถึง ลึกซึ้ง ประกอบกับการทรงใช้วิจารณญาณทั้งเชิงปริยัติและเชิง ปฏิบัติตรวจสอบเทียบเคียงกัน จึงทำให้ธรรมาธิบายของพระองค์มีความแจ่มแจ้ง กะทัดรัด และเข้าใจง่าย

ผลงานอันเป็นบทพระนิพนธ์เกี่ยวกับคำสอนในพระพุทธศาสนาของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ที่ทรงคุณค่าในทางวิชาการ เป็นต้นว่า เรื่องลักษณะพระพุทธศาสนา, สัมมาทิฏฐิ, โสฬสปัญหา, ทศบารมี ทศพิธราชธรรม, ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์เหล่านี้ล้วนแสดงคำสอนชั้นสูงของ พระพุทธศาสนา ซึ่งเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้ทรงนำมาอธิบายเชิงวิเคราะห์ เสมือนปอกเปลือกให้เราดูทีละชั้นๆ จากชั้นนอกเข้าไปหาชั้นใน ทำให้เรามองเห็นอรรถหรือความหมายของธรรมที่พระพุทธศาสนา สอนทีละชั้น ๆ อย่างต่อเนื่อง จนสามารถสร้างความเข้าใจในธรรมนั้น ๆ ได้ด้วยปัญญาของตนเอง
อ่านเพิ่มเติม

ผลงาน (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ผลงาน (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

กล่าวได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเป็นพระมหาเถระผู้คงแก่เรียนพระองค์หนึ่งในยุคปัจจุบัน ทรงรอบรู้แตกฉานในพระพุทธศาสนาทั้งในด้านทฤษฎีหรือปริยัติ ทั้งในด้านปฏิบัติ ในด้านปริยัตินั้นทรงสำเร็จภูมิเปรียญธรรม ๙ ประโยคซึ่งเป็นชั้นสูงสุดทางการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย ส่วนในด้านปฏิบัตินั้น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ทรงเป็นพระนักปฏิบัติ หรือที่นิยมเรียกกันเป็น สามัญทั่วไปว่า พระกรรมฐาน พระองค์หนึ่งดังเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่พระนักปฏิบัติและสาธุชน ผู้ไฝ่ใจในด้านนี้ ฉะนั้น ผลงานทางพระพุทธศาสนาของพระองค์จึงนับได้ว่ามีความสมบูรณ์พร้อม เป็นองค์ความรู้ที่มีความชัดเจนทั้งในเชิงทฤษฎีและในเชิงปฏิบัติ เพราะเป็นองค์ความรู้ที่ถูก กรั่นกรองออกมาจากความรู้ความเข้าใจที่มีทฤษฎีเป็นฐาน และมีการปฏิบัติด้วยพระองค์เอง เป็นเครื่องตรวจสอบเทียบเคียง เป็นผลให้องค์ความรู้ที่พระองค์แสดงออกมาทั้งในผลงานที่เป็นบท พระนิพนธ์ ทั้งในผลงานที่เป็นการเทศนาสั่งสอนในเรื่องและในโอกาสต่าง ๆ มีความลึกซึ้ง ชัดเจน และเข้าใจง่าย

ผลงานของพระองค์ที่สมควรนำมากล่าวในที่นี้ เพื่อเป็นแบบอย่างแห่งการสร้างองค์ ความรู้ทางพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านปริยัติและในด้านปฏิบัติ แบ่งได้เป็น ๒ ส่วน คือ ด้านวิชาการ และด้านการสั่งสอนเผยแผ่

ผลงานด้านวิชาการ

เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงเป็นผู้ใคร่การศึกษา ฉะนั้น นอกจากจะทรงศึกษาพระปริยัติธรรม คือศึกษาภาษาบาลี ตามประเพณีนิยมทางพระพุทธศาสนาแล้ว พระองค์ยังสนพระทัยศึกษาภาษาต่างๆ อีกมากสุดแต่จะมีโอกาสให้ทรงศึกษาได้ เช่น ทรงศึกษาภาษาสันสกฤต ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน แต่ส่วนใหญ่โอกาสไม่อำนวยให้ทรงศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง การศึกษา ภาษาต่าง ๆ ของพระองค์จึงต้องเลิกราไปในที่สุด คงมีแต่ภาษาอังกฤษที่ทรงศึกษาต่อเนื่อง มาจนทรงสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งในการพูด การอ่าน และการเขียน และจากความรู้ ภาษาอังกฤษนี้เองที่เป็นหน้าต่างให้พระองค์ทรงมองเห็นโลกทางวิชาการได้กว้างขวางยิ่งขึ้น ไม่จำกัด อยู่เฉพาะโลกทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น เพราะฉะนั้น บทพระนิพนธ์ทางพระพุทธศาสนาของพระองค์ นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความรอบรู้ทางปริยัติและความลึกซึ้งทางปฏิบัติแล้ว บางครั้งพระองค์ก็ ยังทรงนำเอาความรู้สมัยใหม่ด้านต่าง ๆ มาประยุกต์ในการอธิบายพระพุทธศาสนาให้คนร่วม สมัยเข้าใจความหมาย และประเด็นความคิดทางพระพุทธศาสนาได้ชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย
อ่านเพิ่มเติม

หน้าที่พิเศษ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

หน้าที่พิเศษ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

พ.ศ.๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เสด็จออกทรงผนวชเป็น พระภิกษุในพระพุทธศาสนา และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงปฏิบัติสมณธรรมเป็นเวลา ๑๕ วัน จึงทรงลาผนวช

ในการเสด็จออกทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งนี้ นับเป็นเหตุการณ์ สำคัญของชาติและเป็นภารกิจสำคัญของวัดบวรนิเวศวิหารที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการทรงผนวชครั้งนี้ให้ลุล่วงไปด้วยดีสมพระราชประสงค์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระราชอุปัธยาจารย์ในการทรงผนวชครั้งนี้ ได้ทรงเลือกเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระโศภนคณาภรณ์ ให้เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ในการทรงผนวช ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นหน้าที่สำคัญ เพราะจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ถวาย คำแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับการทรงผนวชแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับแต่ก่อนการทรง ผนวชจนตลอดระยะเวลาแห่งการทรงผนวช

การที่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงได้รับเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ ทรงไว้วางพระทัยในพระปฏิปทาและความสามารถของเจ้าพระคุณ สมเด็จ ฯ ว่าจะทรงปฏิบัติที่สำคัญครั้งนี้ได้เรียบร้อยสมบูรณ์ และก็ปรากฏว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้ทรง ปฏิบัติหน้าที่พระอภิบาลสนองพระเดชพระคุณได้เรียบร้อยสมบูรณ์ทุกประการ
อ่านเพิ่มเติม

ด้านสาธารณสงเคราะห์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ด้านสาธารณสงเคราะห์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

การก่อสร้างถาวรวัตถุอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนดังกล่าวมาข้างต้น นับเป็นส่วนหนึ่ง ของงานสาธารณสงเคราะห์ของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ยังมีงานสาธารณสงเคราะห์ของเจ้าพระคุณ สมเด็จ ฯ ในลักษณะอื่น ๆ อีกมากที่ควรนำมากล่าวในที่นี้ คือ

ทรงตั้งกองทุนชื่อว่า “นิธิน้อย คชวัตร” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระชนกชนนีของพระองค์ซึ่ง มีนามว่าน้อยด้วยกัน สำหรับเป็นทุนส่งเสริมการศึกษาของภิกษุสามเณรและเยาวชน เจ้าพระคุณ สมเด็จ ฯ มักทรงปรารภว่า “เราไม่มีโอกาสเรียน จึงอยากส่งเสริมคนอื่นให้ได้เรียนมาก ๆ”

โดยเฉพาะพระชนนี คือนางน้อยนั้น เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้แสดงกตัญญูสนองคุณ โดยนำมาอุปการะดูแลอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลากว่า ๑๐ ปี จนถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๘ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงรักเคารพพระชนนีมาก (พระชนกถึงแก่กรรมตั้งแต่พระองค์ทรงเยาว์วัย) พระชนนีเย็บอาสนะผ้าถวายพระองค์ผืนหนึ่ง แต่ครั้งยังเป็นพระเปรียญเพื่อทรงใช้สอย และทรง ใช้มาตลอด แม้จะเก่าแล้วก็ทรงวางไว้ใต้อาสนะผืนใหม่ที่ทรงใช้ เมื่อทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จ พระสังฆราชแล้ว อาสนะผืนดังกล่าวพระองค์ก็โปรด ให้วางไว้ใต้ที่บรรทม เคยมีเด็กจะเอาไปทิ้ง เพราะเห็นเป็นผ้าเก่า ๆ มีรับสั่งว่า “นั่นของโยมแม่ เอาไว้ที่เดิม” อีกเรื่องหนึ่งที่แสดงถึงความผูกพัน ระหว่างเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ กับพระชนนี คือเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เคยเสวยหมากเป็นประจำ เพราะพระชนนีทำถวายทุกวัน เมื่อพระชนนีถึงแก่กรรม (ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ) ก็หยุดเสวยหมายแต่นั้นมา
อ่านเพิ่มเติม

ด้านการสั่งสอนเผยแผ่ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ด้านการสั่งสอนเผยแผ่ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

การสั่งสอนเผยแผ่ นับเป็นหน้าที่หลักประการหนึ่งของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นหน้าที่ที่พระพุทธเจ้าทรงมอบหมายแก่พระสงฆ์สาวกให้ช่วยกันปฏิบัติ ตั้งแต่เริ่มแรกก่อตั้งพระพุทธศาสนา เพราะเป็นหน้าที่ที่จะสร้างประโยชน์สุขให้แก่ชาวโลก หรือกล่าวอย่างรวม ๆ ก็คือ เป็นหน้าที่เพื่อการอนุเคราะห์โลก ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อ เกิดมีพระสงฆ์สาวกที่เป็นพระอรหันต์ชุดแรกขึ้น ๖๐ รูป หลังจากพระพุทธเจ้าเริ่ม ประกาศพระศาสนาเพียง ๕ เดือน พระพุทธองค์ก็ทรงส่งพระสงฆ์สาวกชุดแรกนั้นออก ไปประกาศพระศาสนาหรือสั่งสอนเผยแผ่พระศาสนาทันที โดยตรัสบอกถึงวัตถุประสงค์ ของการออกไปสั่งสอนเผยแผ่แก่พระสงฆ์สาวกเหล่านั้นว่า “เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”

ลักษณะการสั่งสอนของพระพุทธศาสนานั้นเป็น การเผยแผ่ คือนำความจริงมาเปิดมา แสดงให้ผู้ฟังเห็นตามที่เป็นจริง ฉะนั้น การสั่งสอนของพระพุทธศาสนาตาม หลักการที่พระพุทธองค์ ได้ทรงวางไว้ จึงมิได้มุ่งให้ผู้ฟังเชื่อตาม แต่มุ่งให้ผู้ฟังเกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่สอนอย่างถูก ต้องตามเป็นจริง ส่วนผู้ฟังจะเชื่อหรือไม่เชื่อนั้น ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของเขาเอง หากเขาพิจารณาไตร่ตรองจนเห็นจริง เห็นคุณค่าและประโยชน์ของสิ่งที่สอน เขาก็ย่อมจะเชื่อเองและนำไปใช้นำไปปฏิบัติเอง โดยที่ผู้สอนไม่จำต้องบังคับขู่เข็ญ บูรพาจารย์ทางพระพุทธศาสนาของไทย ซึ่งเข้าใจในหลักการสั่งสอนของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี เมื่อพูดถึงการสั่งสอนพระพุทธศาสนา หรือการประกาศพระพุทธศาสนา ท่านจึงใช้คำว่า เผยแผ่พระพุทธศาสนา เช่น องค์การเผยแผ่ นักเผยแผ่ เป็นต้น ท่านไม่ใช้คำว่าเผยแพร่ ซึ่งมีความหมายเหมือนกับการแพร่ระบาดของโรค ฉะนั้น เรื่องนี้จึงน่าทำความเข้าใจไว้ก่อนแต่เบื้องต้น

เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงทำหน้าที่ด้านการสั่งสอนเผยแผ่อย่างกว้างขวาง การสั่งสอน เผยแผ่ที่นับว่าเป็นภารกิจประจำ ก็คือการอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณรในฐานะที่ทรงเป็นพระอุปัชณาย์อาจารย์ อันเป็นส่วนหนึ่งของการให้การศึกษาดังกล่าวมาแล้วในตอนต้น การเทศนาสั่งสอนอุบาสกอุบาสิกาและพุทธศาสนิกชน ในวันธรรมสวนะหรือวันพระและในโอกาสต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วเช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม

ด้านการปกครอง (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ด้านการปกครอง (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงเริ่มมีหน้าที่ทางการปกครองคณะสงฆ์ นับแต่ พ.ศ.๒๕๐๓ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวราภรณ์ เป็นต้นมา และทรงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ทางการปกครองคณะสงฆ์เพิ่มขึ้นเป็นลำดับมา กล่าวคือ

พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ ซึ่งมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺฐายี ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จ พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช) เป็นสังฆนายก มีหน้าที่บริหารปกครองคณะสงฆ์ ฝ่ายธรรมยุตทั่วราชอาณาจักร

พ.ศ.๒๕๐๔ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตทุกภาคทั่วราชอาณาจักร

พ.ศ.๒๕๐๕ มีการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ คือเลิกพระราชบัญญัติคณสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ ใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แทนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ มหาเถรสมาคมมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน บริหารปกครองคณะสงฆ์ เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ชุดแรกตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับนี้ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ มหาเถรสมาคมตลอดมาทุกสมัย อ่านเพิ่มเติม

ภาระงานในด้านต่าง ๆ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ภาระงานในด้านต่าง ๆ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

สมณศักดิ์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

พ.ศ.๒๔๙๐ พระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญที่ พระโศภนคณาภรณ์ (มีความหมายว่าผู้เป็นอาภรณ์ หรือเครื่องประดับของหมู่คณะอันงาม) ซึ่งเป็นราชทินนามา ที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทาน แก่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นรูปแรก

พ.ศ.๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม

พ.ศ.๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม

พ.ศ.๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมในราชทินนามที่ พระธรรมวราภรณ์ (มีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นอาภรณ์คือเครื่องประดับอันประเสริฐ) ซึ่งเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทาน แก่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นรูปแรกเช่นกัน

พ.ศ.๒๕๐๔ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง (คือรองเจ้าคณะใหญ่ หรือรองสมเด็จพระราชาคณะ) ที่ พระสาสนโสภณ (มีความหมายว่า ผู้งามในพระศาสนา หรือผู้ยัง พระศาสนาให้งาม)

พ.ศ.๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร (มีความหมายว่า ผู้สำรวมในญาณคือความรู้) ซึ่งเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงโปรดให้ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานสถาปนา พระญาณสังวร (สุก) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาเป็นสมเด็จพระราชา คณะเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๙ ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร จึงเป็นตำแหน่งพิเศษ ที่โปรดพระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระเท่านั้น ฉะนั้น นับแต่สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๓ แล้วตำแหน่งที่สมเด็จพระญาณสังวรก็ไม่ทรงโปรด พระราชทานสถาปนาแก่พระเถระรูปใดอีกเลย กระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๕ นับเป็นเวลา ๑๕๒ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน จึงทรงโปรดให้สถาปนาเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ในตำแหน่งที่สมเด็จพระญาณสังวร เป็นรูปที่ ๒ อันเป็นการแสดงให้เป็นที่ปรากฏว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงเป็นพระเถระผู้ทรงคุณทาง วิปัสสนาธุระที่สมควรแก่ราชทินนามตำแหน่งนี้
อ่านเพิ่มเติม

สมณศักดิ์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

สมณศักดิ์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

พ.ศ.๒๔๙๐ พระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญที่ พระโศภนคณาภรณ์ (มีความหมายว่าผู้เป็นอาภรณ์ หรือเครื่องประดับของหมู่คณะอันงาม) ซึ่งเป็นราชทินนามา ที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทาน แก่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นรูปแรก

พ.ศ.๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม

พ.ศ.๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม

พ.ศ.๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมในราชทินนามที่ พระธรรมวราภรณ์ (มีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นอาภรณ์คือเครื่องประดับอันประเสริฐ) ซึ่งเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทาน แก่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นรูปแรกเช่นกัน

พ.ศ.๒๕๐๔ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง (คือรองเจ้าคณะใหญ่ หรือรองสมเด็จพระราชาคณะ) ที่ พระสาสนโสภณ (มีความหมายว่า ผู้งามในพระศาสนา หรือผู้ยัง พระศาสนาให้งาม)
อ่านเพิ่มเติม

งานด้านคณะสงฆ์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

งานด้านคณะสงฆ์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ส่วนภารหน้าที่หรือการทำงานทางคณะสงฆ์นั้น ก็ทรงเริ่มด้วยการเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกธรรม หรือนักธรรม และแผนกบาลี ตั้งแต่ทรงสอบได้เป็นเปรียญธรรม ๕ ประโยค และหลังจากสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยคแล้ว ก็เริ่มมีภาระหน้าที่ทางการคณะสงฆ์ด้านต่าง ๆ มากขึ้นตามลำดับ กล่าวคือ

พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง ในฐานะเป็นพระเปรียญ ๙ ประโยคตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔

เป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร มีหน้าที่ที่จัดการศึกษาของภิกษุสามเณร ทั้งแผนกธรรม และแผนกบาลี

พ.ศ.๒๔๘๘ เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ เป็นกรรมการสภาการศึกษาของมหามกุฎราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา แห่งประเทศไทยแห่งแรก ซึ่งตั้งขึ้นในศกนั้น (ปัจจุบันเรียกว่า มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย) และเป็นอาจารย์บรรยายวิชาพระสูตรหรือพระสุตตันปิฎก ในมหาวิทยาลัยดังกล่าวด้วย

พ.ศ.๒๔๘๙ เป็นเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขณะทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช

การเป็นเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ นั้น นับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ในชีวิตมัชฌิมวัยของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เพราะเป็นช่วงเวลาที่ได้ทรงเรียนรู้งานด้านต่าง ๆ ทั้งงาน คณะสงฆ์ งานวิชาการ และงานสั่งสอนเผยแผ่ รวมทั้งการปฏิบัติฝ่ายวิปัสสนาธุระหรือการ ปฏิบัติสมาธิกรรมฐานด้วย
อ่านเพิ่มเติม

บรรพชาอุปสมบท (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

บรรพชาอุปสมบท (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ในปีรุ่งขึ้นคือ พ.ศ. ๒๔๖๙ น้าชาย ๒ คนจะบวชเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆาราม พระชนนีและป้าจึงชักชวน เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ซึ่งขณะนั้นพระชนมายุย่าง ๑๔ พรรษา ให้บวช เป็นสามเณรแก้บนที่ค้างมาหลายปีแล้วให้เสร็จเสียที เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ จึงตกลงพระทัย บวชเป็นสามเณรที่วัด เทวสังฆารามในปีนั้น โดยพระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม ซึ่งเรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดเหนือ” เป็นพระอุปัชณาย์ (สุดท้าย ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมงคลรังษี) พระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลาราม ซึ่งเรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดหนองบัว” เป็นพระอาจารย์ ให้สรณะและศีล

ก่อนที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณร เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ไม่เคยอยู่วัดมาก่อน เพียงแต่ไปเรียนหนังสือที่วัด จึงไม่ทรงคุ้นเคยกับพระรูปใดในวัด แม้หลวงพ่อวัดเหนือผู้เป็น พระอุปัชณาย์ของพระองค์ก็ไม่ทรงคุ้นเคยมาก่อน ความรู้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องวัด ก็ไม่เคยมีมาก่อนเช่นกัน นอกจากการไปวัดในงานเทศกาล การไปทำบุญที่วัดกับป้า และเป็น เพื่อนป้าไปฟังเทศน์เวลากลางคืนในเทศกาลเข้าพรรษาซึ่งที่วัดเหนือมีเทศน์ทุกคืนตลอด พรรษา ทรงเล่าว่า ถ้าพระเทศน์เรื่องชาดก ก็รู้สึกฟังสนุก เมื่อถึงเวลาเทศน์ก็มักจะเร่งป้าให้รีบไปฟัง แต่ถ้าพระเทศน์ธรรมะก็ทรงรู้สึกว่าไม่รู้เรื่อง และเร่งป้าให้กลับบ้าน กล่าวได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เมื่อทรงพระเยาว์นั้นแทบจะไม่เคยห่างจากอกของป้าเลย ยกเว้นการไปแรมคืนในเวลา เป็นลูกเสือบ้างเท่านั้น ในคืนวันสุดท้ายก่อนที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณรนั้น ป้าพูดว่า “คืนนี้เป็นคืนสุดท้ายที่จะอยู่ด้วยกัน” ซึ่งก็เป็นความจริง เพราะหลังจากทรงบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็ไม่ทรงมีโอกาส กลับไปอยู่ในอ้อมอกของป้าอีกเลยจนกระทั่งป้าเฮง ถึงแก่ กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗
กล่าวได้ว่า ชีวิตพรหมจรรย์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้นเริ่มต้นจากการบวชแก้บน เมื่อทรงบรรพชาแล้ว ก็ทรง อยู่ในความปกครองของหลวงพ่อวัดเหนือ และทรงเริ่มคุ้นเคย กับหลวงพ่อมากขึ้นเป็นลำดับ อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .