ประวัติพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)–ตอนมรณภาพ

เมื่ออายุย่างสู่วัย ๖๐ หลวงพ่อก็มีอาการผิดปกติทางร่างกายเกิดขึ้น เริ่มจากรู้สึกว่า ร่างกายโงนเงน การทรงตัวไม่ค่อยดี มีอาการปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ บางครั้งหลวงพ่อมีอาการทรุดหนัก แต่เมื่อลูกศิษย์ลูกหามาเยี่ยม ท่านจะนั่งพูดคุยด้วยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ลูกศิษย์ต่างวิตกเรื่องการอาพาธของหลวงพ่อ แต่ท่านกลับห่วงการประพฤติปฏิบัติของลูกศิษย์มากกว่า

กลางเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๔ อาการอาพาธของหลวงพ่อทรุดลงอีก ศิษย์จึงกราบนิมนต์ท่านไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ขณะนั้นหลวงพ่อยังพอเดินเองได้ แต่ต้องพยุงบ้าง ผลการตรวจของแพทย์พบว่า ช่องภายในสมองมีขนาดโตผิดกว่าปกติ เป็นโรคน้ำไขสันหลังสมองคั่ง คณะแพทย์จึงได้ทำการผ่าตัด อาการดีขึ้นนิดหน่อย แต่ความจำไม่ค่อยดี

เมื่อกลับมาถึงวัดหนองป่าพง อาการกลับแย่ลงอีก ต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๕ ลูกศิษย์จึงนิมนต์ท่านเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าฯ รับหลวงพ่อไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ผลการตรวจแพทย์ได้วินิจฉัยอาการป่วยของท่านว่า มีสาเหตุมาจากเนื้อสมองเสื่อมจากเส้นเลือดอุดตัน และเนื้อสมองตายเป็นหย่อมๆ รวมทั้งเป็นเบาหวานด้วย อาการทั่วไปไม่ดีขึ้นเลย หลังจากพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนานถึง ๕ เดือน ท่านพระอาจารย์เลี่ยม ฐิตธมฺโม (รักษาการเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพงขณะนั้น) จึงตัดสินใจนิมนต์หลวงพ่อกลับวัดหนองป่าพง

หลวงพ่อได้เข้าพักในกุฏิพยาบาล ซึ่งสร้างขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตพระบรมราชินีนาถ และคณะศิษย์ได้ร่วมสมทบโดยเสด็จพระราชกุศล แม้หลวงพ่อจะอาพาธหนัก แต่บรรยากาศของวัดหนองป่าพงยังคงสงบและมั่นคง วัตรปฏิบัติของพระเณรดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะพระเถระร่วมกันปกครองหมู่คณะแทนหลวงพ่อและทุกๆ ปี จะมีการประชุมใหญ่ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน (วันคล้ายวันเกิดของหลวงพ่อ) พระสงฆ์จากทุกสำนักสาขาทั้งในและต่างประเทศ จะเดินทางมาร่วมปฏิบัติบูชารำลึกถึงคุณของหลวงพ่อ รวมทั้งประชุมกันในวันนั้น

อาการของหลวงพ่อมีแต่ทรงกับทรุดเรื่อยมา จนกระทั่งเช้ามืดวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๕ เวลา ๐๕.๒๐ น. หลวงพ่อได้ละสังขารไปด้วยอาการสงบ ภายในกุฏิพยาบาล ท่ามกลางความเศร้าสลดของบรรดาลูกศิษย์

ตลอดชีวิตสมณะของหลวงพ่อ ท่านได้สร้างคุณงามความดีมากมายเกินกว่าที่จะกล่าวถึงให้ครอบคลุมทั้งหมดได้ สำนักวัดหนองป่าพงและสาขาน้อยใหญ่ อันเป็นวัดซึ่งมุ่งประโยชน์ด้านปฏิบัติเพื่อนำผู้คนไปสู่ความพ้นทุกข์อย่าง แท้จริง ลูกศิษย์ลูกหาทั้งที่เป็นพระและฆราวาส ล้วนเป็นผู้ทรงธรรมวินัย และคนที่ท่านได้สร้างมานั้น ก็ได้ขยายบุญเขตกว้างขวางออกไปเรื่อยๆ โดยมีภาพลักษณ์ของหลวงพ่อเป็นตัวอย่าง เป็นขวัญและกำลังใจให้อย่างยอดเยี่ยม

ขอขอบคุณ http://www.watkhaophaengma.com/

ประวัติพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)–ตอนหนองป่าพง

วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๗ หลวงพ่อและคณะธุดงค์ก็เดินทางมาถึงชายป่าดงดิบอันหนาทึบ ชาวบ้านเรียกว่า ดงหนองป่าพง ห่างจากบ้านก่อบ้านเกิดของท่านไม่ไกลนัก ต่อมาเห็นว่าควรตั้งเป็นสำนักสงฆ์ จึงได้เริ่มการปลูกสร้างเสนาสนะขึ้นด้วยแรงศรัทธาจากญาติโยมชาวบ้านก่อและ บ้านกลาง มีกุฏิเล็กๆ ๓-๔ หลัง มุงด้วยหญ้าคา ปูด้วยฟากไม้ไผ่ ฝาทำด้วยใบตองชาดและต้นเลาต้นแขม ต่อจากนั้นหลวงพ่อก็พาญาติโยมออกไปปักเขตวัดเนื้อที่ประมาณ ๑๘๗ ไร่ และตัดถนนรอบ หลวงพ่อตั้งชื่อวัดว่า “วัดหนองป่าพง” แต่ชาวบ้านมักเรียกกันติดปากว่า วัดป่าพง

ในระยะเริ่มแรกของการก่อตั้งวัดนี้ พระภิกษุสามเณร รวมทั้งแม่ชีด้วย ต่างอยู่กันด้วยความลำบากทั้งเรื่องที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งเครื่องห่มและเรื่องอาหารบิณฑบาต ถึงขนาดบางวันได้ฉันกล้วยแค่คนละครึ่งลูกก็มี แต่ทุกคนก็อยู่กันได้ด้วยธรรมปฏิบัติ กฎระเบียบหรือกิจวัตรต่างๆ ก็ไม่ต้องมีการจ้ำจี้จ้ำไชกันให้มากความ เพราะทุกคนที่อยู่ด้วยกันนั้นต่างมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติธรรมบำเพ็ญเพียรกัน อยู่แล้ว เพียงแต่บอกกล่าวกันนิดหน่อยเมื่อมีการผิดพลาดในบางโอกาสเท่านั้น

สภาพปัจจุบันของวัดหนองป่าพง เป็นสำนักวัดป่าที่มีพระภิกษุสามเณรมาอาศัยประพฤติปฏิบัติธรรมเรือนร้อย มีกุฏิพระกว่า ๗๐ หลัง กุฏิแม่ชีกว่า ๖๐ หลัง นอกจากนั้นยังมีโบสถ์ ศาลาอเนกประสงค์ โรงฉัน เมรุเผาศพ เป็นต้น บนเนื้อที่ ๓๐๐ ไร่

นอกจากนั้น วัดหนองป่าพงยังมีวัดสาขาในประเทศไทย ๘๒ แห่ง ในต่างประเทศ ๘ แห่ง สาขาสำรองอีก ๕๑ แห่ง หลวงพ่อให้เหตุผลของการขยายสาขาไว้หลายประการ เป็นต้นว่า เพื่อนุเคราะห์ญาติโยมผู้ต้องการสร้างวัดป่าใกล้บ้านของตนเพื่อเป็นที่พึ่ง ทางใจ การส่งพระออกไปตามคำนิมนต์ของชาวบ้านอย่างนี้ ถือเป็นการตอบสนองความต้องการของสังคม สำหรับพระเถระที่รับผิดชอบเป็นเจ้าของสำนักในแต่ละวัด ท่านก็ได้มีโอกาสใช้ความรู้ความสามารถที่ได้ศึกษามา สร้างประโยชน์แก่พระศาสนามากขึ้น และการที่หลวงพ่อคอยส่งคนเก่าออกจากวัดหนองป่าพงเรื่อยๆ ก็ทำให้มีที่ว่างสำหรับคนใหม่อยู่เสมอ

ปี พ.ศ.๒๕๒๐ หลวงพ่อได้ออกเดินทางไปเผยแผ่พุทธธรรมที่ประเทศอังกฤษ ตามคำนิมนต์ของนายยอร์ช ชาร์ป (George Sharp) ประธานมูลนิธิกิจการสงฆ์แห่งอังกฤษ (English Sangha Trust E.S.T)[5] การเดินทางไปยังดินแดนตะวันตกในครั้งนี้ ส่งผลให้สำนัก BBC ประเทศ อังกฤษ ส่งหนังสือติดต่อขอถ่ายทำภาพยนต์สารคดี เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่วัดหนองป่าพง และจากภาพยนต์สารคดีเรื่องนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จนทำให้ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ มูลนิธิกิจการสงฆ์แห่งอังกฤษจึงได้นิมนต์หลวงพ่อเดินทางไปเผยแผ่พระธรรมใน ประเทศอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง และครั้งหลังนี้หลวงพ่อใช้เวลาเดินทางเผยแผ่อยู่ถึงสองเดือน

จากการเดินทางไปตะวันตกสองครั้งของหลวงพ่อ ทำให้ปัจจุบันนี้มีสำนักสาขาของวัดหนองป่าพงในต่างประเทศกว่า ๑๐ แห่ง ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ คือ อังกฤษ สวิสเซอร์แลนด์ อิตาลี นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา

ขอขอบคุณ http://www.watkhaophaengma.com/

ประวัติพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)–ตอนออกศึกษาต่างถิ่น

ปี พ.ศ.๒๔๘๔ ท่านก็ได้ตัดสินใจออกแสวงหาความรู้ในต่างถิ่น โดยไปพำนักยังวัดสวนสวรรค์ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี และไปเรียนหนังสืออยู่ที่สำนักเรียนวัดโพธิ์ตาก หลังจากนั้นก็เดินทางไปยังสำนักเรียนวัดบ้านหนองหลัก ตำบลเหล่าบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี แต่ไม่ได้จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ เพราะเพื่อนของท่านไม่อยากอยู่ จึงเดินทางไปจำพรรษาอยู่ที่สำนักเรียนวัดเค็งใหญ่ อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านได้ศึกษานักธรรมชั้นโทและบาลีไวยากรณ์ และสอบนักธรรมชั้นโทได้ที่วัดนี้

ปี พ.ศ.๒๔๘๖ ท่านได้เดินทางกลับมาจำพรรษายังสำนักเรียนวัดบ้านหนองหลัก และได้ทุ่มเทกายใจศึกษาทั้งนักธรรมและบาลีอย่างเต็มที่ เมื่อออกพรรษาก็ได้รับข่าวว่าโยมบิดาป่วยหนัก ท่านลังเลอยู่นาน ห่วงโยมบิดาก็ห่วง เรื่องเรียนก็ห่วง แต่ในที่สุดก็ตัดสินใจเดินทางกลับบ้านไปดูโยมบิดาและตัดสินใจไม่กลับไปสอบ อยู่ดูแลโยมบิดาจนกระทั่งวาระสุดท้าย

ก่อนถึงแก่กรรม โยมบิดาได้ขอร้องท่านว่า “อย่าลาสิกขานะ อยู่เป็นพระอย่างนี้แหละดี สึกออกมามันยุ่งยากลำบาก หาความสบายไม่ได้” ก่อนหน้านี้ เมื่อได้ยินคำพูดแบบนี้ท่านจะนิ่งไม่โต้ตอบอะไร แต่ในครั้งนี้ ท่านกลับให้คำตอบกับโยมว่า “ไม่สึกหรอก จะสึกไปทำไม”

จากคำสั่งเสียของโยมบิดา บวกกับจิตใจที่เริ่มเบื่อหน่ายต่อการศึกษา ซึ่งท่านรู้สึกว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงอยากจะศึกษาทางปฏิบัติดู ในที่สุดก็ท่านก็เปลี่ยนแนวคิดจากการมุเรียนด้านปริยัติ เริ่มชีวิตธุดงค์ออกเดินทางแสวงหาครูบาอาจารย์ตามที่ต่างๆ

ปี พ.ศ.๒๔๘๙ ท่านได้เดินทางไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาวงกต จังหวัดลพบุรี ที่นี่ท่านได้ทดลองวิธีการภาวนาหลายอย่าง ทั้งการนับลูกประคำ และการเจริญอานาปานสติแบบต่างๆ เป็นต้น และเริ่มหาวิธีกำจัดกามราคะ ซึ่งท่านเรียกว่าเป็นเรื่อง “ยากยิ่งสิ่งเดียว” สำหรับท่าน

พอออกพรรษาในปีเดียวกันนั้น หลวงพ่อก็ได้เดินธุดงค์ไปนมัสการหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต วัดหนองผือนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร หลวงปู่มั่น ได้คลายความสงสัยข้องใจให้ท่านเกี่ยวกับเรื่องนิกายทั้งสองเสียได้ และนอกจากนั้นท่านยังหมดความลังเลสงสัยในหนทางประพฤติปฏิบัติ มีกำลังใจอาจหาญที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานให้ได้

หลวงพ่อพักอยู่สำนักหลวงปู่มั่นเพียง ๒-๓ วัน ก็ออกธุดงค์รอนแรมตามป่าเขาไปเรื่อยๆ ในขณะนั้น ไม่ว่าจะเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิอยู่ที่ใด ก็มีความรู้สึกราวกับว่าหลวงปู่มั่นคอยติดตามให้คำแนะนำตักเตือนอยู่ตลอด เวลา การมากราบนมัสการหลวงปู่มั่นในครั้งนี้ ทำให้ศรัทธาของหลวงพ่อแกร่งกล้าขึ้น พร้อมที่จะเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการทำความเพียร

ขอขอบคุณ http://www.watkhaophaengma.com

ประวัติพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) –ตอนอุปสมบท

เมื่ออายุครบ ๒๑ และทราบว่าไม่ต้องเข้ารับราชการทหาร นายชาก็ตัดสินใจออกบวชด้วยความชื่นชมยินดีของพ่อแม่ กำหนดการอุปสมบทมีขึ้น ในวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒ ณ พัทธสีมาวัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี

ท่านพระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระอธิการสวน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ท่านได้รับฉายาว่า สุภทฺโท (ผู้เจริญด้วยดี)

พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดก่อนอก ๒ พรรษา ระหว่างนั้นได้ศึกษาพระปริยัติธรรมสอบได้นักธรรมชั้นตรี แม้ที่วัดนี้ท่านจะยังไม่ได้ฝึกฝนอะไร แต่ก็ได้พิจารณาเห็นความเป็นไปหลายสิ่งหลายอย่าง การบวชๆ สึกๆ ของพระภิกษุสามเณรทั้งหลาย ท่านเห็นว่าเป็นเรื่องโง่มาก การบวชเป็นเรื่องยาก การสึกนั้นง่าย ท่านถือว่าคนพวกนี้มีบุญน้อยที่เห็นชีวิตแบบโลกดีกว่าชีวิตนักบวช นอกจากนี้ท่านยังต้องผจญกับความหิวความอยากที่กลุ้มรุมท่านเป็นอย่างมาก เพราะปกติท่านเป็นคนที่เจริญอาหารอยู่แล้ว ความอยากเกี่ยวกับอาหารการฉันจึงเล่นงานท่านอย่างหนักทีเดียว

ขอขอบคุณ http://www.watkhaophaengma.com

ประวัติพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) –ตอนบรรพชา

หลังจากนั้นไม่นาน เด็กชายชาได้ขอให้พ่อแม่พาตัวไปฝากเป็นลูกศิษย์วัด พ่อแม่ก็ไม่ขัดข้องและพาไปอยู่ในความอุปาระของพระอาจารย์ลีที่วัดบ้านก่อนอก เด็กชายชาจึงมีโอกาสได้เรียนรู้กฎระเบียบและกิจวัตรประจำวันต่างๆ เมื่อได้รับการอบรมพอสมควรและมีอายุถึงเกณฑ์บรรพชา ท่านเจ้าอาวาสเห็นว่าเป็นเด็กเรียบร้อย ทั้งขยันหมั่นเพียร รู้จักอุปัฏฐากรับใช้ครูอาจารย์ด้วยดีมาตลอด จึงจัดการให้ได้บรรพชาพร้อมกับเพื่อนๆ อีกหลายคน โดยมีพระครูวิจิตรธรรมภาณี(พวง) เจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม จ.อุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดบ้านก่อ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๗๔ ขณะนั้นหลวงพ่ออายุได้ ๑๓ ปีพอดี

เมื่อบรรพชาแล้วนอกจากการท่องบทสวดมนต์ต่างๆ สามเณรชาได้เรียนหลักสูตรนักธรรมตรีและเรียนหนังสือพื้นเมืองที่เรียกว่า “หนังสือตัวธรรม” อย่างเชี่ยวชาญ
ระหว่างที่บรรพชาอยู่นั้น สามเณรชาได้อุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์รูปหนึ่ง คือท่านอาจารย์ลัง จนได้รับความรักใคร่เอ็นดูจากท่านเป็นพิเศษ อาจารย์ลังได้เป็นธุระในการอบรมสั่งสอน และเอาใจใส่ดูแลการศึกษาเล่าเรียนของสามเณรอย่างใกล้ชิด เป็นเหตุให้ได้รู้จักกับครอบครัวของลูกศิษย์ด้วย เมื่อมีโอกาสว่างพระอาจารย์ลังก็มักชวนสามเณรกลับไปเยี่ยมบ้านและไปบ่อยขึ้น ทุกที บางทีก็อยู่จนดึกจึงกลับวัด ในระยะหลังๆ พระอาจารย์ลังก็ปรารภเรื่องทางโลกบ่อยๆ จนกระทั่งวันหนึ่งก็ได้ชักชวนให้ลูกศิษย์ลาสิกขาบทไปด้วยกัน จิตใจของสามเณรน้อยก็หวั่นไหว เพราะศรัทธาในพระศาสนายังไม่หนักแน่นมั่นคงพอที่จะอยู่ต่อได้ ถ้าอาจารย์ของตนจากไป เมื่อถูกครูบาอาจารย์ชวนบ่อยๆ ก็เลยลาสิกขาตามไปในที่สุด ตอนนั้นอายุได้ ๑๖ ปี

ขอขอบคุณ http://www.watkhaophaengma.com

ประวัติพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) –ตอนปฐมวัย

หลวงพ่อชา สุภทฺโท เป็นลูกอีสานโดยกำเนิด ท่านเกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของอำเภอวารินชำราบ ชื่อบ้านก่อ เมื่อวันศุกร์ ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๔๖๑ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย

ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕ ของนายมา และนางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมมารดา ๑๐ คน ท่านเป็นคนช่างพูด และมีลักษณะผู้นำมาตั้งแต่เด็กๆ เมื่ออยู่กับหมู่เพื่อน ไม่ว่าจะเล่นหรือทำอะไรก็ตาม ท่านมักเป็นผู้วางแผนมอบหมายหน้าที่แก่คนอื่นเสมอ โดยปกติท่านเป็นคนอารมณ์ดี ร่าเริง วันไหนขาดท่าน เพื่อนๆ จะเงียบเหงา คุยหรือเล่นไม่ค่อยมีรสชาติ

ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของท่าน คือ ความรักสันติ ไม่เคยมีใครเห็นท่านมีเรื่องราวทะเลาะเบาะแว้งเป็นปากเป็นเสียงกับใคร โดยเฉพาะการชกต่อยข่มเหงรังแกกับผู้อ่อนแอกว่านั้นยิ่งไม่มีเลย ตรงกันข้ามเมื่อเพื่อนฝูงมีปัญหาขัดใจกัน ท่านจะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยคลี่คลายให้เรียบร้อยได้ด้วยความสามารถอันเป็น ลักษณะเฉพาะตัว ประกอบกับปกติท่านเป็นคนมีน้ำในโอบอ้อมอารี และให้ความเป็นธรรมแก่ทุกคนเสมอ เพื่อนๆ ก็เลยเกรงใจ

หลวงพ่อเติบโตขึ้นมาในบรรยากาศอบอุ่นและมั่นคง ครอบครัวของท่าน จัดว่ามีฐานะมั่งคั่งครอบครัวหนึ่งในหมู่บ้าน และมักสงเคราะห์ผู้ยากจนกว่าในยามข้าวยากหมากแพงอยู่เสมอ ตัวท่านเองเป็นเด็กที่มีกำลังวังชา กระฉับกระเฉงว่องไว ธาตุไฟแรง กินจุเป็นนิสัย แต่ความที่ท่านเป็นคนขยันไม่อยู่นิ่ง จึงสามารถช่วยงานในครอบครัวได้เป็นอย่างดีตั้งแต่อายุยังน้อย งานหลักที่เด็กชายชาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญมีอยู่ ๒ อย่าง คือ งานเลี้ยงควายและดูแลไร่ยาสูบ แต่งานหนักคืองานในไร่ยาสูบ ซึ่งมีถึง ๔-๕ ไร่ ปีหนึ่งๆ ต้องรดน้ำพรวนดิน ดูแลเก็บเกี่ยวจนได้ผลผลิตเป็นยาสูบ ซึ่งใช้แลกเปลี่ยนกับผลผลิตอย่างอื่น เช่น อาหารและสิ่งของเครื่องใช้กับเพื่อนบ้านใกล้เคียง

ขอขอบคุณ  http://www.watkhaophaengma.com/

หลวงปู่ชา สุภัทโท

cha1

พระโพธิญาณเถระ หรือ หลวงปู่ชา สุภัทโท นามเดิม ชา ช่วงโชติ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑
ณ บ้านก่อ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒ ณ วัดก่อใน ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี อุปสมบทแล้วท่านได้อุทิศตนศึกษาพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง แล้วจึงจาริกออกปฏิบัติธรรมตามป่าเขาลำเนาไพร จนเมื่อได้เวลาอันสมควร คือ พ.ศ. ๒๔๙๗ จึงกลับมาก่อตั้งวัดหนองป่าพง ซึ่งเป็นวัดป่าฝ่ายอรัญวาสีที่บ้านเกิด โดยมีท่านเองเป็นเจ้าอาวาส พร้อมทั้งได้เริ่มงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา แก่พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และได้ก่อตั้งวัดป่านานาชาติเพื่อเป็นวัดนานาชาติสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการบวชในพระพุทธศาสนา นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ปัจจุบันวัดหนองป่าพงมีสาขาอยู่ทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก รวมแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐๐ สาขา หลวงปู่ชามรณภาพเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ นับว่าเป็นพระมหาเถระที่มีผลงานทางด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้านวิปัสสนาธุระที่โดดเด่นที่สุดรูปหนึ่งของสังคมไทยปัจจุบัน

ขอขอบคุณ http://www.dhammathai.org

ประวัติหลวงพ่อชา

lp_cha4

พระโพธิญาณเถร นามเดิมว่า ชา ช่วงโชติ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑ ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ ๙ ตำบลธาตุ อำเภอ วารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี ตามประวัติท่านมีจิตฝักใฝ่ธรรมมาแต่เด็กบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อเดือนมีนาคม ๒๔๗๔ ได้ ๓ พรรษา แล้วก็ลาสิกขาอุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ออกศึกษาปริยัติต่างถิ่นโดยเริ่มที่วัดสวนสวรรค์ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี การที่ท่านบวชแต่เยาว์วัยยังผลให้ท่านมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนทางโลกเพียงแค่ชั้นประถมปีที่ ๑

หลวงพ่อชาเป็นผู้สนใจธรรมมาก ท่านมีความปรารถนาอยากรู้แจ้งเห็นจริงตามคำสอนของพระพุทธองค์ จึงเริ่มศึกษาธรรมจากสำนักต่าง ๆ หลายสำนักระยะแรกในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๖ ศึกษาปริยัติธรรมกับพระมหาแจ้ง วัดเค็งใหญ่ อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี และพระครูอรรถธรรมวิจารณ์ วัดหนองหลัก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ปี ๒๔๘๖ เมื่อโยมบิดาถึงแก่กรรม หลวงพ่อชาสิ้นภาระห่วงใย มองเห็นความเป็นอนิจจังของชีวิต หลังจากสอบนักธรรมเอกได้เกิดเบื่อหน่ายด้านปริยัติ พิจารณาว่าไม่ใช้ทางพ้นทุกข์ ประสงค์จะศึกษาด้านวิปัสสนาธุระบ้าง จึงออกธุดงค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ เพื่อค้นหาอาจารย์ที่จะสอนด้านวิปัสสนาธุระ โดยระยะแรกมุ่งหน้าไปจังหวัดสระบุรี-ลพบุรี ที่ลพบุรีมุ่งตรงมาที่สำนักวัดป่าของหลวงพ่อเภา แต่น่าเสียดายที่หลวงพ่อเภามรณภาพเหลือแต่อาจารย์วันลูกศิษย์ จึงได้แต่ศึกษาระเบียบข้อปฏิบัติที่หลวงพ่อเภาวางไว้ และจากอาจารย์วัน อาจารย์ที่สำคัญอีกองค์หนึ่ง คืออาจารย์ชาวเขมร (ซึ่งธุดงค์จากเขมรมาไทย และมุ่งไปพม่า) เป็นผู้วางหลักแนวทางปฏิบัติโดยใช้หนังสือ บุพพสิกขาวรรณนาวินัยกถา ซึ่งแต่งโดยพระอมรมภิรักขิต (เกิด) ในคณะธรรมยุตินิกาย หลวงพ่อชาจึงได้ใช้หนังสือบุพพสิกขาวรรณนาวินัยกถา เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในวัดหนองป่าพงและสาขามาจนทุกวันนี้ อ่านเพิ่มเติม

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)

หลวงปู่ชา_สุภัทโท

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) (17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 – 16 มกราคม พ.ศ. 2535) ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน

หลวงปู่ชา สุภทฺโท ขณะมีชีวิตอยู่ท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรมและเผยแพร่พุทธศาสนา ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งบังเกิดผลทำให้ผลงานที่เป็นประโยชน์อเนกอนันต์แก่พระศาสนา ทั้งที่เป็นพระธรรมเทศนา และสำนักปฏิบัติธรรมในนามวัดสาขาวัดหนองป่าพงมากมาย ซึ่งแม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่ศิษยานุศิษย์ของท่านก็ยังคงรักษาแนวทางปฏิบัติธรรมที่

การศึกษา
หลวงปู่ชาได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถมปีที่ 1 แล้วได้ลาออกจากโรงเรียนเพราะมีจิตใจใฝ่ทางบวชเรียน ภายหลังเมื่อบวชเรียนแล้วได้เรียนหนังสือธรรมเรียนบาลีไวยากรณ์ เรียนมูลกัจจายน์ จนสามารถอ่านแปลภาษาบาลีได้ และได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้ชั้นสูงสุดสายนักธรรม คือ สอบได้นักธรรมชั้น เอก อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ พระเกจิชื่อดัง

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็นพระเกจิชื่อดัง เป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั้งประเทศ ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ จึงทำให้วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปด้วย หลวงพ่อคูณเป็นพระชาวบ้านที่เข้าถึงมวลชนทุกระดับชั้น ตั้งแต่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน นักการเมืองไปจนถึงชาวบ้าน ด้วยท่านมีเมตตามหานิยม มีวิธีการสั่งสอนที่ตรงไปตรงมาง่ายแก่การเข้าใจ ในแต่วันมีผู้ศรัทธาพากันมากราบนมัสการอย่างเนืองแน่น
ที่ตั้งและการเดินทาง ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด รถยนต์ส่วนตัว จากอำเภอด่านขุนทดให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 2217 ไปทางอำเภอบำเน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ประมาณ 11 กม.จะเห็นซุ้มประตูวัดทางขวามือชัดเจน เลี้ยวเข้าไปอีกราว 1 กม.จะถึงที่ตั้งวัด ถ้ามาจากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงหมายเลข 2 ขับผ่านอำเภอปากช่องถึงอำเภอสีคิ้ว เลี้่ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 201ขับตรงไปจนถึงอำเภอด่านขุนทด
รถประจำทาง นั่งสองแถวที่หน้า รพ.ด่านขุนทดราคา 6 บาทหรือนั่งมอเตอร์ไซด์รับจ้างจากหน้ารพ.ด่านขุนทดไปส่งราคาเดียว 60 บาทประวัติวัดบ้านไร่ : เดิมเป็นสำนักสงฆ์ที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2436 ในช่วงรัชกาลที่ 5 โดยมี พระอาจารเชื่อม
วิรโช เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ได้มีการสร้างศาสนอาคารต่างๆขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธเป็นเจ้าอาวาสได้มีการพัฒนาวัดมากที่สุด โดยมีผู้ศรัทธาจากทั่วประเทศ ได้ร่วมถวายวัตถุปัจจัยเป็นเงินมหาศาล หลวงพ่อคูณได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เพื่อกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ต่างๆ เช่นการบูรณะวัด การสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น

ขอขอบคุณ http://th49.ilovetranslation.com/

‘มหามงคล’จากเทพเจ้าด่านขุนทดหลวงพ่อคูณ

jbj966ee9bihfa7b8d5f6

วัดบ้านไร่ (วัดหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) ตั้งอยู่ในต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา มีชื่อเสียงเนื่องจากหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ พระเกจิชื่อดัง เป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั้งประเทศ ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ จึงทำให้วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปด้วย หลวงพ่อคูณเป็นพระชาวบ้านที่เข้าถึงมวลชนทุกระดับชั้น ตั้งแต่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน นักการเมืองไปจนถึงชาวบ้าน ด้วยท่านมีเมตตามหานิยม มีวิธีการสั่งสอนที่ตรงไปตรงมาง่ายแก่การเข้าใจ

เดิมที่วัดบ้านไร่เป็นสำนักสงฆ์ที่มีมาตั้งแต่ปี ๒๔๓๖ ในช่วงรัชกาลที่ ๕ โดยมีพระอาจารย์เชื่อม วิรโช เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกได้มีการก่อสร้างศาสนอาคารต่างๆ ขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็นเจ้าอาวาสได้มีการพัฒนาวัดมากที่สุด ด้วยมีผู้ศรัทธาจากทั่วประเทศได้ร่วมถวายวัตถุปัจจัยเป็นเงินมหาศาล โดยเริ่มสร้างอุโบสถ ปี ๒๔๙๖ นอกจากการก่อสร้างอุโบสถแล้ว หลวงพ่อคูณยังสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่ออุปโภคและบริโภค และที่สำคัญยังสร้างโรงเรียนไว้เพื่อเด็กบ้านไร่อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว หลวงพ่อคูณได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เพื่อกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ เช่น การบูรณะวัด การสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม

คำสอน หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ

koon2

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ท่านเป็นพระเถระที่มีพุทธศาสนิกชนเคารพเลื่อมใสศรัทธามากที่สุดอีกองค์หนึ่ง มโนสำนึกที่ท่านแสดงออกอย่างเห็นได้ชัดก็คือ ความเมตตาของท่านอย่างแท้จริงที่ท่านพยายามจะช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้พ้นจากความทุกข์ ผู้คนเป็นจำนวนมากมายที่ได้รับความเมตตาจากท่าน นับถือท่านประดุจดังเทพเจ้า และทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้กระทำลงไป ท่านทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ด้วยเมตตาธรรมอันสูงยิ่ง ทำให้คนที่เป็นทุกข์อยู่ได้มีความสุขใจได้ ระดับหนึ่ง จนท่านได้รับการกล่าวขานด้วยความเคารพนับถือจากพุทธศาสนิกชนทั่วไปว่า เป็นนักบุญแห่งที่ราบสูง
หลวงพ่อมีคำสอนที่ลึกซึ้ง กินใจ แม้ว่าบางครั้งคำพูดของท่านอาจจะฟังไม่ระรื่นหูนักสำหรับบางคน แต่ความหมายแห่งคำสอนของท่าน สามารถช่วยให้ผู้ที่ได้รับฟังและนำมาคิด ได้รับประโยชน์สุขในการดำรงชีวิตเป็นอย่างยิ่ง

• หลักการทำบุญ

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อเปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม โดยส่วนหนึ่งได้แก่การบริจาคปัจจัย หรือมอบเงินให้กับการกุศลจำนวนมากมหาศาล ซึ่งล้วนก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่สาธารณชนทั่วไป ดังเช่นคราวมอบเงินเพื่อสร้างโรงพยาบาล อำเภอสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมาจำนวนเงิน ๑๕ ล้านบาท หลวงพ่อให้จารึกที่ป้ายหน้าโรงพยาบาลว่า “หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ สร้างอุทิศส่วนกุศลให้ท่านอนุวงศ์ อดีตเจ้าเมืองเวียงจันทน์ (ประเทศลาว)” อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ แห่งวัดบ้านไร่

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ

• วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา

เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งใน อ.ด่านขุนทด หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ได้ปลูกสร้างขึ้นเป็นสำนักสงฆ์เล็กๆ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2496 โดยเริ่มสร้างอุโบสถ มีชาวบ้านได้ช่วยกันเข้าป่าตัดไม้ ซึ่งในสมัยก่อนมีอยู่มาก การตัดไม้ในสมัยนั้น ไม่ค่อยสะดวกนัก ไม่มีเครื่องจักร ไม่มีถนน กว่าจะได้ไม้ที่เลื่อยแปรสภาพสำเร็จ ต้องเผชิญกับการขนย้ายที่ยากลำบาก อาศัยโคเทียมเกวียนหรือใช้แรงงานคนลากจูงบนทางที่แสนทุรกันดาร แต่หลวงพ่อคูณก็สามารถนำชาวบ้านช่วยกันสร้างอุโบสถจนสำเร็จ (ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว และก่อสร้างหลังใหม่แทน) นอกจากการก่อสร้างอุโบสถแล้ว หลวงพ่อคูณยังสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่ออุปโภคและบริโภค และที่สำคัญยังสร้างโรงเรียนไว้เพื่อเด็กบ้านไร่อีกด้วย ปัจจุบันวัดบ้านไร่ได้มีการพัฒนาและมีผู้ใฝ่บุญจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมาแสวงบุญ
วัดบ้านไร่ เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัด เป็นสถานที่จำพรรษาของพระเทพวิทยาคม หรือ หลวงพ่อคูณ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ในแต่ละวันมีผู้คนจากทุกสารทิศเดินทางมานมัสการหลวงพ่อคูณเป็นจำนวนมาก ตรงหน้าปากทางเข้าวัดบ้านไร่ มีการตัดแต่งต้นไม้ให้เป็นระเบียบสวยงาม พร้อมทั้งทำความสะอาดป้ายวัดบ้านไร่ด้วย ส่วนถนนหน้าโรง เรียนวัดบ้านไร่ เข้าไปในวัดบ้านไร่ ยังมีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อในบ้างช่วง ครั้นมาถึงบริเวณหน้าวัดบ้านไร่ เข้าไปจะพบเห็นหน้าพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณที่สวยงาม และเพิ่งเปิดให้คนทั่วไปได้เข้าชม ด้านหลังพิพิธภัณฑ์ติดกับสระจระเข้ มีการตั้งร้านค้าขายของ ที่ได้ถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบไม่วุ่นวาย ท้ายวัดเป็นป่าละเมาะเล็กๆ มีต้นไม้ใหญ่ปลูกให้ร่มรื่น ส่วนข้างอุโบสถวัดบ้านไร่ และบริเวณโดยรอบอุโบสถ ถูกจัดแต่งเป็นสวนหย่อมเล็กๆ มีไม้ประดับงดงาม อ่านเพิ่มเติม

อริยเจ้าแห่งด่านขุนทด หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ

koon1

“คนเรา เมื่อมีเมตตาให้กับผู้อื่น ผู้อื่นเขาก็จะ ให้ความเมตตาตอบสนองต่อเรา ถ้าเราโกรธเขา เขาก็จะโกรธเราตอบเช่นกัน ความเมตตานี่แหละ คืออาวุธ ที่จะปกป้องตัวเราเอง ให้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง เป็นอาวุธที่ใคร ๆ จะนำเอาไปใช้ก็ได้ จัดว่าเป็นของดีนักแล”
หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เกจิดัง เทพเจ้าแห่งแห่งที่ราบสูง นครราชสีมา ทั่วฟ้าเมืองไทยจนกระทั่งชาวต่างชาติจากหลากหลายประเทศ ต่างรู้จักและศรัทธาหลวงพ่อคูณเป็นอย่างมาก หลังจากหลวงพ่อคูณอุปสมบทได้เพียง 7 พรรษา ท่านได้สร้างพระเครื่องขึ้นมาเป็นยุคแรก ซึ่งเป็นตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำ ใช้ฝังที่ใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่ ประมาณปี พ.ศ.2493 การปลุกเสกพระเครื่อง วัตถุมงคล และเครื่องรางของขลังของหลวงพ่อคูณ หลวงพ่อคูณจะใช้คาถาไม่กี่บท หัวใจพระคาถาคือ มะอะอุ นะมะพะธะ นะโมพุทธายะ พุทโธ และยานะ “ใครขอกูก็ให้ไม่เลือกยากดีมีจน” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อคูณ เนื่องจากวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ หลายคนถามท่านว่า หลวงพ่อคูณแจกให้กับคนไม่ดีเป็นโจรผู้ร้ายอย่างนี้หลวงพ่อไม่บาปหรือ หลวงพ่อคูณท่านตอบไปว่า กูจะไปรู้หรือว่ามันเป็นใคร ถ้ามันเป็นโจร เมื่อมันได้รับประโยชน์จากของที่กูแจก มันคงคิดได้ว่า เป็นเพราะพระศาสนา มันจะได้เข้ามาสนใจปฏิบัติธรรม ถ้ามีใจอยู่กับ “พุทโธ” ให้เป็นกลางๆ ไม่สอดส่ายไปไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใดๆ ในโลก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เมื่อครั้งเสด็จพร้อมสมเด็จพระราชินีนาถ บรรจุพระธาตุที่บุษบก วัดบ้านไร่ ตามคำเชิญของหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ พระองค์ท่านทรงนับถือ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เพราะท่านเป็นพระที่มากล้นด้วยทานบารมี บริจาคมาไม่น้อยกว่า 4,000 ล้านแล้ว เงินทุกบาททุกสตางค์ที่หลวงพ่อคูณได้รับมาท่านได้ทำทานบารมีหมด อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ เกจิที่มาแรงแห่งยุค

spd_20090502152747_b

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ มาแรงจริงๆครับ เกจิแห่งที่ราบสูง โคราช ทั่วฟ้าเมืองไทยจนกระทั่ง ชาวต่างชาติจากหลากหลายประเทศ ต่างรู้จักและศรัทธาหลวงพ่อคูณเป็นอย่างมาก หลังจากหลวงพ่อคูณอุปสมบทได้เพียง 7 พรรษา ท่านได้สร้างเครื่องราง,ของขลังขึ้นมาเป็นยุคแรก เป็นตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำ เพื่อฝังที่ใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่ ประมาณปี พศ..2493 การปลุกเสก พระเครื่อง ของขลังของหลวงพ่อคูณ หลวงพ่อคูณจะใช้คาถาไม่กี่บท หัวใจพระคาถาคือ มะอะอุ นะมะพะธะ นะโมพุทธายะ พุทโธ และยานะ

“ใครขอกูก็ให้ไม่เลือกยากดีมีจน” เป็นคำกล่าวของท่าน เนื่องจากวัตถุมงคลของหลวงพ่อได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ หลายคนถามว่า หลวงพ่อคูณแจกให้กับคนไม่ดีเป็นโจรผู้ร้ายอย่างนี้หลวงพ่อไม่บาปหรือ
หลวงพ่อคูณท่านตอบไปว่า กูจะไปรู้หรือว่ามันเป็นใคร ถ้ามันเป็นโจร เมื่อมันได้รับประโยชน์จากของที่กูแจก มันคงคิดได้ว่า เป็นเพราะพระศาสนา มันจะได้เข้ามาสนใจปฏิบัติธรรม “ถ้ามีใจอยู่กับ “พุทโธ” ให้เป็นกลางๆ ไม่สอดส่ายไปไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใดๆ ในโลก” อ่านเพิ่มเติม

เบื้องหลังพินัยกรรมหลวงพ่อคูณ ทำไมไม่ให้เก็บศพไว้บูชาเหมือนเกจิรูปอื่นๆ

808346

เบื้องหลังพินัยกรรมหลวงพ่อคูณ

ทำไมไม่ให้เก็บศพไว้บูชาเหมือนเกจิรูปอื่นๆ
——————-
เปิดพินัยกรรมหลวงพ่อคูณ บริจาคศพให้คณะแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อนนำมาฌาปนกิจแบบเรียบจ่าย ห้ามขอพระราชทานเพลิงศพ อัฐิ อังคารลอยแม่น้ำโขง
พินัยกรรมก่อนตายของหลวงพ่อคูณเขียนเอาไว้เมื่อประมาณ ๔ ปีที่ผ่านมา โดยพินัยกรรมดังกล่าวมีพยานรับรอง ๔ คน คือ ๑.ร.ศ.สุขชาติ เกิดผล รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๒.นายประทีป วงษ์กาญจนรัตน์ ๓.นายธวัช เรืองหร่าย ไวยาวัจกรวัดบ้านไร่ และ ๔.นายเนาวรัตน์ สังการกำแหง นิติกร ๘ (ชำนาญการ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สำหรับเนื้อหาพินัยกรรมดังกล่าวมีข้อความว่า อาตมาหลวงพ่อคูณ อายุ ๗๗ ปี ถิ่นพำนักวัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๓ ขอทำพินัยกรรมกำหนดการ เผื่อถึงการมรณภาพ เกี่ยวกับเรื่องการจัดงานศพของอาตมา ภายหลังที่อาตมาถึงมรณภาพลง อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา

pkun

ประวัติหลวงพ่อคูณ นับว่าเป็นที่น่าสนใจมากด้วยเอกลักษณ์ส่วนตัวของ หลวงพ่อคูณ ไม่ว่าจะเป็นท่านั่งยอง พูดภาษามึงกู ปัจจุบันอาจจะคิดว่าไม่สุภาพแต่สมัยก่อน คนไทยเราก็พูดกันแบบนี้มานาน พูดถึง”หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่” หลายคนจะคิดถึงพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วท่านได้พูดให้ข้อคิดต่างๆในการดำเนินชีวิตมากมายถ้าเราทุกคนนำมาใช้จะมีประโยชน์มากมาย

ชีวประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา แทบไม่มีใครไม่รู้จัก หลวงพ่อคูณ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งภาคอีสาน ประวัติพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทโธ) ท่านเกิดในครอบครัวชาวนา ท่านเกิดที่ บ้านไร่ หมู่ที่6 ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ซึ่งในขณะนั้น พูดได้ว่าห่างไกลความเจริญ บิดาท่านชื่อนายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อนางทองขาว ฉัตรพลกรังประวัติหลวงพ่อคูณ บิดาท่านชื่อนายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อนางทองขาว ฉัตรพลกรัง หลวงพ่อคูณ ท่านเกิดเมื่อ 14 ตุลาคม 2466 (แต่บางตำราว่าวันที่ 4 ตุลาคม) ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน หลวงพ่อคูณ ท่านเป็นบุตรชายคนหัวปี ซึ่งมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ

K

เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ที่บ้านไร่ หมู่ 6 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนาที่อยู่ห่างไกลความเจริญ บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน คือ
1. หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
2. นางคำมั่น แจ้งแสงใส
3. นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์
มารดาของหลวงพ่อคูณ เล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า ก่อนตั้งครรภ์ กลางดึกของคืนวันหนึ่งเวลาประมาณตี 3 นางได้ฝันเห็นเทพองค์หนึ่ง มีกายเรืองแสงงดงาม ลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้านของนางและกล่าวว่า อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อ คูณ ปริสุทฺโธ วัดบ้านไร่ ตำบล กุดพิมาน อำเภอ ด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

lp-koon

ประวัติ
หลวงพ่อคูณ ถือกำเนิดที่บ้านไร่ ม.6 ต.กุดพิมาน อ.อ่านขุนทด จ.นครราชสีมา ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนาที่อยู่ห่างไกลความเจริญ บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466 (บางตำราว่าวันที่ ๔ ตุลาคม) ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน เป็นบุตรชายคนหัวปี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๓ คน คือ
๑ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
๒ นายคำมั่ง แจ้งแสงใส
๓ นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์

มารดาคือ นางทองขาว เล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า ก่อนตั้งครรภ์ กลางดึกของคืนวันหนึ่งเวลาประมาณตี ๓ นางได้ฝันเห็นเทพองค์หนึ่ง มีกายเรืองแสงงดงาม ลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้านของนางและกล่าวว่า…
เจ้าและสามีเป็นผู้มีศีลธรรม เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ประกอบการงานอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งยังสร้างคุณงาม ความดีมาตลอดหลายชาติ เราขออำนวยพรให้เจ้า และครอบครัวมีแต่ความสุขสวัสดิ์ตลอดไป
และเทพองค์นั้นยังได้มอบดวงแก้วใสสะอาดสุกว่างให้แก่นางด้วย
“ดวงมณีนี้ เจ้าจงรับไปและรักษาให้ดีต่อไปภายหน้า จะได้เป็นพระพุทธสาวกหน่อเนื้อพระชินวร เพื่อสืบพระพุทธศาสนา เป็นเนื้อนาบุญ ที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งปวง”

อ่านเพิ่มเติม

พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)

พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทโธ) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๑ และเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นเทพ เมื่อวันที่ 12 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 โดยมีราชทินนามตามสัญญาบัตรประกอบพัดยศสมณศักดิ์ว่า พระเทพวิทยาคม วิ. อุดมธรรมสุนทร ปสาทกรวรกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

ชาติภูมิ
หลวงพ่อคูณ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ที่บ้านไร่ หมู่ 6 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนาที่อยู่ห่างไกลความเจริญ บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน คือ 1.พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทโธ) 2. นางคำมั่น วงษ์กาญจนรัตน์ 3. นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์ มารดาคือ นางทองขาว เล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า ก่อนตั้งครรภ์ กลางดึกของคืนวันหนึ่งเวลาประมาณตี 3 นางได้ฝันเห็นเทพองค์หนึ่ง มีกายเรืองแสงงดงาม ลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้านของนางและกล่าวว่า “เจ้าและสามีเป็นผู้มีศีลธรรม เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ประกอบการงานอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งยังสร้างคุณงาม ความดีมาตลอดหลายชาติ เราขออำนวยพรให้เจ้า และครอบครัวมีแต่ความสุขสวัสดิ์ตลอดไป” และเทพองค์นั้นยังได้มอบดวงแก้วใสสะอาดสุกว่างให้แก่นางด้วย “ดวงมณีนี้ เจ้าจงรับไปและรักษาให้ดีต่อไปภายหน้า จะได้เป็นพระพุทธสาวกหน่อเนื้อพระชินวร เพื่อสืบพระพุทธศาสนา เป็นเนื้อนาบุญ ที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งปวง” อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .