มิจฉาสมาธิ-สัมมาสมาธิ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

1557

เราเป็นนักบวชและเป็นผู้งดเว้นทุกอย่าง บรรดาที่เป็นข้าศึกต่อตนเองและส่วนรวม ท่านจึงให้นามว่า นักบวช แปลว่า ผู้งดเว้น คำว่า เว้น ในที่นี้หมายความว่า เว้นสิ่งที่เป็นข้าศึกที่จะทำให้เราเสีย จงสังเกตคำว่า นัก ถ้าขึ้นหน้าด้วยคำว่า นัก แล้วต้องเลื่องลือ เช่นคำว่านักเลง นักปล้นจี้ เป็นต้น ต้องเป็นคนเสียหายอย่างลือนาม ถ้าเป็นทางดี เช่น นักปราชญ์ นักบวช นักปฏิบัติ ย่อมเป็นไปเพื่อความดีเด่นเป็นส่วนมาก เฉพาะที่นี่จะอธิบายเกี่ยวกับนักบวช ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่งดเว้นสิ่งที่เป็นอกุศล และบำเพ็ญสิ่งที่เป็นกุศล คือความฉลาดเข้าให้มากเท่าที่จะมากได้ จนพอตัวแล้วก็ข้ามอุปสรรคคือกองทุกข์เสียได้ เพราะฉะนั้น เราทุกท่านบัดนี้ได้ทราบแล้วว่าเราเป็นนักบวช โลกก็ให้นามว่าเป็นนักบวช จงทำความรู้สึกในเพศของตนตลอดเวลาและทุกๆ อาการที่เคลื่อนไหวทางกาย วาจา ใจ

อ่านเพิ่มเติม

สมถธรรม-วิปัสสนาธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ

lt_buwa4

ปฏิปทาเครื่องดำเนินที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์มั่นพาดำเนินมา ไม่ว่าทางด้านธรรมด้านวินัย เป็นความถูกต้องดีงามทุกสิ่งทุกอย่าง เท่าที่ได้ไปอยู่กับท่านและสังเกตเต็มสติกำลังความสามารถของตนเรื่อยมา จนกระทั่งวาระสุดท้ายที่ท่านจากไป เป็นสิ่งที่ให้ดูดดื่มทั้งหลักธรรมหลักวินัยที่ท่านพาดำเนินไม่ให้ผิดเพี้ยนไปได้เลย

เฉพาะอย่างยิ่งพระวินัยท่านรักษาอย่างเข้มงวดกวดขัน ไม่ปรากฏว่าท่านได้ล่วงเกินพระวินัยข้อใดเลย นับแต่อาบัติทุกกฏขึ้นไปจนกระทั่งถึงสุดของพระวินัย ท่านเก็บหอมรอมริบเอาไว้หมด สมกับท่านเคารพพระพุทธเจ้าศาสดาองค์เอกอย่างแท้จริง ส่วนธรรมท่านก็ดำเนินด้วยความถูกต้องดีงาม อ่านเพิ่มเติม

สติปัฏฐาน ๔ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

lt_buwa3

การบำเพ็ญเพียรที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าและพระสัทธรรม คือ ความจงใจ ใคร่ต่อการประพฤติดีจริงๆ ธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกอย่าง ควรทำด้วยความจงใจ การประกอบการงานทุกประเภทถ้าขาดความจงใจแล้ว แม้จะเป็นงานเล็กน้อย ย่อมไม่สำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อยและน่าดูเลย เพราะความจงใจ เป็นเรื่องของสติและหลักใจ ที่จะยังงานนั้นๆ ให้สำเร็จได้ขาดไปจากตัวและวงงาน ผู้มีสติและหลักใจประจำตัวและงาน จึงชื่อว่าผู้มีความเพียรไปในตัว
ทั้งกิจนอกการใน ถ้าขาดความจงใจ เป็นเครื่องจดจ่อต่องานแล้ว แม้ผู้เป็นนายช่างทำสิ่งต่างๆ ซึ่งมีความฉลาดอยู่บ้าง ทำอะไรมีความสวยงามและแน่นหนามั่นคง แต่ถ้าขาดความจงใจใคร่ต่องานแล้ว แม้งานนั้นจะสำเร็จก็ย่อมลดคุณภาพและความสวยงาม ฉะนั้น ความตั้งใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยผู้มุ่งต่อผลของงานอันสมบูรณ์จึงไม่ควรมองข้ามไป

อ่านเพิ่มเติม

วิธีปฏิบัติธรรมเบื้องต้น พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน

lt_buwa

มนุษย์เราต้องมีเพื่อนมีฝูง มีพวกมีคณะ ไม่ว่าแต่ฆราวาสหญิงชาย แม้มาบวชเป็นพระเป็นเณรแล้วก็ยังไม่พ้นจากความอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นคณะ ผิดกับสัตว์บางประเภทซึ่งเขาอยู่ตัวเดียว สัตว์ป่าบางประเภทอยู่ตัวเดียว บางประเภทก็เป็นหมู่เป็นคณะ เป็นฝูงๆ แต่มนุษย์เรานี้ไม่ว่าที่ใดๆ ทั่วโลก ไม่ปรากฏว่าอยู่คนเดียว ไม่ว่าประเทศไหนทวีปใด ก็ต้องมีหมู่มีคณะ เป็นครอบครัว เป็นสังคม เป็นหมู่ๆ พวกๆ ทั่วดินแดน จะว่ามนุษย์ขี้ขลาดก็ถูก เป็นนิสัยของมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาที่ต้องเกี่ยวข้องกันอยู่ร่วมกันเรื่อยมาแต่ดึกดำบรรพ์

นี่เราเป็นพระ เป็นเพศที่เด็ดเดี่ยวอาจหาญ ตามหลักธรรมและนิสัยของนักบวชควรจะอยู่ลำพังองค์เดียว แต่หลักใหญ่ก็ต้องอยู่เป็นหมู่เป็นคณะ เกี่ยวข้องกับหมู่เพื่อนเพศเดียวกันอยู่โดยดี แม้จะออกไปบำเพ็ญในสถานที่ต่างๆ ด้วยความเป็นผู้มีตนคนเดียว แต่โอกาสหรือความจำเป็นที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับหมู่กับคณะ กับครูบาอาจารย์ เพื่อการศึกษาปรารภข้ออรรถข้อธรรมต่างๆ ย่อมมีอยู่เป็นวรรคเป็นตอน สุดท้ายก็ไม่พ้นจากความเป็นสัตว์หมู่สัตว์คณะอีกเหมือนกัน เป็นแต่เพียง ลัทธิ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักธรรมวินัย ที่แสดงออกของพระกับฆราวาสนั้นต่างกันเท่านั้น พระมีกฎมีระเบียบตามหลักธรรมวินัยเป็นเครื่องประพฤติดำเนิน การแสดงออกทุกแง่ทุกมุม จึงเป็นไปตามหลักธรรมหลักวินัย ไม่ว่าจะแสดงทางจิต คิดออกมาด้วยเหตุผลกลไกอันใด ต้องระวังสำรวมในความคิดผิดหรือถูกอยู่โดยดี ความผิดนั้นถ้าไม่ผิดธรรมก็ต้องผิดวินัย ไม่ผิดวินัยก็ต้องผิดธรรม การผิดวินัยเป็นความหยาบ ผิดธรรมเป็นความละเอียด เป็นเรื่องของกิเลสประเภทหยาบ จำต้องได้ระมัดระวังเพราะเรามาแก้กิเลส จึงไม่ควรนอนใจในความคิด การพูด การกระทำ ทุกอาการที่แสดงออก

อ่านเพิ่มเติม

ขันธ์ ๕ ต่างหากจากจิต หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ

lt_buwa5

สิ่งภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆ มีอยู่ทั่วไปตลอดเวลาเมื่อมีสิ่งรับทราบกัน สิ่งเหล่านั้นจะสัมผัสสัมพันธ์ไม่ขาดวรรคขาดตอนกับสิ่งภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ความมีสติ มีปัญญาเครื่องพิสูจน์กลั่นกรองกับสิ่งที่มาสัมผัสย่อมได้อุบายขึ้นมาเรื่อยๆ ท่านเรียกว่าฟังเทศน์ เมื่อสิ่งเหล่านั้นมาสัมผัสสัมพันธ์กับตัวเราย่อมเป็นการปลุกความรู้สึกขึ้นมา เมื่อจิตใจมีความตั้งมั่นต่อเหตุผลหรืออรรถธรรมอยู่แล้ว ก็ทราบได้ทั้งสิ่งดีและชั่วที่มาสัมผัส การพิจารณาตามนั้นเรียกว่าเรียนธรรม ปฏิบัติธรรม การเกิดข้อข้องใจขึ้นมาก็เกิดจากสิ่งเหล่านั้น
การพิจารณาแก้ไขข้อข้องใจจนปลดเปลื้องตนไปได้ ก็อาศัยปัญญาพิจารณาให้ถูกทางตามหลักธรรมที่ท่านสอนไว้ จนผ่านพ้นไปได้เป็นพักๆ เป็นตอนๆ เรื่อยไปเรียกว่า เรียนความจริง ไม่ใช่เรียนให้เป็นความจำ เรียนเป็นความจำก็อย่างเราเรียนเราท่องตำรับตำราต่างๆ เรียกว่าเรียนเพื่อจำ นี้เรียนเพื่อความจริง คือ ความรู้จริงเห็นจริงตามหลักธรรมชาติที่เป็นจริงซึ่งมีอยู่ทั้งภายนอกภายใน อ่านเพิ่มเติม

วัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน (วัดเสือ) เถระวาจา หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน

pic_22

(เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด; ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑)
แถวนี้มีป่าดีจริงๆ แล้วก็มีวัดกรรมฐานตั้งอยู่เป็นย่านๆ ไป เริ่มตั้งแต่วัดเสือนี้ไป เลยกลายเป็นวัดเสือไปเลย ท่านจันทร์นี้เป็นพระวัดป่าบ้านตาด เป็นคนคลองด่าน สมุทรปราการ อยู่นี่(วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี)หลายปี ออกจากนี้ไปก็ไปอยู่ทองผาภูมิ(วัดเดิมของท่าน -วัดป่าถ้ำภูเตย กาญจนบุรี พ.ศ.2528) เราก็คอยฟังเสียง จากนั้นเขาก็มาถวายที่(พ.ศ 2537) ที่เป็นวัดเสืออยู่ทุกวันนี้เนื้อที่ก็กว้างอยู่ เราก็พิจารณาดูย่านกรรมฐานภาวนา เห็นว่าที่นั่นว่างมากไม่ค่อยมีพระกรรมฐานไปอยู่ เลยให้ท่านจันทร์ วัดเสือ มาปรึกษาหารือท่านก็พอใจรับ คือท่านอยู่ทางทองผาภูมิ พระวัดท่านก็มีผู้ดูแลรักษาดีอยู่ ว่าอย่างนั้น เราก็เลยปรึกษาหารือพร้อมกับการนิมนต์ท่านมาอยู่ที่นั่น จึงได้เป็นวัดเสือขึ้นมา เรื่องราวเป็นอย่างนั้น

คือใครจะถวายที่ที่ไหนก็ตามเราไม่ได้รับสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะรับเพื่อประโยชน์แก่ชาติศาสนาจริงๆ รับที่ไหนแล้วต้องเป็นภาระหนัก ไม่ได้รับทิ้งๆ ขว้างๆ อะไร ก็เลยรับ พอตั้งสมภารเลยกลายเป็นสมภารสัตว์สมภารเสือไปหมดท่านจันทร์ ท่านจันทร์เป็นเจ้าอาวาสเสือ จังหวัดกาญจนบุรี สัตว์ทุกประเภทเต็มอยู่ในวัดนั่นนะ อันนี้มันก็ขึ้นอยู่กับนิสัยวาสนาเหมือนกัน ท่านจันทร์ท่านบวชมาท่านก็ไม่ได้บวชมาหาสัตว์หาเสืออย่างนี้นะ ท่านบวชมาหาอรรถหาธรรม เข้าเสาะแสวงหาครูอาจารย์หาแต่อาจารย์สำคัญๆ เช่นอย่างมาอยู่วัดป่าบ้านตาด ส่วนวัดป่าบ้านตาดจะสำคัญหรือไม่สำคัญอะไรบ้างก็แล้วแต่เถอะ ท่านมาอยู่นี้หลายปี ห้าหกปีหรือไง ทุกอย่างไม่มีที่ต้องติ การประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมหลักวินัยเรียบเลย จึงได้ไปอยู่ทางนู้น เขาถวายที่ก็เห็นว่าที่นั่นว่าง พระกรรมฐานไม่ค่อยมีก็พอดีได้โอกาสที่ท่านจันทร์อยู่แถวนั้น ท่านจันทร์มาหาก็เลยปรึกษาหารือพร้อมกับมอบวัดให้ ท่านก็พอใจรับ ตั้งแต่นั้นมาจึงเป็นวัดเสือ- วัดป่าหลวงตาบัว เขาเขียนไว้ข้างทาง วัดป่าหลวงตามหาบัวฯ อ่านเพิ่มเติม

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน สร้างเรือนสามชั้นให้จิต

lt4501

การฝึกหัดอบรมในเบื้องต้น ก็ไม่ผิดอะไรกับเราไปดูต้นไม้ที่จะนำมาทำบ้านปลูกเรือน ไม้ทั้งต้นเมื่อไปดูแล้วมันอ่อนใจพิกลบอกไม่ถูก อะไรที่จะสามารถนำไปทำเป็นบ้านเรือนได้ มองดูเห็นแต่ไม้ทั้งต้น เต็มไปด้วยเปลือกกระพี้ กิ่งก้านสาขา ดอกใบ เต็มไปหมด ซึ่งล้วนแต่สิ่งที่ไม่ต้องการทั้งนั้น ที่มองไปเห็นนั้น สิ่งที่ต้องการมองไม่เห็นเลย คือแก่นที่เป็นเนื้อแท้ ซึ่งสมควรจะมาทำเป็นบ้านเป็นเรือนได้ มันอยู่ภายในลึก ๆ โน้น มองไม่เห็นด้วยตาเนื้อนี้เลย มันมีตั้งแต่เปลือกแต่ลำต้น มองขึ้นไปข้างบนก็มีแต่กิ่งก้านสาขาใบดอกเต็มไปหมด แล้วทำไมจะไม่อ่อนใจ และไม้ที่จะปลูกบ้านปลูกเรือนให้สำเร็จโดยสมบูรณ์นั้น ต้องมีจำนวนมากด้วย ไม้ต้นเล็ก ๆ จะมาทำบ้านทำเรือน นำมาเลื่อยมาแปรรูปเป็นต่าง ๆ ให้ได้หลาย ๆ แผ่น หลาย ๆ ชิ้น ก็เป็นบ้านเป็นเรือนที่เหมาะสมไปไม่ได้ จะต้องหาไม้ต้นใหญ่ ๆ เนื้อแข็ง ซึ่งลำบากแก่การทำไม่ย่อยเลย ไปมองเห็นต้นไม้แล้วมันทำให้อ่อนใจอย่างบอกไม่ถูก มือเท้าก็อ่อนปวกเปียกไปตาม ๆ กัน
แต่เมื่อรู้วิธีที่จะทำแล้ว แม้อ่อนใจก็พอพยายามถูไถกันไปได้ ไม่หดมือทื่อใจอยู่ท่าเดียว เมื่อตัดโค่นลงมาแล้วก็ต้องเลื่อย ต้องมีแบบมีฉบับ การตัดการโค่นการเลื่อยอะไร ต้องมีแบบมีฉบับมีหลักเกณฑ์ ต้องมีวิชาเกี่ยวกับงานนั้น ๆ จึงจะทำได้ มิฉะนั้นไม้ก็เสียหมด ผลจะพึงได้ก็ไม่ปรากฏเท่าที่ควรจะมี
นี่การประพฤติปฏิบัติธรรมทางด้านจิตใจ ในเบื้องต้นที่เรายังไม่เคยทำเลย มันก็ต้องมีอ่อนใจด้วยกัน ดีไม่ดีจะนั่งภาวนาแค่ ๕ นาที ๑๐ นาที ใจนั้นราวกับจะถูกเขานำไปฆ่า ทำให้อ่อนเปียกไปหมด พอทราบได้จากท่านสั่งสอนเรื่องการภาวนาเป็นงานยากเท่านั้น ใจเริ่มจะช็อกไปเสียแล้วเพราะกลัวมาก ดีไม่ดีหาเรื่องปวดหนักปวดเบามาช่วยชีวิตไว้ ไม่งั้นจะไปเสียให้ได้ก่อนความเจ็บไข้ได้ป่วยจะมาถึงตัวเสียอีก อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

Luangta_mahabua

ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ณ ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ในสกุล “โลหิตดี” โยมบิดาและโยมมารดาได้ตั้งชื่อเป็นมงคลนามว่า “บัว” โยมบิดาและโยมมารดาของท่านชื่อ “นายทองดี” และ “นางแพง” มีอาชีพเป็นชาวนาผู้มีอันจะกิน มีพี่น้อง ทั้งหมด 16 คน เมื่อท่านอายุได้ 21 ปี ได้ออกบวชสนองคุณบิดามารดาตามความปรารถนาของท่านทั้งสอง ท่านได้อุปสมบท ณ วัดโยธานิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2477
อุปนิสัยของท่านอาจารย์พระมหาบัวนั้น จริงจังมากตั้งแต่เป็นฆราวาส ท่านเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการงาน เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของโยมบิดามารดา เพราะฉะนั้น เมื่อท่านได้ออกบวช ท่านก็ตั้งใจพากเพียรเรียนรู้ทั้ง ปริยัติปฏิบัติ มิใช่บวชตามประเพณีเท่านั้น ดังที่ท่านเคยเล่าไว้ว่า
“แต่ว่าเรามันนิสัยจริงจังแต่เป็นฆราวาสแล้ว เวลาบวชก็ตั้งใจบวชเอาบุญเอากุศลจริงๆ และพร่ำสอนตัวเองว่า บัดนี้เราบวชแล้ว พ่อแม่ไม่ได้มาคอยติดสอยห้อยตามคอยตักเตือนเราอีกเหมือนแต่ก่อนแล้วนะ แม้เวลานอนหลับก็ไม่มีใครมาปลุกนะ แต่บัดนั้นมาก็ทำความเข้าใจกับตัวเองราวกับ
ว่า อัตตาหิ อัตตโน นาโถ นะ อย่างนั้นแหละ” อ่านเพิ่มเติม

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

เมื่อ นายบัว โลหิตดี มีอายุได้ 21 ปี บิดามารดาได้ขอร้องให้เขาได้บวชเรียน เพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณตามประเพณี ในที่สุดท่านก็ตัดสินใจบวช เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 ณ วัดโยธานิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระราชเทวี (จูม พนฺธุโล ต่อมาเป็นพระธรรมเจดีย์) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ญาณสมฺปนฺโน” ท่านตั้งใจไว้ว่าจะบวชพอเป็นประเพณีเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจว่าจะบวชนานเท่านี้

ครั้นบวชแล้ว พระภิกษุบัว ญาณสมฺปนฺโน ก็ได้ศึกษาพุทธประวัติและประวัติพระอรหันตสาวก จนเกิดความเลื่อมในศรัทธาในพระศาสนาอย่างจริงจัง ท่านจึงตั้งใจว่าจะศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรมเสียก่อน เพราะถ้าไม่ศึกษาแล้วจะไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติ โดยตั้งความหวังไว้ว่าจะเรียนปริยัติธรรมทั้งแผนกนักธรรมและแผนกบาลี สำหรับแผนกบาลีนั้น ท่านตั้งใจว่าจะสอบให้ได้เพียงแค่เปรียญธรรม 3 ประโยคก็พอ ทั้งนี้เพื่อเป็นกุญแจเปิดตู้พระไตรปิฎก และเป็นอุบายเข้าถึงการปฏิบัติธรรมได้อย่างถูกต้อง แต่จะไม่ให้เกินเลยเปรียญธรรม 3 ประโยคไป เพราะจะทำให้เหลิงและลืมตัว อ่านเพิ่มเติม

พระราชญาณวิสุทธิโสภณ หรือ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

พระราชญาณวิสุทธิโสภณ หรือ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี เกิดเมื่อวันอังคารที่ 12 ส.ค.2456 ชื่อบัว โลหิตดี บิดาชื่อนายทองดี มารดาชื่อนางแพง โลหิตดี อยู่ที่บ้านตาด โดยหลวงตาบัวเป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 16 คน ที่เกิดมาในตระกูลชาวนาผู้มีฐานะดี ในสมัยที่ยังเป็นเด็กอยู่นั้น หลวงตาบัวได้เคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ร่วมทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ เมื่ออายุครบ 20 ปี พ่อแม่จึงอยากจะให้บวชตามประเพณี แต่หลวงตามีท่าทีเฉยๆ ทำให้พ่อแม่ถึงกับน้ำตาร่วง จนหลวงตารู้สึกสะเทือนใจ และเห็นใจพ่อแม่เป็นอย่างมาก จึงตัดสินใจจะยอมบวชตามที่พ่อแม่ต้องการ และให้เป็นไปตามประเพณี เพื่อตอบแทนพระคุณพ่อแม่ โดยตั้งใจในตอนแรกว่าจะบวชให้เพียงระยะสั้นเท่านั้น

เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2477 เป็นวันที่หลวงตามหาบัวได้บวช ณ วัดโยธานิมิตร บ้านหนองขอนกว้าง ต.หนองบัว อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากได้บวชเพื่อทดแทนพระคุณบิดรและมารดาแล้ว หลวงตาบัวได้ตั้งใจเอาบุญเอากุศลอย่างจริงจัง เมื่อก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ โดยใฝ่ภาวนา และตั้งจุดมุ่งหมายของชีวิต อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

ประวัติ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน กำเนิดในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะกิน ณ บ้านตาด จ.อุดรธานี เกิดเมื่อ 12 สิงหาคม พ.ศ.2456 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 9 ปีฉลู ณ บ้านตาด อ.หมากแข้ง จ.อุดรธานี บิดานายทองดี โลหิตดี มารดานางแพงศรี โลหิตดี พี่น้องทั้งหมด 16 คน

สมัยเด็กหลวงตา มีศรัทธาเคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ ขณะที่ในวัยหนุ่มเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำงานอะไรทำจริงจังเป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวง

สมัยเด็ก หลวงตา มีศรัทธาเคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยได้ร่วมทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ วัยหนุ่ม เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำงานอะไรทำจริงๆ จังๆ เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวง เดิมไม่เคยคิดจะบวช เพราะอยากมีครอบครัว แต่มักมีอุปสรรคให้แคล้วคลาดทุกทีไป อ่านเพิ่มเติม

หลวงตามหาบัว ตอน แม้เรียนปริยัติ ก็ไม่ทิ้งเรื่องภาวนา

ท่านได้ไปถามคำภาวนาจากท่านพระครู “กระผมอยากภาวนา จะให้ภาวนายังไง?” “เออ! ให้ภาวนา พุทโธ นะ เราก็ภาวนา พุทโธ เหมือนกัน ท่านได้ฝึกหัดภาวนาอย่างไม่ลดละ แรกๆจิตใจก็ไม่สงบเท่าใดนัก แต่เมื่อทำอยู่หลายครั้งหลายหน จิตก็เริ่มสงบตัวลงไปโดยลำดับ จนกระทั่งเห็นความอัศจรรย์ของจิต

“เมื่อเรียนธรรมะไปตรงไหน มันสะดุดใจเข้าไปเรื่อยๆ นับตั้งแต่ นวโกวาท ที่เป็นพื้นฐานแห่งการศึกษาเบื้องต้น ยิ่งได้อ่านพุทธประวัติ ทำให้เกิดความสลดสังเวช สงสารพระพุทธองค์ ในเวลาที่ทรงลำบาก เพราะทรมานพระองค์เองก่อนตรัสรู้ธรรม จนถึงกับน้ำตาร่วงไปเรื่อยๆ พออ่านจบ เกิดความสลดใจอย่างยิ่ง ในความพากเพียรของพระองค์ซึ่งเป็นกษัตริย์ทั้งองค์ ทรงสละราชสมบัติออกทรงผนวช เป็นคนขอทานล้วนๆ ซึ่งสมัยนั้นไม่มีศาสนา คำว่าการให้ทานได้บุญอย่างนั้น การรักษาศีลได้บุญอย่างนี้ ไม่เคยมี พระองค์ก็ต้องเป็นคนอนาถา และขอทานเขามาโดยตรง และฝึกอบรมพระองค์เต็มพระสติกำลังทุกวิถีทาง เป็นเวลา ๖ ปี ถึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

paragraph__1_418

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสัมปันโน) หรือ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (12 สิงหาคม พ.ศ. 2456 – 30 มกราคม พ.ศ. 2554) เป็นพระภิกษุนักวิปัสสนากรรมฐานในพุทธศาสนานิกายเถรวาท คณะธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดอุดรธานี และเป็นอดีตเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดเกษรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) ท่านเป็นหนึ่งในศิษย์ของพระครูวินัยธร (มั่น ภูริทัตโต) ซึ่งได้มีโอกาสอุปฐากรับใช้หลวงปู่มั่นในช่วงปัจฉิมวัยและเป็นผู้หนึ่งที่ได้บันทึกประวัติของหลวงปู่มั่นโดยละเอียดในเวลาต่อมาหลวงตามหาบัวเป็นที่รู้จักในฐานะพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานผู้มี ปฏิปทาที่มั่นคง แน่วแน่ เด็ดขาด และจริงจัง บรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่มั่นต่างนับถือกันว่าท่านเป็นลูกศิษย์องค์หนึ่ง ที่มีปฏิปทาที่คล้ายคลึงกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต การกล่าวขวัญถึงท่านในหมู่ผู้ศรัทธามีหลายเรื่องค่อนไปในเชิงอภินิหาร เช่น การล่วงรู้วาระจิตของบุคคลอื่น การที่เศษผม เศษเล็บ และชานหมากของท่านกลายเป็นพระธาตุไปตั้งแต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม

ประโยชน์สมบูรณ์แล้วยังประโยชน์ผู้อื่นต่อไป(หลวงตามหาบัว)

image9

สงเคราะห์…พระเณร กิจสูงสุดในพระพุทธศาสนา ท่านสมบูรณ์แล้วเหมือนพระในครั้งพุทธกาลที่ออกบวชมุ่งปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น หลังจากนั้นท่านก็เมตตาสงเคราะห์โลก

เนื่องจากพระเณรหมู่เพื่อนเคยได้ยินท่านพระอาจารย์มั่นปรารภถึงท่านอยู่เนือง ๆ ว่า “ท่านมหาฯฉลาดทั้งภายนอกภายใน ต่อไปจะเป็นที่พึ่งแก่หมู่คณะได้มาก” ดังนั้น หลังพิธีศพท่านพระอาจารย์มั่นเสร็จสิ้นลง พระเณรหมู่คณะหลายสิบรูป จึงต่างพากันติดตามท่าน เพื่อหวังพึ่งพิงและขอรับคำแนะนำข้ออรรถธรรม และข้อวัตรปฏิบัติจากท่าน ท่านก็ให้การเมตตาอนุเคราะห์แต่นั้นมา จนทุกวันนี้

การเทศนาพระเณร-ฆราวาส ปรากฏออกมาเป็นเทป-หนังสือจำนวนมากโดยแจกเป็นธรรมทานตลอดมา ไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใด เฉพาะหนังสือธรรมะภาษาไทยมีจำนวนกว่า ๑๐๒ เล่ม ภาษาอังกฤษกว่า ๘ เล่ม เทปเฉพาะที่มีการบันทึกการเทศนามีหลายพันกัณฑ์ อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงตา

กำเนิด ในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะกิน ณ บ้านตาด อุดรธานี

วันเกิด ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖

นาม บัว โลหิตดี

พี่น้องทั้งหมด ๑๖ คน

สมัยเด็ก เคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยได้ร่วมทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ

วัยหนุ่ม เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำงานอะไรทำจริงๆ จังๆ เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวง อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงตามหาบัว

ประวัติ
ชาติกำเนิด
พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสัมปันโน) หรือ หลวงตามหาบัว เดิมมีชื่อว่า “บัว โลหิตดี” ท่านเกิดวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ณ ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ท่านมีพี่น้องทั้งหมด 16 คน ในวัยเด็กท่านเป็นคนที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยได้ทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ

อุปสมบท
เมื่อท่านอายุครบอุปสมบทแล้ว บิดาและมารดาของท่านปรารถนาที่จะให้ท่านบวชด้วยหวังพึ่งใบบุญจากการบวชของท่าน แต่ท่านก็ไม่ตอบรับแต่ประการใด ซึ่งทำให้บิดาและมารดาของท่านถึงกับน้ำตาไหล ด้วยเหตุนี้ทำให้ท่านกลับมาพิจารณาถึงการออกบวชอีกครั้ง ในที่สุดจึงได้ตัดสินใจที่จะออกบวชโดยท่านได้กล่าวกับมารดาว่า “เรื่องการบวชจะบวชให้ แต่ว่าใครจะมาบังคับไม่ให้สึกไม่ได้นะ บวชแล้วจะสึกเมื่อไหร่ก็สึก ใครจะมาบังคับว่าต้องเท่านั้นปีเท่านี้เดือนไม่ได้นะ” ซึ่งมารดาของท่านก็ตกลงตามที่ท่านขอ อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)

200px-AjahnMahaBua

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) หรือที่มักรู้จักในนามหลวงตามหาบัว (12 สิงหาคม พ.ศ. 2456 – 30 มกราคม พ.ศ. 2554) เป็นพระภิกษุชาวจังหวัดอุดรธานี สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ฝ่ายวิปัสสนาธุระ อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดป่าบ้านตาด ท่านเป็นศิษย์ของพระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต)) ซึ่งได้มีโอกาสอุปฐากรับใช้หลวงปู่มั่นในช่วงปัจฉิมวัยและเป็นผู้หนึ่งที่ได้บันทึกประวัติของหลวงปู่มั่นโดยละเอียดในเวลาต่อมา

หลวงตามหาบัวเป็นที่รู้จักในฐานะพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานผู้มีปฏิปทาที่มั่นคง แน่วแน่ เด็ดขาด และจริงจัง บรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่มั่นต่างนับถือกันว่าท่านเป็นลูกศิษย์องค์หนึ่งที่มีปฏิปทาที่คล้ายคลึงกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต การกล่าวขวัญถึงท่านในหมู่ผู้ศรัทธามีหลายเรื่องค่อนไปในเชิงอภินิหาร เช่น การล่วงรู้วาระจิตของบุคคลอื่น การที่เศษผม เศษเล็บ และชานหมากของท่านกลายเป็นพระธาตุไปตั้งแต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม

พระอริยสงฆ์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่หลวงตากล่าวถึง…ว่าเป็นเนื้อนาบุญของโลก

พระอริยสงฆ์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ที่หลวงตากล่าวถึง…ว่าเป็นเนื้อนาบุญของโลก
———————
พระอริยสงฆ์ที่องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน (พระอรหันต์แห่งประวัติชาติไทยองค์ปัจจุบัน
แห่งวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ) ได้กล่าวถึงว่าท่านเหล่านี้ได้ปฏิบัติธรรมจนสามารถทำจิตให้บริสุทธิ์,
และหมดแห่งกิจที่ควรทำแล้ว ก็จะมีครูบาอาจารย์ต่างๆในสายพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่นมากมาย
ที่ท่านหลวงตามหาบัวได้กล่าวถึงประจำ แต่ในบางครั้งท่านเหล่านั้นจะไม่พูดว่าได้ขั้นไหน ๆ แล้วเพราะท่าน
อาจจะมองเห็นปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น คนมารุมตอม.ไม่เว้นแต่ละวันทำให้ท่านไม่ได้พักผ่อน

ยกตัวอย่างเหตุกาณ์ ในวันนั้นที่ข้าพเจ้าถามพระเถระพระป่า (ไม่ขอเอ่ยนามท่าน) ข้าพเจ้าถามว่า…..ดังนี้

..หลวงปู่เป็นพระอรหันต์หรอครับ….
ท่านก็จะตอบว่า……….ดูเอานี่ไงหันซ้ายหันขวา..
แล้วท่านก็…..จะทำท่าหันไปข้างซ้าย…หันไปข้างขวาให้เราดู…
คนถามก็จะอดหัวเราะไปกับท่านไม่ได้ครับ……..
อ่านเพิ่มเติม

‘หลวงตามหาบัว’ เล่าถึงวินาทีมรณภาพ ของ หลวงปู่เสาร์ – หลวงปู่มั่น

‘หลวงตามหาบัว’ เล่าถึงวินาทีมรณภาพ ของ หลวงปู่เสาร์ – หลวงปู่มั่น

สมัยปัจจุบันครูอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติดีจนปรากฏชื่อลือนามก็มี ๒ องค์ คือพระอาจารย์เสาร์ และพระอาจารย์มั่น แต่เวลานี้ท่านมรณภาพเสียแล้ว พระอาจารย์ทั้งสององค์นี้ ปรากฏว่าเป็นผู้เด็ดเดี่ยว อาจหาญในทางความเพียรมาก จนปรากฏเป็นคติตัวอย่างแก่บรรดาศิษย์รุ่นหลังได้ถือเป็นปฏิปทาอันดีตลอดมา

ท่านพระอาจารย์ทั้งสองนี้ชอบแสวงหาที่สงัดวิเวก แต่เริ่มอุปสมบทตลอดมาจนถึงวาระสุดท้าย ไม่เคยลด ละ ผลความดีของท่านที่บำเพ็ญมาจึงแสดงออกให้โลกได้ทราบกิตติศัพท์กิตติคุณฟุ้งขจรไปทุกหนทุกแห่งว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์และท่านพระอาจารย์มั่นเป็นพระสำคัญ ทั้งด้านปฏิบัติและความรู้ภายในใจ คุณสมบัติทั้งนี้ฟุ้งขจรมาให้ประชาชนได้ยินทั่วถึงกันในสมัยปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนสุดท้ายก่อนลาขันธ์ ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

คำสอนสุดท้ายก่อนลาขันธ์ ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ปนิธานของหลวงปู่มั่นท่านให้น้ำหนักการสอนไปที่พระเณรมากกว่าฆราวาส ด้วยเหตุผลที่ว่า ถ้าได้พระดีแม้รูปเดียวก็จะอำนวยประโยชน์ และขยายผลออกไปได้อย่างมหาศาล ซึ่งก็เป็นที่ประจักษ์ดีอยู่แล้ว ดังจะเห็นว่าหลวงปู่ หลวงพ่อ ครูบาอาจารย์ที่เป็นศิษย์สายหลวงปู่มั่นนั้นแต่ละองค์ได้สร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชน สังคม และพระศาสนาอย่างมหาศาล ไม่ต้องยกตัวอย่างพวกเราก็คงพอนึกออกได้เป็นอย่างดี

ในเนื้อธรรมที่แสดงในระยะเริ่มป่วยคล้ายกับเป็นการเตือนสงฆ์ว่า นับแต่ท่านเริ่มป่วยคราวนี้ เป็นการป่วยในลักษณะที่ถอดถอนรากเหง้าของเค้ามูลชีวิตธาตุขันธ์เกี่ยวกับการผสมทุกส่วนของร่างกายให้ลดความดีงามคงที่ลงเป็นของชำรุดใช้งานไม่ได้โดยลำดับ

เกี่ยวกับคำสอนในช่วงสุดท้านของหลวงปู่มั่นที่ท่านแสดงเพื่อสอนพระเณรในช่วงที่ท่านเริ่มป่วย จนกระทั่งลาขันธ์นั้น หลวงตามหาบัวได้บันทึกไว้ดังนี้
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .