ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเงินจากคำบอกเล่าของกำนันโชติ สนสกุล

ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเงินจากคำบอกเล่าของกำนันโชติ สนสกุล

ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเงินจากคำบอกเล่าของกำนันโชติ สนสกุล หลวงพ่อเงินเป็นหลวงพ่อที่มีอภินิหารศักดิ์สิทธิ์และพิสดารมากในระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่หลายประการ แม้ท่านได้จากเราไปเป็นเวลานานแล้วความศักดิ์สิทธิ์ของท่านก็ยังมิได้สูญหายจากเราไป จะขอเล่าให้ฟังตามที่ได้สดับตรับฟังมาจากท่านผู้ใหญ่ที่อายุมาก ๆ เพียงย่อ ๆ กล่าวคือ
๑. ถ่ายรูปหลวงพ่อเงินไม่ติดในระหว่างที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ผู้คนบ้านใกล้เมืองไกลไปมาหาสู่ท่านไม่ขาดระยะ คราวหนึ่งมีคนต่างชาติคือ “คนแขก”มาขอถ่ายรูปของท่านกระจกหน้ากล้องแตก ครั้งที่สองถ่ายอีกคือถ่ายตรง ๆ หน้าพอเอาไปล้างรูปดูแล้ว ปรากฏว่าไม่ติดหมดทั้งหน้า ติดหน้าเพียงแถบเดียว นี่คืออภินิหาร ของหลวงพ่อเงิน
๒. การหล่อรูปจำลองของหลวงพ่อเงินเมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ประชาชนเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อได้ตกลงกันจัดการหล่อรูปจำลองของท่านไว้ ในการเททองหล่อรูปเททองไม่ติด ทำอย่างไรก็ไม่ติด จึงนิมนต์ท่านมาทำพิธีเททองนั้น ขอร้องให้เทให้ติด หลวงพ่อบอกว่า “เอาแต่พอแม้นๆอย่าให้เหมือนเลย”แล้วช่างก็ทำการหล่อใหม่สำเร็จ ดังที่ปรากฏอยู่ที่วัดหิรัญญารามปัจจุบันนี้
๓. การทำปลอกช้างเมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่หลวงพ่อมีช้างหลายเชือก เพื่อสะดวกแก่ผู้เลี้ยงช้างจึงได้จัดการทำ “ปลอก”ช้างขึ้นใช้ ในระหว่างที่กำลังสูบเตาสูบเพื่อหลอมเหล็กนั้น เหล็กที่หลอมไม่ละลายเพราะหลวงพ่อนั่งดูอยู่ และแกล้งพูดว่าสูบไม่ดีเหล็กจึงไม่ละลายจนกระทั่งลูกศิษย์ของท่าน ต้องการจะให้หลวงพ่อขึ้นไปฉันอาหารบนกุฏิเสียจะได้ทำให้สำเร็จ และเมื่อหลวงพ่อจะลุกขึ้นไปฉันอาหารบนกุฏิท่านแกล้งเอาจีวรทิ้งใส่ลงไปในเตาสูบนั้น พวกลูกศิษย์ตะลึงและแกล้งสูบใหญ่เพื่อให้ไหม้ไฟ สูบอยู่นานจนควันเขียวแล้วก็แดง ครั้นเอาคีมคีบขึ้นมาจับดูปรากฏว่าจีวรไม่ไหม้ไฟแต่อย่างใด พวกลูกศิษย์ที่ช่วยกันทำปลอกช้างนั้น จึงแย่งฉีกชายจีวรนั้นมาผูกคอคนละชิ้นสองชิ้น เมื่อท่านฉันอาหารเสร็จแล้วจึงลงมาดูที่ที่ทำปลอกช้างนั้น แล้วพูดว่าใครเอาจีวรกูไปไหน พวกลูกศิษย์จึงชี้ไปที่คอซึ่งจีวรหลวงพ่อถูกฉีกเอาไปทำเครื่องรางของขลังเสียแล้ว ท่านก็ไม่ว่ากระไร นี่คืออภินิหารของหลวงพ่อเงิน ซึ่งศักดิ์สิทธิ์เหลือเกิน จีวรเผาไฟไม่ไหม้
๔. เชื้อพระวงศ์มาเยี่ยมวัดหลวงพ่อเมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ก็ได้มาขออาบนํ้ามนต์กับหลวงพ่อ สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช มาขอเรียนศิลปศาสตร์กับหลวงพ่อด้วย
๕. สิ่งที่ประทับใจที่ลูกหลานไม่รู้ลืมคือ เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างโรงเรียนประชาบาล ตำบลบางคลาน(เงินอนุสรณ์)ซึ่งปัจจุบันนี้ลูกหลานยังได้ศึกษาเล่าเรียนตราบเท่าทุกวันนี้ข่าวเล่าลือว่าหลวงพ่อบอกหวยแม่น ก็มีประชาชนไปขอกันมากมาย ภายหลังต่อมาหลวงพ่อเห็นว่าการบอกใบ้หวยเป็นการพนันหลวงพ่อจึงไม่ยอมบอกใครอีก

http://www.xn--42cgaeg4ewcdwadtcbg7mc2c2eb8cd4rf1r.com/

ลูกประคำหลวงพ่อเงิน

ลูกประคำหลวงพ่อเงิน

ลูกประคำของหลวงพ่อเงินนี้ เป็นของโปรดของท่านเพราะท่านใช้ประจำในขณะนั่งวิปัสสนากรรมฐาน หรือพูดอย่างง่าย ๆ คือ นั่งไป นับไปนั่นเอง สมัยนั้น นายเป๋ อ่อนละมัย ซึ่งเป็นชาวบ้านบางคลาน บวชและได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงิน จนได้รับความไว้วางใจ และเป็นผู้อยู่ใกล้ชิดคอยรับใช้หลวงพ่อตลอดเวลา พระเป๋ อ่อนละมัย บวชอยู่กับหลวงพ่อท่านถึง ๘ พรรษา หลังจากนั้นก็สึก หลวงพ่อจึงได้มอบลูกประคำให้แก่ทิดเป๋ ลูกประคำของหลวงพ่อทำด้วยงาช้างและกะลามะพร้าว กับพระธาตุฉิมพลี ที่โตที่สุดในประเทศไทย ใหญ่ขนาดเท่าเม็ดมะขามป้อม(พระธาตุฉิมพลีนี้เคยนำออกมาให้คุณปรีชา เอี่ยมธรรม แห่งอภินิหาร และพระเครื่องชม ถึงกับอุทานว่าไม่เคยเห็นพระธาตุองค์ไหนจะใหญ่โตเท่านี้)
หลวงพ่อได้บอกกับนายเป๋ว่า จงเก็บรักษาไว้ให้ดี ของนี้เมื่อถึงคราวจนก็ไม่จนเมื่อถึงคราวยาก ก็ไม่ยาก นายเป๋ก็เก็บรักษาไว้อย่างดีตามคำของหลวงพ่อ ต่อมานายเป๋ตาย ลูกประคำนี้จึงได้ตกมาอยู่กับ__นายแชวง อ่อนละมัย ผู้เป็นบุตรตามคำบอกเล่าของนายแชวง อ่อนละมัย เล่าว่า วันหนึ่งในฤดูนํ้าท่วม มีแขกมาเยี่ยมบ้านและขอชมลูกประคำ ขณะที่ยกออกมานั้นลูกประคำตกจากพาน เชือกขาดลูกประคำหลุดกระเด็นตกใต้ถุนบ้านซึ่ง นํ้าท่วม หายไปบางส่วน หลังจากนั้นนายแชวงได้จุดธูปเทียนขอขมาลาโทษ เมื่อนํ้าลดแล้วปรากฏว่าเม็ดลูกประคำไปกองอยู่รวมกันที่กอมะลิ ซึ่งอยู่ข้างล่างทางขึ้นบ้าน เมื่อเก็บมาได้แล้วก็นำมาร้อยเข้าพวงอย่างเดิมครบ ๑๐๘ เม็ด ลูกประคำนี้ถือว่าเป็นยอดแห่งวัตถุมงคลชิ้นหนึ่งของหลวงพ่อเงิน ปัจจุบันลูกประคำยังคงอยู่ในสภาพเดิม เจ้าของรักและหวงแหนอย่างมาก อ่านเพิ่มเติม

การฌาปนกิจศพหลวงพ่อเงิน

การฌาปนกิจศพหลวงพ่อเงิน

การฌาปนกิจศพหลวงพ่อเงินคณะศิษยานุศิษย์และบรรดาญาติโยมทั้งหลายได้ทำการฌาปนกิจศพ หลวงพ่อเงินเมื่อเดือน ๔ ปีวอก พ.ศ.๒๔๖๓ ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจศพนั้นได้มีการขุดศพของหลวงพ่อเงินขึ้นมาเพื่อชำระล้างกระดูก ในการขุดครั้งนั้น(กำนันขจร สอนขำ กำนันตำบลบางคลานเป็นผู้เล่าให้ผู้เขียนฟัง)
นายปลิ้ว ทองเผือก เป็นผู้ชำระล้างทำความสะอาดซากศพของหลวงพ่อ นายปลิ้ว ทองเผือก จึงได้เก็บกระดูกหัวเข่า(ลูกสะบ้า) ของหลวงพ่อ เข้าไว้เพราะถือว่า อาจารย์ดีนั้นจะต้องดีทั้งตัวฉะนั้นกระดูกหลวงพ่อชิ้นนี้จึงไม่ได้เผา ตกทอดเป็นสมบัติของ นายปลิ้ว ต่อมานายปลิ้ว มีญาติชื่อ นายหมอ ทองเผือก จึงได้แบ่งกระดูกไปให้ส่วนหนึ่ง และเมื่อนายหมอมีบุตร ก็ได้แบ่งให้บุตรอีก บุตรของนายหมอ ทองเผือก เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๖ ตำบลบางคลาน ชื่อนายสนิท ทองเผือก ปัจจุบันกระดูกของหลวงพ่อส่วนนี้ได้ถูกตัดแบ่งออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยในตระกูล“ทองเผือก”สำหรับกระดูกของหลวงพ่อที่เผาแล้วมีอยู่ที่กำนันตำบลบางคลาน คือ กำนันขจร สอนขำท่านกำนันบอกว่า เป็นมรดกตกทอดมาจากย่าทวด ซึ่งย่าทวดของกำนันได้เอากระดูกมาทำหัวแหวนแทนพลอยสีของกระดูกขาวนวล เมื่อส่องดูด้วยกล้องจะเห็นเป็นขุยเด่นชัด ท่านกำนันเล่าว่าเมื่อได้มาใหม่ ๆ ดมดูกลิ่นหอม เหมือนกระแจะจันทน์ ขณะนี้ดมดูก็ยังหอมอยู่ ความหอมของกระดูกนี้พอจะสันนิษฐานได้ว่า หลังจากฌาปนกิจศพตอนเก็บกระดูก อาจจะถูกพรมด้วยนํ้าหอมก็ได้จึงมีกลิ่นหอมติดอยู่ปัจจุบันกระดูกชิ้นนี้สึกกร่อนไปบ้างทั้งนี้เนื่องจากมีผู้มาขอดูและขออนุญาตเอาขี้ผึ้งมาแตะที่กระดูกเมื่อแตะแล้วก็ถือว่าขึ้ผึ้งก้อนนี้เป็นของขลังบางคนก็มาขอเอามีดแกะไป ต่อมาภายหลังกำนันไม่ยอมให้ใครดู เก็บรักษาไว้อย่างดีในวันฌาปนกิจศพมีประชาชนไปร่วมงานเป็นจำนวนมากเพราะถือว่าหลวงพ่อเงินเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง และเป็นมิ่งขวัญของขาวพิจิตรทุกคน

http://www.xn--42cgaeg4ewcdwadtcbg7mc2c2eb8cd4rf1r.com/

หลวงพ่อเงินรักษาโรค

หลวงพ่อเงินรักษาโรค

หลวงพ่อเงินรักษาโรคหลวงพ่อเงินนอกจากท่านจะเป็นพระที่เรืองวิชาแล้ว ท่านยังมีสติปัญญาที่จัดอยู่ในขั้นอัจฉริยะ อีกด้วย เพราะะท่านเป็นหมอโบราณที่เก่งกาจ สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ประชาชนที่มารับการรักษา วิธีการรักษา ของท่านก็ใช้นํ้ามนต์ และบางทีก็ใช้สมุนไพร สำหรับสมุนไพรนั้นท่านจะจัดให้ไปต้มกิน ในไม่ช้าโรคที่เป็นก็จะหายป่วย ขณะนี้ตำรายาของหลวงพ่อเงินยังอยู่ที่วัดบางคลานเป็นสมุดข่อย ซึ่งทางวัดเก็บรักษาไว้อย่างดี ท่านผู้สนใจไปขอดูได้จากเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
หลวงพ่อเงินกับเจ้านายทางกรุงเทพฯด้วยความเชื่อถือของ
ประชาชนโดยทั่วไปนี้เอง ทำให้ชื่อเสียงของท่านลือกระฉ่อนไปทั่วทุกสารทิศได้มีเจ้านายทางกรุงเทพฯ ขึ้นมาหาท่านและขอเล่าเรียนวิชาจากท่านในสมัยนั้นมีหลายองค์ที่จำได้ก็มี สมเด็จมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จมาอยู่ที่วัดบางคลานหลายวัน เข้าใจว่าจะมาเรียนวิปัสสนากรรมฐานนอกจากนี้ยังมีผู้เล่าว่ากรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ในสมัยนั้นยังทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นอยู่ได้เสด็จมาที่วัดบางคลานเพื่อเล่าเรียนวิชาจากหลวงพ่อด้วย รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ มีดังนี้
กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ท่านกำลังแสวงหาความรู้เกี่ยวกับทางด้านไสยศาสตร์ ขณะนั้น เป็นศิษย์
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อเงิน

ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร

หลวงพ่อเงินชื่อเดิมของท่านชื่อ“เงิน”ในสมัยนั้นยังไม่มีนามสกุลท่านเกิดเมื่อวันที่๑๖กันยายนพ.ศ. ๒๓๕๓ตรงกับวันศุกร์เดือน๑๐ปีฉลูบิดาของหลวงพ่อเงินชื่อ“อู๋”ซึ่งเป็นชาวบ้านบางคลานมารดาชื่อ“ฟัก”เป็นชาวบ้านแสนตออำเภอแสนตอ(ปัจจุบันเป็นอำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี) จังหวัดกำแพงเพชร
เมื่อเอ่ยชื่อถึง หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน ไม่มีใครในจังหวัดพิจิตรที่ไม่รู้จักท่านเพราะหลวงพ่อเงินเป็นเกจิอาจารย์ที่ทรงความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนทั่ว ๆ ไปในบรรดาเกจิอาจารย์ด้วยกันแล้วเห็นจะไม่มีหลวงพ่อองค์ใดที่จะดังไปกว่าหลวงพ่อเงิน ถึงแม้ว่าท่านจะมรณภาพไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๒ ชื่อของท่านยังฝังแน่นอยู่ในความจำของบุคคลทุกชนชั้น

หลวงพ่อเงินชื่อเดิมของท่านชื่อ “เงิน”ในสมัยนั้นยังไม่มีนามสกุล ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๓ตรงกับวันศุกร์ เดือน ๑๐ ปีฉลู บิดาของหลวงพ่อเงินชื่อ “อู๋”ซึ่งเป็นชาวบ้านบางคลาน มารดาชื่อ “ฟัก”เป็นชาวบ้านแสนตอ อำเภอแสนตอ(ปัจจุบันเป็นอำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี) จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่อเงิน มีพี่น้องร่วมสาย
โลหิตทั้งหมด ๖ คน ดังนี้
คนที่ ๑ ชื่อ พรม(ชาย)
คนที่ ๒ ชื่อ ทับ(หญิง)
คนที่ ๓ ชื่อ ทอง(ขุนภุมรา) (ชาย)
คนที่ ๔ ชื่อ เงิน(หลวงพ่อเงิน)
คนที่ ๕ ชื่อ หลํ่า(ชาย)
คนที่ ๖ ชื่อ รอด(หญิง)
ในปี พ.ศ. ๒๓๕๖ ขณะนั้นหลวงพ่อเงินอายุได้ ๓ ขวบ นายช่วงซึ่งเป็นลุงของท่านได้พาหลวงพ่อเงิน ไปอยู่กรุงเทพฯด้วยนายช่วงได้อุปการะเลี้ยงดูหลวงพ่อเงินจนกระทั่งเติบโตมีอายุจะเข้าศึกษาเล่าเรียนได้จึงได้นำหลวงพ่อไปฝากไว้ที่วัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) จังหวัดพระนคร หลังจากนั้นท่านก็ได้เรียนหนังสือที่วัดชนะสงคราม ตลอดมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๔๖๕ ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรขณะนั้นอายุได้ ๑๒ ปี หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็ได้ศึกษาธรรมวินัยและเวทมนต์คาถาอาคมต่าง ๆ จนถึงขั้นแตกฉาน พออายุใกล้จะอุปสมบทได้ท่านก็สึกจากสามเณรเป็นฆราวาส อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน วัดวังตะโก และวัดท้ายน้ำ เทพเจ้าแห่งอำเภอโพทะเลและเพชรน้ำเอกของจังหวัดพิจิตร

ชาติกำเนิด

หลวงพ่อเงิน เดิมท่านชื่อเงิน เมื่อสมัยก่อนยังไม่ได้ใช้นามสกุล ท่านเกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2351 ตรงกับศุกร์เดือน 10 ปีมะโรง บิดาของท่านชื่อ อู๋ เป็นชาวบ้านบางคลาน มารดาของท่านชื่อฟัก เป็นชาวบ้านแสนตอ จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งรัตนโกสินทร์

หลวงพ่อเงิน ท่านมีพี่น้องร่วมสายโลหิตทั้งหมด 6 คน ดังนี้

คนที่ 1 ชื่อพรม ชาย

คนที่ 2 ชื่อทับ หญิง

คนที่ 3 ชื่อทอง(ขุนภุมรา) ชาย

คนที่ 4 ชื่อเงิน(หลวงพ่อเงิน)

คนที่ 5 ชื่อหล่ำ ชาย

คนที่ 6 รอด หญิง

เมื่อปี พ.ศ. 2356 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 5 ขวบ นายช่วงซึ่งเป็นครูของท่าน ได้หาหลวงพ่อเงินไปอยู่กรุงเทพฯ จนกระทั่งหลวงพ่อเงินเติบโตเข้าศึกษาเล่าเรียนได้ จึงได้นำหลวงพ่อเงินไปฝากไว้ที่วัดตองปู (วัดชนะสงคราม) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือที่วัดชนะสงครามตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2363 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 12 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดชนะสงคราม ฉายา พุทธโชติ แล้วท่านได้จำพรรษา เพื่อปฏิบัติธรรมวินัยเรียนทางวิปัสสนากรรมฐานอยู่ได้ 3 พรรษาขณะที่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงครามท่านได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาศิลปวิทยาคมตลอดจนเรียนวิปัสสนาธุระ ในทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรีจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒจารย์(โต) พรหมรังสีวัดระฆังโฆสิตารามจนเป็นที่พอใจแล้ว ท่านจึงได้กลับไปจำพรรษาที่วัดคงราราม (วัดบางคลานใต้) บ้านบางคลาน ตำบลบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร บ้านเดิมของท่านอยู่ได้ 1 พรรษา

ที่วัดคงคารามนี้มีหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ให้ เป็นเจ้าอาวาสอยู่ก่อนแล้ว ท่านเป็นพระที่เรืองวิชาแก่กล้าองค์หนึ่งเหมือนกันและท่านชอบเล่นแร่แปรธาตุด้วย แต่หลวงพ่อท่านอุปัชฌาย์ให้ท่านชอบเทศน์แหล่ เป็นทำนองการเทศน์แหล่หรือการซ้อมแหล่ ทำให้เกิดเสียงดังมาก หลวงพ่อเงินท่านไม่พอใจ เพราะท่านเป็นพระที่เคร่งครัดทางธรรมวินัยและทางวิปัสสนากรรมฐานชอบแต่ทางสงบ
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร

ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร

ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร
หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ มีนามเดิมว่า “เงิน” เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน 10 ปีฉลู ซึ่งตรงกับวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2348 บิดาชื่อนายอู๋ มารดาชื่อนางฟัก เป็นชาวบ้านตำบลบางคลาน จังหวัดพิจิตร มีพี่น้องร่วม บิดาเดียวกันทั้งหมด 6 คน คนที่ 1 ชื่อ พรม คนที่ 2 ชื่อทับ คนที่ 3 ชื่อ ทอง คนที่ 4 ชื่อ เงิน คนที่ 5 ชื่อ หล่ำ คนที่ 6 ชื่อ รอด (ในหนังสือประวัติของท่านมีผู้เขียนไว้เป็น ๒ กระแส แต่ต่างยืนยันว่าท่านเกิดปีฉลู กระแสแรกว่าท่านเกิดปีฉลู พ.ศ. 2348 อีกกระแสท่านเกิดปีฉลู พ.ศ. 2360)

ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน “หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ” เป็นชาวบ้านบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร เป็นบุตรคนที่ 4 บิดาของท่านชื่อ อู๋ เป็นชาวบ้านบางคลาน มารดาของท่านชื่อฟัก เป็นชาวบ้าน จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งรัตนโกสินทร์ มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 6 คนด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2356 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 5 ขวบ นายช่วงซึ่งเป็นครูของท่าน ได้พา หลวงพ่อเงิน ไปอยู่กรุงเทพฯ จนกระทั่ง หลวงพ่อเงิน เติบโตเข้าศึกษาเล่าเรียนได้ จึงได้นำ หลวงพ่อเงิน ไปฝากไว้ที่วัดตองปู (วัดชนะสงคราม) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือที่วัดชนะสงครามตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2363 หลวงพ่อเงินอายุได้ 12 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดชนะสงคราม ฉายา พุทธโชติ แล้วหลวงพ่อเงิน ท่านได้จำพรรษา เพื่อปฏิบัติธรรมวินัยเรียนทางวิปัสสนากรรมฐานอยู่ได้ 3 พรรษาขณะที่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงคราม ท่านได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาศิลปวิทยาคมตลอดจนเรียนวิปัสสนาธุระ ในทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี จากเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒจารย์(โต) พรหมรังสีวัดระฆังโฆสิตาราม
อ่านเพิ่มเติม

รวมคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ)

รวมคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ)

อิทธิบาท 4
เมื่อบวช ก็ต้องยุติเรื่องราวทางโลก จึงควรที่สนใจศึกษาหาความรู้ทางปริยัติธรรม และฝึกปฏิบัติ ปริยัติธรรม ได้แก่ คำสั่งสอน อันเป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติ?ส่วนปฏิบัติธรรมนั้นเป็นคำสอน ที่บ่งวิธีปฏิบัติโดยตรงซึ่งจะมีผลส่งให้ถึงปฏิเวธธรรม?? คือ? การรู้แจ้งแทงตลอดสภาวะความเป็นจริง ท่านบอกว่า ถ้าบวชแล้วไม่สนใจในพระสัจธรรม?? ของพระพุทธองค์ ก็เสียเวลาเปล่า ถึงฆราวาสก็เช่นกัน เมื่อไม่ได้เป็นผู้ทรงศีล ก็ต้องเอาดีทางโลกให้ได้ ต้องเก่งไปในทางที่ตัวเลือกดำเนินชีวิต ท่านสอนว่า ?“ อ้ายโลกก็เหลว อ้ายธรรมก็แหลกเป็นแบกบอน เหลือแต่ กิน นอน เที่ยว สามอันเท่านั้นเอย” ? เมื่อละตัณหาได้ อุปทานก็ไม่มี ดังจะยกอุทาหรณ์เทียบเคียงให้เห็น เช่น สามีภรรยาที่หย่ากัน เมื่อเขายังไม่หย่ากัน สามีไปทำอะไรเข้า ฝ่ายภรรยาก็เก็บเอามาเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย หรือเมื่อฝ่ายภรรยาไปทำอะไรเข้า?? ฝ่ายสามีก็เก็บเอามาเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย ถ้าเขาหย่าขาดกันแล้ว มิใยที่ฝ่ายใดจะไปก่อกรรมทำเข็ญขึ้น อีกฝ่ายหนึ่ง จะไม่มีทุกข์มีร้อนด้วยเลย ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะเขาหมดความยึดถือว่า เขาเป็นสามีภรรยากันแล้ว นี่ฉันใดก็ฉันนั้น จะเห็นได้ชัดในข้อว่า ทุกข์เกิดจากอุปาทานอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ดูดดึงเข้ามา แต่ลำพังขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวทุกข์ ได้ในคำว่า ?“ ปัญจุปาทานักขันทา ทุกขา ”
รวมความก็ว่า ปล่อยอุปาทานไม่ได้ เป็นทุกข์ ปล่อยได้หมดทุกข์ ถอดกายทิพย์ออกจากเสียงมนุษย์ กายมนุษย์ก็ไม่มีเรื่อง จะไม่มีใครเป็นทุกข์ และในที่สุดจะต้องปล่อยอุปาทานได้หมด ทั้งในกายทิพย์ กายรูปพรหม และอรูปพรหม คงแต่ธรรมกายเด่นอยู่ ฯ กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติตามธรรมะของพระองค์ จะรู้ว่าธรรมะของพระองค์ดีจริงอย่างไร และเมื่อปฏิบัติตามแล้ว ได้ผลเป็นอย่างไร ดังนี้ ย่อมเกิดจาก การปฏิบัติของตนเอง ด้วยใจของตนเอง ผู้อื่นจึงพลอยรู้ด้วยไม่ได้ มันเป็นรสทางใจ หากใจผู้ปฏิบัติเยือกเย็นเป็นสุขสักปานใด แม้เขาจะมาเล่าให้เราฟัง ใจเรามันก็จะไม่เย็นอย่างเขา ตามคำที่เขาเล่าบอกนั้นได้ จะไม่ผิดอะไรกับคนหนึ่ง ได้กินแกงชนิดหนึ่งมาเล่าให้เราฟังว่า มันอร่อยอย่างนั้นอย่างนี้ ก็จะไม่ทำให้เราเปิปข้าวเปล่า ๆ โดยนึกเอารสแกงที่เขาว่านั้นมาประสมให้ได้รสอร่อยอย่างเขาว่านั้นได้ ?แม้ว่าเวลานี้จะเป็นการล่วงมาช้านานจากที่พระองค์เสด็จดับขันธ์ ปรินิพพานไปแล้ว ก็ไม่มีอะไรเป็นข้อห้ามว่า ผู้ที่ปฏิบัติตามจะไม่ได้รับผล อย่างที่ท่านได้รับ นอกจากคำกล่าวอ้างของคนเกียจคร้าน ข้อนี้ มีคำว่า ….อกาลิโก ในบทพระธรรมคุณนี้เอง เป็นหลักฐานยันอยู่ว่าธรรมของพระองค์ ผู้ใดปฏิบัติตามย่อมทำให้เกิดผลทุกเมื่อ ไม่มีขีดขั้น พระอริยสาวกทั้งหลายนั้น ฐานะเดิมก็เป็นมนุษย์ปุถุชนนี้เอง แม้องคมนตรีสมเด็จพระบรมศาสดาก็เช่นกัน มิใช่ เทวดา อินทร์ พรหม ที่ไหน แต่ที่เลื่อนขั้นสู่ ฐานะเป็นพระอริยะได้ ก็เพราะการปฏิบัติเท่านั้น แนวปฏิบัติอย่างไหนถูก พระองค์สอนไว้ละเอียดหมดแล้ว ปัญหาจึงเหลือแต่ว่าพวกเราจะปฏิบัติกันจริงหรือไม่เท่านั้น ฯ อ่านเพิ่มเติม

พระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำ

พระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำ

พระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำ องค์ปฐมบรมครูแห่งวิชชาธรรมกายในยุคปัจจุบัน เดิมชื่อ สด นามสกุล มีแก้วน้อย ท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๒๗ ตรงกับวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่สองของนายเงินและนางสุดใจ มีแก้วน้อย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา ๕ คน

เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
กลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าครั้งนั้นเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต เผื่อน ติสสทัตตมหาเถระ วัดพระเชตุพนฯ พระอาจารย์องค์หนึ่งของท่าน ยังดำรงสมณศักดิ์เป็นท่านเจ้าคุณพระศากยยุตติวงศ์ เจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญ เล็งเห็นความเป็นผู้นำของหลวงพ่อ ซึ่งครั้งนั้นเป็นพระฐานานุกรมที่ พระสมุห์สด จนฺทสโร เจ้าประคุณได้มอบหมายท่าน ให้จำต้องยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ ซึ่งเป็นพระอารามหลวงเก่าแก่แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และในขณะนั้นชำรุดทรุดโทรมมาก เป็นกึ่งวัดร้าง มีพระประจำวัดอยู่เพียงสิบสามรูป อ่านเพิ่มเติม

พระผงของขวัญ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

พระผงของขวัญ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

พระปากน้ำ รุ่น 3

พระผงของขวัญวัดปากน้ำ ของท่านเจ้าประคุณพระมงคลเทพมุนี หรือหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ ธนบุรีนั้น เป็นพระเครื่องที่ขึ้นชื่อลือชาเป็นอย่างยิ่ง และมีผู้นิยมบูชาแสวงหา ตลอดจนต้องการรู้หลักการพิจารณาเบื้องต้นกันมากมาย ดังนั้น จึงเห็นควรว่าน่าจะพูดคุยกันเป็นเบื้องต้นเกี่ยวกับพระยอดนิยมพิมพ์นี้ เพราะอธิบายทางโทรศัพท์ หรือทางอีเมล์ กันไม่หวาดไม่ไหวแล้ว พระผงของขวัญวัดปากน้ำนี้ หลวงพ่อสดท่านสร้างขึ้นเพื่อมอบเป็นของขวัญให้กับผู้มีจิตศรัทธาสมทบทุนช่วย กันสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม นับเป็นการบอกบุญรุ่นแรกๆ และมอบพระให้เป็นที่ระลึก เลยเรียกกันว่า “พระของขวัญ” ซึ่งจัดสร้างเป็นพระเนื้อผง ประกอบด้วยวัตถุมงคลต่างๆ มีตัวหลักเป็นผงปูน และเขียนผงเป็นยันต์วิเศษตามตำรับ เช่น ผงมหาราช ผงอิทธิเจ ผงปถมังเป็นต้น มีมวลสารอื่นๆ อาทิดอกมะลิแห้งที่มีผู้นำไปบูชา เส้นเกศาของหลวงพ่อสดเอง ประวัติหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

พระวัดปากน้ำนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 รุ่น ปรากฏว่าพุทธคุณเป็นที่เลื่องลือทั้งด้านเมตตามหานิยมมหาลาภ แคล้วคลาดคงกระพัน จนพูดกันติดปากว่า

“ถ้ามีพระวัดปากน้ำอยู่กับตัวแล้ว ในน้ำไม่ตาย บนบกไม่ตาย กลางอากาศไม่ตาย ลาภผลไม่ขาดมือ และมีค่าเท่ากับสมบัติพันล้าน หากมุ่งหวังสิ่งใดก็ให้อธิษฐานเถิดจักเกิดสัมฤทธิผลทุกประการ”

และเนื่องจากองค์พระเป็นเนื้อผง จึงมีความเปื่อยยุ่ยง่าย ดังนั้น จึงพบว่าบางองค์มีการนำมาลงแล็กเกอร์เพื่อให้เกิดความคงทน อ่านเพิ่มเติม

เปิดโลกพระศรีอริยเมตไตรย >> สืบสายอริยะ >> หลวงพ่อสด

เปิดโลกพระศรีอริยเมตไตรย >> สืบสายอริยะ >> หลวงพ่อสด

หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ (พระมงคลเทพมุนี)
ดอกไม้ที่หอมไม่ต้องเอานำหอมมาพรมก็หอมเองใครจะห้ามไม่ได้ ซากศพไม่ต้องเอาของเหม็นมาละเลงใส่ซากศพก็ต้องแสดงกลิ่นศพให้ปรากฏปิดกันไม่ได้…

คาถาหลวงพ่อสด
สัมมา อะระหัง
**********
ธรรมสัจจะแห่งหลวงพ่อสด
หยุดนั้นแหละเป็นตัวสมถะเป็นตัวสำเร็จ คือสำเร็จหมดทั้งทางโลกและทางธรรม โลกที่จะได้รับความสุขได้ ใจต้องหยุดตามส่วนของโลก ธรรมที่จะได้รับความสุข ใจต้องหยุดตามส่วนของธรรม ดังบาลีว่า “นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ” สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี หยุดนั้นเองเป็นตัวสำคัญ หยุดคำเดียวเท่านั้นถูกทางสมถะตั้งแต่ต้นจนเป็นพระอรหันต์ เป็นตัวศาสนาแท้ๆ ถูกโอวาทของพระบรมศาสดา ถ้าไม่หยุดจะปฏิบัติศาสนาสัก 30-40 ปีก็ช่าง ที่สุดถึงจะมีอายุเป็นร้อยปีแต่ถ้าทำใจให้หยุดไม่ได้ เป็นไม่ถูกร่องรอยพระศาสนา
อ่านเพิ่มเติม

การเผยเเพร่คำสอนของหลวงปู่สด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

การเผยเเพร่คำสอนของหลวงปู่สด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

ประวัติหลวงปู่สด ( Bibliography of Monk Sod Jantasaro)

( อ้างอิง : ประวัติหลวงปู่สด จาก THAI WIKIPEDIA )
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เดิมชื่อ สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่สองของนายเงินและนางสุดใจ มีแก้วน้อย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน เริ่มเรียนหนังสือกับพระภิกษุผู้เป็นน้าชาย ณ วัดสองพี่น้อง แล้วมาอยู่ ณ วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ในความปกครองของพระอาจารย์ทรัพย์ ปรากฏว่าเป็นผู้สามารถเรียน-อ่านภาษาขอมได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้กลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย ด้วยความวิริยะอุตสาหะเพื่อสร้างฐานะให้มั่นคง เมื่อท่านอายุได้ 14 ปีโยมบิดาได้ถึงแก่กรรมลงท่านจึงรับภาระดูแลการค้าแทน ท่านฉลาดในการปกครอง ลูกเรือต่างก็รักนับถือท่านและเนื่องจากท่านเป็นคนขยันขันแข็งในการทำงาน อาชีพการค้าจึงเจริญขึ้นโดยลำดับ จนปรากฏในยุคนั้นว่า เป็นผู้มีฐานะดีคนหนึ่ง วันหนึ่งเมื่อท่านนำเรือเปล่ากลับบ้านพร้อมเงินรายได้จากการขายข้าวผ่านลัด คลองเล็กซึ่งชาวบ้านเรียกว่า คลองบางอีแท่น มีโจรผู้ร้ายชุกชุมท่านนึกถึงความตายขึ้นมา และได้อธิษฐานจิตในขณะนั้นว่า “ขอเราอย่าได้ตายเสียก่อนเลย ขอให้ได้บวชเสียก่อน เมื่อบวชแล้วจะไม่ลาสิกขา ขอบวชไปจนตลอดชีวิต”การหาเงินเลี้ยงชีพนั้นลำบาก บิดาของเราก็หามาอย่างนี้ ต่างไม่มีเวลาว่างกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่รีบหาให้มั่งมี ก็เป็นคนชั้นต่ำ ไม่มีใครนับหน้าถือตา เข้าหมู่เพื่อนบ้านก็อับอาย ไม่เทียมหน้าเขา บุรพชนต้นสกุลก็ทำมาอย่างนี้เหมือนกัน จนถึงบิดาเราและตัวเราในบัดนี้ ก็คงทำอยู่อย่างนี้ ก็บัดนี้บุรพชนทั้งหลายได้ตายไปหมดแล้ว แม้เราก็จักตายเหมือนกัน เราจะมัวแสวงหาทรัพย์อยู่ทำไม ตายแล้วเอาไปไม่ได้ บวชดีกว่า ท่านบอกว่าเริ่มอธิษฐานมาตั้งแต่อายุ 19 ปี หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านเล่าต่อไปว่า เมื่อตกลงใจบวชไม่สึกแล้ว จิตคิดเป็นห่วงมารดาเกิดขึ้น จึงขะมักเขม้นทำงานสะสมทรัพย์ เพื่อให้มารดาเอาไว้ใช้เลี้ยงชีพไปจนตลอดชีวิต ขณะมีอายุย่างเข้า 22 ปี ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีฉายาว่า สด จนฺทสโร พระอาจารย์ดี วัดประตูสาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ คู่สวดทั้งสองรูปอยู่วัดเดียวกัน คือ วัดสองพี่น้อง ในการเรียนด้านคันถธุระในพรรรษาแรก ท่านสงสัยอยากรู้คำแปลคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา ซึ่งไม่มีใครทราบ ท่านจึงเกิดความดำริที่จะไปเรียนคันถธุระต่อที่กรุงเทพฯ
เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านจึงเริ่มปฏิบัติสมถะ-วิปัสสนากับพระอนุสาวนาจารย์นับแต่วันบวช เมื่อบวชแล้วพอรุ่งขึ้นอีกวัน หลวงพ่อก็เริ่มลงมือปฏิบัติพระกรรมฐานต่อกับพระอาจารย์เนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จำพรรษาอยู่วัดสองพี่น้อง 1 พรรษาเมื่อออกพรรษาที่วัดสองพี่น้องแล้ว ท่านจึงเดินทางมาจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อศึกษาด้านคันถธุระต่อ ในสมัยนั้นนิยมใช้หนังสือขอมที่จารลงในใบลาน อ่านเพิ่มเติม

หล่อรูปเหมือนหลวงปู่วัดปากน้ำ องค์ที่ 7 ด้วยทองคำ

หล่อรูปเหมือนหลวงปู่วัดปากน้ำ องค์ที่ 7 ด้วยทองคำ

“…จะมีสักกี่ชาติ จะมีสักกี่ครั้ง ที่เราจะได้สร้างมหากุศลอันยิ่งใหญ่ ที่บริสุทธิ์ บริบูรณ์ เช่นนี้ติดตัวไป…”

ขอเชิญผู้มีบุญ ศิษยานุศิษย์ และลูกหลานหลวงปู่ทั่วโลก
ร่วมพิธีหล่อรูปเหมือนหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) องค์ที่ 7 ด้วยทองคำ

ในวันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ณ วัดพระธรรมกาย
(วันคล้ายวันเกิดครบรอบ 129 ปี พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร))

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ โทรศัพท์ 02-831-1000
(ขอเชิญผู้ไปร่วมงานแต่งชุดขาวๆ โดยพร้อมเพรียงกัน : เสื้อขาว กางเกง กระโปรง หรือผ้าถุงขาว)

อ่านเพิ่มเติม

ประวัติโดยสังเขป พระมงคลเทพมุนี (สด)

ประวัติโดยสังเขป พระมงคลเทพมุนี (สด)
หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ครบรอบ 120 ปีเกิด

เจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (สด) ท่านเกิดวันที่ 10 ตุลาคม 2427 ตรงกับวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก ฉศก
จุลศักราช 1246 ณ.บ้านสองพี่น้อง ต.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี บ้านตำบลนี้อยู่ฝั่งใต้ตรงกันข้ามกับวัดสองพี่น้อง เป็นบุตร
นายเงิน นางสุดใจ มีแก้วน้อย สกุลของท่านทำการค้ามีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน 1. นางดา เจริญเรือง 2. เจ้าคุณมงคล
เทพ มุนี (สด) มีแก้วน้อย 3. นายใส มีแก้วน้อย 4. นายผูก มีแก้วน้อย 5. นายสำรวย มีแก้วน้อย อุปสมบทเมื่ออายุย่าง 22 ป
ี เมื่อ เดือนกรกฏาคม 2449 ต้นเดือน 8 ณ. วัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี มีฉายาว่า จนฺทสโร พระอาจารย์ดี
วัดประตูศาล อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูวิญญานุโยด (เนียง อินทรโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอาจารย์ โหน่งอินทร สุวรรณโน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ คู่สวดอยู่วัดเดียวกันสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
เมื่ออุปสมบทแล้ว จำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้อง 1 พรรษา ปวารณาพรรษาแล้วเดินทางมาจำพรรษา ณ.วัดพระเชตุพน
กรุงเทพฯ เพื่อเล่าเรียน ธรรมวินัยต่อไป สมเด็จพระวันรัต (ติสสทตตเถร) วัดพระเชตุพน ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ ภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ในยุคนั้นตรงกับ พ.ศ.2459 แต่งตั้งให้หลวงพ่อวัดปากน้ำเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ พัฒนาวัดปากน้ำภาษีเจริญให้เจริญเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนมาจนถึงทุกวันนี้ หลวงพ่อ
วัดปากน้ำ ได้สมณศักดิ์เป็น พระครูสัมณธรรมสมาทานตั้งแต่ พ.ศ. 2464 นับเป็นเวลา 28 ปี ได้รับพระราชทานสมณ ศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระภาวนาโกสนเถระถือพัดยอดพี้นขาวอันเป็นตำแหน่งวิปัสสนาธุระ พ.ศ.2492
พ.ศ.2494 ได้รับพระราชทานพัดยศเทียบเปรียญ พ.ศ.2498 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้น ราชมีพระราชทินนามว่า พระมงคลเทพมุนี มรณภาพ พ.ศ. 2502 เวลา 15.05 น. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ อายุ 75 ปี
บวชอยู่ 53 พรรษา ในปี 2547 ครบรอบ 120 ปีเกิด
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม

ประวัติวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม

วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ได้รับการประกาศตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2534

วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี มีประวัติความเป็นมานับตั้งแต่ อาจารย์เสริมชัย พลพัฒนาฤทธิ์ ผู้ชำนาญการวิจัย (Research Specialist) สำนักข่าวสารอเมริกัน (USIS) กรุงเทพฯ (ปัจจุบันคือ หลวงพ่อ พระเทพญาณมงคล) ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน 4 เพื่อถึงธรรมกายของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่ศิษยานุศิษย์ผู้ปฏิบัติธรรมนี้ว่า “วิชชาธรรมกาย”* ตามระดับภูมิธรรมและบุญบารมีที่ปฏิบัติได้ โดยได้มอบตัวเป็นศิษย์ของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระภาวนาโกศลเถร (ปัจจุบันคือ พระราชพรหมเถร) รองเจ้าอาวาสและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้เป็นสัทธิวิหาริกและศิษย์โดยตรง ผู้สืบทอดวิชชาธรรมกายทั้งหมด จากพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) จากนั้นท่านได้ริเริ่มจัดตั้งและบริหาร โครงการให้การศึกษาอบรมและเผยแผ่พระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างกว้างขวาง ออกไปทั่วประเทศและในต่างประเทศ ได้แก่

โครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2518
โครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2524
มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ศาลาการเปรียญ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2524 และ
สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เมื่อ พ.ศ.2524 (ปัจจุบันย้ายมาตั้งอยู่ ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี)
ทั้ง 4 องค์กรได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมการให้การศึกษาอบรมและเผยแพร่ธรรมปฏิบัติ ตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกายของพระพุทธเจ้า มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ.2525 เป็นระยะเวลายาวนาน กว่า 25 ปีจนถึงปัจจุบัน

ในต้นปี พ.ศ.2528 เมื่ออาจารย์เสริมชัย พลพัฒนาฤทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและวิปัสสนาของสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย มีอายุย่าง 57 ปี ได้ตัดสินใจที่จะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ท่านจึงยื่นหนังสือขอลาออกจากสำนักข่าวสารอเมริกันล่วงหน้า 1 ปี อันเป็นระยะเวลา 3 ปีก่อนวันเกษียณอายุ เพื่อให้สำนักงานได้มีโอกาสหาคนมาทำหน้าที่แทน และให้ท่านได้มีโอกาสฝึกงานแก่พนักงานใหม่ได้ทันเวลา เพราะงานที่ท่านต้องรับผิดชอบทำอยู่ในตำแหน่ง Research Specialist นั้น ต้องรับผิดชอบงานถึง 3 อย่างคือ (1) งานวิจัยและประเมินผล (2) งานจัดการติดตั้งและจัดการดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ (3) การจัดระบบข้อมูลข่าวสารด้วยคอมพิวเตอร์ จึงต้องมีเวลาเพียงพอในการจัดหาบุคลากรและฝึกงานให้ผู้ที่เข้ามารับงานใหม่ให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงได้รับอนุมัติให้ลาออกได้
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

ประวัติ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

ธรรมะรักโข:
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) (จนฺทสโร หมายถึง ผู้นำแสงสว่างมาสู่โลก ประดุจพระจันทร์ส่องสว่างยามราตรี) เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามตามสัญญาบัตรประกอบพัดยศสมณศักดิ์ว่า พระมงคลเทพมุนี ศรีรัตนปฏิบัติ สมาธิวัตรสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี หรือ หลวงพ่อวัดปากน้ำ เดิมชื่อ สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่สองของนายเงินและนางสุดใจ มีแก้วน้อย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน ท่านนับเป็นองค์ปฐมบรมครูแห่งวิชชาธรรมกายในยุคปัจจุบัน

ชีวิตในช่วงต้น
เริ่มเรียนหนังสือกับพระภิกษุผู้เป็นน้าชาย ณ วัดสองพี่น้อง แล้วมาอยู่ ณ วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ในความปกครองของพระอาจารย์ทรัพย์ ปรากฏว่าเป็นผู้สามารถเรียน-อ่านภาษาขอมได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้กลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย ด้วยความวิริยะอุตสาหะเพื่อสร้างฐานะให้มั่นคง

เมื่อท่านอายุได้ 14 ปีโยมบิดาได้ถึงแก่กรรมลงท่านจึงรับภาระดูแลการค้าแทน ท่านฉลาดในการปกครอง ลูกเรือต่างก็รักนับถือท่านและเนื่องจากท่านเป็นคนขยันขันแข็งในการทำงาน อาชีพการค้าจึงเจริญขึ้นโดยลำดับ จนปรากฏในยุคนั้นว่า เป็นผู้มีฐานะดีคนหนึ่ง วันหนึ่งเมื่อท่านนำเรือเปล่ากลับบ้านพร้อมเงินรายได้จากการขายข้าวผ่านลัดคลองเล็กซึ่งชาวบ้านเรียกว่า คลองบางอีแท่น มีโจรผู้ร้ายชุกชุมท่านนึกถึงความตายขึ้นมา และได้อธิษฐานจิตในขณะนั้นว่า ขออย่าให้ข้าพเจ้าตายเสียก่อนเลย ขอให้ได้บวชเสียก่อน เมื่อบวชแล้วจะไม่ลาสิกขา ขอบวชไปจนตลอดชีวิต การหาเงินเลี้ยงชีพนั้นลำบาก บิดาของเราก็หามาอย่างนี้ ต่างไม่มีเวลาว่างกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่รีบหาให้มั่งมี ก็เป็นคนชั้นต่ำ ไม่มีใครนับหน้าถือตา เข้าหมู่เพื่อนบ้านก็อับอาย ไม่เทียมหน้าเขา บุรพชนต้นสกุลก็ทำมาอย่างนี้เหมือนกัน จนถึงบิดาเราและตัวเราในบัดนี้ ก็คงทำอยู่อย่างนี้ ก็บัดนี้บุรพชนทั้งหลายได้ตายไปหมดแล้ว แม้เราก็จักตายเหมือนกัน เราจะมัวแสวงหาทรัพย์อยู่ทำไม ตายแล้วเอาไปไม่ได้ บวชดีกว่า ท่านบอกว่าเริ่มอธิษฐานมาตั้งแต่อายุ 19 ปี หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านเล่าต่อไปว่า เมื่อตกลงใจบวชไม่สึกแล้ว จิตคิดเป็นห่วงมารดาเกิดขึ้น จึงขะมักเขม้นทำงานสะสมทรัพย์ เพื่อให้มารดาเลี้ยงชีพไปจนตลอดชีวิต
อ่านเพิ่มเติม

ปฏิปทาการปฏิบัติเพื่อการค้นพบวิชาธรรมกาย ( 2 )

ปฏิปทาการปฏิบัติเพื่อการค้นพบวิชาธรรมกาย ( 2 )

ก่อนที่คุณผู้อ่านจะได้สัมผัสเรื่องราวที่อาจารย์การุณย์ บุญมานุชจะนำมาบอกเล่าถึง “ตำนานสถานที่แห่งการสร้างบารมีของหลวงพ่อท่านว่ามีอะไรบ้าง ผมขอคั่นเวลาและอารมณ์ของคุณผู้อ่านนิดหนึ่งก่อนนะครับ เพื่อนำพาคุณผู้อ่านย้อนภาพเหตุการณ์ตอนที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ ฯ บรรลุธรรม ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของท่านเช่นกันในสำนวนเชิงพรรณนาโวหาร ที่คณะมูลนิธิธรรมกายได้ทำการบันทึกไว้ปรากฏอยู่ในหนังสือชื่อ“ทางไปสู่ความสุข” มีอยู่ตอนหนึ่งผมอ่านทีไรซึ้งใจทุกที เพราะมองเห็นภาพชัดเจนได้เป็นฉาก ๆ ไป จึงขอนำข้อความตอนนั้นมานำเสนอไว้ในที่นี้ ซึ่งมีใจความดังนี้ว่า “ จันทร์เพ็ญเดือน 10 ลอยฟ่องฟ้าอยู่ท่ามกลางดวงดาวที่ดารดาษระยิบระยับสาดแสงนวลลูบไล้ไปทั่ว กระทบพื้นน้ำคลองบางกอกน้อยที่มีลมอ่อน ๆ พัดละลอกให้พลิ้วเข้าสู่ฝั่งมิขาดสาย ฝนที่เพิ่งขาดเม็ดเมื่อตอนค่ำยังคงทิ้งหยาดละอองน้ำติดค้างอยู่ตามใบหญ้าสะท้อนรับแสงจันทร์ ดูแพรวพราวราวกับเพชรที่โปรยปรายเอาไว้ ภายในโบสถ์วัดบางคูเวียงดูเงียบสงัดวังเวงได้ยินแต่เสียงหรีดหริ่งเรไรดังแผ่ว ๆ มาจากข้างนอก แสงจันทร์ที่ส่องผ่านหน้าต่างบานใหญ่เข้ามา ช่วยให้มองเห็นพระปฏิมากรประดิษฐานอยู่บนแท่นและทุกสิ่งภายในโบสถ์ได้อย่างชัดเจน บนพื้นเบื้องล่างตรงพระพักตร์องค์พระปฏิมากร สมณะรูปหนึ่งนั่งสงบนิ่งอยู่ในท่าสมาธิคู้บัลลังก์ กายตั้งตรงไม่ไหวติงเสมือนสิ่งไร้ชีวิต นานแสนนานจวบจนแสงจากดวงจันทร์ที่เคลื่อนคล้อยหลังเที่ยงคืน สาดปะทะร่างจนเห็นได้ทั้งองค์ คะเนอายุราว 30 เศษ รูปร่างสันทัด หน้าผากกว้างบ่งถึงลักษณะของผู้ทรงปัญญาอันล้ำเลิศ ลมเย็นพัดมาวูบหนึ่งผ้ากาสาวพัสตร์ที่ครองอยู่สั่นพลิ้วน้อย ๆ พร้อมกับมีเสียงถอนลมหายใจยาวดังจนได้ยินชัด รอยยิ้มค่อย ๆ ปรากฏขึ้นบนมุมปาก ใบหน้าอิ่มเอิบเต็มไปด้วยความปรีดาปราโมทย์รำพึงออกมาเบา ๆ “ เออ…มันยากอย่างนี้นี่เอง ถึงได้ไม่บรรลุกัน ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ต้องรวมเป็นจุดเดียวกัน เมื่อหยุดแล้วจึงดับเมื่อดับแล้วจึงเกิด” เสียงรำพึงเงียบลงในฉับพลัน ขยับกายเล็กน้อยกลับคืนสู่ท่าสงบ ข้อความปีตีที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไป หลับตาเพ่งพิจารณาธรรมทบทวนให้แน่ใจทั้งอนุโลมและปฏิโลม ความปีติเป็นศัตรูของสมาธิ แต่ก็เป็นการยากแก่พระภิกษุรูปนี้ที่จะระงับมิให้เกิดความปีติเกิดขึ้นได้ เพราะเป็นความสำเร็จในความพากเพียรที่ได้พยายามมาเป็นเวลานานตลอดระยะเวลา 11 ปีในชีวิตสมณเพศ นับตั้งแต่ละฆราวาสวิสัยจากหนุ่มพ่อค้าข้าว
อ่านเพิ่มเติม

ปฏิปทาการปฏิบัติเพื่อการค้นพบวิชาธรรมกาย

ปฏิปทาการปฏิบัติเพื่อการค้นพบวิชาธรรมกาย

ข้อสังเกตความรู้วิปัสสนาธุระที่หลวงพ่อค้นพบ

ความรู้ที่หลวงพ่อค้นพบไม่เหมือนความรู้ที่เคยเรียนมาจากอาจารย์ทั้งหลาย ความรู้ที่ได้พบเห็นเป็นคนละเรื่องกันทีเดียวกล่าวคือ ความรู้ของเกจิอาจารย์ครั้งนั้นเป็นความรู้ทางอานาปานัสสติ ( กำหนดลมหายใจ ) เป็นความรู้กำหนดสติ ( หนอ ) เป็นความรู้ทางกสิณ เช่น กสิณดิน น้ำ ไฟ ลม ความรู้เหล่านี้ไม่ได้กำหนดใจไว้ที่ศูนย์กลางกายเลย มีแต่กำหนดใจนอกศูนย์กลางกายทั้งนั้น แม้หลวงพ่อก็ได้รับการสอนมาอย่างนั้น แต่ความรู้ที่หลวงพ่อได้พบเห็นปรากฏว่าเห็นที่ศูนย์กลางกายสิ่งที่เห็นคือ” ดวงธรรม” และในที่สุดคือเห็น “ ธรรมกาย ” ตามรายละเอียดหนังสือมรรคผล 18 กายของหลวงพ่อนั้น ธรรมกายคือพระรัตนตรัย สรุปแล้วหลวงพ่อค้นพบพระรัตนตรัย นั่นคือรู้วิธีปฏิบัติทำใจว่าทำอย่างไรจึงเข้าถึงพระรัตนตรัย วิธีทำใจเช่นนั้น คือวิธีการทำใจให้ใสตามคำสอนของพระศาสดาข้อ 3 ที่ว่า สจิตฺตปริโยทปนํ ซึ่งแปลว่า การทำใจให้ใส นั้นมีวิธีการอย่างไร มีการปฏิบัติอย่างไร มีวิธีวัดผลอย่างไร ตั้งแต่ต้นจนปลาย การค้นพบ “ วิธีการทำใจให้ใส ” นับว่าแก้อวิชชาขนานสำคัญ เพราะคำสอนของพระศาสดาที่ว่าทำใจให้ใสนั้นคำสอนนี้เราทราบกันทั้งนั้น แต่เราไม่ทราบวิธีทำว่ามีวิธีอย่างไรและเราไม่ทราบว่าการปฏิบัติทางใจนั้นทำอย่างไร ทำให้การศึกษาด้านวิปัสสนาธุระสูญหายมานานแสนนาน ความประสงค์ที่เราต้องการให้แจ้งนิพพานนั้นเป็นอันแจ้งไม่ได้มานานแสนนานเช่นกัน อ่านเพิ่มเติม

ปฐมบทแห่งองค์ปฐมบรมครูผู้ค้นพบวิชาธรรมกาย

ปฐมบทแห่งองค์ปฐมบรมครูผู้ค้นพบวิชาธรรมกาย

พระมงคลเทพมุนีหรือที่ชาวบ้านรู้จักกันดีในนาม “หลวงพ่อสดวัดปากน้ำฯ” ท่านเป็นพระอริยเจ้าที่ทรงฤทธิ์อภิญญา มีปาฏิหาริย์ที่ได้รับการเล่าขานผ่านห้วงเวลามาอย่างยาวนานมากมายหลากหลายเรื่องราว หากถามบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้ศึกษาและปฏิบัติวิชาธรรมกาย คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่ ศรัทธาท่านเพราะรู้ดีว่าท่านเป็นพระดีที่มีแต่ให้ไม่สะสม มรณภาพไปแล้วก็ยังคงศักดิ์สิทธิ์ ใครกราบไหว้ขอพรให้ท่านช่วยแหลือย่อมสำเร็จผลเป็นอัศจรรย์ แม้แต่พระเครื่องคือพระของขวัญที่ท่านสร้าง ก็โด่งดังเด่นดีในด้านพุทธคุณเยี่ยมยอด ไม่ว่าจะไปที่ใด เห็นมีแต่ภาพถ่ายของหลวงพ่อประดิษฐานไว้ในที่สูงเกือบทุกบ้าน เพราะถือว่ามีไว้บูชาแล้วเกิดมงคล แต่สำหรับผู้ที่เข้าถึงธรรม บรรลุวิชาธรรมกายในขั้นต่างๆได้แล้วนั้น หลวงพ่อคือผู้ค้นพบวิธีทำใจให้เข้าถึงไตรสรณะคมน์ได้อย่างแยบยล ,เป็นผู้ค้นพบวิชาธรรมกายและวิชาอาสวักขยญาณ รวมถึงวิชาสะสางธาตุธรรม(วิชาปราบมาร) ท่านเป็นปฐมบรมครูผู้ทำวิชาปราบมารมาตลอดชีวิต,ผู้นำร่องวิชาปราบมารขนานแท้ และท่านเป็นผู้ที่“องค์ต้นธาตุต้นธรรม” ส่งลงมาเกิดในมนุษยโลกเพื่อปราบมารโดยเฉพาะฯลฯ ไม่ว่าใครก็ตามหากบรรลุ “ธรรมกาย”เป็นต้องเห็นซึ้งถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของท่านทุกคนไป เขาว่ากันว่า ใครได้ยินคำว่า “ธรรมกาย “ มีบุญระดับหนึ่ง ใครได้ยินคำว่า”ธรรมกายและรู้เรื่องราวของผู้ค้นพบวิชาธรรมกาย ตลอดจนปฏิบัติธรรมแล้วเข้าถึงธรรมกายภาคขาวเป็นผู้มีบุญมากที่สุด ดังนั้นขอเรียนเชิญคุณผู้อ่านที่มีบารมีธรรมทุกท่าน มาร่วมรับรู้เรื่องราวของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำกัน ว่าท่านเป็นใครมาจากไหน บรรลุธรรมได้อย่างไร แล้วทำไมผู้คนทั้งหลายถึงได้ศรัทราท่านกันนัก เรามาเริ่มต้นกันถึงที่มาที่ไปเกี่ยวกับประวัติของท่านกันก่อนเลยก็แล้วกันนะครับ และย้อนรอยธรรมด้วยเรื่องราวในแง่มุมต่างๆตามลำดับ คุณผู้อ่านพร้อมหรือยังครับ..ถ้าพร้อมแล้ว เรามาเรียนรู้ประวัติของหลวงพ่อไปด้วยกันได้เลยครับ

ประวัติของพระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ )

หลวงพ่อสดวัดปากน้ำภาษีเจริญ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2427 ตรงกับวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีวอกจุลศักราช 1246 ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรรณบุรี บ้านตำบลนี้อยู่ฝั่งใต้ตรงกันข้ามกับวัดสองพี่น้อง ท่านเป็นบุตรของนายเงิน นางสุดใจ มีแก้วน้อย ครอบครัวของท่านทำการค้าขายมีพี่น้องร่วมบิดา 5 คน ดังต่อไปนี้ครับ

1. นางดา เจริญเรือง

2. หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ( สด มีแก้วน้อย )

3. นายใส มีแก้วน้อย

4. นายผูก มีแก้วน้อย

5. นายสำรวย มีแก้วน้อย

เป็นเรื่องที่แปลกประหลาดมากครับสำหรับครอบครัวของหลวงพ่อวัดปากน้ำคือ ญาติพี่น้องของท่านแทบทุกคนนั้น คนสุดท้องจะตายก่อนแล้วเลื่อนขึ้นมาตามลำดับชั้น คนหัวปีตายทีหลังแทบทุกคนเช่น พี่น้องของหลวงพ่อคนที่ 5 ตายก่อน แล้วก็คนที่ 4 จากนั้นก็คนที่ 3 ที่มาตายก่อนหน้าหลวงพ่อไม่กี่เดือน คล้ายกับว่าจะรักษาระเบียบแห่งความตายเอาไว้ ส่วนนางดา เจริญเรือง ซึ่งเป็นคนที่ 1 นั้นกลับตายเป็นคนสุดท้าย อ่านเพิ่มเติม

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้คนพบวิชชาธรรมกาย

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้คนพบวิชชาธรรมกาย

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นพระภิกษุที่เปี่ยมล้นไปด้วยคุณธรรมและคุณวิเศษอย่างจะนับจะประมาณมิได้ดังนั้น ศิษยานุศิษย์ผู้เคารพศรัทธาเลื่อมใสท่านจากทั่วทุกมุมโลก จึงพร้อมใจกันหล่อรูปเหมือนท่านด้วยทองคำ มาแล้ว ถึง 6 องค์

หลวงปู่ทองคำ องค์ที่ 7 นี้ เป็นองค์ที่จะอัญเชิญไปบนเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ในการเดินธุดงค์ธรรมชัยทุกครั้ง เนื่องจากรูปหล่อหลวงปู่ทองคำที่หลอ่ไปแล้วทั้ง 6 องค์ จะประดิษฐานเป็นการถาวร ณ สถานที่ทั้ง 6 แห่ง ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญในประวัติชีวิตของหลวงปู่ แต่องค์ที่ 7 ที่กำลังจะหล่อขึ้นนี้ จะเป็นองค์ที่ไปเปิดใจ ไปประกาศศาสนา และสร้างเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเศาสนาให้บังเกิดขึ้นกับผู้คนอีกเป็นจำนวนมหาศาล

ดังนั้น การหล่อหลวงปู่ด้วยทองคำในครั้งนี้ จึงถือเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ เพราะเราจะได้สืบทอดพระพุทธศาสนาและวิชชาธรรมกายให้ยืนยาวที่สุด และที่สำคัญ การหล่อรูปเหมือนของหลวงปู่ด้วยทองคำ เป็นการประกาศให้โลกรับรู้ถึงคุณความดีของหลวงปู่ด้วยวิธีอันชาญฉลาด เพราะการหล่อท่่านด้วยทองคำ จะทำให้ชาวโลกต่างสงสัย และเกิดคำถามตามมาว่า ทำไมต้องหล่อท่านด้วยทองคำ และนั่นก็เป็นโอกาสที่เหล่าศิษยานุศิษย์จะได้เล่าถึงประวัติ คุณธรรม คุณวิเศษ และมโนปณิธานของท่าน และชักชวนให้บุคคลเหล่านั้น ทำตามข้อวัตรปฏิบัติอันดีงามของท่าน

อีกทั้งเมือระยะเวลาผ่านไป จนเข้าสู่ยุคทองที่ทองคำหายากและราคาสูงมากกว่านี้ หรืออีก 1,000 ปีข้างหน้า ก็จะเกิดคำถามให้โจษขานซ้ำๆ อย่างไม่รู้จบว่า ทำไมชาวโลกยุคหนึ่งจึงเกิดมหาศรัทธาอย่างแรงกล้า ร่วมใจกัหล่อรูปเหมือนของท่านด้วยทองคำแท้ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีมูลค่ามหาศาลขนาดนั้น และปริศนาตรงนี้เอง จะตรึงให้ชาวโลกมุ่งค้นหาคำตอบว่า ท่านเป็นใคา สำคัญอย่างไร
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .